วันเวลาปัจจุบัน 04 พ.ค. 2025, 16:40  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2009, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง
(เพราะภวตัณหา)

ภิกษุ ท.! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็
ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้า
อย่างอะไรเล่า? ห้าอย่างคือ สนใจแต่คำพูด สนใจแต่ผู้พูด สนใจแต่ตัวเอง
มีจิตฟุ้งซ่านไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม และทำในใจไม่แยบคาย. ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง
สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๑.

(อีกปริยายหนึ่ง)
ภิกษุ ท.! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็
ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้า
อย่างอะไรเล่า? ห้าอย่างคือ สนใจแต่คำพูด สนใจแต่ผู้พูด สนใจแต่ตัวเอง
เป็นคนโง่เง่าเงอะงะ มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้. ภิกษุ ท.! บุคคล
ป ระกอบ ด้วยเหตุห้าอย่างนี้แล แม้ฟังธรรม อยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง
สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
- ปญ ฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๒.

(อีกปริยายหนึ่ง)
ภิกษุ ท.! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็
ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้าอย่าง
อะไรเล่า? ห้าอย่างคือ เป็นคนลบหลู่ฟังธรรม มีจิตมากไปด้วยความลบหลู่-
แข่งดีฟังธรรม คอยจ้องจับความผิดพลาดในผู้แสดงธรรมด้วยจิตมุ่งร้ายแข็ง
กระด้าง เป็นคนโง่เง่าเงอะงะ มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้. ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง
สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
- ปญจก. อํ. ๒๒/๑๙๖/๑๕๓.
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2009, 23:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ


เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง

ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.

เหตุห้าอย่างอะไรเล่า?

ห้าอย่างคือ
สนใจแต่คำพูด
สนใจแต่ผู้พูด
สนใจแต่ตัวเอง
มีจิตฟุ้งซ่าน ไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม
และทำในใจไม่แยบคาย.

ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.

- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๑.




ปัจจุบัน เอกัคคตาจิต ที่เป็นพระพุทธพจน์ดั้งเดิม ที่แสดงถึง ภาวะจิตที่ตั้งมั่นเป็นกลาง นุ่มนวล ควรแก่การงาน ...... ถูกแปลความหมายเหลือเพียง อาการลืมกายลืมใจ(Trance)เวลาภาวนา แบบมิจฉาสมาธิ

บางท่านก็เชื่อว่า ถ้าเป็นเอกัคคตาจิตจะต้องไม่สามารถใช้ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้แล้ว....รวมทั้ง ฟังธรรมไม่ได้ด้วย

บางท่านก็เชื่อหนักไปกว่านั้นอีกว่า เอกัคคตาจิต หรือ ฌาน เป็นของนอกพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนเอาไว้... เวลาภาวนา ต้องระมัดระวังไม่ให้เอกัคคตาจิตเกิดขึ้น

เอกัคคตาจิต คือ จิตที่ทรงเอกัคคตารมณ์ ครับ

องค์แห่ง ฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปิติ สุข เอกัคคตารมณ์

ตั้งแต่ รูปฌานที่๑ ถึง รูปฌานที่๔ ล้วนมีเอกัคคตารมณ์ด้วยกันทั้งสิ้น

เอกัคคตาจิต คือ เครื่องหมายแห่งฌาน

ถ้ามีเอกัคคตาจิตเมื่อใด ก็เรียกว่าจิตทรงฌานทันที

ในรูปฌานขั้นต้นๆ ยังไม่ตัดขาดตา หู จมูก ลิ้น กาย (จะตัดขาดจากตา หู จมูก ลิ้น กาย สนิทก็คือ รูปฌานที่๔ ที่ไม่มีความรู้สึกแห่งลมหายใจ) แต่ รูปฌานที่๔ที่เป็นสัมมาสมาธิสามารถเกิดปัญญาได้ภายใน เป็นการปฏิบัติการในระดับจิตใต้สำนึก ที่ไม่อาศัย ตา หู จมูก ลิ้น กาย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ก.พ. 2009, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ก.ค. 2008, 21:56
โพสต์: 3925

ชื่อเล่น: เช่นนั้น
อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ยังสงกะสัยอะครับ โง่เง่าเงอะงะ มัวแต่สำคัญตนว่ารู้ในสิ่งที่ตนไม่รู้.
โง่เง่า เงอะงะ ไม่รู้จริงๆ ก็คงไม่มี สิครับ

หรือว่าคนทุกคนถ้าพอมีสมองอยู่บ้าง ก็ฟังธรรมไ้ด้่ คนโง่จริงไม่มีในโลก ฮริฮริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


นอกเหนือจาก พระพุทธพจน์โดยตรง
ที่ตรัสถึง การฟังธรรมไม่รู้เรื่องเพราะ"ไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม" แล้ว




มีประเด็นที่น่าสนใจ อีกประเด็นหนึ่ง


การฟังธรรมด้วยสภาวะจิตปกติ จิตเกิดฌานขึ้นเอง ได้อย่างไร?


ลำพัง การฟังธรรมแบบเข้าหูซ้ายออกหูขวา ไม่มีสติสืบเนื่อง จิตไม่จดจ่ออยู่กับเนื้อหาธรรม ไม่ใคร่ครวญในเนื้อหาแห่งธรรม ....สมาธิคงไม่เกิดแน่นอน

ดังนั้น สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีสติที่สืบเนื่องในเนื้อหาธรรม
เมื่อมีสติที่ใคร่ครวญไตร่ตรองในเนื้อหาธรรมอย่างสืบเนื่อง เป็น สติสัมโพชณงค์ .. ก็จะ มีธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ใคร่ครวญในธรรม มีวิริยะสัมโพชฌงค์ในการพิจารณาธรรม จึงจะบังเกิดปิติสัมโพชฌงค์ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ สมาธิสัมโพชฌงค์(เอกัคคตา) อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ตามมาเป็นกระบวน
ท่านผู้มีอินทรีย์บารมีแก่กล้า ท่านจึงสามารถตรัสรู้ ด้วยการสดับพระธรรมเทศนาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธองค์เลย



ถ้าจะพูดถึงเรื่อง ฌาน
ก็ต้องไปฟังท่านผู้ที่ปฏิบัติได้จริง กล่าวไว้
ขืนมัวไปฟัง ผู้ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้จริงกล่าวตามตำราเอา ก็อาจจะพาออกทะเลได้


เกี่ยวกับ เรื่อง ฌาน ที่เป็นผลจากกระบวนการทางวิปัสสนา
หลวงพ่อ พุธ ฐานิโย ท่านกล่าวเอาไว้ชัดที่สุด

ท่านกล่าวถึง การใช้สติปัญญาในระดับปกติ(ไม่ใช่สมาธิขั้นแน่วแน่)พิจารณาธรรมในเบื้องต้น จนปรากฏฌานขึ้นเองในที่สุด(เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า)เอาไว้

ซึ่งน่าจะใกล้เคียงกับการส่งจิตตามพระธรรมเทศนาในขณะฟังธรรม แล้วเกิดเอกัคคตาจิตขึ้น

เผื่อว่า ใครยังไม่เคยอ่าน ขอนำมาลงซ้ำน่ะครับ

มีเนื้อความ ดังนี้

“...ถ้าท่านผู้ที่บริกรรมภาวนา จิตมันไม่เคยสงบเป็นสมาธิซักที
จะไปรอให้มันสงบ มันไม่เคยสงบซักที ก็มาพิจารณาซิ

ยกเรื่องอะไรขึ้นมาพิจารณาก็ได้ ซึ่งมันเกี่ยวกับเรื่องธรรมะ พิจารณาไปจนกระทั่งจิตมันคล่องตัว
พิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อันนั้นก็ไม่เที่ยง อันนี้ก็เป็นทุกข์ อันนั้นก็เป็นอนัตตา

คิดเอาตามสติปัญญาที่เราจะคิดได้
คิดย้อนกลับไปกลับมา กลับไปกลับมา กลับไปกลับมาอยู่อย่างนี้ คิดจนกระทั่งมันคล่องตัว จนกระทั่งเราไม่ได้ตั้งใจคิด จิตมันคิดของมันเอง ซึ่งมันอาจจะเอาเรื่องอื่นมาคิดอยู่ไม่หยุดก็ได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น มันก็เข้าลักษณะเหมือนกันกับภาวนา

ถ้าจิตมันคิดของมันเอง สติรู้พร้อมอยู่เอง มันก็ได้วิตก วิจาร

ในเมื่อจิตมีวิตก วิจาร เพราะความคิดอ่านอันนี้ มันก็เกิดมีปีติ มีความสุข มีเอกัคตา
มันจะสงบลงไปเป็น อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ


หรือบางทีมันอาจจะไม่สงบถึงอัปปนาสมาธิ พอถึงอุปจารสมาธิ มีวิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคตา
มันก็จะทำหน้าที่พิจารณาวิปัสสนาของมันตลอดวันยันค่ำ ตลอดคืนยันรุ่ง..."


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 08:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ตรงประเด็น ครับ

ผมหาคำว่า
"อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ"

ไม่พบในพระไตรปิฎกเลยครับ
กรุณาไขข้อสงสัยด้วยครับ
ถ้ามี เอาแบบเน้นๆจากพระสูตร นะครับ ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 11:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
คุณ ตรงประเด็น ครับ

ผมหาคำว่า
"อุปจารสมาธิ หรือ อัปปนาสมาธิ"

ไม่พบในพระไตรปิฎกเลยครับ
กรุณาไขข้อสงสัยด้วยครับ
ถ้ามี เอาแบบเน้นๆจากพระสูตร นะครับ ขอบคุณครับ
:b8: :b8: :b8:



คำว่า ขณิกะสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปานาสมาธิ ไม่มีในพระสูตรแน่นอนครับ
เป็นคำที่อาจารย์รุ่นหลังพุทธกาลรจนาขึ้นมา และ ปัจจุบันเป็นที่นิยมกันทั่วไป
(เช่น เดียวกับคำว่า สมถยานิก วิปัสสนายานิก สุทธวิปัสสนายานิก และ ๆลๆ)

เวลาเราพูดกับคนอื่น ก็คงต้องใช้ภาษาที่เขาใช้กัน ไม่เช่นนั้นคงคุยกับเขาไม่เข้าใจ
ส่วนตัว ผมจะพยายามใช้ภาษาดั้งเดินในสมัยพุทธกาลเป็นหลักครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 05 ก.พ. 2009, 13:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


อนุโมทนาครับ

ถ้าเราทุกคนช่วยกัน ทรงจำคำพระพุทธเจ้า พูดคำพระพุทธเจ้า ถ่ายทอดคำพระพุทธเจ้า แล้ว
นี้ก็เป็นเหตุหนึ่ง ที่จะทำให้พระธรรมวินัย เจริญ สืบต่อไป

ขอบคุณมากครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 13:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


BlackHospital เขียน:
เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง
(เพราะภวตัณหา)

ภิกษุ ท.! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็
ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้า
อย่างอะไรเล่า? ห้าอย่างคือ สนใจแต่คำพูด สนใจแต่ผู้พูด สนใจแต่ตัวเอง
มีจิตฟุ้งซ่านไม่มีเอกัคคตาจิตฟังธรรม และทำในใจไม่แยบคาย. ภิกษุ ท.!
บุคคลประกอบด้วยเหตุห้าอย่างเหล่านี้แล แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลง
สู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย.
- ปญฺจก. อํ. ๒๒/๑๙๕/๑๕๑.

:



รบกวน ท่าน จขกท. ครับ :b8:

ผมจะอ่าน เนื้อความนี้จากพระไตรปิฎกต้นฉบับโดยตรง ได้จากแหล่งไหน ทางอินเตอร์เน็ตครับ

ขอบคุณครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 21:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 3
สมาชิก ระดับ 3
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ม.ค. 2009, 18:57
โพสต์: 159


 ข้อมูลส่วนตัว


คุณ ตรงประเด็น ครับ

กระผมไม่แน่ใจว่าคุณ ตรงประเด็น มีโปรแกรม Learntripitaka แล้วหรือยัง
ถ้ายัง ก็ หาได้ที
http://www.learntripitaka.com

ผมแนะนำเฉพาะ พระไตรปิฎก (สยามรัฐ) ภาษาไทย ๔๕ เล่ม และภาษาบาลี (สยามรัฐ) ๔๕ เล่ม
-------------------------------------

หรือ download หนังสือชุดจากพระโอฏฐ์ ๕ เล่ม ของท่านพุทธทาส รวบรวม และ แปล จากพระไตรปิฎก ภาษาบาลี (สยามรัฐ) ๔๕ เล่ม จาก http://www.buddhadasa.in.th

ได้แก่
เล่ม 1 พุทธประวัติจากพระโอฏฐ์
เล่ม 2 อริยสัจจากพระโอษฐ์ (มี ๒ เล่ม ภาคต้น ภาคปลาย)
เล่ม 3 ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
เล่ม 4 ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
---------------------------------------
ขอบคูณครับ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 ก.พ. 2009, 23:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ขอบคุณครับ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 10 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร