วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 19 ก.พ. 2022, 14:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖๑
เหตุใดอยู่ใกล้ เหตุนั้นพึงทราบว่า ปทัฏฐาน
ส่วนเหตุใกล้นั้นมีชื่อว่า ปทัฏฐาน

ปทัฏฐานจำแนกออกเป็น ๒ ประการ คือ

๑. โอรุยโหรุยหนัย นัยเหมือนการลงจากต้นไม่ อนุโลมนัย เช่น
อวิชฺชาปจฺจยา สังขารา(สังขารทั้งหลายย่อมมีเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย)
สงฺขารปจฺจยา วิญฺญาณํ (วิญญาณย่อมมีเพราะ สังขารเป็นปัจจัย เป็นต้น)

๒. อารุยหารุยหนัย นัยเหมือนการขึ้นต้นไม้ ปฏิโลมนัย เช่น อาสวะเป็นปทัฏฐานแก่อวิชชา
อวิชชาเป็นปัจจัยแก่สังขาร สังขารเป็นปทัฏฐานแก่วิญญาณเป็นต้น
ตัวอย่างจะกล่าวต่อไปนี้เป็นนัยอย่างใดอย่างหนึ่งในสองประเภทนี้ตามสมควร

ถามว่า : พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมอะไร

ตอบว่า : ทรงแสดงว่า อวิชชามีลักษณะไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง
วิปัลลาสเป็นปทัฏฐาน (เหตุใกล้) แก่อวิชชานั้น(เพราะอวิชชาย่อมเพิมพูลขึ้นเมื่อมีวิปัลลาส
ในสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เป็นต้น)

ตัณหามีลักษณะผูกพัน ปิยรูปและสาตรูป(สภาพที่น่ายินดีพอใจ) เป็นปทัฏฐานแก่ตัณหานั้น
(เพราะตัณหาย่อมเพิ่มพูลขึ้นเมื่อมีสภาพที่น่ายินดีพอใจ)

ความโลภมีลักษณะต้องการ อทินนาทานเป็นปทัฏฐานแก่ความโลภนั้น
(เพราะความโลภย่อมเป็นไปเมื่อมีอทินนาทาน)

สุภสัญญา(ความสำคัญว่างาม)มีลักษณะถือเอาอวัยวะน้อย
ใหญ่ ความไม่สำรวมอินทรีย์เป็นปทัฏฐานแก่สุภสัญญานั้น

สุขสัญญา(ความสำคัญว่าสุข) มีลักษณะรู้ชัดผัสสะที่เป็น
อารมณ์ของอาสวะ ความชอบใจเป็นปทัฏฐานแก่สุขสัญญทนั้น

นิจจสัญญา(ความสำคัญว่าเที่ยง)มีลักษณะไม่รู้เห็นธรรมอันถูกปัจจัยปรุงแต่ง วิญญาณเป็น
ปทัฏฐานแก่นิจจสัญญานั้น

อัตตสัญญา(ความสำคัญว่าเป็นอัตตา)มีลักษณะไม่รู้เห็นอนิจจสัญญาและทุกขสัญญา หมู่นามเป็นปทัฏฐาน
แก่อัตตสัญญานั้น(เพราะความยึดมั่นอัตตามีอยู่ในนามธรรมเป็นส่วนใหญ่)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 19 ก.พ. 2022, 17:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชามีลักษณะไม่แทงตลอดธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริง โดยไม่รู้เห็นสภาวธรรม ๘ อย่างนี้
อันได้แก่ ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในอดีต, ขันธ์ อายตนะ ธาตุ ในอนาคต, ขันธ์ อายตนะ ธาตุในอดีตและอนาคต
อริยสัจ ๔ และปฏิจจสมุปบาท

วิปัลลาส คือ ความคลาดเคลื่อนผิดจากความจริง มี ๓ อย่างคือ

๑. สัญญาวิปัลลาส วิปัลลาสแห่งสัญญา
๒. จิตตวิปัลลาส วิปัลลาสแห่งจิต
๓. ทิฏฐิวิปัลลาส วิปัลลาสแห่งความเห็น

ทั้งสามอย่างนี้แบ่งออกเป็นอย่างละ ๔ คือ

๑. อนิจเจ นิจจวิปัลลาส วิปัลลาสในสภาวะที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
๒. ทุกเข สุขวิปัลลาส วิปัลลาสในทุกข์ว่าเป็นสุข
๓. อนัตตนิ อัตตวิปัลลาส วิปัลลาสในสภาวะที่ไม่ใช่อัตตาว่าเป็นอัตตา
๔. อสุเภ สุภวิปัลลาส วิปัลลาสในสภาวะที่ไม่งามว่างาม

ปิยรูป คือ สภาพที่น่ายินดี สาตรูป คือ สภาพที่น่าพอใจ ทั้งสองอย่างโดยองค์ธรรม คือ โลกียจิต ๘๑
เจตสิก ๕๒ รูป ๒๘ จึงหมายถึงรูปธรรมกับนามธรรมที่เป็นโลกียะ ดังพระพุทธพจนะว่า

ยํ โลเก ปิยรูปํ สาตรูปํ, เอตฺเถสาตณฺหา อุปฺปชฺชมานา อุปฺปชฺชติ

สภาพใดน่ายินดีพอใจในโลก(แห่งรูปนาม) สภาพนั้นคือที่ซึ่งตัณหาเกิดขึ้นและตั้งอยู่

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 20 ก.พ. 2022, 05:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อวิชชามีลักษณะแทงตลอดธรรมทั้งปวง เญยยธรรมทั้งปวง (อริยสัจ ๔)
เป็นปทัฏฐานแก่วิชชานั้น(เพราะเป็นอารมณ์ของวิชชา)

สมถะมีลักษณะกำจัดความซัดส่ายแห่งจิต การเพ่งอสุภะเป็นปทัฏฐานแก่สมถะนั้น
(เพราะสมถะเป็นปฏิปักษ์ต่อตัณหา)

อโลภะมีลักษณะกำจัดการท่องเที่ยวไปในความอยาก เจตนางดเว้นจากการลักทรัพย์
เป็นปทัฏฐานแก่อโลภะนั้น(เพราะกระทำความละโมบให้เบาบาง)

อโทสะมีลักษณะไม่ปองร้าย เจตนางดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปทัฏฐานแก่อโทสะนั้น
(เพราะกระทำพยาบาทให้เบาบางลง)

อโมหะมีลักษณะหยั่งเห็นอารมณ์ สัมมาปฏิบัติ(การปฏิบัติโดยชอบ)เป็นปทัฏฐานแก่อโมหะนั้น

อสุภสัญญา(ความสำคัญว่าไม่งาม) มีลักษณะถือเอาศพที่ขึ้นเขียว หรือศพที่มี
น้ำเหลืองไหลเยิ้ม ความเบื่อหน่ายเป็นปทัฏฐานแก่อสุภสัญญานั้น

ทุกขสัญญา(ความสำคัญว่าเป็นทุกข์)มีลักษณะกระทบผัสสะที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ
เวทนาเป็นปทัฏฐานแก่ทุกขสัญญานั้น(เพราะเวทนาทั้งหมดจัดเป็นทุกข์โดยความเป็นทุกข์ เป็นต้น)

อนิจจสัญญา(ความสำคัญว่าไม่เที่ยง)มีลักษณะเห็นธรรมอันถูกปัจจัยปรุงแต่งความเกิดและความดับ
เป็นปทัฏฐานแก่อนิจจสัญญานั้น

อนัตตสัญญา(ความสำคัญว่าไม่ใช่อัตตา)มีลักษณะไม่ยึดมั่นในธรรมทั้งปวง ธรรมสัญญา(ความสำคัญ
ว่าเป็นสภาวธรรม)เป็นปทัฏฐานแก่อนัตตสัญญานั้น

(โดยองค์ธรรม วิชชาและอโมหะก็คือ ปัญญาเจตสิก แต่ในที่นี้กล่าวแยกไว้ตามสภาวะ
คือ วิชชาเป็นสภาวะรู้แจ้งแทงตลอดอริยสัจ ๔ ส่วนอโมหะเป็นสภาวะที่ไม่หลงไม่ปฏิบัติในอารมณ์
ปัจจุบันที่เจริญสติกำหนดรู้อยู่

คำว่า สัมมาปฏิบัติ(การปฏิบัติธรรมโดยชอบ)คือ การเจริญศีลสมาธิ หรือปัญญาที่หยั่งเห็นความเบื่อหน่ายด้วยนิพพิทาญาณ)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 21 ก.พ. 2022, 11:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


กามคุณ ๕ เป็นปทัฏฐานแก่กามราคะ(ความยินดีในกาม)
อินทรีย์ ๕ ที่เป็นรูปเป็นปทัฏฐานแก่ความพอใจในรูป(เพราะความกำหนัดในร่างกายของเหล่าสัตว์
มีอยู่โดยเนื่องด้วยอายตนะภายใน ๕ คือ ปสาทรูป ๕) อายตนะที่ ๖ (มนายตนะ) เป็นปทัฏฐานแก่
ความพอใจในภพ (เพราะความพอใจในภพย่อมมีในมนายตนะอันเป็นที่อาศัยของฌานเป็นพิเศษ)

การเห็นรูปเป็นต้นที่เกิดขึ้น เป็นปทัฏฐานแก่อุปาทานขันธ์ ๕ ปุพเพนิวาสานุสสติ(การตามระลึกความ
เป็นอยู่ในชาติก่อน) เป็นปทัฏฐานแก่ญาณทัสสนะ(ญาณรํเห็นกรรมและผลของกรรม)

ศรัทธามีลักษณะเชื่อมั่น มีความน้อมใจเชื่อเป็นเครื่องปรากฏ
ปสาทะมีลักษณะไม่ขุ่นมัว มีความผ่องใสเป็นเครื่องปรากฏ
ศรัทธามีลักษณะเลื่อมใส ความเลื่อมใสที่ไม่หวั่นไหว(อันประกอบด้วยปัญญา)
เป็นปทัฏฐานแก่ศรัทธานั้น
ปสาทะมีลักษณะไม่ขุ่นมัว ศรัทธาเป็นปทัฏฐานแก่ปสาทะนั้น
วิริยะมีลักษณะพากเพียร สัมมัปปธาน ๔ เป็นปทัฏฐานแก่วิริยะนั้น
สติมีลักษณะทำให้จิตไม่เลื่อนลอย สติปัฏฐาน ๔ เป็นปทัฏฐานแก่สตินั้น
สมาธิมีลักษณะที่มีอารมณ์เป็นอย่างเดียว ฌานเป็นปทัฏฐานแก่สมาธินั้น
ปัญญามีลักษณะหยั่งรู้ สัจจะเป็นปทัฏฐานแก่ปัญญานั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 21 ก.พ. 2022, 15:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


คำว่า กามคุณ หมายถึง เครื่องผูกคือกาม เครื่องผูกมี ๕ อย่าง คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่กระทบสัมผัส
กล่าวคือ เหล่าสัตว์เพลิดเพลินในรูปสวย เสียงเพราะ กลิ่นหอมรสอร่อย และสิ่งที่กระทบสัมผัสซึ่งถูกใจ
จึงถูกกามคุณทั้ง ๕ ผูกไว้ในวัฏฏสงสาร

คำว่า พอใจในรูป คือความพอใจในร่างกาย เพราะอินทรีย์ทั้ง ๕ คือ ตา หู จมูก ลิ้น และกาย เป็นเหตุใกล้
ให้เกิดความพอใจในร่างกาย ถ้าไม่มีอินทรีย์เหล่านี้ ความพอใจในร่างกายก็ไม่เกิดขึ้น เช่นคนตาบอด
ย่อมปราศจากความพอใจในรูปสวยงามของร่างกาย เพราะเขาเห็นไม่ได้ ดังนี้เป็นต้น คำนี้มิใช่รูปราคะ
ที่เป็นสังโยชน์ ๑๐ ซึ่งพอใจในรูปฌานและรูปภพ

ศรัทธากับปสาทะ องค์ธรรมคือ ศรัทธาเจตสิก แต่ในที่นี้กล่าวไว้แยกกันตามสภาวะที่ที่ปรากฏชัดว่า
ศรัทธาคือความเชื่อ ส่วนปสาทะเป็นความเลื่อมใส ศรัทธาเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานที่ก่อให้เกิดปสาทะ
ในภายหลัง เพราะเมื่อบุคคลเชื่อมั่นแล้วจึงปฏิบัติตามที่ได้สดับมา แล้วเกิดความเลื่อมใสยิ่งๆ ขึ้น
เมื่อได้รับผลการปฏิบัติ โดยธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมคุ้มครองผู้ปฏิบัติให้ได้รับประโยชน์ในโลกนี้
และโลกหน้า และประโยชน์อันสูงสุดคือพระนิพพาน

สติที่ระลึกรู้สภาวธรรมปัจจุบัน ย่อมทำให้จิตตามรู้ปัจจุบันเท่านั้น ไม่ซัดส่ายไปในอารมณ์
อดีตหรืออนาคต ในขณะนั้นความฟุ้งซ่านย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะจิตมีลักษณะรับอารมณ์เดียว
ในขณะเดียว เหมือนมีความสว่างปรากฏ ความมืดย่อมปรากฏขึ้นไม่ได้ และเหตุใกล้บองสติก็คือ
สติปัฏฐาน ๔ อันได้แก่ กองรูป เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นอารมณ์ปัจจุบันของสติ ในการเจริญสติปัฏฐาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสต์ เมื่อ: 22 ก.พ. 2022, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๑๖๗
อีกอย่างหนึ่ง
อโยนิโสมนสิการ มีลักษณะใส่ใจเห็นความน่าพอใจ(ในธรรมที่เป็นเครื่องผูก)
อวิชชาเป็นปทัฏฐานแก่อโยนิโสมนสิการนั้น(เพราะปกปิดโทษของอโยนิโสมนสิการ)
อวิชชา มีลักษณะปิดบังสัจจะ อวิชชานั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังขาร
สังขาร มีลักษณะยังภพใหม่ให้เกิดขึ้น สังขารเป็นปทัฏฐานแก่วิญญาณ
วิญญาณ มีลักษณะเกิดขึ้นโดยความเป็นอุปปัตติภพ(วิบากขันธ์ที่เป็นโลกียะและกรรมชรูป)
วิญญาณนั้นเป็นปทัฏฐานแก่นามรูป
นามรูป มีลักษณะประชุมกันแห่งหมู่รูปนาม นามรูปนั้นเป็นปทัฏฐานแก่อายตนะ ๖ (เพราะเป็นสหชาตปัจจัยเป็นต้น)
อายตนะ ๖ มีลักษณะกำหนดอินทรีย์ ๖ อายตนะ ๖ นั้นเป็นปทัฏฐานแก่ผัสสะ(เพราะเป็นนิสสยปัจจัยเป็นต้น)
ผัสสะ มีลักษณะประชุมกันแห่งจักษุ รูป และวิญญาณจิต ผัสสะเป็นปทัฏฐานแก่เวทนา(เพราะเป็นสหชาตปัจจัย เป็นต้น)
เวทนา มีลักษณะเสวยอารมณ์ที่น่าปรารถนาหรือไม่น่าปรารถนา เวทนานั้นเป็นปทัฏฐานแก่ตัณหา(เพราะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เป็นต้น)
ตัณหา มีลักษณะผูกพัน ตัณหานั้นเป็นปทัฏฐานแก่อุปาทาน(เพราะเป็นอุปนิสสยปัจจัย เป็นต้น)
อุปาทาน มีลักษณะก่อให้เกิดอุปติภพ อุปาทานนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ภพ
ภพ มีลักษณะเกิดขึ้นของหมู่นามและรูป ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ชาติ
ชาติ มีลักษณะปรากฏแห่งขันธ์ ชาตินั้นเป็นปทัฏฐานแก่ชรา
ชรา มีลักษณะแก่หง่อมแห่งขันธ์ ชรานั้นเป็นปทัฏฐานแก่มรณะ
มรณะ มีลักษณะตัดรอนชีวิตินทรีย์ มรณะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่โสกะ(ความเศร้าโศก)
โสกะ มีลักษณะกระทำความเร่าร้อนใจ โสกะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ปริเทวะ(ความคร่ำครวญ)
ปริเทวะ เป็นสภาพกระทำความคร่ำครวญ ปริเทวะนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ทุกข์(ความทุกข์กาย)
ทุกข์ เป็นความเบียดเบียนกาย ทุกข์นั้นเป็นปทัฏฐานแก่โทมนัส(ความทุกข์ใจ)
โทมนัส เป็นสภาพเบียดเบียนใจโทมนัสนั้นเป็นปทัฏฐานแก่อุปายาส(ความคับแค้นใจ)
อุปายาส เป็นสภาพกระทำการแผดเผา อุปายาสนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ภพ
เมื่อใดกองภพทั้งหมดนี้ย่อมเกิดขึ้น เมื่อนั้นจึงเป็นภพ ภพนั้นเป็นปทัฏฐานแก่สังสารวัฏฏ์
มรรคมีลักษณะนำออก(จากสังสารวัฏ)มรรคนั้นเป็นปทัฏฐานแก่พระนิพพาน

(พระมหากัจจายนะแสดงปทัฏฐานของอวิชชาเป็นต้นตั้งแต่ตัวอย่างแรกเป็นต้นมา บัดนี้กล่าวอีกนัยอย่างหนึ่งว่า อปโร นโย (อีกนัยหนึ่ง) เพื่อแสดงว่าอวิชชา เป็นต้นนั้นเป็นปทัฏฐานแก่ธรรมบางอย่างได้เช่นเดียวกัน
ท่านกล่าวว่า อสฺสาทมนสิการลกฺขโณ อโยนิโสมนสิกาโร(อโยนิโสมนสิการมีลักษณะพิจารณาความน่าพอใจ) เพราะส่วนใหญ่อโยนิโสมนสิการมักดำเนินไปด้วยอำนาจของโลภะ การใช้คำในลักษณะนี้เรียกว่า นิทัสสนัย คือ นัยที่แสดงไว้พอเป็นตัวอย่าง แต่ยังหมายถึงเป็นอย่างอื่นๆได้ ซึ่งในที่นี้คือการพิจารณาเห็นความไม่น่าพอใจด้วยอำนาจโทสะ หรือพิจารณาเห็นด้วยอำนาจของโมหะ
คำว่า สจฺจโมหนลกฺขณา อวิชฺชา (อวิชชาลักษณะปิดบังสัจจะ)โดยไม่รู้เห็นอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง ส่วนการไม่รู้บัญญัติไม่จัดว่าเป็นอวิชชา เพราะบัญญัติเป็นสมมุติของชาวโลกตามท้องถิ่นและกาลเวลา ไม่ใช่สภาวธรรมที่ปรากฏอย่างแท้จริง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 6 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร