วันเวลาปัจจุบัน 06 พ.ค. 2025, 02:47  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เนื่องจากได้มีโอกาสรับทราบข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้

คือ มีบางท่านเห็นว่า

การแผ่เมตตา เป็นการกดข่มความโกรธ
และ การกดข่มความโกรธ เป็นการไปแทรกแซงพฤติกรรมของจิต
ไม่ใช่เป็นการเจริญวิปัสสนาที่จะดูสภาวะของจิตตามจริง....

ดังนั้น การแผ่เมตตาจึงอาจจะเป็นสิ่งขัดขวางการเจริญวิปัสสนาได้???


ท่านเห็นเช่นใดครับ....


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 มิ.ย. 2008, 22:48
โพสต์: 1173


 ข้อมูลส่วนตัว


การเจริญวิปัสสนาในแนวสุขวิปัสสโก สมาธิจะได้แค่ฌาน 1 อานุภาพแห่งการแผ่เมตตาจึงมีไม่มากอยู่แล้ว พอไปเจริญวิปัสสนาอีก จิตจะต้องไม่ส่งออก ดังนั้นสวรรค์ นรก เปรต เทวดา พรหม จิตของเขา
จะส่งออกนอกไปรับรู้ยิ่งทำไม่ได้ และไม่ควรทำ

เมื่อเขาเดินสายการเจริญวิปัสสนาในแนวสุขวิปัสสโก การแผ่เมตตาจึงน่าจะขัดขวางการเจริญวิปัสสนา มันต้องแลกกัน ถ้าคุณต้องการบรรลุอรหันต์เร็ว คุณต้องไม่เอานิมิตทั้งหมด จิตต้องไม่ส่งออกอย่างเดียว

แต่เมื่อเดินสายอื่นที่ไม่ใช่สายการเจริญวิปัสสนาในแนวสุขวิปัสสโก พวกเขาเหล่านั้นจะเข้าสู่ฌาน 2-4 อานุภาพแห่งการแผ่เมตตาจึงสูง สามารถนำไปอานิสงค์แห่งฌาน ไปใช้ประโยชน์ต่อเพื่อมนุษย์และวิญญาณได้มากมาย และก็ดำเนินไปพร้อมกับการเจริญวิปัสสนาด้วย หลวงพ่อหลวงปู่ในอดีตของเมืองไทย มักดำเนินไปในสายนี้ สายนี้นำไปสู่การมีอภิญญา 6 ในขณะที่สายสุขวิปัสสโกมีอภิญญาอย่างเดียว คือ ได้ อาสวักขยาน ดับอาสวะกิเลสหมดสิ้นไป

ดังนั้น การเดินในสายอภิญญา 6 การแผ่เมตตาจึงไม่ขัดขวางการเจริญวิปัสสนา แต่ต้องกระทำไปควบคู่กันทั้งสมถะและวิปัสสนา ในขณะที่เจริญวิปัสสนาในแนวสุขวิปัสสโก การแผ่เมตตาเป็นตัวขัดขวางการเจริญวิปัสสนา และพระอรหันต์สุขวิปัสสโก ก็ไม่มีอภิญญามากพอจะแผ่เมตตาไปช่วยใครด้วย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 15:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอตอบท่านตรงประเด็นดังนี้ครับ

ถาม : การแผ่เมตตา...ขัดขวางการเจริญวิปัสสนาไหม?

ตอบ : ก่อนอื่นเรื่องเมตตาเป็นการ "กดข่มจิต" นี้ จะต้องขอบอกว่าในความเป็นจริงแล้วการเจริญกรรมฐานด้วยอะไรๆ จัดว่าเป็นการกดข่มทั้งนั้น แม้อานาปานสติ สติปัฏฐาน ดูจิต วิปัสสนากรรมฐาน หรือวิธีการอื่นๆ ยังถือว่าเป็นการกดข่มอยู่ หากจะไม่ให้กดข่มต้องด้วยโลกุตรมรรค

ต่อไปเรื่องเมตตาขัดขวางวิปัสสนาหรือไม่? จะเรียกว่าขัดขวางไม่ได้หรอกครับ ขึ้นอยู่กับแนวทางการปฏิบัติ หากผู้ปฏิบัติปฏิบัติด้วยวิธีเจริญวิปัสสนามีสมถะนำหน้าแล้ว จะไม่ถือว่าเป็นการขัดขวางเลย กลับเป็นการส่งเสริมให้จิตสงบเป็นสมาธิได้ง่าย เพราะขณะที่จิตเราเจริญเมตตาอยู่เนื่องๆ เป็นคำบริกรรม จิตจะเกิดปราโมทย์ ปีติ แล้วใจจะสงบลงง่ายอย่างเป็นธรรมชาติ อานิสงค์ข้อหนึ่งของ การเจริญเมตตา คือ ทำให้จิตสงบเป็นสมาธิได้เร็วครับ

แต่ถ้าหากเขาเจริญสมถะมีวิปัสสนานำหน้า ก็ไม่ขัดขวางอยุ่ดี (แต่ต้องใช้เมตตาแบบถูกทาง) เพราะบางครั้งเราจะต้องใช้การเจริญเมตตา เพื่อส่งเสริมให้จิตของเราเห็นความเป็นจริง โดยแผ่เมตตาพิจารณาทำนองให้เห็นคุณค่าของบุคคลที่เรากำลังโกรธอยู่ก่อน จากนั้นก็ลงท้ายด้วยขอให้บุคคลนั้นมีความสุขอย่าได้เบียดเบียนกัน แล้วจิตก็จะละอกุศลธรรมที่เกิดขึ้น คือ ความโกรธ ลงได้ การให้เห็นคุณของบุคคลนี้เป็นโลกียสัมมาทิฐิ เป็นวิปัสสนาอย่างหนึ่ง แม้ไม่ใช่ปรัมัตถ์ที่เป็นสภาวะ แต่ก็ให้เห็นความเป็นจริง เมตตากับวิปัสสนาจึงส่งเสริมกันอย่างนี้

ทีนี้บางทีก็มีเมตตาที่ขัดขวางวิปัสสนานะ ยกตัวอย่างเช่น การเจริญเมตตาแบบผิดๆ หรือการเจริญเมตตาจนจิตสงบแล้ว แต่จิตไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่ปล่อยวางในบุคคล สัตว์ สรรพสิ่งที่เราแผ่ไปให้ ไม่เห็นไตรลักษณ์ ไม่ปล่อยวางแม้ในเมตตาที่เกิดกับจิต หรืออะไรๆ ที่เกิดขึ้นเพราะเมตตาสมาธินั้น อย่างนี้เป็นการขัดขวางวิปัสสนา

การขัดขวางนี้ไม่ใช่แต่เมตตาหรอก การภาวนาแบบอื่นๆ ก็เหมือนกัน หากเราไปยึดมั่นถือมั่นย่อมขัดขวางวิปัสสนา ขัดขวางการหลุดพ้น เพราะไม่ถือมั่นได้ทั้งสิ้น

หวังว่าที่ตอบไป คงจะพอเป็นคำตอบของคำถามที่คุณตรงประเด็นตั้งมาได้นะครับ

ขอให้เจริญในธรรม


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:
การแผ่เมตตา เป็นการกดข่มความโกรธ
และ การกดข่มความโกรธ เป็นการไปแทรกแซงพฤติกรรมของจิต
ไม่ใช่เป็นการเจริญวิปัสสนาที่จะดูสภาวะของจิตตามจริง....

ดังนั้น การแผ่เมตตาจึงอาจจะเป็นสิ่งขัดขวางการเจริญวิปัสสนาได้???[/color][/b]

ท่านเห็นเช่นใดครับ....


ผมเห็นว่ามันไม่ขัดนะครับ

มันก็เหมือนพระหนุ่มๆ ที่ครูอาจารย์ชอบแนะให้ไปดูศพ เอาศพมาเป้นกรรมฐาน
อย่างนี้ก้เป็นการแทรกแทรงด้วยธรรมะคู่ตรงข้ามเหมือนกัน
เป็นกรรมฐาน 1 ใน 40 แบบ

ถ้าการใช้ธรรมะคู่ตรงข้ามแล้วเป้นการขัดกับการวิปัสสนา ท่านคงไม่สอนกัน
แต่ที่ท่านสอน เพราะผู้ปฏิบัติ ยังเป็นปุถุชน
พระหนุ่มๆมีโอกาสจะปล่อยให้ความราคะมันฟุ้งเฟื่องจนอาจจะเป็นอันตรายแก่พรหมจรรย์ได้
จึงต้องแก้ด้วยยาที่ออกฤทธิ์เร็ว และยังเป็นอุบายที่ไม่สวนกระแสสัจจะธรรม

ถ้าเรากำลังจะละเมิดศีล
การข่มกด มีความจำเป็นอย่างมาก

ความข่มกดหลีกหนีจากอกุศลธรรม ก็จัดว่าเป็นศีล
จะว่าศีลขวางวิปัสนาก็คงไม่ได้
เพราะท่านเอาคำว่าศีล สมาธิ และปัญญา ไว้ด้วยกัน



ถ้าลำพังความโกรธของเราเป็นปกติ ไม่มากมายอะไร ไม่เดือดร้อนใคร
เป็นจิตที่ดีพอสมควร เราก็เ้ฝาดูความโกรธไป ไม่ต้องไปแตะต้องมัน
สติเพียงเล็กน้อย ก็สามารถรับมือกับความโกรธเล็กน้อยได้

ถ้าความโกรธของเราตามปกตินั้น มีมากจนเป็นอันตรายแก่เราหรือผู้อื่น
ย่อมเจริญธรรมะปฏิบัติได้ยากกว่าจิตกุศล
จำเป็ฯต้องบำบัดให้มันมีอกุศลจิตน้อยๆลงมา

การผ่เมตตาจึงมีความสำคัญในลักษณะที่ว่า บำบัดจิตใจที่มันสกปรกมากๆ
ให้มันมีความสะอาดเพียงพอที่จะเจริญธรรมปฏิบัติได้ง่ายขึ้น

แต่สำหรับชั้นอริยสงฆ์ หรือแม้พระพุทธเจ้า ท่านก็เจริญเมตตา แผ่เมตตาอยู่เป็นนิตย์
เรียกว่าขนาดหลุดพ้นแล้วก้ยังต้องแผ่เมตตา
ก้น่าคิดกันต่อไปว่า ทำไมท่านเหล่านั้น เป้นผู้อยู่เหนือเจตนาบาปบุญทั้งปวง แต่ยังเจริญการแผ่เมตาอยู่
การแผ่เมตตาต้องมีคุณอนันตเป็นแน่เลยนะคับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 16:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณ ทุกท่านครับ :b8:


วันนี้ ผมมาฟังวิสัชชนาธรรม ดังพระบาลีที่ว่า

สุตะ สูสัง ละ ภะเต ปัญญัง ....ผู้ฟังด้วยดี ย่อมมีปัญญา

เลยขออนุญาต สงวนการแสดงความเห็นไว้ก่อน



ขอถามต่อน่ะครับ
(แบบซีรี่ส์ หนังเกาหลี :b12: )


1.การฝึกจิต หรือ การปฏิบัติต่อจิต นั้น....จัดว่า เป็นการแทรกแซงจิตไหม?

2.พระพุทธเจ้าท่านห้ามการแทรกแซงจิต ในทุกๆกรณีไหม?

3.ถ้าจะไม่แทรกแซงจิตเลย จะสามารถพ้นทุกข์ได้ไหม?


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 17:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงประเด็น เขียน:

ขอถามต่อน่ะครับ
(แบบซีรี่ส์ หนังเกาหลี :b12: )



- วันนี้เพิ่งเห็นคุณตรงประเด็นยิ้มเป็นครั้งแรก หาดูยากยิ่งกว่าพระจันทรืยิ้มอีกนะคับนี่
ตรงประเด็น เขียน:
[b][color=#FF4040]1.การฝึกจิต หรือ การปฏิบัติต่อจิต นั้น....จัดว่า เป็นการแทรกแซงจิตไหม?

- เข้าใจว่าเป็นครับ มีเจตนาเป็นเหตุ
แต่เป็นอุบายฝ่ายดีครับ อุบายที่ทำให้เข้าใจจิตใจมากขึ้น

แต่การแทรกแทรง มันมีหลายระดับ
พระพุทธเจ้าแสดงเรื่องทางสายกลางเป้นเรื่องแรก เพราะท่านติดตรงที่ท่านแทรกแทรงอย่างสุดกู่
และปัญจวัคคีก็กำลังติดเรื่องสุดกู่อยู่ คือทำให้ทุกข์ที่สุด
แทรกแทรงขนาดนั้นกันเลยทีเดียว

แต่พอมีเจตจำนงค์ที่จะตรัสรู้
จึงนั่งลงทำกระบวนการสมาธิ ตัวนี้คือแทรกแทรง เป็นสมถะ
ยังให้เกิดสภาวะที่พอเหมาะพอควร
แล้วจึงเฝ้ารู้เฝ้าดูไปตามจริง

มีสมถะเป็้นต้น มีวิปัสนาเป็นท้าย


ตรงประเด็น เขียน:
2.พระพุทธเจ้าท่านห้ามการแทรกแซงจิต ในทุกๆกรณีไหม?

- อันนี้ไม่ทราบเลยครับ
แต่ประเมินเอาเองว่า ทางสายกลางครับ
มันต้องใช้ในบางเวลา ไม่ใช้ในบางเวลา

ตรงประเด็น เขียน:
3.ถ้าจะไม่แทรกแซงจิตเลย จะสามารถพ้นทุกข์ได้ไหม?

- ไม่แน่นอนครับ พระพุทธเจ้าเรา ไม่ใช่ว่าอยู่เฉยๆแล้วส้มหล่นได้เป็นพระพุทธเจ้า
ท่านก็เริ่มต้นค้นหาคำตอบ เพราะความอยากรู้เหมืิอนกัน
แล้วท่านก้บงการจิตตัวเองเหมือนกัน เช่นบงการให้นั่ง บงการให้ทำสมาธิ

"ไม่แทรกแทรงจิตเลย" นั้น มันมีวิธีใช้ของมันอยู่
เราต้องใช้ให้ถูกบทบาทหน้าที่ครับ

เช่นถ้าโกรธเป้นฟืนเป้นไฟ แล้วไม่บงการจิตแทรกแทรงจิต ทำสมถะ อาจจะเกิดโศกนาฏกรรม
ในทำนองตรงกันข้าม ถ้าเข้าสมาธิแล้วกดข่มให้มันนิ่งอยู่อย่างนั้นตลอดเวลา สวนกระแสไตรลักษณ์
ไม่ปล่อยให้จิตแสดงความจริงออกมา ก็ย่อมไม่มีความจริงให้เฝ้ารู้เฝ้าดู ย่อมไม่เกิดปัญญา

การแทรกแทรง ต้องกระทำอย่างรู้วิธีครับ

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 20:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สาธุครับ

คุณ คามิน :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอเสนอความเห็นบ้าง น่ะครับ

เดี๋ยวจะหาว่า ผมชอบแทงกั๊กแบบนักการเมืองไทย :b6:



ในพระสูตร เรื่อง กรรมฐาน กับ จริต

ขออนุญาต นำมาลงประกอบ


อ้างอิง : พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๐ สุตตันตปิฎกที่ ๒๒ ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส

http://larndham.net/cgi-bin/tread.pl?st ... yte=331064


Quote Tipitaka:
พระผู้มีพระภาคย่อมทรงทราบว่า

บุคคลนี้เป็นราคจริต
บุคคลนี้เป็นโทสจริต
บุคคลนี้เป็นโมหจริต
บุคคลนี้เป็นวิตักกจริต
บุคคลนี้เป็นศรัทธาจริต
บุคคลนี้เป็นญาณจริต.

พระผู้มีพระภาคตรัสบอกอสุภกถาแก่บุคคลผู้เป็นราคจริต.

ตรัสบอกเมตตาภาวนาแก่บุคคลผู้เป็นโทสจริต.

ทรงแนะนำบุคคลผู้เป็นโมหจริตให้ตั้งอยู่ในเพราะอุเทศและปริปุจฉา ในการฟังธรรมโดยกาล ในการสนทนาธรรมโดยกาล ในการอยู่ร่วมกับครู.

ตรัสบอกอนาปานัสสติแก่บุคคลผู้เป็นวิตักกจริต

ตรัสบอก ความตรัสรู้ดีแห่งพระพุทธเจ้า ความที่ธรรมเป็นธรรมดี ความที่สงฆ์ปฏิบัติดี และศีลทั้งหลายของตน ซึ่งเป็นนิมิต เป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส แก่บุคคลผู้เป็นศรัทธาจริต.

ตรัสบอกอาการไม่เที่ยง อาการเป็นทุกข์ อาการเป็นอนัตตา อันเป็นวิปัสสนานิมิตแก่บุคคลผู้เป็นญาณจริต.



ถ้าดูจากพระสูตร

จริต ประกอบด้วย

1.ราคจริต
2.โทสจริต
3.โมหจริต
4.วิตกจริต
5.ศรัทธาจริต
6.ญาณจริต


ราคจริต ถ่วงดุลย์ด้วย อสุภกรรมฐาน

โทสจริต ถ่วงดุลย์ด้วย เมตตาภาวนา

โมหจริต ถ่วงดุลย์ด้วย การฟังธรรมตามกาล หรือ อยู่กับครูบาอาจารย์

วิตกจริต ถ่วงดุลย์ด้วย อานาปานสติ

ศรัทธาจริต ส่งเสริมด้วย พุทธานุสติ ธรรมานุสติ สังฆานุสติ ศีลานุสติ

ญาณจริต ส่งเสริมด้วย การพิจารณาไตรลักษณ์โดยตรง



ปล...

พึงสังเกตุว่า มีทั้ง การถ่วงดุลย์ และ การส่งเสริม ในเรื่องของจริต
หาใช่มีแต่การถ่วงดุลย์อย่างเดียวไม่

บุคคลที่เป็นโทสจริต จากพระสูตร พึงเจริญเมตตาภาวนา... แต่ ก็คงไม่ห้าม ถ้าจะพัฒนาต่อด้วย การเจริญสติปัฏฐานในหมวดจิตตานุปัสสนา(ตามรู้จิต และ อาการของจิต) หรือ ธัมมานุปัสสนา(นิวรณ์บรรพ)

และ การเจริญเมตตาภาวนา น่าจะเป็นการส่งเสริมการเจริญสติปัฏฐานในหมวดจิตตานุปัสสนา(ตามรู้จิต และ อาการของจิต) หรือ ธัมมานุปัสสนา(นิวรณ์บรรพ) เสียด้วยซ้ำ... เพราะ จิตที่สงบระงับเป็นสมาธิ ย่อมเข้าใจธรรมได้ง่ายขึ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 20:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


พระพุทธองค์ ทรงแสดงวิธีการละอาสวะไว้ด้วยกุศโลบายต่างๆ

มีให้เลือกใช้ อย่างเหมาะสมตามโอกาสต่างๆ



การละอาสวะด้วยการสังวร

พุทธดำรัส “....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยความสำรวมในจักขุนทรีย์ ... ในโสตินทรีย์ ... ในฆานินทรีย์ .....
ในชิวหินทรีย์ ...... ในมนินทรีย์ ..... ก็อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใดพึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่สำรวมในมนินทรีย์อยู่ อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สำรวมในมนินทรีย์อยู่อย่างนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะถึงละได้เพราะการสังวร ฯ”


การละอาสวะด้วยการพิจารณาเสพ

พุทธดำรัส“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพจีวรเพียงเพื่อกำจัดความหนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อจะปกปิดอวัยวะที่ให้ความละอายกำเริบ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบิณฑบาต มิใช่เพื่อจะเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา มิใช่เพื่อประดับ มิใช่เพื่อตบแต่ง เพียงเพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่เพื่อให้เป็นไป เพื่อกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์แก่พรหมจรรย์ ด้วยคิดว่าจะกำจัดเวทนาเก่าเสียด้วยจะไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้นด้วย ความเป็นไป ความไม่มีโทษและความอยู่สบายด้วย จักมีแก่เรา ฉะนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้วย่อมเสพเสนาสนะเพียงเพื่อกำจัด หนาวร้อน สัมผัสแห่งเหลือบยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อบรรเทาอันตรายแต่ฤดูเพื่อรื่นรมย์ในการออกเร้นอยู่ พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เสพบริขารคือยา อันเป็นปัจจัยแก่คนไข้เพียงเพื่อกำจัดเวทนาที่เกิด แต่อาพาธต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว เพื่อความเป็นผู้ไม่มีอาพาธเบียดเบียนเป็นอย่างยิ่ง ฯ
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนี้ ผู้ไม่พิจารณาเสพปัจจัยอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้พิจารณาเสพอยู่อย่างนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้ด้วยการพิจารณาเสพฯ”


การละอาสวะด้วยความอดกลั้น

พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เป็นผู้อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย สัมผัส แห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีชาติของผู้อดกลั้นต่อถ้อยคำที่ผู้อื่นกล่าว ชั่ว ร้ายแรง ต่อเวทนาที่มีอยู่ในตัว ซึ่งยังเกิดขึ้นเป็นทุกข์ กล้า แข็ง เผ็ด ร้อน ไม่เป็นที่ยินดี ไม่เป็นที่ชอบใจ อาจพร่าชีวิตเสียได้
“ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะแล้วความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุผู้ไม่อดกลั้นอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน.....เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อดกลั้นอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะความอดกลั้น”


การละอาสวะด้วยการเว้นขาด

พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นช้างที่ดุร้าย ม้าที่ดุร้าย โคที่ดุร้าย สุนัขที่ดุร้าย งู หลัก ตอ สถานที่มีหนาม บ่อ เหว ที่เต็มด้วยของไม่สะอาดโสโครก เพื่อพรหมจรรย์ ผู้เป็นวิญญูชนทั้งหลาย พึงกำหนดลงซึ่งบุคคลผู้นั่ง ณ ที่มิใช้อาสนะเป็นปานใด ผู้เที่ยวไป ณ ที่มิใช่โคจรเห็นปานใด ผู้คบมิตรที่ลามกเห็นปานใด ในสถานที่ทั้งหลายอันลามก ภิกษุนั้นพิจารณาโดยแยบคายแล้ว เว้นที่มิใช่อาสนะนั้น ที่มิใช่โคจรนั้น และมิตรผู้ลามกเหล่านั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลายจริงอยู่ อาสวะและความเร่าร้อน อันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่เว้นสถานที่หลักบุคคลอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน .... เหล่านั้น ย่อมมีแก่ภิกษุนั้นผู้เว้นขาดอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการเว้นขาด”


การละอาสวะด้วยการบรรเทา

พุทธดำรัส “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทากามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว.... พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว..... วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ย่อมอดกลั้น ย่อมละ ย่อมบรรเทา ธรรมที่เป็นบาปอกุศลที่บังเกิดขึ้นแล้วทำให้สิ้นสูญ ให้ถึงความไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะและความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงบังเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่บรรเทาอันใดอันหนึ่ง อาสวะแล้วความเร่าร้อน .... เหล่านั้นย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้บรรเทาอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้ เรากล่าวว่า จะพึงละได้เพราะความบรรเทาฯ”



การละอาสวะด้วยการอบรม

พุทธดำรัสตอบ “..... ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้พิจารณาโดยแยบคายแล้ว เจริญสติสัมโพชฌงค์.... เจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละลง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะ และความเร่าร้อนอันกระทำความคับแค้นเหล่าใด พึงเกิดขึ้นแก่ภิกษุนั้น ผู้ไม่อบรมธรรมอันใดอันหนึ่ง อาสวะและความเร่าร้อน.... เหล่านั้น ย่อมไม่มีแก่ภิกษุนั้น ผู้อบรมอยู่อย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะเหล่านี้เรากล่าวว่าจะพึงละได้เพราะการอบรม”

สัพพาสวสังวรสูตร มู. ม. (๑๑-๑๘)
บ. ๑๒ : ๑๒-๒๐ ตท.๑๒ : ๑๒-๑๘
ตอ. MLS. I : ๙-๑๖



ในส่วนของการรับมือกับความโกรธ ก็มีอยู่ในข้อ

การละอาสวะด้วยความอดกลั้น(ขันติ)
การละอาสวะด้วยการบรรเทาต่อพยาบาทวิตก(เจริญเมตตาน่าจะอยู่ในส่วนนี้)
การละอาสวะด้วยการอบรมโพชฌงค์(วิปัสสนาน่าจะอยู่ในส่วนนี้)



การรับมือกับความโกรธ มันก็คงต้องอาศัยกุศโลบายหลายๆอย่างมาประกอบกัน

การไม่ระเบิดอารมณ์ออกไปภายนอกจนเป็น กายกรรม หรือ วจีกรรม ที่รุนแรง เป็นขั้นต้นที่ต้องเจริญ... จะใช้ กุศโลบายใด ที่รู้สึกว่าได้ผล ผมว่า ก็ใช้ไปเถิด... การแผ่เมตตาก็เป็นวิธีหนึ่ง ที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำไว้
เพราะ ถ้าไปก่อกายกรรม หรือ วจีกรรม ที่รุนแรงเข้า มันจะเป็นบาปกรรมต่อกัน

ส่วน อารมณ์ขัดข้อง ขุ่นมัว หรือ ซึมเศร้า ที่ค้างอยู่ในใจเรา ก็ต้องหากุศโลบายมาปฏิบัติต่อไป





จาก ประวัติของครูบาอาจารย์บางท่าน
ตอนที่ท่านเผชิญกับ กามราคะ จนเกือบต้องสึกหาลาเพศนั้น ท่านใช้วิธีเก็บกลดหนี กลางดึก ก็ยังเคยมี.....
ก็ไม่เห็นว่า ท่านจะต้องตั้งหน้าตั้งตาเจริญวิปัสสนาอย่างเดียวในตอนนั้นเลย


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 23 ก.ค. 2008, 14:47
โพสต์: 1562

อายุ: 0
ที่อยู่: หิมพานต์

 ข้อมูลส่วนตัว www


อ้างคำพูด:
การแผ่เมตตา เป็นการกดข่มความโกรธ
และ การกดข่มความโกรธ เป็นการไปแทรกแซงพฤติกรรมของจิต
ไม่ใช่เป็นการเจริญวิปัสสนาที่จะดูสภาวะของจิตตามจริง....

ดังนั้น การแผ่เมตตาจึงอาจจะเป็นสิ่งขัดขวางการเจริญวิปัสสนาได้???
ท่านเห็นเช่นใดครับ.


:b8: สวัสดีครับอาจารย์ ผมขออนุญาติร่วมด้วยเพื่อไขว่คว้าดาวอะครับ... :b22:

ผมขอแยกประเด็นพิจารณา 2 ประเด็นครับ

1.กรณีปกติ (รอให้ศัตรูบุกรุกเข้ามาก่อน)

คือรอให้มีโทสะหรือพยาบาทเกิดขึ้นก่อน....
แล้วจึงใช้วิธีการเจริญกรรมฐานเช่นอานาปานสติหรือเมตตาภาวนา....

ประเด็นนี้ใช้วิธีกดข่มจิตแน่นอน


2.การเจริญเมตตาโดยอาศัยสมาธิจิต (ค้นหาศัตูรก่อน)

คือการพิจารณา สำรวจจิตใจตนทุกขณะจิตว่าตอนนี้เรามีอารมณ์โทสะ พยาบาทหรือนิวรณ์อันใดเกิดขึ้นในจิตหรือไม่.....

2.1เมื่อสำรวจจิตตนแล้วพบข้าศึกแอบแฝงอยู่โดยเราไม่รู้

พระพุทธองค์ทรงสอนว่า...

ก็เพียงคิดเทียบเสียได้ ด้วยใจอันซื่อ ว่าความพยาบาทนั้นเหมือนโรค เหมือนความป่วย จิตก็เห็นโทษแห่งพยาบาทอย่างแจ่มชัด ถ้าเลิกพยาบาทได้ก็จะปลอดโปร่งโล่งสบาย กินอิ่มนอนหลับเหมือนหายป่วย....

พอเห็นข้อดีชัดเจนเข้า จิตก็ละพยาบาทอย่างไม่เสียดายเหมือนถ่มเสลดทิ้งจากปากคอ เมื่อทิ้งได้ ก็บังเกิดโสมนัสอันพร้อม เมื่อภาวนาจนจิตตั้งมั่น ผ่องใส อันนี้ผมเห็นว่าตั้งมั่นควรแก่งานคือไม่ขัดต่อวิปัสสนา

2.2 เมื่อสำรวจจิตตนแล้วไม่พบนิวรณ์อันใดเลย โดยเฉพาะพยาบาท กระแสเมตตามันจะออกมาจากจิตเอง จิตจะตั้งมั่น ผ่องใส ผมว่านี้ก็ควรแก่งานคือวิปัสสนาต่อไป

แค่นี้ก่อนครับผม :b8:

.....................................................
อิมาหัง ภะคะวา อัตตะภาวัง ตุมหากัง ปะริจจะชามิฯ
ข้าแต่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระพุทธเจ้าขอมอบกายถวายชีวิต แด่พระพุทธเจ้า แด่พระธรรม แด่พระสงฆ์ นับแต่บัดนี้ตราบจนเข้าสู่พระนิพพาน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 08:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


สัพพาสวสังวรสูตร

ที่กล่าวถึงกุศโลบายต่างๆ ในการละอาสวะ

ในส่วนของการรับมือกับความโกรธ ก็มีอยู่ในข้อ

1.การละอาสวะด้วยความอดกลั้น..นี่คือ หลักขันติธรรม

2.การละอาสวะด้วยการบรรเทาต่อพยาบาทวิตก... การแผ่เมตตา น่าจะอยู่ในส่วนนี้

3.การละอาสวะด้วยการอบรมโพชฌงค์.... การเจริญวิปัสสนา ก็น่าจะอยู่ในส่วนนี้(แต่ ในโพชฌงค์ ก็มีทั้ง สติ สมาธิ ปัญญา .... อาจจะไม่ใช่ วิปัสสนาล้วน แบบที่บางท่านเข้าใจน่ะครับ)



ผมมองอย่างนี้นะครับ

ความโกรธเปรียบเสมือนมังกรร้าย ที่ เรา-ท่านต้องจัดการ

ขันติธรรมเปรียบเสมือน เสื้อเกราะ
เมตตาธรรมเปรียบเสมือน โล่ห์
การเจริญวิปัสสนาเปรียบเสมือน ดาบ


สิ่งที่จะฆ่ามังกรตายได้เด็ดขาดจริงๆ ก็คือ ดาบ
ย่อมไม่ใช่เสื้อเกราะ หรือ โล่ห์

แต่ เสื้อเกราะ และ โล่ห์ ก็ช่วยป้องกันอันตรายเฉียบพลันจากมังกรได้





ประเด็นที่อยากเสนอ ก็คือ

บางท่านที่เป็นยอดอัศวิน อาจจะไม่จำเป็นต้องใช้เสื้อเกราะ หรือ โล่ห์ ในการฆ่ามังกร...ใช้ดาบอย่างเดียวก็พอ

แต่ สำหรับบางท่าน(รวมทั้งผม) อาจจะยังคงจำเป็นต้องใช้ เสื้อเกราะ และ โล่ห์ ช่วยดาบ ในการต่อสู่กับมังกรอยู่

และ ไม่ควรจะมองว่า เสื่อเกราะ และ โล่ห์ ...ขัดขวางดาบ

ด้วยเหตุว่า ทั้ง เสื้อเกราะ โล่ห์ ดาบ ...ต่าง ก็เป็นสิ่งที่พระพุทธองค์ทรงแนะนำพุทธบริษัทไว้ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 ก.ค. 2006, 06:25
โพสต์: 2058


 ข้อมูลส่วนตัว


เพิ่มเติมอีกเล็กน้อยครับ



มีพระบาลีที่ว่า

ผู้โกรธ ย่อมฆ่ามารดาได้




ความเห็นส่วนตัวน่ะครับ

ความโกรธเป็นเสมือนโรค หรือ หายนะภัยที่ร้ายแรงมากๆ

มาตรการใดๆ ที่อาจจะช่วยสนับสนุน หรือ ส่งเสริม การเจริญวิปัสสนาเพื่อจัดการกับความโกรธขั้นเด็ดขาด เช่น ขันติธรรม เมตตาธรรม ก็สมควรถูกนำมาใช้ประกอบกันทั้งสิ้น

ถึงแม้นตัวมาตรการนั้นๆ ด้วยตัวของมันเองจะไม่สามารถจัดการกับความโกรธอย่างเด็ดขาดก็จริง



(ต้องบรรลุอนาคามีผล จึงจะสิ้นโกรธเด็ดขาด)


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 21:29
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: พุทธานุสสติ
แท้จริงสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธองค์นั้นสถิตอยู่ในที่อันไกลยิ่งนักจากกิเลสธรรมทั้งปวง :b8:
ขออนุญาตตอบด้วยครับ

1.ว่าด้วยวิปัสสนา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิปัสสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 1 / 9
เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่ 2 / 9
วิปัสสนา ความเห็นแจ้ง คือเห็นตรงต่อความเป็นจริงของสภาวธรรม;
ปัญญาที่เห็นไตรลักษณ์อันให้ถอนความหลงผิดรู้ผิดในสังขารเสียได้,
การฝึกอบรมปัญญาให้เกิดความเห็นแจ้งรู้ชัดภาวะของสิ่งทั้งหลายตามที่มันเป็น
(ข้อ ๒ ในกัมมัฏฐาน ๒ หรือภาวนา ๒)
ดู ภาวนา, ไตรลักษณ์
วิปัสสนากัมมัฏฐาน กรรมฐานคือวิปัสสนา; ดู วิปัสสนา

2.ว่าด้วยแผ่เมตตา
http://www.84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=แผ่เมตตา
แผ่เมตตา ตั้งจิตปรารถนาดีขอให้ผู้อื่นมีความสุข;
คำแผ่เมตตาที่ใช้เป็นหลักว่า
“สพฺเพ สตฺตา อเวรา อพฺยาปชฺฌา อนีฆา สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ”
มีเมตตาเป็นคุณสมบัติประจำใจ จะได้รับอานิสงส์ คือผลดี ๑๑ ประการ คือ
๑. หลับก็เป็นสุข
๒. ตื่นก็เป็นสุข
๓. ไม่ฝันร้าย
๔. เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
๕. เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
๖. เทวดาย่อมรักษา
๗. ไม่ต้องภัยจากไฟ ยาพิษ หรือศัตราวุธ
๘. จิตเป็นสมาธิง่าย
๙. สีหน้าผ่องใส
๑๐. เมื่อจะตาย ใจก็สงบ ไม่หลงใหลไร้สติ
๑๑. ถ้ายังไม่บรรลุคุณพิเศษที่สูงกว่า ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

3. ว่าด้วยสมาธิ
http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สมาธิ
***แสดงผลการค้น ลำดับที่ 3/5
[47] สมาธิ 3๒ (ความตั้งมั่นแห่งจิต หมายถึงสมาธิในวิปัสสนา หรือตัววิปัสสนานั่นเอง แยกประเภทตามลักษณะการกำหนดพิจารณาไตรลักษณ์ ข้อที่ให้สำเร็จความหลุดพ้น — concentration)
1. สุญญตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ — concentration on the void)
2. อนิมิตตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีนิมิต ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนิจจลักษณะ — concentration on the signless)
3. อัปปณิหิตสมาธิ (สมาธิอันพิจารณาธรรมไม่มีความตั้งปรารถนา ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดทุกขลักษณะ : concentration on the desireless or non-hankering)

4.ว่าด้วยความเห็นส่วนตัว

สาเหตุ :
๘. จิตเป็นสมาธิง่าย (ข้ออานิสงส์-แผ่เมตตา) = 2. อนิมิตตสมาธิ(ความหมายสมาธิ-ได้แก่วิปัสสนา)
ยังผลให้ : เมตตาไม่ขัดการเจริญวิปัสสนา

:b8: ผิดพลาดแนะนำ//มือใหม่คร๊าบบบบ

เจริญในธรรม

.....................................................
ว่างเปล่า


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ธ.ค. 2008, 13:10
โพสต์: 43


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: อนุโมทนา สาธุกับความเห็นต่างๆด้วยครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ธ.ค. 2008, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 12 ก.ค. 2008, 23:37
โพสต์: 449

ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่มา: ประหารความหลงตรงสู่นิพพาน
หนามตำหรือ?ถอนออกสิ
สิ่งใดเล่าหนอที่ทำให้บุคคลหมดความหลง
ความมีสติ ปัญญา นั่นไง
การมีสติ เวลาเดินก็เดินได้ตรงทาง เมื่อเดินตรงทางมันก็ไม่ปัดไปปัดมา เกิดปัญญาประกอบในสัมผัส มีความเข้มแข็งมากขึ้นที่สามารถต้านทางกิเลสได้

แรงกิเลสมีมาเพราะอะไรกันเล่าหนอ
ก็มาจากการที่มีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง เมื่อมีความคิดเห็นที่ไม่ถูกต้อง มันจึงเกิดผลเป็นกิเลส เป็นอุปาทาน เป็นความยึดมั่นถือมั่น คิดเองเออเองอยู่คนเดียว ยิ่งเมื่อไม่รู้ต้นสายปลายเหตุ พอเจออะไรกะแทกเข้ามา ก็คิดเองเออเองไปได้เรื่อย ยึดมั่นถือมั่นสิ่งโน้นสิ่งนี้ไปเรื่อย ๆ ท้ายที่สุด ด้วยความทึกทักเอาตามความไม่รู้แจ้ง ก็พาให้หลงประเด็นของการศึกษาเพื่อการดับทุกข์...
ยกตัวอย่างเรื่อของหนามให้ฟัง
อย่างเวลาโดนหนามตำน่ะ... หน้าทีของเราคืออะไร?แน่นอนเราก็ต้องหยิบแหนบมาดึงหนามออกไปน่ะสิ แต่นี่แทนที่จะดึงหนามออก กลับไปห้องสมุด ไปค้นดูว่า ไอ้หนามจากต้นเนี๊ยะ มันหนามอะไร ไปนั่งท่อง ไปนั่งแยกประเภท ไปนั่งจำนั่งวิจารณ์หนามกันต่าง ๆ มากมายเผื่อว่าจะไปบรรยายให้ใครต่อใครนั่งฟัง ได้ว่ากูนั้นรู้จักหนามนั้นหนามนี้ กระหยิ่มยิ้มย่อง อวดภูมิว่ากูรู้จักหนามนั้นหนามนี้ แต่เวลาเอาก้นนั่งทีไรก็เจ็บหนามทุกทีไป... ทำไมเล่า ทั้งๆ ที่กูรู้จักหนามแล้วแต่ทำไมยังเจ็บอยู่เล่า ก็เพราะว่าไม่ยอมเอาแหนบมาดึงหนามออกไปเสียที มันเป็นอย่างนี้แหล่ะ รู้อะไรมากมาย รู้วิชามากมาย ท่องได้สวดได้ พร่ำพรรณนาได้ แต่ทำไมเวลานั่งกลับกลายเป็นว่ายังเจ็บอยู่ ก้เพราะหนามมันยังตำอยู่นั่นไง...
จงอย่ากลายเป็นผู้ที่คิดเองเออเองว่ารู้จักหนามดี แต่เมื่อนั่งก็ยังโดนหนามตำอยู่ อนาคตต่อไป แนวทางการปฏิบัติอาจจะผิดเพี้ยนไปมากกว่าเดิม เพี้ยนจนกลายเป็นการเข้าไปติดอยู่ที่นั่นที่นี่ ปัจจุบันมันก็มีหลายด่านที่จะให้ติดกัยเยอะแล้ว อนาคตต่อไปนี้จะมีอีกหลายด่าน ดังนั้น จงรีบนำไปไตร่ตรองพิจารณาโดยเร็วเถิด คือ ถ้าคนเรามันยังมีความกลัว มีความเคลือบแคงสงสัยอยู่ มันก็ยังเอาแต่ยึดอยู่ ก็ยึดด้วยความกลัวว่าจะไม่มีอะไรให้ยึดไงเล่า ก็อย่างเช่น พอเห็นเขาทำกัน ก็คิดว่ามันน่าจะได้บุญแรง ก็ทำลงไปเต็มที่ ถามว่าไม่ทำได้มั้ย ก็ได้ แต่ไอ้ตัวเรามันไม่ได้ว่าอย่างนั้น มันว่า "ถ้าไม่ทำ เดี๋ยวก็ไม่ได้หรอก " มันก็กลายเป็น "กูอยากได้" ไป ตกลงแล้วทำบุญไปบุญเพิ่ม กิเลสก็เพิ่ม ดี!! ได้สองเด้งเลย ทั้งนี้เพราะอะไรเล่า ?? จงพิจารณาหน่อยซิ

ในสังโยชน์ 10 นั้น สามข้อแรกที่โสดาบันละได้คืออะไรบ้าง นั่นก็คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา และสีลัพพตปรามาส รู้หรือยังว่าทำไมโสดาบันจึงจำเป็นต้องละได้ จริง ๆ แล้ว ไม่ต้องไปถึงโสดาบันหรอก แค่อารยชนน หรือปุถุชนที่มีปัญญาก็ควรจะละได้กันได้แล้ว ... เพราะมันเป็นสิ่งที่ควรจะละออกตั้งนมนานได้แล้ว กล่าวคือ เลิกหลงและก็เดินให้ตรงทาง เดินให้ตรงทางเหมือนกับเราศึกษาพุทธศาสนาจากพระพุทธเจ้าโดยตรงสิ ไม่ต้องหลงไปที่อื่น ไม่ต้องหลงประเด็นอื่น อย่างเรื่องความงมงายในศีลและวัตรที่คิดว่าเป้นของศักดิ์สิทธิ์น่ะ เมือนำปัญญาออกมาไตร่ตรองบ้าง มันก็ประหารความหลงในเรื่องเหล่านี้ออกได้ทีละขั้น ๆ เมื่อความหลงมันหมดไป ความมั่นคงและชัดแจ้งก็ปรากฏขึ้นเรื่อย ๆ จนสุดท้ายมันก็หมดข้อสงสัย เวลามันหมดข้อสงสัยมันก็หมดเอง มันแจ้งของมนเอง รู้ได้เอง ไม่ต้องแกล้งทำ ไม่ต้องเสแสร้งหลอกตัวเองหรือยกหางตัวเองว่าฉันนั้นพ้นแล้ว ฉันนั้นเป็นนั่นเป็นนี่แล้ว เข้าใจมั้ย

ในอนาคตต่อไป ขอจงระวังความเพี้ยน การศึกษาธรรมนั้น ถ้าปฏิบัติไปศึกษาไปโดยไม่ได้ประหารกิเลส ไม่ได้ประหารตัวกูของกูเป็นหลัก ไม่ได้ปฏิบัติไปเพื่อไถ่ถอนความยึดมั่นถื่อมั่น เดี๋ยวมันก็พองตัวขึ้นในทางนี้อีก ผู้อ่านทั้งหลายที่เป็นผูปฏิบัติธรรม ขอจงเพียรปฏิบัติไปเถิด เพียรพยายามศึกษาไตร่ตรองด้วยปัญญา วันใดขี่จักรยานได้โดยไม่ต้องใช้ขายันพื้นแล้ว มันก็จะรู้ได้เองโดยไม่ต้องรอให้ใครมาบอก ... เมือถึงตอนนั้นความลังเลสงสัยมันก็จะลดน้อยลงไปเอง ความถือตัวถือตนก็เช่นกัน

.....................................................
สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 25 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร