วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 15:03  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 12:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว




boek.png
boek.png [ 32.66 KiB | เปิดดู 2211 ครั้ง ]
ประเภทของความรู้
เมื่อพูดถึงกระบวนการรับรู้แล้ว ก็ควรกล่าวถึงประเภทของความรู้ไว้ด้วย แม้ว่าจะต้องกล่าวถึง
อย่างย่น ย่อก็ตาม

ว่าตามแนว พุทธธรรม อาจแยกประเภทของความรู้ได้หลายนัย ดังนี้

ก. จำแนกโดยสภาวะ หรือโดยธรรมชาติของความรู้
วิธีจำแนกตามสภาวะอย่างง่ายๆ
ก็คือ จำแนกตามหลักขันธ์ ๕ ความรู้เป็นนามธรรมจำพวกหนึ่ง ซึ่งกระจายอยู่ใน นามขันธ์
(ขันธ์ที่เป็นนามธรรมหรือหมวดนามธรรม) ๓ ขันธ์ คือ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ และวิญญาณ
ขันธ์ ความรู้ที่จำแนกตามสภาวะของขันธ์ ได้แก่ สัญญา วิญญาณ และปัญญา

๑. สัญญา คือ ความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในสัญญาขันธ์ ได้แก่ ความกำหนดได้ หมายรู้ รวมทั้งความรู้
ที่เกิด จากการกำหนดหมาย หรือหมายรู้แล้วบันทึกเก็บรวมไว้เป็นวัตถุดิบของความคิดต่อๆ ไป
ทำให้มีการรู้จัก จำได้ รู้ เข้าใจ และคิดได้ยิ่งๆ ขึ้นไป

สัญญา แบ่งตามอารมณ์ คือ สิ่งที่หมายรู้ หรือ กำหนดจดหมายไว้ มี ๖ ชนิด คือ รูปสัญญา (สัญญา
กี่ยวกับรูป) สัททสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับเสียง) คันธสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับกลิ่น) รสสัญญา
(สัญญาเกี่ยวกับรส) โผฏฐัพพสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับสิ่งต้องกาย) ธัมมสัญญา (สัญญาเกี่ยวกับ
เรื่องในใจหรือสิ่งที่ใจรู้และนึกคิด)

ว่าโดยสภาพปรุงแต่ง สัญญาอาจแบ่งคร่าวๆ ได้ ๒ ระดับ คือ

๑) สัญญาชั้นต้น ได้แก่ ความหมายรู้ลักษณะอาการตามสภาวะของสิ่งนั้นๆ โดยตรง เช่น หมายรู้ว่า
สีเขียว ขาว ดำ แดง แข็ง อ่อน รสเปรี้ยว หวาน รูปร่างกลม แบน ยาว สั้น เป็นต้น รวมทั้งความหมายรู้
เกี่ยวกับบัญญัติต่างๆ ว่า แมว ว่าโต๊ะ ว่าเก้าอี้ ฯลฯ

๒) สัญญาซ้อนเสริม ได้แก่ ความหมายรู้ไปตามความคิดปรุงแต่ง หรือตามความรู้ความเข้าใจในระดับ
ต่างๆ เช่น หมายรู้ว่า สวย ว่าน่าเกลียด น่าชัง ว่าไม่เที่ยง ว่าไม่ใช่ตัวตน เป็นต้น ถ้าแยกย่อยออกไปสัญญา
ซ้อนเสริมหรือสัญญาสืบทอดนี้ก็แบ่งได้เป็น ๒ พวก คือ

- สัญญาซึ่งเกิดจากความคิดปรุงแต่งที่เป็นอกุศล เรียกว่า ปปัญจสัญญา คือสัญญาฟ่ามเฝือหรือซับซ้อน
หลากหลาย ซึ่งเกิดจากการแต่งเสริมเติมต่อให้พิสดารของ ตัณหา มานะ และ ทิฏฐิ เรียกอีกอย่าง
หนึ่งตามสำนวนบางแห่งว่า กิเลสสัญญา แปลว่าสัญญาที่เกิดจากกิเลส หรือสัญญาที่ประกอบด้วยกิเลส

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 12:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


(สัญญาเจือกิเลส) สัญญาพวกนี้ถูกกิเลสปรุงแต่งให้และห่างเหเฉไฉออกไปจากทางแห่งความรู้
ไม่เป็นเรื่องของความรู้แต่เป็นเรื่องของการที่จะให้เกิดโลภะ โทสะ โมหะ แทนที่จะช่วยให้เกิด
ความรู้กลับเป็นเครื่องปิดกั้นบิดเบือนความรู้ ดังได้เคยอธิบายแล้วข้างต้น ยกตัวอย่างเช่น หมาย
รู้ลักษณะที่ตนถือว่าน่าชัง หมายรู้ลักษณะอาการที่สนองความอยากได้อยากเอา หมายรู้ลักษณะ
อาการที่ตนเป็นคนยิ่งใหญ่ หมายรู้ลักษณะอาการในผู้อื่นที่ตนถือว่าต่ําต้อยด้อยกว่า หมายรู้ภาวะ
ที่ตนเป็นเจ้าของ เป็นผู้ครอบครอง ฯลฯ

- สัญญาที่เกิดจากความคิดดีงาม หรือเกิดจากความรู้ความเขาใจถูกต้อง เรียกว่า กุศลสัญญา บ้าง
วิชชาภาคิยสัญญา (สัญญาที่ช่วยให้เกิดวิชชา) บ้างหรือเรียกชื่ออื่นๆ ในทํานองนี้บ้าง เป็นสัญญา
ที่ช่วยส่งเสริมความเจริญปัญญา และความงอกงามแห่งกุศลธรรม เช่น หมายรู้ลักษณะอาการ
ที่ชวนให้เกิดความเป็นมิตร หมายรู้ลักษณะอาการซึ่งแสดงภาวะที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย ภาวะที่เป็น
ของไม่เที่ยง ภาวะที่ไร้ตัวตน เป็นต้น

พระอรหันต์ก็มีสัญญา แต่เป็นสัญญาที่ปราศจาก อาสวะ คือสัญญาไร้กิเลส พระอรหันต์ก็หมายรู้
ปปัญจสัญญาตามที่เข้าใจ หรือตามที่ท่านเองเคยเข้าใจเมื่อครั้งยังเป็นปุถุชน แต่ท่านหมายรู้พียงเพื่อ
เป็น ความรู้เพื่อใช้ประโยชน์เช่นในการช่วยแก้ไขปัญหาของผู้อื่น ไม่หมายรู้ในแง่ที่จะมีตัวตนออก
รับความกระทบแม้ผู้ปฏิบัติธรรมก็พึงดําเนินตามแนวทางเช่นนั้น

๒. วิญญาณ คือความรู้ทั้งหมดที่อยู่ในหมวดวิญญาณขันธ์ ได้แก่ ความรู้ยืนโรงที่เป็นกิจกรรมประจํา
ของจิต และซึ่งคอยรู้กิจกรรมอย่างอื่นทุกอย่างของจิต ดังได้อธิบายแล้วในบทที่ ๑ วาาด้วยขันธ์ ๕

๓. ปัญญา เป็นความรู้หลักในหมวดสังขารขันธ์ ความหมายของปัญญาได้แสดงไว้แล้วพอสมควร
ในบทที่ ๑ จึงจะไม่กล่าวซ้ําในที่นี้แต่นอกจากปัญญาที่เป็นความรู้หลักแล้ว ในหมวดสังขารขันธ์
ยังมีข้อธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับความรู้อีกหลายอย่าง ซึ่งสัมพันธ์กับปัญญาในแง่ช่วยเกื้อหนุนบ้าง เป็น
ขั้นตอนในระหว่างของการพัฒนาปัญญาบ้าง เป็นคู่เทียบฝ่ายตรงข้ามที่แสดงความมีความขาด
ความลด ความเพิ่มของปัญญาบ้าง กล่าวคือ

- ศรัทธา คือ ความเชื่อ ความซาบซึ้ง ไม่ใช่ความรู้ แต่อาจเป็นทางเชื่อมต่อนําไปสู่ความรู้ได้ เพราะ
ศรัทธามีลักษณะเป็นการยอมรับความรู้ของผู้อื่น ฝากความไว้วางใจในปัญญาของผู้อื่น ยอมพึ่ง
และอาศัย ความรู้ของผู้อื่นหรือแหล่งแห่งความรู้นั้นเป็นเครื่องชี้นําแก่ตน ถ้าผู้มีศรัทธารู้จักคิดรู้จัก
ใช้ปัญญาของตนเป็นทุน ประกอบไป ศรัทธานั้นก็สามารถนําไปสู่ความเจริญปัญญาและการรู้ความ
จริงได้ เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อผู้อื่นนั้น หรือแหล่งความรู้นั้นมีความรู้แท้จริง และมีกัลยามิตรช่วยชี้แนะ
ให้รู้จักใช้ปัญญา แต่ถ้าเชื่ออย่างงมงายคือไม่รู้จักคิด ไม่ใช่ปัญญาของตนเลย และผู้อื่นหรือแหล่ง
แห่งความรู้นั้นไม่มีความรู้จริง ทั้งไม่มีกัลยาณมิตรที่จะช่วย ชี้แนะ หรือมีปาปมิตร ผลอาจกลับตรง
ข้าม นําไปสู่ความหลงผิด ห่างไกลจากความรู้ยิ่งขึ้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 13:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


- ทิฏฐิ คือ ความเห็น ความเข้าใจตามแนวความคิดของตน เป็นขั้นตอนสำคัญในกระบวนการ
พัฒนาปัญญา เพราะความรู้ความเข้าใจของ มนุษย์ ปุถุชน ที่ต่อจากขั้นขึ้นต่อผู้อื่นด้วย ศรัทธา
ก้าวมาสู่การมีความคิดความเข้าใจหรือมีสิ่งที่เรียกว่าเหตุผลของตนเองประกอบ พอจะนับได้
ว่าเป็นความเข้าใจของตนเอง ก็คือ ทิฏฐิ บางครั้งทิฏฐิก็สัมพันธ์กับศรัทธาอย่างใกล้ชิด
หรือถึงกับเป็นคนละแง่ของเรื่องเดียวกัน กล่าวคือ แง่ที่เป็นการมอบความไว้วางใจไว้ใน
ความรู้ของผู้อื่น ยอมไปตามปัญญาของเขา (แล่นออกหรือพุ่งไปหา) เป็นศรัทธา ส่วนแง่ที่เป็น
การรับเอาความรู้นั้นหรือสิ่งที่เขาบอกให้นั้นมายึดถือทำเป็นของตน (รับมาถือหรือเอาเข้ามา)
เป็นทิฏฐิ ลักษณะสำคัญของทิฏฐิ คือการยึดถือเป็นของตน

ความรู้ที่เป็นทิฏฐินี้มีได้ตั้งแต่ขั้นไม่มีเหตุผลเลย จนถึงมีเหตุผลบ้างและมีเหตุผลมาก เมื่อ
ใดทิฏฐินั้นพัฒนาขึ้นไปจนเป็นความรู้ ความเห็น ความเข้าใจ ที่ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง
คือ ตรงตามสภาวะ ก็เรียกว่าเป็น สัมมาทิฏฐิ และจัดเป็นปัญญา เมื่อปัญญานั้นเจริญขึ้น
จนมองเห็นสภาวะนั้นด้วยตนเองอย่างชัดแจ้งสมบูรณ์แล้ว ก็ไม่ต้องยึดถือความรู้นั้นเป็นของ
ตนเพราะความจริงแท้ดำรงอยู่อย่างเป็นกลางๆ ไม่ต้องมีที่อ้างที่ยัน เป็นอันเลยพ้นขั้นของทิฏฐิ
ไปเอง แต่เพราะทิฏฐิพ่วงอยู่กับความยึดถือเป็นของตน ทิฏฐิจึงมักก่อให้เกิดผลเสีย ถ้ายึดถือ
เหนียวแน่น แม้จะเป็นทิฏฐิที่ใกล้เคียงความจริงอย่างมาก แต่ก็กลายเป็นเครื่องปิดบังขวางกั้น
ไม่ให้เข้าถึงความจริงนั้น

- โมหะ คือ ความหลง ความไม่รู้เป็นไวพจน์ของคําว่า “อวิชชา” หมายถึงความไม่รู้ตาม
ความเป็นจริงไม่รู้ตรงตามสภาวะ เป็นภาวะตรงข้ามกับปัญญา โดยเฉพาะปัญญาที่เรียกชื่อ
เฉพาะว่า วิชชา พูดอย่างสามัญว่า โมหะหรืออวิชชา คือความไม่รู้นี้ เป็นภาวะพื้นเดิมของคน
ซึ่งจะต้องกําจัดให้หมดไปด้วยวิชชา คือความรู้หรือด้วยการฝึกอบรมเจริญปัญญา

อย่างไรก็ตาม แม้จะเล่าเรียนศิลปวิทยาต่างๆ มากมาย และใช้ศิลปวิทยาเหล่านั้นทำกิจประ
กอบการต่างๆ ได้มากมาย แต่ถ้าไม่ช่วยให้เข้าใจสิ่งทั้งหลายตามความเป็นจริง ไม่มองเห็นสัง
ขารธรรมทั้งหลายหรือโลกและชีวิตตามสภาวะของมันแล้ว ศิลปวิทยาเหล่านั้น ก็เป็นเพียง
สุตะ คือสิ่งที่สดับถ่ายทอดกันไปเท่านั้น ยังไม่เป็นปัญญาแท้จริง ไม่สามารถกำจัดโมหะ
หรืออวิชชาได้ และไม่อาจแก้ปัญหาพื้นฐานของชีวิตได้สำเร็จ บางทีจะแก้แต่กลายเป็นก่อปัญ
หาขึ้นใหม่ เหมือนคนต้องการแสงสว่าง แสวงหารวบรวมฟืนและเชื้อไฟชนิดต่างๆ มามากมาย
ถึงจะรวมมาได้เท่าใด และจะปฏิบัติอย่างไรต่อฟืนและเชื้อไฟเหล่านั้น จะตกแต่งประดับประดา
ประดิดประดอยอย่างไร แต่ตราบใดที่ยังมิได้จุดไฟขึ้น ก็ไม่อาจให้แสงสว่างเกิดขึ้นได้

- ปัญญา ที่เป็นตัวความรู้ในสังขารขันธ์นั้น เป็นสิ่งที่จะต้องทำให้เกิดให้มีขึ้น ต้องฝึกปรือ ทำ
ให้เจริญเพิ่มพูนขึ้นไปโดยลำดับ ปัญญาจึงมีหลายขั้นหลายระดับ และมีชื่อเรียกต่างๆ ตาม
ขั้นของความเจริญบ้าง ตามทางเกิดของปัญญานั้นบ้าง ตามลักษณะเฉพาะของปัญญาชนิด
นั้นบ้าง อันจะพึงศึกษาความหมายของแต่ละอย่างสืบต่อไป จะขอยกชื่อของปัญญามาให้ดู
เป็นตัวอย่าง เช่น ปริญญา ญาณ วิชชา อัญญา อภิญญา พุทธิ โพธิ สัมโพธิ เป็นต้น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 15:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


สัญญา วิญญาณ และปัญญา แตกต่างกันอย่างไร ได้อธิบายแล้วในบทที่ ๑ ว่าด้วย ขันธ์ ๕
ข้อที่ควรย้ำไว้ ณ ที่นี้มีเพียงอย่างเดียวคือ

วิญญาณ เป็นปริญไญยธรรม คือ เป็นสิ่งที่เราควรกําหนดรู้หรือทําความรู้จักมันตามสภาวะ
ของมันเท่านั้น เราไม่มีหน้าที่ที่จะต้องทําอะไรต่อมันอีก เพราะถึงอย่างไร มันก็ทําหน้าที่ของมัน
อยู่อย่างนั้น

สัญญา โดยทั่วไปเป็นปริญไญยธรรม คือเป็นสิ่งที่ควรกําหนดรู้หรือทําความรู้จักเท่านั้น
แต่สัญญาเจือกิเลสหรือปปัญจสัญญา เป็นปหาตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรละหรือกําจัด
ให้สิ้นไป ส่วนสัญญาที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาความรู้และส่งเสริมกุศลธรรม เป็นภาเวตัพ
พธรรม คือ สิ่งที่ควรเจริญ ควรทําให้เกิดให้มี และให้เพิ่มพูนขึ้นจนใช้ประโยชน์ได้บริบูรณ์

ส่วน ปัญญา เป็นภาเวตัพพธรรม คือ เป็นสิ่งที่ควรฝึกอบรม ทําให้เกิดให้มีและให้เจริญ
ยิ่งขึ้นไป จนทําลายโมหะหรืออวิชชาได้โดยสิ้นเชิง

ข. จำแนกโดยทางรับรู้

กล่าวตาม พุทธธรรม ผัสสะ เป็นแหล่งแห่งความรู้ความรู้ทั้งหมดทุกอย่างทุกประเภท
เกิดจากผัสสะ หรือเกิดขึ้นที่ผัสสะ คืออาศัยการรับรู้โดยผ่านอายตนะ (แดนรับรู้) ทั้ง ๖
หรือเรียกง่ายๆ ว่าผ่าน ทวาร (ทางรับรู้)ทั้ง ๖ คือ จักขุโสตะ ฆานะ ชิวหา กายะ มโน
หรือเรียกง่ายๆ ว่า ตา หูจมูก ลิ้น กาย และใจ ดังอธิบายแล้ว ข้างต้น

ถ้าถือ อายตนะ หรือ ทวาร เป็นหลัก โดยฐานเป็นต้นทางของการรับรู้ก็สามารถจัดกลุ่มความรู้
ได้เป็น ๒ ประเภท คือ

๑. ความรู้ (ที่ได้) ทางปัญจทวาร หรือเบญจทวาร คือ ตา หูจมูก ลิ้น กาย ได้แก่ ความรู้ชั้นต้น
หลาย อย่าง คือ ความรู้รูป (สี) เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะ(สิ่งต้องกายทั้งหลาย
ซึ่งสรุปลงได้ใน ปฐวี -สภาวะแข้นแข็ง เตโช-ความร้อนหรืออุณหภูมิและวาโย-ความสั่นไหว
เคลื่อนและเคร่งตึง)

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 17:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๒. ความรู้(ที่ได้) ทางมโนทวาร คือ ใจ ได้แก่ ธรรมานมณ์หรือเรียกสั้นๆ ว่า ธรรม กล่าวคือ
สิ่งทั้งหลายที่ใจรู้ที่ใจคิด ธรรมารมณ์หรือ ธรรม นี้ว่าตามแนว ท่านแยกแยะให้เห็นชัดขึ้นอีกว่า
มี ๕ อย่าง คือ

ก. เวทนาขันธ์ (หมายถึงในฐานะเป็นสิ่งที่ถูกรู้ ข้อต่อๆ ไปก็พึงเข้าใจเช่นเดียวกัน)

ข. สัญญาขันธ์

ค. สังขารขันธ์

ง. อนิทัสสนอัปปฏิฆรูป (รูปที่เห็นไม่ได้ กระทบหรือถูกต้องไม่ได้) อันนับเนื่องในธรรมายตนะ
หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สุขุมรูป มี ๑๖ อย่าง คือ อาโป ( อาโปธาตุ คือสภาวะดึงดูดซึมซาบ)
อิตถีภาวะ (ความเป็นหญิง) ปุริสภาวะ (ความเป็นชาย) หทัยรูป (ที่ตั้งแห่งใจ) ชีวิตินทรีย์
อาหารรูป (หมายถึงโอชา) อากาส (คืออวกาศหรือช่องว่าง) กายวิญญัติ (การสื่อความหมาย
ด้วยกาย) วจีวิญญัติ (การสื่อความหมายด้วยวาจา) วิการรูป ๓ คือ ลหุตา (ความเบา) มุทุตา
(ความอ่อนนุ่ม) กัมมัญญุตา (ความควรแก่งาน) และลักขณรูป ๔ คือ อุปจยะ (ความก่อตัว
หรือเติบขึ้น) สันตติ (ความสืบต่อ) ชรตา (ความทรุดโทรม) อนิจจตา (ความแปรสลาย)

จ. อสังขตธาตุ คือ นิพพาน

คัมภีร์อภิธรรมชั้นหลัง ประสงค์จะให้เข้าใจง่ายและละเอียดยิ่งขึ้น ได้จัดแบ่งธรรมารมณ์
คือ สิ่งที่เป็นความรู้ทางใจนี้ อีกแบบหนึ่ง โดยจำแนกเป็น ๖ อย่าง คือ

๑) ปสาท หรือประสาททั้ง ๕ คือ ความใสหรือความไวที่เป็นตัวสื่อรับรู้ของตา หู จมูก ลิ้น กาย

๒) สุขุมรูป ๑๖ (ที่กล่าวแล้วในข้อ ๔) ของชุดก่อน

๓) จิต

๔) เจตสิก (ตรงกับเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ในชุดก่อน)

๕) นิพพาน

๖) คือ คำเรียกขาน ชื่อเรียก คำกำหนดที่วางไว้ เช่น ชื่อเรียกว่า พื้นดิน ภูเขา รถ คน ทิศเหนือ
ทิศใต้ หลุม บ่อ เกาะ แหลม เป็นต้น ซึ่งตัวจริงของสิ่งที่บัญญัติเรียกนั้น เป็นของมีจริง
ก็มี ไม่มีอยู่จริง ก็มี แต่จะมีหรือไม่มีก็ตาม คำบัญญัตินั้น ก็เป็นกาลวินิมุต คือไม่ขึ้นต่อกาล
และไม่พินาศ เช่น ช่องว่างที่ลึกลงไปในแผ่นดินเราเรียกว่าหลุม ช่องเช่นนั้นมีที่ไหน เมื่อ
ใด ก็เรียกว่าหลุม คงที่เสมอไป แต่หลุมต่างหากจากช่องในแผ่นดินหามีไม่ และหลุมเอง
ทุกๆ หลุมย่อมตื้นเขิน ย่อมพัง ย่อมเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นอื่นได้ หรือ เช่น สิ่งที่เรียกว่า
สัญญา ย่อมเกิดดับเสื่อมสลายไป แต่บัญญัติว่าสัญญาหาเสื่อมสลายไม่ เพราะสิ่งที่มี
ภาวะเช่นนั้นเกิดขึ้นที่ไหน เมื่อใด ก็เรียกว่าสัญญาเสมอไป (ถ้าได้ตกลงไว้อย่างนั้น)
หรือเช่น สิ่งที่เป็นร่างกายย่อมทรุดโทรมแตกสลายได้ แต่บัญญัติว่ากายย่อมคงที่
ของอย่างนั้น เกิดที่ไหนพบที่ไหน ก็เรียกอย่างนั้นตามบัญญัติ ผู้ที่ไม่เข้าใจเรื่องบัญญัตินี้
อาจงงหรือสับสน เมื่อได้ฟังคำว่า เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง เป็นต้น โดยจับไม่ถูก
ว่าเนื้อตัวของเวทนาและสัญญาไม่เที่ยง หรือบัญญัติของเวทนาและสัญญาไม่เที่ยง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2021, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


พูดด้วยภาษาทางวิชาการอย่างนี้ อาจเข้าใจยากสักหน่อย โดยเฉพาะความรู้ทางมโนทวาร
บางอย่าง บางคนอาจแยกไม่ออกจากความรู้ทางปัญจทวาร ถ้าสามารถแยกได้ ก็จะเข้าใจชัด
เจนยิ่งขึ้น ขอยกตัวอย่างเช่น เมื่อได้ยินคนพูด ความรู้ทางปัญจทวาร (ในที่นี้ ได้แก่ โสตทวาร
คือหู) เป็นเพียงความรู้เสียง คือได้ยินเสียงเท่านั้น หาใช่รู้คำพูดไม่ ส่วนการรู้คำพูด คือความหมาย
ของถ้อยคำนั้นๆ ว่าเขาพูดอะไรๆ เป็นความรู้ที่เกิดในมโนทวาร หรือเมื่อมองดูหลังคา ความรู้
ทางปัญจทวาร (ในที่นี้ ได้แก่จักขุทวาร คือตา) เป็นเพียงความรู้รูปหรือรู้สีเท่านั้น หาใช่รู้หลังคา
ไม่ การรู้ภาวะที่คลุม ที่มุง ที่ปกป้อง และรู้ความเป็นหลังคา สำเร็จได้ที่มโนทวาร

โดยนัยนี้ จะเห็นว่า ความรู้ทางใจ หรือความรู้ธรรมารมณ์ คือสิ่งที่ใจรู้ หรือเรื่องในใจนั้น มีขอบ
เขตกว้างขวางมาก ครอบคลุมไปถึงความรู้ที่รับเข้ามาทางปัญจทวาร พร้อมทั้งความรู้ที่เป็น
เรื่องจำเพาะของใจ ถ้าพูดด้วยภาษาง่ายลงสักหน่อย อาจแยกประเภท ความรู้ทางมโนทวาร
ได้อีกแนวหนึ่ง ดังนี้

ก) อารมณ์เฉพาะของใจ เช่น ความรัก ความโกรธ ความขุ่นมัว ผ่องใส ดีใจ เสียใจ ซึม เศร้า
เหงาหงอย ว้าเหว่ เบิกบาน กล้าหาญ หวั่นกลัว เป็นต้น

ข) อารมณ์อดีต ซึ่งได้รับรู้ไว้ด้วยอายตนะ ๕ อย่างแรก เรียกง่ายๆ ว่า อารมณ์อดีตของปัญจทวาร

ค) อารมณ์ที่เนื่องอยู่กับรูปธรรมที่เป็นอารมณ์ของปัญจทวารนั้นเอง แต่วิญญาณทางปัญจทวาร
นั้นไม่รู้ ได้แก่ บัญญัติ และความสัมพันธ์ต่างๆ เกี่ยวกับรูปธรรมทั้งหลาย เช่น หน้าที่ความสืบ
เนื่อง ความคลี่คลายขยายตัว ความเป็นองค์ประกอบกัน ของรูปธรรมต่างๆ เป็นต้น

ง) การปรุงแต่งอารมณ์อดีตที่รับเข้ามาทางปัญจทวาร พร้อมทั้งอารมณ์เฉพาะของใจและความ
รู้เกี่ยวกับบัญญัติและความสัมพันธ์ต่างๆ ขึ้นเป็นความตริตรึก คิดหาเหตุผลและจินตนาการต่างๆ
ตลอดจนการวินิจฉัยสั่งการ

จ) ความหยั่งรู้ หรือปรีชาพิเศษต่างๆ ที่ผุดโพลงขึ้นในใจสว่างชัดทั่วตลอด เช่น มองเห็นอาการที่
สัมพันธ์กันของบางสิ่งแล้ว เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง มองเห็นกฎแห่งความสัมพันธ์นั้น ได้แก่ความ
รู้ที่เรียกว่า ญาณ เช่น อภิญญา เป็นต้น

ฉ) อสังขาร คือ นิพพาน

ถ้าจับเอาตรงแค่ ผัสสะ โดยถือว่าเป็นจุดที่ความรู้เริ่มต้นอย่างแท้จริง ก็แยกประเภทความรู้เป็น ๒
คือ ความรู้ (ที่ได้) ด้วยผัสสะทางปัญจทวาร และความรู้ (ที่ได้) ด้วยมโนผัสสั (ผัสสะทางมโนทวาร)
ซึ่งก็ได้ความเท่ากับที่จำแนกโดยทวารอย่างที่กล่าวมาแล้ว

อีกอย่างหนึ่ง ตามความนิยมในคัมภีร์ทั้งหลาย ท่านจัดความรู้ตามทางรับรู้ เป็น ๔ ประเภท คือ

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2021, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


๑. ทิฏฐะ สิ่งที่เห็น ได้แก่ รูปารมณ์ทั้งหลาย หรือความรู้ที่ได้ด้วยการเห็นการดู

๒. สุตะ สิ่งที่ได้ยิน ได้แก่ เสียง และความรู้ที่ได้ด้วยการสดับทั้งหลาย

๓. มุตะ สิ่งที่สบทราบ ได้แก่ กลิ่น รส และโผฏฐัพพะหรือสิ่งที่รับรู้ทางจมูก ลิ้น และกาย

๔. วิญญาตะ สิ่งที่แจ้งใจ ได้แก่ ธรรมารมณ์ กล่าวคือ สิ่งทั้งหลายที่รู้ด้วยใจ

สามอย่างแรก คือ ทิฏฐะ สุตะ และมุตะ เป็นความรู้ทางปัญจทวาร แต่ท่านแยกออกเป็น ๓ พวก
เพราะการเห็น และการได้ยิน เป็นแหล่งความรู้สำคัญ มีขอบเขตกว้างขวางมาก จึงแยกเป็นแต่ละ
อย่าง ส่วนความรู้ทางทวารอีกสาม ได้แก่ ทางจมูก ลิ้น และกาย มีลักษณะร่วมกันคือ เป็นความ
รู้ของทวาร ซึ่งรับอารมณ์ที่มาถึงตัว คือ กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ ต้องมาถูกต้องที่อายตนะจึงรู้
ได้ ต่างจากตา หู ซึ่งรับอารมณ์ที่ไม่มาแตะต้องถึงอายตนะ (รูปอาศัยแสง เสียงอาศัยคลื่น
เป็นสื่อเชื่อมต่อ)

ว่าโดยความหมายอย่างเคร่งครัด ความรู้ทางปัญจทวารมีขอบเขตจำกัดแคบมากดังกล่าว
แล้วข้างต้น แต่ตามที่ใช้ทั่วไป ท่านมุ่งเอาความหมายกว้างๆ หลวมๆ กล่าวคือ ทิฏฐะ หมายถึง
สิ่งที่เห็น และความรู้ที่ได้ด้วยอาศัยตาหรือด้วยการดูการเห็นทั้งหมด แม้ที่ใจได้แปลความ
หมายออกไปแล้ว แต่ยังเป็นความหมายโดยตรงขั้นต้น ที่ไม่มีการปรุงแต่งเสริมต่อ สุตะ ก็
หมายถึงสิ่งที่ได้ยินและความรู้ที่ได้จากการฟังทั้งหมด รวมทั้งถ้อยคำพูดจา ซึ่งใจได้แปล
ความหมายขั้นต้นแล้ว แต่ยังไม่ได้เอาไปปรุงแต่งต่อเสริมอีก แม้ มุตะ ก็พึงทราบทำนองเดียว
กันนี้ หากจะใช้คำศัพท์ ความรู้ทางปัญจทวาร คือ ทิฏฐะ สุตะ และมุตะ นี้ กินความหมาย
กว้างออกมาได้เพียงแค่ปัญจทวาริกสัญญา คือ สัญญาที่เป็นไปทางปัญจทวาร นอกจากนั้น
ไปก็เป็น วิญญาตะ คือ ความรู้ที่อาศัยมโนทวาร

ค. จำแนกโดยพัฒนาการทางปัญญา (ภายในบุคคล)

เมื่อพิจารณาในแง่พัฒนาการ ความรู้ที่อยู่ในขอบเขตซึ่งจะต้องเกี่ยวขอองก็คือ ความรู้ประ
เภทที่เป็นภาเวตัพพธรรม (สิ่งที่ควรเจริญหรือฝึกปรือ) ส่วนความรู้ประเภทปริญไญยธรรม
(สิ่งที่ควรกําหนดรู้หรือรู้จัก) ก็เป็นอันไม่ต้องกล่าวถึง ดังนั้น ความรู้ที่เรียกว่า วิญญาณ
จึงไม่จัดเข้าในหัวข้อนี้

ความรู้ที่อยู่ในขอบเขตของการฝึกอบรม จําแนกได้เป็น ๓ ประเภท เรียงตามลําดับแห่ง
พัฒนาการ หรือ ความเจริญแก่กล้า ที่ออกผลมาเป็นอย่างๆ ดังนี้

๑. สัญญา ความกําหนดได้หมายรู้ได้แก่ ความรู้ที่เกิดจากการกําหนดหมาย หรือจําได้หมายรู้
ซึ่งบันทึกไว้เป็นแบบสําหรับเทียบเคียงและเป็นวัตถุดิบของการรู้และการคิดต่อๆ ไป แบ่งได้
เป็น ๒ พวก ดังได้ อธิบายแล้วในความรู้ชุด ก.

เมื่อว่าโดยคุณภาพในกระบวนการพัฒนาความรู้จะเห็นได้ว่า สัญญาที่เกิดขึ้นตามปกติในกระ
บวนการรับรู้คือ สัญญาชั้นต้นทั้งหลายก็ดีสัญญาที่หมายรู้ตามความรู้ความเข้าใจที่เจริญเพิ่มพูน
ขึ้นในการฝึกอบรมปัญญาก็ดีแม้ว่าอาจแตกต่างกันได้เป็นความรู้หลายระดับ ตั้งแต่รู้คลุมเครือถึง
รูปชัดเจน ตั้งแต่รู้บางแง่ถึงรู้สมบูรณ์ตั้งแต่รู้ผิดพลาดถึงรู้ถูกต้อง ก็เป็นเพียงเรื่องของการรู้และ
ไม่รู้เท่านั้น จึงนับว่าเป็นเรื่องของความรู้และการพัฒนาความรู้โดยตรง ส่วนสัญญาฟ้ามเฟือที่เรียก
ว่า ปปัญจสัญญา หรือ กิเลสสัญญา มีลักษณะตรงข้ามคือ เป็นเครื่องกีดกั้น ปิดบัง และบิดเบือนความรู้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2021, 06:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


“สัจจะที่แน่แท้ในโลก มิใช่จะมีต่างๆ มากหลาย นอกจาก สัญญา(ทําให้เห็นต่างๆ กันไป)”

ญาณก็ต้องอาศัยสัญญาจึงเกิดขึ้นได้ดังบาลีว่า

“นี่แน่ะโปฏฐบาท! สัญญาย่อมเกิดก่อน ญาณย่อมเกิดทีหลัง, และเพราะสัญญาเกิดขึ้นญาณจึงเกิดขึ้น”

อีกแห่งหนึ่งว่า

“ข้อความว่า ‘ท่านไม่ได้เห็นสัญญาแม้สักหน่อยจากนี่ไขความว่า ท่านไม่ได้สัญญาในสิ่งที่เคย
ประกอบหรือสัญญาในสิ่งที่เคยถึง หรือสัญญาในลักษณะ หรือสัญญาในเหตุ หรือสัญญาใน
ฐานะ จากนี่ คือ จากความสงบภายใน หรือจากการปฏิบัติหรือจากธรรมเทศนาท่านจะ
ได้ญาณจากที่ไหน”

บุรุษหนึ่งมองเห็นใบไม่แก้ร่วงหล่น บังเกิดวิปัสสนาสว่างขึ้น มองเห็นความเป็นอนิจจังของสิ่ง
ทั้งหลาย ญาณนั้นอาศัยสัญญามากหลายเป็นเค้า เช่น สัญญาเกี่ยวกับชีวิตและความทรง
ตัวอยู่ของสิ่งทั้งหลายเกี่ยวกับความแก่ความทรุดโทรม เกี่ยวกับการร่วงหล่น ความตาย ความสิ้น
สุด เกี่ยวกับเบื้องบน เบื้องล่าง เป็นต้น ปัญญาที่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาเหล่านั้นอย่าง
ทั่วถึง ทําให้เกิดญาณดังกล่าวแล้วนั้น หรือตัวอย่างเกี่ยวกับโลกียญาณอย่างอื่น เช่น นายนิวตัน
มองเห็นผลแอปเปิลตกลงมา เกิดความรู้สว่างแจ้งเห็นกฎแห่งความดึงดูด ความรู้โพลงทั่วนั้นก็อาศัย
สัญญามากหลายเป็นเค้า เช่น สัญญาเกี่ยวกับการร่วงหล่นและการเข้าหากันระหว่างสิ่งต่างๆ เกี่ยว
กับช่องว่าง เกี่ยวกับแรง เกี่ยวกับการดึงการเหนี่ยว การเคลื่อนที่ การหลุดหนีการลอย เส้นตรง
เส้นคดโค้ง เป็นต้น ปัญญาที่มองเห็นความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาเหล่านั้นอย่างทั่วตลอดในด้านหนึ่ง
ทําให้เกิดความหยั่งรู้นั้นขึ้น

ญาณก็ทําให้เกิดทิฏฐิได้ตัวอย่างที่ชัดในคัมภีร์เช่น พกพรหมมีญาณระลึกชาติได้ตลอดกาลยาวนาน
อย่างดูเหมือนไม่มีที่สิ้นสุด มองเห็นสัตว์อื่นทั้งหลายเกิดดับนับไม่ถ้วน แต่ตนเองคงอยู่อย่างเดิมตลอด
จึงเกิดทิฏฐิคือ ยึดถือความเห็นขึ้นว่า สถานะแห่งพรหมนั้นยั่งยืนคงที่ มีอยู่ตลอดกาลนิรันดร พรหม
เป็นผู้สร้างผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่าง หรืออย่างผู้เความหยั่งรู้ดังท่านนิวตันนั้น ครั้นความหยั่งรู้สว่าง
แจ้งเกิดขึ้นแล้ว ต่อมาใช้ความหยั่งรู้หรือญาณนั้น มองดูสภาวะทั้งหลาย ก็เห็นเป็นไปอย่างนั้น
แต่ไม่เห็นปรุโปร่งตลอดไปทุกกรณีโดยสิ้นเชิง มีติดหรือเคลือบคลุมบ้างในบางจุดบางด้าน ความ
รู้นั้นก็อาจต้องถูกยึดถือไว้โดยอาการที่เรียกได้ว่าเป็นทิฏฐิ ทิฏฐิระดับสูงมักเกิดจากการได้ญาณบาง
อย่างขึ้นก่อน

ส่วนทิฏฐิก็เป็นเครื่องหนุนช่วยให้เกิดญาณได้เหมือนกัน ดังจะเห็นได้ว่า ทิฏฐิไม่น้อย เป็นผลความคิด
และเป็นข้อยึดถือของปราชญ์ผู้มีปัญญามาก และเป็นทิฏฐิที่มีเหตุผลมาก ดังนั้น ถ้าไม่มีความยึดติดใน
ทิฏฐินั้นเหนียวแน่นจนเกินไป และรู้จักสดับรู้จักมองรู้จักใช้ปัญญาพินิจพิจารณา ก็ย่อมมีโอกาสมาก
ที่จะเกิดญาณซึ่งช่วยให้ก้าวหน้าต่อไป และสามารถทําลายจุดที่ยังติดตันผ่านต่อไปได้

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 20 พ.ค. 2021, 09:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8583


 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อทิฏฐิก็ดี ญาณ ก็ดี เกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมมีการกําหนดหมาย หรือหมายรู้ตามทิฏฐิหรือตามญาณ
นั้นเกิดเป็นสัญญาใหม่ขึ้นอีก ทิฏฐิและญาณจึงทําให้เกิดสัญญาซึ่งเป็นวัตถุดิบของความรู้และความ
คิดอื่นสืบต่อไป ข้อแตกต่างกันคือ ทิฏฐิมักพลอยทําให้เกิดสัญญาใหม่ที่ผิดพลาด ส่วนญาณ
จะช่วยให้เกิดสัญญาที่ถูกต่อง และแก่สัญญาที่ผิดพลาด

ความรู้ที่ออกรูปมา ๓ แบบ ในกระบวนการพัฒนาปัญญาภายในบุคคลนี้พึงพิจารณาโดยสัมพันธ์
กับวิธีทําให้เกิดปัญญา ๓ วิธีที่ท่านแสดงไว้ในเรื่อง ปัญญา ๓ ประเภท ด้วย คือ

๑. จินตามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการคิดการพิจารณาหาเหตุผลด้วยตนเอง

๒. สุตมยปัญญา ปัญญาเกิดจากการสดับเล่าเรียนหรือถ่ายทอดต่อกันมา

๓. ภาวนามยปัญญา ปัญญาเกิดจากการลงมือปฏิบัติฝึกหัดอบรม

นอกจากตัววิธีที่เป็นหลักใหญ่แล้ว ยังมีกิจกรรมอีกหลายอย่างที่พึงใช้ประกอบในกระบวนการก่อให้
เกิดปัญญา โดยเฉพาะในวิธีที่ ๓ กิจกรรมที่สําคัญๆ คือ การฟัง ซักถาม สอบค้น (สวนะ และปริปุจฉา)
การสนทนาถกเถียง อภิปราย (สากัจสา) การสังเกตดูเฝ้าดูดูอย่างพินิจ (ปัสสนะ และนิชฌาน)
การพิจารณาโดยแยบคาย (โยนิโสมนสิการ หรือ โยนิโสอุปปริกขา) การชั่งเหตุผล (ตุลนา) การ
ไตร่ตรอง ตรวจสอบ ทดสอบ สอบสวน ทดลอง และเฟ้น (วิมังสา และวิจัย) การเสพค้น ฝึกหัด ทํา
บ่อย ทําให้มาก (อาเสวนะ ภาวนา และพหุลีกรณ์)

การคิด การเล่าเรียนสดับฟัง และการปฏิบัติฝึกปรือ ย่อมเป็นเครื่องช่วยให้สัญญา ทิฏฐิและ
ญาณนั้นเกิดมีใหม่ขึ้นบ้าง ก้าวหน้าเพิ่มพูนขึ้นบ้าง ได้รับการแก้ไขปรับปรุงให้ถูกต้องขึ้นบ้าง

ว่าที่จริง สุตะคือความรู้ที่ได้เล่าเรียนสดับมา ก็ดีการคิดอะไรได้ต่างๆ ก็ดีและปัญญาที่รู้เข้าใจ
อย่างนั้นอย่างนี้ก็ดีย่อมเป็นความรู้แบบต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวบุคคลด้วยเหมือนกัน แต่ความรู่ที่จะ
ออกผลเป็นชิ้นเป็นอันเป็นรูปสําเร็จขึ้นในตัวบุคคล ก็คือ ความรู้ ๓ อยาางข้างต้น คือ สัญญา
ทิฏฐิ และญาณนั้น อาจพูดได้ว่าสัญญาทิฏฐิและญาณ ก็คือ ผลข้างปลายของสุตะ จินตา
และภาวนานั่นเอง

เมื่อความรู้ออกรูปเป็นสัญญา ทิฏฐิ และญาณแล้ว ย่อมมีผลต่อชีวิตของบุคคลมาก สัญญามี
อิทธิพลยิ่งต่อการรับรู้ การมองเห็น การเข้าใจโลกรอบตัว และการที่จะสร้างความรู้อย่างอื่น
ต่อๆ ไป ทิฏฐิตั้งแต่ความยึดถือลัทธิศาสนา และอุดมการณ์ต่างๆ ตลอดลงมาจนถึงค่านิยมต่างๆ
เป็นตัวชี้นำแนวทางแห่งพฤติกรรมและวิถีชีวิตของบุคคลได้ทั้งหมด ส่วนความรู้ประเภท
ญาณ เป็นความรู้กระจ่างชัดและลึกซึ้งที่สุด เป็นผลสำเร็จทางปัญญาสูงสุดที่มนุษย์จะทำได้
สามารถชำระล้างลงไปถึงจิตสันดานของบุคคล สร้างหรือเปลี่ยนแปลงท่าทีแห่งการมอง
โลกและชีวิต ที่เรียกว่าโลกทัศน์และชีวทัศน์ได้ใหม่ มีผลต่อพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต
ของบุคคลอย่างเด็ดขาดและแน่นอนยั่งยืนยิ่งกว่าทิฏฐิ

ความรู้ชุดนี้สัมพันธ์กับความรู้ที่จําแนกอีกแบบหนึ่ง ในชุดต่อไปด้วย

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 9 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร