วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 05:43  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2025, 11:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20250210-141535_TikTok~2.jpg
Screenshot_20250210-141535_TikTok~2.jpg [ 113.37 KiB | เปิดดู 1227 ครั้ง ]
เฉลยปัญหาที่ว่า อวิชชาเป็นเหตุแห่งอภิสังขารฝ่ายดี

[๖๑๘] ในความเป็นจริง เพราะอวิชชาเป็นปัจจัยจึงมีสังขารนี้ อาจารย์ผุู้ท้วงกล่าวว่า
แม้เมื่อเป็นอย่างนั้น ความที่อวิชชาซึ่งมีผลอันไม่น่าปรารถนาอย่างเดียวซึ่งมีโทษ เป็นเรื่อง
ที่เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารและอาเนญชาภิสังขาร จะสมควรอย่างไร เพราะอ้อยจะเกิด
จากพืชสะเดาหาได้ไม่ ?

ข้อนี้ตอบว่า จักไม่สมควรได้อย่างไร เพราะในโลก
ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลาย ที่ผิดกันและไม่ผิดกัน
อนึ่ง ที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน ก็เป็นอันสำเร็จได้
แต่ธรรมเหล่านั้นก็มิได้เป็นวิบากเลย ฯ

จริงอยู่ ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่ผิดกันโดยฐาน สภาวะ และกิจ เป็นต้น และไม่
ผิดกัน ก็สำเร็จได้ในโลก เพราะจิตดวงก่อนย่อมเป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยฐานแก่จิตดวงหลังได้
การศึกษาศิลปะทีแรกเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยฐานแก่การกระทำศิลปะเป็นต้น ที่
เป็นไปทีหลังได้ กรรมก็เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแก่รูปได้ และนมสดเป็นต้น ก็เป็น
ปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแก่นมส้มเป็นต้นได้ แสงสว่างก็เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยกิจแก่จักขุ
วิญญาณได้ และน้ำอ้อยงบเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยกิจแก่น้ำดองเป็นต้นไป อนึ่ง
จักขุและรูปเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยที่ไม่ผิดกันโดยฐานแก่จักขุวิญญาณเป็นต้นได้ ชวนจิตดวง
ก่อนเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยที่ไม่ผิดกันโดยสภาวะ และไม่ผิดกันโดยกิจแก่ชวนจิตดวงหลัง
เป็นต้นได้.
อนึ่ง ปัจจัยที่ผิดกันและไม่ผิดกันสำเร็จได้ ฉันใด แม้ปัจจัยที่เหมือนกันและไม่เหมือน
กันก็สำเร็จได้ เหมือนฉันนั้น จริงอยู่ รูป กล่าวคืออุตุและอาหาร ที่เหมือนกันทีเดียว ย่อม
เป็นปัจจัยแก่รูป และพืชข้าวสาลีเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยแก่เมล็ดข้าวสาลีเป็นต้น รูปแม้ไม้ไม่
เหมือนกันจึงเป็นปัจจัยแก่อรูปได้ และอรูปก็ย่อมเป็นปัจจัยแก่รูปได้ และขนโค ขนแกะ
เขาสัตว์ นมส้ม งา แป้ง เป็นต้น ยังเป็นปัจจัยแก่หญ้าแพรกและตะไคร้เป็นต้นได้ แต่ธรรม
เหล่านั้นเป็นปัจจัยที่ผิดกันและไม่ผิดกัน ที่เหมือนกันและไม่เหมือนกัน แก่ธรรมเหล่าใด
ธรรมเหล่านั้นมิได้เป็นวิบากแก่ธรรมเหล่านั้นเลย.

ด้วยประการฉะนี้ อวิชชานี้ แม้มีผลอันไม่น่าปรารถนาส่วนเดียวด้วยอำนาจวิบาก
และเป็นสิ่งที่มีโทษด้วยอำนาจสภาวะ ก็พึงทราบเถิดว่า ย่อมเป็นปัจจัยแก่อภิสังขารทั้งหมด
เหล่านี้ มีปุญญาภิสังขารเป็นต้น ด้วยอำนาจปัจจัยที่ผิดกันและไม่ผิดกันโดยฐาน กิจ และ
สภาวะ และด้วยอำนาจปัจจัยที่เหมือนกันและไม่เหมือนกันได้ตามควร อนึ่ง ความที่อวิชชา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2025, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว


นั้นเป็นปัจจัยนั้น ข้าพเจ้าก็ได้กล่าวไว้แล้วโดยนัยมีอาทิว่า "บุคคลใดยังละอัญญาณ คือ
อวิชชาในอริยสัจ มีทุกข์เป็นต้นไม่ได้ บุคคลนั้นย่อมยึดถือสังสารทุกข์ไว้ด้วยอัญญาณใน
ทุกข์ และในขันธ์ ๕ ส่วนอดีตเป็นต้นก่อน ด้วยความสำคัญว่าเป็นสุข แล้วก็ปรารภแต่
สังยารทั้ง ๓ อย่าง อันมีเหตุแห่งสังสารทุกข์นั้น" ดังนี้นั่นเทียว.

(๖๐๘] ด้วยคำว่า มีผลอันไม่น่าปรารถนาอย่างเดียว นี้ ท่านอาจารย์ย่อมยัง
ความเป็นปัจจัยที่ผิดกันให้กระจ่างด้วยอำนาจอวิชชา ด้วยคำว่า ซึ่งมีโทษ นี้. จริงอยู่
ปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขารผิดกันและต่างชาติกันต่ออวิชชานั้น เพราะอภิสังขาร
ทั้ง ๒ นั้นมีวิบากน่าปรารถนา และเพราะเป็นธรรมมีสภาวะที่ไม่มีโทษ. คำว่า จะสมควร
อย่างไร เป็นต้น เป็นคำประมวลไว้. ด้วยคำนั้น ท่านอาจารย์ย่อมแสดงถึงความที่บางส่วน
ของเหตุ มีความที่เหตุมีผลอันไม่น่าปรารถนาโดยส่วนเดียวเป็นต้นนี้นั้น เป็นเรื่องที่มีส่วน
มิใช่น้อย. ก็ในอธิการนี้มีอธิบายดังนี้ คำท้วงนี้ใดที่ท่านได้กระทำไว้ด้วยคำว่า แม้เมื่อเป็น
อย่างนั้น คำทัวงนั้นสมควรแล้ว เมื่อว่าถึงผล เพราะเหตุที่สุกงอมอันไม่น่าปรารถนาจะ
ผลิตผลที่น่าปรารถนา หรือเหตุที่สุกงอมที่น่าปรารถนาจะผลิตผลที่ไม่น่าปรารถนา ก็หา
มิได้. อนึ่ง เพราะในอธิการนี้ทำนประสงค์เอาธรรมดาของปัจจยุปปันนธรรม ซึ่งมีลักษณะ
ความเป็นปัจจัยเป็นธรรม และในธรรมดานั้นก็ไม่มีการกำหนดข้อนี้ไว้ เพราะธรรมดานั้น
มีมากมาย. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่ผิดกัน ดังนี้
เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า แห่งธรรมทั้งหลาย คือ แห่งสภาวธรรมทั้งหลาย.

(๑๔๔) คำว่า ฐาน ได้แก่ ที่ตั้งลง. เพราะเหตุนั้น คำว่า ผิดกันโดยฐาน ได้แก่
ผิดกันโดยภาวะที่มีอยู่. ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า ปฏิสนธิเป็นต้น ชื่อว่า ฐาน. เมื่อเป็น
อย่างนั้น คำนี้ว่า จิตดวงก่อนเป็นปัจจัยที่ผิดโดยฐานของดวงจิตดวงหลัง ดังนี้ ก็จะไม่พึง
เป็นไปโดยส่วนเดียว.

จริงอยู่ แม้ภวังค์ก็เป็นอนันตรปัจจัยแก่ภวังค์ ชวนะก็เป็นอนันตรปัจจัยแก่ชวนะ
ก็ศิลปะเป็นต้น หามีฐานมีปฏิสนธิเป็นตันไม่ เพราะฉะนั้น ท่านจึงไม่ประสงค์เอาฐานคือ
ปฏิสนธิเป็นต้นนั้นไว้ในที่นี้ด้วย. กรรมก็เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแก่รูปได้ เพราะการ
น้อมไปกับการแปรผันผิดกัน และเพราะธรรมที่รับอารมณ์ได้ กับธรรมที่รับอารมณ์ไม่ไม่ได้
เป็นต้นผิดกัน. นมสดเป็นต้น ก็เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยสภาวะแก่นมส้มเป็นต้นได้ เพราะ
สภาวะมีรสหวานกับรสเปรี้ยวเป็นต้นผิดกัน.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.พ. 2025, 14:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8575


 ข้อมูลส่วนตัว


แสงสว่าง ซึ่งมีความไม่รู้แจ้งเป็นกิจ เป็นปัจจัยที่ผิดกันโดยกิจ แก่วิญญาณ ซึ่งมี
ความรู้แจ้งเป็นกิจ. และน้ำอ้อยงบเป็นต้น ซึ่งมีความไม่เมาเป็นกิจ เป็นปัจจัยที่ผิดกัน แก่
น้ำดอง ซึ่งมีความเมาเป็นกิจ.
ในบทว่า โคโลมาวิโลมาทิ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ขนโคและขนแกะเป็นปัจจัยที่ผิด
กับหญ้าแพรก. ก็แกะสีแดงพึงทราบว่า ชื่อว่า อวิ. เขาสัตว์เป็นปัจจัยแก่เสียง. นมล้ม
งา แป้ง และน้ำอ้อยงบ เป็นปัจจัยแก่ตะไครั.

คำมีอาทิอย่างนี้ว่า สาหร่ายเป็นปัจจัยแก่กะเพรา. ลาและม้าเป็นปัจจัยแก่ม้าอัสดร
ท่านอาจารย์รวมไว้ด้วย อาทิ ศัพท์. อธิบายว่า เพราะเหตุที่ธรรมเหล่านั้นมิได้เป็นวิบากเลย
ฉะนั้น ความที่อวิชชาแม้มีวิบากเป็นทุกข์ เป็นปัจจัยแก่ปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร
ซึ่งมีวิบากไม่เป็นทุกข์ จะไม่สมควรก็หามิได้.

คำว่า ปัจจัยแห่งธรรมทั้งหลายที่ผิดกันกับผลก็ดี ไม่ผิดกันก็ดี และที่เหมือนกันหรือ
ไม่เหมือนกันกับผล ย่อมสำเร็จเป็นปัจจัยได้ ดังนี้ ท่านอาจารย์กล่าวไว้เพื่อจะห้ามเสียซึ่ง
ความเกี่ยวข้องกับข้อนี้ว่า แม้เมื่อความที่ธรรมเหล่านั้นมิได้เป็นวิบาก อวิชชาก็เป็นปัจจัย
แก่อปุญญาภิสังขารเท่านั้น ซึ่งเป็นธรรมที่ผิดกันกับอภิสังขารทั้งสองนั้น และเหมือนกัน
กับอวิชชานั้น เพราะความเป็นธรรมที่มีโทษ. เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์เมื่อจะทำเนื้อความ
นั้นให้ปรากฏ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า ด้วยประการฉะนี้ อวิชชานี้.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร