วันเวลาปัจจุบัน 09 ต.ค. 2024, 17:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 18 พ.ย. 2008, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 19 มี.ค. 2005, 04:18
โพสต์: 1877


 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

:b45: :b46: ไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด

หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล

หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก
ประดิษฐานอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านพระยืน
ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านพระยืน
ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น


:b47: ¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤¤ :b47:

ในสมัยกรุงสุโขทัยเรืองอำนาจแทนอาณาจักรขอม
ได้ทิ้งอารยธรรมไว้เป็นมรดกตกทอดแก่ชนชาติไทย
คือ ด้านการปกครอง ปกครองแบบเทวราช
ความคิดความเชื่อในทางศาสนาพราหมณ์


นอกจากนี้ ยังมีระบบจตุสดมภ์ ๔ ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง นา
สำหรับการปกครองอาณาจักรและประเพณีสืบราชสมบัติของอาณาจักร
ด้านวัฒนธรรม ได้แก่ การนับถือศาสนาพราหมณ์ ทำให้เกิดประติมากรรม
และสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องกับเทวาลัยและเทพเจ้าทางศาสนาพราหมณ์
เช่น เทวรูปต่างๆ ปราสาทหินเหล่านี้เป็นตัวอย่างแหล่งวัฒนธรรม
ที่เป็นมรดกตกทอดของอาณาจักรขอม ที่ยังคงอยู่ในประเทศไทย

ปัจจุบัน มีซากเมืองโบราณ ลักษณะทรงกลมเป็นเมืองแฝดคู่กัน
แบบเมืองชั้นนอก ชั้นในเมืองเป็นซากโบราณสถาน
เป็นปรางค์ก่อด้วยอิฐและชิ้นส่วนของเทวรูป
ลักษณะประติมากรรมส่วนใหญ่จะเกี่ยวเนื่องกับศาสนาพราหมณ์
ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโบราณสถานสมัยขอมมากมาย
โดยเฉพาะจังหวัดขอนแก่น มีอยู่หลายอำเภอ

แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเฉพาะโบราณสถานหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล

“หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล” เป็นพระพุทธรูปศิลาปางนาคปรก
ที่สร้างขึ้นในสมัยก่อนประวัติศาสตร์
หรือเรียกว่าสมัยขอมโบราณของอาณาจักรขอม
(ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๑-๑๙) เป็นพระพุทธรูปขอม
สร้างขึ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๒ (พุทธศตวรรษที่ ๑๖-๑๘)
เป็นโบราณวัตถุที่สร้างขึ้นบูชาสักการะในสมัยขอมเรืองอำนาจ


รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

“หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล” มี ๒ องค์ คือ
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก
และหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันตก


หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก
ประดิษฐานอยู่บริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านพระยืน

บ้านพระยืน ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
เรียกว่า องค์ตะวันออก
เพราะประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านพระยืน

มีอาณาบริเวณเฉพาะ สร้างศาลาเป็นที่กำบังแดดฝนอย่างดี

ส่วน หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันตก
ประดิษฐานอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้านพระยืน

ตำบลพระยืน อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น
ซึ่งแต่เดิมคนรุ่นเก่า เล่าว่า เป็นพระพุทธรูปยืน แต่ถูกโจรทุบทำลาย
ดังคำบอกเล่าในศิลาจารึกที่ฐานพระพุทธรูปที่จารึกไว้
เมื่อคราวปฏิสังขรณ์เสร็จเมื่อรัตนโกสินศก ๑๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๕)


พระพุทธรูปศิลาทั้งสององค์นี้ เป็นพระพุทธรูปสมัยขอม
เป็นพระที่มีพุทธลักษณะแบบสกุลช่างของขอมโดยแท้จริง
คือ เป็นพระนาคปรก มีอายุราว ๑,๐๐๐ กว่าปีมาแล้ว
ลักษณะของพระพุทธรูปสมัยขอม มีพุทธลักษณะสำคัญ ดังนี้

๑. เป็นพระพุทธรูปแกะสลักศิลาทราย หรือศิลาแลง

๒. เป็นพระพุทธรูปที่มีพระวรกายกำยำ

๓. เป็นพระพุทธรูปที่มีนาคปรก ๗ เศียรเป็นรัศมีประภามณฑล

๔. เป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ปางมารวิชัย
และเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร

๕. เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะพระโอษฐ์แบะ
พระเนตรโต พระพักตร์เหลี่ยม พระขนง เป็นสันตรง
พระนาสิกโด่งสั้น ทรงจีวรแบบเนื้อไม้มีกลีบ


ข้อความศิลาจารึกที่หน้าตักพระยืนองค์ตะวันตก มีใจความว่า
“เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑
ด้วยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
ข้าหลวงใหญ่เมืองลาวพวน มีบัญชาสั่งโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ชัยวัฒนา ข้าหลวงที่สอง หัวเมืองลาวพวน มาระงับทุกข์สุข
หัวเมืองน้อยใหญ่เขตแดนเมืองขอนแก่น ให้เรียบร้อยมีความสุข
ความเจริญต่อไป ข้าพเจ้าได้รับสั่งแล้วจึงมาระงับทุกข์สุข
เพื่อกรมการและราษฎรในเขตแขวงเมืองขอนแก่นตามรับสั่ง

ครั้น ณ วันที่ ๒ ปีระกา รัตนาโกสินทร์ศก ๑๑๑ ความว่า
มีพวกอ่านคิดมิชอบซ่องสุมพากันเข้าไปเรียนรีดศาสนาเยซูต่อ
บาทหลวงคาทอลิก พากันมาทำลายพระพุทธรูปศิลาทั้งสองพระองค์
ให้แตกหักเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ แล้วพากันขุดหาทรัพย์ภายในดิน

ข้าพเจ้าทราบความจึงพร้อมด้วยทหารและกรมการ
พากันไปที่บ้านพระยืนจับได้พวกอ้ายคิดมิชอบมาลงโทษานุโทษ
แล้วบอกหมื่นทูลพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคม
ข้าหลวงใหญ่เมืองลาวพวน ขึ้นไปเมืองหนองคายให้ทรงทราบพระบาท
แล้วโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปศิลา
ให้เรียบร้อยดีดังเก่า แล้วโปรดให้ปลูกเรือนกันแดดและกันฝน
อย่าให้เป็นอันตรายต่อไปได้

ข้าพเจ้ารับสั่งแล้วจึงจ้างให้เอาปูนประสมน้ำเชื้อไปพรมพระรูปศิลา
ที่พวกอ้ายคิดมิชอบทำลายทุบเป็นผู้กำกับกรรมการให้แล้วโดยเร็ว

ครั้งถึงวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๑
การปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปศิลาจึงแล้วเสร็จ
ข้าพเจ้าพร้อมด้วยกับหลวงสิทธิสราวุธ ข้าหลวงเมืองชนบท
นายกิจการี ข้าหลวงเมืองขอนแก่น เท้าเพียกรมการ
และราษฎรข้าหลวงเมืองลาว ได้จัดงานฉลองสมโภช
พระพุทธรูปทั้งสองพระองค์ เพื่อเป็นสิริมงคล”

ทุกวันนี้ ชาวบ้านได้ถือเอาวันที่ ๒ กุมภาพันธ์
เป็นวันจัดงานเทศกาลบุญเหล่าประจำปีสืบต่อกันมา
และปัจจุบันถือว่าเป็นงานระดับอำเภอ



:b8: หนังสือไหว้พระประธาน ๗๗ จังหวัด
กองบรรณาธิการข่าวสด สำนักพิมพ์มติชน

http://www.kaentong.com/index.php?topic=1759.0


.....................................................
ผู้ใดประพฤติธรรม ผู้นั้นชื่อว่าบูชาตถาคตอย่างยิ่ง


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 เม.ย. 2015, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


เว็บมาสเตอร์ เขียน:
“หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคล” มี ๒ องค์ คือ
หลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันออก
และหลวงพ่อพระยืนมิ่งมงคลเหล่าตะวันตก

4A ขออนุโมทนาสาธุค่ะ
:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร