วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 21:01  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 ก.ค. 2022, 13:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




7b63ccd01f388f12471c6581afee6ae5.jpg
7b63ccd01f388f12471c6581afee6ae5.jpg [ 83.65 KiB | เปิดดู 828 ครั้ง ]
ภิกษุทั้งหลาย อายตนะ(อารมณ์)คือนิพพานนั้น ย่อมมีปรากฎอยู่โดยสภาว
ปรมัตถ์ ก็ที่ใดไม่มีปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ ไม่มีอากาสานัญจายตนะ
วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ และเนวสัญญ านาสัญญายตนะ" ไม่โลก
ปัจจุบัน ไม่มีโลกหน้า" ไม่มีพระจันทร์ ไม่มีพระอาทิตย์

ภิกษุทั้งหลาย ที่นั้นเป็นนิพพาน เราไม่ได้กล่าวว่า การมา การไป การตั้งอยู่
การจุติ การอุบัติ(มีอยู่)ในนิพพานนั้นเลย์# นิพพานนี้เป็นสภาวะที่ไม่มีที่ตั้ง
เป็นสภาวะที่ไม่มีความเกิด-ดับ เป็นสภาวะที่ไม่รับรู้อารมณ์ใดๆทั้งสิ้น นิพพาน
ที่ว่านี้เองเป็นความสิ้นสุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวล

สังขารกับนิพพาน

ยสุมา นิพุพานำ สพุพสงขารวิธุรสภาวํ, ตสุมา ยถา สงุขตธมฺเมสุ กตุถจิ
นตุถิ, ตถา ตตุถปิ สพุเพ สงุขตธมฺมา, น ทิ สงขตาสงขตธมมานำ ส'โมธานํ
(อุทาน. อฎ.๔๐๔)

เพราะเหตุที่นิพพานเป็นสภาวธรรมที่ตรงกันข้ามกับสังขารทั้งปวง (ประดุจ
ไฟกับน้ำ ความร้อนกับความเย็น ความมืดกับความสว่าง ฉะนั้น) ดังนั้น นิพพาน
จึงเป็นธรรมที่ไม่มีอยู่ในสังขตธรรม(สังขาร)ใดๆ และโดยทำนองเดียวกัน สังขตธรรม
ก็ไม่มีอยู่ในนิพพนนั้นเหมือนกันด้วยว่าธรรมชาติแห่งสังขตธรรมและอสังขตธรรมฟ
เป็นสิ่งที่เดินสวนทางกัน ไม่มีวันที่จะบรรจบกันได้

ตราบใดที่ยังมีสังขารเกิด-ตับอยู่ก็ถือว่ายังไม่พบนิพพานและทันทีที่ถึงนิพพาน
สังขารทั้งปวงก็ถึงแก่ความดับ ไม่ปรากฎให้เห็นเลย ดังนั้น นิพพานจึงได้ชื่อว่า
เป็นที่สงัดจากสังขาร บุคคลสามารถรู้นิพพานได้ด้วยมรรคญาณ และในขณะที่รู้
นิพพานนั้น ตัณหาต่างๆ เช่น อปายคมนียตัณหา โอฬาริกกามตัณหา สุขุม-
กามตัณหา และ รูปตัณหา อรูปตัณหา ก็ถึงแก่ความดับโดยสิ้นเชิง ไม่มีทางที่
จะเกิดขึ้นได้อีกต่อไป เป็นอันว่า นิพพานได้ทำการสะสางแก้เครื่องจองจำออกแล้ว
ดังนั้น นิพพานซึ่งเป็นอารมณ์ของอริยมรรค ๔ จึงเป็นที่สำหรับคลายตัณหาหรือ
ดับตัณหา ดังที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ว่า

กตมญฺจ ภิกุขเว ทุกุชนิโรโธ อริยสจุจํ, โย ตสุสาเยว ตณุหาย อเสส-
วิราคนิโรโธ จาโค ปฏินิสุสคุโค มุตติ อนาลโย... อิทํ วุจุจติ ภิกฺขเว ทุกขนิโรโธ
(ม. มู. ๑๒/๑๓๔/๙๒-๔)

ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์ คืออะไร ภิกษุทั้งหลาย
สภาวธรรมอันเป็นที่คลายตัณหาและดับตัณหา สลัดตัณหา ทอดทิ้งตัณหา พ้นจาก
ตัณหา และเป็นที่หมดอาลัยจากตัณหานั้นโดยสิ้นเชิง นี้แหละเราเรียกว่า ทุกขนิโรธ-
อริยสัจ (อริยสัจธรรมอันเป็นที่ดับทุกข์)

และเมื่อใดที่ได้รับรู้นิพพานด้วยมรรคญาณ ๔ เมื่อนั้น สังขารทั้งปวงย่อมถึง
แก่ความดับ ตลอดถึงกิเลสและขันธ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องก็เป็นอันดับลงอย่างสิ้นเชิง
ด้วยเหตุนี้ นิพพานจึงเรียกได้ว่า เป็นที่ดับสังขารทั้งมวล เป็นที่ดับแห่งอุปธิ ๔ คือ
ขันธ์ กิเลส อภิสังขาร และกามคุณ

สรุปแล้ว นิพพาน ได้แก่สภาวธรรมเป็นที่ดับสิ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวล สมดัง
กับที่พระบรมศาสดาได้ตรัสไว้ว่า

อิทมฺปิ โข ซานํ ทุทฺทสํ, ยทิท สพุพสงฺขารสมโถ สพฺพูปธิปฏินิสุสคุโค
ตณุหากฺขโย วิราโค นิโรโธ นิพฺพานํ.
(ที. มหา. ๑๐/๖๔/๓๐)
แม้ฐานะนี้ ก็ป็นสิ่งที่เห็นได้ยาก ฐานะดังกล่าว ได้แก่พระนิพพานอันเป็นที่
สงบแห่งสังข้ารทั้งมาล เป็นที่สลัดจากอุปธิทั้มวล เป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา เป็นที่
สำรอกต้ณทา เป็นที่ดับแห่งต้นหาแล

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 1 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร