วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 11:13  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 10
สมาชิก ระดับ 10
ลงทะเบียนเมื่อ: 04 พ.ย. 2008, 12:29
โพสต์: 814

ที่อยู่: กรุงเทพฯ

 ข้อมูลส่วนตัว


อ้างคำพูด:
การใช้หลักโยนิโสมนสิการพิจารณาโดยหลักของปัญญาด้วยความแยบคายจนตัวเองเข้าสู่สภาวะความทุกข์


:b39: ข้อแก้คำพูดของตัวเองหน่อยน่ะ ตรงที่ขีดเส้นใต้ต้องเป็นไปเพื่อเข้าสู่ความหมดทุกข์ พิมพ์ตกไปนิดแต่ความหมายเปลี่ยน เลยแก้ให้ถูกต้องซะหน่อยสำหรับผู้อื่นที่มาอ่านจะได้เข้าใจเหมือนกัน :b42:

.....................................................
"มีสติเป็นเรือนจิต ใช้ชีวิตเป็นเรือนใจ ใช้ปัญญาเป็นแสงสว่างส่องทางเดินไปเถิด จะได้ล้ำเลิศในชีวิตของท่าน มีความหมายอย่างแท้จริง"
ในการปฏิบัติธรรม หลวงพ่อท่านบอกว่า ให้ตัดปลิโพธกังวลใจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ลูก สามี ภรรยา ความวุ่นวายทั้งหลายทั้งปวง อย่าเอามาเป็นอารมณ์ จากหนังสือ: เจริญกรรมฐาน7วันได้ผลแน่นอน หัวข้อ12: ระงับเวรด้วยการแผ่เมตตา


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 6
สมาชิก ระดับ 6
ลงทะเบียนเมื่อ: 20 ต.ค. 2008, 09:55
โพสต์: 405


 ข้อมูลส่วนตัว


ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นของคุณคามิกธรรมครับ

ยอมรับว่ายากจริงๆ ครับ ที่เราจะปรับความเห็นของคนที่เห็นคลาดเคลื่อนอยู่แบบขั้นเป็นอุปทานให้กลับมาเห็นถูกต้องตรงได้ ผมคิดว่าผมพอเข้าใจพระพุทธเจ้าเลยว่าทำไมที่ทรงน้อมพระทัยไปในทางที่จะไม่ทรงแสดงธรรมหลังจากตรัสรู้ใหม่ๆ แต่ต่อมาพระพุทธเจ้าจึงทรงแสดงธรรมต่อไป เพราะพิจารณาเห็นว่าบุคคลที่พอจะเข้าใจธรรมของพระองค์ได้นั่นยังพอมี

ผมเองก็เช่นกันครับ ยังพอไหว (แต่ผมไม่ใช่พระอรหันต์นะครับ) ผมจะดำเนินตามพระพุทธองค์เท่าที่จะทำได้ ดังนั้นกรณีนี้ผมจะพยายามอธิบาย แจกแจงธรรมแก่คุณโดยพิศดารให้ยิ่งขึ้นไป หวังว่าคงจะทำให้คุณเกิดความเข้าใจมากขึ้นไม่มากก็น้อยครับดังต่อไปนี้

ประเด็นเรื่องสมาธิแบบที่ 3 กับสมาธิแบบที่ 4 จริงๆ แล้วเป็นอย่างไร หากอ่านจากพระสูตรนี้เท่านั้นบางทีย่อมจะไปเข้าใจตามสัญญาเก่า ว่าตรงกับที่คุณบอกมาข้างบน เช่น ดูจิตเกิดขึ้น-ดับไป ดูกายยกมือ-วางมือ เป็นต้น เพราะคุณเคยจำและร่ำเรียนมาแบบนั้น คุณจึงต้องคิดแบบนั้น ไม่แปลกหรอกครับ เป็นธรรมดาของเหตุปัจจัยในกระบวนการรับรู้ เพราะสมัยนี้อาจจะไม่มีใครนำมาสอน นำมาปฏิบัติจริงๆ จังๆ เพื่อสิ้นอาสวะแล้วนะครับ คุณจึงไม่รู้มาก่อน

ประเด็นนี้ ผมคงจะทำอะไรไม่ได้มาก คิดว่าสิ่งที่จะตอบคำถามของคุณให้หายสงสัยได้ดีที่สุดน่าจะเป็นการยกพระสูตรมาให้เห็นว่า "อาสวะ" ละด้วยวิธีเจริญโยนิโสมนสิการอย่างไร ไม่ใช่แบบที่คุณเข้าใจอย่างไรดังนี้

Quote Tipitaka:
สัพพาสวสังวรสูตร

. . . . . . . . . .

[๑๑] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้รู้อยู่ เห็นอยู่ เราไม่กล่าวความสิ้นอาสวะของภิกษุผู้ไม่รู้อยู่ ไม่เห็นอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้อะไร เห็นอยู่อะไร ความสิ้นอาสวะจะมีได้แก่ภิกษุผู้รู้เห็นโยนิโสมนสิการและอโยนิโสมนสิการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุมนสิการโดยไม่แยบคายอาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเจริญขึ้น เมื่อภิกษุมนสิการโดยแยบคาย อาสวะทั้งหลายที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เกิดขึ้น และที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมเสื่อมสิ้นไปดูกรภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็นมีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเสพเฉพาะก็มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก็มี ที่จะพึงละได้เพราะเว้นรอบก็มีที่จะพึงละได้เพราะบรรเทาก็มี ที่จะพึงละได้เพราะอบรม

ว่าด้วยการละอาสวะได้เพราะการเห็น

[๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาสวะเหล่าไหน ที่จะพึงละได้เพราะการเห็น? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่ได้เห็นสัปบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของสัปบุรุษไม่ได้รับแนะนำในธรรมของสัปบุรุษ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนควรมนสิการ ย่อมไม่รู้ทั่วถึงธรรมอันตนไม่ควรมนสิการ เมื่อเขาไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ควรมนสิการ ไม่รู้ทั่วถึงธรรมที่ไม่ควรมนสิการย่อมมนสิการธรรมที่ไม่ควรมนสิการ ย่อมไม่มนสิการธรรมที่ควรมนสิการ.

ที่มา : http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_it ... =238&Z=384


จากพระสูตรข้างต้น พิจารณาให้ถ้วนที่นะครับ โดยเฉพาะที่ผมทำตัวแดงเอาไว้ อ่านรอบเดียวไม่เข้าใจ ให้อ่านหลายๆ รอบคิดพิจารณาตามไปด้วย แล้วคุณจะเห็นว่าพระพุทธเจ้าทรงตรัสเอาไว้ชัดเจนมากๆ ว่าอาสวะละได้ด้วยโยนิโสมนสิการ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสมาธิที่ใช้การพิจารณาเพื่อละอาสวะก็คือใช้โยนิโสมนสิการนั่นเอง แตกต่างกับสมาธิแบบที่ 3 อย่างมาก ให้เห็นว่าแตกต่างกับการดูจิต การดูการเกิดดับ-ของแขนขา ที่ปรากฏ ณ ปัจจุบันอยู่อย่างไร

ผมขอตอบกระทู้แค่นี้ก่อนนะครับ หากยังไม่เข้าใจถามคำถามเพิ่มเติม หรือให้อธิบายเพิ่มเติมได้นะครับ

ขอให้เจริญในธรรมครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 ธ.ค. 2008, 21:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 1
สมาชิก ระดับ 1
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ส.ค. 2008, 21:29
โพสต์: 45


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: ก่อนอื่นขออนุโมทนาท่านผู้รู้ทุกท่านที่ตั้งและโต้ตอบ กระทู้นี้เพราะให้ความรู้ผมมากขึ้นแต่ขอแทรกนิดหนึ่ง เพราะผมกลัวว่าตัวเองจะหลงประเด็นอยู่รึเปล่านะครับ

ขออนุญาตมีส่วนร่วมในการตอบกระทู้นี้ครับ แต่ด้วยตัวผมยังมีกำลังปัญญาไม่เต็มเปี่ยมจึงยังผลให้จับประเด็นได้ไม่ชัด แต่เห็นว่าน่าจะเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับ ปริยัติ – ปฏิบัติ – ปฏิเวธ ซึ่งผมนำข้อมูลมาจาก

http://www.thewayofdhamma.org/page3_2/patum37.html

จากwebดังกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ดังนี้(ถูกผิด/แนะนำด้วยครับ..มือใหม่)
คำกล่าวนำ
ปริยัติ(คำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้) เกิดมาจากปฏิเวธ(ความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาเองภายในใจของผู้ปฏิบัติ เป็นของเฉพาะแต่ละบุคคลไม่ใช่ของเกิดได้ในสาธารณะทั่วไป) ปฏิเวธ จะเกิดได้เพราะปฏิบัติ(ปฏิบัติตนตามนัยที่พระองค์ทรงสอนไว้) ถ้าไม่ปฏิบัติก็ไม่ถึงปฏิเวธ ไม่มีปฏิเวธ เมื่อไม่มีปฏิเวธ คือไม่รู้แจ้งเห็นจริงก็บัญญัติไม่ถูก ( บัญญัติ ก็คือปริยัติ ) บัญญัติไม่ถูกก็ไม่มีปริยัติ

รายละเอียด
1..ปริยัติ คือ บัญญัติต่างๆซึ่งล้วนมาแต่ความแยบคายของพระปัญญาเฉียบแหลม ทรงรอบรู้อย่างละเอียดละออและลึกซึ้งลงไปถึงที่สุด
ซึ่ง น่าสรรเสริญยิ่งนัก และเป็นความจริงอยู่อย่างนั้นอยู่ตลอดกาล

ที่ทรงบัญญัติคำว่าคนขึ้นใหม่ เป็น ขันธ์ห้า,อายตนะ,ธาตุสี่,อินทรีย์ เพราะพระพุทธองค์ทรงเห็นชัดแจ้ง(ให้รู้จักเพื่อการวาง)ตลอดในสรีระร่างกายอันนี้ว่าแท้จริงไม่ใช่คน ไม่ใช่สัตว์ มันเป็นเพียงก้อนธาตุประชุมกัน พร้อมกับที่ทรงเห็นว่าเป็นก้อนธาตุประชุมกันก็ทรงเห็นการแตกสลายดับไปของก้อนธาตุอันนั้นร่วมไปด้วยดังนี้
1.1. ทรงสมมติบัญญัติร่างกายอันนี้ว่า รูป รูปก็คือ ของสลายแตกดับ คำว่า รูป ในที่นี้เลยครอบไว้หมดทั้งเกิดและดับ หรือรูปก็คือลบนั่นเอง เป็นรูปขึ้นมาแล้วก็ลบหาย ( สลาย ) ไป
1.2. คำว่า ขันธ์ หมายถึงจับกันเป็นก้อน เป็นกลุ่ม เป็นหมู่ ดังนั้นที่พระองค์ทรงแยกคนออกเป็นขันธ์ ก็คือ สิ่งที่ข้นแข็งจับกันเป็นก้อนมองเห็นได้เรียกว่า รูป และส่วนที่ละเอียดมองไม่เห็น แต่ก็มีอยู่เรียกว่า นาม ได้แก่ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เมื่อทั้งสองส่วนมาประชุมกันเข้าจึงเป็น ขันธ์ห้า หมายถึงห้ากองนี่เอง ทั้งห้ากองนี่ต่างก็เป็นสิ่งที่ไม่คงทนเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเหมือน ๆ กัน รูปนั้นเกิดดับช้าหน่อย ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณนั้น เกิดดับเร็วกว่ารูป
1.3. อายตนะ ก็เกิด – ดับเหมือนกัน ตา สำหรับมองรูป เห็นรูปนี้แล้วพอเห็นรูปใหม่รูปอันเก่าก็ดับไปหมดไป หูได้ยินเสียงก็เช่นเดียวกัน ได้ยินแล้วก็ดับไปหมดไป จมูกดมกลิ่น ลิ้นรับรส กายรับสัมผัสต่าง ๆ ใจคิดถึงเรื่องต่าง ๆ อารมณ์ต่าง ๆ ก็เกิด – ดับเหมือนกันทั้งนั้น เรื่องแรกเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเรื่องใหม่ก็เกิดขึ้นมาอีก
1.4 ทั้ง3ข้อข้างต้นจะเป็นอุบายอันความแยบคาย(ไม่รวมเรียกว่าคนให้แยกออกมาเป็นส่วนๆเพื่อการรู้จักและการวาง)เพื่อไปสู่
”สภาวะธรรม”

2.ปฏิบัติ คือ ปล่อยวางจากความยึดมั่น โดยเครื่องมือ “สภาวะธรรม”

3.ปฏิเวธ คือจะเกิด รู้ชัดธรรม(คือของว่างเปล่า ไม่มีสาระ เมื่อไม่มีสาระใจก็ไม่เข้าไปยึด ใจว่างหมดทุกสิ่ง และไม่เข้าไปยึดอะไรอีก)
เห็นชัดเอาจริงๆทีเดียว ซึ่งก็ต้องมาด้วยปัญญาขั้นละเอียด

**ความเห็นส่วนตัว..ทั้ง3ป.ล้วนเกี่ยวโยงกันโดยไม่ต้องตามลำดับ..ซึ่งล้วนแต่ยังผลให้สรรพชีวิต ได้ตกอยู่หรือไกลห่างจากกิเลสธรรมในเบื้องปลาย....อันนี้ถ้าท่านผู้ใด..งง...ก็ไม่ต้องสงสัยอะไรเลยเพราะผมเขียนเองก็ยัง ประมาณว่า งง มากถึงมากที่สุดอยู่เหมือนกัน ขอ..ร๊าบบบบ
ข้อความดังกล่าวผิดประการใด/กราบเรียนผู้รู้ชี้แนะครับ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 05:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณศิรัสพลครับ
ผมคงต้องขอไปศึกษาคำว่า โยนิโสมนสิการก่อน
เพราะติดตรงนี้จึงยากที่จะเข้าใจต่อไป
แต่ประเด็นที่คุณพยามจะชี้น่าสนใจมากหากใช้ได้จริง

ผมพยามค้นๆดู คล้ายๆว่าวิธีที่ 4 ที่คุณแนะนำมานี้เป้นวิธีแบบปัจเจกพระพุทธเจ้า
ที่สามารถสำเร็จวิมุตติได้

ขอพักไว้เท่านี้ก่อนครับ
:b8: :b8: :b8:

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2008, 05:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 พ.ค. 2008, 14:14
โพสต์: 3832

อายุ: 12
ที่อยู่: กทม.

 ข้อมูลส่วนตัว


.

.....................................................
อาทิ สีลํ ปติฏฺฐา จ กลฺยาณานญฺจ มาตุกํ
ปมุขํ สพฺพธมฺมานํ ตสฺมา สีลํ วิโสธเย
ศีลเป็นที่พึ่งเบื้องต้น เป็นมารดาของกัลยาณธรรมทั้งหลาย
เป็นประมุขของธรรมทั้งปวง เพราะฉะนั้นควรชำระศีลให้บริสุทธิ์
....................................

"หากเป็นคนฉลาดก็มีแต่จะทำให้คนอื่นรักตนเท่านั้น-วาทะคุณกุหลาบสีชา"


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 20 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร