วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:29  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 12:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


เจโตวิมุตติ – ปัญญาวิมุตติ

เรื่องวิมุตติ ได้พูดถึงบ้างแล้วในตอนว่าด้วยไวพจน์ของ พระนิพพาน และภาวะของผู้บรรลุ
นิพพาน แต่เห็นควรกล่าวถึงโดยเฉพาะอีกครั้งหนึ่ง เพื่อช่วยให้เข้าใจความหมายชัดเจนตลอด
สายยิ่งขึ้น

วิมุตติ หรือความหลุดพ้นนั้น ในระดับสูงสุด ใช้ในความหมายต่างกัน แยกได้เป็น ๓ อย่าง คือ

อย่างแรก การหลุดพ้น กิริยาที่หลุดพ้นออกมาได้ หรืออาการที่เป็นไปในขณะหลุดพ้นเป็นอิสระ
วิมุตติในความหมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็น มรรค

อย่างที่สอง ความเป็นผู้หลุดพ้น คือความเป็นอิสระในเมื่อหลุดพ้นออกมาได้แล้ว วิมุตติในความ
หมายอย่างนี้ ท่านเรียกว่าเป็น ผล

อย่างที่สาม ภาวะแห่งความเป็นผู้หลุดพ้น ภาวะแห่งความเป็นอิสระที่ผู้หลุดพ้นหรือผู้เป็นอิสระ
นั้นเข้าถึง และรู้สึกได้ ซึ่งอำนวยความดีงามต่างๆ มีความสุขสบายปลอดโปร่งโล่งใจเป็นต้น
และภาวะแห่งความเป็นอิสระเช่นนั้น ที่ผู้ยังไม่หลุดพ้นกำหนดเป็นอารมณ์ เช่น นึกถึง คำนึงถึง
หน่วงเอาเป็นจุดหมายในใจ เป็นต้น วิมุตติในความหมายอย่างนี้ คือที่ใช้เป็นไวพจน์ของนิพพาน
คือหมายถึง นิพพาน นั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในความหมาย ๓ อย่างนั้น ข้อที่ถือว่าเป็นความหมายจำเพาะกว่าอย่างอื่น หรือ
เป็นเรื่องของวิมุตติเองแท้ๆ ก็คือ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล และคำว่าผล ในที่นี้ ตามปกติ
หมายถึงอรหัตตผล (ความสำเร็จเป็นพระอรหันต์ ในเมื่อละได้หมดสิ้น จิตพ้นจากอาสวะทั้ง
หลายแล้ว)

ส่วนในความหมายที่เป็นมรรค ก็มีธรรมข้ออื่นเป็นเจ้าของเรื่องอยู่แล้ว โดยเฉพาะวิชชาและ
วิราคะ ซึ่งมักมาคู่กันกับวิมุตตินี้ โดยวิชชาเป็นมรรค หรือไม่ก็วิราคะเป็นมรรค วิมุตติเป็นผล

ส่วนในความหมายที่เป็นนิพพาน วิมุตติก็เป็นเพียงไวพจน์ ซึ่งมีนิพพานเป็นคำยืนอยู่แล้ว

วิมุตติที่เป็นผล โดยเฉพาะอรหัตตผลนั้น ท่านมักแยกให้เห็นชัดเป็น ๒ ด้าน คือ เป็น เจโตวิมุตติ
และ ปัญญาวิมุตติ

เจโตวิมุตติ คือความหลุดพ้นทางด้านจิต แปลกันว่า ความหลุดพ้นแห่งจิต หรือความหลุดพ้นด้วย
กำลังจิตคือ ด้วยสมาธิ หมายถึง ภาวะจิตที่ประกอบด้วยสมาธิ ซึ่งกำราบราคะลงได้ ทำให้หลุด
พ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งหลาย (ราคะ ในที่นี้ และในบาลีทั่วไป ไม่มีความหมายแคบอย่าง
ที่เข้าใจกันในภาษาไทย คือ ไม่ใช่เรื่องกามเท่านั้น แต่หมายถึง ความติดใจ ความใคร่ ในอารมณ์
ต่างๆ ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เป็นไวพจน์ของตัณหา และกินความถึงโทสะด้วย เพราะโทสะ
ก็คือแรงผลักที่เป็นปฏิกิริยาของราคะนั่นเอง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 12:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ปัญญาวิมุตติ คือ ความหลุดพ้นด้านปัญญา แปลกันว่า ความหลุดพ้นด้วยปัญญา แต่ควรแปล
ว่า ความหลุดพ้นแห่งปัญญาด้วย เพราะหมายถึง ปัญญาบริสุทธิ์ หรือความรู้ถูกต้องสมบูรณ์ ไม่มี
กิเลสบดบังหรือบิดเบือน ซึ่งเกิดขึ้นแก่ผู้บรรลุอรหัตตผล ในเมื่อปัญญานั้นกำจัดอวิชชาได้แล้ว
ทำให้ผู้นั้นหลุดพ้นจากกิเลสเครื่องผูกมัดทั้งปวง ดังบาลีว่า “เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโต
วิมุตติ เพราะสำรอกอวิชชาได้ จึงมีปัญญาวิมุตติ”

อรรถกถาอธิบายว่า เจโตวิมุตติ ได้แก่ ผลสมาธิ หรืออรหัตตผลสมาธิ หรืออรหัตตผลจิต (สมาธิ
หรือจิตอันตั้งมั่น ที่เป็นผลแห่งการสำเร็จเป็นพระอรหันต์) และว่า ปัญญาวิมุตติ ได้แก่ ผลญาณ
หรือผลปัญญา หรืออรหัตตผลญาณ หรืออรหัตตผลปัญญา๒ (ฌานหรือปัญญาที่เป็นผลแห่ง
การสำเร็จเป็นพระอรหันต์)

ผู้บรรลุอรหัตตผล จะต้องได้เจโตวิมุตติ และปัญญาวิมุตตินี้ ครบทั้งสองอย่างทุกบุคคล คำทั้ง
สองนี้จึงมาคู่กันเสมอ ในข้อความที่กล่าวถึงการบรรลุอรหัตตผล ดังบาลีว่า “เพราะอาสวะทั้ง
หลายสิ้นไป จึงทำให้เห็นประจักษ์ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ ที่ไม่มี
อาสวะ ในปัจจุบันนี้ทีเดียว”

เจโตวิมุตติเป็นผลของสมถะ ปัญญาวิมุตติเป็นผลของวิปัสสนา พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า
คำคู่นี้แสดงให้เห็นว่า สมถะและวิปัสสนา จะต้องมาควบคู่กัน แม้ในขั้นผล เช่นเดียวกับในขั้น
มรรค (แม้ว่าสมถะที่ต้องการในที่นี้ อาจจะเป็นเพียงสมถะในความหมายอย่างกว้างๆ คือ
สมาธิเท่าที่จำเป็นเท่านั้น ไม่จำต้องเป็นสมถะที่ฝึกกันเป็นงานเป็นการจนได้อภิญญาสมาบัติ)
ข้อนี้สมด้วยบาลีว่า

“ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ เป็นวิชชาภาคิยธรรม (ธรรมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา หรือธรรม
ข้างฝ่ายวิชชา คือธรรมที่ช่วยสนับสนุนให้เกิดวิชชา) ได้แก่ สมถะ และ วิปัสสนา”

“สมถะ เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) จิตจะได้รับการเจริญ, จิตเจริญแล้ว จะได้ประ
โยชน์อะไร? (ตอบ) ละราคะได้”

“วิปัสสนา เจริญแล้ว จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) ปัญญาจะได้รับการเจริญ, ปัญญาเจริญแล้ว
จะได้ประโยชน์อะไร? (ตอบ) ละอวิชชาได้”

“ภิกษุทั้งหลาย จิตที่เศร้าหมองด้วยราคะ ย่อมไม่หลุดพ้น หรือปัญญาก็ดีที่เศร้าหมองด้วยอวิชชา
ย่อมเจริญไม่ได้, ด้วยประการดั่งนี้ เพราะสำรอกราคะได้ จึงมีเจโตวิมุตติ, เพราะสำรอกอวิชชาได้
จึงมีปัญญาวิมุตติ”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 14:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


มีทั้ง เจโตวิมุตติและ ปัญญาวิมุตติ มาด้วยกันครบสองอย่าง จึงเป็นวิมุตติที่สมบูรณ์ อย่างไรก็ตาม
ถ้าพิจารณาให้ลึกลงไป ย่อมเห็นละเอียดยิ่งขึ้นไปอีก

ดังที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ผู้ปฏิบัติธรรมจะบำเพ็ญแต่สมถะอย่างเดียวก็ได้ และสมถะที่บำเพ็ญ
เช่นนั้น ย่อมสามารถให้เกิดสมาธิขั้นสูง ถึงฌานสมาบัติ ซึ่งในภาวะเช่นนั้น กิเลสทั้งหลายย่อม
สงบระงับไป เป็นการหลุดพ้นได้อย่างหนึ่ง แต่หลุดพ้นได้เพียงชั่วคราว ผู้บำเพ็ญสมถะจึงต้อง
ก้าวต่อไปสู่วิปัสสนา คือเจริญปัญญาด้วย จึงจะหลุดพ้นได้แท้จริง

ความข้อนี้ชี้ให้เห็นว่า เจโตวิมุตติอาจมีได้ในกรณีอื่น แม้ที่มิใช่เป็นการบรรลุมรรคผล แต่เจโต
วิมุตติในกรณีเช่นนั้น ย่อมจะมิใช่เจโตวิมุตติที่เด็ดขาดแน่นอน ดังนั้น ตัวตัดสินที่แท้จริง จึง
ได้แก่ปัญญาวิมุตติ ซึ่งทำลายอวิชชาลงไปโดยลำดับ กำจัดกิเลสเด็ดขาดไปเป็นขั้นๆ
ปัญญาวิมุตติมาเมื่อใด ก็หมายถึงวิมุตติที่เด็ดขาดแท้จริงเมื่อนั้น ยิ่งมีคำว่าอนาสวะประกอบ
ด้วย ก็หมายถึงวิมุตติขั้นสูงสุด ที่สมบูรณ์สิ้นเชิง แต่การที่ปัญญาวิมุตติมาควบคู่กับ
เจโตวิมุตติ ก็เพราะต้องอาศัยเจโตวิมุตติเป็นเครื่องเตรียมจิตให้พร้อมเท่านั้นเอง

เท่าที่พูดมาตอนนี้ ต้องการเน้นความ ๒ ประการ คือ

๑. ปัญญาวิมุตติ ใช้ในกรณีเดียว คือ หมายถึงความหลุดพ้นที่เด็ดขาดแน่นอน จะมาคู่กับ
เจโตวิมุตติอย่างนี้เสมอ ส่วนเจโตวิมุตติ อาจใช้ในกรณีอื่นด้วย ดังนั้น ถ้าหมายถึงความหลุด
พ้นเด็ดขาดขั้นมรรคผลตั้งแต่โสดาปัตติผล ขึ้นไป จะต้องมาด้วยกันกับปัญญาวิมุตติอย่าง
ข้างต้นนี้ หรือมิฉะนั้น ก็ต้องมีคำวิเศษณ์กำกับไว้ด้วยอย่างใดอย่างหนึ่ง สำหรับระบุให้ชัดว่า
เป็นขั้นสุดท้ายเด็ดขาด (เช่น อกุปปา = ไม่กำเริบ, อสมย = มิใช่ชั่วครั้งชั่วคราว เป็นต้น) ดังจะ
ได้กล่าวต่อไป แต่ถ้ามาคำเดียวตามลำพัง หรือมีคำอย่างอื่นกำกับ ย่อมมิใช่เจโต-วิมุตติขั้น
สุดท้าย ที่เด็ดขาดสมบูรณ์

๒. เมื่อกล่าวถึงบุคคลผู้บรรลุอรหัตตผล โดยแบ่งเป็น ปัญญาวิมุต กับ อุภโตภาควิมุต นั้น พึงเข้า
ใจว่า ปัญญาวิมุต ซึ่งดูเสมือนจะให้แปลว่า ผู้ได้ปัญญาวิมุตติอย่างเดียวนั้น อันที่จริงย่อมได้
เจโตวิมุตติด้วย เพราะการได้ปัญญาวิมุตติ ส่อความคุมถึงอยู่แล้วว่าต้องได้เจโตวิมุตติด้วย
เป็นแต่หมายถึงเจโตวิมุตติแบบที่อาศัยสมาธิเพียงเท่าที่จำเป็น ซึ่งจะต้องมีเป็นธรรมดาอยู่แล้ว
ก่อนที่จะได้ปัญญาวิมุตติ จึงไม่ต้องระบุให้เด่นชัดออกมา เหมือนกับพูดว่า ผู้เจริญวิปัสสนาอย่าง
เดียว แต่ความจริงก็คือต้องอาศัยสมถะ เพื่อใช้สมาธิเท่าที่จำเป็นด้วยนั่นเอง

ส่วนอุภโตภาควิมุต ที่แปลว่า ผู้หลุดพ้นทั้งสองส่วน ก็เสมือนย้ำให้แปลว่าผู้ได้ทั้งเจโตวิมุตติและ
ปัญญาวิมุตติ เหตุที่ย้ำก็คือว่า ในกรณีนี้ เน้นคำว่าเจโตวิมุตติให้เด่นชัดออกมา เพราะเจโตวิมุตติ
ที่เน้นในกรณีนี้ ไม่หมายถึงเพียงเจโตวิมุตติอย่างที่จำเป็นต้องมีเป็นธรรมดาอยู่แล้วในขณะที่จะ
ได้ปัญญาวิมุตติ แต่หมายถึงเจโตวิมุตติในความหมายที่เป็นพิเศษออกไป (คือ วิโมกข์ หรือ
ฌานสมาบัติ ดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น)

ย้อนกลับไปหาต้นศัพท์คือ คำว่า วิมุตติอีก วิมุตติที่ใช้ตามความหมายอย่างกว้างหรืออย่างหลวมๆ
มีมากนัยหลายระดับ สำหรับระดับที่ยังไม่ใช่ขั้นสูงสุด ส่วนมากท่านใช้คำว่าเจโตวิมุตติแทน เพราะ
เจโตวิมุตติบ่งอยู่ในตัวแล้วว่า ยังไม่ใช่วิมุตติขั้นสมบูรณ์เด็ดขาด และตามปกติ วิมุตติในระดับต่ำลง
มา ก็มักเป็นเรื่องของการหลุดพ้นด้วยกำลังจิตหรือกำลังสมาธิทั้งนั้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


นอกจากคำว่าเจโตวิมุตติแล้ว คัมภีร์ชั้นรองลงมา บางคัมภีร์นิยมใช้คำว่า วิโมกข์แทน
(ในที่นี้จะงดใช้คำว่าวิโมกข์ โดยถือตามคัมภีร์ชั้นต้น ซึ่งนิยมใช้วิโมกข์เฉพาะในความ
หมายที่อธิบายมาแล้วข้างต้น ผู้สนใจเกี่ยวกับวิโมกข์พึงค้นดูเองตามที่มาซึ่งได้ให้ไว้แล้ว)

แต่ไม่ว่าจะใช้คำว่าวิมุตติ หรือเจโตวิมุตติ หรือวิโมกข์ก็ตาม ท่านมักใส่คำวิเศษณ์ลงกำ
กับไว้ด้วย เพื่อจำกัดความหมายให้อยู่ในขอบเขตที่ต้องการ เช่น สามายิกวิมุตติ สามา
ยิกเจโตวิมุตติ สามายิกวิโมกข์ อัปปมัญญาเจโตวิมุตติ สันตเจโตวิมุตติ ฯลฯ เมื่อใส่คำ
วิเศษณ์กำกับทำให้ความหมายจำกัดอยู่ในระดับต่ำๆ ได้แล้ว การใช้คำวิเศษณ์ที่ตรง
ข้ามกับระดับต่ำเหล่านั้นกำกับลงไป ก็เท่ากับทำให้กลับมีความหมายเป็นวิมุตติใน
ระดับสูงสุด หรือขั้นมรรคผลที่เด็ดขาดนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ การจำกัดความหมายโดยใช้
คำวิเศษณ์กำกับ จึงกลายเป็นวิธีที่ท่านนิยมใช้ ทั้งสำหรับความหมายในขั้นสูงสุด
และความหมายในขั้นต่ำลงมา

เมื่อว่าโดยสรุป วิมุตติตามความหมายอย่างกว้าง หรือหลวมๆ นั้น จัดได้เป็น ๒ พวก คือ

๑) สำหรับความหมายขั้นสูงสุด นิยมเติมคำวิเศษณ์ลงข้างหน้าวิมุตติ เป็น อกุปปาวิมุตติ
(วิมุตติที่ไม่กำเริบ คือไม่กลับกลายหรือไม่เสื่อมถอย) อกุปปาเจโตวิมุตติ (เจโตวิมุตติที่ไม่
กำเริบ) อสมยวิมุตติ (ความหลุดพ้นที่ไม่ขึ้นต่อสมัย หรือไม่ชั่วคราว คือยั่งยืนตลอดไป)
อสามายิกเจโตวิมุตติ (เจโตวิมุตติที่ไม่ขึ้นต่อสมัย) ทั้งหมดนี้มีความหมายอย่างเดียวกัน
คือหมายถึงอริยผล โดยเฉพาะอรหัตตผล ตรงกับความหมายขั้นสุดท้ายที่กล่าวมาแล้วข้าง
ต้น จึงเป็นโลกุตรวิมุตติ

พึงสังเกตว่า คำ “อกุปปา” ที่ท่านเติมเข้าข้างหน้าวิมุตติ และเจโตวิมุตติ ให้เป็นอกุปปาวิมุตติ
และ อกุปปาเจโตวิมุตตินั้น ก็เพื่อเน้นความให้ชัดว่าเป็นวิมุตติขั้นสุดท้ายที่เด็ดขาด ทั้งนี้
เพราะคำว่าวิมุตติ บางคราวไม่แน่นอน ท่านใช้ในความหมายหลวมๆ หมายถึงความหลุดพ้น
ขั้นต่ำลงไป ก็มีบ้าง ส่วนคำว่าเจโตวิมุตติยิ่งเบาลงไปกว่านั้นอีก เพราะเจโตวิมุตติอย่างเดียว
จะหมายถึงวิมุตติขั้นเด็ดขาดไม่ได้เลย การเติมคำว่าอกุปปาลงไปให้แปลว่า เจโตวิมุตติที่ไม่
กำเริบ ก็เท่ากับพูดว่า เจโตวิมุตติในที่นี้ หมายถึงเจโตวิมุตติขั้นเด็ดขาด ที่มีปัญญาวิมุตติเกิด
ขึ้นด้วยแล้ว จึงเป็นเจโตวิมุตติที่ไม่กลับเสื่อมได้อีก ดังนั้น แม้จะไม่ระบุคำว่าปัญญาวิมุตติไว้
ก็พึงทราบว่าคลุมความถึงปัญญาวิมุตติรวมอยู่ด้วย แม้คำว่าอสามายิก ในอสามายิกเจโตวิมุตติ
ก็พึงเข้าใจอย่างเดียวกัน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


มีเจโตวิมุตติชื่อเฉพาะอย่างหนึ่งที่อยู่ในขั้นโลกุตระนี้ด้วย คือ อนิมิตตาเจโตวิมุตติ ซึ่งได้แก่ผล
สมาบัติของพระอริยบุคคลทั้งหลาย กล่าวคือ การที่พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์ เข้าสมาธิเสวยรสแห่งการบรรลุธรรมในระดับของตนๆ ในเวลาใดก็ตามที่
ท่านต้องการพักอยู่สบายๆ ในปัจจุบัน (ทิฏฐธรรมสุขวิหาร, พูดอีกอย่างว่า เพื่อเสวยอริย
โลกุตรสุข) ที่เรียกว่าอนิมิตตาเจโตวิมุตติ (เจโตวิมุตติที่ไร้นิมิต หรือมีภาวะไร้นิมิตเป็นอา
รมณ์) เพราะเป็นภาวะหลุดพ้น หรือเป็นอิสระของจิต ที่ท่านผู้เข้าสู่ภาวะนั้น ไม่กำหนดใจถึง
สิ่งใดๆ ไม่ว่าจะเป็นรูป หรือเวทนา หรือสัญญา หรือสังขาร หรือวิญฐาณ ก็ตาม ที่เป็นนิมิต
(คือเครื่องหมาย) ของสังขาร แต่ใจถึงนิพพานอย่างเดียว (คือมีนิพพานเป็นอารมณ์)

๒) สำหรับความหมายขั้นต่ำลงมา ซึ่งมีหลายระดับ ท่านเรียกรวมๆ โดยใช้คำว่าเจโตวิมุตติ
แต่ลำพังคำเดียวล้วนบ้าง ใช้ว่า สามายิกเจโตวิมุตติ หรือ สามายิกวิมุตติ หรือ สมยวิมุตติ
(ความหลุดพ้นแห่งจิตชั่วสมัย คือ ชั่วครั้งชั่วคราว) บ้าง คำเหล่านี้ คลุมถึงวิมุตติขั้นต่ำลงมา
ทั้งหมด ซึ่งจัดเป็นโลกิยวิมุตติทั้งสิ้น

วิมุตติขั้นต่ำลงมานี้ ท่านมักแสดงความหมายด้วยคำว่า “อธิมุตติ” หรือใช้อธิมุตติเป็นไวพจน์
คือหมายถึงภาวะที่จิตน้อมดิ่งไปในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง จนทำให้พ้นจากกิเลส พ้นจากสิ่งรบกวน หรือ
สิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ ชั่วคราวตลอดเวลาที่อยู่ในภาวะนั้น เช่น จิตน้อมดิ่งไปในอารมณ์ของฌาน
จนพ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย เป็นต้น

ความหมายหลัก หรือความหมายมาตรฐานของ (สามายิก) เจโตวิมุตติ ก็คือโลกิยสมาบัติทั้ง ๘
อันได้แก่ รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ ปุถุชนจะได้เจโตวิมุตติอย่างสูงก็เพียงขั้นนี้เท่านั้น
บางคราว เพื่อเจาะจงว่าเป็นเจโตวิมุตติขั้นสมาบัติ ๘ นี้ ท่านเติมคำว่า “สันตะ” (สงบ ประณีต
ละเอียด) ลงไปกำกับเป็น สันตเจโตวิมุตติ

หย่อนจากนั้นลงมา (สามายิก) เจโตวิมุตติ หรือ (สามายิก) วิมุตติ มีความหมายกว้างมาก คือ
หมายถึงภาวะที่จิตน้อมดิ่งไปในสิ่งที่ศรัทธา เลื่อมใส เชื่อถือ ชื่นชม ชอบใจ อย่างใดอย่าง
หนึ่ง ภาวะจิตเช่นนี้ ย่อมเป็นไปพร้อมด้วยกำลังจิตที่พุ่งแล่นไปทางเดียว คือทางที่น้อมดิ่งไป
นั้น ทำให้เกิดความกล้าหาญและเข้มแข็งมั่นคง ที่จะทำการไปตามแรงศรัทธา เป็นต้น พร้อม
ทั้งเกิดปีติปราโมทย์ นำไปสู่ปัสสัทธิ และสมาธิได้ ตามกฎธรรมดาของกระบวนธรรม
(อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 16:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ภาวะจิตเช่นนี้ เป็นความหลุดพ้นอย่างหนึ่ง เพราะมีกำลังเหนือกว่า พ้นจากอำนาจของธรรม
ฝ่ายตรงข้าม ที่จะมาขัดขวาง รบกวน ท่านเรียกว่าหลุดพ้นจากปัจจนีกธรรม (ธรรมที่เป็น
ข้าศึก เช่น ความลังเล ย่อท้อ เซื่องซึม และขลาดกลัว เป็นต้น) ซึ่งจะถูกข่มไว้ตลอด
เวลาที่เหตุปัจจัยของความหลุดพ้นนั้นยังดำรงอยู่ คือ ตราบใดที่กำลังจิตยังแผ่ออก หรือ
ถูกผลิตออกมาจากการน้อมดิ่งของจิต ด้วยอาศัยศรัทธาเป็นต้นเป็นแรงดึง เจโตวิมุตติ
หรือวิมุตติแบบนี้ก็จะยังคงอยู่ตราบนั้น

ตามหลักฐานในคัมภีร์ แม้แต่ความคิดใฝ่นิยมที่จะอยู่ในป่า ความบันดาลใจเกิดปีติปรา
โมทย์ใจโลดไป เมื่อได้ฟังธรรมกถาบางเรื่องในบางคราว ก็จัดเป็นเจโตวิมุตติประเภทนี้
ท่านว่า (เจโต) วิมุตติประเภทนี้ บางอย่างเป็นเหตุให้อกุศลธรรมเจริญงอกงามขึ้น ก็มี

(สามายิก) เจโตวิมุตติบางอย่าง มีชื่อเรียกที่ท่านกำหนดไว้โดยเฉพาะ ตามสิ่งที่ให้จิตกำ
หนดเป็นอารมณ์หรือสิ่งที่จิตน้อมดิ่งเข้าไปนั้น เจโตวิมุตติชื่อเฉพาะชนิดที่กล่าวถึงมากที่สุด
และท่านสนับสนุนให้ปฏิบัติ ได้แก่ อัปปมาณาเจโตวิมุตติ หรืออัปปมัญญาเจโตวิมุตติ กล่าวคือ
การเจริญสมาธิด้วยการแผ่เมตตาจิต กรุณาจิต มุทิตาจิต อุเบกขาจิต ออกไปอย่างกว้าง
ขวางทั่วไปหมด ไม่จำกัดขอบเขต ไม่มีประมาณ จนจิตน้อมดิ่งไปในคุณธรรมนั้นๆ เกิด อัป
ปนาสมาธิ เป็นฌาน พ้นจากกิเลสจำพวกนิวรณ์ และพ้นจากอกุศลที่เป็นคู่ปรับของอัปปมัญ
ญาข้อนั้นๆ คือ เมตตาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจาก พยาบาท กรุณาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจาก
วิหิงสา (การเบียดเบียน) มุทิตาเจโตวิมุตติ เป็นอิสระจากความริษยา อุเบกขาเจโตวิมุตติ
เป็นอิสระจากราคะ

เจโตวิมุตติชื่อเฉพาะอย่างอื่นที่ท่านกล่าวถึงบ้างเล็กน้อย คือ สุญญตาเจโตวิมุตติ (เจโตวิมุตติ
ที่อาศัยวิปัสสนากำหนดพิจารณาให้เห็นภาวะที่สังขารทั้งหลายเป็นของว่างเปล่าจากอัตตา
คือตัวตน และอัตตนิยะคือสิ่งที่เนื่องด้วยตัวตน) อากิญจัญญาเจโตวิมุตติ (ได้แก่ อากิญจัญญา
ยตนอรูปฌาน) และมหัคคตาเจโตวิมุตติ (การแผ่ฌานจิตน้อมดิ่งไปในนิมิตแห่งกสิณที่กำหนด
ครอบบริเวณสถานที่อันหนึ่งกว้างขวางเท่าใดสุดแต่จะน้อมใจไป)

พิจารณาความหมายตามขอบเขตที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า แรงบันดาลใจ หรือความใฝ่นิยม
ตลอดจนความรู้สึกฝากจิตมอบใจต่ออุดมคติ อุดมการณ์ หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นวัตถุแห่ง
ศรัทธา เช่น บรมเทพ หรือพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น ที่ทำให้เกิดความอุทิศตัวต่อสิ่งนั้นๆ ก็เป็น
ภาวะน้อมดิ่งของจิตระดับหนึ่ง จึงเห็นได้ว่าเข้าในความหมายอย่างกว้างๆ ของเจโตวิมุตติขั้น
หนึ่งหรือรูปหนึ่งเหมือนกัน

บางท่านเห็นว่า ภาวะในฌานเป็นนิพพาน หรือมิฉะนั้นก็ว่า สัญญาเวทยิตนิโรธ (ที่เรียกอีก
อย่างว่านิโรธสมาบัติ ) ซึ่งเป็นสมาบัติสูงสุดเลยจากอรูปฌานไปนั่นแหละ คือการเข้าถึงนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 พ.ค. 2021, 17:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


คำตอบมีว่า สำหรับผู้ปฏิบัติธรรม ซึ่งยังไม่บรรลุ อรหันตผล ฌานสมาบัติเหล่านี้ เป็นอุปกรณ์
ที่ดีสำหรับการบรรลุอรหัตตผลต่อไป (คือเป็นเครื่องมือเตรียมจิตให้พร้อมและให้อยู่ในสภาพที่
จะใช้งานได้ดีที่สุด ดังได้กล่าวแล้วข้างต้น นอกจากนั้น ตัวฌานสมาบัติเอง ตลอดจนรูปธรรมนาม
ธรรมทั้งหลายที่มีอยู่ในฌานสมาบัติเหล่านั้น ก็ล้วนเป็นสังขารที่ผู้ปฏิบัติธรรมจะหยิบยกขึ้นมากำ
หนดพิจารณาด้วยวิปัสสนาปัญญา เพื่อให้เกิดวิชชาขึ้นได้)

แต่สำหรับผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว ฌานสมาบัติเหล่านี้ ท่านใช้เป็นที่พักเสวยสุขอย่างอริยชน
จึงเรียกว่า ทิฏฐธรรมสุขวิหารบ้าง ทิพยวิหารบ้าง อนุปุพพวิหารบ้าง แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ตัวนิพพาน
พูดสั้นๆ ว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับบรรลุนิพพาน และเป็นที่พักหาความสบายของผู้บรรลุนิพพานแล้ว

อีกประการหนึ่ง ในทางกลับกัน การบรรลุนิพพานนี่แหละ ทำให้บุคคลสามารถเข้าถึงและปฏิบัติ
ต่อฌานสมาบัติเหล่านั้นได้ถูกต้องเป็นผลดีมากยิ่งขึ้น กล่าวคือ คนที่ได้สมาบัติ ๘ แล้ว จะยังเข้า
นิโรธสมาบัติไม่ได้ จนกว่าจะได้น้อมสู่นิพพานถึงขั้นเป็นพระอนาคามีขึ้นไป จึงจะมีกำลังสมาธิ
และกำลังปัญญาเพียงพอที่จะเข้าสู่ภาวะนั้นได้

นอกจากนั้น ผู้ที่ยังไม่บรรลุอรหัตตผล ล้วนยังมีรูปราคะและอรูปราคะอยู่ เมื่อได้ฌานสมาบัติแล้ว
ก็อาจเกิดความติดใจเพลิดเพลินกับฌานสมาบัติได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2021, 11:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ฌานสมาบัติเป็นสิ่งสูงประเสริฐก็จริง แต่หลักพุทธศาสนาสอนว่า ความเพลิดเพลินติดใจในฌานสมา
บัตินั้น เป็นจุดอ่อนหรือข้อบกพร่องอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะก็คือ เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้บรรลุนิพ
พานนั่นเอง เช่นตัวอย่างที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า ถ้าภิกษุบรรลุอรูปฌานที่ ๔ คือ เนวสัญญายตนะ
ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในสมาบัติ ๘ แต่เธอเพลิดเพลินติดใจเวทนาในอรูปฌานนั้นเสีย ก็ย่อมบรรลุนิพพาน
ไม่ได้ เพราะยังมีอุปาทาน คือความยึดติดอยู่ และอุปาทานในกรณีนี้ ก็คือเนวสัญญานาสัญญายตนะ
นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า อุปาทานอย่างประเสริฐ (อุปาทานเสฏฺ) หรือความยึดติดขั้นสุด
ยอด ส่วนพระอรหันต์ผู้บรรลุนิพพานแล้วโดยสมบูรณ์ ย่อมใช้ฌานสมาบัติเป็นที่พักอยู่สบายได้ แต่
ท่านหาติดใจเพลินไม่

ข้อยืนยันที่เข้าใจง่ายๆ ให้เห็นว่า ฌานสมาบัติตลอดจนนิโรธสมาบัติ ไม่ใช่นิพพาน ก็คือ หลักที่กล่าว
มาแล้วว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุตไม่ได้อรูปฌาน และจึงเข้านิโรธสมาบัติไม่ได้ด้วย ตามหลักฐานที่
พบพอจะอนุมานได้ว่า พระอรหันต์ปัญญาวิมุตนี้มีมากกว่าพระอรหันต์ อุภโตภาควิมุต เช่น ณ ที่ประชุม
สงฆ์แห่งหนึ่ง พระพุทธเจ้าตรัสกับพระสารีบุตรว่า “นี่แน่ะสารีบุตร บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปนี้ ๖๐ รูป เป็น
เตวิชชะ (ได้วิชชา ๓) ๖๐ รูปเป็นฉฬภิญญะ (ได้อภิญญา ๖) ๖๐ รูปเป็นอุภโตภาควิมุต นอกจากนี้เป็นปัญ
ญาวิมุต” (= ๓๒๐ รูป) ข้อนี้แสดงว่า การเข้าถึงนิพพานมิใช่อยู่ที่ต้องเข้าถึงนิโรธสมาบัติ หรืออรูปสมาบัติ
ซึ่งต่ำลงไปกว่านั้น เพราะพระอรหันต์ปัญญาวิมุต ซึ่งไม่ได้สมาบัติเหล่านั้น ก็ย่อมเป็นผู้บรรลุนิพพาน
อย่างแน่นอน

รวมความว่า วิมุตติที่จะเป็นความหลุดพ้นเด็ดขาด ให้เข้าถึงนิพพานอย่างแท้จริง ต้องจบลงด้วยปัญญา
วิมุตติ จึงจะทำให้เจโตวิมุตติ ซึ่งไม่ว่าจะเกิดมีมาก่อนนานแล้ว ก็ดี เกิดขึ้นแล้วแต่กลับเสื่อมไปและกลับ
ได้ใหม่อีกแล้วๆ เล่าๆ ก็ดี หรือเจโตวิมุตติที่ได้พร้อมๆ กับปัญญาวิมุตตินั้น โดยฐานเป็นบาทให้แก่ปัญญา
วิมุตติ ก็ดี กลายเป็นอกุปปาเจโตวิมุตติ คือเจโตวิมุตติที่ไม่กลับเสื่อมได้อีก หรือเรียกสั้นๆ ก็ได้ว่า อกุป
ปาวิมุตติ คือวิมุตติที่ไม่กำเริบ เพราะกำจัดเหตุปัจจัยที่จะทำให้กำเริบคืออาสวะทั้งหลายได้แล้ว (นอก
จากจะไม่กำเริบแล้ว ยังไม่เปิดช่องให้เกิดโทษข้อเสียหายทั้งแก่ตนและคนอื่นอีกด้วย คือจะไม่เกิดการ
ติดหรือหลงเพลินอย่างหนึ่ง และจะไม่นำเอาผลพลอยได้ที่พ่วงมากับเจโตวิมุตติ คือโลกิยอภิญญา
ไปใช้ในทางที่ผิดเพื่อสนองความต้องการของตน ทำให้มีการใช้ประโยชน์จากเจโตวิมุตติอย่างดีที่สุด)

ภาวะอย่างนี้ ก็คือการมีทั้งเจโตวิมุตติและปัญญาวิมุตติเป็นคู่กัน ซึ่งท่านกล่าวถึงอยู่เสมอว่า “เจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติ อันเป็นที่ซึ่งบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย (ที่เกิดขึ้นแล้ว) ดับไปหมด ไม่เหลือเลย”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2021, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


อกุปปาเจโตวิมุตติอย่างนี้ (เจโตวิมุตติที่มีปัญญาวิมุตติร่วมด้วยแล้ว) นี่เอง ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็น
แก่น และเป็นจุดหมายของพระพุทธศาสนา ดังพุทธพจน์ว่า

“...ภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตตินั้น เป็นไปไม่ได้ ไม่มีโอกาสเลย (อฐานะ
อนวกาส)

“ภิกษุทั้งหลาย โดยนัยฉะนี้แล พรหมจรรย์ (ศาสนา) นี้ มิใช่มีลาภสักการะและชื่อเสียง เป็น อานิ
สงส์ มิใช่มีศีลสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งศีล) เป็นอานิสงส์ มิใช่มีสมาธิสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่ง
สมาธิ) เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัศนะ เป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้ มี อกุปปาเจโตวิมุตติ
เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นจุดหมาย”

ที่ว่า (สามายิก) เจโตวิมุตติ เป็นของชั่วคราว กำเริบคือเสื่อมถอยได้ ขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ นั้น เหตุ
ปัจจัยเหล่านี้อาจแบ่งได้เป็น ๓ พวก

พวกที่หนึ่ง คือกิเลสในรูปต่างๆ เช่น อาสวะ เป็นต้น ที่ยังไม่ได้กำจัดให้หมดสิ้นไป เพียงถูกกด
ข่มทับ หรือทำให้ราบคาบสงบนิ่งไป จึงแฝงตัวรอคอยเวลาอยู่ เช่น เวลาที่ถูกเย้ายวน ยั่วยุ เวลา
ที่ปัจจัยฝ่ายสนับสนุนเช่นศรัทธาอ่อนกำลังลง เป็นต้น

พวกที่สอง คือ เหตุปัจจัยฝ่ายปรุงแต่ง หรือเกื้อกูลสนับสนุน เช่น ศรัทธา คือความเชื่อความเลื่อมใส
ฉันทะ คือความชอบใจ พอใจ ความตั้งใจ ความใฝ่นิยม และความเพียร เป็นต้น เมื่อใดเหตุปัจ
จัยฝ่ายนี้เสื่อมลง หมดไป หรืออ่อนกำลังลง เจโตวิมุตติก็ย่อมเสื่อมถอยไปด้วย

ปัจจัยฝ่ายสนับสนุนนี้ อาจเสื่อมไปได้ แม้เพราะสิ่งที่ดีงามถูกต้อง เช่น ครั้งหนึ่ง เคยมีศรัทธาแรง
กล้าต่อสิ่งหนึ่ง จนจิตน้อมดิ่งไป เกิดพลังจิตอุทิศตัวต่อสิ่งนั้นได้ แต่ศรัทธานั้นปราศจากปัญญา ไม่
ประกอบด้วยเหตุผล ต่อมาได้ความรู้ที่ทำให้เกิดปัญญา รู้ว่าสิ่งที่ตนเชื่ออยู่นั้นไม่ถูกต้อง ศรัทธาที่
มีอยู่ ก็เสื่อมถอย จิตก็ไม่น้อมดิ่งไป เป็นต้น

พวกที่สาม คือ เหตุปัจจัยแวดล้อมอย่างอื่น แม้เป็นเรื่องทางด้านร่างกายหรือวัตถุภายนอก เช่น โรค
ภัยไข้เจ็บ ความไม่สะดวก ความเป็นอยู่ที่ลำบากแร้นแค้น เช่น ขาดแคลนอาหาร เป็นต้น ในทาง
ปฏิบัติ เหตุปัจจัยทั้งสามนี้มักสัมพันธ์กันเหมือนเป็นอันเดียว เช่น เกิดความลำบากขึ้น ทำให้ความตั้ง
ใจอ่อนลง กิเลสคือ ความฟุ้งซ่านหงุดหงิดท้อถอยลังเลเป็นต้น ก็เกิดขึ้น เจโตวิมุตติก็เสื่อมหาย ตัว
อย่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ ได้อ้างอิงบอกที่มาไว้บ้างแล้ว แต่มีตัวอย่างบางเรื่องในบาลีที่น่าสนใจ จึงขอ
นำมาเล่าประกอบไว้บ้างดังนี้

เรื่องที่หนึ่ง เล่าตามบาลีโดยอาศัยอรรถกถาเชื่อมความว่า พระภิกษุชื่อว่าโคธิกะ บำเพ็ญเพียร
อย่างจริงจัง จนได้สามายิกเจโตวิมุตติ คือ โลกิยสมาบัติ แต่ท่านได้รับความทรมานจากโรคเรื้อรัง
ประจำตัวอย่างหนึ่ง ต่อมาท่านจึงเสื่อมจากเจโตวิมุตตินั้น ท่านตั้งใจบำเพ็ญเพียรจริงจัง และได้
เจโตวิมุตตินั้นอีก แต่แล้วก็เสื่อมอีก กลับไปกลับมาเช่นนี้ถึง ๖ ครั้ง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2021, 12:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ครั้นได้เจโตวิมุตติใหม่อีกเป็นครั้งที่ ๗ ท่านจึงคิดว่าท่านคงจะเสื่อมจากมันอีกเหมือนครั้งก่อนๆ
ดังนั้นควรจะตายเสียระหว่างที่ยังได้อยู่นั้น ดีกว่าตายเมื่อเสื่อมจากมันไป (ตอนนี้อรรถกถาว่า ท่าน
คิดว่า ถ้าตายตอนฌานเสื่อมแล้ว ก็ไม่แน่ว่าจะได้ไปเกิดที่ไหน ถ้าตายในเวลาที่ฌานยังอยู่ ก็แน่ใจ
ได้ว่าจะไปเกิดในพรหมโลก) ท่านจึงเอาศัสตรามาฆ่าตัวตาย แต่ครั้นทำร้ายตนเองแล้ว นอนได้รับ
ทุกขเวทนาอยู่ ท่านตั้งสติได้ กำหนดพิจารณาเวทนา เจริญกรรมฐาน เลยได้บรรลุ อรหัตตผล
ปรินิพพาน

อีกแห่งหนึ่ง ตรัสถึงบางพวก ซึ่งคิดว่า ถ้าตนจะยุ่งเกี่ยวกับกามคุณอยู่ในโลก ก็จะเกิดความมัว
เมาประมาท แล้วก็จะตกอยู่ใต้อำนาจของมาร จึงสละกามคุณออกไปอาศัยอยู่ในป่า บริโภคผักผล
ไม้ตามมีตามได้ ต่อมาถึงเวลาแห้งแล้ง หาอาหารยาก อดอยากเข้า ร่างกายซูบผอม หมดเรี่ยวแรง
เจโตวิมุตติ คือความปลงจิตปลงใจน้อมดิ่งไปว่าจะอยู่ป่า หรือความรักที่จะอยู่ป่าแต่เดิมนั้น ก็เสื่อม
หาย เวียนกลับมาหากามคุณมัวเมาอยู่ในโลกต่อไปอีก

เรื่องทั้งสองข้างต้น ซึ่งแสดงความเสื่อมของเจโตวิมุตติในระดับที่ต่างกันนี้ ยกมาพอเป็นตัวอย่างสำ
หรับเทียบเคียง เพื่อให้มองเห็นรูปร่างของเจโตวิมุตติ และหนทางที่เจโตวิมุตตินั้นอาจจะเสื่อม
ไปได้อย่างไร

ด้วยเหตุที่วิมุตติมีความหมายต่างออกไปได้หลายระดับเช่นนี้ ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถา ท่านจึงรวมมาจัด
เข้าเป็นขั้นตอนให้เห็นชัดยิ่งขึ้น และนิยมจัดแบ่งเป็น ๕ ขั้น หรือ ๕ ความหมาย เลียนแบบนิโรธ ๕ ขั้น
ที่กล่าวแล้วข้างต้น

วิธีแบ่งของท่านแบบนี้ ก็ดูครอบคลุมเนื้อหาที่บรรยายมาแล้วได้ดี และอาจช่วยผู้ศึกษาที่ยังไม่คุ้น ให้
มองเห็นภาพชัดขึ้น ทำให้เข้าใจง่ายเข้าอีก จึงลองเอาวิมุตติ ๕ นี้ มาเป็นแบบ สำหรับทวนความรู้เรื่อง
วิมุตติอีกครั้ง

วิมุตติ ๕ นั้น คือ

๑) วิกขัมภนวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยข่ม (กิเลส) ไว้ คือระงับนิวรณ์เป็นต้นได้ด้วยอำนาจสมาธิ
ได้แก่ สมาบัติ ๘ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ แต่บางทีท่านยอมให้ผ่อนลงมารวมถึงอุปจารสมาธิด้วย

๒) ตทังควิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยองค์ธรรมจำเพาะ คือ พ้นอกุศลอย่างหนึ่งๆ ด้วยธรรมที่เป็นคู่
ปฏิปักษ์กัน ว่าตามความหมายอย่างเคร่ง หรือความหมายมาตรฐาน ได้แก่ พ้นความเห็นผิดยึด
ถือผิด ด้วยอาศัยญาณคือความรู้ฝ่ายวิปัสสนาที่ตรงข้ามเป็นคู่ปรับกัน เช่น พิจารณาความไม่เที่ยง
ทำให้พ้นความสำคัญหมายว่าเป็นของเที่ยง เป็นต้น แต่ว่าตามความหมายที่ผ่อนลงมา ใช้ได้กับความ
ดี ความชั่วทั่วๆ ไป เช่น น้อมใจดิ่งไปทางทาน ทำให้พ้นจากความตระหนี่และความโลภ น้อมใจดิ่งไปทาง
เมตตา ทำให้พ้นจากพยาบาทหรือการมองในแง่ร้าย พุ่งความคิดไปทางกรุณาหรืออหิงสา ทำให้พ้นจาก
วิหิงสาคือการข่มเหงเบียดเบียนและความรุนแรง เป็นต้น

วิมุตติตามความหมาย ๒ อย่างแรกนี้ คลุมถึงสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกิยวิมุตติทั้งหมด

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ค. 2021, 12:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๓) สมุจเฉทวิมุตติ ความหลุดพ้นด้วยเด็ดขาด หรือตัดขาด คือการทำลายกิเลสที่ผูกรัดไว้ หลุด
พ้นเป็นอิสระออกไปได้ ด้วยญาณหรือวิชชาขั้นสุดท้าย ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นมรรค

๔) ปฏิสัทธิวิมุตติความหลุดพ้นด้วยสงบระงับเรียบสนิทหรือราบคาบไป คือความเป็นผู้หลุด
พ้นออกไปได้แล้ว มีความเป็นอิสระอยู่ เพราะกิเลสที่เคยผูกรัดหรือครอบงำ ถูกกำจัดราบคาบ
ไปแล้ว ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นผล

๕) นิสสรณวิมุตติ ความหลุดพ้นที่เป็นภาวะหลุดรอดปลอดโปร่ง คือ ภาวะแห่งความเป็นอิสระ ที่
ผู้หลุดพ้นเป็นอิสระแล้วประสบอยู่ ชื่นชมหรือเสวยรสอยู่ และซึ่งทำให้ผู้นั้นปฏิบัติกิจอื่นๆ ได้ด้วย
ดีต่อๆ ไป ได้แก่ วิมุตติในความหมายที่เป็นนิพพาน

วิมุตติตามความหมาย ๓ อย่างหลังนี้ (๓-๔-๕) เป็นอสามายิกเจโตวิมุตติ และเป็นโลกุตร-วิมุตติ.

ว่าโดยสาระแท้ๆ วิมุตติ ๕ นี้ ก็คือ สมถะ วิปัสสนา มรรค ผล และ นิพพาน ตามลำดับ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 11 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร