วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 10:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ความหมายของอริยสัจ “ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจ ๔ ประการเหล่านี้แล เป็นของแท้อย่างนั้น ไม่คลาด
เคลื่อนไปได้ ไม่กลายเป็นอย่างอื่น ฉะนั้น จึงเรียกว่า อริยสัจ...

“ภิกษุทั้งหลาย ตถาคตเป็นอริยะ ในโลก พร้อมทั้งเทวะ ทั้งมาร ทั้งพรหม ในหมู่ประชา พร้อมทั้ง
สมณะและพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวะและมนุษย์ ฉะนั้น จึงเรียกว่าอริยสัจ (เพราะเป็นสิ่งที่ตถาคต
ผู้เป็นอริยะ ได้ตรัสรู้ และได้แสดงไว้)”

“ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ ๔ นี้ตามเป็นจริง พระตถคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้
นาม เรียกว่าเป็น อริยะ”

คัมภีร์ อ้างความในบาลีมาแสดงความหมายของอริยสัจ รวมได้ ๔ นัย คือ

๑. สัจจะที่พระอริยะตรัสรู้ (ดูเชิงอรรถ)

๒. สัจจะของพระอริยะ (บาลีนัยที่ ๒)

๓. สัจจะที่ทำให้เป็นอริยะ (บาลีนัยที่ ๓)

๔. สัจจะอย่างอริยะ คือ แท้ แน่นอน (บาลีนัยที่ ๑)

สำหรับความหมายของอริยสัจแต่ละข้อ พึงทราบตามบาลี ดังนี้

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขอริยสัจ คือ ชาติ (ความเกิด) ก็เป็นทุกข์ ชรา (ความแก่) ก็เป็นทุกข์
พยาธิ (ความเจ็บไข้) ก็เป็นทุกข์ มรณะ (ความตาย) ก็เป็นทุกข์ การประจวบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ก็
เป็นทุกข์ การพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ
(โดยใจความ) อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขสมุทัยอริยสัจ คือ ตัณหา อันนำให้มีภพใหม่ ประกอบด้วย นันทิราคะ
ซึ่งครุ่นใคร่ใฝ่หาในอารมณ์ต่างๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ การที่ตัณหานั้นแลดับไปได้ ด้วยการสำรอกออก
หมดไม่มีเหลือ การสละเสียได้ สลัดออก พ้นไปได้ ไม่หน่วงเหนี่ยวพัวพัน

“ภิกษุทั้งหลาย ข้อนี้แล เป็นทุกขนิโรธอริยสัจ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แหละ ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ
สัมมาสมาธิ”

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 พ.ค. 2021, 10:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ขยายความออกไปอีกเล็กน้อย ดังนี้

๑. ทุกข์ แปลว่า ความทุกข์ หรือสภาพที่ทนได้ยาก ได้แก่ปัญหาต่างๆ ของมนุษย์ กล่าวให้ลึกลงไป
อีกหมายถึง สภาวะของสิ่งทั้งหลาย ที่ตกอยู่ในกฎธรรมดา แห่งความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็น อนัตตา
ซึ่งประกอบด้วยภาวะบีบคั้น กดดัน ขัดแย้ง ขัดข้อง มีความบกพร่อง ไม่สมบูรณ์ในตัวเอง ขาด
แก่นสาร และความเที่ยงแท้ ไม่อาจให้ความพึงพอใจเต็มอิ่มแท้จริง พร้อมที่จะก่อปัญหา สร้าง
ความทุกข์ขึ้นมาได้เสมอ ทั้งที่เกิดเป็นปัญหาขึ้นแล้ว และที่อาจเกิดเป็นปัญหาขึ้นมา เมื่อใดเมื่อหนึ่ง
ในรูปใดรูปหนึ่ง แก่ผู้ที่ยึดติดถือมั่นไว้ด้วยอุปาทาน

๒. ทุกขสมุทัย เรียกสั้นๆ ว่า สมุทัย แปลว่า เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น ได้แก่
ความอยาก ที่ยึดถือเอาตัวตนเป็นที่ตั้ง โดยอาการที่มีเรา ซึ่งจะเสพ ที่จะได้ จะเป็น จะไม่เป็น
อย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้ชีวิตถูกบีบคั้นด้วยความเร่าร้อน ร่านรน กระวนกระวาย ความหวงแหน
เกลียดชัง หวั่นกลัว หวาดระแวง ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัด ในรูปใดรูปหนึ่ง
อยู่ตลอดเวลา ไม่อาจปลอดโปร่งโล่งเบา เป็นอิสระ สดชื่น เบิกบานได้ อย่างบริสุทธิ์สิ้นเชิง
ไม่รู้จักความสุข ชนิดที่เรียกว่า ไร้ไฝฝ้า และไม่อืดเฟ้อ

๓. ทุกขนิโรธ เรียกสั้นๆ ว่า นิโรธ แปลว่า ความดับทุกข์ ได้แก่ภาวะที่เข้าถึง เมื่อกำจัด
อวิชชา สำรอกตัณหา สิ้นแล้ว ไม่ถูกตัณหาย้อมใจ หรือฉุดลากไป ไม่ถูกบีบคั้นด้วยความ
รู้สึกกระวนกระวาย ความเบื่อหน่าย หรือความคับข้องติดขัดอย่างใดๆ หลุดพ้นเป็นอิสระ
ประสบความสุขที่บริสุทธิ์ สงบ ปลอดโปร่งโล่งเบา ผ่องใส เบิกบาน เรียกสั้นๆ ว่านิพพาน

๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เรียกสั้นๆ ว่า มรรค แปลว่า ปฏิปทา ที่นำไปสู่ความดับทุกข์
หรือข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้แก่ อริยอัฏฐังคิกมรรค หรือทางประเสริฐ มีองค์ประ
กอบ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสามธิ ที่เรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา เพราะเป็นทางสาย
กลาง ซึ่งดำเนินไปพอดีที่จะให้ถึงนิโรธ โดยไม่ติดข้องหรือเอียงไปหาที่สุดสองอย่าง
คือ กามสุขัลลิกานุโยค (ความหมกมุ่นในกามสุข) และอัตตกิลมถานุโยค (การประกอบ
ความลำบากแก่ตน คือ บีบคั้นทรมานตนเองให้เดือดร้อน)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร