วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 06:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 05:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิจฉัตตะ ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิด มี ๑๐ อย่าง คือ


๑. มิจฉาทิฏฐิ

๒. มิจฉาสังกัปปะ

๓. มิจฉาวาจา

๔. มิจฉากัมมันตะ

๕. มิจฉาอาชีวะ

๗. มิจฉาสติ

๘. มิจฉาสมาธิ

๙. มิจฉาญาณ

๑๐. มิจฉาวิมุตติ

เทียบกับ สัมมัตตะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 ก.ค. 2016, 06:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สัมมัตตะ ความเป็นถูก, ภาวะที่ถูก มี ๑๐ อย่าง ๘ ข้อ ตรงกับองค์มรรค ทั้ง ๘ ข้อ เพิ่ม ๒ ข้อท้าย คือ ๙. สัมมาญาณ รู้ชอบ ได้แก่ ผลญาณและปัจจเวกขณญาณ ๑๐ สัมมาวิมุตติ หลุดพ้นชอบ ได้แก่ พระอรหัตผลวิมุตติ เรียกอีกอย่างว่า อเสขธรรม ๑๐
ตรงข้ามกับ มิจฉัตตะ ๑๐


มิทธะ ความท้อแท้, ความเซื่องซึม, มาคู่กับ ถีนะ ในวิวรณ์ ๕


เมถุน “การกระทำของคนที่เป็นคู่ๆ” การร่วมสังวาส, การร่วมประเวณี


เมถุนสังโยค อาการพัวพันเมถุน, ความประพฤติที่ยังเกี่ยวเนื่องกับเมถุน มี ๗ ข้อ โดยใจความ คือ สมณะบางเหล่าไม่เสพเมถุน แต่ยังยินดีในเมถุนสังโยค คือ ชอบการลูบไล้และการนวดของหญิง, ชอบซิกซี้ เล่นหัวสัพยอกกับหญิง, ชอบจ้องดูตากับหญิง, ชอบฟังเสียงหัวเราะขับร้องของหญิง, ชอบนึกถึงการเก่าที่เคยหัวเราะพูดเล่นกับหญิง, เห็นชาวบ้านเขาบำรุงบำเรอกันด้วยกามคุณแล้วปลื้มใจ, หรือแม้แต่ประพฤติพรหมจรรย์โดยตั้งความปรารถนาที่จะเป็นเทพเจ้า


มุทิตา ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี, เห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย เห็นเขาประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุน ไม่กีดกันริษยา, ธรรมตรงข้ามคือ อิสสา (ข้อ ๓ ในพรหมวิหาร ๔)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 20:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มหายาน “ยานใหญ่” นิกายพระพุทธศาสนาที่เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพานประมาณ ๕๐๐-๖๐๐ ปี โดยสืบสายจากนิกายที่แตกแยกออกไป เมือใกล้ พ.ศ.๑๐๐ (ถือกันว่าสืบต่อไปจากนิกายมหาสังฆิกะ ที่สูญไปแล้ว) เรียกชื่อตนว่ามหายาน และบางทีเรียกว่าโพธิสัตว์ยาน (ยานของพระโพธิสัตว์)

พร้อมทั้งเรียกพระพุทธศาสนาแบบเก่าๆ รวมทั้งเถรวาทที่มีอยู่ก่อนว่า หีนยาน (คำว่า หีนยาน จึงเป็นคำที่เกิดขึ้นภายหลัง แต่ใช้เรียกสิ่งที่เก่ากว่า) หรือเรียกว่า สาวกยาน (ยานของสาวก)

มหายานนั้น มีผู้นับถือมากในประเทศแถบเหนือของทวีปเอเชีย เช่น จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ทิเบต และมองโกเลีย บางทีเรียกว่า อุตรนิกาย (นิกายฝ่ายเหนือ) เป็นคู่กับ ทักษิณนิกาย (นิกายฝ่ายใต้) คือ เถรวาท ที่นับถืออยู่ในประเทศแถบใต้ เช่น ไทย และลังกา ซึ่งฝ่ายมหายานเรียกรวมไว้ในคำว่า หีนยาน,

เนื่องจากเถรวาท เป็นพระพุทธศาสนาแบบดังเดิม จึงมีคำเก่าเข้าคู่กัน อันใช้เรียกนิกายทั้งหลายที่แยกออกไป รวมทั้งนิกายย่อยมากมายของมหายาน หรือเรียกมหายานรวมๆกันว่า อาจริยวาท หรือ อาจารยวาท (ลัทธิของอาจารย์ ที่เป็นเจ้านิกายนั้นๆ)

ลักษณะสำคัญอย่างที่น่าสังเกตคือ เถรวาท ไม่ว่าที่ไหน ในประเทศใด ก็ถือตามหลักการเดิมเหมือนกันหมด

ส่วนมหายาน แยกเป็นนิกายย่อยมากมาย มีคำสอนและข้อปฏิบัติแตกต่างกันเองไกลกันมาก แม้แต่ในประเทศเดียวกัน เช่น ในญี่ปุ่นปัจจุบัน มีนิกายใหญ่ ๕ แยกย่อยออกไปอีกราว ๒๐๐ สาขานิกาย และในญี่ปุ่นพระมีครอบครัวได้แล้วทุกนิกาย แต่ในไต้หวัน เป็นต้น พระมหายานไม่มีครอบครัว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มโนภาวินีย์ ผู้เป็นที่เจริญใจ, ผู้ทำให้จิตใจของผู้นึกถึงเจริญงอกงาม, หมายถึงบุคคลที่เมื่อเราระลึก คะนึง ใส่ใจถึง ก็ทำให้สบายใจ จิตใจสดชื่น ผ่องใส (ตามปกติเป็นคุณสมบัติของพระภิกษุ)


มรรคจิต จิตที่สัมปยุตด้วยมรรค, พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในมรรค มีโสดาปัตติมรรค เป็นต้น ตั้งอยู่ชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจากนั้นก็จะเกิดผลจิต กลายเป็นผู้ตั้งอยู่ในผล มีโสดาปัตติผล เป็นต้น


โมกข์ 1. ความหลุดจากกิเลส คือ นิพพาน 2. ประธาน,หัวหน้า, ประมุข


โมกข์ธรรม ธรรมนำสัตว์ให้หลุดพ้นจากกิเลส, ความหลุดพ้น, นิพพาน


มรรคนายก “ผู้นำทาง” ผู้แนะนำจัดแจงในเรื่องทางบุญทางกุศล และเป็นหัวหน้านำชุมชนฝ่ายคฤหัสถ์ในศาสนาพิธี ตามปกติทำหน้าที่ประจำอยู่กับวัดใดวัดหนึ่ง เรียกว่าเป็นมรรคนายกของวัดนั้นๆ ผู้นำทางบุญของเหล่าสัปบุรุษ


มเหสี 1. ผู้แสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่, ฤษีใหญ่, พระพุทธเจ้า 2. ชายาของพระเจ้าแผ่นดิน

มหาสีมา สีมาใหญ่ผูกทั่ววัด มีขัณฑสีมาซ้อนภายในอีกชั้นหนึ่งโดยมีสีมันตริกคั่น


มูควัตร ข้อปฏิบัติของผู้ใบ้, ข้อปฏิบัติของผู้เป็นดังคนใบ้, การถือไม่พูดจากันเป็นวัตรของเดียรถีย์อย่างหนึ่ง มีพุทธบัญญัติห้ามไว้มิให้ภิกษุถือ เพราะเป็นการเป็นอยู่อย่างปศุสัตว์


มูตร ปัสสาวะ, น้ำเบา, เยี่ยว


มูลบัญญัติ ข้อบัญญัติที่พระพุทธเจ้าทรงตั้งไว้เดิม, บัญญัติเดิม คู่กับ อนุบัญญัติ (ตามปกติใช้เพียงว่า บัญญัติกับอนุบัญญัติ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 20:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิตร เพื่อน, ผู้มีความเยื่อใยดี, ผู้มีน้ำใจเอื้อเฟื้อ แยกเป็นมิตรแท้ ๔ พวก มิตรเทียม ๔ พวก


มิตตปฏิรูป, มิตตปฏิรูปก์ คนเทียมมิตร, มิตรเทียมไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่

๑. คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ

๑) คนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว

๒) ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก

๓) ตัวมีภัยจึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน

๔) คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว


๒. คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ

๑) ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย

๒) ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย

๓) สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้

๔) เมื่อเพื่อนมีกิจอ้างแต่เหตุขัดข้อง


๓. คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ

๑) จะทำชั่วก็เออออ

๒) จะทำดีก็เออออ

๓) ต่อหน้าสรรเสริญ

๔) ลับหลังนินทา


๔. คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ

๑) คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา

๒) คอยเป็นเพื่อนเที่ยงกลางคืน

๓) คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น

๔) คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน


(เขียนว่า มิตรปฏิรูป, มิตรปฏิรูปก์ ก็มี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิตรแท้ มิตรด้วยใจจริง มี ๔ พวก ได้แก่


๑. มิตรมีอุปการะ มีลักษณะ ๔ คือ

๑) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาเพื่อน

๒) เพื่อนประมาท ช่วยรักษาทรัพย์ของเพื่อน

๓) เมื่อมีภัย เป็นที่พึ่งพำนักได้

๔) มีกิจจำเป็น ช่วยออกทรัพย์ให้เกินกว่าที่ออกปาก


๒. มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์ มีลักษณะ ๔ คือ

๑) บอกความลับแก่เพื่อน

๒) ปิดความลับของเพื่อน

๓) มีภัยอันตรายไม่ละทิ้ง

๔) แม้ชีวิตก็สละให้ได้


๓. มิตรแนะประโยชน์ มีลักษณะ ๔ คือ

๑) จะทำความชั่วเสียหายคอยห้ามปรามไว้

๒) คอยแนะนำให้ตั้งอยู่ในความดี

๓) ให้ได้ฟังได้รู้สิ่งที่ไม่เคยได้รู้ได้ฟัง

๔) บอกทางสุขทางสวรรค์ให้


๔. มิตรมีน้ำใจ มีลักษณะ ๔ คือ

๑) เพื่อนมีทุกข์พลอยทุกข์ด้วย

๒) เพื่อนมีสุขพลอยดีใจ

๓) เขาติเตียนเพื่อน ช่วยยับยั้งแก้ให้

๔) เขาสรรเสริญเพื่อน ช่วยพูดเสริมสนับสนุน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ม.ค. 2017, 20:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมรุ 1. ชื่อภูเขาที่เป็นศูนย์กลางของจักรวาล บางทีเรียกพระสุเมรุ ตามคติของศาสนาฮินดู ถือว่าเป็นบริเวณที่มีสวรรค์อยู่โดยรอบ เช่น สวรรค์ของพระอินทร์อยู่ทางทิศเหนือ ไวกูณฐ์แดนสถิตของพระวิษณุหรือพระนารายณ์อยู่ทางทิศใต้ ไกลาสที่สถิตของพระศิวะ หรืออิศวรก็อยู่ทางทิศใต้ เหนือยอดเขาพระสุเมรุนั้น คือ พรหมโลก เป็นที่สถิตของพระพรหม,


ภูเขานี้ เรียกชื่อเป็นภาษาบาลีว่า สิเนรุ และตามคติฝ่ายพระพุทธศาสนา ในชั้นอรรถกถา ยอดเขาสิเนรุเป็นที่ตั้งของสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่สถิตของพระอินทร์ เชิงเขาสิเนรุ ซึ่งหยั่งลึกลงไปในมหาสมุทรเป็นอสูรพิภพ สูงขึ้นไปกึ่งทางระหว่างแดนทั้งสองนั้น เป็นสวรรค์ของท้าวจาตุมหาราช สวรรค์ชั้นอื่นๆ และโลกมนุษย์ เป็นต้น ก็เรียงรายกันอยู่สูงบ้าง ต่ำบ้าง รอบเขาสิเนรุนี้

(ในวรรณคดีบาลียุคหลัง เช่น จูฬวงส์ พงศาวดารลังกา เรียก เมรุ และสุเมรุ อย่างสันสกฤตก็มี) 2. ที่เผาศพ หลังคาเป็นยอด มีรั้วล้อมรอบ ซึ่งคงได้คติจากภูเขาเมรุนั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ม.ค. 2017, 16:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตันติ ๑. แบบแผน เช่น ตันติธรรม (ธรรมที่เป็นแบบแผน) ตันติประเพณี (แนวทางที่ยึดถือปฏิบัติสืบกันมาเป็นแบบแผน) เช่น ภิกษุทั้งหลายควรสืบต่อตันติประเพณีแห่งการเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเที่ยวจาริกไปแสดงธรรม โดยดำรงอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส ๒. เส้น, สาย เช่น สายพิณ

ตันติภาษา ภาษาที่มีแบบแผน คือมีหลักภาษา มีไวยากรณ์ เป็นระเบียบ เป็นมาตรฐาน, เมื่อพระพุทธโฆษาจารย์แปลอรรถกถาจากภาษาสิงหล ท่านกล่าวว่า ยกขึ้นสู่ตันติภาษา คำว่า “ตันติภาษา” ในที่นี้หมายถึง ภาษาบาลี (บาลี ตนฺติภาสา)

บาลี ๑. “ภาษาอันรักษาไว้ซึ่งพุทธพจน์” ภาษาที่ใช้ทรงจำและจารึกรักษาพุทธพจน์แต่เดิมมา อันเป็นหลักในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ถือกันว่าได้แก่ ภาษามคธ ๒. พระพุทธวจนะ ซึ่งพระสังคีติกาจารย์รวบรวมไว้ คือ พระธรรมวินัยที่พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ประชุมกันรวบรวมจัดสรรให้เป็นหมวดหมู่ในคราวปฐมสังคายนา และรักษาไว้ด้วยภาษาบาลี สืบต่อกันมาในรูปที่เรียกว่า พระไตรปิฎก อันเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาต้นเดิม ที่เป็นหลักของพระพุทธศาสนาเถรวาท, พุทธพจน์, ข้อความที่มาในพระไตรปิฎก,

ในการศึกษาพระพุทธศาสนา มีประเพณีที่ปฏิบัติกันมาในเมืองไทย ให้แยกคำว่า “บาลี”


ในความหมาย ๒ อย่างนี้ ด้วยการเรียกให้ต่างกัน คือ ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๑. ให้ใช้คำว่า ภาษาบาลี (หรือ ศัพท์บาลี คำบาลีหรือบาลี) แต่ถ้าหมายถึงบาลีในความหมายที่ ๒. ให้ใช้คำว่า พระบาลี

มคธภาษา ภาษาของชนชาวมคธ, ภาษาของชนผู้อยู่ในแคว้นมคธ

มคธ ๑. ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้นใหญ่แห่งชมพูทวีปครั้งพุทธกาล ตั้งอยู่ฝั่งใต้ของแม่น้ำคงคาตอนกลาง เป็นแคว้นที่มีอำนาจมากแข่งกันกับแคว้นโกศล และเป็นที่พระพุทธเจ้าทรงประดิษฐานพระพุทธศาสนาในสมัยพุทธกาล มคธมีนครหลวงชื่อ ราชคฤห์ ราชาผู้ปกครองพระนามว่า พิมพิสาร


ตอนปลายพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารถูกพระโอรสชื่อ อชาตศัตรู ปลงพระชนม์ และขึ้นครองราชย์สืบแทน

ต่อมาในสมัยพระเจ้ากาลาโศก หรือก่อนนั้น เมืองหลวงของมคธ ย้ายไปตั้งที่เมืองปาฏลีบุตร บนฝั่งแม่น้ำคงคา เหนือเมืองราชคฤห์ขึ้นไป มคธรุ่งเรืองถึงที่สุดในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ซึ่งแคว้นใหญ่อื่นทั้งหมดได้รวมเข้าอยู่ภายในมหาอาณาจักรของพระองค์ทั้งหมดแล้ว

บัดนี้ บริเวณที่เคยเป็นแคว้นมคธในสมัยพุทธกาล เรียกว่า แคว้นพิหาร ๒. เรียกภาษาที่ใช้พูดในแคว้นมคธ หรือภาษาของชาวแคว้นมคธว่า ภาษามคธ และถือกันว่าภาษาบาลีที่ใช้รักษาพระพุทธพจน์สืบมาจนบัดนี้ คือ ภาษามคธ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 ก.ย. 2022, 03:56 
 
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 30 ก.ย. 2013, 07:16
โพสต์: 2374

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b39: :b44: ขออนุโมทนา สาธุๆๆ ค่ะ
:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 เม.ย. 2023, 16:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 02 มิ.ย. 2007, 13:49
โพสต์: 1013


 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss :b8: :b8: :b8:

.....................................................
ทำความดีทุกๆ วัน


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ก.ค. 2024, 19:33 
 
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 17 ก.ย. 2012, 15:32
โพสต์: 2885


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 18 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร