วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:27  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2022, 16:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




computer-generated-d-illustration-raft-open-sea-raft-open-sea-171537071.jpg
computer-generated-d-illustration-raft-open-sea-raft-open-sea-171537071.jpg [ 80.32 KiB | เปิดดู 989 ครั้ง ]
ห้วงน้ำใหญ่นี้เปรียบได้กับโอฆะ ๔ คำว่าโอฆะแปลตามศัพท์ว่า"ห้วงกิเลส" หมายถึงกิเลสที่เหมือน
ห้วงน้ำนั่นเองมี ๔ ชนิดคือ กาโมฆะห้วงน้ำคือกาม หมายถึงห้วงน้ำคือความยินดีพอใจในกามคุณ
เพราะว่า ภโวฆะห้วงน้ำคือ ภพ หมายถึงห้วงน้ำคือฌานสุข หรือความพอใจในฌานสุข ทิโฐฆะห้วงน้ำ
คือทิฏฐิ หมายถึงห้วงน้ำคือความเห็นผิดและอวิชโชฆะ ห้วงน้ำคือ อวิชชา

กาโมฆะ

ห้วงน้ำอย่างแรกคือกาโมฆะห้วงน้ำคือความยินดีพอใจในกามคุณหมายความว่าในขณะที่ดวงตากระทบรูป
หรือเสียงกระทบหูการกระทบเช่นนี้เรียกว่าอาจจะเรามักเกิดความยินดีพอใจในรูปสวยเสียงไพเราะ
กลิ่นหอมรสอร่อยและสัมผัสถูกใจความยินดีพอใจในตามมาคุณ ๕ เหล่านี้เรียกว่ากาโมฆะเป็นห้วงน้ำ
คือความยินดีพอใจในกามคุณ ซึ่งท่วมทับเหล่าสัตว์อยู่เป็นสิ่งที่น้อยคนนักจะสามารถปฏิเสธได้
เมื่อเราไม่สามารถปฏิเสธความยินดีพอใจในกามคุณอารมณ์เหล่านี้ได้ก็ถือว่าถูกห้วงน้ำใหญ่อย่างแรกคือ
กาโมฆะท่วมทับแล้ว

ภโวฆะ


ห้องน้ำอย่างที่ 2 คือพระโวฆะห้วงน้ำคือภพ คำว่าภพในที่นี้มิได้หมายถึงภพชาติแต่หมายถึงฌานสุข
คือสุขในกาม หมายความว่าบางคนเชื่อว่าการเกิดในกามภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดาแล้วเสวยกามสุข
ในมนุษยโลกหรือเทวโลกยังเป็นของต่ำๆอยู่แต่การเสวยฌานสุขในพรหมโลกจึงนับว่าเป็นสุขที่แท้จริง
ดังนั้นเขาจึงเจริญฌานและเสวยฌานสุข

การและส่งการเสวยสุขในการสุขนี้ทำให้บุคคลยึดติดผูกพันกับฌานสุขที่ได้รับผู้ที่ปฏิบัติงฌานจนกระทั่ง
ถึงการบรรลุฌานแล้วไม่ว่าจะเป็นการบรรลุฌานด้วยการระลึกรู้ลมหายใจเข้าออกหรือด้วยเมตตามักมี
ความรู้สึกเหมือนกันอย่างหนึ่งนั่นคือ สุขซึ่งเราได้รับในขณะเข้าฌานอยู่แม้จะมีใครที่จะนำเงินร้อยล้าน
พันล้านมาให้ก็ไม่ยอมแลก หากมีความรู้สึกเช่นนี้ขึ้นเมื่อไรเป็นความรู้สึกของผู้ได้บรรลุฌานแล้ว
และเมื่อเป็นเช่นนี้นั้นสุขของบุคคลผู้ได้บรรลุย่อมทำให้เขาไม่สามารถข้ามพ้นห้วงน้ำคือฌานสุขได้
ดังนั้น พระพุทธองค์จึงตรัสห้วงน้ำอย่างที่ ๒ คือภโวฆะห้วงน้ำคือ ภพ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2022, 17:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




li_float.jpg
li_float.jpg [ 159.82 KiB | เปิดดู 958 ครั้ง ]
ทิฏโฐฆะ


ห้องน้ำอย่างที่ 3 คือ ทิฏโฐฆะ หัวงนั้นคือความเห็นผิดหมายความว่าคนทั่วไปมักเห็นผิดว่ามีตัวตน
มีเพียงชาวพุทธที่เข้าใจว่าร่างกายของเราประกอบขึ้นจากรูปกับนาม ๒ อย่างในศาสนาอื่นที่เป็นเทวนิยม
มักกล่าวถึงวิญญาณ อาตมันหรือกายทิพย์อีกทั้งคนส่วนใหญ่มัดยึดติดผูกพันอยู่กับกายทิพย์จะเห็นได้ว่า
ใน หนังสืองานศพทั่วไปมักเขียนข้อความว่า ขอให้วิญญาณของบุคคลนั้นจงไปสู่สุคติเถิดการกล่าวเช่นนี้
ไม่ถูกต้องหรือว่าเป็นการเขียนไปลักษณะที่ประกอบด้วยทิฏฐิคือยังมีความเข้าใจผิดว่า วิญญาณหรือ
กายทิพย์ที่ล่องลอยไปเกิดในภพต่างๆแต่วามจริงแล้วไม่มีวิญญาณเช่นนี้แต่อย่างใด

ร่างกายของเรานี้ประกอบขึ้นจากรูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้น รูปคือสภาวะไม่รับรู้อารมณ์แต่เคลื่อนไหวได้
ส่วนนามทำหน้าที่รู้อารมณ์เป็นตัวบงการรูปให้ทำสิ่งต่างๆได้ดังนั้นความเข้าใจว่าวิญญาณหรือกายทิพย์ไม่มีจริง
เช่นนี้จึงนับว่าเป็นความเข้าใจอย่างถูกต้องว่ามีเพียงรูปกับนาม ๒ อย่างอันที่จริงวิญญาณตามหลักธรรมทาง
ศาสนาพุทธ ก็คือจิตอันเป็นนามประเภทหนึ่งนั่นเอง

ความเห็นผิดหรือทิฏฐิมิได้หมายถึงความเห็นผิดที่เกี่ยวกับวิญญาณเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึง
ความเห็นผิดว่ามีตัวตนชาวพุทธทั่วไปมักเข้าใจว่าไม่มีตัวกูของกูจัดเป็นความเข้าใจด้วยอำนาจของ
สัญญาว่าร่างกายของเราประกอบมาจากรูปนามเพียง ๒ อย่างไม่มีสิ่งที่เราคิดว่าเป็นตัวกูของกูแต่ อย่างใด
ความเข้าใจเช่นนี้ถือว่าอยู่ในระดับสัญญา บางท่านก็กล่าวว่าไม่มีตัวกูของกูเดินไปไหนมาไหนแต่ถ้าเรา
ยังรู้สึกว่าในขณะเดินมีร่างกายเคลื่อนไปข้างหน้าอยู่มีขาที่เคลื่อนไหวอยู่ จัดว่าในตอนนั้นเรายัง
มีความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูตลอดเวลาทั้งนี้เพราะเรารับรู้ถึงรูปร่างสรรฐานร่างกายทุกส่วนหรือบางส่วน

ผู้ที่สามารถกำจัดความรู้สึกว่ามีตัวกูของกูอย่างชัดเจนได้แต่ต้องบรรลุถึงวิปัสสนาญาณท่านที่ ๕ คือ
ภังคญานปัญญาอย่างรู้ความดับเป็นต้นไปนั่นคือผู้ถ้าผู้ปฏิบัติสามารถบรรลุถึงทานที่ ๕ ไปแล้วก็จะรู้ว่า
ไม่มีร่างกายของเราที่เคลื่อนไหวแต่อย่างใดมีเพียงเงาดำๆหรือ ควันจางๆที่เคลื่อนไหวอยู่เท่านั้น
โดยที่ไม่รู้สึกว่าเป็นรูปร่างสันฐานของเราเลยความรู้สึกเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติธรรมที่บรรลุ
วิปัสสนาญาณท่านที่ ๕ ไปแล้วเท่านั้น

อย่างไรก็ตามถ้าเราเจริญสติอยู่กับปัจจุบันรับรู้สภาวะเบาผลักดันและหนักโดยไม่คิดว่าเป็นขาของเราอาจ
จะเป็นเพียงกิ่งไม้หรือท่อนไม้ที่ซึ่งเคลื่อนไปมา ก็นับว่าเราได้เริ่มกำจัดความเห็นผิดในตัวตนได้แล้ว
ถือว่ายังเป็นขั้นแรกอยู่แม้ปัญญาของเรายังไม่กระจ่างชัดเจนเพราะในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่า
นามรูปปริเฉทญาน ปัญญากำหนดแยกรูปนามทำหน้าที่กำจัดสักกายทิฐิ คือความเห็นผิด
ในหมู่รูปนามว่าเป็นตัวตน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ก.ค. 2022, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




woman-raft-computer-generated-d-illustration-77140130.jpg
woman-raft-computer-generated-d-illustration-77140130.jpg [ 112.56 KiB | เปิดดู 911 ครั้ง ]
ด้วยเหตุนี้ถ้าผู้ปฏิบัติรับรู้สภาวะเบา ผลักดันหรือหนักก็นับว่าได้กำจัดทิฏ,แล้ว แม้จะเป็นเพียงชั่วขณะ
ก็นับว่าได้สะสมหน่วยกิตส่วนบุคคลที่ยังเห็นผิดอยู่ในอาตมันหรือหรือแม้ในตัวตนที่เคลื่อนไหวอยู่
ก็นับว่าได้ถูกห้วงน้ำคือทิฐิครอบงำไม่อาจจะไหว้ห้ามห้วงน้ำนั้นไปได้

ในคัมภีร์อรรถกถากล่าวว่าชาวโลกมักรับรู้ความไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ได้แม้จะรู้ในลักษณะของสมมุติ
บัญญัติก็ตามเช่นแก้วน้ำใบหนึ่งตกแต่คนทั่วไปก็กล่าวว่าแก้วน้ำไม่เที่ยงหรือพอเรานั่งนานก็บอกว่าเป็นทุกข์
แต่ความจริงแก้วน้ำไม่มีลักษณะของความไม่เที่ยงเพราะเป็นความสมมุติบัญญัติไม่ใช่สภาวะของรูปนาม
มิฉะนั้นแล้วแก้วน้ำก็ เป็นของเที่ยงแต่เมื่อยังไม่แตกแต่เมื่อไหร่ค่อยไม่เที่ยงแต่ความจริงความไม่
เที่ยงนั้นเป็นสภาวะเกิดดับอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

นอกจากนั้นชาวโลกมักเข้าใจทุกขังในลักษณะของสมมุติบัญญัติอีกด้วยเช่นถ้าเรานั่งนานก็รู้สึก
เป็นทุกข์แต่ความจริงทุกในไตรลักษณ์มีความหมายว่า"สภาวะบีบคั้น" คือถ้าเรามีความรู้สึกว่าถูกบีบคั้น
ในใจหลังจากเห็นความเกิดดับนั่นคือเป็นลักษณะของทุกขังอย่างแท้จริงหรือถ้ามีความรู้สึกว่ารูปนาม
เป็นสิ่งที่น่ากลัวไม่ดีงามก็นับว่าเป็นลักษณะของทุกข์ในไตรลักษณ์เช่นเดียวกัน

ในเบื้องแรกของการปฏิบัติธรรมผู้ปฏิบัติอาจรู้สึกฟุ้งซ่านเป็นอย่างมากในวันสองวันแรกพอถึงใน
วันที่ ๓ ความฟุ้งซ่านนั้นจึงจะค่อยสงบลงหลังจากนั้นเรามักรู้สึกสบายที่รู้สึกถึงความเบาอย่างชัดเจน
รูปร่างสัณฐานหายไปและเกิดปิติโสมนัสขนลุกเย็นซาบซ่านตามร่างกายเกิดความสุขใจหรือรู้สึกสงบ
เหมือนเราอยู่คนเดียวในโลกนี้หรือเหมือนเสียง ทั้งหมดดับหายไป

ในขณะนั้นผู้ปฏิบัติมักรู้สึกว่ารูปนามเป็นแก่นสารที่ดีงามเพราะทำให้เราได้รับความสุขอย่างที่ไม่เคย
พบมาก่อนแต่หลังจากปฏิบัติธรรมไปอย่างต่อเนื่องเขาย่อมหยั่งเห็นไตรลักษณ์ขั้นแรกคืออนิจจัง
ความไม่เที่ยงกล่าวคือในเบื้องหน้าเราอาจรู้สึกว่าระยะเดินมีช่วงเดียวในขณะยกย่างและเหยียบไม่อาจยก
เป็น ๓ ช่วงได้แต่เมื่อสมาธิมีกำลังมากขึ้นสภาวะเบา หนัก ย่อมปรากฏชัดเจนมากขึ้น และเราย่อม
สังเกตสภาวะเริ่มกับสุดยก ย่าง และเหยียบสภาวะยกเกิดขึ้นแล้วดับไปจึงเกิดสภาวะย่าง ในสภาวะย่าง
ไม่มีภาวะยกหลังจากสภาวะย่างสิ่นสุดแล้วก็เกิดสภาวะเหยียบในสภาวะเหยียบให้มีสภาวะย่าง

การที่เรารู้เห็นสภาวะเดินว่าเป็น 3 ช่วงจึงจัดว่าเป็นความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปของสภาวะยกย่าง
และเหยียบนี้ถือว่าเป็นไตรลักษณ์ขั้นแรกแล้วและเราก็จะอนุมานรู้ว่ารูปนามทุกอย่างหรืออากัปฏิกิริยา
เคลื่อนไหวทุกอย่างมีความเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปตลอดเวลา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2022, 08:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




computer-generated-d-illustration-raft-open-sea-raft-open-sea-171537071.jpg
computer-generated-d-illustration-raft-open-sea-raft-open-sea-171537071.jpg [ 74.29 KiB | เปิดดู 861 ครั้ง ]
ผู้ปฏิบัติที่รู้สึกว่าเท้าเหนียวในขณะเดินก็มักจะสังเกตเห็นความเกิดดับเล็กๆของการเดินว่าในขณะนั้น
ความเกิดดับได้ปรากฏอยู่ตลอดเวลาเป็นเวลาช่วงหนึ่งแม้ในขณะยกมือหรือกราบพระเมื่อเรารับรู้สภาวะ
เบาหนักชัดเจน โดยมือหรือขาหายไปในตอนนั้นมักสังเกตเห็นความเกิดดับเล็กๆซึ่งปรากฏจากชัดเจนนี้
คืออนิจจังที่ละเอียดมากขึ้นเป็น การเกิดขึ้นและดับไปอย่างละเอียดมากขึ้นกว่าเดิมและหลังจากนั้น
ผู้ปฏิบัติธรรมก็จะหยั่งเห็นทุกข์ในไตรลักษณ์ คือทุกขังทำให้รู้สึกว่ารูปนามที่เรากำหนดรู้เป็นสิ่งที่
น่าอึดอัดไม่น่าชอบใจหรือรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัวไม่ควรยึดติดผูกพันจึงต้องการหลุดพ้นไปจากรูปนามนี้

ในบางขณะผู้ปฏิบัติอย่างเห็นอนัตตาคือความไม่ใช่ตัวตนบางท่านที่นั่งอยู่อาจรู้สึกว่าตัวสูงติดเพดาน
แขนยาวออกไปตัวหมุนหรือตัวเล็กลงเป็นจุดเดียวก็มีหรือบางท่านอาจจะเกิดความรู้สึกในใจว่าไม่ใช่
ตัวตนนี้คือลักษณะของอนัตตา

สภาวะของอนิจจัง ทุกขัง อนัตตามักเกิดขึ้นขณะปฏิบัติธรรมอยู่และในขณะนั้นผู้ปฏิบัติย่อมสามารถ
กำจัดห้วงน้ำคือทิฐิได้ ตลอดเวลามิฉะนั้นแล้วช่วงน้ำคือทิฏฐินี้จะท่วมทับทำให้จมอยู่จึงไม่สามารถว่าย
ออกจากห้องน้ำนี้ได้

มีโยมคนหนึ่งถามอาตมาว่าโยมก็รู้ว่าตนเองแก่ลงทุกวันหนังก็เหี่ยวผมก็หงอกดวงตาก็ฝ้าฟาง
ทำไมกิเลสจึงไม่ลดลง อาตมาตอบว่า เพราะโยมรู้เห็นความแก่หรือความไม่เที่ยงของสมมุติบัญญัติ
คือร่างกายถ้าเรารู้เห็นความไม่เที่ยงของบัญญัติเช่นนี้ก็ไม่อาจทำให้กิเลสลดลงได้เพราะยังรู้สึกว่า
มีตัวตนเมื่อบัญญัติปรากฏเช่นนี้สภาวะธรรม ย่อมไม่ปรากฏชัดเจน ดังคำพังเพยของไทยว่า
เห็นไพรไม่เห็นพฤกษ์เห็นพฤกษ์ไม่เห็นไพรนั่นเองผู้ปฏิบัติรู้สมมุติบัญญัติก็ไม่รู้สภาวะธรรม ถ้าเขารู้
สภาวะธรรมได้ตามความเป็นจริงเมื่อนั้นสมมุติบัญญัติย่อมหายไปในเวลานั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ก.ค. 2022, 09:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




20220716_090436.gif
20220716_090436.gif [ 1.44 MiB | เปิดดู 860 ครั้ง ]
อวิชโชฆะ


นอกจากห้วงน้ำคือทิฏฐิแล้วยังมีห้วงน้ำอีกอย่างหนึ่งเป็นห้วงน้ำสุดท้ายเรียกว่าอวิโชฆะห้วงน้ำคือ อวิชชา
หมายความว่าขณะที่เรามิได้ปฏิบัติธรรมอยู่อวิชชาหรือโมหะมักเกิดขึ้นตลอดเวลาการเกิดขึ้นของอวิชชา
มีอยู่หลายลักษณะเช่นการเกิดขึ้นของอวิชชาในขณะที่เราคิดฟุ้งซ่านโดยไม่รู้เห็นรูปนามตามความเป็น
จริงนี่คือเป็นลักษณะ หนึ่งที่อวิชชามีกำลังแต่ในบางขณะความโลภหรือความโกรธก็เกิดขึ้นร่วมกับฝ่าย
อวิชาอย่างเช่นเวลาที่เราเห็นรูปที่สวยงามน่าพอใจหรือได้ยินเสียงที่ไพเราะความโลภเกิดขึ้นร่วมกับอวิชชา
ในขณะนั้นดังพระพุทธดำรัสว่า

สุทฺโธ อตฺถํ สุทฺโธ ธมฺมํ น ปสฺสติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํ โลโภ สหเต นรํ.

"ผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้ผล ผู้โลภแล้วย่อมไม่รู้เหตุ
ความโลภย่อมครอบงำนรชนในกาลใด ความมืดมนย่อมปรากฏในกาลนั้น


ในเวลาที่ความโลกเกิดขึ้นเรามักไม่รู้เหตุไม่รู้ผลและในขณะนั้นมีความมืดเกิดขึ้นความมืดนี้เปรียบได้
กับอวิชชานั่นเองจัดว่าเป็นอวิชาที่เกิดร่วมกับความโลภทำหน้าที่ปิดบังโทษของความโลภจะเห็นได้ว่าอวิชชา
เหมือนความมืดซึ่งเกิดขึ้นร่วมกับความโลภเสมอ แม้คนที่ถูกความโกรธครอบงำก็มีสภาวะเหมือนคนที่ถูก
ความโลภนั้นครอบงำสมดังที่พระพุทธองค์ตัดถึงเรื่องนี้ว่า

ทุฏฺโฐ อตฺถํ น ชานสติ ทุฏฺโฐ ธมฺมํ น ปส์สติ
อนฺธตมํ ตทา โหติ ยํโกโธ สหเต นรํ

"ผู้โกรธแล้วย่อมไม่รู้ผล ผู้โกรธแล้วย่อมไม่เหตุ
ความโกรธย่อมครอบงำนรชนในกาลใเ ความมืดมนย่อมปรากฏในกาลนั้น


ขณะใดที่จิตของเรามีความโลภขณะนั้นอวิชชาย่อมเกิดขึ้นร่วมกับความโลภด้วย ในพระอภิธรรมเรียก
จิตชนิดนี้ว่า โลภมูลจิต หมายถึงจิตที่มีความโลภะเป็นมูลเหตุคือมีโลภะเป็นประธานโดยมีโมหะเกิดร่วมกัน
กับโลภะหรือขณะที่เราเกิดความโกรธขึ้นในใจที่ชื่อว่าโทสมูลจิตหมายถึงจิตที่มีโทสะเป็นมูลเหตุหรือ
โทสะเป็นประธาน ซึ่งก็มีโมหะประกอบร่วมกับโทสะอีกด้วย

ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่มิได้ปฏิบัติธรรมจึงถือว่าเกิดห้วงน้ำคืออวิชชาท่วมทับอยู่ในไม่สามารถจะว่ายข้ามห้วงน้ำ
คืออวิชชาไปได้ความจริงเวลาที่เกิดอวิชานี้เป็นช่วงที่เรารับรู้สมมุติบัญญัติตลอดเวลาในคัมภีร์ทาง
ศาสนาเรียกว่าสักยะทิฏฐิคือความเห็นผิดเป็นตัวตนตามนี้แปลตามศัพท์ว่าความเห็นผิดในหมู่ขันธ์ที่
มีอยู่จริงหมายความว่า ขันธ์ ๕ เป็นสิ่งที่มีอยู่จริงแต่เราเข้าใจผิดว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตนเราของเราบุรุษ
หรือสตรีซึ่งไม่มีอยู่จริง

ขันธ์ ๕ นั้นเรียกว่า สักกายะ คือหมู่ขันธ์ ที่มีอยู่จริงโดยคำว่า ส มาจาก สนฺต ซึ่งแปลว่า "มีอยู่จริง"
กาย ศัพท์ แปลว่า"หมู่" รวมทั้ง ศัพท์จึงแปลว่า "หมู่ขันธ์ที่มีอยู่จริง" นั่นคือขันธ์ ๕ เหล่านี้เป็น
สภาวะธรรมที่มีอยู่จริงตามไตรลักษณ์ชาวโลกสำคัญผิดว่าเป็นรูปร่างสันฐานบุรุษหรือสตรีจึงทำให้
เราเข้าใจผิดฝันว่าเป็นรูปร่างสันฐานตัวตน

สรุปความได้ว่าเมื่อเราเพลิดเพลินยินดีในกามคุณพอใจในฌาณสุขเห็นผิดในขันธ์ ๕ ว่าเป็นตัวเป็นตน
หรือมีอวิชชาที่ไม่รู้เห็นรูปธรรมตามความเป็นจริงก็นับว่าโอฆะทั้ง ๔ ท่วมทับอยู่ไม่อาจว่ายข้ามห้วงกิเลสได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร