วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 18:22  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2021, 16:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


ลักษณะสำคัญของนิพพาน ที่สืบเนื่องมาจากความหมายว่า “ดับ” ซึ่งนับว่าเด่นน่าสนใจ
มีอยู่ ๓ อย่าง คือ

๑. ดับอวิชชา หมายถึง การเกิดญาณทัศณะอันสูงสุด หยั่งรู้สัจธรรม

๒. ดับกิเลส หมายถึง กำจัดความชั่วร้าย และของเสียต่างๆ ภายในจิตใจ หมดเหตุที่จะก่อ
ปัญหาความเดือดร้อนวุ่นวายต่างๆ แก่ชีวิตและสังคม

๓. ดับทุกข์ หมายถึง หมดความทุกข์ บรรลุความสุขอันสูงสุด

เฉพาะลักษณะที่ ๓ คือ ความสุข หรือความดับทุกข์สิ้นทุกข์นี้ แม้จะได้ย้ำไว้บ้างแล้ว ในตอนว่า
ด้วยภาวะจิตของผู้บรรลุนิพพาน แต่ยังมีข้อที่ควรศึกษาเป็นพิเศษอีกบางอย่าง จึงนำมา
กล่าวเพิ่มเติมไว้ต่างหาก ณ ที่นี้

ความสุขมีความสำคัญมากในการปฏิบัติธรรมตามหลักพระพุทธศาสนา กล่าวได้ว่า พุทธจริยธรรม
ไม่แยกต่างหากจากความสุข

เริ่มแต่ขั้นต้น ในการทำความดีหรือกรรมดีทั่วๆ ไป ที่เรียกว่าบุญ ก็มีตรัสว่า “บุญเป็นชื่อของความสุข”

ในการเจริญ ภาวนา บำเพ็ญเพียรทางจิต ความสุขก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะให้เกิด สมาธิ
ดังพุทธพจน์ว่า “ผู้มีสุข จิตย่อมตั้งมั่น (เป็นสมาธิ)” และถือเป็นหลักว่า สมาธิมีสุขเป็นปทัฏฐาน
ครั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บรรลุฌานแล้ว ความสุขก็เป็นองค์ประกอบของฌาน ดังที่เรียกว่าเป็นองค์ฌาน
ต่อไปจนถึงฌานที่ ๓ ฌานสมาบัติที่สูงกว่านั้นขึ้นไป แม้จะไม่มีสุขเป็นองค์ฌาน แต่ก็กลับเป็น
ความสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปอีก

จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา คือ นิพพาน ก็เป็นความสุข และเป็นบรมสุข คือสุขสูงสุดด้วย

นอกจากนั้น จุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา ที่เป็นบรมสุขหรือโพธินั้น ก็พึงบรรลุได้ด้วย
ความสุข หรือด้วยข้อปฏิบัติที่มีความสุข มิใช่บรรลุด้วยความทุกข์ หรือด้วยข้อปฏิบัติที่เป็นทุกข์

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2021, 16:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


รู้จักกามสุข และเสพบริโภคอย่างมีปัญญา ที่ทำให้เป็นอิสระเสรี
ความสุขมีหลากหลาย สูงขึ้นไปตามลำดับขั้น
พระพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์ได้ทรงบรรลุถึงความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม และความสุข
อย่างอื่นที่ประณีตยิ่งไปกว่านั้นแล้ว จึงทรงยืนยันได้ว่าจะไม่ทรงเวียนกลับมาหากามอีก
แต่ถ้าพระองค์ยังไม่ทรงประสบความสุขที่ประณีตเช่นนั้นแล้ว ก็จะไม่ทรงสามารถยืน
ยันได้ว่า พระองค์จะไม่ทรงเวียนกลับมาหากามอีก

พร้อมกันนั้นก็ได้ตรัสทำนองเตือนผู้ปฏิบัติธรรมให้ระลึกไว้ว่า ถึงหากอริยะสาวกจะมอง
เห็นอย่างชัดเจนตามความเป็นจริงด้วยสัมมาปัญญาว่า กามทั้งหลายมีความหวานชื่น
น้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้มากยิ่งนัก แต่ถ้าอริยสาวกนั้นยังไม่
ประสบ ยังไม่รู้จักปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม หรือความสุขที่ประณีตยิ่งไป
กว่านั้น ก็ยังวางใจไม่ได้ว่าเธอจะไม่วกเวียนกลับมาหากามอีก

ในทำนองเดียวกันนั้น ได้ตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายไว้โดยจำเพาะว่า ถ้าผู้บวชแล้ว
ยังมิได้ประสบปีติและความสุขที่ไม่ต้องอาศัยกาม หรือความสุขที่ลึกซึ้งยิ่งกว่านั้น
กิเลสทั้งหลาย เช่น อภิชฌา พยาบาท ความฟุ้งซ่าน เกียจคร้าน เบื่อหน่าย
ก็จะเข้าครอบงำจิตได้ หมายความว่า ก็จะไม่ยินดีประพฤติ พรหมจรรย์ หรือทนประ
พฤติพรหมจรรย์อยู่ไม่ได้

ความที่ยกมาอ้างเหล่านี้ นอกจากจะแสดงให้เห็นว่า พระพุทธศาสนาถือความสุขเป็น
เรื่องสำคัญแล้ว ยังให้ข้อสังเกตต่อไปอีกว่า การที่อริยสาวกละกามนั้น มิใช่เป็นเพราะ
กามไม่มีความสุข หรือเพราะพระพุทธศาสนาสอนให้ละเว้นความสุข พระพุทธศาสนา
ยอมรับความสุขตามที่เป็นจริง สอนให้ปฏิบัติเพื่อบรรลุความสุข และยอมรับว่ากามมี
ความสุข แต่อริยสาวกละกาม เพราะเห็นว่า กามมีความสุขก็จริง แต่ยังปะปนด้วยทุกข์
มาก และข้อสำคัญก็คือ ยังมีความสุขอย่างอื่นที่สุขกว่า ลึกซึ้งประณีตกว่าสุขที่เกิดจาก
กาม หรือความสุขที่เกิดจากการเสพเสวยรสอร่อยของโลกอย่างสามัญชน อริยสาวก
ละกาม ก็เพราะได้ประสบความสุขที่ประณีตกว่านั้น

ความข้อนี้แสดงว่า ความสุขมีแตกต่างกัน เป็นขั้น เป็นระดับ สิ่งที่ควรศึกษาในตอนนี้ก็
คือว่า พระพุทธศาสนาจัดแบ่งความสุขออกเป็นขั้น หรือระดับ อย่างไร

ในคัมภีร์อังคุตนิกาย ทุกนิบาต ทรงจำแนกความสุขออกไปทั้งโดยประเภท และโดย
ระดับ เป็นคู่ๆ มากมายหลายคู่ เช่น สุขของกับสุขของบรรพชิต กามสุขกับเนก
ขัมมสุข โลกียสุข กับ โลกุตรสสุข สุขของพระอริยะกับสุขของปุถุชน เป็นต้น

แต่วิธีแบ่งที่เป็นลำดับขั้นชัดเจน ละเอียด และดูง่าย ไม่ซับซ้อน น่าจะได้แก่วิธีแบ่ง
เป็น ๑๐ ขั้น หรือความสุข ๑๐ ขั้น ซึ่งมีในที่มาหลายแห่ง แบ่งดังนี้

๑. กามสุข สุขเนื่องด้วยกาม ได้แก่ ความสุขโสมนัส ที่เกิดขึ้นด้วยอาศัย

๒. ปฐมฌานสุข สุขเนื่องด้วยปฐมฌาน ซึ่งสงัดจากกามและอกุศลทั้งหลาย ประกอบด้วย
วิตก วิจาร ปีติ สุข และเอกัคคตา

๓. ทุติยฌานสุข สุขเนื่องด้วยทุติฌาน ซึ่งประกอบด้วย ปีติ สุข และเอกัคคตา

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2021, 16:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๔. ตติฌานสุข สุขเนื่องด้วยตติยฌาน ซึ่งประกอบด้วย สุข และ เอกคคตา

๕. จตุฌานสุข สุขเนื่องด้วยจตุตถฌาน ซึ่งประกอบด้วย อุเบกขา และเอกัคคตา

๖. อากาสานัญจายตนสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ซึ่งล่วงพ้นรูป
สัญญาได้สิ้นเชิง ปฏิฆสัญญาล่วงไปหมด ไม่มนสิการนานัตตสัญญา นึกถึงแต่อากาศอัน
อนันต์เป็นอารมณ์

๗. วิญญาณัญจายตนสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึงอัน
อนันต์เป็นอารมณ์

๘. อากิญจัญญายตนสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ซึ่งคำนึง
ภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์

๙. เนวสัญญานาสัญญายตนสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ
อันถึงภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่

๑๐. สัญญาเวทยิตนิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติ อันถึงภาวะที่
ดับสัญญาและเวทนาทั้งหมด

ถ้าจะจัดให้ย่อเข้า สุข ๑๐ ข้อนี้ รวมเข้าได้เป็น ๓ ระดับ คือ

๑. กามสุข สุขเนื่องด้วยกาม

๒. ฌานสุข หรือ (อัฏฐ) สมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยฌาน หรือสุขเนื่องด้วยสมาบัติ แยก
เป็น ๒ ระดับย่อย

๒.๑ สุขในรูปฌาณ หรือสุขเนื่องด้วยรูปฌาน ๔

๒.๒ สุขในอรูปฌาณ หรือสุขเนื่องด้วยอรูปฌาน ๔

๓. นิโรธสมาปัตติสุข สุขเนื่องด้วยนิโรธสมาบัติ

สุขทั้ง ๑๐ ขั้นนี้ ท่านยอมรับว่าเป็นความสุขทั้งนั้น หากแต่เป็นความสุขที่ดีกว่า ประณีตลึกซึ้ง
ยิ่งกว่ากันขึ้นไปตามลำดับขั้น เพราะความสุขขั้นต้นๆ มีส่วนเสีย หรือแง่ที่เป็นทุกข์แทรกอยู่
ด้วยมาก เมื่อเป็นสุขขั้นสูงขึ้นไป ก็ยิ่งประณีตบริสุทธิ์มากขึ้น

ท่านสอนให้มองความสุขเหล่านั้นตามความเป็นจริง ทั้งด้านที่เป็นสุข และด้านที่มีทุกข์เข้ามาปน
คือมองทั้งส่วนดีและส่วนเสีย หรือทั้งแง่ที่เป็นคุณและแง่ที่เป็นโทษ (เรียกเป็นคำศัพท์ว่า
ทั้งอัสสาทะ และอาทีนวะ ) นอกจากนั้น ยังให้รู้จักทางออก ทางรอดพ้น หรือภาวะเป็นอิสระ
ที่ดีกว่า ซึ่งไม่ขึ้นต่อส่วนดีส่วนเสียนั้นด้วย (เรียกเป็นศัพท์ว่า นิสสรณะ)

เมื่อเห็นโทษของสุขที่หยาบ ก็จะหน่ายหายติด และโน้มใจไปหาสุขที่ประณีตยิ่งกว่า เมื่อรู้จัก
และได้ประสบความสุขที่ประณีตประจักษ์กับตัวแล้ว ก็จะละความสุขที่หยาบกว่าเสียได้ มุ่ง
บรรลุสุขที่ประณีตยิ่งขึ้นไปตามลำดับ อย่างน้อยก็จะไม่มัวเมาหมกมุ่นในสุขที่หยาบนั้นจนเกินไป

เมื่อใด จิตหลุดพ้นเด็ดขาดแล้ว ตัดเยื่อใยได้สิ้น ก็จะไม่วกเวียนกลับมาหาความสุขที่หยาบ
อีกต่อไป คงเสวยแต่สุขที่ประณีตสำหรับจิตที่เป็นอิสระอย่างเดียว

ข้อที่ว่านี้ ก็เป็นลักษณะด้านหนึ่งของความก้าวหน้าในการปฏิบัติธรรม

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร