วันเวลาปัจจุบัน 17 ก.ค. 2025, 01:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 12:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




lovepik-blue-sky-white-white-white-and-sea-picture_500077150 (1).jpg
lovepik-blue-sky-white-white-white-and-sea-picture_500077150 (1).jpg [ 90.82 KiB | เปิดดู 751 ครั้ง ]
อาสีวิโสปมสูตร
ผู้ที่เจริญวิปีสสนากรรมฐานจัดว่าได้เห็นโทษของร่างกายและ
การเวียนว่ายตายเกิดในภพชาติต่างๆ ว่าภพนี้มีภัยน่าหวาดกลัว จึง
ต้องงการหลุดพ้นจากฝั่งนี้ที่เปรียบได้กับภพที่มีอันตรายมากมาย แล้ว
ข้ามไปสู่ฝั่งโน้นอันเป็นแดนเกษมปราศจากภยันตรายทั้งปวง

มีพระสูตรสูตรหนึ่งที่สำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติธรรมชื่อว่าอาสีวิโส-
ปมสูตร* พบในสังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค แปลว่า "พระสูตรเปรียบ
ธาตุ ๔ เหมือนงูพิษ" ในพระสูตรนี้พระพุทธเจ้าทรงเปรียบราตุ ๔ คือ
ดิน น้ำ ไฟ และลมว่าเหมือนงูพิษ ๔ ตัว และภพในปัจจุบันเหมือนฝั่งนี้
คนที่มิได้ปฏิบัติธรรมอาจคิดว่า ชีวิตในภพนี้เป็นสิ่งที่มีความสุข แต่หาก
ได้ศึกษาปฏิบัติธรรมจนเข้าใจธรรมะแล้ว โดยเฉพาะข้อความที่ได้ตรัสไว้
ในพระสูตรนี้ ก็จะเข้าใจได้ว่า ภพที่เรามีชีวิตอยู่นี้มิได้เป็นภพที่มีความสุข
เลย แต่ฝั่งโน้นคือพระนิพพานหรือความดับทุกข์จึงนับว่าเป็นความสุข
ที่แท้จริงอย่างยิ่ง (บรมสุข)

ในพระสูตรนี้กล่าวถึงบุรุษคนหนึ่งพบกับงูพิษ ๔ ตัว เขาเกิดความ
กลัวจึงได้หนีออกจากหมู่บ้านไปสู่สถานที่อื่นเพื่อต้องการพันจากงูพิษอา

หล่านั้น แต่เมื่อไปถึงสถานที่อื่นแล้วก็ยังพบกับนักฆ่า ๕ คนคอยติดตามมา
เขาจึงต้องหนีต่อไป และมีคนกล่าวว่า ยังมีสายลับอีกคนกนึ่งคอย
ลอบทำร้ายเขาอยู่ เขาจึงต้องหนีต่อไปจนมาพบหมู่บ้านร้างที่ไม่มีสิ่งของ
ไม่มีเครื่องอุปโภคบริโภค ซึ่งมีโจรอยู่ ๖ คนที่มาปล้นหมู่บ้านร้างแห่งนั้น

เมื่อเขาได้ประสบกับเหตุการณ์เช่นนี้ เขาจึงต้องหนีต่อไปจนพบ
ห้วงน้ำใหญ่ ได้ดำริว่าฝั่งนี้ไม่ปลอดภัย ถ้ากระไรหนอเราควรจะข้ามไปสู่
ฝั่งโน้น แต่บังเอิญไม่มีสะพานหรือเรือข้ามฟาก เขาจึงต้องโค่นไม้ผูกแพ
แล้วล่องแพไปถึงฝั่งโน้น โดยใช้มือและเท้าต่างพายเพื่อถ่อน้ำข้ามไปจนถึง
ฝั่งอีกด้านหนึ่งได้ ข้อนี้ฉันใด ผู้ที่ดำรงชีวิตอยู่ในปัจจุบันยังต้องเวียนว่าย
ตายเกิด ยังมีรูปนามขันธ์ ๕ อยู่ ก็นับว่าเป็นเช่นเดียวกัน นั่นคือเราจะ
ต้องได้พบกับงูพิษ ๔ ตัวเหล่านี้อยู่ตลอดเวลา ฉันนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 13:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




6762458_preview.png
6762458_preview.png [ 454.81 KiB | เปิดดู 745 ครั้ง ]
งูพิษ ๔ ตัว = ธาตุ ๔"
ในบรรดางูพิษ ๔ ตัวนี้ งูตัวแรกคือ งูปากไม้ (กัฏฐมชะ) ได้แก่
งูพิษที่กัดแล้วทำให้คนถูกกัดตัวแข็งตาย, งูตัวที่สองคือ งูปากเน่า (ปูติ
มุขะ) ได้แก่ งูพิษที่กัดแล้วทำให้ร่างกายเน่าเปื่อย มีน้ำหนองไหลแล้ว
ตาย, งูตัวที่สามคือ งูปากไฟ (อัคคิมุขะ) ได้แก่ งูพิษที่กัดแล้วทำให้ตัว
ร้อนตาย ส่วนงูตัวสุดท้ายคือ งูปากมีด (สัตถมุขะ) ได้แก่ งูพิษที่กัดแล้ว
ทำให้เกิดบาดแผลตามร่างกายเหมือนถูกมีดกรีดเฉือนแล้วตาย"

ร่างกายของมนุษย์เราก็เช่นเดียวกัน ประกอบร่วมกันด้วยธาตุ
ทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม (ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโซราตุ และวาโยธาตุ)
ซึ่งธาตุทั้ง ๔ เหล่านี้เปรียบได้กับงูพิษ ๔ ตัว

ธาตุดินมีลักษณะแข็งหรืออ่อน เช่น ในเนื้อ หนัง เอ็น กระดูก
เหล่านี้เป็นธาตุดินที่แข็ง หรือในน้ำดี น้ำลาย น้ำมูก น้ำหนอง เลือดเป็น
ธาตุดินที่อ่อน สภาวะแข็งหรืออ่อนของธาตุดินนี้ถือว่าเป็นสภาวะเดียวกัน
ถ้ามีธาตุดินหนาแน่นก็เป็นสภาวะแข็ง แต่ถ้ามีสภาวะของธาตุดินน้อย
ไม่หนาแน่นก็เป็นสภาวะอ่อนนั่นเอง โดยที่เราไปสำคัญว่าเป็นรูปร่าง
สัณฐานของร่างกาย แท้ที่จริงแล้ว มิได้เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงโดยสภาวะเลย
แต่เป็นเพียงโดยสมมุติบัญญัติเท่านั้นเอง หากเราเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้มีจริง
ก็เหมือนกับว่าเรามองเห็นเงานกในน้ำที่มีเพียงรูปนกที่สะท้อนอยู่ในน้ำ
เท่านั้น แต่ไม่ได้มีตัวนกอยู่จริงๆ

ธาตุน้ำที่มีลักษณะไหลหรือเกาะกุมก็เช่นเดียวกัน สภาวะที่ไหล
ไปหรือสภาวะเกาะกุมเป็นรูปร่างต่างๆ เป็นธาตุน้ำ จะเห็นได้ว่าน้ำกับ
น้ำแข็งเป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันที่ความเกาะกุมหรือความละลายเท่านั้น
หากว่ามีธาตุน้ำที่หนาแน่นก็เป็นสภาวะเกาะกุม หากว่ามีธาตุน้ำที่ไม่
หนาแน่นก็เป็นสภาวะที่ไหล

ธาตุไฟมีลักษณะเย็นหรือร้อน ก็คือความเย็นหรือร้อนนี้เป็นสิ่ง
เดียวกันคืออุณหภูมินั่นเอง ต่างกันที่เราเข้าใจกันว่าเป็นความเย็นหรือ
ความร้อนขึ้นอยู่กับความรู้สึกของตัวเราเอง

ธาตุลมมีลักษณะหย่อนหรือตึง สภาวะตึงเป็นรูปร่างต่างๆ นี้นับ
ว่าเป็นธาตุลม ส่วนสภาวะหย่อนก็เป็นธาตุลมเหมือนกัน แต่เป็นธาตุลม
ที่มีกำลังน้อยไม่หนาแน่น ถ้าเป็นธาตุลมที่มีกำลังมากหนาแน่น ก็เป็น
ธาตุลมที่ตึง ถ้าเป็นธาตุลมที่ไม่หนาแน่นก็เป็นธาตุลมที่หย่อน

ทุกคนต่างมีร่างกาย เราอยากให้ร่างกายของตนนี้เป็นไปตามที่
เราต้องการ อยากให้มีรูปร่างสวยงาม มีสุขภาพแข็งแรง อยู่ในวัยหนุ่ม
สาวตลอดเวลา แต่ธาตุทั้ง ๔ มิได้เป็นเช่นนั้น เพราะมันจะดำรงอยู่ได้ดีก็
ต่อเมื่อมีความสมดุลกันเท่านั้น หากมันไม่สมดุลกัน เกิดความย่อหย่อน
ของธาตุอย่างใดอย่างหนึ่งไซร้ จะเกิดสภาวะแปรปรวนทันที

นั่นก็คือ หากธาตุดินแปรปรวนเราก็เหมือนถูกงูปากไม้กัด เรา
มักรู้สึกแข็งตามร่างกาย เช่น ปวดคอ ปวดหลัง ปวดไหล่ หรือปวดเอว

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ก.ค. 2022, 14:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8576


 ข้อมูลส่วนตัว




buddha-png-wallpaper-hd.png
buddha-png-wallpaper-hd.png [ 371.6 KiB | เปิดดู 711 ครั้ง ]
เหล่านี้เกิดจากธาตุดินแปรปรวน หรือโรคที่มีผื่นคัน เหล่านี้ก็เป็นธาตุดิน
ที่แปรปรวน หรือมะเร็งคือเนื้อร้าย ก็นับว่าเป็นธาตุดินที่แปรปรวน
เช่นเดียวกัน

หากธาตุน้ำแปรปรวนเราก็เหมือนถูกงูปากเน่ากัด เช่น ขณะ
ถ่ายท้องด้วยอำนาจของธาตุน้ำที่แปรปรวน

หากธาตุไฟแปรปรวนเราก็เหมือนถูกงูปากไฟกัด เช่น เวลาที่
ไม่สบาย เราจะรู้สึกเป็นไข้ตัวร้อน แต่ก่อนเป็นไข้มักจะรู้สึกว่าเย็นก่อน
มีตัวเย็น หัวเย็น ขาเย็น แล้วจึงตัวร้อนขึ้นมา สิ่งนี้คือความแปรปรวน
ของธาตุไฟซึ่งปรากฎในร่างกายในขณะที่ไม่สบาย นี้คือธาตุไฟประเภท
หนึ่งที่เรียกว่า สันตาปนเตโช แปลว่า "ธาตุไฟที่ทำให้ร่างกายอบอุ่น"
ถ้ามันกำเริบขึ้นก็ทำให้เราไม่สบายมีอุณหภูมิสูงขึ้น

อีกทั้งมีธาตุไฟอีกอย่างหนึ่งซึ่งทำให้เราเกิดการเปลี่ยนแปลงทาง
ร่างกายก็คือแก่ลงไปเรื่อย ๆ เรียกว่า ชีรณเตโช แปลว่า "ธาตุไฟที่ทำให้
ร่างกายทรุดโทรม" จะเห็นได้ว่า ทุกคนมีพละกำลังลดน้อยลง หนัง
เหี่ยว ดวงตาฝ้าฟาง หูตึง ผมหงอก ฟันหัก หลังค่อม เป็นตัน เหล่านี้เกิด
จากชีรณเตโช

หากธาตุลมแปรปรวนเราก็เหมือนถูกงูปากมีดกัด เช่น บางครั้ง
เราเรอบ้าง สะอีกบ้าง อาเจียนบ้าง หรือ คนที่เป็นอัมพฤกษ์อัมพาตทำให้
ร่างกายเคลื่อนไหวไม่ได้
ธาตุทั้ง ๔ นี้จึงเหมือนกับงูพิษ ๔ ตัว ถ้ามันกัดเข้าก็จะทำให้เรา
ต้องได้รับทุกข์ต่อไป

ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ได้ตรัสถึงงูพิษเหล่านี้ว่า โฆรวิสา
(มีพิษกล้า) อาสึวิสา(มีพิษแล่นเร็ว) มันทำให้เราประสบความทุกข์
ตั้งนั้น ร่างกายของเราที่ประกอบด้วยธาตุทั้ง ๔ นี้จึงไม่ได้มีแก่นสารเลย
ถ้ามันยังสมดุลกัน เราก็อยู่ดีมีสุข แต่ในขณะใดก็ตามที่มันแปรปรวน เรา
ก็จะได้รับความทุกข์จากการแปรปรวนของธาตุเหล่านั้นเหมือนถูกงูพิษ
๔ ตัวรุมฉกกัด

ในมหาสติปัฏฐานสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า ร่างกายนี้เป็นสิ่ง
ที่เราเข้าใจผิดว่าเป็นตัวเรา ของเรา บุรุษ สตรี แต่ถ้าแยกร่างกายนี้ออก
ก็จะพบเพียงธาตุทั้ง ๔ เท่านั้น ไม่มีภาวะที่เรียกว่าตัวเรา ของเรา บุรุษ
หรือสตรีแต่อย่างใด

พระพุทธองค์ตรัสเปรียบว่า บุรุษผู้ฆ่าโคหรือลูกมือของบุรุษนั้น
ผู้ชำนาญ ได้ฆ่าโคแล้วซำแหละเนื้อโคออกเป็นส่วนๆ เป็นกองๆ วางไน
ทางสามแพร่งบ้าง สีแพร่งบ้าง แล้วนั่งขายเนื้อวัว

ในตอนที่คนฆ่าโคหรือลูกมือของเขากำลังฆ่าโคอยู่ เขารู้สึกว่า
เรากำลังฆ่าโคอยู่ แต่หลังจากชำแหละเนื้อโคเป็นกองๆ วางไว้ แล้วนั่ง
ขายอยู่ เขาไม่มีความรู้สึกว่าเรากำลังขายโคอยู่ หรือคนซื้อกำลังซื้อโคอยู่
แต่เขารู้สึกว่าเรากำลังขายเนื้ออยู่ และคนซื้อก็ซื้อเนื้อไป มิได้ซื้อโคไป
แต่อย่างใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร