วันเวลาปัจจุบัน 08 พ.ย. 2024, 05:46  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ก.ค. 2024, 16:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1370290678-612x612.jpg
istockphoto-1370290678-612x612.jpg [ 74.19 KiB | เปิดดู 1765 ครั้ง ]
๑. ในคำถามว่า "ปัญญาคืออะไร"

ตอบว่า ปัญญานั้นมีหลายกลุ่ม[โดยปัญญา เป็นต้น] หลายประเภท[โดยสุตมยปัญญาเป็นต้น]
ถ้าจะพยายามตอบโดยแสดงปัญญา
ทั้งหมด ก็ไม่พึงเกิดประโยชน์ และทำให้ฟั่นเฝือยิ่งขึ้น ดังนั้น ข้าพเจ้าจึงขอตอบเจาะจง
เฉพาะปัญญาที่ประสงค์เอาในที่นี้ว่า วิปัสสนาญาณที่ประกอบกับกุศล ชื่อว่า ปัญญา

คำว่า กุสล (กุศล) ในคำว่าว่า "วิปัสนาญาณที่ประกอบกับกุศล ชื่อว่า ปัญญา"
(กุสลจิตฺตสมฺปยุตฺตํ วิปสฺสนาญาณํ ปญฺญา) โดยห้ามอัพยากฤตทั้งสองอย่าง [คือ
วิบากและกิริยา] และห้ามความเห็นผิดที่ว่าปัญญามีความเศร้าหมองได้
คำว่า วิปสฺสนาญาณ (วิปัสสนาญาณ) นี้ยังห้ามกุศลปัญญาอื่นที่เหลือด้วย

ในคำถามว่า ชื่อว่าปัญญาโดยความหมายอะไร" พอตอบว่า ชื่อว่าปัญญาโดยความหมาย
ว่า รู้ชัด ความรู้ชัดนี้คืออะไร คือความรู้โดยประการต่างๆ ซึ่งยิ่งไปกว่าความหมายรู้และความรู้
พิเศษ กล่าวคือ แม้สัญญา วิญญาณ และปัญญา จะเป็นสภาวะรู้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตาม :-

ก. สัญญาเป็นเพียงความหมายรู้อารมณ์ เช่น รู้ว่าเป็นสีเขียวสีเหลืองเป็นต้น
ไม่อาจทำให้แทงตลอดไตรลักษณ์ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และไม่ใช่ตัวตน

ข. วิญญาณย่อมรู้อารมณ์ว่าเป็นสีเขียวหรือสีเหลืองเป็นต้น และทำให้แทงตลอด
ไตรลักษณ์ แต่ไม่สามารถเจริญ[ตามลำดับอุทยัพพยญาณ]จนทำให้มรรคปรากฏได้ (เพราะ
ไม่มีสภาวะทำให้เข้าถึงไตรลักษณ์ได้

ค. ปัญญาย่อมรู้อารมณ์ ทำให้แทงตลอดไตรลักษณ์ตามวิธีที่กล่าวมาแล้ว และ
สามารถเจริญขึ้นไปจนทำให้มรรคปรากฏได้

อุปมาเหมือนคน ๓ คน คือ
๑. เด็กที่ยังไม่รู้ความ
๒. ชาวบ้าน[ผู้ใหญ่]
๓. เจ้าหน้าที่การเงิน
เมื่อเด็กเห็นกองเหรียญเงินที่วางไว้บนโต๊ะของเจ้าหน้าที่การเงิน
เด็กจะรู้เพียงว่า
เหรียญเงินสวยงาม ยาว สั้น สี่เหลี่ยม หรือกลมเท่านั้น แต่ไม่รู้ว่าเป็นเหรียญเงินเป็นที่มนุษย์
ทั้งหลายสมมุติว่าเป็นรัตนะใช้แลกเปลี่ยนเครื่องกินเครื่องไช้ได้
ส่วนชาวบ้านย่อมรู้ว่าเหรือญเงินทั้งสวยงามเป็นต้น และรู้ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์สมมุติว่า
เป็นรัตนะใช้เเรกเปลี่ยนเครื่องกินเครื่องใช้ได้ แต่ไม่รู้แยกแยะว่าเป็นเหรียญแท้หรือเหรียญปลอม
หรือมีราคากึ่งหนึ่ง

คำว่า นานปฺการโต ชานนํ (ความรู้โดยประการต่างๆ) นี้แสดงว่า การรู้เห็น
เญยยธรรมเหล่านั้นตามความเป็นเป็นจริง ชื่อว่า ปัญญา เพราะเญยยธรรมมีประเภทหลาก
หลายแตกต่างกัน สมจริงดังหลักฐาน[ในคัมภีร์มหานิทเทส" | ว่า
สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเข อาปาถมาคจฺฉนฺติ.
ธรรมทั้งสิ้นได้มาปรากฎในข่ายพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้โดยประการ
ทั้งปวง

วิสุทธิ.มหาฎีกา ๒/๔๒๓/๘๔

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ค. 2024, 09:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-1127245421-612x612.jpg
istockphoto-1127245421-612x612.jpg [ 36.6 KiB | เปิดดู 1505 ครั้ง ]
สพฺเพ ธมฺมา สพฺพากาเรน พุทฺธสฺส ภควโต ญาณมุเข อานาปาถมาคจฺฉนฺติ
ธรรมทั้งสิ้นได้มาปรากฏในข่ายพระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้โดยประการทั้งปวง

เญยยธรรม คือ ธรรมที่พระพุทธเจ้าทุกพระองค์พึงรู้แจ้ง มี ๕ ประการ คือ
สังขาร คือ นามธรรม ๕๓ คือ จิต ๑ เจตสิก ๕๒ และนิปผันรูป ๑๘
๒. วิการ คือ วิการรูป ๕ ได้แก่ วิญญัตติรูป ๒ ลหุตา มุทุตา และกัมมัญญตา
๓. ลักขณะ คือ ลักณของรูป ๔ ได้แก่ อุปจยะ สันตติ ชรตา และอนิจจตา
๔. นิพพาน คือ สภาพดับกิเลสและกองทุกข์
๕. บัญญัติ คือ สมมุติที่ชาวโลกหมายรู้กัน เช่น ภูเขา ต้นไม้ แผ่นดิน เป็นต้น

อนึ่ง แน่นอนว่าปัญญานั้นไม่มีในจิตตุปบาททุกดวงที่มีสัญญาและวิญญาณ [เพราะ
ปัญญาไม่เกิดในจิตตุปบาทที่เป็นทวิเหตุกะและอเหตุกะ
ส่วนสัญญาและวิญญาณประกอบกับ
ปัญญาได้ไม่แน่นอน เหมือนสุขไม่ประกอบกับปีติเสมอไป แต่ปัญญาจะประกอบกับสัญญาและ
วิญญาณเสมอ เหมือนปีติประกอบกับสุขแน่นอน" ในเวลาเกิดปัญญา(คือในจิตตุปบาทที่
ประกอบด้วยปัญญา] ปัญญาไม่อาจถูกแยกออกจากธรรม(คือสัญญาและวิญญาณ]เหล่านั้นได้
เป็นสภาวะละเอียดเห็นได้ยากไม่อาจแยกความต่างกันได้ว่า นี้คือสัญญา วิญญาณ หรือ ปัญญา

"มหาบพิตร พระผู้มีพระภาคได้ทรงทำกิจที่ทำได้ยาก"
พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า "พระนาคเสนผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงทำกิจ
อะไรที่ทำได้ยากหรือ ?"

"มหาบพิตร การตรัสจำแนกธรรมอันไม่มีรูปร่างคือจิตและเจตสิกที่เป็นไป
ในอารมณ์เดียวกันว่า นี้คือผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา หรือจิต เป็นกิจทำได้ยาก
ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำแล้ว"

พระนาคเสนได้แสดงเรื่องนั้นว่า เมื่อบุคคลใส่น้ำจากแม่น้ำหลายสายและน้ำมัน
ต่างๆ ไว้ในภาชนะหนึ่งแล้วคนให้เข้ากัน การจะแยกให้ออกว่า นี้คือน้ำจากแม่น้ำนั้น
คือน้ำมันโน้น แม้โดยรูปธรรรมก็เป็นสิ่งกระทำได้ยาก จะป่วยกล่าวไปไปใยในนามธรรม
เล่า จึงได้กล่าวทำเป็นต้นว่า ยํ อรูปินํ จิตฺตเจตสิกานํ (การตรัสจำแนกธรรมอันไม่มี
รูปร่างคือจิตและเจตสิกที่เป็นไปในอารมณ์เดียวกันว่า นี้คือผัสสะ เวทนา สัญญา เจตนา
หรือจิต เป็นกิจทำได้ยาก ซึ่งพระผู้มีพระภาคได้ทรงกระทำแล้ว)"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 ก.ค. 2024, 09:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




FB_IMG_1721291977825.jpg
FB_IMG_1721291977825.jpg [ 81.91 KiB | เปิดดู 1413 ครั้ง ]
วิสัชนาปัญญา
ในคำถามว่า "ลักษณะ หน้าที่ อาการปรากฏ[แก่ญาณของผู้ปฏิบัติ] และปทัฏฐาน
(เหตุใกล้) ของปัญญา คืออะไร"

ตอบว่า ปัญญา กล่าวคือ
ก. มีลักษณะแทงตลอดสภาวะเฉพาะตัวและสภาวะทั่วไปของธรรม [รูปและนาม)
(ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา ปญฺญา)
ข. มีหน้าที่กำจัดความมืดคือโมหะที่ปกปิดสภาวะเฉพาะตัว และสภาวะทั่วไปของ
ธรรม [รูปและนาม] (ธมฺมานํ สภาวปฏิจฺฉกโมหนฺธการวิทฺธํสนรสา))
(ประดุจเช่นแสงประทีปที่
กำจัดควานมืดกายนอกที่ถูกหม้อหรือผ้าเป็นต้นปิดบังไว้ เพราะเมื่อเกิดแสว่างแห่งปัญญาที่
ย่อมกำจัดความมืดในใจ[คือโมหะ]ได้ ]
ค. ปรากฏ[แก่ญาณของผู้ปฏิบัติ]ด้วยความรู้ตามความเป็นจริงไม่หลงผิด (อสมฺโมห
ปจฺจุปฏฐานา)
ฆ. มีเหตุใกล้คือสมาธิ (สมาธิ ตสฺสา ปทฎฺฐานํ) [เพราะประสงค์เอาวิปัสสนาในที่นี่
ดังพระพุทธดำรัสว่า

สมาหิโต ยถาภูตํ ชานาติ ปสฺสติ.
ผู้มีจิตตั้งมั่น ย่อมรู้แจ้งเห็นประจักษ์ตามความเป็นจริง

วิสุทธิ.มหาฎีกา ๒/๔๒๓/๘๔
อง.ทสก. ๒๔ ๒/๓


สภาวะเฉพาะตัว และสภาวะทั่วไปของธรรมทั้งหลาย ชื่อว่า ธัมมสภาวะ สภาวะ
ข้อแรกหมายถึงลักษณะของตนคือความแข็งและความกระทบเป็นต้น สภาวะข้อสอง
หมายถึงลักษณะทั่วไปคือความไม่เที่ยงเป็นต้นน และ ปัญญาก็มีลักษณะ แทงตลอดสภาวะ
ทั้งสองนั้นตามความเป็นจริง จึงกล่าวว่า ธมฺมสภาวปฏิเวธลกฺขณา ปญฺญา (ปัญญามี
ลักษณะแทงตลอดสภาวะเฉพาะตัวและสภาวะทั่วไปของของธรรม)

ในกลุ่มที่ ๑ ปัญญามี ๒ อย่าง จำแนกเป็น :-
๑. โลกิยปัญญา ปัญญาฝ่ายโลก คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยโลกิยมรรค (มรรคใน
กุศลจิตตุปบาทฝ่ายโลโกิยะ) [โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญญาที่ประกอบด้วยมรรคที่นับเข้าใน
วิสุทธิ ๔ มีทิฏฐิวิสุทธิ เป็นต้น"

๒. โลกุตรปัญญา ปัญญาฝ่ายโลกุตตร[เพื่อความหลุดพ้นจากวัฏฏะ) พ้นไปจาก
โลก คือ ปัญญาที่ประกอบด้วยโลกุตตรมรรค(มรรคในกุศลจิตตุปบาทฝ่ายโลกุตตระ)

ในกลุ่มที่ ๒ ปัญญามี ๓ อย่าง จำแนกเป็น :
๑. ปัญญามีอาสวะ คือ ปัญญาที่เป็นอารมณ์ของ อาสวะ องค์ธรรมคือโลกียปัญญา
๒. ปัญญาไม่มีอาสวะ คือ ปัญญาที่ไม่เป็น อารมณ์ของอาสวะ องค์ธรรมคือโลกุตตระปัญญา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2024, 08:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว


ทุกะอื่นคือ ปัญญาที่มีอาสวะประกอบกับอาสวะ (อาสวสมฺปยุตฺตา สาสวา) และปัญญา
ที่ไม่มีอาสวะไม่ประกอบกับอาสวะ (อาสววิปฺปยุตฺตา อนาสวา) เป็นต้น ก็เช่นเดียวกัน

กลุ่มที่ ๓ ปัญญามี ๒ อย่าง จำแนกเป็น -
๑. ปัญญากำหนดแยกนาม คือ ปัญญาในการกำหนดแยกนามขันธ์ ๔ ของภิกษุ
ผู้ประสงค์จะเจริญวิปัสสนา
๒. ปัญญากำหนดแยกรูป คือ ปัญญาในการกำหนดแยกรูปขันธ์
ในหมวดสอง กลุ่มที่ ๔ ปัญญามี ๒ อย่าง จำแนกเป็น -
ปัญญาที่เกิดร่วมกับโสมนัส คือ ปัญญาในกามาวจรกุศลจิต(ที่เกิดร่วมกับโสมนัส)
๒ ดวง และในมรรคจิต ๑๖ ดวงที่ประกอบกับฌาน ๔ ตามปัญจกนัย [คือ มรรคจิต ๔ ดวงใ
ประกอบกับปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน] [ปัญญาในมหัคคตจิตไม่ถูกรวม
เอาในที่นี้ เพราะประสงค์กล่าวเฉพาะวิปัสนาปัญญา
๓. ปัญญาที่เกิดร่วมกับอุเบกขา คือ ปัญญาในกามาวรกุศสจิต ๒ ดวงที่เกิดร่วม
กับอุเบกขา) และในมรรคจิต ๔ ดวงที่ประกอบกับปัญจมฌาน

ในหมวดสอง กลุ่มที่ ๕ ปัญญามี ๒ อย่าง จำแนกเป็น
๑. ปัญญาระดับเห็นพระนิพพาน (ทัสสนภูมิ) คือ ปัญญาในมรรคแรก
๒. ปัญญาระดับเจริญแล้ว (ภาวนาภูมิ) คือ ปัญญาในมรรค ๓ ที่เหลือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ก.ค. 2024, 12:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8258


 ข้อมูลส่วนตัว




istockphoto-498309616-612x612.jpg
istockphoto-498309616-612x612.jpg [ 94.89 KiB | เปิดดู 1299 ครั้ง ]
ปัญญา ๓ อย่าง
ในหมวดสาม กลุ่มที่ ๑ ปัญญามี ๓ อย่าง จำแนกเป็น.

๑. จินตามเปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยความคิด คือ ปัญญาที่ได้รับโดยมิได้ฟัง(คำชี้แนะ)จากผู้อื่นเพราะ สำเร็จด้วยความคิดของคน( ในการทำกิจที่ไม่มีโทษนั้นๆ ให้สำเร็จ

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยการฟัง คือ ปัญญาที่ได้รับด้วยการฟัง[คำ
ชี้แนะ]จากผู้อื่น เพราะสำเร็จด้วยการฟัง

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาสำเร็จด้วยการอบรมจิต คือ ปัญญาที่บรรลุอัปปนา เกิด
จากการอบรมจิตด้วยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง(คือด้วยลักษณะที่ได้ฟังหรือมิได้ฟังจากผู้อื่น)

ข้อความว่า บรรลุอัปปนา หมายถึง ปัญญาอย่างสูงสุดที่เกิดขณะบรรลุมรรค
แต่วิปัสสนาปัญญาที่ยังมิได้บรรลุ อัปปนาก็จัดเป็นภาวนามยปัญญาเช่นกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร