วันเวลาปัจจุบัน 06 ธ.ค. 2024, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 ก.ค. 2024, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1392447605-612x612.jpg
istockphoto-1392447605-612x612.jpg [ 66.74 KiB | เปิดดู 2429 ครั้ง ]
นิพพานกถา

(๕๕๗) หากจะมีผู้แย้งว่า นิพพานไม่มีเอาทีดียว เพราะเป็นสิ่งที่หาไม่ได้เหมือน
เขากระต่าย ?

คำตอบพึงมีว่า ไม่ใช่ไม่มี เพราะนิพพานเป็นสิ่งที่หาได้ด้วยอุบาย แท้จริง นิพพาน
นั้นย่อมหาได้ด้วยอุบายคือการปฏิบัติอันสมควรแก่นิพพานนั้น เหมือนโลกุตตรจิตของคน
เหล่าอื่น พระอริยะรู้ได้ด้วยเจโตปริยญาณ เพราะเหตุนั้น ข้อว่า "นิพพานไม่มี เพราะหา
ไม่ได้" ใคร ๆ ไม่ควรกล่าว ด้วยว่า ใคร ๆ ไม่ควรกล่าวว่า "พวกปุถุชนคนโง่ทั้งหลาย
ย่อมหาไม่ได้ซึ่งสิ่งใด สิ่งนั้นก็ไม่มี"

(๕๕๗) (๙๕) คำว่า นิพพานไม่มีเอาทีเดียว มีความว่า ถ้ารับรู้กันโดยสามัญ
แม้นิพพานที่ตนประสงค์ก็จะต้องไม่มี เมื่อเป็นอย่างนั้นก็จะผิดการรับรู้ไป. ถ้าเล็งถึง
นิพพานที่คนอื่นเข้าใจกัน เมื่อเป็นอย่างนี้ก็จะเป็นความไม่สำเร็จที่ถูกธรรม และเพราะเหตุ
นั้น ก็จะเป็นเหตุที่ไม่สำเร็จโดยธรรมเป็นที่อาศัย. คำว่า เพราะเป็นสิ่งที่หาไม่ได้ ความว่า
เป็นสิ่งที่หาไม่ได้โดยประจักษ์หรือ หรือว่าโดยอนุมาน ? ในฝ่ายแรก ก็เป็นความที่มีอยู่
โดยส่วนมิใช่น้อยทางทวาร มีจักษุทวารเป็นต้น ในฝ่ายที่สอง ก็เป็นเหตุที่ไม่สำเร็จได้โดย
เล็งผู้อื่น. ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ไม่ใช่ไม่มี เพราะนิพพานเป็นสิ่ง
ที่หาได้ด้วยอุบาย
. ในคำนั้นมีอุปมาว่า พระอริยะทั้งหลายผู้ได้เจโตปริยญาณเท่านั้น ย่อม
รู้โลกุตตรจิตของพระอริยะเหล่าอื่น ก็แม้ในพระอริยะเหล่านั้น พระอรหันต์เท่านั้นจึงรู้


โลกุตตรจิตของพระอริยะทั้งหมด หาใช่พระอริยะทั้งหมดจะรู้ไม่ ข้อนี้อันใด แม้พระนิพพานก็
เหมือนฉันนั้น ย่อมจะได้โดยอุบายที่เป็นสัมมาปฏิบัติ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา เพราะเหตุนั้น
ข้อนี้จึงพึงเห็นได้ว่า เป็นถ้อยคำที่แสดงถึงความหมาย ไม่ใช่ถ้อยคำที่แสดงถึงประโยค
คำนั้นจักมีแจ้งข้างหน้า.

l๕๕๘] อีกประการหนึ่ง ข้อว่า นิพพานไม่มี ใคร ๆ ไม่ควรจะกล่าว เพราะเหตุ
ไร ? เพราะการปฏิบัติต้องเป็นหมัน เพราะเมื่อนิพพานไม่มีสัมมาปฏิบัติซึ่งสงเคราะห์ด้วย
ขันธ์ ๓ มีศีลเป็นต้น อันมีสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า ก็ต้องเป็นหมัน อนึ่ง สัมมาปฏิบัติที่นี้ที่นี้หา
เป็นหมันไม่ เพราะทำให้ถึงนิพพาน.

หากจะถามว่า การปฏิบัติไม่ถึงความเป็นหมันดอก เพราะทำให้ถึงความไม่มี
ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะเมื่อไม่มีขันธ์อดีตและอนาคต การบรรลุนิพพานก็ไม่มี
หากจะถามว่า แม้ขันธ์ที่เป็นปัจจุบันทั้งหลายไม่มี ก็เป็นนิพพาน
ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะขันธ์ปัจจุบันเหล่านั้น ก็ไม่มีความไม่มี และเมื่อไม่มี ก็เป็น
ขันธ์ที่ปัจจุบันไม่ได้ และเพราะจะขัดกันตรงที่ไม่มีการบรรลุสอุปาทิเสนิพพานธาตุ ในขณะ
แห่งมรรคที่อาศัยขันธ์ปัจจุบัน.

หากจะมีคำถามว่า เพราะกิเลสไม่มีอยู่ในเวลานั้น.

ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะอริยมรรคก็ต้องเป็นความไร้ประโยชน์ เพราะเมื่อเป็นอย่างนี้
แม้ก่อนขณะอริยมรรคกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี อริยมรรคก็ต้องเป็นความไร้ประโยชน์ เพราะ
เหตุนั้น ข้อนี้จึงไม่ใช่เหตุอันควรมี.

[๕๕๘] ข้อว่า นิพพานไม่มี ใคร ๆ ไม่ควรจะกล่าว อธิบายว่า นิพพานอันเพราะ
อริยะทั้งหลายจะพึงได้. นัยนี้สำเร็จได้ด้วยสิทธิทั้งหมดว่า บุคคลทั้งหมดผู้มีใจสลดแล้ว
จากสังสารวัฏ ย่อมบรรลุนิพพานได้ด้วยสัมมาปฏิบัติ. ในคำเฉลยนั้นท่านอาจารย์กล่าวว่า
เพราะการปฏิบัติต้องเป็นหมัน ดังนี้ เพราะอาศัยการปฏิบัติทางศาสนานั่นเอง. ด้วยเหตุ
นั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า เพราะเมื่อนิพานไม่มี ดังนี้เป็นต้น.

บทว่า สมฺมาทิฏฺฐิปุเรชวาย แปลว่า มีสัมมาทิฏฐิเป็นเบื้องหน้า. ก็ความที่สัมมา-
ทิฏฐินั้นเป็นเบื้องหน้า ก็เพราะความที่สัมมาทิฏฐินั้นเป็นประธาน. จริงอย่างนั้น สัมมาทิฏฐิ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ส.ค. 2024, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20240928_064455_TikTok.jpg
Screenshot_20240928_064455_TikTok.jpg [ 93.15 KiB | เปิดดู 840 ครั้ง ]
นั้น พระผู้มีพระภาคทรงยกขึ้นสู่เทศนาก่อน มิใช่เพราะเกิดขึ้นก่อนธรรมทั้งหมด อนึ่ง
สัมมาปฏิบัตินี้พาเป็นหมันไม่ เพราะทำให้ถึงมีพิพพาน คือเพราะยังพระนิพพานให้ถึงพร้อม มี
คำประกอบความว่า แต่ตามมติของท่านก็จะต้องเป็นหมัน เพราะพระนิพพานนั่นเองไม่มี.

คำว่า เพราะทำให้ถึงความไม่มี อธิบายว่า หากอาจารย์ผู้ท้วงจะพึงกล่าวว่า เพราะ
ความที่สัมมาปฏิบัติ เป็นกิริยาที่ให้ถึงพร้อมซึ่งความไม่มีแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยการถอน
กิเลสได้เด็ดขาดเป็นสำคัญ หาใช่ต้องเป็นหมันไม่.

ศัพท์ว่า น เป็นไปในความปฏิเสธ ความว่า ข้อใดที่ท่านกล่าวว่า เพราะการปฏิบัติ
ทำให้ถึงความไม่มีตัว ก็โดยยอมรับว่า ความไม่มีขันธ์ ชื่อว่า นิพพาน ข้อนั้นไม่ใช่.
เพราะเหตุไร ?
เพราะเมื่อไม่มีขันธ์อดีตและขันธ์อนาคต การบรรลุนิพพานก็ไม่มี. จริงอยู่ ขันธ์
ที่เป็นอดีตและอนาคตย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น นิพพานก็จะพึงชื่อว่าเป็นอันได้บรรลุแล้ว
เพราะความไม่มีนั้น แต่ความไม่มีนั้นก็ย่อมไม่มี. ไม่ใช่แต่ขันธ์อดีตและขันธ์อนาคตอย่าง
เดียวเท่านั้น โดยที่แท้ แม้ขันธ์ปัจจุบันด้วย เพราะเหตุนั้น ความไม่มีแห่งขันธ์ทั้งหมดที่มี
อยู่ในอัทธาทั้ง ๓ จึงชื่อว่า นิพพาน.

จริงอยู่ นิทพานนั้นสมควรจะเป็นความไม่มีแต่บางส่วนก็หามิได้ เพราะหตุนั้น หาก
เป็นขันธ์ปัจจุบัน จะว่าไม่มีก็ไม่ใช่ ถ้าหากว่าไม่มี ก็ไม่เป็นขันธ์ปัจจุบัน เพราะเหตุนั้น ข้อนี้
ว่า ขันธ์ปัจจุบันด้วย และว่า ไม่มีอยู่ด้วย จึงเป็นข้อขัดแย้งกัน เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์
ผู้เฉลยจึงกล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะขันธ์ปัจจุบันเหล่านั้น ก็ไม่มีความไม่มี และเมื่อไม่มี ก็เป็น
ขันธ์ปัจจุบันไม่ได้.

จะกล่าวเพิ่มเติมอีกนิดหน่อย ถ้าว่าความไม่มีปัจจุบันเป็นนิพพานไซร้ ความไม่มี
นิพพานก็จะพึงมีในกาลนั้น เพราะอธิบายว่า อริยมรรคเป็นไปอยู่ในกาลใด ขันธ์อันเป็นที่
อาศัยของอริยมรรรคนั้น ในกาลนั้นก็เป็นกันก็ปัจจุบัน ท่านอาจาจย์เมื่อจะแสดเมื่อ
เป็นอย่างนั้น การะทำให้เห็นแจ้งซึ่งนิพพานแม้ใขณะแห่งมรรค ก็จะต้องไมมี จึงกล่าวว่า
และเพราะจะขัดกันตรงที่ไม่มีการบรรลุสอุปาทิเสสนิพพานธาตุ ในขณะแห่งมรรคที่
อาศัยขันธ์ปัจจุบัน ข้าพเจ้าจะกล่าวนิพพานเพราะความที่ขันธ์ทั้งหมดที่เดียวไม่เป็นปัจจุบัน
ก็หามิได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 07 ส.ค. 2024, 18:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว


หากจะมีคำถามว่า เพราะอะไรเล่า ?
ก็จะมีคำตอบว่า เพราะกิเลสไม่มีอยู่ในเวลานั้น คือ ในขณะแห่งมรรค.
จึงถามต่อไปว่า เพราะไม่มีอยู่ คือ ไม่มีความแย้งกันกับคำถามที่กล่วมาแล้ว เพราะ
เหตุดังนั้น ?
ข้อนี้ตอบว่า ถ้าความไม่มี กล่าวคือความที่กิเลสไม่เป็นไปกับนิพพานไซร้ เมื่อเป็น
อย่างนี้ อริยมรรคก็ต้องเป็นความไร้ประโยชน์ เพราะความแม้ก่อนแต่ขณะแห่งมรรค ก็สำเร็จ
ความไม่มีแต่แห่งกิเลสนั้น ด้วยเหตุนั้น ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า อริยมรรคก็ต้องเป็นความ
ไร้ประโยชน์ ดังนี้เป็นต้น.

คำว่า เพราะเหตุนั้น ข้อนี้จึงไม่ใช่เหตุกันควรมี ความว่า เพราะพระนิพพานจะเป็น
สิ่งที่หาไม่ได้ก็หาไม่ จะต้องเป็นเพียงความไม่มีก็หาไม่ และการปฏิบัติจะเป็นหมันก็หาไม่
และเมื่อไม่มีขันธ์ในอดีตและในอนาคตเรา จะต้องบรรลนิพพานก็หาไม่ ทั้งความไม่มีแห่งขันธ์ ที่เป็นปัจจุบันก็ไม่สำเร็จ จะปวยกล่าวไปใยถึงความที่กิเลสเป็นไม่เป็นไปอยู่ และอริยมรรคก็จะ
ต้องไร้ประโยชน์ไปเล่า ฉันั้น เหตุนี้ใดที่่ท่านกล่าวไว้ว่า พระนิพพานเป็นสื่งที่หาไม่ใด้ เพราะ
การปฏิบัติทำให้มีความไม่มี และเพราะกินเลสไม่เป็นไปอยู่ในเวลานั้น เพื่อจะให้สำเร็จความ
ไม่มีแห่งนิพพาน เหตุนี้ไม่ใช่เหตุอันควร อธิบายว่า ข้อนี้ไม่เหนาะสม.

[๕๕๙] หากจะมีคำถาถามว่า "ความสิ้นไปเป็นนิพพาน" เพราะมีพระบาลีว่า "ดูกร
อาวุโส ความสิ้นไปแห่งราคะใดแล" ดังนี้เป็นต้น

ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะแม้อรหัตต์ก็จะต้องเป็นแต่เพียงความสิ้นไปเท่านั้น ด้วยว่า
อรหัตต์แม้นั้น ท่านพระสารีบุตรได้นิทเทสไว้โดยมีอาทิว่า "ดูกรอาวุโสความสิ้นราคะ
อันใดแล" ดังนี้ ยังมีคำที่ควรจะกล่าวยิ่งขึ้นไปอีกนิดหน่อย เพราะพระนิพพานจะมีข้อเสีย
เกี่ยวกับถึงความเป็นธรรมชาติมีกาลอันสิ้นไป.เป็นต้น จริงอยู่ เมื่อเป็นอย่างนี้ นิพพาน
ก็ย่อมต้องเป็นธรรมชาติมีกาลอันสั้น เป็นธรรมชาติมีลักษณะเป็นสังขตะ และความเป็น
ธรรมชาติที่จะพึงบรรลุได้ไตยไม่เล็งถึงสัมมาวายามะ และเพราะนิพพานมีลักษณะเป็น
สังขตะนั่นเอง ก็จะเป็นธรรมชาตินับเนื่องอยู่ในสังขตะ เพราะเป็นธรรมชาตินับเนื่องใน
สังขตะ ก็จะร้อนไปด้วยไฟทั้งหลายมีราคะเป็นต้น และเพราะร้อนไปก็ต้องกล่าวว่าเป็นทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2024, 14:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว




1728812120858.jpg
1728812120858.jpg [ 31.79 KiB | เปิดดู 661 ครั้ง ]
หากจะมีคำถามว่า จำเดิมแต่ความสิ้นไปใด ก็ย่อมมีชื่อว่าความเป็นยิ่งขึ้นไม่ได้
เพราะความสิ้นไปนั้นจะเป็นนิพพานด้วย ก็ไม่มีข้อเสีย

ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะความสิ้นไปเช่นนั้นไม่มี และแม้เพราะมีความสิ้นนั้น นิพพาน
ก็จะไม่พ้นไปจากข้อเสียมีประการที่ได้กล่าวแล้วได้ และเพราะอริยมรรคก็จะต้องเป็นนิพ-
พานไปด้วย ก็คืออริยมรรคย่อมยังข้อเสียทั้งหลายให้สิ้นไป เพราะเตุนั้น จึงเรียกว่า สิ้นไป
และตั้งแต่นั้นไปก็จะไม่มีข้อเสียยิ่งขึ้นไป.

อนึ่ง เพราะพิพพานเป็นอุปนิสสัยโดยบริยายแก่ความสิ้นไป กล่าวคือความดับคือ
ความไม่เกิดขึ้น ท่านจึงกล่าวนิพพานว่า ควานสิ้นไป โดยการกล่าวถึง (ขยะ) ควานสิ้นไป
อันเป็นผลโดยความหมายแห่งมรรคซึ่งมีนิพพานเป็นอุปนิสสัย.

หากจะมีข้อถามว่า เพราะเหตุไรท่านจึงไม่กล่าวไว้โดยสรูปที่เดียว.
ตอบว่า เพราะเป็นความละเอียตยิ่ง ก็ความที่พระนิพพานนั้นละเอียดยิ่งสำเร็จ
แล้ว โดยนำมาซึ่งความที่พระผู้มีพระภาคทรงมีความขวนขวายน้อย และโดยจะพึงเห็น
ได้ด้วยจักษุอันเป็นอริยะ ฉะนี้แล.

[๕๕๙] ด้วย อาทิ ศัพท์ว่า อาทิวจนโต ท่านอาจารย์ย่อมรวมเอาบางส่วนของ
ช้มพุขาทกสูตรที่เหลือ และรวมเอาทั้งพระบาลีอันเป็นนิทเทสแห่งอสังขตธาตุแม้อื่น. จริง
อย่างนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์กล่าวไว้ใน ซัมพุขาทกสูตร ว่า
ชัมพุชาทกปริพาชกถามว่า ดูกรอาวุโสสารีบุตร คำที่ท่านกล่าวว่า นิพพาน นิพพาน
ดังนี้ ดูกรอาวุโส นิพพานเป็นไฉนหนอแล ?
พระสารีบุตรตอบว่า ดูกรอาวุโส ความสิ้นราคะ ควานสิ้นโหสะ ควานสิ้นโมหะ
อันใดแล นี้เรียกว่า นิพพาน.
(และ) พระผู้มีพระภาคตรัสไว้ในอายตนวิภังค์ว่า ในข้อนั้น อสังขตธาตุเป็นไฉน ?
คือ ความสิ้นราคะ ความสิ้นโทสะ ความสิ้นโมหะ ในพระบาลีนั้นมีอรรถาธิบายดังต่อไปนี้
นิพพาน ได้แก่ อสังขตธาตุ คือธรรมที่มีสภาวะอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ เพราะกิเลสมีราะ
เป็นต้นย่อมสิ้นไป เพราะมาถึงนิพพานนั้น เหตุนั้น นิพพานนั้นจึงเรียกว่า ราคกฺขโย ความ
สิ้นราคะ. โทสกฺขโย ความสิ้นโทสะ, โมหกฺขโย ความสิ้นโมหะ.. ก็คำว่า เพราะมาถึง ความ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ต.ค. 2024, 15:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว




1728812120858.jpg
1728812120858.jpg [ 465.18 KiB | เปิดดู 612 ครั้ง ]
ว่า เพราะกระทำให้แจังด้วยมรรค ซึ่งอรหัตตผลอันโคตรภูเปิดให้เเล้ว ซึ่งหน่ายจากสังขาร
ทั้งปวงน้อมไปในวิสังขาร. จริงอยู่ มรรคที่เรียกว่า ขยะ ความสิ้นไป ย่อมยังกิเลสมีราคะ
เป็นต้นให้สิ้นไป เพราะบรรสุนิพพานนั้นที่การกบุคคลทำให้แจ้งอยู่ คือเพราะอาศัยนิพพาน
อันปืนอารัมณปัจจัย และเพราะตั้งที่เอยู่เฉพาะในนิพพานนั้น ซึ่งเป็นอธิปติปัจจัยอันเป็น
ที่ตั้งอาศัย โดยภาวะที่เป็นความโล่งใจอย่างยอดเยี่ยม และโดยภาวะที่เป็นทางดำเนิน
อย่างยอดเยี่ยมของท่านผู้มีสังขารอันหลุดพ้นแล้ว เพราะนั้น ก็เลสมีราคะเป็นต้น ท่าน
จึงกล่าวว่า ย่อมสิ้นไป เพราะเมื่อไม่มีการทำให้แจ้งซึ่งนิพพานนั้น การถึงความดับ คือการ
เกิดขึ้นไม่ได้ของกิเลสมีราคะเป็นต้น ก็ไม่มี ก็นิพพานนี้ บัณฑิตควรรับรองอย่างนี้โดยส่วน
เดียว. เมื่อจะถือเอาเนื้อความแห่งพระบาลีโดยประการนอกนี้ เกี่ยวกับคำตามที่กล่าวแล้ว
ก็จะต้องเป็นข้อเสียหลายอย่าง เพราะฉะนั้น ท่านอาจารย์ประสงค์จะแสดงข้อเสียเหล่า
นั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ไม่ใช่ เพราะแม้อรหัตต์ ก็จะต้องเป็นแต่เพียงความสิ้นไปเท่านั้น.
จริงอยู่ อรหัตต์ ได้แก่ ขันธ์ทั้ง ๔ อันเป็นผลอันเลิศเป็นประมุข เพราะฉะนั้น ความที่พระ
อรหัตต์นั้นเป็นแต่เพียงความสิ้นไปแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น จะสมควรก็หาไม่.

ด้วยว่าอรหัตต์แม้นั้น ท่านพระสารีบุตรได้นิทเทสไว้โดยนัยมีอาทิว่า "ดูกรอาวุโส
ความสิ้นราคะอันใดแล" ดังนี้ ในคำของอาจารย์เหล่านั้น ความที่พระสูตรมีอรรถที่ควร
จะรู้ว่า อรหัตต์ท่านแสดงไขไว้โดยนัยมีอาทิว่า ราคกฺขโย เพราะเป็นคุณชาติเกิดในที่สุด
แห่งกิเลสมีราคะเป็นต้น ได้สิ้นไปแล้ว ข้อนี้ฉันใด ก็พึงทราบความที่พระสูตรแม้มีอรรถที่
ควรจะรู้ว่า นิพพานท่านแสดงไขไว้ โดยนัยมีอาทิว่า ราคกฺขโย เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้น
ย่อมสิ้นไปเพราะมาถึงนิพพาน ก็เหมือนฉันนั้น. ท่านอาจารย์ประสงค์จะแสดงว่า นิพพาน
จะต้องมีข้อเสียอยู่มาก เพราะเป็นแต่เพียงความสิ้นกิเลสมีราคะเป็นต้น จึงเริ่มคำมีอาทิ
ว่า ยังมีคำที่ควรจะกล่าวยิ่งขึ้นไปอีกนิดหน่อย.

ในบรรดาคำเหล่านั้น คำว่า เพราะพระนิพพานจะมีข้อเสียเกี่ยวกับถึงความเป็น
ธรรมชาติมีกาลอันสิ้นไปเป็นต้น มีอรรถาธิบายว่า เพราะพระนิพพานจะต้องมีข้อเสีย มี
อาทิอย่างนี้ คือ : ความเป็นธรรมชาติมีกาลอันสั้น ๑ ความเป็นธรรมชาติมีลักษณะเป็น
สังขตะ ๑ ความเป็นธรรมชาติเว้นจากความขวนขวาย ก็จะพึงบรรลุได้โดยสภาพเท่านั้น
๑ เป็นธรรมชาติที่ไม่พ้นไปจากกิเลสมีราคะเป็นต้น ๑ เป็นธรรมชาติถูกไฟมีราคะเป็นต้น
ติดทั่วแล้ว ๑ เป็นทุกข์ ๑ เป็นธรรมชาติไม่เข้าไปลงบ ๑ มีมากมาย ๑ เป็นธรรมชาติ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2024, 09:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว


หยาบ ๑ ไม่เป็นอารมณของโคตรกูและมารรค ๑ เพราะเป็นแต่เพียงความสิ้นำปของกิเลสา
มีราคะเป็นต้นเท่านั้น. ความสิ้นไปแห่งราคะอย่างเดียว ชื่อว่า ราคกฺขโย หาใช่ความสิ้นไป
ของกิเลสมีโทสะเป็นต้นไป แม้ความสิ้นไปของโทสะเป็นต้นก็เช่นเดียวกัน เพราะหตุนั้น
ความสิ้นราคะก็อย่างหนึ่ง ความสิ้นโทสะก็อย่างหนึ่ง ความสิ้นโมหะก็อย่างหนึ่ง เพราะ
เหตุนั้น นิพพานจะมีถึง ๓ อย่าง ซึ่งเป็นความสิ้นไปของอกุศลมูลทั้ง ๓ มิ ๔ อย่าง เพราะ
ความสิ้นไปของอุปาทาน ๔ มี ๕ อย่าง เพราะความสิ้นไปของนิวรณ์ ๕ มี ๖ อย่าง เพราะ
ความสิ้นไปของตัณหา ๖ มี ๗ อย่าง เพราะความสิ้นไปของอนุสัย ๗ มี ๕ อย่าง เพราะ
ความสิ้นไปของมิจฉัตตะ ๘ มี ๙ อย่าง เพราะความสิ้นไปของตัณหามูลกะ ๙ มี ๑๐
อย่าง เพราะความสิ้นไปของสังโยยน์ ๑๐ นิพพานจะมีแต่ละอย่าง ๆ เพราะความสิ้นไป
ของกิเลสพันห้า เพราะฉะนั้น นิพพานก็จะมีมากมาย. ธรรมดาว่าความสิ้นราคะเป็นต้น
ชัดเจนแม้แก่คนโง่ ๆ โดยที่สุดแม้สัตว์เดียรัจฉานมี เสือ เนื้อ และลิง เป็นต้น ก็จะพึงรู้จัก
ได้ง่าย เพราะฉะนั้น จึงจะเป็นนิพพานหยาบ ๆ. อนึ่ง เพราะความสิ้นกิเลสไม่มีในขณะ
แห่งโคตรภู และเพราะกิเลสไม่สิ้นไปในขณะแห่งมรรค จึงไม่มีการกระทำนิพพานให้เป็น
อารมณ์เอาทีเดียว

(๙๖) คำว่า เพราะความสิ้นไปนั้นจะเป็นนิพพานด้วย ความว่า เพราะความสิ้น
กิเลสมีราคะเป็นต้น ซึ่งเป็นที่สุดของธรรมทั้งปวงก็จะเป็นนิพพานด้วย จำเดิมแต่ความสิ้น
ไปอันใด ความเป็นไปแห่งกิเลสมีราคะเป็นต้นย่อมไม่มี ความสิ้นไปอันนั้นควรจะกำหนด
แน่ลงไปว่า ชื่อนี้เป็นอารมณ์แห่งมรรคญาณ และผลญาณย่อมไม่มี เพราะฉะนั้น ท่าน
อาจารย์จึงกล่าวว่า ไม่ใช่ เพราะความสิ้นไปเช่นนั้นไม่มี.

ยังมีคำที่ควรจะกล่าวอีกนิดหน่อย. บุคคลใดเห็นโทษในกิเลสมีราคะเป็นต้น ใน
อัตภาพที่ ๓ แต่ภพสุดท้ายนั่นเอง ข่มกิเลสเหล่านั้นด้วยฌานภาวนาแล้ว มีฌานไม่เสื่อม
ตายไปแล้วเข้าถึงพรหมโลก อยู่ในพรหมโลกนั้นตลอดอายุ แม้มาในโลกนี้ก็เป็นผู้ปราศจาก
ราคะในกามทั้งหลายทีเดียว บวชแล้วบรรรรหัตต์ อนึ่ง บุคคลใดหน่ายจากราคะเป็นต้น
ในปฐมวัยทีเดียว และข่มราคะเป็นต้นเหล่านั้นด้วยฌาน แล้วบรรลุอรหัตต์ในปัจฉิมวัย
เพราะกิเลสมีราคะเป็นต้นเหล่านั้น ไม่เกิดขึ้นจำเติมแต่กาลข่มไว้ การไม่เกิดขึ้นนั่นเองก็จะ
ชื่อว่าเป็น ความดับ เพราะเหมือนกับนิโรธ คนเหล่านั้นก็ควรจะชื่อว่า บรรลุนิพพาน
แต่ก็หาเป็นดังนั้นไม่ เพราะฉะนั้น ความที่ความสิ้นไปเช่นนั้นจะเป็นนิพพานก็หาไม่. แม้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ต.ค. 2024, 16:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว




Screenshot_20241015_132845_TikTok.jpg
Screenshot_20241015_132845_TikTok.jpg [ 146.17 KiB | เปิดดู 592 ครั้ง ]
ความสิ้นไปนั้นก็ประกอบไปด้วยข้อเสีย มีความที่นิพพาน มีกาลอันสั้นเป็นต้นทีเดียวฉะนั้น
ท่านอาจารย์จึงกล่าวว่า แม้เพราะมีความสิ้นไปนั้น ดังนี้เป็นต้น ถ้าความไม่เป็นไปแห่ง
กิเลสมีราคะเป็นต้น จำเดิมแต่ความสิ้นไปอันใด โดยพระบาลีว่า ขโย ท่านก็ย่อมจะสำคัญ
เพียงความสิ้นไปอันนั้นว่าเป็นนิพพาน เมื่อเป็นอย่างนี้ ก็จำเดิมแต่ความสิ้นไปนั้นเกิดขึ้น
กิเลสมีราคะเป็นต้นก็ไม่เกิตขึ้น เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ขโย เช่นในคำว่า ขเย ญาณํ ญาณ
คือความรู้ในความสิ้นไป ดังนี้เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านอาจารย์ประสงค์จะแสดงว่า แม้
มรรคก็จะต้องเป็นนิพพานด้วย ดังนี้ จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า และเพราะอริยมรรค ดังนี้

สิ่งที่ดับไปแล้ว ย่อมไม่มีฉันใด แม้สิ่งที่ไม่เกิดขึ้น ก็เหมือนฉันนั้น เพราะหตุนั้น
ความไม่เกิดขึ้นนั่นเองก็เป็นความดับ เพราะเหมือนกับนิไรธ โดยที่เป็นความไม่มีเหมือนกัน
จึงชื่อว่า อนุปปัตตินิโรธ แปลว่า ความดับคือความไม่เกิดขึ้น. จริงอยู่ อนุปปัตตินิโรธนี้
เป็นอาการของธรรมที่มรรคจะพึงให้สิ้นไป ซึ่งเป็นการทำสิ่งที่ควรจะเกิดขึ้นให้ถึงความเกิด
ขึ้นไม่ได้เป็นธรรมดา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกว่า ขโย. ท่านอาจารย์เมื่อจะทำอนุปปัตติ-
นิโรธนั้นให้ต่างไปจากของนอกนี้ จึงกล่าวว่า อนึ่ง เพราะนิพพานเป็นอุปนิสสัยโดยปริยาย
แก่ความสิ้นไป ที่เรียกว่า อนุปปัตตินิโรธ.
ท่านกล่าวว่า ก็นิพพานเป็นอนิปผันนธรรม
เพราะความเป็นอุปนิสสัยโดยปริยาย แห่งขยะนั้น.

จริงอยู่ นิพพานอันเป็นอารมณ์แห่งมรรคซึ่งกระทำความสิ้นไป คือ อนุปปัตตินิโรธ
โดยความหมายย่อมได้ภาวะที่ควรจะกล่าวว่า เป็นเหมือนอุปนิสสัยแห่งมรรคนั้น. บทว่า
ตทุปจาเรน แปลว่า โดยการกล่าวถึงขยะอันเป็นผลโดยความหมาย. จริงอยู่ เหตุท่านเรียก
ด้วยอุปจารโวหารถึงผล เหมือนอย่างคำว่า อายุ ฆตํ แปลว่า อายุและเปรียง และว่า
เสมฺโห คุโฬ แปลว่า เสมหะงบน้ำอ้อย.
บทว่า อสฺส โยค นิพฺพานสฺส. เพราะนำมาซึ่งความเป็นผู้ขวนขวายน้อยแก่พระผู้
มีพระภาค รู้ทรงพิจารณาอยู่โดยนัยมีอาทิว่า ฐานะแม้นี้แลเห็นได้ยาก พึงเพียงด้วย
จักษุอันเป็นอริยะ โดยมีพระบาลีว่า ดูกรมาคัณฑิยะ ก็เธอไม่มีจักษุอันเป็นอริยะ ที่จะพึง
เป็นเหตุให้เธอพึงรู้ความเป็นผู้ไม่มีไรค ให้เธอเห็นนิพพานนั้น
[๕๖๐] หากมีข้อถามว่า นิพพานนี้นั้น ชื่อว่า เป็นธรรมชาติไม่ทั่วไป เพราะท่านผู้
เพียบพร้อมด้วยมรรคที่จะพึงบรรลุ นิพพาน ชื่อว่า ไม่มีแดนเกิด เพราะไม่มีที่สุด เบื้องต้น
ไม่ใช่ไม่มีแดนเกิด ก็ไม่ใช่ เพราะเมื่อมีมรรคจึงมีได้ ?

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2024, 08:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว


ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะนิพพาน มรรคพึงทำให้เกิดไม่ได้ จริงอยู่ นิพพานนี้อันมรรค
พีงถึงได้เท่านั้น หาใช่มรรคพึงทำให้เกิดขึ้นไม่ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นธรรมชาติไม่มี
นั่นเทียว นิพพาน ชื่อว่า อชรามรณะ ไม่แก่ไม่ตาย เพราะเป็นธรรมชาติไม่มีแดนเกิด ชื่อว่า
นิจจะ เที่ยง เพราะไม่มีแดนเกิดชราและมรณะ

หากจะมีข้อถามว่า แม้สภาวะมีอณูเป็นต้น ก็ต้องเป็นความเที่ยงเหมือนกันนิพพาน
ตอบว่า ไม่ใช่ เพราะสภาวะมิอณูเป็นต้น เพราะไม่มีเหตุ
หากจะมีข้อถามว่า เพราะนิพพานเป็นธรรมชาติเที่ยง สภาวะมีอยู่เป็นต้นเหล่านั้นก็เที่ยง
ตอบว่า ไม่ไช่ เพราะไม่เข้าถึงลักษณะแห่งเหตุ
หากจะมีข้อถามว่า สภาวะมีอณูเป็นต้น เที่ยงเหมือนอย่างนิพพาน เพราะไม่มีความ เกิดเป็นต้น
ตอบว่า ไม่ใช่ ด้วยสภาวะมีอณูเป็นต้น ไม่สัมฤทธิ์ผล

[๕๖๐] ท่านอาจารย์กล่าวว่า นิพพาน ชื่อว่า เป็นธรรมชาติไม่ทั่วไป เพราะท่าน
ผู้เพียบพร้อมด้วยมรรคที่จะพึงบรรลุ ดังนี้ เพื่อจะเลี่ยงเสียซึ่งคำถามว่า ถ้าจะมีสภาว
ธรรมและธรรมที่นับเนื่องอยู่ในสันดานของสัตว์ ชื่อว่านิพพานไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะ
เหตุไรจึงไม่ได้ธรรมที่ทั่วไปแก่ทุกสิ่งทุกอย่าง เหมือนอย่างที่ประชุมในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง
เล่า ? นิพพาน ชื่อว่า ไม่มีแดนเกิด เพราะไม่มีที่สุดเบื้องตันอย่างนี้ว่า นิพพานเกิดในกาล
แห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์โน้น คำว่า เมื่อมีมรรค คือ เมื่อมีอริยมรรค. เพราะมี คือ
เพราะมีอยู่ พึงได้อยู่

คำว่า สภาวะมีอณูเป็นต้น ได้แก่ สภาวะมีอณู ประกฤติ กาละ และปุรุษะ เป็นต้น.
คำว่า ต้องเป็นความเที่ยง คือ สำเร็จภาวะที่เที่ยง. ก็ความเป็นสภาวะเที่ยงที่ตั้งอยู่ในฝ้าย
ปลอม ท่านประสงค์เอาในที่นี้. คำว่า เพราะไม่มีเหตุ คือ เพราะไม่มีเหตุที่เป็นตัวให้สำเร็จ
แห่งการเข้าถึง. นิจฺจา เต โยค อณุอาทโย แปลว่า สภาวะมีอณูเป็นต้นเหล่านั้นเที่ยง.
คำว่า เพราะนิพพานเป็นธรรมชาติเที่ยง มีความว่า ไม่เข้าถึงลักษณะแห่งเหตุ มีความเป็น
ธรรมที่ไม่ต้องเพ่งเป็นต้น. ด้วยคำว่า ด้วยสภาวะมีอณูเป็นต้น ไม่สัมฤทธิ์ผล นี้ ท่าน
อาจารย์ย่อมแสดงว่า ข้อยืนยันที่ว่า สภาวะมีอณูเป็นต้นเที่ยง ไม่เป็นความสัมฤทธิ์ที่ถูกต้อง
และเพราะเหตุนั้นแหละ จึงเป็นเหตุที่ไม่สัมฤทธิ์ผลโดยธรรมเป็นที่อาศัย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ต.ค. 2024, 16:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8294


 ข้อมูลส่วนตัว




ei_1729057435225-removebg-preview.png
ei_1729057435225-removebg-preview.png [ 159.67 KiB | เปิดดู 538 ครั้ง ]
[๕๖๑] ก็นิพพานนี้นั่นเทียว เที่ยง เพราะมีถูกต้องตามที่กล่าวไว้แล้ว
ชื่อว่า เป็นอรูป เพราะก้าวล่วงเสียซึ่งสภาวะแห่งรูป (ชื่อว่า เป็นความสำเร็จอย่างเดียวกัน
เท่านั้น เพราะความสำเร็จของพระอริยบุคคคลทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ไม่มีความ
แตกต่างกัน อันผู้ใดบรรลุแล้วด้วยภาวนาก็เข้าไปสงบกิเลสของผู้นั้น และชื่อว่า สอุปาทิ-
เสส เพราะมีความหมายว่า ได้ญัญญัติกับด้วยอุปาทิเสส คือยันธ์ ๕ ที่กรรมและกิเลสเข้า
ไปยึดครอง เพราะพึงบัญญัติโดยอาศัยอุปาทิเสส คือขันธ์ ๕ ที่กรรมและกิเลสเข้าไปยึด
ครอง และชื่อว่า อนุปาทิเสส เพราะมีความหมายว่า ความไม่มีแห่งอุปาทิเสส คือขันธ์ ๕
ที่กรรมมและกิเลสเข้าไปยึดครองอันใด เพราะขันธ์ในปวัตติกาลทั้งหลาย พ้นไปจากจิตดวง
สุดท้ายแห่งกรรมและผลแห่งกรรม มีความสืบต่ออันการละได้ซึ่งสมุทัยของบุคคลผู้นั้น
ทำลายแล้ว และเพราะขนธ์ทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้วอันตรธานไป อุปาทิเสส คือขันธ์ ๕ ที่
ที่กรรมและกิเลสเข้าไปยึดครองไม่มีอยู่ในนิพพานนี้ เพราะได้บัญญัติโดยอาศัยความไม่มี
อุปาทิเสสคือขันธ์ ๕ ที่กรรมและกิเลสเข้าไปยึดครองนั้น)

เพราะนิพพานจะพึงบรรลุได้ด้วยญาณวิเศษ ที่สำเร็จด้วยความบากบั่นอันไม่ย่อ
หย่อน และเพราะพระดำรัสของพระสัพพัญพัญญู นิพพานจึงไม่ใช่ไม่มีอยู่โดยสภาวปรมัตถ์
ข้อนี้ สมด้วยพระพุทธจวนะที่ตรัสไว้ดังนี้ "ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติที่ไม่เกิด ไม่เป็น
อันเหตุอะไร ๆ มิได้ทำขึ้น อันปัจจัยอะไร ๆ มิได้แต่งขึ้น มีอยู่" ดังนี้
นี้กถามุขวินิจฉัยในทุกชนิโรธนิทเทส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร