วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:41  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2022, 11:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




fantasy-2702997__480.jpg
fantasy-2702997__480.jpg [ 101.03 KiB | เปิดดู 1054 ครั้ง ]
๒๐๔
พระสารีบุตรเถระนั้น ท่านได้เข้าฌานมีปฐมฌานเป็นต้นไปตามลำดับ ซึ่งทันทีออกจากฌาน
แต่ละชั้นนั้น ท่านได้กระทำการพิจารณารู้ซึ้งถึงสภาวลักษณะขององค์ฌานมีวิตกเป็นต้น
ก็วิธีการพิจารณารู้ของท่านเท่านั้น พึงทราบดังนี้

เมื่อพิจารณาวิตกก็รู้ซึ้งถึงสภาวลักษณะของวิตกนี้มีลักษณะเป็นธรรมที่นำจิตเจตสิก
ที่สัมปยุตกับตนขึ้นสู่อารมณ์ หรือภาษาชาวบ้านนิยมเรียกว่าการตรึก นึกคิดนั่นเอง
ซึ่งเป็นลักษณะที่พระอรรถกถาจารย์ท่านได้อธิบายไว้โดยนัยเป็นต้นว่า อภินิโรปนลกฺขโณ
วิตกฺโก วตฺตตีติ ชานาติ.
โยคีย่อมรู้วิตกดังนี้ว่า วิตกย่อมเกิดขึ้นในลักษณะเป็นธรรมที่นำ
จิตเจตสิกขึ้นสู่อารมณ์

การที่โยคีรู้ว่า"การตรึกนึกคิดเกิด" เช่นนี้แล ได้ชื่อว่า "เป็นการกำหนดรู้สภาวลักษณะของวิตก"
แม้ในเรื่องของการกำหนดรู้สภาวลักษณะขององค์ฌานมีวิจารเป็นต้น พึงทราบโดยทำนอง
เดียวกันนี้ ตัวอย่างเช่น เมื่อโยคีกำหนดพิจารณาวิจารก็ย่อมรู้ซึ้งถึงสภาวงักษณะของวิจารนั้นว่า
วิจารนี้เป็นธรรมที่ใคร่ครวญอารมณ์ เมื่กำหนดพิจารณาปีติ ก็ย่อมรู้ปีตินั้นว่า ปีตินี้เป็นธรรมที่
ยินดีพึงพอใจในอารมณ์ หรือเป็นธรรมที่มีสภาพที่อิ่มเอิบไปทั่วสรรพางค์กาย เมื่อพิจารณาสุข
ก็ย่อมรู้สุขนั้นว่า สุขที่เป็นธรรมที่เบาสบายผ่อนคลายไม่เครียด เมื่อพิจารณาเอกัคคตา ก็ย่อมรู้
เอกัคคตานั้นว่า เอกัคคตานี้เป็นธรรมที่ตั้งมั่นแน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน

เมื่อพิจารณาผัสสะ ก็ย่อมรู้ผัสสะนั้นว่า
ผัสสะนี้ย่อมเป็นธรรมที่กระทบอารมณ์ เมื่อพิจารณาเวทนา ก็ย่อมรู้ชัดเวทนานั้นว่า เวทนานี้เป็นธรรม
ที่รู้สึกต่ออารมณ์หรือที่เรียกว่ากันว่าเป็นธรรมที่เสวยอารมณ์ เมื่อพิจารณาสัญญานั้นว่า สัญญาเป็น
นี้เป็นธรรมจดจำอารมณ์ เมื่อพิจารณาเจตนาก็ย่อมรู้เจตนานั้นว่า เจตนานี้เป็นธรรมที่จับจิตให้
มุ่งตรงต่ออารมณ์(จงใจต่ออารมณ์)เมื่อพิจารณาจิตก็ย่อมรู้ว่าจิตนั้นว่า จิตนี้เป็นธรรมที่รู้อารมณ์

เมื่อพิจารณาฉันทะ ก็ย่อมรู้ฉันทะนั้นว่า ฉันทะนี้เป็นธรรมที่ประสงค์อารมณ์
เมื่อพิจารณาอธิโมกข์ ก็ย่อมรู้อธิโมกข์นั้นว่า อธิโมกข์นี้เป็นธรรมที่เด็ดขาดในอารมณ์
เมื่อพิจารณาวิริยะ ก็ย่อมรู้วิริยะนั้นว่า วิริยะนี้เป็นธรรมที่มุ่งมั่นบากบั่นในอารมณ์
เมื่อพิจารณาสติ ก็ย่อมรู้สตินั้นว่า สตินี้เป็นธรรมที่ระลึกรู้ทันอารมณ์
เมื่อพิจารณาตัตตรมัชฌัตตุเบกขา ก็ย่อมรู้ตัตรมัชฌัตตุเบกขานั้นว่า ตัตรมัชฌัตตุเบกขานี้
เป็นธรรมที่มีความเป็นกลางต่ออารมณ์ เมื่อพิจารณามนสิการก็ย่อมรู้มนสิการนั้นว่า มสิการนี้
เป็นธรรมเอาใจใส่ต่ออารมณ์ นี้เป็นการพิจารณารู้ธรรม ๑๖ ประการ ดังที่พระพุทธองค์
ได้ทรงแสดงไว้ว่าตฺยาสฺส ธมฺมา อนุปทววตฺถิตา โหนฺติ พระสารีบุตรนั้นได้กำหนดพิจารณา
รู้ธรรม ๑๖ ประการไปตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2022, 13:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


แม้ว่าสภาวธรรม ๑๖ ประการเหล่านั้น จะปรากฏแก่ญาณของพระสารีบุตรเถระ
โดยประจักษ์แจ้งในลักษณะที่ปรากฏเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป กล่าวคือ อุปาทะ ฐีติ ภังคะ ก็ตาม
แต่ก็ควรจะเข้าใจว่า ฌานจิตนั้น ย่อมไม่สามารถรู้การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปด้วยของตน(ของฌานจิตเอง)ได้
และก็ไม่ควรเข้าใจว่า จิตที่รู้กับฌานจิตนั้นเกิดขึ้นพร้อมกัน เกี่ยวกับประเด็นนี้ พึงศึกษาจากข้อความ
จากคัมภีร์มัชฌิมนิกายอรรถกถา ดังต่อไปนี้ด้วยว่า
ยถา หิ เตเนว องฺคุลคฺเคน ตํ องฺคุลคฺคํ น สกฺกา ผุสิตุํ, เอวเมว เตเนวจิตฺเตน ตสฺส อุปปาโท วา ฐิติ วา ภงฺโค วา น สกฺกา บาติตุนฺติ เอวํ ตาวตํญาณตา โมเจตพฺพา. ยทิ ปน เทฺว จิตฺนานิ เอกโต อุปฺปชฺเชยฺยุํ เอเกน จิตฺเตน เอกสฺส อุปฺปาโท วา ฐิติ วา ภงฺโค วา สกฺกา ภเวยฺย ชานิตุ๋ เทฺว ปน ผสฺส วา เวทนา วา สญฺญา วา เจตนา วา จิตฺตานิ วา เอกโร อุปฺปชฺนกานิ นาม นตฺถิ , เอกเมกเมว อุปฺปชฺชติ. เอวํ ญาณพหุตา โมเจตพฺพา.

อุปมาเหมือนกับว่าบุคคลย่อมไม่สามารถใช้ปลายนิ้วสัมผัสปลายนิ้วเดียวกันได้ ฉันได้
จิตก็ย่อมไม่สามารถที่จะล่วงรู้อุปาทะ ฐีติ ภังคะ ของตนได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ข้อนี้ย่อมปฏิเสธ
ข้อความที่ว่า บุคคลย่อมรู้ฌานจิตนั้น ด้วยฌานจิตนั้นได้ นอกยากนี้หากมีจิต ๒ ดวงเกิดขึ้นพร้อมกัน
จิตดวงหนึ่ง ก็จะสามารถรู้อัปาทะ ฐีติ ภังคะ ของอีกดวงได้อยู่ แต่ความเป็นจริง ไม่มีจิตหรือ
เจตสิกใดๆเกิดขึ้นแข่งกัน เช่น ไม่มีผัสสะ ๒ ดวง เวทนา ๒ ดวง สัญญา ๒ ดวง และจิต ๒ ดวง
เกิดขึ้นพร้อมกันได้เลย สภาวธรรมล้วนเกิดแต่ละครั้งเป็นดวงๆ เท่านั้น ข้อนี้ทำให้
เห็นว่าไม่มีญาณเกิดขึ้นพร้อมๆ กันเป็นจำนวนมากแต่อย่างใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 มี.ค. 2022, 15:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




cats (1).jpg
cats (1).jpg [ 26.85 KiB | เปิดดู 1696 ครั้ง ]
จะอย่างไรก็ตามในส่วนของพระสารีบุตร เนื่องจากท่านได้กำหนดพิจารณาอารมณ์และวัตถุ
อันเป็นที่อาศัยของสภาวธรรมที่ ๑๖ ประการเหล่านั้น ดังนั้น เมื่อท่านออกจากฌานและทำการ
พิจารณาอยู่ ลักษณะการเกิด(อุปปาทะ)การตั้งอยู่(ฐีติ)การดับ(ภังคะ)ของสภาวธรรม
ทั้งหลายเหล่านั้น ก็จะปรากฏเหมือนกับว่ากำลังเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไปในขณะนั้นๆ นั่นเทียว

การกำหนดพิจารณารู้ธรรมที่ปรากฏอย่างนี้แล เรียกว่า เป็นการกำหนดพิจารณารู้ขณะปัจจุบันธรรม
ซึ่งเป็นภาระกิจของอุทยัพพยญาณและภังคญาณ ดังนั้น พระพุทธองค์ จึงตรัสไว้ดังนี้ว่า
วิฑิตา อุปฺปชฺชนฺติ...อนึ่งการรู้ว่า"นี้เป็นการเกิดขึ้นของสภาวธรรมที่ยังไม่เคยเกิด"
ชื่อว่า เป็นญาณที่หยั่งรู้รู้อุทยะกล่าวคือ การเกิด ส่วนการรู้ว่า "เมื่อเกิดแล้ว ย่อมดับหายไป"
ชื่อว่าเป็นญาณที่หยั่งรู้วยะกล่าวคือการดับแห่งสภาธรรม
ซึ่งกล่าวมาทั้งหมดนี้
พึงทราบ เป็นคำอธิบายที่เก็บความมาจากคัมภีร์อรรถกถา

ข้อควรทราบ

เกี่ยวกับวิปัสสนาของพระสารีบุตรเถระ ผู้ได้ทำการกำหนดพิจารณารู้สภาวธรรมทั้งหมด
ที่เป็นวิสัยของพระสาวกเท่านั้น พึงทราบ สภาวธรรมทั้งหลายที่ท่านนำมากำหนดพิจารณา
ในแต่ละวาระนั้น ในพระไตรปิฎกและอรรถกถาได้แสดงไว้มากที่สุดเพียง ๑๖ ประการเท่านั้น
และในบรรดาสภาวะ ๑๖ ประการเหล่านั้น เนื่องจากสุขกับเวทนานั้ยมีองค์ธรรมซ้ำกันจึงนับ
โดยสภาวะจริงๆแล้วได้เพียง ๑๕ สภาวะเท่านั้น

สำหรับในคัมภีร์อภิธรรมปิฎกทั้งหลายพระพุทธองค์แสดงว่า ในปฐมฌานจิตนั้น มีเจตสิกประประกอบ
อยู่ ๓๕ ชนิด ซึ่งในบรรดา ๓๕ ชนิด หากหักกรุณาและมุฑิตาซึ่งเป็นเจตสิกที่ประกอบได้เป็น
บางครั้งออก ก็จะเหลือ ๓๓ ชนิด เท่านั้น ดังนั้นหากเอ่ยถึงฌานจิต ก็จะต้องรู้ว่า ในปฐมฌาน
จิตตุปบาทมีกลุ่มธรรม รวมอยู่ ๓๔ ชนิด ซึ่งใน ๓๔ ชนิด ตามมติของพระไตรปิฎกและอรรถกถา
ของพระสูตรที่ยกมาข้างต้น พึงทราบว่า โยคีสามารถทำการกำหนดพิจารณารู้เฉพาะ
สภาวธรรม ๓๕ ชนิดเท่านั้น ส่วนสภาวธรรม ๑๙ ที่เหลือไม่ปรากฏว่าท่านได้แสดงไว้อย่างใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2022, 04:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ในคัมภีร์ฎีกาของพระสูตรดังกล่าวท่านไดัแสดงวาทะ(ความเห็น)ไว้ ๒ วาทะ กล่าวคือ
อาจริยวาทะ กับ อปเรวาทะ ซึ่งในบรรดาวาทะ ๒ วาทะนั้น พึงทราบว่า ตามมติของอาจาริยวาทะนั้น
ท่านประสงค์ให้เอาสภาวธรรม ๑๖ ประการเท่านั้น มากำหนดพิจารณา เนื่องจากมีแต่
สภาวธรรม ๑๖ เท่านั้นปรากฏเกิดขึ้น แต่ในส่วนของอปเรวาทะ ท่านได้แสดงไว้ว่า
ไม่ควรมีสรุปว่าสภาวธรรมที่เหลือจาก ๑๖ ประการเป็นสภาวธรรมที่ไม่ปรากฏ

แม้จะกล่าวว่าในวาระจิตแต่ละครั้ง พระสารีบุตรสามารถกำหนดพิจารณารู้ สภาวธรรม ๑๖
ประการเท่านั้น แต่ก็เป็นญาณานุภาพที่มีประสิทธิภาพโดยธรรมชาติของพระเถระจึงเป็นญาณ
ที่ควรแก่การยกย่องเป็นอย่างยิ่ง หากท่านใดเคยเจริญวิปัสสนาอย่างลึกซึ้งมาก่อน ก็จะเกิด
ความศรัทธาเลื่อมใสต่อญาณของพระมหาเถระอย่างหาสิ้นสุดไม่ได้อย่างแน่นอน ส่วนผู้ที่รู้
พระอภิธรรมมาพองูๆปลาๆแต่ไม่เคยผ่านการได้วิปัสสนาญาณจริงๆมาก่อน ก็จะหมิ่นว่าการ
พิจารณาได้แค่ ๑๖ ชนิด นั้นน้อยไป ยังไม่สมบูรณ์พอ และเป็นการที่พิจารณาที่ไม่ยาก ซึ่งข้อนี้
โยคีจะต้องมีสติระมัดระวังเพื่อมิให้เกิดการดูหมิ่นดูแคลนเรื่องนี้โดยเด็ดขาด

โยคีบางท่านเคยศึกษาท่องจำลักษณะจับกลุ่มของรูป(รูปกลาป)ลักษณะการประกอบ หรือ
สัมปยุตของจิตและเจตสิก ลักขณาทิจตุกะ(ลักษณะ รสะ ปัจจุปัฏฐาน และปทัฏฐาน) ของจิต
เจตสิกเหล่านั้นและลำดับของวิถีจิตทั้งหลายมาก่อนแล้วก็จะทำให้ตรึกนึกคิดไปตามที่ตนเคย
ได้ยินได้ฟังมาแล้วนั่นแหละว่า "เพียงแต่สักแต่ว่าพิจารณาตามที่ตนเคยศึกษาเล่าเรียนมา ก็ย่อม
กระทำกิจการกำหนดพิจารณาและกิจการรู้ด้วยวิปัสสนาญาณให้สำเร็จได้นั่นเทียว"ข้อที่ให้ใช้
วิจารณาญาณเปรียบเทียบความคิดเห็นนี้กับพระไตรปิฎก อรรถกาและฎีกาทั้งหลายให้ดี แล้วจะ
เห็นว่าในพระคำภีร์พระไตรปิฎก เป็นต้นนั้นท่านได้แสดงการที่จะเกิดวิปัสสนาได้นั้น จะต้องเป็น
การพิจารณารู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวธรรมที่เกิดขึ้นเท่านั้น เพียงแต่การพิจารณาตามที่ตนเคยศึกษา
เล่าเรียนมานั้น ยังไม่ใช่การเกิดวิปัสสนาญาณแต่อย่างใด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มี.ค. 2022, 16:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ชื่อว่า "รูปนามที่โยคีพิจารณารับเอามาเป็นอารมณ์" นั้นเนื่องจากว่าหากไม่มีการเกิดขึ้นจริง
ในขันธสันดาลทั้ง ๒ คือ ทั้งอัชฌัตติกสันดาน และพหิทธสันดานธรรมนั้นกฌไม่ใช่ปรมัตถ์ที่แท้จริง
เป็นแต่เพียงบัญญัติที่ตนตรึกนึกคิดเอาเท่านั้นเอง ซึ่งประเด็นนี้ได้กำชับไว้ครั้งแล้วครั้งเล่า
ด้วยเหตุนี้เอง หากโยคีท่านใดขืนพิจารณาตามสุตะที่ตนเคยศึกษาเล่าเรียนมาก็ย่อมที่จะทำให้
โยคี ท่านนั้นนึกสำคัญเอาว่าไม่ว่าสภาวธรรมใดที่คนพิขารณาก็ล้วนแต่ปรากฏชัดทั้งสิ้นซึ่งอาจทำ
ให้คิดว่า แม้คนที่ยังไม่ได้ฌาน มรรค ผล นิพพาน ก็ย่อมสามารถที่จะรู้สภาวธรรมทั้งหลายเหล่านี้ได้
จึงทำให้โยคีท่านนี้ไม่สามารถรํซึ้งถึงความแตกต่างว่า สภาวธรรมใดปรากฏชัด สภาวะใดไม่ปรากฏชัด

อุปมาเหมือนเสียงร้องของนกการเวกที่บุคคลไม่เคยได้ยินมาก่อนนั้น ย่อมไม่เหมือนกับเสียงนก
ในป่าทั่วๆไป ฉันใด ฉันนั้น ฌาน มรรค ผล ที่โยคียังไม่เคยเข้าถึงนั้น ก็ย่อมจะไม่ปรากฏราวกะว่า
ประจักษ์แจ้งด้วยสายตาแก่โยคีนั้นเช่นกัน

อนึ่งฌานธรรมซึ่งเป็สภาวะที่ปราณีตนั้น ย่อมไม่ปรากฏเหมือนกับที่กามธรรมอันเป็นสภาวะ
ที่หยาบปรากฏอยู่อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ ในแต่ละครั้งที่กำหนดพิจารณานั้นการที่โยคีจะเห็นสภาวะ
ทั้ง ๒ โดยประจักษ์แจ้งเหมือนไกันนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ ทั้งนี้เพราะว่าขึ้นชื่อว่าอารมณ์ที่โยคีนำมากำหนด
พิจารณาตามที่ตนได้เคยศึกษาเล่าเรียนมานั้น ยังไม่ใช่ปนมัตถ์ที่แท้จริงนั่นเอง เนื่องจากเป็นเพียงบัญญัติ
การกำหนดมาพิจารณาดังกล่าวจึงยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริงเพราะถ้าหากเป็นวิปัสสนาแท้นั้น
พึงทราบว่าแม้แต่พระสารีบุตรผู้มีปัญญามากก็ยังเห็นได้ไม่ชัด ในแนวสัญญานาสัญญายตนฌาน
ซึ่งเป็นฌานที่มีความละเอียดอ่อนปราณีนมาก จะมัวกล่าวไปใยเล่า สำหรับโยคีธรรมดาทั่วๆไป
ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้พระสารีบุตรเถระไม่สามารถพิจารณาฌานดังกล่าวด้วยวิธีการของอนุปทธัมม
วิปัสสนานัย จึงออกจากฌานดังกล่าวแล้วทำการพิจารณาด้วยกลาปสัมมสนนัยเท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มี.ค. 2022, 12:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย วิธีการอย่างอื่นยังมีอีก พระสารีบุตรนั้นเธอได้ข้ามอากิญจัญญายตนแล้ว
เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะฌาน จากนั้น เมื่อเธอมีสติจึงออกจากฌานสมาบัตินั้น
ครั้นออกจากสมาบัตินั้นแล้ว จึงได้ทำการกำหนดพิจารณา สภาวธรรมทั้งหลายที่ล่วงลับดับไป
และแปรสภาพไปโดยนัยอย่างนี้ว่า"ธรรมทั้งหลายเหล่านี้มีสภาพล่วงพ้นไปแง้วดับไปแล้ว
แปรสภาพไปเป็นอย่างอื่นแล้วจริงๆ แต่ก่อนยังไม่เคยเกิด ก็ได้เกิดขึ้นแล้ว เมื่อเกิเแล้วก็ได้ดับลง
ไปแล้วนั่นเทียว

อนึ่งเนื่องจากพระพุทธองค์นั้นได้ทรงแสดงวิธีการกำหนดพิจารณาสภาวธรรม เช่น วิตก
วิจาร เป็นต้นไว้ในฌานอื่นๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งได้ทรงเน้นลักษณะของการปรากฏแห่งการเกิด
การดับ และการแปรสภาะของสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้นไว้โดยตรงด้วย แต่สำหรับใน
เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พระพุทธองค์มิได้ทรงแสดงไว้เบ่นนั้นเลย เพียงทรงแสดงไว้
โดยสามัญธรรมดาทั่วไแอย่างนี้ว่า เย ธมฺมา อตีตา นิรุทฺธา วิปริณตา.เต ธมฺเม สมนุปสฺสติ.
ธรรมเหล่าใด ล่วงไปแล้วดับไปแล้วแปรสภาพไปแล้ว พระสารีบุตรได้กำหนดพิจารณาธรรมทั้งหลาย
เหล่านั้น จึงทำให้เกิดคำถามมาว่าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้นมีความพิเศษแตกต่างจาก
ฌานอื่นอย่างไร ?

เกี่ยวกับประเด็นนี้ อรรถกถาจารย์ท่านได้ชี้แจงไว้ดังนี้ว่า
โค้ด:
เต ธมฺเม สมนุปสฺสตีติ ยสฺมา เนวสญฺญานาสญฺญายตเน พุทฺธานํเยว
อนุปทธมฺมวิปสฺสนา โหติ. ย สาวกานํ. ตสฺมา เอตฺถ กลาปวิปสฺสนํ ทสฺเสนฺโตเอวมาห.

คำว่า เต ธมฺเม สมนุปสฺสติ(กำหนดพิจารณาสภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้น) หมายความว่า
เนื่องจาดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น เป็นอนุปทธัมมวิปัสสนา สำหรับพระพุทธเจ้า
เท่านั้น ไม่สำหรับพระสาวก ดังนั้น พระพุทธองค์จึงทรงแสดง เพียงวิธีการพิจารณาโดยกลาป
สัมมสนนัยเท่านั้น

อนึ่ง ในคัมภีร์ฎีกาท่านยังได้อธิบายเสริมถึงสาเหตุที่ฌานดังกล่าวไม่ใช่วิสัยของพระสาวก
ไว้ว่า "เนื่องจากเนวสัญญนาสัญญยตนฌานนั้น เป็น ฌานที่ลึกซึ้งความเป็นสภาวสังขาร
ที่ละเอียดอ่อนที่สุด จึงเป็นสภาวะที่ยากที่สาวกจะหยั่งถึงจึงทำให้สาวกไม่สามารถจับเอา
สภาวะดังกล่าวมาจำแนกแยกแยะเป็นอย่างๆได้ จึงเพียงแค่พิจารณาเป็นกลุ่มๆ เท่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2022, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


จากพระบาลีที่ยกมาข้างต้นนั้น พึงทราบว่า พระพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะสามารถหยั่งรู้สภาวธรรม เช่น
สัญญา เอกัคคตา ผัสสะ และเวทนา เป็นต้น ที่มีอยู่ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน โดยวิธีการ
อนุปทธัมมวิปัสสนา(วิธีการแยกแยะสภาวธรรมเป็นอย่างๆ)ได้ ส่วนสาวกทั้งหลาย แม้กระทั่ง
พระสารีบุตรเถระก็ไม่สามารถที่จะกระทำการพิจารณาเช่นนี้ได้เลย สาเหตุก็เพราะว่า เนวสัญญา-
นาสัญญานาสัญญายตนนั้น มีสภาวเป็นเศษส่วนที่นอกเหนือไปจากสังขารหยาบทั้งหลาย
มีสภาพที่มีความละอ่อนมาก เปรียบได้กับดั่งจิตสุดท้ายที่ใกล้จะหลับ หรือดวงจิตสุดท้ายที่ใกล้
จะหลับ หรือจิตดวงสุดท้ายที่กำลังจะหมดสติ หรือจิตดวงสุดท้ายเมื่อใกล้จะตาย

ด้วยเหตุนี้ เนวสัญญานาสัญฐายตนฌานนั้น จึงไม่ปรากฏชัดในญานของพระสาวกทั้งหลาย
ที่บังเกิดขึ้นในฌานดังกล่าว โดยการแยกแยะให้เห็นเป็นสภาวลักษณะเป็นต้นได้ ดังนั้น
เมื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน พระสารีบุตรจึงได้ทำการกำหนดพิจารณาดังกล่าว
โดยวิธี กลาปวิปัสสนาสัมมสนนัย ซึ่งมีวิธีการรู้ฌานธรรมทั้งหลาบโดยทำนอง
เป็นการกำหนดรู้แบบินุมานคือการเทียบเคียงโดยอิงอาศัยแนวทางที่ว่า แม้สภาวธรรม
ทั้งหลายในฌานนี้ก็มีสภาพคล้ายกันกับสภาวธรรมในฌานชั้นต้นๆนั่นเอง กล่าวคือ
มิได้เป็นสภาวธรรมที่มีมาแต่ต้น แต่เมื่อได้เกิดขึ้นแล้ว ก็ดับหายไป

ดังนั้น เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระประสงค์จะแสดงวิธีการกำหนดวิปัสสนาที่เรียกว่า
กลาปวิปัสสนา ไว้ในเนวสัญญานาสัญญายตนฌานดังกล่าว จึงได้ตรัสโดยมีได้ทรง
เน้นลักษณะการพิจารณารู้สภาวธรรมอันใดเป็นพิเศษไว้ในฌานนี้ แต่ทรงแสดงไว้แบบ
กว้างๆทั่วไป ดังนี้ว่า เต ธมฺเม สมนุปสฺสติ(ย่อมพิจารณารู้สภาวธรรมทั้งหลายเหล่านั้น)
อนึ่ง สำหรับโวหารบัญญัติหรือคำเรียกว่าไม่เป็นกลาปวิปัสสนาหรือกลาปสัมมสน
นยวิปัสสนา)
หรือนยมนสิการก็ล้วนแล้วแต่มีความหมายองค์ธรรมเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2022, 10:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อควรคิดพิจารณา
อาจมีคำถามเกิดขึ้นว่า เมื่อโยคีได้กำหนดพิจารณาโดยการเทียบเคียงอาศัยภูมิปริยัติ
หรือเรียกว่าสุตะทีตนเคยศึกษาเล่าเรียนมาแล้วอย่างนี้จะทำให้กาารับรู้ถึงลักษณะ
ที่ปรากฏของฌานเบื้องล่างทั้งหลายกับเนวสัญญานาสัญญายตนฌานมีความแตกต่างกันได้อย่างไรหรือ?

คำตอบ ก็คือว่า ไม่สามารถทำให้เกิดการรับรู้ที่แตกต่างกันได้เลย

ถามว่า : แล้วเมื่อเป็นเช่นนี้ จะกล่าวได้อย่างไรว่า อนุปทวิปัสสนา ย่อมเกิดแก่พระสารีบุตรเถระ
เฉพาะในฌานระดับล่างที่มีสภาวะปรากฏชัดเท่านั้น ส่วนเนวสัญญานาสัญญายนนฌาน
ซึ่งมีสภาวะที่ไม่ชัดนั้น อนุปทวิปัสสนาไม่เกิดเป็นเพียง กลาปวิปัสสนา เท่านั้น

คำถามนี้หมายความว่า การกำหนดพิจารณาของพระสารีบุตรเถระนั้น มิใช่ สุตมยวิปัสสนาและ
จินตามยวิปัสสนา แต่เป็น ภาวนามยปัจจักขวิปัสสนามิใช่หรือ ปัญญานั้น
มีกาากำหนดพิจารณารู้สภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นจริงในขันธสันดานของตน ดังนั้น
จึงทำให้สภาวธรรมที้พอจะปรากฏให้เห็นได้เท่านั้น ปรากฏแก่ญาณของท่าน ส่วนสภาวธรรม
ที่ไม่อาจปรากฏ ก็จะไม่ปรากฏมิใช่ดอกหรือ ?

ก็ถ้าหากว่า การกำหนดพิจารณาโดนอนุมานเทียบเคียงกับสุตะที่ตนเคยศึกษาเล่าเรียนมานั้น
สามารถจัดเป็นวิปัสสนาแท้จริงได้ละก็ พระสารีบุตรเถระก็ควรที่จะสามารถกำหนดพิจารณา
แยกแยะเนวสัญญานาสัญญายตนฌานจิตตุปบาทโดยอนุปทธัมมวิปัสสนานัยได้ตามพลัง
แห่งสุตมยปัญญาของท่านมิใช่หรือ ?

แต่ความจริง ท่านทำไม่ได้ ทั้งนี้ ก็เพราะว่ากานกำหนดพิจารณาโดยอาศัยการเทียบเคียง
กับสุตะนั้น ยังมิใช่วิปัสสนาแท้นั่นเองมิใล่หรือ ? เมื่อเป็นเช่นนี่เราจะชี้แจงประเด็นที่เชื่อกันว่า
แม้จะไม่มีการพิจารณารูปนามแท้จริงซึ่งเกิดดับตามความเป็นจริง เพียงแค่นำเอารูปนาม
ที่เป็นเพียงอารมณ์บัญญัติที่ได้จากการตรึกนึกคิดมาเทียบเคียงเอาตามพลังแห่งสุตะที่ตน
ได้ศึกษาเล่าเรียนมา ก็ได้ชื่อว่าเป็นวิปัสสนา นี้ได้อย่างไร ?

ตอบว่า : เกี่ยวกับประเด็นนี้ จะขอยกพระบาลีจากมัชฌิมนิกายมูลปัณณาสก์ สัลเลขสูตร(๕๒)
มาไว้เป็นเครื่องเตือนสติตนเอง ดังนี้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร