วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 06:49  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


“อภิธรรม (สันสกฤต: abhidharma) หรืออภิธัมมะ (บาลี: abhidhamma) เป็นชื่อปิฎกศาสนาพุทธฉบับหนึ่งในปิฎกทั้งสามฉบับที่รวมเรียก "พระไตรปิฎก" อภิธรรมแปลว่าธรรมอันยิ่ง ปิฎกฉบับอภิธรรมนั้นเรียก "พระอภิธรรมปิฎก" ซึ่งว่าด้วยประมวลหลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์และบุคคลเลย”



กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 06:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๕๓. โทมนัสสชวนจิต ทำให้เกิดจิตตชรูปได้กี่ประเภท คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๖ ประเภท (ใน๗ประเภทนั้น เว้นจิตตชรูปที่เกี่ยวกับการหัวเราะ)
๑. จิตตชรูปสามัญ
๒. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการร้องไห้
๓. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถ
๔. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการพูด
๕. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔
๖. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่น

ถามข้อที๕๔. อุเปกขาชวนจิต ทำให้เกิดจิตตชรูปได้กี่ประเภท คืออะไรบ้าง ?
ตอบ ๕ ประเภท (ใน๗ประเภทนั้น เว้นจิตตชรูปที่เกี่ยวกับการหัวเราะ และร้องไห้)
๑. จิตตชรูปสามัญ
๒. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวอิริยาบถ
๓. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับการพูด
๔. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔
๕. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่น

ถามข้อที๕๕. อัปปนาชวนจิต ทำให้เกิดจิตตชรูปได้กี่ประเภท คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๒ ประเภท คือ
๑. จิตตชรูปสามัญ
๒. จิตตชรูปที่เกี่ยวกับอิริยาบถใหญ่ทั้ง ๔ ตั้งมั่น

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 07:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๕๖. รูปที่เกิดจากสมุฏฐานอย่างเดียว มีกี่รูป คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ ๑๑ รูป คือ
๑. ปสาทรูป ๕ (กรรมเป็นสมุฏฐาน)
๒. ภาวรูป ๒ (กรรมเป็นสมุฏฐาน)
๓. หทยรูป ๑ (กรรมเป็นสมุฏฐาน)
๔. ชีวิตรูป ๑ (กรรมเป็นสมุฏฐาน)
๕. วิญญัติรูป ๒ (จิตเป็นสมุฏฐาน)
เพราะไม่จำเป็นต้องอาศัยสมุฏฐานอื่นก็เกิดขึ้นได้


ถามข้อที๕๗. รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๒ มีกี่รูป คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ ๑ รูป คือ
๑. สัททรูป ๑ (มีจิต,อุตุ เป็นสมุฏฐาน)
เพราะ สัททรูปคือเสียง หากเกิดจาก วจีวิญญัติก็คือเสียงพูดต่างๆเพื่อประสงค์ให้รู้ความหมายย่อมเกิดจากจิตเป็นสมุฏฐานเท่านั้น
เสียงนอกจากนั้นล้วนเกิดจากอุตุเป็นสมุฏฐานเช่นเสียงไอ เสียงกรน เสียงจาม เสียงท้องร้อง เสียงแตรรถ หรือเสียงที่ออกจากลำโพง รวมเกิดจากอุตุสมุฏฐานทั้งสิ้น

ถามข้อที๕๘. รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๓ มีกี่รูป คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ ๓ รูป คือ
๑. วิการรูป ๓ (จิต,อุตุ,อาหาร เป็นสมุฏฐาน)
เพราะวิการรูปที่เกิดจากจิตที่แจ่มใส ย่อมสร้างความเบา ความอ่อน และความควรแก่การใช้งานให้เกิดขึ้น
วิการรูป ที่เกิดจากอุตุ เกิดจากการบริหารร่างกายที่เหมาะสมทำให้ร่างกายมีความเบา ความอ่อน และความควรแก่การใช้งาน
วิการรูปที่เกิดจากอาหาร เกิดจากการรับประทานอาหารที่มีสารอาหารที่มีคุณค่าทางอาหารและเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ย่อมทำให้ร่างกายเกิดความเบา ความอ่อน และความควรแก่การใช้งาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 07:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๕๙. รูปที่เกิดจากสมุฏฐาน ๔ มีกี่รูป คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ ๙ รูป คือ
๑. มหาภูตรูป ๔
๒. โคจรรูป (เว้นสัททะ) ๓
๓. อาหารรูป ๑
๔. ปริเฉทรูป ๑
เพราะเป็นรูปที่มีอยู่ในทุกรูป เป็นรูปที่แยกจากกันไม่ได้ สมุฏฐาน ๔

ถามข้อที๖๐. รูปที่ไม่ได้เกิดจากสมุฏฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง มีกี่รูป คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ ๔ รูป คือ
๑. ลักขณรูป ๔
เพราะ ลักขณรูปทั้ง ๔ นั้น ไม่ได้เกิดขึ้นโดยอาศัยสมุฎฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเลย เพราะลักขณรูปทั้ง ๔ นี้ เป็นสภาพของรูปกลาปที่กาลังเกิดขึ้น เป็นต้น เท่านั้น ไม่มีสมุฎฐานโดยเฉพาะ เรียกว่า นกุโตจิสมุฏฐานิกรูป


จงตอบคำถามต่อไปนี้พร้อมชี้แจงรายละเอียดและอธิบายเหตุผลให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที๖๑. รูปที่เกิดได้เฉพาะในกามภูมิ มีกี่รูป คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ รูปที่เกิดได้ในกามภูมิ ๑๑ นั้น มีได้ทั้งหมด ๒๘ รูป
ส่วนรูปที่เกิดไม่ได้ในกามภูมิ ๑๑ นั้นไม่มี
เพราะรูปทั้งหมดนั้นชื่อว่า กามธรรม คือ ธรรมอันน่าใคร่น่าปรารถนาของกามตัณหา
ที่เรียกว่า กามอารมณ์ หรือ วัตถุกาม เพราะฉะนั้น รูป ๒๘ ทั้งหมดเหล่านี้จึงสามารถเกิดได้ในกามภูมิ ๑๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 07:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๖๒. รูปไหนบ้างที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล [เฉพาะอุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต]ของกำเนิดทั้ง ๔ ?

ตอบ รูปที่เกิดขึ้นในปฏิสนธิกาล[เฉพาะอุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต]ของกำเนิดทั้ง ๔ มีดังนี้

๑. รูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลสำหรับคัพภเสยยกกำเนิด [ชลาพุชกำเนิดและอัณฑชกำเนิด] มีกัมมชกลาป ๓ กลาป รวมเป็น รูป ๑๖ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
กายปสาทรูป ๑
ภาวรูป ๒ [อย่างใดอย่างหนึ่ง]
หทยรูป ๑
อุปัจจยรูป ๑
สันตติรูป ๑

๒. รูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลของสังเสทชกำเนิดและโอปปาติกกำเนิดในกามภูมิ มีกัมมชกลาป ๗ กลาป รวมเป็น ๒๐ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
ปสาทรูป ๕
ภาวรูป ๒ [อย่างใดอย่างหนึ่ง]
หทยรูป ๑
อุปัจจยรูป ๑
สันตติรูป ๑

๓. รูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลของโอปปาติกกำเนิดในรูปภูมิ ๑๕ [เว้นอสัญญสัตตภูมิ] มีกัมมชกลาป ๔ กลาป รวมเป็น ๑๕ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
จักขุปสาทรูป ๑
โสตปสาทรูป ๑
หทยรูป ๑
อุปัจจยรูป ๑
สันตติรูป ๑

๔. รูปที่เกิดในปฏิสนธิกาลของโอปปาติกกำเนิดในอสัญญสัตตภูมิ มีกัมมชกลาป ๑ กลาป รวมเป็น ๑๒ รูป ได้แก่
อวินิพโภครูป ๘
ชีวิตรูป ๑
ปริจเฉทรูป ๑
อุปัจจยรูป ๑
สันตติรูป ๑

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 07:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๖๓. จงจำแนกกัมมชกลาป ๙ โดยกำเนิด ๔ มาดู ?

ตอบ ๑. สังเสทชกำเนิด และโอปปาติกกำเนิด ที่เกิดในกามภูมิ ในปฏิสนธิกาล มีกัมมชกลาปเกิดได้ ๗ กลาป คือ
จักขุทสกกลาป
โสตทสกกลาป
ฆานทสกกลาป
ชิวหาทสกกลาป
กายทสกกลาป
หทยทสกกลาป
ภาวทาสกลาป

- ว่าโดยโอมกนัย คือนัยที่มีกัมมชกลาปเกิดได้อย่างน้อย เพราะมีกลาปที่ขาดตกบกพร่องได้ ดังนี้ คือ
สังเสทชะกำเนิด กัมมชกลาป ย่อมขาดตกบกพร่องได้ ๔ กลาป ได้แก่
๑. จักขุทสกกลาป
๒. โสตทสกกลาป
๓. ฆานทสกกลาป
๔. ภาวทสกกลาป

ทุคติโอปปาติกะกำเนิด กัมมชกลาปขาดตกบกพร่องได้ ๓ กลาป ได้แก่
๑. จักขุทสกกลาป
๒. โสตทสกกลาป
๓. ภาวทสกกลาป

สุคติโอปปาติกะกำเนิด ที่เป็นมนุษย์ (ต้นกัป) กัมมชกลาปขาดตกบกพร่องได้ ๑ กลาป ได้แก่
๑. ภาวทสกกลาป

ส่วนพวกโอปปาติกะกำเนิด ที่เป็นเทวดาทั้งหลายในปฏิสนธิกาลนั้นกัมมชกลาปย่อมครบสมบูรณ์ โดยไม่ขาดตกบกพร่องเลย

สำหรับในปวัตติกาลนั้น สังเสทชะกำเนิด และโอปปาติกะกำเนิดที่เกิดอยู่ในกามภูมินี้ มี กัมมชกลาปเกิดได้ ๑ กลาป คือ
๑. ชีวิตนวกกลาป (เกิดได้ตั้งแต่ฐีติขณะของปฏิสนธิกาล)


๒. โอปปาติกกำเนิด ที่เป็นรูปพรหมทั้งหลาย(เว้นอสัญญสัตตพรหม) ในปฏิสนธิกาล กัมมชกลาปเกิดได้ ๔ กลาป คือ
จักขุทสกกลาป
โสตทสกกลาป
วัตถุทสกกลาป
ชีวิตนวกกลาป
ในปวัตติกาล ไม่มีกัมมชกลาปเกิดขึ้นอีก คงมีแต่กัมมชกลาป ๔ นั่นเอง

๓. โอปปาติกกำเนิด ที่เป็นอสัญญสัตตพรหม) ทั้งในปฏิสนธิกาลและปวัตติกาล กัมมชกลาปเกิดได้ ๑ กลาป คือ
ชีวิตนวกกลาป

๔. คัพภเสยยกะกำเนิด กัมมชกลาปเกิดได้ ดังนี้
ในปฏิสนธิกาล ว่าโดยอุกกัฏฐนัย คือ นัยที่เกิดได้มากที่สุด กัมมชกลาปย่อมเกิดได้ ๓ กลาป คือ
- กายทสกกลาป
- ภาวทสกกลาป
- วัตตถุทสกกลาป

ว่าโดยโอมกนัย คือนัยที่น้อยที่สุด กัมมชกลาปย่อมเกิดได้ ๒ กลาป คือ
- กายทสกกลาป
- วัตตถุทสกกลาป

ในปวัตติกาล กัมมชกลาปเกิดได้อีก ๕ กลาป คือ
๑. จักขุทสกกลาป
๒. โสตทสกกลาป
๓. ฆานทสกกลาป
๔. ชิวหาทสกกลาป
๕. ชีวิตนวกกลาป

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 08:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๖๔. จงแสดงการเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของรูปทั้ง ๔ สมุฏฐานมาโดยละเอียด ?

ตอบ. แสดงการเกิดขึ้นครั้งแรกและครั้งสุดท้ายของรูปทั้ง ๔ สมุฏฐาน ดังนี้
๑. กัมมชรูป เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่อุปปาทักขณะของปฏิสนธิจิต
และเกิดขึ้นเรื่อยไปทุกอนุกขณะของจิต จนถึงเกิดครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจิตดวงที่ ๑๗ ที่นับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป
๒. จิตตชรูป เกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่อุปปาทักขณะของปฐมภวังค์
และเกิดขึ้นเรื่อยไปทุกอุปปาทักขณะของจิต [ยกเว้นขณะที่ทวิปัญจวิญญาณจิต ๑๐ ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้น จิตตชรูปย่อมไม่เกิด เพราะจิตเหล่านี้มีกำลังอ่อน ไม่สามารถทำให้จิตตชรูปเกิดขึ้นได้] จนถึงเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจุติจิต สำหรับพระอรหันต์ทั้งหลายเกิดครั้งสุดท้ายที่อุปปาทักขณะของจิตดวงที่ ๒ ที่นับถอยหลังจากจุติจิตขึ้นไป
๓. อุตุชรูป เกิดขึ้นครั้งแรกที่ฐีติกขณะของปฏิสนธิจิต
และเกิดเรื่อยไปทุกอนุกขณะของจิต แม้ว่าสัตว์นั้นจะตายไปแล้ว เป็นซากศพ เป็นกระดูก ขี้เถ้า หรือดินก็ตาม ไปจนกระทั่งโลกถูกทำลาย สภาพแห่งอุตุชรูปนี้ก็ยังเกิดขึ้นเรื่อยไป
๔. อาหารชรูป เกิดขึ้นตั้งแต่โอชาได้ซึมซาบทั่วไปในร่างกาย [ในสัปดาห์ที่ ๒-๓]
และเกิดขึ้นเรื่อยไปทุกอนุกขณะของจิตจนถึงเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายที่ภังคักขณะของจุติจิต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 08:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๖๕. จงแสดงความวนเวียนในสังสารวัฏของรูป พร้อมยกหลักฐานประกอบทั้งบาลีและคำแปลด้วย ?

ตอบ แสดงคาถาที่แสดงความเวียนวนอยู่ในสังสารวัฏฏ์ของรูป ดังต่อไปนี้
อิจฺเจวํ มตสตฺตานํ ปุนเทว ภวนฺตเร
ปฏิสนฺธิมุปาทาย ตถารูปํ ปวตฺตนฺติ
แปลความว่า
- ในสันดานแห่งสัตว์ทั้งหลายที่ตายจากโลกนี้แล้ว
รูปทั้ง ๔ สมุฏฐานย่อมเกิดอีกในภพใหม่ ตั้งแต่ปฏิสนธิจิตเป็นต้นไป
ทำนองเดียวกันกับภพนี้ ดังที่ได้บรรยายมาแล้ว ดังนี้.
และในบรรดาภูมิ ๓๑ ภูมินั้น
จะเป็นไปตามคาถานี้ไม่ได้ทั้งหมด เพราะ บางภูมิ รูปทั้ง ๔ สมุฏฐานก็เกิดได้ครบบริบูรณ์
บางภูมิก็เกิดได้ไม่ครบ

ถ้าสัตว์นั้นไปเกิดในกามภูมิ ๑๑
กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป และอาหารชรูป ย่อมเกิดได้ตามคาถานั้นทุกประการ

แต่ถ้าสัตว์นั้นไปเกิดในรูปภูมิ ๑๕ [เว้นอสัญญสัตตภูมิ]
กัมมชรูป จิตตชรูป อุตุชรูป ย่อมเกิดได้ แต่อาหารชรูปไม่เกิด
[เพราะพวกพรหมไม่ต้องบริโภคอาหาร]

ถ้าสัตว์นั้นเกิดในอสัญญสัตตภูมิ ๑
กัมมชรูป อุตุชรูป ย่อมเกิดได้ แต่จิตตชรูป และ อาหารชรูปไม่เกิด

และถ้าสัตว์นั้นเกิดในอรูปภูมิ ๔ แล้ว รูปทั้ง ๔ สมุฏฐานเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น ในบรรดาภูมิ ๓๑ ภูมินั้น จึงเป็นไปตามคาถาตามสมควรแก่ภูมิเท่านั้น.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 08:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


จงตอบคำถามต่อไปนี้พร้อมความหมายและอธิบายรายละเอียดให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที๖๖. พระอนุรุทธาจารย์แสดงคุณบทของพระนิพพานด้วยคาถาว่าอย่างไร ? แบ่งเป็นกี่บท คืออะไรบ้าง?


ตอบ. พระอนุรุทธาจารย์แสดงคาถาที่พรรณนาคุณบทของพระนิพพาน ดังต่อไปนี้
ปทมจฺจุตมจฺจนฺตํ อสงฺขตมนุตฺตรํ
นิพฺพานมิติ ภาสนฺติ วานมุตฺตา มเหสโย

แปลความว่า
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ผู้แสวงหาซึ่งคุณอันยิ่งใหญ่ คือ ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ ผู้พ้นแล้วจากตัณหาเครื่องร้อยรัด ย่อมกล่าวสภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้ มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวด้วยสังขตธรรม ไม่มีความตาย และก้าวล่วงไปจากขันธ์ ๕ เสียได้ ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นธรรมที่ประเสริฐสุดนั้นว่า นิพพาน.

- ในคาถานั้นท่านพรรณนาคุณบทของพระนิพพานเป็น ๕ บท คือ
ปทํ, อจฺจุตํ, อจฺจนฺตํ, อสงฺขตํ และ อนุตฺตรํ
เป็นสภาวะของพระนิพพาน เพราะฉะนั้น ธรรมใดมีสภาวะครบทั้ง ๕ ประการดังกล่าวมานี้
ธรรมนั้นนั่นแหละ ชื่อว่า พระนิพพาน ตามพระดำรัสของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย

คำว่า ปทํ แปลว่า ส่วนหนึ่ง หมายความว่า สภาวธรรมชนิดหนึ่งที่เข้าถึงได้มีอยู่โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวด้วยสังขตธรรม ได้แก่พระนิพพาน

คำว่า อจฺจุตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ตาย หมายความว่า เป็นสภาวธรรมที่ไม่มีการเกิดและไม่มีการตาย เพราะความตายจะมีได้ ก็ต้องมีความเกิด เมื่อไม่มีความเกิดแล้ว ความตายก็มีไม่ได้เช่นเดียวกัน ได้แก่ พระนิพพาน

คำว่า อจฺจนฺตํ แปลว่า ธรรมที่ก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีตและอนาคต ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า พระนิพพานนั้นก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่ดับไปแล้ว คือ ปุพพันตขันธ์ และก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่จะเกิดขึ้นข้างหน้า คือ อปรันตขันธ์ แม้ว่าไม่ได้แสดงการก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันก็จริง
แต่เมื่อได้แสดงการก้าวล่วงขันธ์ ๕ ที่เป็นอดีตและอนาคตแล้ว การแสดงการก้าวล่วงขันธ์ ๕
ที่เป็นปัจจุบันก็สำเร็จไปด้วย เพราะขันธ์ ๕ ที่เป็นปัจจุบันนี้เอง ก็จะเป็นอนาคตขันธ์ ๕ ที่จะมาถึงข้างหน้า และจะเป็นอดีตขันธ์ ๕ เมื่อล่วงไปแล้ว เพราะฉะนั้น จึงไม่จำเป็นต้องแสดงการก้าวล่วงปัจจุบันขันธ์ ๕ โดยเฉพาะ และพระนิพพานนั้นเป็นธรรมที่พ้นจากกาลทั้ง ๓ จึงเรียกว่า กาลวิมุตติ และเป็นธรรมที่พ้นจากขันธ์ทั้งปวง เรียกว่า ขันธวิมุตติ

คำว่า อสงฺขตํ แปลว่า ธรรมที่ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยปัจจัย ๔ ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า พระนิพพานนี้เป็นธรรมที่ไม่ใช่จิต เจตสิก รูป เพราะธรรมดาจิต เจตสิก รูป เหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นโดยมีปัจจัย ๔ คือ กรรม จิต อุตุ อาหาร อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ ๒-๓-๔ เป็นผู้ปรุงแต่ง เรียกว่า สังขตธรรม เมื่อกล่าวโดยสามัญแล้ว คำว่า อสังขตธรรม ก็ได้แก่ บัญญัติด้วย แต่ในที่นี้แสดง
เฉพาะปรมัตถธรรมซึ่งเป็นธรรมที่มีสภาวะจริงๆ เพราะฉะนั้น อสังขตธรรมในที่นี้จึงหมายถึง
พระนิพพาน เท่านั้น

คำว่า อนุตฺตรํ แปลว่า เป็นธรรมที่ประเสริฐ ได้แก่ พระนิพพาน หมายความว่า ธรรมอื่นๆ ที่จะประเสริฐกว่าพระนิพพานนั้นไม่มีเลย เมื่อกล่าวตามสภาพที่เป็นจริงแล้ว คำว่า อนุตตรธรรม ได้แก่ โลกุตตรจิต ๘ เจตสิกที่ประกอบ ๓๖ และนิพพาน แต่สำหรับในที่นี้หมายถึงพระนิพพานอย่างเดียว ก็เพราะคาถาที่กล่าวไว้ข้างต้นนั้น แสดงถึงเรื่องพระนิพพานอย่างเดียว.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 08:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๖๗. จงจำแนกนิพพาน ๑ นิพพาน ๒ นิพพาน ๓ พร้อมความหมายและคำอธิบายพอสังเขป ?

ตอบ. พระนิพพานเมื่อว่าโดยอาการที่เป็นอยู่ [สภาพที่ปรากฏ] แล้ว มี ๓ อย่าง คือ
๑. สุญญตนิพพาน หมายถึง ความปรากฏของพระนิพพานนั้นสูญสิ้นจากกิเลสและขันธ์ ๕ ทั้งปวง
๒. อนิมิตตนิพพาน หมายถึง ความปรากฏของพระนิพพานนั้นไม่มีนิมิต เครื่องหมาย ไม่มีรูปร่างสัณฐาน ไม่มีสีสันวรรณะแต่ประการใดเลย
๓. อัปปณิหิตนิพพาน หมายถึง ความปรากฏของพระนิพพานนั้นไม่มีอารมณ์ที่น่าปรารถนาด้วยโลภะ และไม่มีตัณหาที่เป็นตัวต้องการอยู่ในพระนิพพานนั้นเลย.

ถามข้อที๖๘. เพราะเหตุใด ตัณหาจึงเป็นปฏิปักษ์หรือข้าศึกต่อพระนิพพาน ?

ตอบ เพราะตัณหา คือ ความยินดีพอใจติดใจในอารมณ์ต่าง ๆ
และความพอใจติดใจในอารมณ์นี้เอง เป็นผู้เกี่ยวเกาะสัตว์ทั้งหลายไว้ ไม่ให้หลุดพ้นจากความเวียนว่ายตายเกิดไปได้ เกี่ยวเกาะสัตว์ทั้งหลายไว้ในภพภูมิเก่าให้ติดต่อกับภพภูมิใหม่เรื่อยๆ ไป โดยไม่มีกำหนดว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด ด้วยเหตุนี้ ตัณหาจึงได้ชื่อว่า วาน
ส่วนพระนิพพานนั้นเป็นธรรมชาติที่พ้นจากตัณหาเครื่องร้อยรัดอย่างเด็ดขาด.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 11:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๖๙. ความปรารถนาพระนิพพานที่จัดเป็น ภวตัณหา และ วิภวตัณหา นั้นเป็นอย่างไรบ้าง ?

ตอบ สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในสภาวะความเป็นอยู่ [สภาพที่ปรากฏ] ของพระนิพพานดีพอ เมื่อได้ยินว่าพระนิพพานนั้นเป็นแดนสุขาวดี เมื่อไปอยู่ในพระนิพพานนั้นแล้ว จะไม่มีการเกิด แก่ เจ็บ ตาย อีกต่อไป ย่อมมีชีวิตยั่งยืนอยู่ชั่วนิรันดร์ ทั้งไม่มีความทุกข์ใดๆ โดยประการทั้งปวง เมื่อคิดเช่นนี้แล้ว ย่อมปรารถนาอยากไปพระนิพาน เพื่อไปเสวยความสุขและมีชีวิตนิรันดร์นั้น โดยคิดว่า พระนิพพานนั้นเป็นภพภูมิหนึ่ง ที่ยังมีรูปนามไปสถิตอยู่ เพื่อเสวยความสุขตลอดกาลนาน เพราะฉะนั้นความปรารถนาพระนิพพานของบุคคลจำพวกนี้ จึงจัดเป็น ภวตัณหา คือ ความยินดีพอใจในความเห็นว่า พระนิพพานเป็นภพภูมิพิเศษนั้น เป็นสภาพเที่ยงแท้มั่นคงและยั่งยืนอยู่ตลอดกาลนาน ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดไปในภพภูมิต่างๆ อีกต่อไป ทั้งไม่มีความทุกข์ความเดือดร้อนใดๆ ทั้งสิ้น มีแต่ความสุขอยู่ชั่วนิรันดร์

สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในสภาพความเป็นอยู่ของพระนิพพานดีพอนั้น
เมื่อได้ยินได้ฟังว่า พระนิพพานนั้นไม่มีความทุกข์ใดๆ โดยประการทั้งปวง เป็นสภาพที่ว่างเปล่า ไม่มีอะไรๆ ทั้งสิ้น เพราะเป็นสภาพที่พ้นจากโลกทั้งปวง เมื่อเป็นเช่นนี้ ย่อมเกิดความอยากได้พระนิพพาน เพราะต้องการความดับสูญ ไม่ต้องการเกิดอีกต่อไป โดยคิดว่า “ตายแล้วก็จบกัน” หรือ “ตายแล้วจะได้หลับสบายตลอดไป ไม่ต้องรับรู้อะไรอีกต่อไป” เป็นต้น แต่คิดไม่ถึงว่า สภาพความว่างเปล่าหรือความสูญของพระนิพพานนั้น หมายถึง ความสูญสิ้นจากกิเลสตัณหาและขันธ์ ๕ ทั้งปวงเท่านั้น ไม่ใช่สูญเปล่าไม่มีอะไรๆ เลยตามที่เข้าใจกัน เพราะสภาพของพระนิพพานที่เป็นสันติลักษณะนั้นมีอยู่ เพียงแต่ว่า เมื่อบุคคลดับกิเลสตัณหาหมดสิ้นแล้ว การเวียนว่ายตายเกิดและรูป
นามขันธ์ ๕ กล่าวคือ ความเป็นสัตว์บุคคลและความรู้สึกนึกคิดต่างๆ ย่อมไม่มีอีกต่อไป เพราะฉะนั้น ความปรารถนาพระนิพพานของบุคคลจำพวกนี้ จึงจัดเป็นวิภวตัณหา คือ ความยินดีพอใจในความดับสูญ ไม่มีอะไรๆ เลย คือ พระนิพพาน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 11:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๗๐. เพราะเหตุใด จิตและเจตสิกซึ่งไม่มีรูปร่างสัณฐานสีสันวรรณะ จึงไม่เรียกว่า อนิมิตตนิพพาน ?

ตอบ ธรรมดาจิต เจตสิก นั้น ไม่มีรูปร่างสัณฐาน สีสันวรรณะ เหมือนรูปขันธ์ก็จริง แต่ความเกิดดับสืบต่อกันของนามขันธ์ ๔ นี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าและปรจิตตวิชานนอภิญญาลาภีบุคคลทั้งหลาย ย่อมเห็นได้ด้วยปัญญา คล้ายกับว่า นามขันธ์ ๔ นี้ มีรูปร่างสัณฐาน จึงมีนิมิตเครื่องหมาย เพราะฉะนั้น จะเรียกจิตและเจตสิกทั้งหลายว่า อนิมิตตนิพพาน ไม่ได้ เพราะความเป็นอยู่ของพระนิพพานไม่เป็นเช่นนั้นแต่ประการใดเลย.

ถามข้อที๗๑. กามาวจรจิต ที่เป็นโสมนัสด้วย วิปปยุตต์ด้วย อสังขาริกด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๗ ดวง
๑. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
- โลภมูลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด โดยไม่มีการชักชวน
๒. โสมนสฺสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
- จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีเป็นผลของกุศล ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดียิ่ง
๓. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ
- จิตที่เกิดการยิ้มของพระอรหันต์
๔. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา โดยไม่มีการชักชวน
๕. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ (กุศล)
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา โดยไม่มีการชักชวน
๖. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ (วิบาก)
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา โดยไม่มีการชักชวน
๗. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ (กิริยา)
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา โดยไม่มีการชักชวน

ถามข้อที๗๒. มหัคคตจิต ที่เป็นกิริยาด้วย โสมนัสด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๔ ดวง
๑. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิต ปฐมชฺฌานกิริยาจิตฺต
๒. วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิต ทุติยชฺฌานกิริยาจิตฺต
๓. ปีติสุเขกคฺคตาสหิต ตติยชฺฌานกิริยาจิตฺต
๔. สุเขกคฺคตาสหิต จตุตฺถชฺฌานกิริยาจิตฺต

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 11:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๗๓. วิปากจิต ที่เป็นโสมนัสด้วย วิปปยุตต์ด้วย อสังขาริกด้วย มีกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ ๒ ดวง
๑. โสมนสฺสสหคตํ กุสลวิปากํ สนฺตีรณจิตฺตํ
- จิตที่เกิดขึ้นพร้อมด้วยความยินดีเป็นผลของกุศล ทำหน้าที่พิจารณาอารมณ์ทั้ง ๕ ที่ดียิ่ง
๒. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ (วิบาก)
มหากุศลจิตที่เกิดพร้อมกับความรู้สึกดีใจ ไม่ประกอบด้วยปัญญา โดยไม่มีการชักชวน


จงแสดงเจตสิกที่ประกอบกับจิตในหัวข้อดังต่อไปนี้ให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที๗๔. กุศลจิต ที่เป็นโสมนัสด้วย วิปปยุตต์ด้วย อสังขาริกด้วย มีเจตสิกประกอบกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ มหากุศลจิตดวงที่ ๓ มีเจตสิกประกอบ ๓๗ ดวง
๑. อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
๒. โสภณเจตสิก ๒๔ (เว้นปัญญาเจตสิก)

ถามข้อที๗๕. วิปากจิต ที่เป็นโสมนัสด้วย อฌานะด้วย อสังขาริกด้วย มีเจตสิกประกอบกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ เจตสิกประกอบกับวิปากจิต ที่เป็นโสมนัสด้วย อฌานะด้วย อสังขาริกด้วย ๗๖ ดวง ดังนี้
๑.โสมนัสสันตีรณ กุศลวิบาก ๑ เจตสิกประกอบ ๑๑ ดวง ดังนี้
- สัพพจิตตสาธารณเจตสิก ๗
- ปกิณณกเจตสิก ๔ (เว้นวิริยะ,ฉันทะ)

๒. มหาวิปากจิต ดวงที่ ๑ เจตสิกประกอบ ๓๓ ดวง ดังนี้
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
- โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
- ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง

๓.มหาวิปากจิต ดวงที่ ๓ เจตสิกประกอบ ๓๒ ดวง ดังนี้
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๓ ดวง
- โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 15:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๗๖. กิริยาจิต ที่เป็นอุเบกขาด้วย สัมปยุตต์ด้วย อสังขาริกด้วย มีเจตสิกประกอบกี่ดวง คืออะไรบ้าง ?

ตอบ มหากิริยาจิต ดวงที่ ๕ อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
เจตสิกประกอบ ๓๔ ดวง
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๒ ดวง (เว้นปีติเจตสิก)
- โสภณสาธารณเจตสิก ๑๙ ดวง
- อัปปมัญญาเจตสิก ๒ ดวง
- ปัญญาเจตสิก ๑ ดวง


จงตอบคำถามดังต่อไปนี้พร้อมอธิบายรายละเอียดให้ถูกต้องและสมบูรณ์

ถามข้อที๗๗. สัพพากุศลสาธารณเจตสิก หมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร คืออะไรบ้าง ?
เพราะเหตุใด ?


ตอบ สัพพากุศลสาธารณเจตสิก หมายความว่า เป็นเจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิตได้ทุกดวง
มี ๔ ดวง คือ
๑. โมหเจตสิก
๒. อหิริกเจตสิก
๓. อโนตตัปปเจตสิก
๔. อุทธัจจเจตสิก
เพราะ สัพพากุศลสาธารณเจตสิก เป็นสาธารณะแก่อกุศลจิตทุกดวง.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 16:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


ถามข้อที๗๘. สัพพากุศลโยคีเจตสิก หมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ สัพพากุศลโยคีเจตสิก หมายความว่า เจตสิกที่ประกอบกับอกุศลจิตได้ทุกดวง
มี ๑๔ ดวง คือ
- โมจตุกกเจตสิก ๔ ดวง
- อัญญสมานาเจตสิก ๑๐ ดวง (เว้นอธิโมก,ปีติ,ฉันทะ)
เพราะ เจตสิกทั้ง ๑๔ ดวงนี้ประกอบกับอกุศลจิตได้ทั้ง ๑๒ ดวง คือเมื่ออกุศลจิตทั้ง ๑๒ ดวงนั้นแม้ดวงใดดวงหนึ่งเกิดขึ้นต้องมีเจตสิกทั้ง ๑๔ ดวงนี้ประกอบเสมอไปอย่างแน่นอน.


ถามข้อที๗๙. นิยตานิยตโยคีเจตสิก หมายความว่าอย่างไร มีเท่าไร คืออะไรบ้าง ? เพราะเหตุใด ?

ตอบ นิยตานิยตโยคีเจตสิก หมายความว่า เจตสิกที่ประกอบได้ทั้งแบบแน่นอน และไม่แน่นอน
มี 3 ดวง คือ
วิรตี๓
เพราะว่าเมื่อประกอบกับมหากุศลจิต๘ จะประกอบได้แบบไม่แน่นอน
และไม่ประกอบพร้อมกันเรียกว่า นานากทาจิ
แต่เมื่อประกอบกับโลกุตรจิตจะประกอบแบบ นิยตเอกโต คือประกอบพร้อมกันแน่นอน

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 ม.ค. 2021, 18:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออนไลน์
Moderators-1
Moderators-1
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 พ.ค. 2011, 14:20
โพสต์: 8238


 ข้อมูลส่วนตัว


จงตอบคำถามต่อไปนี้พร้อมความหมายและองค์ธรรมให้ถูกต้องและสมบูรณ์
ถามข้อที๘๐. คำว่า จักขุ มีกี่อย่าง คืออะไรบ้าง ?


ตอบ มี ๒ อย่าง คือ

๑. มังสจักขุ ได้แก่ ตาเนื้อ ที่ใช้มองดูสิ่งต่างๆได้ เช่น นัยน์ตาของสัตว์ทั้งหลาย ว่าโดยสภาวธรรมแล้วก็ได้แก่ จักขุปสาทรูปนั่นเอง.

๒. ปัญญาจักขุ ได้แก่ ตาปัญญา ความสามารถในการรู้เรื่องต่างๆ ด้วยปัญญา คือเป็นการรู้ได้ทางใจ ไม่ใช่การรู้ได้ด้วยตาเนื้อ ปัญญาจักขุนี้พระพุทธองค์ยังแสดงไว้เป็น ๕ ชนิด คือ

- พุทธจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่หยั่งรู้ในอัธยาศัยของสัตว์โลกทั้งปวงได้ เรียกว่า อาสยานุสยญาณ และญาณปัญญาที่สามารถรู้นามอินทรีย์(สัทธินทรีย์, วิริยินทรีย์, สตินทรีย์, สมาธินทรีย์, และปัญญินทรีย์) ของสัตว์ทั้งหลายว่า ยิ่งหรือหย่อนเพียงใด ที่เรียกว่า อินทริยปโรปริยัติญาณ
องค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาญาณสัมปยุตจิต ๔ ดวง.

- สมันตจักขุ ญาณที่สามารถรอบรู้สิ่งทั้งหลายทั้งปวงทั้งบัญญัติและปรมัตถธรรม ที่เรียกว่าสัพพัญญุตญาณ
องค์ธรรม ได้แก่ มหากิริยาสัมปยุตจิตดวงที่๑

- ญาณจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่ทำให้สิ้นอาสวกิเลส ที่เรียกว่า อรหัตตมัคคญาณ หรืออาสวขยญาณ
องค์ธรรมได้แก่ ปัญญาเจตสิกในอรหันตตมัคคจิต

- ธรรมจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาของพระอริยบุคคลเบื้องต่ำทั้งสาม
คือ พระโสดาบัน, พระสกทาคามี และพระอนาคามี
องค์ธรรม ได้แก่ ปัญญาเจตสิก ที่ในมัคคจิตเบื้องต่ำ๓

- ทิพพจักขุ หมายถึง ญาณปัญญาที่สามารถรู้เห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ไกลแสนไกลได้อย่างละเอียดด้วยอำนาจของสมาธิ ที่รียกว่า อภิญญาสมาธิ
องค์ธรรม ได้แก่ อภิญญาจิต ๒ ดวง

ปัญญาจักขุทั้ง ๕ นี้ พุทธจักขุ และ สมันตจักขุ ย่อมมีได้เฉพาะพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น
ส่วนปัญญาจักขุที่เหลือทั้ง๓ ย่อมเกิดแก่พระอริยบุคคลอื่นๆ หรือฌานลาภีบุคคลที่ได้ทิพพจักขุญาณตามสมควรแก่ญาณและบุคคล.

.....................................................
พระธรรมคำสอน บัญญัติ ตรัส ไว้ดีแล้ว ไม่ต้องลด ไม่ต้องเพิ่ม ไม่ต้องแก้ไข ใดๆ ทั้งสิ้น


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 48 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ลุงหมาน และ บุคคลทั่วไป 8 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร