วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 13:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 14:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


รบกวนคุณ กรัชกาย ครับ

สมมุติว่า เราอยู่ใน สมัยพุทธกาล มีแต่คำสอนของพระพุทธองค์
พระองค์ก็ตรัสเองว่า บริสุทธิ บริบูรณ์ แล้วสิ้นเชิงสาวกของพระองค์ ก็ใช้และพูด
ถ่ายทอดคำสอนของพระพุทธองค์ ก็เพียงพอต่อการ บรรลุมรรคผล นิพพาน แล้วมิใช่หรืครับ

--------------------------------
ต่างกับสมัยหลัง เราใช้คำที่แต่งขึ้นไหม่ แม้จะเป็นคำของพระอรหันต์ ผู้ปัญญาวิมุติ ก็ตาม
ดัง พุทธพจน์ที่ว่า

ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ หลุดพ้นแล้วจาก รูป
เพราะความเบื่อหน่ายความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น
จึงได้นามว่า "สัมมาสัมพุทธะ".
ภิกษุ ท.! แม้ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็หลุดพ้นแล้วจากรูป
เพราะความเบื่อหน่าย ความคลายกำหนัด ความดับ และความไม่ยึดมั่น
จึงได้นามว่า "ปัญญาวิมุตต์".

(ในกรณี แห่ ง เวท น า สั ญ ญ า สั งขาร และวิ ญ ญ าณ ก็ ได้ ตรั สไว้ มี ข้ อ ค ว า ม
แสดงหลักเกณฑ์อย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งรูปที่กล่าวแล้ว).

ภิกษุ ท.! เมื่อเป็นผู้หลุดพ้นจากรูปเป็นต้นด้วยกันทั้งสองพวกแล้ว
อะไรเป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
อะไรเป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
อะไรเป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับ ภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์ ?

ภิกษุ ท.! ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
ได้ทำมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
ได้ทำ มรรคที่ยังไม่มีใครรู้ให้มีคนรู้
ได้ทำมรรคที่ยังไม่มีใครกล่าวให้เป็นมรรคที่กล่าวกันแล้ว
ตถาคตเป็นมัคคัญญู (รู้มรรค) เป็นมัคควิทู (รู้แจ้งมรรค)เป็นมัคคโกวิโท (ฉลาดในมมรค).

ภิกษุ ท.! ส่วน สาวกทั้งหลายในกาลนี้ เป็นมัคคานุคา (ผู้เดินตามมรรค) เป็นผู้ตามมาในภายหลัง.

ภิกษุ ท.! นี้แล เป็นความผิดแผกแตกต่างกัน
เป็นความมุ่งหมายที่แตกต่างกัน
เป็นเครื่องกระทำให้แตกต่างกัน
ระหว่างตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ กับภิกษุผู้ปัญญาวิมุตต์.
- ขนฺธ. สํ. ๑๗/๘๑/๑๒๕.


-------------------------

พระพุทธเจ้าเป็นผู้รู้ทุกอย่าง รู้แจ้ง การพูดทุกครั้ง จะต้องจริงและประกอบด้วยประโยชน์
ถ้าไม่พูด อาจจะไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ผมสงสัยว่า ถ้าเรายังถ่ายทอดคำของสาวกอย่างนี้จะทำให้พระสัจธรรมตั้งอยู่นานได้ หรือไม่ อย่างไร???
ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอถามเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นหน่อยก่อนว่า ธรรมกับเจ้าชายสิทธัตถะหรือต่อมาได้นามว่า พระพุทธเจ้าใครเกิด
ก่อนกัน :b38: :b42:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 22:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้เริ่มสนใจคำสอนทางศาสนา พึงศึกษาหลักในมุมกว้างก่อน
ลิงค์นี้

viewtopic.php?f=2&t=19015

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 22:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ กรัชกาย ครับ

การเกิดของพระองค์ ไม่กระทบกระเทือนถึงกฎธรรมชาติ
(การทรงแสดงไตรลักษณ์)

ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้นก็ตาม,
สิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้เอง ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา เป็นความตายตัว
ของธรรม, นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง
ไม่เที่ยง”, ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้หยั่งรู้อย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ.
ครั้นตรัสรู้อย่างยิ่ง หยั่งรู้อย่างยิ่งแล้ว ก็บอก ก็แสดง ก็บัญญัติ ก็วาง
หลักเกณฑ์ ก็เปิดเผย ก็จำแนก ก็ทำให้ของง่าย เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า “สังขาร
ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง”ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้นก็ตาม,
สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา เป็นความตายตัว
ของธรรม, สิ่งนั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง
เป็นทุกข์”, ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้หยั่งรู้ เป็นอย่างยิ่ง
ในสิ่งนั้นๆ. ครั้นตรัสรู้อย่างยิ่ง หยั่งรู้อย่างยิ่งแล้ว ก็บอก ก็แสดง ก็บัญญัติ
ก็วางหลักเกณฑ์ ก็เปิดเผย ก็จำแนก ก็ทำให้ของง่าย เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า
“สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์ ”ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม,
สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา เป็นความตายตัว
ของธรรม, นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง
เป็นอนัตตา”, ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้หยั่งรู้อย่างยิ่ง
ในสิ่งนั้น ๆ. ครั้นตรัสรู้อย่างยิ่ง หยั่งรู้อย่างยิ่งแล้ว ก็บอก ก็แสดง ก็บัญญัติ
ก็วางหลักเกณฑ์ ก็เปิดเผย ก็จำแนก ก็ทำให้ของง่าย เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า
“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ดังนี้.

โยธาชีววรรค ติก. อํ.๒๐/๓๖๘/๕๗๖. ตรัสแก่ภิกษุทั้งหลาย.

:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 15:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมสงสัยว่า ถ้าเรายังถ่ายทอดคำของสาวกอย่างนี้จะทำให้พระสัจธรรมตั้งอยู่นานได้ หรือไม่ อย่างไร???



ตอบข้อสงสัย
ในเมื่อคุณตอบอยู่เองแล้วว่า ธรรมะเกิดก่อนพระพุทธเกิดทีหลัง การอุบัติของพระพุทธเจ้า ไม่กระทบถึงสัจธรรมนั้น
พระพุทธเจ้าจะเกิดหรือไม่เกิดก็ตามสัจธรรมก็มีคงอยู่เรื่อยมาและจักคงอยู่เรื่อยไป
ฉะนั้นคุณตัดความสงสัยนั้นทิ้งไปได้เลย :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คำสอนของพระพุทธเจ้ามีหลายระดับตามเพศวัยและสถานการณ์แวดล้อม
ดูคำสอนนี้เป็นตัวอย่าง


ครั้งหนึ่ง อุชชัยพราหมณ์ได้ไปเฝ้าพระพระพุทธเจ้า และกราบทูลว่าตนจะไปอยู่ต่างถิ่น จึงได้ให้
พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขปัจจุบัน และธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุข
ภายหน้า


พระเจ้าตรัสว่า

“ดูกรพราหมณ์ ธรรม ๔ ประการนี้ เป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขในปัจจุบัน กล่าวคือ
อุฏฐานสัมปทา อารักขสัมปทา กัลยาณมิตตตา สมชีวิตา

๑. อุฏฐานสัมปทา เป็นไฉน ? คือกุลบุตร หาเลี้ยงชีพด้วยความขยันในการงาน ไม่ว่าจะเป็น
กสิกรรมก็ดี พาณิชยกรรมก็ดี โครักขกรรมก็ดี ราชการก็ดี ราชการพลเรือนก็ดี ศิลปะอย่างใด
อย่างหนึ่งก็ดี เธอเป็นผู้ขยันชำนิชำนาญ ไม่เกียจคร้าน ในงานั้น ประกอบด้วยปัญญาเครื่อง
สอบสวนตรวจตรา รู้จักวิธีปฏิบัติในเรื่องนั้นๆ สามารถทำ สามารถจัดการ
นี้เรียกว่า อุฏฐานสัมปทา

๒. อารักขสัมปทา เป็นไฉน ? คือ กุลบุตรมีโภคทรัพย์ ที่หามาได้ด้วยความขยันหมั่นเพียร สั่งสมไว้
ด้วยกำลังแขน อย่างอาบเหงื่อต่างน้ำ เป็นของชอบธรรม ได้มาโดยธรรม เธอจัดการรักษาคุ้มครอง
โภคทรัพย์เหล่านั้น โดยพิจารณาว่า ทำอย่างไร พระราชาทั้งหลายจะไม่พึงริบโภคะเหล่านี้ของเราเสีย
พวกโจรไม่พึงลักไปเสีย ไฟไม่พึงไหม้เสีย น้ำไม่พึงพัดพาไปเสีย ทายาทร้ายจะไม่พึงเอาไปเสีย
นี้เรียกว่า อารักขสัมปทา

๓. กัลยาณมิตตตา เป็นไฉน ? กุลบุตรเข้าอยู่อาศัยในคามหรือนิคมใดก็ตาม เธอเข้าสนิทสนมสนทนา
ปราศรัย ถกถ้อยปรึกษา กับท่านที่เป็นคหบดีบ้าง บุตรคหบดีบ้าง พวกคนหนุ่มที่มีความประพฤติ
เป็นผู้ใหญ่บ้าง คนสูงอายุที่มีความประพฤติเป็นผู้ใหญ่บ้าง ผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล ประกอบด้วยจาคะ ประกอบด้วยปัญญา
เธอศึกษาเยี่ยงความเพียบพร้อมด้วยศรัทธาของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศรัทธา
ศึกษาเยี่ยงความเพียบพร้อมด้วยศีลของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยศีล
ศึกษาเยี่ยงความเพียบพร้อมด้วยจาคะของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยจาคะ
ศึกษาเยี่ยงความเพียบพร้อมด้วยปัญญาของท่านผู้เพียบพร้อมด้วยปัญญา
นี้เรียกว่า กัลยาณมิตตตา

๔. สมชีวิตา เป็นไฉน ? กุลบุตรเลี้ยงชีวิตพอเหมาะ ไม่ให้ฟุ่มเอยเกินไป ไม่ให้ฝืดเคืองเกินไป
โดยรู้เข้าใจทางเพิ่มพูนและทางลดถอยแห่งโภคทรัพย์ ว่าทำอย่างนี้รายได้ของเราจะเหนือรายจ่าย และราย
จ่ายของเราจึงจักไม่เหนือรายได้ เปรียบเหมือนคนชั่งตราชั่งหรือลูกมือคนชั่งยกตราชั่งขึ้นแล้ว ย่อมรู้ว่าหย่อน
ไปเท่านั้น หรือเกินไปเท่านี้....
ถ้าหากกุลบุตรนี้มีรายได้น้อย แต่เลี้ยงชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรผู้นี้กินใช้ทรัพย์สมบัติเหมือนคนกินมเดื่อ ถ้ากุลบุตรนี้มีรายได้มากแต่เลี้ยงชีวิตอย่างฝืดเคือง ก็จะมีผู้กล่าวว่าเอาได้ว่า กุลบุตรนี้
คงจะตายอย่างคนอนาถา แต่เพราะกุลบุตรนี้เลี้ยงชีวิตพอเหมาะ...
นี้เรียกว่า สมชีวิตามิตตตา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 16:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อมีหลักดังตัวอย่าง คห.บนแล้ว ครูบาอาจารย์ พ่อ-แม่ ย่อมสั่งสอนลูกหลานของตน
ตามภาษาของตนของตนได้ จะเป็นพม่า ลาว เขมร เวียตนาม แขก ฝรั่ง ฯลฯ ก็ว่ากันตามภาษาของตน

ตัวอย่างเช่น ลูกเอ้ยหลานเอ้ย ตั้งใจเรียนหนังสือน่ะ โตขึ้นจะได้มีการมีงานดีดีทำ
ไปโรงเรียนก็ตั้งใจฟังครูสอน ครูสอนอะไรอย่างไรจำไว้ จำได้ไม่หมดก็จดบันทึกไว้ ฯลฯ

ส่วนครูเล่า นอกจากสอนตามหน้าที่แล้ว ก็สอนกลับอีกว่า เลิกเรียนแล้วก็กลับบ้านนะจ๊ะอย่าเที่ยวเถลไถลกลางทางล่ะ มีการบ้านก็ทำการบ้านส่งครูพรุ่งนี้ เวลาที่เหลือให้ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านตามกำลัง เพื่อแบ่งเบาภาระของท่าน พ่อแม่มีคุณต่อเราอุ้มชูเลี้ยงเรามา ฯลฯ
คำสอนเช่นนี้ก็เป็นธรรมะ แม้ไม่ตรงกับตำรา เรียกว่ารู้จักประยุกต์เอาธรรมะมาใช้ในการดำรงชีวิตประจำวัน


ชวนมองอีกมุมหนึ่ง ผู้เรียนรู้หลักธรรมตามคัมภีร์ แบบยึดติดถือมั่นตามตำรา ไม่รู้จักประยุกต์ธรรมะใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ตนและผู้อื่น จะเกิดประโยชน์อันใดฤๅ อย่างมากก็มีไว้คุยกันในวงสนทนา
สมมุติเขาถามปัญหาเฉพาะหน้าอย่างหนึ่ง แต่นำเอาตำรามาตอบอีกอย่างหนึ่ง ลักษณะหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกับโจทก์ที่ถาม ดังคำพูดที่ล้อกันเล่นๆว่า เขาถามว่า ไปไหนมา ? กลับตอบเสียว่า สาม วา สองศอก ซึ่งไม่มีประโยชน์อันใดแก่ผู้ถามเลย :b42: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 06 ก.พ. 2009, 16:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้นก็ตาม,
สิ่งที่ทรงตัวอยู่ได้เอง ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา เป็นความตายตัว
ของธรรม, นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง
ไม่เที่ยง”, ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้หยั่งรู้อย่างยิ่งในสิ่งนั้นๆ.
ครั้นตรัสรู้อย่างยิ่ง หยั่งรู้อย่างยิ่งแล้ว ก็บอก ก็แสดง ก็บัญญัติ ก็วาง
หลักเกณฑ์ ก็เปิดเผย ก็จำแนก ก็ทำให้ของง่าย เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า “สังขาร
ทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง”ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้นก็ตาม,
สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา เป็นความตายตัว
ของธรรม, สิ่งนั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “สังขารทั้งหลายทั้งปวง
เป็นทุกข์”, ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้หยั่งรู้ เป็นอย่างยิ่ง
ในสิ่งนั้นๆ. ครั้นตรัสรู้อย่างยิ่ง หยั่งรู้อย่างยิ่งแล้ว ก็บอก ก็แสดง ก็บัญญัติ
ก็วางหลักเกณฑ์ ก็เปิดเผย ก็จำแนก ก็ทำให้ของง่าย เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า
“สังขาร ทั้งหลายทั้งปวง เป็นทุกข์ ”ดังนี้.

ภิกษุ ท.! เพราะตถาคตเกิดขึ้น หรือเพราะตถาคตไม่ได้เกิดขึ้น ก็ตาม,
สิ่งซึ่งทรงตัวอยู่ได้เอง ซึ่งเป็นความตั้งอยู่ตามธรรมดา เป็นความตายตัว
ของธรรม, นั้น ย่อมตั้งอยู่อย่างคงตัว ว่า “ธรรมทั้งหลายทั้งปวง
เป็นอนัตตา”, ดังนี้. ภิกษุ ท.! ตถาคตได้ตรัสรู้ ได้หยั่งรู้อย่างยิ่ง
ในสิ่งนั้น ๆ. ครั้นตรัสรู้อย่างยิ่ง หยั่งรู้อย่างยิ่งแล้ว ก็บอก ก็แสดง ก็บัญญัติ
ก็วางหลักเกณฑ์ ก็เปิดเผย ก็จำแนก ก็ทำให้ของง่าย เพื่อให้รู้ทั่วกันว่า
“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง เป็นอนัตตา” ดังนี้.


สัจธรรมขั้นสูงสุด (ขั้นหลุดพ้น) ย่อมมีสาระเช่นพุทธพจน์นั้น สรรพสิ่งย่อมเป็นเช่นนั้น
(อนิจจัง ทุกชัง อนัตตา)
ว่าแต่ว่า คุณ BlackHospital ครับ พุทธพจน์นั้นตรัสเป็นกลางๆ บอกทางไว้เท่านั้น
ยังไม่บอกวิธีปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงสภาวะเช่นว่านั้น
เมื่อว่าด้วยการปฏิบัติยังมีชั้นตอนที่ยุ่งยากอีกครับ :b1:
และที่ชาวพุทธถกเถียงกันอยู่นี่อยู่นั่น ก็เพราะสิ่ง หรือ ธรรมะ หรือ สภาวะที่ตนยังปฏิบัติไม่ถึงแล้วพูดถึงนี่ล่ะครับ ปัญหาทุกวันนี้

ผู้ใดปฏิบัติถึงแล้วเข้าใจแล้ว ปัญหาคาใจทางธรรมหมดครับ ความสงสัยว่ามีจริงหรือไม่จริงหมดครับ
ไม่ต้องใช้ตำราผู้นั้นก็ว่าได้พูดได้ เพราะสัจธรรมดังกล่าว เกิดก่อนตำรามีมาก่อนพระพุทธเจ้าเกิดดังกล่าว
ข้างต้น (แต่ไม่ได้ปฏิเสธตำรานะ) :b42: :b41:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 00:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกายครับ

จริงอยู่ ทุกคนก็สามารถ อธิบายธรรมชาติ โดยใช้สมมุตติบรรญัติได้
แล้วยิ่ง อริยสาวก ผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็ยิ่งอธิบายธรรมชาติที่เข้าถึงยาก ได้ดี และ ได้ลึก

ปัญหาอยู่ที่ว่า การอธิบายธรรมชาติ ของสาวกนั้น ครอบคุมทุกมุมที่ จะเป็นไปได้ทั้งหมดแล้วหรือไม่
อาจไม่ครบ มีช่องโหว่ หรือมีความหมายที่แคบทำให้ผู้ปฏิบัตตามลำบาก หรือมีข้อขัดแย้งกัน ในคำของสาวก ผู้ปัญญาวิมุตต์ หลายท่าน


บางท่านอธิบายอย่างนี้ บางท่านอธิบายอย่างนั้น ตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง แล้วมาตรฐานอยู่ที่ไหน
ใครอธิบายถูก ใครอธิบายครบ ใครอธิบายไม่ครบ

(ผมไม่ได้ตำหนิการกล่าวของท่านเหล่านั้น เข้าใจว่า ทุกท่านก็หวังดี แต่ผมพยายามชี้แจงข้อจำกัดในการอธิบายธรรมชาติ ของสาวกเท่านั้น)
------------------

พระพุทธองค์ ก็ บอกเองว่า ทุกคำพูด ท่านใช้สมาธิ นิมิตรทุกครั้ง ไม่มีข้อผิด ในการแสดงธรรม เพราะท่านเคารพในธรรม คำของท่าน บริสุทธิ บริบูรณ์ แล้วสิ้นเชิง เป็นอกาลิโก เป็นต้น

สาวกทำได้หรือเปล่า??

อีกส่วนหนึ่ง
ที่บอกว่าพระองค์อธิบายไม่ละเอียด ก็ไม่ใช่อีก
เช่น เรื่องคุณสมบัติพระโสดาบัน เป็นต้น
ซึ่งพระพุทธเจ้า ก็ตรัสไว้ อย่าง ละเอียดในเรื่องของพระโสดาบัน
ไม่ว่าจะเป็น โสตาปัตติยงคะสี่ อริยญายธรรม ญาณวัตถุ๔๔ ญาณวัตถุ๗๗
ทำไมไม่นำมาถ่ายทอด บอกสอน ???
แต่ไปใช้คำของคนอื่น เช่น ต้อง ผ่านญานขั้นนี้ ถึงจะได้โสดาบัน เป็นต้น

เรื่องสัมมาสมาธิ พระองค์อธิบายไว้อย่างละเอียด ก็เช่นกัน ฌาน๑ ฌาน๒ ฌาน๓ ฌาน๔ อรูปสมาบัต ต่างๆ........
แล้ว คณิกะ อุปจาระ หรือ อัปปนา ก็ เป็นโดยใช้สมมุตติบรรญัต เช่นกัน

คำถามคือ แล้วทำไมไม่ใช้สมมุตติบรรญัต แบบพระพุทธเจ้า เล่า???
-------------------------

วันนี้แค่นี้ก่อนครับ ดึกแล้ว เดี๋ยวไม่ได้ภาวนา
ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 01:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
คุณกรัชกายครับ

ปัญหาอยู่ที่ว่า การอธิบายธรรมชาติ ของสาวกนั้น
ครอบคุมทุกมุมที่ จะเป็นไปได้ทั้งหมดแล้วหรือไม่
อาจไม่ครบ มีช่องโหว่ หรือมีความหมายที่แคบทำให้ผู้ปฏิบัตตามลำบาก
หรือมีข้อขัดแย้งกัน ในคำของสาวก ผู้ปัญญาวิมุตต์ หลายท่าน



ทำไมต้องตั้งเป้าหมายว่าให้ครอบคลุมล่ะครับ
ถ้าพูดให้ครอบคลุมได้ คนเราก็ยังมีความสามารถในการเข้าใจอะไรๆ ไม่เท่ากัน อยู่ดี
ต้องอย่าลืมว่าบัวมี 4 เหล่า

เช่น ถ้าพูดว่า อริยสัจ คือความจริงอันประเสรฺิฐ ได้แก่ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
คำถามคือ เราเข้าใจจริงๆหรือว่าที่พูดนั้นคืออะไร
แล้วที่เข้าใจ เข้าใจแบบ 1. คิดเอาด้วยสมอง 2. หรือเห็นด้วยปัญญาญาน?

ถ้าจะพูดไม่ครบ ไม่ครอบคลุม มีช่องโหว่ อาจจะไม่ใช่ผิดคนพูดก็ได้ครับ
เพราะถ้าคนฟังไม่มีปัญญาจะเข้าใจ ก้จะโทษคนพูดไม่ได้
เช่นพระพุทธเจ้าพูดว่า นิพพานเป็นบรมสุข
ถามว่าที่นั่งๆกันอยู่นี่ มีใครเข้าใจจริงๆหรือว่าบรมสุขนั้นมีความรู้สึกอย่างไร

แค่ประเมิณเอา จำเอา คิดเอา หรือรู้สึกรู้แจ้งสัมผัสแล้วจริงๆในความสุขอันนั้น?


BlackHospital เขียน:
บางท่านอธิบายอย่างนี้ บางท่านอธิบายอย่างนั้น ตรงกันบ้าง ไม่ตรงกันบ้าง
แล้วมาตรฐานอยู่ที่ไหน ใครอธิบายถูก ใครอธิบายครบ ใครอธิบายไม่ครบ

(ผมไม่ได้ตำหนิการกล่าวของท่านเหล่านั้น เข้าใจว่า ทุกท่านก็หวังดี แต่ผมพยายามชี้แจงข้อจำกัดในการอธิบายธรรมชาติ ของสาวกเท่านั้น)


ลองนึกเล่นๆว่า มีคนมาถามคุณว่า "กรุงเทพเป็นอย่างไร"
คุณคิดว่าอะไรคือคำตอบที่ดีที่สุด ถูกต้องที่สุด ครอบคลุมที่สุด

หรือเอาง่ายๆ คุณช่วยอธิบายรสชาดที่เรียกชื่อว่า "หวาน" โดยไม่ใช้คำว่า"หวาน"หน่อยสิครับ
อะไรคือคำตอบที่ดีที่สุดครอบคลุมที่สุด

ธรรมะมันเป็นความจริงในธรรมชาติครับ
หวานของไนจีเรีย หวานของชาวโซเวียต หวานของคนไทย
หวานที่ไหนก็หวานเหมือนกันหมด จะมีคำเรียกในภาษาต่างๆว่าอะไรก้ตาม
แค่ความหวานมันก็เป็นความหวานอันเดียวกัน
ที่เราเข้าใจตรงกันกันว่าหวานคืออะไร ก็เพราะเราเคยลิ้มรสหวานกันมาแล้วทุกคน
จึงไม่จำเป้นต้องอธิบายกับใครว่า"หวาน"คืออะไร

แต่ถ้าจะพยามอธิบายคำว่าหวานให้ได้
ก้สามารถจะอธิบายได้ อย่างวิจิตรพิศดาร ถ่ายทอดความหมายไม่ผิดเพี้ยน แต่!

แต่ถ้าไปพูดกับคนที่ไม่มีลิ้นมาแต่เกิด ไม่เคยรู้เลยว่าหวานเป็นอย่างไร
จะอธิบายยังไงให้ครอบคลุม ครบถ้วน เข้าใจ ไม่คลาดเคลื่อน??
เขาไม่มีทางเข้าใจจริงๆหรอกว่า หวานคืออะไร ไม่ว่าจะอธิบายอย่างไรก้ตาม
ดังนั้น ต่อให้พูดได้ครอบคลุมอย่างไรก็ตาม
ถ้าคนฟังเขาไม่มีปัญญาจะเข้าใจ ก็ไม่มีประโยชน์


ดังเช่นที่เวลาพระพุทธเจ้าท่านจะสอนใคร
ท่านจะใช้ญานส่องดูก่อนทุกครั้งว่าสอนได้ไหม
มีอุปนิสัยอย่างไร สอนอะไรจึงจะเข้าใจ ท่านถึงจะสอน ไม่ใช่สอนส่งเดช

การพูดให้ถูก ให้ครอบคลุม ก็ถือว่าดี แต่พูดกับใครก็ต้องดูด้วย
ถ้าไม่รู้จักพูดให้ถูกคน ไม่รู้จักคน ก็คือว่าแย่ ไม่มีสัปปุริสธรรม ไม่มีศิลปะในการสอน

สอนเด็กๆหลานๆ เราไม่เอาสำนวนพระไตรปิฏกมาสอน หรือเอาพระสูตรมากางให้หลานอ่านแน่ๆครับ
เด็กๆหลานๆนี้ผมเปรียบเทียบว่าเป้นคนที่ปัญญาน้อย ต้นทุนน้อย
ก็ต้องใช้วิธีพูดต่างๆนาๆ ตามความเหมาะสม


BlackHospital เขียน:
พระพุทธองค์ ก็ บอกเองว่า ทุกคำพูด ท่านใช้สมาธิ นิมิตรทุกครั้ง ไม่มีข้อผิด ในการแสดงธรรม เพราะท่านเคารพในธรรม คำของท่าน บริสุทธิ บริบูรณ์ แล้วสิ้นเชิง เป็นอกาลิโก เป็นต้น
สาวกทำได้หรือเปล่า??


คุณต้องเข้าใจว่าพระพุทธเจ้า คืิอ พระพุทธเจ้า
ท่านมีทศพลญาน เป้นของเฉพาะในพระพุทธเจ้า ไม่มีในสาวก
ต่อให้สาวกองค์ไหนก็ไม่มีบารมีอย่างท่านได้

เวลาท่านพูดอะไรแล้วไม่มีผิดเพี้ยนคลาดเคลื่อน
นั่นเพราะท่านพูดด้วยอนุตรสัมมาสัมโพธิญาน

ไม่ควรจะมากะเกณฑ์เอากับสาวก ว่าให้พูดสอนธรรมให้ได้สมรรถนะอย่างพระพุทธเจ้า
และก้อย่าลืมว่า คำว่า[b]สงฆ์
ในความหมายของพระคัมภียร์คือพระโสดาบันเป้นอย่างน้อย
โสดาบันคืออริยชน เป้นผู้ได้ดวงตาเห็นธรรม แจ้งในอริยสัจแล้ว
แต่สงฆ์ในปัจจุบันเป้นสมมุติสงฆ์ หมายความสมมุติว่าเป้นสงฆ์
ถ้าจะเป็นสงฆ์จริงๆ ถึงพระรัตนตรัยจริงๆ ต้องเป็นพระโสดาบันเป้นอย่างน้อย

ผู้ที่จะสอนธรรมได้ไม่คลาดเคลื่อนก็มีแต่พระอรหันต์
แต่ก็ไม่ใช่ว่าใครต่อใครฟังพระอรหันต์แล้วจะเข้าใจได้เท่ากับท่าน
เราเข้าใจแค่ระดับสัญญา จินตมัยปัญญาเท่านั้นเอง
ส่วนพระอรหันต์นั้น ท่านเข้าใจด้วยภาวนามัยปัญญา



BlackHospital เขียน:
อีกส่วนหนึ่งที่บอกว่าพระองค์อธิบายไม่ละเอียด ก็ไม่ใช่อีก
เช่น เรื่องคุณสมบัติพระโสดาบัน เป็นต้น
ซึ่งพระพุทธเจ้า ก็ตรัสไว้ อย่าง ละเอียดในเรื่องของพระโสดาบัน
ไม่ว่าจะเป็น โสตาปัตติยงคะสี่ อริยญายธรรม ญาณวัตถุ๔๔ ญาณวัตถุ๗๗
ทำไมไม่นำมาถ่ายทอด บอกสอน ???
แต่ไปใช้คำของคนอื่น เช่น ต้อง ผ่านญานขั้นนี้ ถึงจะได้โสดาบัน เป็นต้น

เรื่องสัมมาสมาธิ พระองค์อธิบายไว้อย่างละเอียด
ก็เช่นกัน ฌาน๑ ฌาน๒ ฌาน๓ ฌาน๔ อรูปสมาบัต ต่างๆ........
แล้ว คณิกะ อุปจาระ หรือ อัปปนา ก็ เป็นโดยใช้สมมุตติบรรญัต เช่นกัน
คำถามคือ แล้วทำไมไม่ใช้สมมุตติบรรญัต แบบพระพุทธเจ้า เล่า???


ไม่มีใครเอากุญแจใส่พระไตรปิฏกไว้ พระไตรปิฏกไม่ได้มีเล่มเดียว
ทุกคนสามารถเปิดพระไตรปิฏกแล้วอ่านได้อย่างเสรี
แต่ที่คนไม่อ่าน ไม่สนใจขนขวายคำพูดพระพุทธเจ้ากัน
ก็เพราะเกินปัญญาจะเข้าใจ ก้ต้องอาศัยสาวกที่เข้าใจ มาช่วยถ่ายทอด


ถ้าพระท่านถ่ายทอดโดยการพูดเหมือนพระไตรปิฏก
แล้วคนจะมาหาพระสงฆ์ทำไม อ่านเอาไม่ดีกว่าหรือ

แน่จริงถ้าจะเอาให้ไม่คลาดเคลื่อน ต้องอ่านบาลีกันเลยดีกว่า
ฉบับแปลเป็นไทย มันเสียความไปส่วนหนึ่งอยู่แล้ว

ถ้าเราเป้นคนศึกษาปริยัติด้วย เวลาฟังพระเทศน์แล้วท่านพูดคีย์เวิร์ด วลีสำคัญ เป้นภาษาไทย
เราก็จะรู้ได้เองว่าท่านถ่ายทอดพุทธพจน์อยู่
แบบนี้ คนธรรมดาๆก็เข้าใจด้วย คนเรียนปริยัติรู้มากก็เข้าใจด้วย เข้าใจด้วยกันหมด

อีกปัญหาหนึ่ง น่าคิดมากกว่า คือ
คนมักจะคิดว่าอ่านพระไตรปิฏกแล้วเขาเข้าใจธรรมะ
แน่ใจหรือว่าที่อ่านๆแล้วคิดว่าเข้าใจน่ะ เข้าใจกันจริงๆ
ผมเห็นคนเรียนตำราจนได้ ปธ. 9 รู้จักพระคัมภีย์แทบทุกตัวอักษรทั้งไทยทั้งบาลี
ในพม่าถึงกับท่องได้ทุกตัวอักษร แต่ก็ไม่เห็นว่าใครจะบรรลุอรหันต์ด้วยวิธีนี้
ถ้าอ่านเอาแล้วเข้าใจคำพูดพระพุทธเจ้าถ่องแท้จริงๆ ทำไม่มีใครบรรลุพระอรหันต์


นั่นแสดงว่า ธรรมะน่ะ แค่ทรงจำหรือขบคิดๆเอา มันใช้ไม่ได้หรอก
ปริยัติเฉยๆไม่ได้ ต้องปฏิบัติ แล้วจึงปฏิเวธ
อย่าำไปคิดว่าอ่านพระคัมภียร์แล้วเข้าใจแจ่มแจ้ง
ถ้าจะกล่าวว่าใครเข้าใจคำพูดพระพุทธเจ้าได้แจ่มแจ้งจริงๆต้องเกิดจากการปฏิเวธ
แล้วถ้าจะพูดว่าใครบ้างที่เข้าใจไม่คลาดเคลื่อน ก้ต้องมีแต่ภูมิพระอรหันต์เท่านั้นแหละครับ
ใครไม่ใช่พระอรหันต์ อย่าประมาทว่าเราเข้าใจจริงๆ


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
วันนี้แค่นี้ก่อนครับ ดึกแล้ว เดี๋ยวไม่ได้ภาวนา


คุณ BlackHospital ใช้วิธีภาวนาแบบไหนอย่างไรครับ :b1: :b38:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 07 ก.พ. 2009, 20:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
จริงอยู่ ทุกคนก็สามารถ อธิบายธรรมชาติ โดยใช้สมมุตติบรรญัติได้


คำว่า "ธรรมชาติ" ที่คุณ BlackHospital พูดถึงในที่นี้รวมมนุษย์ชาติทุกผู้ทุกนามเข้าด้วยหรือไม่ครับ
พูดให้ชัดก็ว่า ธรรมชาติดังกล่าวรวมเจ้าชายสิทธัตถะ หรือ พระพุทธเจ้าเข้าด้วยหรือไม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณกรัชกายครับ

โดยมากแล้ว ผมใช้อานาปานสติภาวนา ครับ (ยินดีรับคำชี้แนะครับ)
ส่วนคำว่า ธรรมชาติ ผมหมายถึง สรรพสิ่งทั้งปวงครับ รวมทั้ง พระพุทธเจ้าด้วย ครับ
-------------------

พระพุทธเจ้า ก็อธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบพระพุทธเจ้า
อริยสาวก ผู้ปัญญาวิมุตต์ ก็อธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบของตน
อริยสาวก ผู้เป็นเสขะ ก็อธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบของตน
คนทั่วไป ก็อธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบของตน

พระพุทธเจ้า ก็ทรง บอกว่า ท่านอธิบาย ธรรมชาติ (ด้วยสมมุตติบรรญัติของท่าน)
สำหรับ คนทุกชนชั้น ทุกระดับปัญญา เท่าที่คน คนนั้นผู้มีธุลีในดวงตาน้อย พอที่จะเห็นธรรมได้

๑ ถามว่า การอธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบใด ดีกว่า ครับ???
๒ ถามว่า การอธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบใด จะทำให้พระพุทธศาสนา มีอายุมากกว่า ครับ???
๓ ถ้าผู้นั้นมีปัญญามากพอ ที่จะบรรลุธรรมได้ไม่ยาก กำลังใด้รับการ การอธิบาย ธรรมชาติ ด้วยสมมุตติบรรญัต
ถามว่า การอธิบาย ธรรมชาติ ด้วย สมมุตติบรรญัติ แบบใด จะทำให้ผู้นั้นที่มีปัญญามากพอ
ที่จะบรรลุธรรมได้ไม่ยาก จะบรรลุธรรม ได้ง่ายกว่า ครับ???
-----------------

ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 22:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
ผมหาคำว่า
"อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ"

ไม่พบในพระไตรปิฎกเลยครับ
กรุณาไขข้อสงสัยด้วยครับ
ถ้ามี เอาแบบเน้นๆจากพระสูตร นะครับ
BlackHospital

viewtopic.php?f=1&t=20419


ความเห็น คุณ BlackHospital ข้างบนน่าสนใจจึงนำมาสนทนาตรงนี้ด้วย

มีตัวอย่างการทำสมาธิของคนๆหนึ่ง (นำมาพอได้ใจความ) อ่านแล้วคุณค้นหาสภาวะหรือความรู้สึกนั้น
นะครับ ว่ามาจากปิฏกใด จากพระสูตรหรือพระอภิธรรม หรือมาจากสมาธิในมรรค
ดูครับ


ในการนั่งสมาธิครั้งนี้ ผมสามารถรับรู้ลมหายใจได้ตลอดสายเป็นเวลานาน
แต่ผมก็คิดว่าเวลาจิตเราสงบมากแล้ว แต่ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้น
ถ้ายังไงเราลองเปลี่ยนวิธีกำหนดดูดีกว่า ผมเลยเปลี่ยนวิธีกำหนดในใจเป็นสมถแบบอัปปมัญญา แล้วกำหนดคำบริกรรมในใจแผ่เมตตาให้สัตว์ทั้งหลายไม่มีประมาณในทิศเบื้องหน้า จากนั้นก็เบื้องหลัง จากนั้นก็เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย แล้วก็เบื้องขวา
พอครบทุกทิศแล้ว ก็กำหนดแผ่ไปในทุกทิศพร้อมกันไม่มีประมาณ กำหนดแค่ครั้งเดียวเท่านั้น
จากนั้นผมก็รู้สึกเหมือนกายผมขยายตามที่กำหนดแผ่เมตตาไปด้วย รู้สึกว่ากายขยายไปทุกทิศ ความรู้สึกนี้มันเกิดในเวลาแค่แปปเดียว กายขยายไปทุกทิศจนรู้สึกว่ากายหายไป คือไม่มีกาย เวลานี้รู้สึกว่าความรู้สึกของเราเหมือนจุ่มอยู่ในปิติ มีแต่ความสุขไปหมด จากนั้นผมก็คิดขึ้นมาว่า "มีความสุขขนาดนี้ในโลกด้วยหรือ ความสุขนี้ดีกว่าความสุขในโลกที่เราเคยพบมาทั้งหมด โอ ความสุขนี้แค่นั่งก็ได้แล้ว คนทั้งโลก มัวแต่วุ่นวายทำอะไรกันอยู่ บางคนทำทุจริตต่างๆเพื่อหาเงินมาสนองความสุขตน ทำไปทำไมนะ มันเทียบกับความสุขที่เกิดจากความสงบนี้ไม่ได้เลย ความสุขนี้ไม่ต้องไขว่คว้ามาก อยู่กับตัวเองแท้ๆ คน(ส่วนใหญ่) ในโลกกลับไม่รู้"

จากนั้นผมก็สังเกตลมหายใจก็รู้สึกว่าลมหายใจตอนนี้มันละเอียดมาก ถึงค่อยเข้าใจคำว่าลมหายใจหยาบลมหายใจละเอียดว่าเป็นยังไง ก่อนหน้านี้เข้าใจว่าคือลมหายใจแรงๆเบาๆซะอีก :)
ความรู้สึกจากการเกิดสมาธิครั้งแรกนี้ มันเหมือนจุ่มค้างอยู่ปิติ คือ ปิติเกิดค้างอยู่ แต่ไม่เห็นนิมิตอะไรทั้งสิ้นเลยนะครับ แต่รู้สึกจิตเวลานี้ไม่มีนิวรณ์เลย คือมีความรู้พร้อมอยู่ จากนั้นผมก็รู้สึกยินดีกับสิ่งที่เกิดขึ้นแล้วคิดไปเรื่อยว่า "นี่คือปฐมฌาณหรือเปล่านี่ ปฐมฌาณเกิดกับเราหรือ" จนจิตเริ่มไม่เป็นสมาธิ เริ่มปั่นป่วน หลังจากนั้นก็ได้ยินเสียงห้องข้างๆตะโกนเสียงดัง (คาดว่าน่าจะดูบอล) ผมก็เลยหลุดออกมาจากสภาวะนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 22:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
โดยมากแล้ว ผมใช้อานาปานสติภาวนา


คลุมไป บอกรายละเอียดหน่อยนะครับ ว่าใช้อย่างไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร