วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 12:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2022, 05:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง2.jpg
ท่าอุ้มทารกที่ถูกต้อง2.jpg [ 100.24 KiB | เปิดดู 629 ครั้ง ]
ปุเรชาตปัจจัย
ธรรมเป็นอุปการะในฐานะผู้เกิดมาก่อน
ปัจจัยธรรม ได้แก่ วัตถุรูป ๖ ประกอบด้วย ตา, หู, จมูก, ลิ้น, กาย, และหทัยวัตถุ(หัวใจ)และอารมณ์ ๖ ประการ ประกอบด้วย รูป, เสียง, กลิ่น, รส, โผฏฐัพพะ และธัมมารมณ์(ความคิด)
ปัจจยุบันนธรรมได้แก่ วิญญาณ ๖ ประกอบด้วย จักขุวิญญาณ(ผู้เห็น) โสตวิญญาณ(ผู้ได้ยิน) ฆานวิญญาณ(ผู้ได้กลิ่น)ชิวหาวิญญาณ(ผู้รู้รส)กายวิญญาณ(ผู้รู้สัมผัส)มโนวิญญาณ(ผู้รู้สึกนึกคิด)

ธรรมดาว่า มนุษย์นั้น เห็นสิ่งต่างๆ(รูปารมณ์)ด้วยตา(จักขุวิญญาณจิต)ได้ยินเสียง(สัททารมณ์)ด้วยหู(โสตวิญญาณ)รู้กลิ่น(คันธารมณ์)ด้วยจมูก(ฆานวิญญาณ)รู้รส(รสารมณ์)ด้วยลิ้น(ชิวหาวิญญาณ)รู้สัมผัส(โผฏฐัพพารมณ์)ด้วยกาย(กายวิญญาณ)รู้ความนึกคิด(ธัมมารมณ์)ด้วยใจ(มโนวิญญาณ)

คำว่า"ตา" หมายถึง จิตเกิดขึ้น โดยอาศัยวัตถุรูป กล่าวคือ จักขุ แม้ในกรณีของ หู จมูก เป็นต้น ก็ควรทราบโดยอาศัยแนวเดียวกันนี้
ก็ ตาเป็นต้นเหล่านั้นบางครั้งเรียก จิตเห็น จิตได้ยิน จิตดม จืตกิน จืตกระทบ จิตคิด
จิต เหล่านี้ย่อมเกิดขึ้นโดยอาศัยวัตถุปที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์ ที่มาปรากฏก็วัตถุรูป และอารมณ์เหล่านั้น จะต้องเป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นก่อนจิตเท่านั้น จึงจะมีศักยภาพในการทำอุปการะโดยการเป็นที่ตั้งและที่ยึดเหนี่ยวของจิตวิญญาณได้ กรณีการเกิดก่อนแล้วบำเพ็ญตนเป็นประโยชน์ต่อจิตวิญญาณผู้เกิดภายหลังนี้แหละพระพุทธองค์ทรงเรียกการบำเพ็ญประโยชน์ ในฐานะผู้เกิดก่อน(ปุเรชาตปัจจัย)

คนทั้งหลายไม่เข้าใจถึงกระบวนการทำงานระหว่างอารมณ์ที่เป็นฝ่ายปัจจัย(เหตุ) คือวัตถุรูปกับอารมณ์ที่เป็นฝ่ายปัจจยุบันนอยู่(ผล) กล่าวคือ จิตใจ คือไม่เข้าใจถึงความจริงว่าเมื่อเสร็จธุระแล้วคำเหล่านั้นก็จะดับไปโดยธรรมชาติจึง ได้พากันหลงผิด ยึดมั่นหรือมั่นว่านั่นเป็นเราเป็นเขา นั่นเป็นของเรา เป็นของเขาแต่หารู้ไม่ว่า "นั่นเป็นเพียงปรากฏการณ์แห่งสภาวะธรรม"

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ก.ค. 2022, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




phan-wai-kru-2693032_1280.png
phan-wai-kru-2693032_1280.png [ 887.32 KiB | เปิดดู 592 ครั้ง ]
ในยุคโลกาภิวัตน์เฉกเช่นปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์เจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก ยากที่มนุษย์ธรรมดาจะไล่ตามทันวิทยาศาสตร์นำสิ่งแปลกใหม่มาให้โลกมากมายนับไม่ถ้วนจึงทำให้โลกนี้คลาคล่ำไปด้วยขยะอารมณ์คนที่วิ่งไล่ไปตามอารมณ์เหล่านี้มีเกือบทั้งโลกพวกเขาย่อมได้ยินย่อง อยากลองของใหม่ไปเรื่อยๆ (ปตฺถยนฺติ นวํ นวํ นิสัยมนุษย์ปรารถนาอยากได้ของใหม่ๆอยู่ร่ำไป) ยิ่งวิ่งไล่ตามก็ยิ่งทุกข์ เพราะไม่มีทางที่จะตามอารมณ์ใหม่ๆเหล่านั้นได้ทัน
บางคนสัปคนมากเลยเจอของดีที่สังคมรังเกียจนั้นก็คือ AI DS (อ่านว่า เอดส์)ก็ได้คือโลกอันตราย สุดๆที่กำลังคุกคามโลกอยู่ในตอนนี้นี่ก็เป็นผลที่ได้ใช้สอยปุเรชาตปัจจัยในทางที่ผิดซึ่งมีผลกระทบต่อสวัสดิภาพของมวลมนุษย์โดยตรง

จะอย่างไรก็ตามสำหรับบุรุษแล้วย่อมจะไม่วิ่งไล่ตามอารมณ์ บ้าๆ บอๆ เหล่านั้นอย่างเด็ดขาดขึ้นชื่อว่าบัณฑิตย่อมเอาจิตของตนอยู่บัณฑิต ย่อมไม่ปล่อยจิตให้ไหลไปตามกระแสแห่งอารมณ์ที่หลากหลายสายตาของผู้มีปัญญานั้นแตกต่างจาก อันธพาลอย่างมากแม้แต่ใบไม้ร่วงยังมองเห็นสภาวะธรรมที่เป็นอนิจจังทำให้บังเกิดวิปัสสนาญาณเป็นขั้นๆยิ่งๆขึ้นไป

จึงควรอย่างยิ่งที่ท่านทั้งหลายจะต้องยึดเป็นแบบอย่างทิฎฐานุคติน้อมนำมาปฏิบัติให้บังเกิดขึ้นภายในขันธสันดานของตนเห็นดอกไม้ที่สวยงาม อย่าพยายามนึกถึงแต่คนรักให้นึกถึงการบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบ้างก็แล้วกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร