วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:09  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 06:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


กามสุขของมนุษย์ ของสวรรค์ และความสุขที่ดีกว่านั้น

เพื่อเสริมความเข้าใจ จะนำคำชี้แจงทางธรรมที่ควรทราบเกี่ยวกับความสุขเหล่านี้มาแสดงไว้
ตามสมควร

“ภิกษุทั้งหลาย กามคุณมี ๕ อย่างดังนี้ คือ รูปทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยตา...เสียงทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยหู...
กลิ่นทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยจมูก...รสทั้งหลายที่รู้ได้ด้วยลิ้น...โผฏฐัพพะทั้งหลายที่รู้ได้
ด้วยกาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ ชวนให้รัก ชักให้อยาก เย้ายวนชวนติดใจ, เหล่า
นี้แล คือ;กามคุณ ๕; อาศัยกามคุณ ๕ ประการเหล่านี้ มีความสุข ความฉ่ำใจ (โสมนัส) ใดเกิดขึ้น
นี้คือส่วนดี (อัสสาทะ, ความหวานชื่น) ของกามทั้งหลาย” “นี้เรียกว่ากามสุข”

“คำว่า กาม โดยหัวข้อ ได้แก่กาม ๒ อย่าง คือ วัตถุกาม (วัตถุอันน่าใคร่, สิ่งที่อยากได้) ๑ กิเลส
กาม (กิเลสที่ทำให้ใคร่, ความอยากที่เป็นตัวกิเลส) ๑

“วัตถุกาม เป็นไฉน? รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นที่ชื่นชอบใจ เครื่องลาด เครื่องห่ม
ทาสี ทาส แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา นา ที่ดิน เงิน ทอง บ้าน นิคม ราชธานี รัฐ ประเทศ
กองทัพ คลังหลวง วัตถุเป็นที่ตั้งแห่งความติดใคร่ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ตาม ชื่อว่าวัตถุกาม;
อีกอย่างหนึ่ง กามทั้งหลาย ที่เป็นอดีต ที่เป็นอนาคต ที่เป็นปัจจุบัน กามที่เป็นภายใน ที่เป็น
ภายนอก ทั้งภายในและภายนอก ชนิดเลว ชนิดปานกลาง ชนิดประณีต ที่เป็นของสัตว์ในอบาย
ที่เป็นของมนุษย์ ที่เป็นทิพย์ ที่ปรากฏเฉพาะหน้า ที่บันดาลเอง ที่ผู้อื่นบันดาลให้ ที่ครอบครอง ที่
ไม่ได้ครอบครอง ที่หวงแหน ที่ไม่ได้หวงแหน ธรรมที่เป็นกามาวจรแม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นรูปาวจร
แม้ทั้งหมด ธรรมที่เป็นอรูปาวจรแม้ทั้งหมด ซึ่งเป็นที่ตั้งแห่งตัณหา เป็นอารมณ์ของตัณหา ชื่อ
ว่ากาม ด้วยอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความอยาก ด้วยอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งความมัวเมา, เหล่านี้เรียกว่า
วัตถุกาม

“กิเลสกาม เป็นไฉน? ความพอใจก็เป็นกาม ราคะก็เป็นกาม ความชอบใจติดใคร่ก็เป็นกาม ความดำริ
ก็เป็นกาม ราคะก็เป็นกาม ความครุ่นคิดติดใคร่ก็เป็นกาม, กามฉันทะ กามราคะ กามนันทิ กามตัณ
หา กามเสน่หา ความเร่าร้อนกาม ความหลงใหลกาม ความหมกมุ่นกาม กามท่วมใจ กามผูกรัด
ใจ ความถือมั่นในกาม
นิวรณ์ คือกามฉันท์ กามในข้อความว่า “นี่แน่ะกาม เราเห็นรากเหง้าของเจ้าแล้วว่า เจ้าเกิดขึ้นมา
จากความดำริ เราจักไม่ดำริถึงเจ้าละ เมื่อทำอย่างนี้ เจ้าก็จักไม่มี”, เหล่านี้เรียกว่า กิเลสกาม”

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ จึงมีการตั้งครรภ์ เมื่อใดมารดาบิดา
ร่วมกัน มารดาคราวฤดู ทั้งสัตว์ที่จะเกิดก็ปรากฏ, เพราะความประชุมพร้อมแห่งปัจจัย ๓ ประการ
อย่างนี้ จึงมีการตั้งครรภ์; มารดาอุ้มท้องประคับประคองครรภ์นั้นตลอดเวลา ๙ เดือนบ้าง ๑๐ เดือน
บ้าง ด้วยความเสี่ยงชีวิตเป็นอย่างมาก ทั้งเป็นภาวะอันหนัก, ครั้นล่วงเวลา ๙ เดือน หรือ ๑๐ เดือนแล้ว
มารดาก็คลอดทารกในครรภ์ ด้วยความเสี่ยงชีวิตเป็นอันมาก อย่างเป็นภาระอันหนัก แล้วเลี้ยงทา
รกที่เกิดนั้น ด้วยโลหิตของตน; ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมเนียมของอริยชน ถือน้ำนมของมารดานี้ว่าคือ
โลหิต”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 06:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


“เด็กอ่อนไร้เดียงสา นอนหงายแบเบาะ ย่อมเล่น (แม้แต่) อุจจาระปัสสาวะของตนเอง, เธอ
จะเห็นประการใด ความสนุกนี้ เป็นความสนุกของเด็กอ่อนอย่างเต็มที่สิ้นเชิง ใช่หรือไม่?”

“เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า”

“สมัยต่อมา เด็กนั้นแล อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น ย่อมเล่นเครื่องเล่นทั้ง
หลายสำหรับเด็ก คือ เล่นไถน้อยๆ เล่นตีไม้หึ่ง เล่นหกคะเมน เล่นกังหันน้อยๆ เล่นตวงทราย เล่น
รถน้อยๆ เล่นธนูน้อยๆ, เธอจะเห็นประการใด ความสนุกนี้ ดีกว่าและประณีตกว่าความสนุกอย่าง
ก่อน ใช่หรือไม่?”

“เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า”

“สมัยต่อมา เด็กนั้น อาศัยความเจริญเติบโต อินทรีย์ทั้งหลายแก่กล้าขึ้น มีกามคุณทั้ง ๕ พรั่งพร้อม
บริบูรณ์ ย่อมบำเรอตนด้วยรูปทั้งหลาย...ด้วยเสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะทั้ง
หลาย ซึ่งน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ ชวนให้รัก ชักให้อยาก เย้ายวนชวนติดใจ, เธอจะเห็นประ
การใด ความสนุกนี้ ดีกว่า และประณีตกว่าความสนุกอย่างก่อนๆ ใช่หรือไม่?”

“เป็นเช่นนั้น พระเจ้าข้า”

บุคคลผู้สูงเลิศประเสริฐสุดในโลกมนุษย์ทางฝ่ายคฤหัสถ์ ก็คือพระเจ้า จักรพรรดิ ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจ
มากที่สุด เพียบพร้อมด้วยโภคสมบัติทุกประการ และตามคติพระพุทธศาสนาถือว่าจะต้องเป็นผู้
ทรงคุณธรรมอย่างสูงเยี่ยมด้วย โดยนัยนี้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงนับว่าเป็นผู้มีความสุขพรั่งพร้อมมาก
ที่สุด เหนือกว่ามนุษย์ทั้งหลายทั้งปวง พระพุทธเจ้าทรงยกเอาความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิ ขึ้น
มาบรรยายเป็นตัวอย่าง แสดงความสุขอย่างสมบูรณ์ที่สุดของมนุษย์ เพื่อเปรียบเทียบกับความสุข
ประเภทและระดับอื่นๆ ให้เห็นลำดับขั้นความประณีตของความสุขทั้งหลาย

พระเจ้าจักรพรรดิตามอุดมคติ ทรง
มีรัตนะ ๗ และฤทธิ์ ๔ ประการ รัตนะ ๗ ประการ คือ

ทรงมีจักรแก้ว อันแสดงถึงพระราชอำนาจที่เกิดขึ้นโดยธรรม และประกอบด้วยความชอบธรรม
ทำให้พระองค์แผ่ขยายอาณาจักรแห่งความร่มเย็นออกไปได้ทั่วผืนแผ่นดิน จดขอบมหาสมุทรทั้งสี่
ทิศ ด้วยธรรมวิธี และโดยความชื่นชมยินดีของผู้ยอมรับพระราชอำนาจนั้น

ทรงมีช้างแก้ว และม้าแก้ว ซึ่งสามารถนำพระองค์เสด็จตรวจดูพระราชอาณาเขตทั่วผืนแผ่นดิน
ได้หมดสิ้นภายในเวลารวดเร็ว

ทรงมีแก้วมณี ซึ่งทรงพลังส่องแสงสว่างกว้างไกล จะให้ยกทัพใหญ่ไปยามราตรี หรือให้ราษฎรทำ
งานในยามค่ำคืนดุจเวลากลางวันก็ได้

ทรงมีนางแก้ว ซึ่งนอกจากจะมีรูปร่างผิวพรรณงดงามเหนือกว่าสตรีมนุษย์ไม่ว่านางใดแล้ว ยังมี
สัมผัสกายอันแสนวิเศษ ดังคำพรรณนาว่า นุ่มนวลละมุนดังสำลีหรือปุยนุ่น ยามหนาว กายนางก็
อุ่น ยามร้อน กายนางก็เย็น กลิ่นหอมดังกลิ่นจันทน์ กลิ่นปากก็หอมดังกลิ่นบัว อีกทั้งพูดเพราะ
รู้จักปรนนิบัติ ถูกพระทัยทุกประการ

ทรงมีขุนคลังแก้ว ผู้มีตาทิพย์มองเห็นแหล่งทรัพย์สินทั่วไป สามารถหาเงินทองมาให้พระองค์
ใช้ได้ตามพระทัยปรารถนา และ

ทรงมีปริณายกแก้ว ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในการปกครอง ไม่แต่เพียงถวายคำแนะนำในข้อ
ราชการต่างๆ ได้ถูกต้องเท่านั้น ยังสามารถบัญชางาน สั่งราชการแทนพระองค์ ได้ทุก
อย่างทุกประการอีกด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 06:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนฤทธิ์ หรือสัมฤทธิคุณ ๔ ประการ คือ พระเจ้าจักรพรรดิทรงมีพระรูปโฉมงามสง่าเหนือกว่า
มนุษย์ทั้งหลายอื่น ทรงมีพระชนมายุยืนยาวยิ่งกว่ามนุษย์อื่น ทรงมีสุขภาพแข็งแรง มีพระโรค
น้อย และประการสุดท้ายทรงเป็นที่รักของประชาราษฎร์ ซึ่งจงรักภักดีต่อพระองค์ดังลูกรัก
พ่อ และพระองค์ก็รักประชาราษฎร์ดังพ่อรักลูก เมื่อยามเสด็จไป ณ ที่ไหนๆ ประชาราษฎร์จะเฝ้า
รับเสด็จและอยากเห็นพระองค์นานๆ ไม่จืดตา และพระองค์ก็ทรงปรารถนาจะพบปะกับประชา
ราษฎร์นานๆ เช่นเดียวกัน

ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิเช่นนี้ ย่อมดีกว่า เยี่ยมกว่าความสุขของเด็กหนุ่มที่กล่าวมาแล้ว
ตลอดจนความสุขของมนุษย์ทั้งหลายโดยทั่วไป

อย่างไรก็ตาม พระพุทธเจ้าตรัสว่า แม้พระเจ้าจักรพรรดิจะทรงมีความสุขสมบูรณ์ถึงเพียงนี้ แต่
เมื่อเทียบกับความสุขอันเป็นทิพย์ในสวรรค์แล้ว ความสุขของพระเจ้าจักรพรรดิก็เป็นของเล็ก
น้อยเหลือเกิน ไม่ถึงแม้แต่เศษเสี้ยว เหมือนนำเอาก้อนหินเล็กๆ ก้อนเท่าฝ่ามือ ไปวางเทียบกับภู
เขาหิมาลัย

ถึงแม้ทิพยสุขในสรวงสวรรค์จะเป็นกามสุขที่ล้ำเลิศ ยอดเยี่ยมกว่ากามสุขของมนุษย์อย่างมาก
มาย แต่ก็ยังมีความสุขที่ประณีตล้ำลึกยิ่งกว่าทิพยสุขนั้นขึ้นไปอีก และเป็นความสุขที่ไม่ต้องอา
ศัยกาม ไม่ต้องพึ่งสิ่งเสพจากภายนอก ผู้ที่ได้ประสบความสุขอย่างนี้ประจักษ์กับตัวแล้ว ถึงแม้
มาเห็นมนุษย์ที่มีความสุขพรั่งพร้อมบริบูรณ์กำลังเสพเสวยความสุขอยู่ ก็จะไม่รู้สึกอิจฉามนุษย์นั้น
หรือนึกอยากได้ความสุขอย่างนั้นบ้างแต่ประการใดเลย เหมือนเทวดาที่เสวยทิพยสุข มาเห็นมนุษย์
เสพสุขที่ทรามกว่า จะไม่รู้สึกอิจฉาหรือนึกยินดีอยากได้แต่อย่างใด และมิใช่เพียงกามสุขของ
มนุษย์เท่านั้น แม้แต่ทิพยสุขของเทวดา ท่านก็ไม่ปรารถนา เพราะท่านได้พบความสุขที่ดีกว่า
สูงกว่าแล้ว

ในเรื่องนี้ พระพุทธเจ้าทรงเล่ากรณีของพระองค์เองเป็นตัวอย่าง ดังว่า

“ดูก่อนมาคัณฑิยะ เรานี้แหละ ครั้งก่อน เมื่อยังครองเรือนอยู่ มีกามคุณทั้งห้าพรั่งพร้อมเต็มที่
บำรุงบำเรอด้วยรูป...เสียง...กลิ่น...รส...โผฏฐัพพะทั้งหลาย...ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ
ชวนให้รัก ชักให้อยาก เย้ายวนชวนติดใจ; เรามีปราสาท ๓ หลัง ปราสาทหนึ่ง สำหรับฤดูฝน ปรา
สาทหนึ่ง สำหรับฤดูหนาว ปราสาทหนึ่ง สำหรับฤดูร้อน เรานั้นได้รับการบำเรอด้วยดนตรีทั้ง
หลาย ที่ล้วนแต่สตรี ไม่มีบุรุษเจือปนเลย อยู่ในปราสาทประจำฤดูฝน ไม่ต้องลงจากปราสาท
เลยตลอดเวลาสี่เดือน;

“สมัยต่อมา เรานั้น ได้ล่วงรู้ถึงความเกิดขึ้น ความคงอยู่ไม่ได้ คุณและโทษของกามทั้งหลาย
กับทั้งทางออกหรือภาวะรอดพ้นของมัน ตามความเป็นจริง จึงละกามตัณหา บรรเทาความร่าน
รนเพราะกามเสียได้ หมดความกระหายอยาก เป็นอยู่โดยมีจิตสงบระงับภายใน,

“เรานั้น มองเห็นสัตว์ทั้งหลายอื่น ผู้ยังไม่หมดราคะในกามทั้งหลาย ถูกกามตัณหาเกาะกิน ถูก
แผดเผาด้วยความเร่าร้อนแห่งกาม เสพเสวยกามทั้งหลายอยู่ ก็มิได้นึกใฝ่ทะยานต่อสัตว์เหล่านั้น
ไม่รู้สึกยินดีในกามนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ก็เพราะว่า เรารื่นรมย์อยู่ด้วยความชื่นชมยินดี
ที่ไม่ต้องมีกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรมทั้งหลาย จึงไม่ใฝ่ทะยานถึงความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกยินดี
ในความสุขที่ทรามกว่านั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 มิ.ย. 2021, 06:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


“ดูก่อนมาคัณฑิยะ เปรียบเหมือนว่า คฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี ผู้มั่งคั่ง ร่ำรวยทรัพย์ มีโภคะมาก
มีกามคุณทั้ง ๕ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ ได้รับการบำรุงบำเรอ...เขาประพฤติสุจริต...เข้าถึงสุคติโลก
สวรรค์ ในหมู่เทวดาชั้นดาวดึงส์; เทพบุตรนั้น แวดล้อมด้วยหมู่นางอัปสร มีกามคุณ ๕ อันเป็น
ทิพย์ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ ปรนเปรออยู่ ในสวนสวรรค์นันทวัน, เทพบุตรนั้นมองเห็นคฤหบดีหรือ
บุตรคฤหบดีที่มีกามคุณ ๕ พรั่งพร้อมบริบูรณ์ บำรุงบำเรออยู่ เธอจะเห็นประการใด? เทพบุตร
นั้น...จะนึกอิจฉาต่อคฤหบดีหรือบุตรคฤหบดี หรือใฝ่ทะยานต่อกามคุณทั้ง ๕ อย่างของมนุษย์
หรือจะประหวัดใจถึงกามทั้งหลายอย่างมนุษย์ หรือหาไม่

“ไม่เลย ท่านพระโคดมผู้เจริญ, เพราะเหตุใด, ก็เพราะกามทั้งหลายที่เป็นทิพย์ ดีเยี่ยมกว่า ประ
ณีตกว่ากามทั้งหลายอย่างของมนุษย์

“ดูก่อนมาคัณฑิยะ ฉันนั้นเหมือนกัน เรานั้น...ไม่นึกใฝ่ทะยานต่อสัตว์ทั้งหลายเหล่านั้น ไม่รู้สึกยิน
ดีในกามนั้น...ก็เพราะเรารื่นรมย์อยู่ ด้วยความชื่นชมยินดี ที่ไม่ต้องมีกาม ไม่ต้องมีอกุศลธรรม
อีกทั้งเป็นสุขเหนือกว่าทิพยสุข จึงไม่ใฝ่ทะยานต่อความสุขที่ทรามกว่า ไม่นึกยินดีในความสุข
ที่ทรามกว่านั้น”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร