วันเวลาปัจจุบัน 01 พ.ย. 2024, 07:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 18:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์ประเสริฐเพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้

รูปภาพ

จาริกบุญ จารึกธรรม หน้า 184

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 18:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มนุษย์ประเสริฐ เพราะเป็นสัตว์ที่ฝึกได้

หลักการใหญ่ของพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยธรรมก็เท่านี้แหละ แต่ขยายไปสู่หลักปลีกย่อยต่างๆ จนละเอียดยิบ แล้วหลักปลีกย่อยเหล่านั้น ก็โยงถึงกันหมดทุกอย่าง

ข้อสำคัญ พระพุทธเจ้าไม่ได้แสดงแต่หลักเท่านั้น แต่ทรงให้กำลังใจพวกเราด้วยว่า "มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกฝนพัฒนาได้นะ" อันนี้ เป็นสิ่งสำคัญที่สุด พร้อมกันนั้น มองอีกด้านหนึ่ง พระองค์บอกว่า "มนุษย์เป็นสัตว์ที่ต้องฝึก"

คำว่า "ฝึกได้" นี่ทำให้เกิดกำลังใจ แต่คำว่า "ต้องฝึก" ทำให้สำนึกในหน้าที่ ว่าเราเป็นคน จะต้องฝึกฝน จะอยู่อย่างสัตว์ทั้งหลายอื่นไม่ได้

จะต้องย้ำอีกทีหนึ่ง ถึงความแตกต่างระหว่างมนุษย์กับสัตว์อื่นทั้งหลายว่า มนุษย์เป็นสัตว์พิเศษที่ว่ามีการฝึกฝนพัฒนาได้เท่านั้นเอง ส่วนสัตว์ชนิดอื่น มันฝึกฝนพัฒนาไม่ได้ ข้อแตกต่างมีอยู่ดังนี้

สัตว์ทั้งหลายอื่น ที่เราเรียกว่า เดรัจฉานนั้น มันอยู่ด้วยสัญชาตญาณเป็นหลัก ในแง่สัญชาตญาณแล้ว สัตว์เหล่านั้นเก่งกว่าเรา เราอย่าไปเทียบเลยในเรื่องสัญชาตญาณ

มนุษย์เกิดมานี่อาศัยสัญชาตญาณได้น้อย ไม่ค่อยมีความสามารถอะไรติดตัวมา มีแต่ศักยภาพรอไว้ ที่จะพัฒนาได้มากมายด้วยการฝึก

ลอง พิสูจน์ก็ได้ว่า เราแพ้สัตว์อื่นทั้งหลายในเรื่องสัญชาตญาณ สัตว์อย่างอื่นนั้นเกิดมา พอออกจากท้องพ่อท้องแม่ ก็มีชีวิตอยู่ได้ ช่วยตัวเองได้แทบจะทันที หลายชนิดทีเดียวเดินได้เลย ว่ายน้ำได้ หากินได้

แต่มนุษย์นี้อ่อนแอมาก พอคลอดออกมาแล้ว ถ้าไม่มีใครเลี้ยงดูประคบประหงม ก็ไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ ต้องมีคนเลี้ยงดู จนกระทั่งแม้แต่อยู่มาได้ปีหนึ่งแล้ว ก็ยังช่วยตัวเองไม่ได้ ถ้าใครทิ้งก็ตาย ต้องเลี้ยงกันอีกหลายปี อาจเป็นสิบๆปี มนุษย์จึงจะอยู่รอด สามารถดำเนินชีวิตได้

การที่จะดำเนินชีวิตได้ ก็คือ ระหว่างที่เขาเลี้ยง ตัวเองก็เรียน คือ เรียนรู้ ฝึกหัด พัฒนาตนไป จนกระทั่งสามารถดำเนินชีวิตได้ด้วยตนเอง

เป็นอันว่า โดยสัญชาตญาณ มนุษย์เป็นสัตว์ที่อ่อนแอไร้ความสามารถที่สุด แต่มีข้อดีพิเศษก็คือ ฝึกได้ เรียนรู้ได้

มนุษย์มีการเรียนรู้ คือการศึกษานั่น เอง เมื่อมีการเรียนรู้ คือมีการศึกษา ก็ทำให้สามารถทำอะไรต่ออะไรขยายออกไปได้ สามารถรับถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นเก่า เช่นพ่อแม่บอก ครูอาจารย์บอก คนแวดล้อมบอก ได้ความรู้เพิ่มขั้นๆ สามารถเอาความรู้ที่สะสมมาเป็นเวลาพันๆปี มาอยู่ในคนเดียวได้ อันนี้เป็นข้อประเสริฐพิเศษของมนุษย์ ไม่เหมือนสัตว์ทั้งหลายอื่น

สัตว์ทั้งหลายอื่น สะสมถ่ายทอดความรู้มาโดยทางสัญชาตญาณ แต่มนุษย์สะสมถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีเรียนรู้ได้ด้วย ใครรู้จักเพียรเรียนรู้ ก็ยิ่งรู้ยิ่งพัฒนา ใครไม่เพียรไม่รู้จักเรียนรู้ ก็ไม่ได้ความรู้ และพัฒนาตัวไม่ได้

ความพิเศษของมนุษย์นั้น อยู่ที่การเรียนรู้อย่างที่ว่าแล้ว การเรียนรู้นี้ ก็คือการศึกษา การศึกษาเป็นของการฝึกฝนพัฒนาคน และองค์ธรรมสำคัญในการศึกษาก็คือปัญญานั่นเอง ปัญญาทำให้รู้ ทำให้คิด - พูด - ทำได้ผล ทำให้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง แก้ปัญหา และทำการทั้งหลายได้สำเร็จ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 18:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ส่วนสัตว์ทั้งหลายอื่น อยู่ด้วยสัญชาตญาณ เคยอยู่มาอย่างไร ก็อยู่ไปอย่างนั้นตลอดชีวิต เกิดมาอย่างไรก็ตายไปอย่างนั้น

ส่วนมนุษย์นี้เกิดมาโดยไร้ความสามารถ แต่เมื่อได้เรียนรู้ ก็ฝึกฝนพัฒนาตนไปจนกระทั่งมีความสามารถพิเศษอย่างแทบจะไม่มีที่สิ้นสุด ในทางกาย เกิดมาอย่างไร ก็ตายไปอย่างนั้น มาแต่ตัวก็ไปแต่ตัว แต่ในทางจิตใจ และปัญญา เกิดมาแล้วกว่าจะตาย ถ้าได้เรียนรู้ฝึกฝนพัฒนา ก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่เลิศประเสริฐอย่างมากมาย

การที่เรามีพระพุทธเจ้าไว้นี้ เป็นประจักษ์พยานของการพัฒนามนุษย์ ให้เห็นว่ามนุษย์นี้สามารถพัฒนาได้สูงสุดจนเป็นพุทธะ

พุทธะ นั้นคือ การที่ธรรมแสดงภาวะที่พัฒนาสูงสุดของมนุษย์ว่า มนุษย์นั้นพัฒนาสูงสุดได้ถึงขนาดนี้ ความเป็นพุทธะจึงเป็นตัวแบบสำหรับมนุษย์ทั้งหมด เรากล่าวว่า มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ ก็เพราะสามารถพัฒนาได้จนเป็นพุทธะ

ขอ ย้ำว่า พระพุทธศาสนา ไม่ได้ถือว่ามนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐเฉยๆ มนุษย์นั้นเป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก ถ้าไม่ฝึกแล้วหาประเสริฐไม่ เราไปพูดกันว่ามนุษย์นั้นเป็นสัตว์ที่ประเสริฐ พูดด้วนๆ ขาดห้วนไป ต้องพูดให้เต็มว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ประเสริฐด้วยการฝึก เมื่อฝึกแล้วประเสริฐสุด

ทั้งนี้ ตามบาลีว่า ทนฺโต เสฏฺโฐ มนุสฺเสสุ (ขุ.ธ.25/33)

แปลว่า ในหมู่มนุษย์นั้น ผู้ที่ฝึกแล้วเป็นผู้ประเสริฐสุด ประเสริฐสุดจนกระทั่งแม้แต่เทวดา และพรหมก็น้อมนมัสการ

เพราะ ฉะนั้น จึงมีพุทธพจน์มากมาย ที่ให้กำลังแก่มนุษย์ ว่าอย่ามัวไหว้วอนรอความช่วยเหลือจากเทวดา ขอให้มนุษย์เราฝึกฝนพัฒนาตนไป แล้วเทวาพรหมทั้งหลายจะน้อมนมัสการเราเอง

เรา ไม่ได้ไปเรียกร้อง เราไม่ได้ไปดูถูกท่าน แต่เพราะคุณความดีจากการได้บำเพ็ญการฝึกฝนพัฒนาตนนั่นแหละ เทพพรหมทั้งหลาย ก็ยอมรับนับถือ หันมาน้อมมนัสการ

นี่เป็นการเตือนมนุษย์ไม่ให้มัวสยบอยู่ มนุษย์ในสมัยก่อนพุทธกาลนั้น มัวแต่มองไปข้างนอกตัว ไม่มองดูตัวเองว่า เราจะต้องทำอะไร มองแต่ว่าเราจะไปขอให้เทพเจ้าองค์ไหนช่วย มองไปหาพระพรหม มองไปหาเทวดาว่า ท่านจะช่วยอะไรเราได้บ้าง แล้วก็ไปอ้อนวอน คิดแต่อย่างนั้น ไม่เอาใจใส่ที่จะฝึกฝนพัฒนาตน นี่แหละมนุษย์ชอบเป็นอย่างนี้

ที่จริง ทำอย่างนั้นมันก็ง่ายดี มนุษย์ทั่วไปก็มีความโน้มเอียงที่จะทำอย่างนั้น ขอคนอื่นง่ายกว่า ทำเองมันยาก เลยไม่คิดฝึกตนสักที คิดแต่จะขอจากเทพเจ้า ขอให้พระพรหมช่วยดลบันดาล และหาทางเอาอกเอาใจเทพเจ้า จนเกิดเป็นพิธีบูชายัญต่างๆใหญ่โต

พระ พุทธเจ้ามาแก้ปัญหานี้ ก็เรียกว่าปฏิวัติสังคม โดยดึงให้คนหันมาดูตัวเองว่า เราจะต้องทำอะไรบ้าง จากการที่ดูว่าตัวจะต้องทำอะไรบ้าง ก็เลยต้องชี้ไปที่ธรรม คือ ความเป็นไปตามเหตุปัจจัยนี่แหละ นี่เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ

พระพุทธเจ้ามาสอนให้เราสนใจเรื่องความสามารถพิเศษที่มีอยู่ในตัวเอง ความพิเศษของมนุษย์นั้น คือการเป็นสัตว์ที่ฝึกได้

คนที่ฝึกได้ ภาษาบาลีเรียกว่า "ทัมมะ" พูดสั้นๆว่า ทัมม์

สัตว์ทั้งหลายอื่นโดยทั่วไปฝึกไม่ได้ สัตว์บางชนิดฝึกได้บ้างในขอบเขตจำกัด แต่ฝึกตัวเองไม่ได้ ต้องให้คนฝึก

อันนี้เป็นข้อพิเศษ แม้สัตว์ที่ฝึกได้บ้าง ก็ยังต้องอาศัยคนฝึก ช้างฝึกตัวเองได้ไหม ไม่ได้ ม้าฝึกตัวเองได้ไหม ไม่ได้ ลิงฝึกตัวเองได้ไหม ไม่ได้ ต้องให้คนฝึกทั้งนั้น ท่านจึงว่า

วรมสฺสตรา ทนฺตา อาชานียา จ สินฺธวา (ขุ.ธ.25/33)

เป็นต้น แปลว่า อัสดร สินธพ ม้าอาชาไนย ช้างพลวง ช้างพลาย เมื่อได้รับการฝึกแล้วก็ประเสริฐ เป็นสัตว์ที่เก่ง แต่มนุษย์ทีฝึกแล้วประเสริฐกว่านั้น คือ สัตว์ทั้งหลายนี่ฝึกไปถึงระดับหนึ่ง มันไปไม่ไหวแล้ว มันได้แค่นั้น แต่มนุษย์ฝึกตัวเองได้ และฝึกได้ไม่มีที่สิ้นสุด จนเป็นพุทธะได้ ประเสริฐเลิศที่สุด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ฉะนั้น มนุษย์จะต้องหันมาดูความพิเศษของตัวเองตรงนี้ แทนที่จะไปติดอยู่กับคำว่า "มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ" แล้วหลงภูมิใจตัวเองด้วยความหลง แล้วก็ติดตันอยู่แค่นั้น ไม่พัฒนา อย่าเอาเลย หันมาสนใจที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ดีกว่า ว่าความวิเศษและประเสริฐของมนุษย์นั้น อยู่ที่ความเป็นสัตว์ที่ฝึกได้ อันนี้มีประโยชน์กว่า

ถ้าเรามาถือตามพุทธพจน์ว่า มนุษย์เป็นสัตว์ที่ฝึกได้และต้องฝึกนี่ เราจะเห็นทางปฏิบัติเดินหน้าไป ทั้งที่มีพุทธพจน์ตรัสไว้ เรากลับไม่เอาคำตรัสของพระพุทธเจ้านี่ บางทีเราก็เพลินมองข้ามไปเหมือนเดิม

ถ้าเราจะเอาคำที่ว่า "มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ" ก็ต้องต่อด้วยว่า เป็นสัตว์ประเสริฐด้วยการฝึก จึงจะครบถ้วนใจความที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้

รวมความว่า พระพุทธเจ้าได้ชี้ธรรมให้ ได้แก่ ความจริงแห่งความเป็นไปตามเหตุปัจจัย เป็นการดึงความสนใจจากเรื่องเทพมาสู่ธรรม ดึงความสนใจจากการรอคอยอำนาจดลบันดาลของเทพเจ้า มาสู่การทำความเพียรพยายามด้วยกรรมที่ของคนเอง

เมื่อดึงมาแล้ว พระพุทธเจ้าไม่ได้หยุดแค่นั้น แต่ทรงชี้มาที่ในตัวมนุษย์อีกว่า อย่าท้อใจนะ ให้มีกำลังใจ เราเป็นสัตว์พิเศษที่ฝึกตนเองได้พัฒนาได้ พอมาถึงตอนนี้มนุษย์ก็มีกำลังใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 29 พ.ย. 2016, 18:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทเรียนประกอบ กท.นี้ :b1:


https://www.youtube.com/watch?v=AGTnpr7vc1E

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2016, 09:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


(ชีวิตแต่ละด้าน)

กระบวนการเรียนรู้ในระบบสัมพันธ์เชิงปัจจัยของชีวิต ๓ ด้าน

ก) องค์ประกอบของชีวิต และการดำเนินชีวิต

การที่จะรู้เข้าใจชีวิต วิธีหนึ่งก็คือแยกชีวิตออกไปเป็นองค์ประกอบต่างๆ ทางธรรมนั้นถือว่าชีวิตนี้ เกิดขึ้นจากองค์ประกอบต่างๆ มารวมกันขึ้น แต่ชีวิตนี้ไม่ใช่ของนิ่ง ไม่ใช่ของเฉย มันเป็นสภาวะที่มีความคืบเคลื่อน ดังที่เราเรียกว่า การดำเนินชีวิต ดังนั้น นอกจากแยกองค์ประกอบว่ามีอะไรบ้างแล้ว
ก็
ต้องแยกต่อไปอีกในแง่ที่ว่า องค์ประกอบนั้นๆ ทำงานอย่างไร มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ส่งผลต่อกันอย่างไร เหมือนกับรถ เมื่อเราแยกส่วนว่ามีชิ้นส่วนอะไรบ้างแล้ว ก็ยังไม่พอ จะต้องดูด้วยว่าชิ้นส่วนเหล่านั้นทำงานอย่างไร และสัมพันธ์กันอย่างไร

เป็นอันว่า ชีวิตนี้ต้องแยกแยะ ๒ แบบ คือ

๑. แยกองค์ประกอบในภาวะนิ่ง เหมือนรถที่จอดนิ่งๆ อยู่ เราก็ดูว่ามีชิ้นส่วนอะไรบ้าง วิธีนี้แยกชีวิต อย่างง่ายๆ ก็มี ๒ ส่วน คือ กาย กับ ใจ แต่ที่จริง แยกย่อยไปได้อีกมากมาย
เช่น
แยกเป็น รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ แต่อย่างง่ายที่สุดก็คือ แยกเป็นกาย กับ ใจ

อย่างไรก็ตาม วิธีแยกว่าชีวิตมีองค์ประกอบอะไรแบบอยู่นิ่งๆ นี้ ไม่พอสำหรับมนุษย์ที่มีการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะในกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการคืบเคลื่อน

การแยกอีกแบบหนึ่งนั้นสำคัญมาก แต่เรามักมองข้าม พุทธศาสนามิใช่อยู่แค่แยกชีวิต ๒ ด้าน เป็นกาย กับ ใจ เท่านั้น แต่มีการแยกแยะชีวิตเมื่อดำเนินไป ว่ามีอะไร เป็นอย่างไรด้วย

๒. แยกองค์ประกอบในการเคลื่อนไหว วิธีนี้แยกการดำเนินชีวิต ของมนุษย์ออกเป็น ๓ ด้าน ที่ประสานสัมพันธ์เป็นปัจจัยหนุนเนื่องไปด้วยกัน คือ

๑) การสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ทั้งรับเข้า และแสดงออก รวมทั้งพฤติกรรมในการสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุและทางสังคม คือกับวัตถุสิ่งของปัจจัย ๔ เริ่มแต่อาหารการกิน ตลอดจนสภาพในธรรมชาติต่าง ๆ และเทคโนโลยีบ้าง กับเพื่อนมนุษย์ด้วยกันบ้าง เรามีความสัมพันธ์กับสิ่งเหล่านี้ เช่น ด้วยพฤติกรรมทางกาย และทางวาจา ทั้งหมดนี้เป็นด้านหนึ่งของชีวิต ทั้งการรับเข้า และการแสดงออกภายนอก รวมเรียกว่า ด้านพฤติกรรม


๒) การสื่อสัมพันธ์และพฤติกรรมทั้งหมด ทั้งด้านรับเข้า และแสดงออกมานี้ มิได้เกิดขึ้นโดยเลื่อนลอย แต่มากับความตั้งใจ การรับรู้เข้ามา และพฤติกรรมที่แสดงออกไปแต่ละครั้ง ไม่ว่าจะพูด จะทำ จะเคลื่อนไหวอย่างไร ย่อมเกิดจากความตั้งใจ จงใจ เจตจำนง และเจตจำนงหรือความตั้งใจนั้น ก็มีแรงจูงใจอยู่เบื้องหลัง แรงจูงใจนั้นมีทั้งที่ดี และที่ร้าย
เช่น
ความรัก ความชอบ ความโกรธ ความเกลียด ความอยากได้เป็นต้น ซึ่งทำให้เราเลือกรับข่าวสาร และเคลื่อนไหวกระทำพฤติกรรมไป โดยมีทั้งดีทั้งชั่วเป็นตัวปรุงแต่งอยู่เบื้องหลัง นอกจากนั้นยังมีความสุข และความทุกข์ โดยที่การสื่อสัมพันธ์และการเคลื่อนไหวทำพฤติกรรมต่างๆนั้น เป็นไปเพื่อหาความสุขบ้าง เพื่อหลีกหนีความทุกข์บ้าง


ด้านที่ ๒ ของชีวิต ที่ดำเนินไปด้วยกันกับการสื่อสัมพันธ์และพฤติกรรมนี้ ก็คือ ด้านจิตใจ เป็นเรื่องของคุณธรรมความดีงามหรือความชั่วบ้าง เรื่องของสมรรถภาพ และประสิทธิภาพของจิตใจ
เช่น
ความเข้มแข็ง ความเพียรพยายาม ความอดทน ความมีสติสมาธิบ้าง เรื่องของความสุขความทุกข์บ้าง

๓) อีกด้านหนึ่ง การที่เราจะขยับเขยื้อนมีพฤติกรรมแสดงออกอย่างไรๆ ทั้งหมดนั้นต้องอาศัยความรู้ เรามีความรู้แค่ไหน เราก็ทำพฤติกรรมได้แค่นั้น หมายความว่าเราทำพฤติกรรมได้ภายในขอบเขตของความรู้ ที่เรียกว่าปัญญา ถ้าปัญญาขยายออกไป พฤติกรรมของเราก็ขยายกว้างซับซ้อนขึ้น และได้ผลยิ่งขึ้น คนมีปัญญาน้อย ความรู้นั้น ก็ทำพฤติกรรมได้ตื้นๆ และไม่ได้ผล

แต่พอมีความรู้มากขึ้น คิดอะไรได้ซับซ้อนขึ้น พฤติกรรมก็ยิ่งซับซ้อนและได้ผล องค์ประกอบของชีวิตส่วนนี้ เรียกว่า ด้านปัญญา

สามด้านของชีวิตนี้ทำงานสัมพันธ์ไปด้วยกันตลอด คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา

คำว่า "พฤติกรรม" ในที่นี้ ใช้ในความหมายพิเศษที่กว้างกว่าปกติ คือหมายถึงความสัมพันธ์เชิงรูปธรรม กับ สิ่งแวดล้อม ทั้งในการรับรู้ และเสพเสวยอารมณ์ทางอินทรีย์ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และการสื่อเจตนา ที่แสดงออกทางกาย และวาจา (เป็นการใช้ไปพลางก่อน ในเมื่อยังหาคำที่ตรงกันแท้ไม่ได้)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2016, 09:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ข) ความสัมพันธ์เชิงปัจจัยของชีวิตทั้ง ๓ ด้าน ในกระบวนการเรียนรู้

ที่ว่า การดำเนินชีวิตสามด้านนี้ต้องอิงอาศัยซึ่งกันและกัน และส่งผลต่อกันนั้น ในด้านพฤติกรรมก็อย่างที่พูดเมื่อกี้ว่า ต้องอาศัยจิตใจ และต้องอาศัยปัญญา
เช่น
เราจะทำอะไรก็ต้องมีความตั้งใจ และแรงจูงใจ และจะทำได้แค่ไหน ก็ต้องอาศัยปัญญานอกนั้น เรื่องนี้ก็ชัดอยู่แล้ว

ในทางกลับกัน จิตใจก็ต้องอาศัยพฤติกรรมในการเสพเสวยรับอารมณ์และแสดงออก โดยเอาพฤติกรรมมาสนองความต้องการของตนเอง เพื่อทำให้ตนเองได้ความสุข หรือหนีความทุกข์ สนองความอยากความปรารถนาต่างๆ

จิตใจก็ต้องอาศัยปัญญา จิตใจมีความปรารถนาอะไรต่างๆ ได้ในขอบเขตของความรู้ และถ้าไปเจออะไรแล้ว ไม่มีความรู้ว่าจะทำอย่างไรเป็นต้น จิตใจก็จะถูกบีบคั้นติดขัดคับข้อง มีความทุกข์ แต่พอรู้ว่ามันคืออะไร เป็นอย่างไร ใจก็โล่งหายทุกข์


ฉะนั้น ปัญญาจึงเป็นตัวปลดปล่อยจิตใจ ทำจิตใจให้เป็นอิสระ หรือเป็นตัวเปลี่ยนท่าทีของจิตใจ อย่างที่ยกตัวอย่างบ่อยๆว่า เราเห็นคนคนหนึ่ง พอพบกัน เขาหน้าบึ้ง เราก็มีความโน้มเอียงจะโกรธ หรือไม่พอใจว่า ทำไมคนนี้หน้าบึ้งกับเรา

แต่พอเราใช้ปัญญาคิดพิจารณาเพียงแค่คิดถึงความเป็นไปได้ว่า เอ คนนี้เขาอาจจะมีปัญหา เขาอาจจะถูกดุว่า หรือ เขามีเรื่องกระทบกระทั่ง มีอารมณ์ค้างมาจากบ้าน หรือไม่สบายใจเพราะไม่มีเงินใช้ พอเอาเริ่มใช้ปัญญาคิดอย่างนี้ เราก็เริ่มหายโกรธ และอาจจะเปลี่ยนเป็นสงสาร ยิ่งเมื่อรู้ปัญหาของเขา เราจะเปลี่ยนท่าทีเลยจากความโกรธ ก็กลายเป็นความกรุณา
ฉะนั้น
ปัญญาจึงเป็นตัวเปลี่ยนท่าทีของจิตใจ และเป็นตัวปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสระ


แต่ปัญญาจะพัฒนาไปได้ก็ ต้องอาศัยพฤติกรรม เช่น ต้องใช้เท้าเดินไปหาข้อมูล เป็นต้น ต้องใช้มือทำงาน เวลามีของมาอยากจะรู้ว่าเป็นอะไร ก็อาจจะต้องรื้อออก อาจจะต้องจับแยกเป็นส่วนๆ และอาจจะต้องเอามาจัดเอามาประกอบดู ทำดู ฝึกหัดดู หรืออาศัยพฤติกรรมทางวาจา
เช่น
ไปไถ่ถามผู้อื่น ไปปรึกษาหารือ รู้จักตั้งคำถาม เพราะถ้าตั้งคำถามไม่เป็น เขาก็ไม่พอใจที่จะตอบ หรือเขาไม่รู้เรื่อง แต่พอตั้งคำถามเป็น พูดเป็น และพูดดีด้วย เขาก็อยากจะตอบ อยากร่วมมือ และก็ตอบได้ชัดเจน เราก็ได้ความรู้หรือได้ปัญญา ปัญญาจึงต้องอาศัยพฤติกรรม

พร้อมนั้น ปัญญาก็ต้องอาศัยจิตใจ เช่น จิตใจมีความขยันหมั่นเพียร มีความใฝ่รู้ มีความอดทน มีสมาธิ มีสติ แน่วแน่ไม่ฟุ้งซ่าน ก็ทำให้ปัญญา พัฒนาได้ผล เป็นต้น

ฉะนั้น กระบวนการของชีวิตที่ดำเนินไปจึงสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้หรือการศึกษาทั้ง หมด หมายความว่า พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา สามส่วนนี้ ต้องเอามาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ประกอบไปด้วยกัน ไม่ใช่ไปแยกส่วน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 30 พ.ย. 2016, 09:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ค) จริยธรรมทีแท้ เป็นระบบความสัมพันธ์ของชีวิตทั้ง ๓ ด้าน

เวลา นี้มีความโน้มเอียงในทางที่จะแยกส่วน เช่น จริยธรรมก็มักมองเฉพาะในแง่พฤติกรรม โดยโยงไม่ค่อยถึงจิตใจ และตัดออกไปจากปัญญา เป็นการหลงติดในจริยธรรมตะวันตก ที่เขาไม่เอาปัญญาเข้ามาด้วย

จริยธรรมตะวันตก มองแค่พฤติกรรม โดยโยงมาหาจิตใจเพียงในแง่คุณธรรมนิดหน่อย (แง่สุข-ทุกข์ ถูกมองข้าม) แต่ปัญญาไม่นึกถึง เพิ่งจะมีโกลเบอร์ก (Lawrence Kohlberg 1927-1987) มาเริ่มโยงบ้าง ก็ทำให้นักการศึกษาตื่นเต้นกันว่า จริยธรรมแบบโกลเบอร์กนี่เอาเรื่องเหตุผลเข้ามาพิจารณาด้วยอะไรทำนองนี้ ความจริงต้องครบทั้ง ๓ ด้าน จะแยกกันไม่ได้ จริยธรรมก็คือชีวิตทั้งหมดที่ดำเนินไปด้วยดี

จริยธรรม คืออะไร ก็คือการที่จะทำให้ชีวิตดำเนินไปได้ด้วยดี หรือหลักการดำเนินชีวิตที่ดี ซึ่งประกอบด้วย ๓ ด้านของชีวิต คือ พฤติกรรม จิตใจ และปัญญา ซึ่งจะต้องเอามาประสานกันให้เป็นองค์รวมให้ได้ เพราะคนเราเรียนรู้จากสามด้านนี้มาประสานกัน แต่ละด้านก็มีการเรียนรู้

เรียนรู้ทางด้านพฤติกรรมทำให้เกิดความเคยชิน ทักษะ เรียนรู้ทางด้านของจิตใจ เช่น เราไปอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สงบ เรามีความซาบซึ้ง มีความสุขจากธรรมชาติ หรือมีการสัมพันธ์ที่ดีในหมู่มนุษย์ มีการช่วยเหลือกัน มีความเอื้อเฟื้อไมตรีเกิดความชื่นชมมีความสุข

การเรียนรู้ในทางจิตใจแบบนี้ ก็ทำให้เกิดการพัฒนาคุณธรรม มีความโน้มเอียงของจิตใจ เช่น จริตอะไรต่างๆ เกิดขึ้นมา แล้วก็รู้เรียนทางปัญญาโดยการรู้จักคิดพิจารณา ที่เรียกว่า โยนิโสมนสิการ ซึ่งทำให้ทั้งพฤติกรรมและจิตใจเปลี่ยนแปลงไป เราเรียนรู้ทั้งสามด้านนี่แหละ แต่จะต้องเอามาประสานกันให้ได้ กระบวนการเรียนรู้ จึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี

ถ้าเราพัฒนาพฤติกรรม กาย วาจา ที่สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางวัตถุก็ดี ทางสังคมก็ดี ให้เกิดเป็นคุณลักษณะประจำตัวในทางที่ดี ท่านเรียกว่า ศีล

การฝึกทางด้านจิตใจนั้น มีสมาธิเป็นแกนก็เลยเรียกว่า สมาธิ

ส่วนการฝึกฝนพัฒนาในด้านความรู้ความเข้าใจ ก็เรียกว่า ปัญญา

ต้องรู้จักประสาน ๓ ด้านของชีวิตให้มาเอื้อต่อกันให้ได้ ในกระบวนการของการพัฒนา ทั้งพฤติกรรม จิตใจ และปัญญาไปด้วยกัน ไม่ใช่แยกเป็นส่วนๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2020, 08:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2020, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7506

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
การฝึกหัดดัดตนตามพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ประเสริฐตามได้
การทำตามผู้ประเสริฐก็ต้องรู้ว่าผู้ประเสริฐสูงสุดคือใคร
และพระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้วยกใครขึ้นมาแทนพระองค์
ตถาคตกราบได้เแต่พระธรรมคือคำสอนของพระองค์
และยกคำสอนของพระองค์ขึ้นเป็นตัวแทนพระองค์
ถามว่าบวชมีหน้าที่ทำคันถธุระกับวิปัสสนาธุระ
ไม่มีหน้าที่แบบชาวบ้านคือไม่หาเงินไม่ก่อสร้าง
ไม่ประกอบอาชีพหาเงินไม่มีบ้านของตัวเอง
ไม่ต้องเลี้ยงดูญาติพี่น้องลูกเมียคือสละ
ทุกอย่างที่ทำให้ยึดติดในการหาเพิ่ม
ตถาคตสอนให้เข้าใจและลดละเลิก
ถามว่าบวชรับเงินมันฝึกหัดอะไร
มันทำมาแต่ก่อนบวชไม่ใช่หรือ
จะฝึกหัดสละสมบัติมาบวช
แล้วเอาสันดานดิบเดิมมาทำ
มันเป็นการฝึกหัดดัดตน
ตามผู้ประเสริฐหรือคะ
แอบอ้างขโมยอยู่วัด
บริโภคปัจจัย4ที่
ชาวบ้านถวาย
พระพุทธเจ้า
คิดให้มันทั่วถึงและดูพฤติกรรมที่ตัวเองทำ
ชาวบ้านเขาถวายผู้ประเสริฐและผู้ที่ทำตามผู้ประเสริฐได้
และผู้ที่ปฏิญาณตนเข้ามาทำตามคำสอนของผู้ประเสริฐแล้วทำไม่ได้
ทรงบัญญัติชื่อให้ว่าอลัชชีเศรษฐีหัวโล้นโจรปล้นคำสอนไปทำเพื่อรับเงินทองและลาภสักการะทำแบบนี้มั๊ย
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2020, 18:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ โก หิ นาโถ ปโรสิยา
อตฺตนา หิ สุทนฺเตน นาถํ ลภติ ทุลฺลภํ.

ตนแลเป็นที่พึ่งของตน บุคคลอื่นใครเล่า จะเป็นที่พึ่งได้
เพราะบุคคลมีตนที่ฝึกฝนดีแล้ว ย่อมได้ที่พึ่งที่บุคคลหาได้โดยยาก.

อุทกํ หิ นยนฺติ เนตฺติกา
อุสุการา นมยนฺติ เตชนํ
ทารํุ นมยนฺติ ตจฺฉกา
อตฺตานํ นมยนฺติ สุพฺพตา.

ก็คนไขน้ำทั้งหลาย ย่อมไขน้ำ
ช่างศรทั้งหลาย ย่อมดัดลูกศร
ช่างถากทั้งหลาย ย่อมถากไม้
ผู้ว่าง่ายสอนง่ายทั้งหลาย ย่อมฝึกฝนตนเอง.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 มิ.ย. 2020, 18:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
การฝึกหัดดัดตนตามพระพุทธเจ้าเท่านั้นที่ประเสริฐตามได้
การทำตามผู้ประเสริฐก็ต้องรู้ว่าผู้ประเสริฐสูงสุดคือใคร
และพระพุทธเจ้าไม่อยู่แล้วยกใครขึ้นมาแทนพระองค์
ตถาคตกราบได้เแต่พระธรรมคือคำสอนของพระองค์
และยกคำสอนของพระองค์ขึ้นเป็นตัวแทนพระองค์
ถามว่าบวชมีหน้าที่ทำคันถธุระกับวิปัสสนาธุระ
ไม่มีหน้าที่แบบชาวบ้านคือไม่หาเงินไม่ก่อสร้าง
ไม่ประกอบอาชีพหาเงินไม่มีบ้านของตัวเอง
ไม่ต้องเลี้ยงดูญาติพี่น้องลูกเมียคือสละ
ทุกอย่างที่ทำให้ยึดติดในการหาเพิ่ม
ตถาคตสอนให้เข้าใจและลดละเลิก
ถามว่าบวชรับเงินมันฝึกหัดอะไร
มันทำมาแต่ก่อนบวชไม่ใช่หรือ
จะฝึกหัดสละสมบัติมาบวช
แล้วเอาสันดานดิบเดิมมาทำ
มันเป็นการฝึกหัดดัดตน
ตามผู้ประเสริฐหรือคะ
แอบอ้างขโมยอยู่วัด
บริโภคปัจจัย4ที่
ชาวบ้านถวาย
พระพุทธเจ้า
คิดให้มันทั่วถึงและดูพฤติกรรมที่ตัวเองทำ
ชาวบ้านเขาถวายผู้ประเสริฐและผู้ที่ทำตามผู้ประเสริฐได้
และผู้ที่ปฏิญาณตนเข้ามาทำตามคำสอนของผู้ประเสริฐแล้วทำไม่ได้
ทรงบัญญัติชื่อให้ว่าอลัชชีเศรษฐีหัวโล้นโจรปล้นคำสอนไปทำเพื่อรับเงินทองและลาภสักการะทำแบบนี้มั๊ย
:b12:
:b32: :b32:


ดูแล้วฟุ้งซ่านไปเรื่อย นั่นแหละเขาเรียกว่าเพ้อเจ้อฟุ้งซ่าน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 มิ.ย. 2020, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำเหนียก กำหนด, จดจำ, คอยเอาใจใส่, ฟัง, ใส่ใจคิดที่จะนำไปปฏิบัติ, ใส่ใจสังเกตพิจารณาจับเอาสาระเพื่อจะนำไปปฏิบัติให้สำเร็จประโยชน์ (คำพระว่า สิกขา หรือ ศึกษา)

สิกขา การศึกษา, การสำเหนียก, การเรียน, การฝึกฝนปฏิบัติ, การเล่าเรียนให้รู้เข้าใจ และฝึกหัดปฏิบัติให้เป้นคุณสมบัติที่เกิดมีขึ้นในตน หรือ ให้ทำได้ทำเป็น ตลอดจนแก้ไขปรับปรุง หรือ พัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปจนถึงความสมบูรณ์, ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติสำหรับฝึกอบรมพัฒนาบุคคล; สิกขา ๓ คือ

๑.อธิสีลสิกขา สิกขาคือศีลอันยิ่ง, อธิศีลอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาศีลอย่างสูง (ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ เป็นศีล, ปาฏิโมกขสังวรศีล เป็นอธิศีล; แต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ที่รักษาด้วยความเข้าใจ ให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิศีล)

๒.อธิจิตตสิกขา สิกขาคือจิตอันยิ่ง, อธิจิตอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาจิตใจให้มีสมาธิ เป็นต้น อย่างสูง (กุศลจิตทั้งหลายจนถึงสมาบัติ ๘ เป็นจิต, ฌานสมาบัติที่เป็นบาทแห่งวิปัสสนา เป็นอธิจิต; แต่สมาบัตินั่นแหละ ถ้าปฏิบัติด้วยความเข้าใจมุ่งให้เป็นเครื่องหนุนนำออกจากวัฏฏะ ก็เป็นอธิจิต)

๓.อธิปัญญาสิกขา สิกขาคือปัญญาอันยิ่ง, , อธิปัญญาอันเป็นข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อปฏิบัติเพื่อการฝึกอบรมพัฒนาปัญญาอย่างสูง (ความรู้เข้าใจหลักเหตุผลถูกต้องอย่างสามัญ อันเป็นกัมมัสสกตาญาณ คือ ความรู้จักว่า ทุกคนเป็นเจ้าของแห่งกรรมของตน เป็นปัญญา, วิปัสสนาปัญญาที่กำหนดรู้ความจริงแห่งไตรลักษณ์ เป็นอธิปัญญา; แต่โดยนัยอย่างเพลา กัมมัสสกตาปัญญาที่โยงไปให้มองเห็นทุกข์ที่เนื่องด้วยวัฏฏะ หรือแม้กระทั่งความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการถึงคุณพระรัตนตรัย ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนให้ก้าวไปในมรรค ก็เป็นอธิปัญญา )

สิกขา ๓ นี้ นิยมเรียกว่า ไตรสิกขา และเรียกข้อย่อยทั้งสามง่ายๆสั้นๆ ว่า ศีล สมาธิ ปัญญา

จิตฺตํ ทนฺตํ สุขาวหํ. จิตที่ฝึกแล้วนำความสุขมาให้.

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2020, 09:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ให้คุณโรสดูตอนที่พระพุทธองค์ปรินิพพาน ก็ใช้ฌาน (หรือ สมาธิ) ด้วยไม่ได้ทิ้ง ซึ่งพระองค์ฝึกมาจากฤๅษีทั้งสอง คือ ใช้ทุกระดับ ดู

พระผู้มีพระภาคมีพระกายสงบ หลับพระเนตรสนิท พระอนุรุทธเถระ ซึ่งเป็นพระเถระผู้ใหญ่ในเวลานั้น และได้รับการยกย่องจากพระผู้พระภาคว่าเป็นเลิศทางทิพยจักษุ ได้เข้าฌานตาม ทราบว่า พระพุทธองค์เข้าสู่ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าสู่อรูปสมาบัติ คือ อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ และสัญญาเวทยตินิโรธ ตามลำดับ แล้วถอยออกมาจากสัญญาเวทยตินิโรธจนถึงปฐมฌาน แล้วเข้าสู่ปฐมฌาน จนถึง จตุตถฌานอีก เมื่อออกจากจตุตถฌาน ยังไม่ทันเขาสู่อากาสานัญจายตนะ พระองค์ก็ปรินิพพานในระหว่างนี้เอง

ในที่สุด แม้พระองค์เองก็ต้องประสบอวสานเหมือนคนทั้งหลาย พระธรรมที่พระองค์เคยพร่ำสอนมาตลอดพระชนม์ชีพว่า สัตว์ทั้งหลาย มีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 25 มิ.ย. 2020, 09:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อาฬารดาบส อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วย คราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา, ท่านผู้นี้ ได้สมาบัติถึงชั้นอากิญจัญญายตนะฌาน; เรียกเต็มว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร

อุททกดาบส อาจารย์ผู้สอนสมาบัติที่พระมหาบุรุษเสด็จไปศึกษาอยู่ด้วยคราวหนึ่ง ก่อนที่จะทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา, ท่านผู้ได้สมาบัติถึงชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ เรียกเต็มว่า อุททกดาบส รามบุตร


ซึ่งในยุคนั้น ดาบสทั้งสองนี้ถือกันว่าสุดยอดเรื่องสมาธิจิต

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 18 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 24 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร