วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ธ.ค. 2008, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


:b6: :b6: :b6:

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 04:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(พิจารณาตัวอย่างเปรียบเทียบสาระตัณหากับฉันทะ เสริมคห. ที่ผ่านมา โดยบุคลาธิษฐาน พึงจับเอาสาระ)


เด็กชายสองคน คือ ด.ช.ตัณหา กับ ด.ช. ฉันทะ ไปเห็นเครื่องรับวิทยุเครื่องหนึ่ง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่เคย
รู้จักมาก่อน และได้ฟังเสียงจากวิทยุนั้นด้วยกัน

ด.ช.ตัณหา ได้ฟังเสียงจากวิทยุแล้วชอบใจเสียงไพเราะและเสียงแปลกๆ เขาคิดว่าถ้าเขามีวิทยุไว้สัก
เครื่อง คงจะสนุกสนานเพลิดเพลินมาก เขาจะเปิดฟังทั้งวันทีเดียว และเขารู้มาว่า คนที่มีวิทยุมีไม่มาก
ใครมีก็โก้เก๋ เขาคิดว่าถ้าเขามีวิทยุแล้ว เขาจะเด่นมากเพื่อนๆจะพากันมารุมดูเขา เขาจะถือวิทยุเดิน
อย่างภาคภูมิใจ ไปไหนก็จะเอาไปด้วย จะเอาไปอวดคนโน้นคนนี้ คิดอย่างนี้แล้ว ด.ช.ตัณหาก็อยากได้
วิทยุเป็นกำลัง กลับถึงบ้านก็ไปรบเร้าคุณพ่อคุณแม่ให้ไปซื้อมาให้เขาเครื่องหนึ่งให้จงได้ เขาถึงกับคิดว่า
ถ้าพ่อ-แม่ไม่ซื้อให้ เขาจะไปด้อมๆมองๆที่ร้าน ถ้าได้ช่องจะขโมยมาสักเครื่อง



ส่วน ด.ช. ฉันทะ ได้ฟังเสียงจากวิทยุก็แปลกประหลาดใจ เขาเริ่มคิดสงสัยว่า เสียงนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร เครื่องที่ให้เกิดเสียงนั้นคืออะไร มันทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร เขาทำมันอย่างไร มันมีประโยชน์อย่างไร จะเอาไปใช้ทำอะไรได้บ้าง เขาคิดดังนั้นแล้วก็เกิดความอยากรู้เป็นอันมาก จึงคอยสังเกตหรือไปเที่ยวสอบถามว่าใครจะบอกเรื่องนี้แก่เขาได้ ครั้นรู้จักช่างแล้ว ก็หาโอกาสเข้าไปซักถาม ได้ความรู้หลายอย่างตลอดจนรู้ว่ามันมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ด.ช. ฉันทะ ครั้นเห็นว่ามันเป็นสิ่งมีประโยชน์ ใจเขาซาบซึ้งในคุณค่าของมันบอกตัวเองว่าดีแน่ แล้วก็เกิดความอยากจะทำวิทยุขึ้นมาบ้าง


ลองพิจารณาว่า กระแสความคิดของเด็กสองคนนี้ จะมีผลต่อพฤติกรรมและวิถีชีวิตของเขาอย่างไร และผลที่กว้างไกลออกไปถึงคนที่เกี่ยวข้องตลอดจนสังคมและประเทศชาติจะเป็นอย่างไร

ในกระบวนธรรมแห่งความคิดและพฤติกรรมของเด็กทั้งสองนี้ องค์ธรรมในตอนเริ่มต้นเหมือนกัน คือ อายตนะภายใน (หู) + อารมณ์ (เสียง) => ได้ยิน (โสตวิญญาณ) = การรับรู้เสียง (ผัสสะ) => เวทนา (หมายถึงสุขเวทนาคือสบายหู)แต่ต่อจากนั้นแล้วกระบวนธรรมก็แยกไปคนละอย่าง

ด.ช.ตัณหา เมื่อได้เวทนาเป็นสุขสบายหูแล้วก็ชอบใจติดใจอยากฟังต่อๆไป คือเกิดตัณหาขึ้น
เขาคิดเพ้อไปตามความอยากนั้น ซึ่งล้วนเป็นอโยนิโสมนสิการ เพราะไม่ได้คิดตามสภาวะและตามเหตุผลเกี่ยวกับเรื่องวิทยุและเสียงวิทยุนั้นเลย มีแต่ความคิดสืบทอดจากตัณหา คิดเกี่ยวกับการเสพเสวย
เวทนาและการเสริมขยายตัวตน เมื่อคิดอย่างนั้น ก็เป็นการหล่อเลี้ยงอวิชชาเอาไว้ ทำให้ตัณหา
เพิ่มพลังแข็งแรงและขยายตัวขึ้นอีก พฤติกรรมของเขาก็จึงเป็นไปตามความบงการของตัณหา

ด.ช. ฉันทะ เมื่อกระบวนธรรมสืบต่อมาถึงเวทนาแล้ว เขาไม่ไหลเรื่อยต่อไปยังตัณหา แต่เกิดมีความคิดที่เป็นโยนิโสมนสิการขึ้นมาตัดหน้าตัณหาเสีย ทำให้ตัณหาชะงักดับไป โยนิโสมนสิการนั้น คือ การคิดตามสภาวะและเหตุผลว่า อารมณ์หรือสิ่งที่ประสบนั้นคืออะไร เป็นอย่างไร เป็นมาอย่างไร เป็นเพราะอะไร มีคุณโทษอย่างไร เป็นต้น ความคิดนี้นำไปสู่การรู้เข้าใจคุณค่าของสิ่งที่ดีงามเกิดความซาบซึ้ง มีจิตใจโน้มน้อมไปหา จึงเกิดเป็นฉันทะขึ้น และนำ ด.ช. ฉันทะไปสู่การเรียนรู้และการกระทำต่อไป

(ข้อนี้มุ่งเน้นในระดับทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ปัจจุบัน หรือ ระดับศีลธรรมสำหรับชีวิตประจำวัน--แต่ก็ส่องถึงวิถีทางการปฏิบัติกรรมฐานหรือการปฏิบัติธรรมด้วย)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 08:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะเป็นองค์ธรรมฝ่ายกุศล ดีงามไร้โทษ เป็นคุณประโยชน์ เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ แต่ฉันทะ จะเป็นคุณ

ประโยชน์ก่อให้เกิดผลดีเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงและคุณค่าของสิ่งที่มัน

เกี่ยวข้อง เพราะฉันทะอาศัยโยนิโสมนสิการซึ่งเป็นบุพภาคของปัญญา ถ้าความรู้ความเข้าใจไม่ลึกซึ้งชัดเจน

แน่แท้ ฉันทะก็อาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้เหมือนกัน ดังนั้น เพื่อให้ฉันทะเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยชักนำชีวิต

ไปสู่จุดหมายที่ถูกต้องได้อย่างมั่นใจ การฝึกอบรมเจริญปัญญา หรือการให้การศึกษาระดับปัญญาจึงถือเป็น

หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนา จุดเริ่มต้นที่สำคัญคือจะต้องฝึกโยนิโสมนสิการ รู้จักติดตามสภาวะและ

สืบค้นเหตุปัจจัย ให้ก้าวหน้าไปในความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่า ความจริงแท้เป็นอย่างไร อะไรมีคุณ

ค่าแท้จริงแก่ชีวิต อะไรเป็นอัตถะคือตัวประโยชน์แท้ที่ควรเป็นจุดหมาย และก้าวหน้าใปในกุศลธรรม

โดยเกิดความใฝ่รู้ รักความจริง รักความดีงาม รักที่จะดำรงส่งเสริมคุณภาพของชีวิต พร้อมกับ

ทำกุศลธรรมเหล่านั้นให้เกิดมีเพิ่มพูนขึ้น จนถึงขั้นมีปัญญาที่ทำชีวิตจิตใจให้หลุดพ้นเป็นอิสระได้


(ข้อนี้เกี่ยวข้องประโยชน์ทั้ง ๓ ขั้นคือทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ และปรมัตถ์)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 13:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกรณีที่ฉันทะเป็นปัจจัยแก่ตัณหา มันย่อมไห้เกิดโทษได้แม้แก่คนดี แม้ว่าคนดีอาจจะไม่เอาตัวตน
เข้าไปยึดถือครอบครองความดีที่สร้างขึ้นด้วยฉันทะ จนถึงกับเกิดความเย่อหยิ่งลำพอง ยกตนข่มผู้อื่น หรือลุ่มหลง มัวเมา ประมาท แต่บางทีความยึดถืออย่างอ่อนๆ เช่นว่า ทำไมบ้านเรา วัดเรา โรงเรียนเรา ตำบล บ้านเมืองของเราจึงไม่สะอาดเรียบร้อยเหมือนของเขา หรือว่าเด็กนี้ นักเรียนนี้ ลูกศิษย์นี้ เราพยายามสั่งสอนอบรมนัก หาทางช่วยแนะนำแก้ไขช่วยเหลือทุกอย่าง ทำไมเขาไม่ดีขึ้นมาเลย หรือว่าคนหมู่นี้เราพยายามช่วยให้พัฒนาตัวเองทุกอย่างทุกประการ ทำไมเขาไม่กระตือรือล้น ไม่ดีขึ้นมาทันอกทันใจเอาบ้างเลย ดังนี้เป็นต้น ก็ทำให้คนดีเป็นทุกข์เดือดร้อนได้ไม่น้อย และบางครั้งเมื่อเหตุปัจจัยของเรื่องนั้นๆ อยู่นอกเหนืออำนาจบังคับบัญชาของคนดี ก็ยิ่งเป็นเรื่องบีบคั้นใจให้คนดีเป็นทุกข์มากขึ้น ทุกข์ชนิดนี้ดูเหมือนจะเป็นความทุกข์พิเศษของคนดี ที่คนชั่วไม่รู้สึกเป็นทุกข์เดือดร้อนด้วยเลย จะเรียกว่าคนดี ก็มีทุกข์แบบของคนดีก็ได้ (*) และเมื่อทุกข์แล้วก็เป็นโอกาสให้วงจรกิเลสเริ่มหมุนได้อีก โดยอาจเกิดความขุ่นมัว หม่นหมอง น้อยใจ ขัดเคือง ฟุ้งซ่าน หุนหัน เป็นต้น อาจให้ทำการบางอย่างผิดพลาดหรือขาดความสุขุมรอบคอบเกิดผลเสียได้

โดยนัยนี้ ความเป็นคนดีจึงยังไม่เพียงพอ คนดียังต้องการสิ่งที่จะช่วยให้ทำความดีโดยไม่ทุกข์
และเป็นคนดี ผู้ไม่เป็นที่แอบแฝงของความชั่ว หรือไม่อาจกลับกลายเปลี่ยนไปเป็นคนไม่ดีได้อีก

พูดง่ายๆว่า ต้องการเครื่องป้องกันไม่ให้ตัณหาย้อนกลับเข้ามา ได้แก่ ต้องการปัญญาที่จะทำจิตใจให้หลุดพ้นเป็นอิสระ นี่คือจุดที่คนต้องการโลกุตรธรรม และควรให้ฉันทะทำหน้าที่นำชีวิตไปถึงจุดหมาย
ขั้นนี้ด้วย

(ข้อนี้ มุ่งเน้นจุดผ่านจากสัมปรายิกัตถะหรือประโยชน์เบื้องหน้าสำหรับชีวิตด้านในมาสู่ปรมัตถ์ หรือ ประโยชน์
ที่เป็นจุดหมายสูงสุด)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 15:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


อยากมียศ สักด นับ หน้า ถือตา
ไม่อยากให่ ลาภยศ เงินทอง สิ่งรักจากไป
ความไม่อยาก ไม่ให้ มี ไม่ ให้เป็น ในสิ่งที่ไม่ประสงค..
3ข้อนี่กินใจครับ ขอบพระคุณครับ มีแรงบันดาลใจขึ้นมาครับ :b8:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 15:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 28 ก.ค. 2006, 20:52
โพสต์: 1210

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b20: :b20: :b20:
ฉันทะ ในอิทธิบาท ๔ เป็นบาทเป็นฐานในการทำกิจทั้งให้สำเร็จ

.....................................................
สัพเพ สังขารา อนิจจา
สัพเพ ธรรมา อนัตตา...


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 15:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ก.ค. 2008, 14:11
โพสต์: 839

ที่อยู่: สงขลา

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะ วิริยะ จิตะ วิมังสา
ผมใช้ในการปฏิบัตสมถะครับ บางวัน เหนื่อยๆๆๆๆๆๆๆ
ต้องระลึก4ข้อนี้ขึ้นมาจะได้สู้ขึ้นมา :b6:

.....................................................
ทำดีทุกทุกวัน เมื่อโอกาสมา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 16:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



คงพอมองเห็น ความอยากที่เป็นตัณหา กับ ฉันทะ ที่นำมาลงย่อๆแล้ว จะนำมามากกว่านี้
เกรงจะเฝือ และกำลังคิดหาทางลงอยู่พอดี เห็นคุณแมว ฯ กับคุณบุญชัย กล่าวถึงฉันทะในอิทธิบาท
ซึ่งตรงกับใจคิด เลยขอย้ำด้วยข้อความนี้


ศัพท์ธรรมที่มีความหมายกว้าง ครอบคลุมความอยาก หรือ ความต้องการ ซึ่งเป็นแรงจูงใจของมนุษย์
ได้ทุกอย่าง ก็คือคำว่า ฉันทะ
ฉันทะ เป็นข้อธรรมสำคัญมาก พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล” หมายความว่า ฉันทะ เป็นรากหรือเป็นต้นเค้าของธรรมทุกอย่าง * (องฺ. อฏฺฐก. 23/189/350)

ฉันทะ ที่ไม่ดี เป็นอกุศล เป็นฝ่ายชั่ว ตรงกับคำว่า ตัณหา จะใช้คำว่า ตัณหา แทนก็ได้

ส่วนฉันทะ ที่ดีงาม เป็นฝ่ายกุศล มีชื่อเดิมว่า กุศลธรรมฉันทะ บางทีเรียกสั้นเข้าเป็น กุศลฉันทะ บ้าง ธรรมฉันทะ บ้าง แต่ที่นิยมเรียกคำเดียวว่า ฉันทะ
นอกจากนี้ยังมีฉันทะที่เป็นกลางๆ คือ ความต้องการทำ หรืออยากทำ เรียกว่า
กัตตุกัมยตาฉันทะ แต่ท่านมักจัดรวมเข้าในฝ่ายดี เป็นกุศลธรรมฉันทะ ด้วย
………

* องฺ.อ.3/319 ไขความว่า ธรรมทั้งปวงในที่นี้หมายถึงเบญจขันธ์ พึงเทียบกับบาลีใน
ม.อุ. 14/121/101 และ สํ.ข.17/182/121 ที่ว่า อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ มีฉันทะเป็นมูล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 16:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว



ศัพท์ฉันทะที่เป็นอกุศล ได้แก่ ฉันทะที่เป็นนิวรณ์ข้อหนึ่ง เช่น



๑. กามฉันทะ (= กาม+ฉันทะ) - ความอยากได้อยากเอา (แปลตามศัพท์ว่า ความพอใจในกาม)
หรือ อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้ หมายถึง ความอยากได้กามคุณทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น
รส โผฏฐัพพะ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นกิเลสพวกโลภะ จิตที่ถูกล่อด้วยอารมณ์
ต่างๆ คิดอยากได้โน่นอยากได้นี่ ติดใจโน่นติดใจนี่ คอยเขวออกไปหาอารมณ์อื่น ครุ่นข้องอยู่
ย่อมไม่ตั้งมั่น ไม่เดินเรียบไป ไม่อาจเป็นสมาธิได้


ฉันทะที่เป็นกุศล ได้แก่ ฉันทะที่เป็นอิทธิบาท เช่น



๑. ฉันทะ - ความพอใจ ได้แก่ ความมีใจรักในสิ่งที่ทำ และพอใจใฝ่รักในจุดหมายของสิ่งที่ทำนั้น
อยากทำสิ่งนั้นๆให้สำเร็จ อยากให้งานนั้นหรือสิ่งนั้นบรรลุถึงจุดหมาย พูดง่ายๆว่า รักงานและรักจุดหมาย
ของงาน
พูดให้ลึกลงไปในทางธรรมว่า ความรักความใฝ่ใจปรารถนาต่อภาวะดีงามเต็ม เปี่ยมสมบูรณ์ ซึ่งเป็นจุดหมาย
ของสิ่งที่กระทำหรือซึ่งจะเข้าถึงได้ด้วยการกระทำนั้น อยากให้สิ่งนั้นๆ ของงานนั้น เกิดมีเป็นจริงขึ้น
อยากทำให้สำเร็จผลตามจุดหมายที่ดีงามนั้น
ความอยากที่เป็นฉันทะนี้ เป็นคนละอย่างกันกับความอยากได้สิ่งนั้นๆมาเสพเสวย หรือ อยากเอามาเพื่อตัวตนในรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเป็นตัณหา
ความอยากของฉันทะนั้น ให้เกิดความสุขความชื่นชมเมื่อเห็นสิ่งนั้นๆงานนั้นๆ บรรลุความสำเร็จเข้าถึงความสมบูรณ์อยู่ในภาวะอันดีงามของมัน หรือ พูดแยกออกไปว่า ขณะเมื่อสิ่งนั้นหรืองานนั้นกำลังเดินหน้าไปสู่
จุดหมาย ก็เกิดปีติเป็นความเอิบอิ่มใจ ครั้นสิ่งหรืองานที่ทำบรรลุจุดหมายก็ได้รับโสมนัสเป็นความฉ่ำชื่นใจ
ที่พร้อมด้วยความรู้สึกโปร่งโล่งผ่องใสเบิกบานแผ่ออกไปเป็นอิสระไร้ขอบเขต

ส่วนความอยากของตัณหาให้เกิดความสุขความชื่นชมเมื่อได้สิ่งนั้นมาให้ตนเสพเสวยรสอร่อย หรือปรนเปรอ
ความยิ่งใหญ่พองขยายของตัวตน เป็นความฉ่ำชื่นใจที่เศร้าหมองหมกหมักตัว กีดกั้นกักตนไว้ในความ
คับแคบ และมักติดตามมาด้วยความหวงแหน ห่วงกังวลเศร้าเสียดาย และ หวั่นกลัวหวาดระแวง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


วิธีการละและควบคุมตัณหาตามหลักพุทธธรรม

ตัณหาเป็นสิ่งมีโทษ เป็นตัวการก่อทุกข์หรือปัญหาทั้งหลาย ทั้งแก่บุคคลและสังคม จึงต้องหาทางแก้ไข ไม่ให้เกิดโทษภัยเหล่านั้น

วิธีแรกคือ ละหรือไม่ให้เกิดขึ้นอย่างสิ้นเชิง ซึ่งทำได้โดยการดับอวิชชาด้วยปัญญาแล้วดำเนินชีวิตด้วยปัญญาอย่างเดียว แต่สำหรับปุถุชนผู้ดำเนินชีวิตอยู่ท่ามกลางสิ่งล่อเร้าเย้ายวนและเรื่องราวกระทบกระทั่งต่างๆ โดยยังมีอวิชชา ตัณหา อุปาทาน พรั่งพร้อมอยู่ภายใน คอยรอขานรับสิ่งล่อเร้าอยู่ตลอดเวลา ถึงจะระมัดระวัง นึกอยากจะใช้ปัญญาเพียงไร ก็อดไม่ได้ที่จะเผลอปล่อยให้ตัณหาได้โอกาสแสดงบทบาท
เบาบ้างแรงบ้างโจ่งแจ้งหรือไม่ก็แอบแฝง หนทางแก้ไขที่พึงเน้นก็ คือ การพยายามใช้และปลูกฝัง
ฉันทะ ที่เป็นความต้องการสิ่งดีงามขึ้นมาให้เป็นตัวชักนำการกระทำให้มากที่สุด

แม้แต่เมื่อรู้จักฉันทะบ้างแล้ว แต่ตัณหายังแรงกล้าเกินไป ก็ยังทนทำการโดยดีตามที่สำนึกแห่งความดี หรือ สังคมกำหนดไว้ให้ตลอดไปไม่ไหว คอยแต่จะหลีกไปหาทางลัดเพื่อให้ได้สิ่งที่ตัณหาต้องการ
เรื่องของปุถุชนทั่วไป จึงยังอยู่ในขั้นของการเลือกเอาระหว่างการดำรงอยู่เพียงด้วยแรงตัณหาอย่างเดียว หรือ ปล่อยให้ตัณหาเป็นตัวนำครอบงำพฤติกรรมส่วนใหญ่ กับการที่สามารถเชิดชูฉันทะให้เป็นตัวเด่นขึ้นมา และนำชีวิตให้หลุดพ้นจากอำนาจบงการของอวิชชา ตัณหา อุปาทาน มากขึ้นโดยลำดับ

ข้อควรปฏิบัติก็ คือ ถ้าเป็นไปได้ควรให้มีฉันทะล้วนๆ แต่ถ้าทำไม่ได้ ยอมให้ตัณหาออกโรง ก็ควรหันเหให้เป็น ตัณหา ที่หนุนฉันทะ คือ เป็นปัจจัยแก่ ฉันทะ เมื่อสามารถสร้างเสริมฉันทะขึ้นมานำพฤติกรรมของตนได้ ตัณหาก็ถูกควบคุม และ ขัดเกลาไปเองในตัว
นี่แหละ คือ วิธีการละและควรคุมตัณหาตามหลักพุทธธรรม ไม่ใช่ไปคุมไปกักกดไปละกันทื่อๆ อย่างไม่รู้เรื่องรู้ราวไม่รู้ที่ไปที่มา ซึ่งเป็นการเพิ่มอวิชชา ก่อให้เกิดผลร้ายมากกว่าผลดี

(บทสรุป พุทธธรรมหน้า 519)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ธ.ค. 2008, 18:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


..................
จบประเด็นความอยาก แต่ขอย้อนกลับไปข้างต้นที่ท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ปรารภไว้ก่อนนี้


มีคำถามและคำกล่าวเชิงค่อนว่า พระพุทธศาสนา ที่ได้พบบ่อยครั้ง ซึ่งน่าสนใจ คือคำพูดทำนองว่า

-พระพุทธศาสนาสอนให้ละตัณหา ไม่ให้มีความอยาก เมื่อคนไม่อยากได้ ไม่อยากร่ำรวย จะพัฒนาประเทศชาติได้อย่างไร ? คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดขวางต่อการพัฒนา

-นิพพานเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมก็เพื่อบรรลุนิพพาน แต่ผู้ปฏิบัติจะอยาก
ในนิพพานไม่ได้ เพราะถ้าอยากได้ก็กลายเป็นตัณหา กลายเป็นปฏิบัติผิด เมื่อไม่อยากได้แล้วจะปฏิบัติ
ได้อย่างไร คำสอนของพระพุทธศาสนาขัดแย้งกันเอง และเป็นการให้ทำในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

คำถามและคำค่อนว่า ๒ ข้อนี้ กระทบหลักการของพระพุทธศาสนาตลอดสายตั้งแต่การดำเนินชีวิตประจำวัน
ของชาวบ้าน จนถึงการปฏิบัติเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพาน หรือตั้งแต่ระดับโลกียะจนถึงระดับโลกุตระ
สาเหตุ ให้เกิดคำถามและคำกล่าวหาเช่นนี้ เกิดจากความเข้าใจพร่ามัวสับสนบางอย่าง ซึ่งมีอยู่มาก
แม้ในหมู่ชาวพุทธเอง
ความสับสนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับถ้อยคำด้วย จุดสำคัญคือเข้าใจคำว่า ความอยาก เป็นตัณหาทั้งหมด และเข้าใจต่อไปว่า พระพุทธศาสนาสอนให้ละความอยาก หรือ สอนไม่ให้มีความอยากใดๆ เลย
นอกจากนั้น บางทีรู้จักข้อธรรมอื่นที่มีความหมายทำนองนี้เหมือนกัน แต่รังเกียจที่จะแปลว่า
ความอยาก จึงเลี่ยงแปลเป็นอื่นเสีย เมื่อถึงคราวจะพูดเรื่องเกี่ยวกับความอยาก จึงลืมนึกถึงคำนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2008, 10:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 18 เม.ย. 2008, 13:18
โพสต์: 1367

ที่อยู่: bangkok

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉันทะ เป็น สัมมาทิฏฐิ
ตัณหา เป็น มิจฉาทิฏฐิ

.....................................................
ตั้งสติไว้ มองความจริงตามความเป็นจริง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 ธ.ค. 2008, 14:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อสะดวกในการพิจารณา อาจสรุปข้อควรกำหนดเกี่ยวกับตัณหา และ ฉันทะได้ดังนี้

ความหมายเบื้องต้น
ตัณหา
-ความอยาก ความร่านรน ทะยานอยาก คือ อยากได้หรืออยากเอา อยากเป็น อยากไม่เป็น ต้องการเสพ
ฉันทะ
-ความยินดี พอใจ รัก อยาก คือ ใฝ่ธรรม ใฝ่ดี ใฝ่สัจจะ อยากรู้ อยากทำ
ต้องการธรรม

ความหมายตามหลัก
ตัณหา
-ความอยากได้สิ่งเสพเสวยที่อำนวยสุขเวทนา อยากในภาวะมั่นคงถาวรของอัตตา อยากให้อัตตาพราก ขาดหายสูญสิ้นไปจากภาวะที่ไม่ปรารถนา
ฉันทะ
- ความยินดีในภาวะที่สิ่งนั้นๆเป็นสิ่งที่ดี ต้องการภาวะดีงามและความดำรงอยู่ในอุดมสภาวะของสิ่งทั้งหลาย อยากทำให้คุณค่า หรือ ภาวะที่ดี งอกงามขึ้นจนบรรลุอุดมดามสภาวะ

กระบวนธรรม
ตัณหา
-(อวิชชา+) เวทนา => ตัณหา => ปริเยสนา
ฉันทะ
-โยนิโสมนสิการ => ฉันทะ => อุตสาหะ

สิ่งที่ประสงค์
ตัณหา
-อารมณ์ ๖ (สิ่งเสพเสวยที่อำนวยสุขเวทนาหรือพะนออัตตา) อามิส
ฉันทะ
- ธรรม กุศล (ความจริง ความดีงาม คุณภาพชีวิต)

ลักษณะพึงสังเกต
ตัณหา
-มีอัตตาเป็นศูนย์กลาง จะเอาเข้ามา
-มุ่งหาสุขเวทนา หรือ สิ่งพะนอตน
-มืด หรือ ไม่คำนึงถึงความรู้ความเข้าใจคุณโทษ เป็นต้น ของสิ่งนั้นๆ
-เป็นเงื่อนไขกับการกระทำ ไม่ต้องการการกระทำ
ฉันทะ
-ไม่พัวพันกับอัตตา โน้มน้อมไปหา
- มุ่งอรรถ คือ สิ่งที่มีคุณค่าเป็นประโยชน์แท้จริงแก่ชีวิตและแก่ทุกสิ่ง
-เกิดจากความรู้ความเข้าใจ เห็นคุณค่าสัมพันธ์กับปัญญา
-เป็นเหตุกับการกระทำ เป็นจุดเริ่มต้นหรือส่วนหนึ่งของการกระทำ
-จุดมุ่งหมายของงานนั้นเองเป็นตัวกำหนดการกระทำ

อาการ-ผลต่อจิต
ตัณหา
-กระวนกระวาย เร่าร้อน ไม่ส่งเสริมสมาธิ เช่น ชอบใจ อยากได้อยากเอาอะไร แล้วจิตคิดพล่านปั่นป่วนไป
-ความข้องคับใจ ทุกข์ต่างๆ โรคทางจิต
ฉันทะ
- สบาย สงบ สมาธิ ช่วยให้เกิดสมาธิ เช่น ชื่นชมในความดีงามของตน คำสอน หรือ ธรรมชาติ จิตดื่มด่ำซาบซึ้ง สงบตั้งมั่น
-เอื้อต่อสุขภาพจิต

วิธีปฏิบัติ
ตัณหา
๑. นัยตรง- พึงละโดยถอนขาด
-เกิดที่ไหน ดับ หรือ ละที่นั่น
-ควบคุมโดยเพิ่มปัญญา และ ฉันทะ
๒. อุบาย- อาศัยตัณหาละตัณหา
-ให้ตัณหาเป็นปัจจัยแก่ฉันทะ (เหตุหนุนฉันทะ)
ฉันทะ
- พึงกระทำ คือ สร้างขึ้นและปฏิบัติตาม
-ระงับด้วยการทำให้สำเร็จตามนั้น

เท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เท่ากับเป็นการเสนอหลักการอย่างหนึ่งของพระพุทธศาสนาว่า คนเรานี้โดยธรรมชาติ ย่อมมีแรงจูงใจทั้งฝ่ายดี และ ฝ่ายชั่ว ซึ่งพร้อมที่จะนำออกมาใช้ได้ การกระทำที่ดีงาม กิจกรรมทุกอย่างที่เป็นไปเพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ ตลอดจนการบรรลุจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา จะต้องอาศัยแรงจูงใจฝ่ายดีที่เรียกว่าฉันทะ
ทำนองเดียวกับที่การกระทำความชั่ว และกิจกรรมที่ก่อปัญหาสร้างความทุกข์ทุกอย่าง ย่อมถูกกระตุ้นด้วย ตัณหา ที่ มีอวิชชาเป็นมูลราก

ดังนั้น จึงเป็นหน้าที่ของกระบวนการฝึกอบรมสั่งสอนทุกอย่าง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่า การศึกษาหรือ การปฏิบัติธรรม หรือ ชื่ออื่นใดก็ตาม ที่จะต้องช่วยให้บุคคลปลุกฟื้นฉันทะ มาเป็นพลังชักจูงการกระทำและนำชีวิต
ไปสู่จุดหมายที่ดีงาม ซึ่งอำนวยประโยชน์สุขที่แท้จริงทั้งแก่ชีวิตเองและแก่โลกที่แวดล้อมอยู่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 00:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ทั้งตันหาและฉันทะล้วนเป้นสมุติบัญญัติ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ธ.ค. 2008, 14:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ช่วยแยกตัณหากับฉันทะให้เป็นปรมัตถ์กับบัญญัติที่สิครับ แยกยังไงตรงไหนเป็นบัญญัติตรงไหนเป็นปรมัตถ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 40 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร