วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 07:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


จุดที่มักเขวหรือเข้าใจพลาด เกี่ยวกับนิพพาน

๑. ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น

กระบวนธรรมฝ่ายก่อทุกข์ อาจเรียกชื่อตามองค์ธรรมที่เป็นตัวการสำคัญว่า กระบวนธรรมฝ่าย
อวิชชา-ตัณหา ส่วนกระบวนธรรมฝ่ายดับทุกข์ ก็อาจเรียกชื่อตามองค์ธรรมที่สำคัญว่า กระบวน
ธรรมฝ่ายวิชชา-วิมุตติ ถ้าเรียกอย่างง่ายๆ ฝ่ายแรก คือ ไม่รู้ จึงติด ฝ่ายหลังเป็น พอรู้ ก็หลุด

ในฝ่ายอวิชชา–ตัณหา นั้น องค์ธรรมที่เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาเข้าไป หรือนำไปสู่ชาติภพ ก็คือ อุปาทาน
ที่แปลว่า ความถือมั่น ความยึดมั่น หรือความยึดติดถือมั่น ส่วนในฝ่ายวิชชา–วิมุตติ องค์ธรรมที่
เป็นขั้วต่อ ซึ่งพาออกไป หรือเป็นจุดแยกออกจากสังสารวัฏฏ์ ได้แก่ นิพพิทา แปลกันว่า ความ
หน่าย คือหมดใคร่ หายอยาก หรือหายติด องค์ธรรมสองฝ่ายนี้ มาจับคู่ตรงข้ามกัน เป็น อุปาทาน
กับ นิพพิทา

อุปาทาน เกิดจากอวิชชา ที่ไม่รู้จักสิ่งนั้นๆ ตามสภาวะที่แท้จริง เปิดทางให้ตัณหาอยากได้ใคร่จะเอา
มาครอบครองเสพเสวย แล้วเอาตัวตนเข้าผูกพันถือมั่นถือหมายว่าต้องเป็นอย่างนั้น ต้องเป็นอย่างนี้
ที่เรียกว่าอุปาทาน

ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจสิ่งที่เคยยึดติดถือมั่นไว้นั้นตามสภาวะ ว่ามีข้อเสียข้อบกพร่อง
ไม่ปลอดภัยอย่างไรๆ เป็นสิ่งที่ไม่น่า และไม่อาจจะเอาตัวเข้าไปผูกพันไว้ แล้วเกิดความหน่าย หมด
ความเพลิดเพลินติดใจ อยากจะผละออกไปเสีย

จะเห็นว่า อุปาทาน เกิดสืบเนื่องมาจากอวิชชา ความไม่รู้สภาวะ ส่วนนิพพิทา เกิดจากความรู้เข้าใจ
ตามเป็นจริง ซึ่งท่านมีศัพท์เฉพาะให้ว่า ยถาภูตญาณทัสสนะ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ข้อที่พึงย้ำในที่นี้ก็คือ การที่นิพพิทาจะเกิดขึ้น หรือการที่จะถอนทำลายอุปาทานได้นั้น เป็นเรื่องที่
เกิดจากความรู้ความเข้าใจ คือ เมื่อรู้เข้าใจสภาวะแล้ว นิพพิทาก็เกิดเอง อุปาทานก็หมดไปเอง เป็น
เรื่องของกระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย หรือภาวะที่เป็นไปเองตามเหตุปัจจัยของมัน

บางทีเราสอนกันว่า จงอย่ายึดมั่นถือมั่น หรือว่า อย่ายึดมั่นกันไปเลย หรือว่า ไม่ยึดมั่นถือมั่นเสียเท่า
นั้น ก็หมดเรื่อง การสอนเช่นนี้เป็นสิ่งที่ดี และควรสอนกัน แต่พร้อมนั้นก็จะต้องระลึกถึงหลักการ
ที่กล่าวแล้วข้างต้นด้วย คือจะต้องพยายามให้ความที่จะไม่ยึดมั่นนั้น เกิดขึ้นโดยถูกต้องตามทาง
แห่งกระบวนธรรม มิฉะนั้นก็อาจกลายเป็นการปฏิบัติผิดพลาดและมีโทษได้ โทษที่จะเกิดขึ้นนี้คือ
“ความยึดมั่น ในความไม่ยึดมั่น”

การปฏิบัติด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น ย่อมก่อให้เกิดโทษได้ เช่นเดียวกับการกระทำด้วย
ความยึดมั่นโดยทั่วไป

สมมติว่า มีห่อของอยู่ห่อหนึ่ง ห่อด้วยผ้าสีสวยงามเรียบร้อยเป็นอย่างดี วางไว้ในตู้กระจกที่ปิดใส่กุญ
แจไว้ ชายผู้หนึ่งเชื่ออย่างสนิทใจว่าในห่อนั้นมีของมีค่า เขาอยากได้ ใจจดจ่ออยู่ แต่ยังเอาไม่ได้
เขาพะวักพะวนวุ่นวายอยู่กับการที่จะเอาของนั้น เสียเวลาเสียการเสียงานมาก ต่อมามีคนที่เขานับ
ถือมาบอกว่า ในห่อนั้นไม่มีของมีค่าอะไร ไม่น่าเอา และการที่เขาอยากได้อยากเอาพะวงวุ่นวายอยู่นั้น
ไม่ดีเลย ทำให้เกิดความเสียหายมาก ใจหนึ่งเขาอยากจะเชื่อคำบอกของคนที่นับถือ และเขาก็เห็น
ด้วยว่าการพะวงวุ่นวายอยู่นั้นไม่ดีมีโทษมาก แต่ลึกลงไป เขาก็ยังเชื่อว่า คงต้องมีของมีค่าเป็นแน่

เมื่อยังเชื่ออยู่ เขาก็ยังอยากได้ ยังเยื่อใย ยังตัดใจไม่ลง แต่เขาพยายามข่มใจเชื่อตามคนที่เขานับ
ถือและแสดงให้คนอื่นๆ เห็นว่า เขาเชื่อตามเห็นตามคำของคนที่เขานับถือนั้นแล้ว เขาจึงแสดงอาการ
ว่าเขาไม่อยากได้ เขาไม่ต้องการเอาของห่อนั้น

สำหรับคนผู้นี้ ถึงเขาจะยืนตะโกน นั่งตะโกนอย่างไรๆ ว่า ฉันไม่เอาๆ ใจของเขาก็คงผูกพัน เกาะเกี่ยว
อยู่กับห่อของนั้นอยู่นั่นเอง และบางที เพื่อแสดงตัวให้คนอื่นเห็นว่าเขาไม่ต้องการของนั้น เขาไม่อยาก
ได้ เขาจะไม่เอาของนั้น เขาอาจแสดงกิริยาอาการที่แปลกๆ ที่เกินสมควร อันนับได้ว่ามากไป กลาย
เป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้ นี้เป็นตอนที่หนึ่ง

ต่อมา ชายผู้นั้นมีโอกาสได้เห็นของที่อยู่ในห่อ และปรากฏว่าเป็นเพียงเศษผ้าเศษขยะจริงตามคำของ
คนที่เขานับถือเคยพูดไว้ ไม่มีอะไรมีค่าควรเอา เมื่อเขารู้แน่ประจักษ์กับตัวอย่างนี้แล้ว เขาจะหมด
ความอยากได้ทันที ใจจะไม่เกาะเกี่ยว ไม่คิดจะเอาอีกต่อไป

คราวนี้ ถึงเขาจะพยายามบังคับใจของเขาให้อยากได้ ข่มฝืนให้อยากเอา ถึงจะเอาเชือกผูกตัวติดกับ
ของนั้น หรือหยิบของนั้นขึ้นมา ร้องตะโกนว่าฉันอยากได้ ฉันจะเอา ใจก็จะไม่ยอมเอา

ต่อจากนี้ไป ใจของเขาจะไม่มาวกเวียนติดข้องอยู่กับห่อของนั้นอีก ใจของเขาจะเปิดโล่งออกไป พร้อม
ที่จะมองจะคิดจะทำการอื่นๆ ได้อย่างเต็มที่สืบไป นี้เป็นตอนที่สอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่ง เปรียบได้กับพฤติกรรมของปุถุชน ผู้ยังมีความอยากและความ
ยึดอยู่ด้วยตัณหา อุปาทาน เขาได้รับคำสั่งสอนทางธรรมว่า สิ่งทั้งหลายที่อยากได้ มั่นหมายยึด
เอานั้น มีสภาวะแท้จริงที่ไม่น่าอยากไม่น่ายึด และความอยากความยึดถือก็มีโทษมากมาย เขา
เห็นด้วยโดยเหตุผลว่า ความอยากได้และความถือมั่นไว้มีโทษมาก และก็อยากจะเชื่อว่า สิ่งทั้ง
หลายที่อยากได้ ล้วนมีสภาวะซึ่งไม่น่าฝันใฝ่ใคร่เอา แต่ก็ยังไม่มองเห็นเช่นนั้น ลึกลงไปในใจ
ก็ยังมีความอยากความยึดอยู่นั่นเอง แต่เพราะอยากจะเชื่อ อยากจะปฏิบัติตาม หรืออยาก
แสดงให้เห็นว่าได้ปฏิบัติตามคำแนะนำทางธรรมนั้น เขาจึงแสดงออกต่างๆ กระทำการต่างๆ
ให้เห็นว่า เขาไม่อยากได้ไม่ยึดติด ไม่คิดจะเอาสิ่งทั้งหลายที่น่าใคร่น่าพึงใจเหล่านั้น

ในกรณีนี้ ความไม่อยากได้ไม่อยากเอา หรือไม่ยึดติดของเขา มิใช่ของแท้จริงที่เป็นไปเองตาม
ธรรมดาของธรรมชาติ เป็นเพียงสัญญาแห่งความไม่ยึดมั่น ที่เขาเอามายึดถือไว้ เขาเข้าใจ
ความหมายของความไม่ยึดมั่นนั้นอย่างไร ก็พยายามปฏิบัติหรือทำการต่างๆ ไปตามนั้น ความไม่
ยึดมั่นของเขา จึงเป็นเพียงความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น และการกระทำของเขา ก็เป็นการกระ
ทำด้วยความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่น

การกระทำเช่นนี้ย่อมมีโทษ คือ อาจกลายเป็นการกระทำอย่างเสแสร้ง หลอกตนเอง หรือเกินเลย
ของจริง ไม่สมเหตุผล อาจถึงกับเป็นพฤติกรรมวิปริตไปก็ได้

ความเทียบเคียงในตอนที่สอง เปรียบได้กับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยถูกต้อง ตามธรรมดาแห่งกระ
บวนธรรม เป็นธรรมชาติ เป็นไปเองตามเหตุปัจจัย คือเกิดจากความรู้แจ้งประจักษ์ ตามหลักการ
ที่ว่า เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมแล้ว ผลก็เกิดขึ้นเอง จำเป็นจะต้องเกิด ถึงฝืนก็ไม่อยู่ คือ เมื่อรู้สภาวะของ
สังขารทั้งหลายแท้จริงแล้ว จิตก็หลุดพ้น หมดความยึดติดเอง

ถามว่า ถ้าอย่างนั้น ปุถุชน เมื่อยังไม่เกิดญาณทัสสนะ จะพยายามปฏิบัติตามหลักความไม่
ยึดมั่นถือมั่นบ้างไม่ได้หรือ ตอบว่าได้ และควรอยู่ เพราะเพียงมองเห็นโทษของความยึดมั่น ก็นับ
ว่าเป็นประโยชน์แล้ว แต่ข้อสำคัญ จะต้องมีสติรู้ระลึกไว้ว่า นี้เราอยู่เพียงในขั้นของความยึดมั่นใน
ความไม่ยึดมั่นเท่านั้น เมื่อจะทำอะไร อาจบอกตัวเองว่า เราจะทำการนี้ด้วยความไม่ยึดมั่น พร้อม
นั้นก็ระลึกไว้ด้วยว่า เราจะทำไปตามเหตุตามผล ไม่หลงไปตามความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนั้น
พยายามทำการด้วยปัญญา ด้วยความรู้ความเข้าใจให้มากที่สุด

เพียงเท่านี้ ก็จะเป็นการกระทำที่เป็นคุณ ผลดีที่จะได้ในระดับนี้ก็คือ เป็นการฝึกตน เป็นการปูพื้นฐาน
สำหรับความไม่ยึดมั่นที่แท้จริงต่อไป และผลเสียจากการกระทำที่เลยเถิด เกินไป หรือมากไป หรือ
หลอกตัวเอง ก็จะไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเข้าใจผิดเห็นไปว่า นี่แหละคือความไม่ยึดมั่น ก็จะผิดพลาด เกิด
ผลเสียได้ทันที

ความยึดมั่นในความไม่ยึดมั่นนี้ มิใช่มีเฉพาะในด้านดีเท่านั้น มีตัวอย่างผู้จะเอาไปใช้ในทางชั่วร้าย
ด้วย เช่นผู้ที่พูดว่า สิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน ชีวิตคนเป็นเพียง มาประกอบกันเข้า ไม่มี
อะไรจะพึงยึดถือ ไม่มีนาย ก. ไม่มีนาง ข. เมื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นแล้ว จะฆ่าจะฟันใคร ก็ไม่มีบาป
ดังนี้เป็นต้น

นี้คือตัวอย่างของการที่ผู้มีกิเลส ยกเอาสภาวธรรมขึ้นมาเป็นข้ออ้าง สำหรับการกระทำด้วยความ
ยึดมั่นถือมั่นของตน ถ้าไม่มีความยึดมั่นในคนที่จะถูกฆ่า ถ้าไม่มีเจตนายึดมั่น ที่เจาะจงมุ่งร้ายต่อ
เป้าของการกระทำ จะมีการยกศัสตราวุธขึ้นตัดผ่าหรือพุ่งใส่ได้อย่างไร การกระทำอย่างนี้ เป็น
เพียงการกระทำด้วยความยึดมั่นถือมั่นอย่างรุนแรงเท่านั้นเอง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 07:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อนึ่ง ขอย้อนไปกล่าวถึงความเทียบเคียงข้างต้น ความจริง ระหว่างความเทียบเคียงสองตอน
ข้างต้นนั้น ยังมีตอนแทรกกลางได้อีกตอนหนึ่ง กล่าวคือ ชายผู้อยากได้ห่อของที่เขาเชื่อว่ามีของ
มีค่านั้น เมื่อคนที่เขานับถือบอกเขาว่า ในห่อนั้น ไม่มีของมีค่าอะไร มีแต่เศษผ้าเศษขยะ และได้
ชี้แจงเหตุผลเล่าถึงความเป็นมาของห่อของนั้นว่า เขาได้เห็นของตั้งแต่ก่อนเอาเข้าห่อ ตลอดถึงว่า
ห่อของนั้นมาอยู่ที่นั่นได้อย่างไร ด้วยเหตุผลหรือความประสงค์อะไร เมื่อชายนั้นมองเห็นเหตุผล
แจ่มชัดตามคำชี้แจงของคนผู้นั้นแล้ว อาจเชื่อสนิทด้วยความมั่นใจในเหตุผลว่า ในห่อนั้นไม่มี
ของมีค่าอย่างแน่นอน

ความเชื่อด้วยความมั่นใจในเหตุผลอย่างนี้ ย่อมมีผลต่อความรู้สึกนึกคิดและพฤติกรรมของชาย
ผู้นั้นได้มาก แม้ว่าเขาจะยังไม่หมดความยึดมั่นถือมั่นโดยสิ้นเชิงเหมือนอย่างความเทียบเคียงใน
ตอนที่สอง แต่ก็เหลือเพียงเยื่อใยที่นับว่าน้อย ต่างจากความเทียบเคียงในตอนที่หนึ่งอย่างมาก
ความเทียบเคียงในตอนแทรกนี้ เปรียบได้กับระดับจิต หรือระดับความรู้และความคิด ของพระอริย
บุคคลชั้นต้นๆ คือ พระโสดาบัน ถึงอนาคามี ซึ่งอยู่กลางระหว่างปุถุชนกับพระอรหันต์

ตัวอย่างในชีวิตประจำวันที่พอจะเห็นได้ง่ายในเรื่องนี้ เช่น ความประหม่า และความกลัว คนที่ประ
หม่าบางคน ทั้งที่โดยเหตุผลก็ไม่เห็นมีอะไรน่าจะประหม่า ก็อดประหม่าไม่ได้ บางทีถึงกับโกรธว่า
ตนเอง ว่าจะประหม่าไปทำไม แต่ก็บังคับไม่ให้ประหม่าไม่ได้ หรือคนขลาด แม้อยู่ในที่ปลอดภัย
ตนเองก็มองเห็นตามเหตุผลว่าไม่มีอะไรที่ต้องกลัว และก็คิดว่า หรือตั้งใจว่า ถึงมีอะไร ก็จะไม่กลัว
แต่พอได้ยินเสียงเสือร้อง หรือเสียงสัญญาณภัย ก็สะดุ้ง หรือสั่นสะท้าน หรือตัวเย็นวาบ บังคับตัว
เองไม่ได้

ภาวะเช่นนี้ มิใช่จะถอนได้เพียงด้วยความคิดตามเหตุผล แต่จะต้องใช้สิ่งที่เรียกว่าความเข้าถึง

๒. ลักษณะที่ชวนให้สับสน หรือหลงเข้าใจผิด

มนุษย์ปุถุชนทั่วไป มีชีวิตที่วุ่นวายกับความเป็นอยู่ด้านกาย ความเป็นไปทางวัตถุ เรื่องราวและเหตุ
การณ์ที่มักเครียดและร้อนรุม เมื่อพบปรากฏการณ์ที่เห็นว่าพ้นวิสัยกาย เหนือวัตถุ และลักษณะ
อาการที่สงบเย็น ดูลึกซึ้ง อันเห็นว่าเป็นผลสำเร็จทางจิต เป็นภาวะที่แปลกสะดุด ก็รู้สึกประทับ
ใจได้ง่าย และเพราะขาดความรู้พื้นฐานทางด้านจิตใจ ก็ไม่สามารถแยกแยะพิจารณาว่าอัน
ไหนเป็นอย่างไร จึงหลงเอาผลสำเร็จต่างระดับต่างประเภทมาสับสนปนเปกัน

อย่าว่าแต่ปุถุชนสามัญผู้เข้ามาเห็นเข้ามาเกี่ยวข้องจะหลงเลย แม้แต่ตัวผู้ปฏิบัติได้ผลสำเร็จเหล่า
นั้นเองก็หลงสับสนได้มาก ดังนั้น ความรู้ที่จะจำแนกให้ถูกต้อง หรืออย่างน้อย การมีความเข้าใจพื้น
ฐาน ที่จะให้มีสติยั้งพิจารณาไตร่ตรองเสียก่อน จึงมีประโยชน์ที่จะช่วยป้องกันความหลงผิดและการ
ปฏิบัติพลาด พร้อมทั้งผลเสียอื่นๆ ที่จะเกิดตามมา

ผู้ที่ได้ฤทธิ์ มีอิทธิปาฏิหาริย์ ก็ทำให้คนซึ่งนิยมในทางศักดิ์สิทธิ์อัศจรรย์ ชื่นชมว่าคงเป็นผู้บรรลุธรรม
สูงสุด ผู้ใฝ่ทางวิเวก เมื่อได้ไปทำความเพียรอบรมจิตอยู่ในที่ห่างไกลอันสงัด แม้เพียงได้ดื่มด่ำในรสวิเวก
ยังไม่บรรลุคุณธรรมพิเศษอะไร ก็มีท่วงทีสงบเยือกเย็นชวนเลื่อมใส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ค. 2021, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ยิ่งถ้าได้บรรลุผลของสมถะ ได้ฌานสมาบัติ ก็ยิ่งลึกซึ้งมั่นคง น่าเชื่อถือมากขึ้น ทั้งตนเองก็อาจ
เคลิ้มใจไขว้เขวเอาสมถะเป็นวิปัสสนา บางทีก็ปล่อยความคิดแล่นเลยไปว่าตนได้ประสบ
อริยผลแล้ว

ส่วนท่านที่ปฏิบัติทางด้านวิปัสสนา บางทีก้าวไปไกลถึงวิปัสสนาสุข ซึ่งเป็นอุปกิเลสของวิปัสสนา
แต่ไปชะงักหลงผิดเสียว่า นั่นเป็นนิพพาน ครั้นคนทั้งหลายเห็นลักษณะอาการสงบลึกซึ้งเลื่อมใส
พากันยกย่อง ก็ลุ่มหลงลอยไป

ทั้งหมดนี้ ล้วนเป็นข้อที่ควรระวัง การที่ระวังนั้น มิใช่เพื่อจะให้คอยระแวงสงสัย หรือคอยหาทาง
จับผิดดูถูกดูแคลนกัน เพราะย่อมเป็นการสมควร ที่จะแสดงความเลื่อมใส แก่ผู้น่าเลื่อมใส แต่
การรู้ไว้อย่างนี้ จะเป็นเครื่องช่วยให้ได้รับประโยชน์ตามที่ถูกที่ควร พอเหมาะพอดีกับระดับของ
ประโยชน์ที่สิ่งนั้นมีให้ หรือสามารถให้ได้ ไม่หลงเลยไปจากประโยชน์ จนกลายเป็นโทษ ไม่
ชวนกันลุ่มหลง ทั้งฝ่ายผู้ปฏิบัติ และผู้เลื่อมใสการปฏิบัติ พากันจมดิ่งลงในลัทธิฤาษีชีไพร หรือ
มิจฉาปฏิบัติอื่นๆ

๓. ความสุข กับความพร้อมที่จะมีความสุข

ความสุขเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่งในทางจริยธรรม และพระพุทธศาสนาก็สนับสนุนให้ปฏิ
บัติเพื่อเข้าถึงภาวะที่จะเสวยความสุขได้ในระดับต่างๆ มากมายหลายระดับ โดยเฉพาะ
เน้นให้พยายามบรรลุความสุขประณีตด้านใน ที่ไม่ต้องอิงอาศัยอามิส ซึ่งมีประโยชน์ในทาง
จริยธรรมมาก (กามสุขไม่จำเป็นต้องสนับสนุน เพราะคนคอยแต่จะหมกมุ่นกันเกินพออยู่แล้ว)
แต่กระนั้นก็ไม่สนับสนุนให้ติดพันในความสุขชนิดใดๆ เลย

ยิ่งกว่านั้น พุทธศาสนาสนใจการสร้างความพร้อมที่จะมีความสุข หรือการทำตนให้พร้อมที่จะมี
ความสุข มากยิ่งกว่าการสร้างภาวะแห่งการเสวยสุขต่างระดับต่างประเภทนั้นเสียอีก

ภาวะพร้อมที่จะมีความสุขนี้ เมื่อบรรลุถึงแล้ว ผู้บรรลุสามารถเลือกเสวยความสุขระดับต่างๆ ที่
ตนเองสร้างไว้ก่อนแล้วได้ตามที่พอใจ

อนึ่ง ภาวะพร้อมที่จะเสวยสุขนี้ เป็นความสุขเองด้วยในตัว และเป็นความสุขที่เหนือกว่าสุขอื่นทั้ง
หมด ทั้งนี้ เพราะมันไม่มีสิ่งที่เป็นเชื้อมูลของความทุกข์เหลือติดอยู่เลย และเพราะการที่ไม่มีเชื้อ
ทุกข์เหลืออยู่นี้เอง จึงกลับทำให้ผู้บรรลุ สามารถเสวยความสุขอย่างอื่นได้อย่างดีโดยสมบูรณ์
คือทำให้ความสุขเหล่านั้นไม่เป็นทางก่อโทษก่อทุกข์แก่ผู้เสวยมันหรือผู้ใดอื่นได้อีก

ภาวะพร้อมที่จะเสวยสุข ซึ่งเป็นความสุขด้วยในตัวของมันเองนี้ คือลักษณะสำคัญอย่างหนึ่งของ
นิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 5 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร