วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 10:50  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สนฺตสฺสิโต ได้แก่ กระหายนัก เพราะริมฝีปาก คอ
และเพดาลถึงความเหือดแห้งไป. บทว่า สาตสุขํ ได้แก่ ความสุข
อันเป็นความสำราญ. บทว่า น วินฺเท แปลว่า ย่อมไม่ได้. บทว่า
ตํ แปลว่า ซึ่งท่าน. บทว่า วิชาน แปลว่า จงรู้. บทว่า ปยาโต
แปลว่า เริ่มจะไป. บทว่า อนฺวคจฺฉิ แปลว่า ติดตาม. บทว่า
ปจฺจาสนฺโต แปลว่า หวังเฉพาะ. บทว่า เอตํ ในบทว่า ตสฺเสตํ
กมฺมสฺส นี้ เป็นเพียงนิบาต อธิบายว่า แห่งกรรมนั้น. บทว่า
ปิฏฺ€ิโต คณฺเหยฺยาสิ ความว่า พึงถือเอาอ้อยทางเบื้องหลังของตน
นั่นแหละ. บทว่า ปโมทิโต ได้แก่ บันเทิงใจ.

บทว่า คเหตฺวาน ตํ ขาทิ ยาวทตฺถํ ความว่า นันทเปรต
ถือเอาอ้อยโดยทำนองที่พระเถระสั่ง แล้วเคี้ยวกินตามชอบใจ
ถือเอามัดอ้อยมัดใหญ่ น้อมเข้าไปถวายพระเถระ พระเถระเมื่อ
จะอนุเคราะห์เขา จึงให้เขานั่นแหละ ถือเอามัดอ้อยนั้นไปยังพระ-

เวฬุวันมหาวิหาร ได้ถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ฉันอ้อยนั้น แล้วกระทำอนุโมทนา เปรตมีจิต
เลื่อมใส ถวายบังคมแล้วก็ไป ตั้งแต่นั้นมา เขาก็บริโภคอ้อยตาม
ความสบาย.

สมัยต่อมา เขาทำกาละแล้วเกิดในหมู่เทพชั้นดาวดึงส์.
ก็ประวัติของเปรตนี้นั้นได้ปรากฏในมนุษยโลก. ลำดับนั้น พวก
มนุษย์เข้าไปเฝ้าพระศาสดาทูลถามเรื่องนั้น พระศาสดาตรัสเรื่อง
นั้นแก่มนุษย์เหล่านั้นโดยพิสดาร แล้วทรงแสดงธรรม. พวกมนุษย์
ได้สดับธรรมนั้นแล้วได้เป็นผู้เว้นขาดจากความตระหนี่ ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุจฉุเปตวัตถุที่ ๕

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรต ๒ ตน จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า สาวตฺถิ
นาม นครํ ดังนี้

ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี พระเจ้าโกศลมีพระโอรส ๒ พระองค์
น่าเลื่อมใส กำลังอยู่ในปฐมวัย มัวเมาในความเป็นหนุ่ม กระทำ
กรรมคือคบหาภรรยาของคนอื่น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรต
ที่หลังคู. ในเวลากลางคืน เปรตเหล่านั้นพากันรำพันด้วยเสียง
อันน่าสพึงกลัว พวกมนุษย์ได้ฟังเสียงนั้น พากันสะดุ้งกลัว คิดว่า
เมื่อพวกเราทำอย่างนี้ อวมงคลนี้ย่อมสงบ จึงพากันถวายมหาทาน

แด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่
พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก
และอุบาสิกาทั้งหลาย เพราะได้ยินเสียงนั้น อันตรายอะไร ๆ ย่อม
ไม่มีแก่พวกท่าน เพื่อจะตรัสบอกเหตุแห่งเสียงนั้นแล้วแสดงธรรม
แก่มนุษย์เหล่านั้น จึงได้ตรัสพระคาถาว่า :-

ข้าพเจ้าได้สดับมาดังนี้ว่า มีพระกุมาร
สองพระองค์ เป็นพระราชโอรสอยู่ในกรุงสาวัตถี
ข้างหิมวันตประเทศ พระราชกุมารทั้งสองพระ-
องค์นั้น เป็นผู้มัวเมาในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ทรงเพลิดเพลินด้วยอำนาจความ

ยินดีในกาม ทรงติดอยู่ในความสุขปัจจุบัน ไม่
ทรงเห็นสุขในอนาคต ครั้นจุติจากความเป็น
มนุษย์ไปจากโลกนี้สู่เปตโลกแล้ว เกิดเป็นเปรต
ไม่แสดงกายให้ปรากฏ ร้องประกาศกรรมชั่ว
ของตนที่ได้กระทำไว้ในกาลก่อนว่า เมื่อพระ-
ทักขิไณยบุคคลมีอยู่เป็นอันมาก และไทยธรรม
อันเขาเข้าไปตั้งไว้ก็มีอยู่ พวกเราไม่อาจทำบุญ

อันนำมาซึ่งความสุขต่อไปแม้เล็กน้อย และทำ
ตนให้มีความสวัสดีได้ อะไรจะพึงลามกกว่า
กามนั้น พวกเราจุติจากราชสกุลแล้วไปบังเกิด
ในเปตวิสัย พรั่งพร้อมไปด้วยความหิวและความ
กระหาย เมื่อก่อนในโลกนี้ เคยเป็นเจ้าของใน
ที่ใด ย่อมไม่ได้เป็นเจ้าของในที่นั้นอีก มนุษย์
ทั้งหลายเจริญขึ้นแล้วกลับเสื่อมลง ย่อมตาย

เพราะความหิวและความกระหาย นรชนรู้โทษ
อันเกิดด้วยอำนาจความถือตัวว่าเป็นใหญ่อย่าง
นี้แล้ว ละความมัวเมาในความเป็นใหญ่ได้แล้ว
พึงไปสู่สวรรค์ นรชนผู้มีปัญญาเมื่อตายไป
ย่อมเข้าถึงสวรรค์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิติ เม สุตํ ความว่า เราได้เห็น
ด้วยญาณของตนอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ เราได้ฟัง
มาอย่างนี้ โดยที่ปรากฏในโลก.
บทว่า กามสฺสาทาภินนฺทิโน ได้แก่ มีปกติเพลิดเพลินด้วย
อำนาจความยินดีในกามคุณ. บทว่า ปจฺจุปฺปนฺนสุเข คิทฺธา ได้แก่
เป็นผู้ติด คือข้องในอารมณ์รักว่าความสุขที่เป็นปัจจุบัน. บทว่า
น เต ปสฺสึสุนาคตํ ความว่า พระราชกุมารทั้งสองนั้นละทุจริต
ประพฤติสุจริต ไม่คิดถึงสุขที่จะพึงได้ในเทวดาและมนุษย์ในอนาคต
คือในกาลต่อไป.

บทว่า เตธ โฆเสนฺตุทิสฺสนฺตา ความว่า เปรตเหล่านั้นเมื่อ
ก่อนเป็นราชโอรส มีรูปไม่ปรากฏร้องคร่ำครวญอยู่ในที่ใกล้กรุง
สาวัตถีนี้. เพื่อจะเลี่ยงคำถามว่า คร่ำครวญว่าอย่างไร? ท่านจึง
กล่าวว่า ตนได้ทำกรรมชั่วไว้ในกาลก่อน.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงจำแนกเหตุแห่งการคร่ำครวญของเปรต
เหล่านั้น โดยเหตุและผล ท่านจึงกล่าวว่า เมื่อพระทักขิไณยบุคคล
มีอยู่มาก ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหูสุ วต สนฺเตสุ ได้แก่ เมื่อ
พระทักขิไณยเป็นอันมากมีอยู่. บทว่า เทยฺยธมฺเม อุปฏฺ€ิเต ความว่า
แม้เมื่อไทยธรรมที่ควรให้อันเป็นของตนอันไว้แล้วในที่ใกล้ อธิบาย
ว่า อันจะได้อยู่. บทว่า ปริตฺตํ สุขาวหํ มีวาจาประกอบความว่า
เราไม่อาจทำบุญอันเป็นเหตุนำมาซึ่งความสุขในอนาคตแม้มี
ประมาณน้อย แล้วทำตนให้มีความสวัสดี คือ ให้ปราศจากอุปัท-
วันตราย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า กึ ตโต ปาปกํ อสฺส ความว่า ชื่อว่ากรรมอันเป็นบาป
คือลามกกว่านั้น จะพึงกลายเป็นอย่างอื่นได้อย่างไร. บทว่า ยํ โน
ราชกุลา จุตา ความว่า เพราะบาปกรรมอันใด พวกเราจึงจุติจาก
ราชสกุล เกิดในเปตวิสัยนี้ คือ บังเกิดในหมู่เปรตเพียบพร้อมไปด้วย
ความหิวกระหายเที่ยวไปอยู่.

บทว่า สามิโน อิธ หุตฺวาน ความว่า เมื่อก่อน ราชบุตร
เป็นเจ้าของเที่ยวไปในที่ใดในโลกนี้ แต่ไม่เป็นเจ้าของในที่นั้นนั่นเอง
ด้วยบทว่า มนุสฺสา อุนฺนโตนตา ท่านแสดงว่า ในเวลาเป็นมนุษย์
ราชกุมารเหล่านั้นเป็นเจ้าของ ทำกาละแล้วเสื่อมลงด้วยอำนาจกรรม
เพราะความหิวกระหาย ท่านจงเห็นปกติของสงสาร.

บทว่า เอตมาทีนวํ ตฺวา อิสฺสรมทสมฺภวํ ความว่า
นรชนรู้โทษ กล่าวคือการเกิดในอบายอันเกิดด้วยความเมา ใน
ความเป็นใหญ่นี้ แล้วละความเมาในความเป็นใหญ่เสีย ขวนขวาย
เอาแต่บุญ. บทว่า ภเว สคฺคคโต นโร ความว่า พึงไปสวรรค์ คือ
เทวโลกเท่านั้น

พระศาสดาครั้นตรัสประวัติของเปรตเหล่านั้นด้วยประการ
ดังนี้แล้ว ทรงให้อุทิศทานที่มนุษย์ทั้งหลายเหล่านั้นกระทำแก่
พวกเปรตเหล่านั้น แล้วทรงแสดงธรรม อันเหมาะแก่อัธยาศัยของ
บริษัทผู้ประชุมกัน เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชน ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุมารเปตวัตถุที่ ๖

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗
พระศาสดาเมื่อเสด็จประทับในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตราชบุตร ได้ตรัสพระคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ปุพฺเพ
กตานํ กมฺมานํ ดังนี้

ในเรื่องนั้น ในอดีตกาล โอรสของพระเจ้า กิตวะ ผิดใน
พระปัจเจกพุทธเจ้าในอดีตไหม้ในนรกหลายพันปี ด้วยเศษแห่ง
วิบากของกรรมนั้นนั่นแหละ เขาจึงเกิดในหมู่เปรต ท่านประสงค์
เอาว่า เปรตราชบุตร ในที่นี้. เรื่องของเปรตราชบุตรนั้น มาโดย
พิสดารในเรื่องสานุวาสิเปรต ในหนหลังนั่นแล เพราะฉะนั้น ควร
ถือเอาโดยนัยที่กล่าวแล้วในเรื่องสานุวาสิเปรตนั่นเอง. จริงอยู่

ในกาลนั้น เมื่อพระเถระกล่าวประวัติของเปรตผู้เป็นญาติของตน
พระศาสดาจึงตรัสว่า ไม่ใช่เปรตผู้เป็นญาติของท่านอย่างเดียว
เท่านั้น โดยที่แท้ แม้ท่านก็จากโลกนี้ ไปเป็นเปรต เสวยทุกข์
อย่างใหญ่ในอัตภาพ อันเป็นอดีตโดยลำดับ ดังนี้ อันพระเถระนั้น
ทูลอารธนาแล้ว จึงตรัสเปตวัตถุนี้ว่า :-

ผลแห่งกรรมทั้งหลายที่พระราชโอรส
ได้ทำไว้ในชาติก่อน พึงย่ำยีหัวใจ พระราชโอรส
ได้เสวยรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่า
รื่นรมย์ใจ และการฟ้อนรำขับร้อง ความยินดี
ความสนุกสนานเป็นอันมาก เสด็จเที่ยวไปใน
สวนแล้วเสด็จเข้าไปยังเมืองราชคฤห์ ได้ทรง

เห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า นามว่าสุเนตตะ ผู้มีตน
อันฝึกแล้ว มีจิตตั้งมั่น มักน้อย สมบูรณ์ด้วย
หิริ ยินดีในอาหาร เฉพาะที่มีอยู่ในบาตร จึงเสด็จ
ลงจากคอช้าง แล้วตรัสถามว่า ได้อะไรบ้าง
พระผู้เป็นเจ้า แล้วจับบาตรของพระปัจเจก-
พุทธเจ้า ยกขึ้นสูงแล้วทุ่มลงที่พื้นดินให้แตก
ทรงพระศรวลหลีกไปหน่อยหนึ่ง ได้ตรัสกะ
พระปัจเจกพุทธเจ้า ผู้แลดูอยู่ด้วยอำนาจความ

กรุณาว่าเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ แน่ะภิกษุ
ท่านจักทำอะไรเรา พระราชโอรสยัดเยียด (ตก)
อยู่ในนรก ได้เสวยผลอันเผ็ดร้อน ของกรรม
อันหยาบช้านั้น พระราชโอรสผู้เป็นพาล ทำบาป
หยาบช้าไว้ จึงได้ประสบทุกข์อันกล้าแข็งอยู่

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในนรก ๘๔,๐๐๐ ปี นอนหงายบ้าง นอนคว่ำ
บ้าง นอนตะแคงซ้ายบ้าง นอนตะแคงขวาบ้าง
เท้าชี้ขึ้นข้างบนบ้าง ยืนอยู่อย่างนั้นบ้าง หมกไหม้
อยู่สิ้นกาลนาน ทำบาปหยาบช้าไว้ จึงได้ประสบ
ทุกข์อันกล้าแข็งในนรก หลายหมื่นปีเป็นอันมาก
บุคคลผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย
ฤๅษี ผู้ไม่ประทุษร้ายต่อผู้ประทุษร้าย ผู้มีวัตร

อันงาม ได้เสวยทุกข์อันเผ็ดร้อนอย่างยิ่งเห็น
ปานนี้ และเปรตผู้เป็นพระราชโอรสเสวยทุกข์
เป็นอันมากในนรกนั้นสิ้นหลายปี จุติจากนรก
แล้วมาเกิดเป็นเปรตอดอยากอีก บุคคลรู้โทษอัน
เกิดเพราะอำนาจความมัวเมาในความเป็นใหญ่
อย่างนี้แล้ว พึงละความมัวเมาในความเป็นใหญ่
เสีย แล้วพึงประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ควรอ่อน
น้อม ผู้ใดมีความเคารพในพระพุทธเจ้า พระ-

ธรรม และพระสงฆ์ ผู้นั้นอันบุคคลพึงสรรเสริญ
ในปัจจุบัน เป็นคนมีปัญญา เมื่อตายไปย่อมเข้า
ถึงสวรรค์.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุพฺเพ กตานํ กมฺมานํ วิปาโกมถเย
มนํ ความว่า ผลแห่งอกุศลกรรมที่พระราชโอรสกระทำไว้ในชาติก่อน
เกิดเป็นผลอันยิ่ง ย่ำยี ครอบงำ จิตของคนอันธพาล อธิบายว่าพึงยัง
ประโยชน์ของตนให้เกิดขึ้น โดยมุ่งจะทำความพินาศให้แก่คนเหล่าอื่น.

บัดนี้ เพื่อจะแสดงผลแห่งอกุศลกรรมนั้น อันเป็นเครื่องย่ำยีจิต
พร้อมด้วยอารมณ์ ท่านจึงกล่าวคำมีอาทิว่า รูป เสียง ดังนี้. บรรดา
บทเหล่านั้น บทว่า รูเป ได้แก่ เพราะเหตุแห่งรูป อธิบายว่า เพราะ
ได้รูปารมณ์ตามที่ปรารถนา ที่น่าชอบใจเป็นนิมิตร. แม้ในบทว่า
สทฺเท ดังนี้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อจะทรงแสดงกำหนดความที่กล่าวแล้วโดยทั่วไป โดยเป็น
ความไม่ทั่วไปอย่างนี้ จึงตรัสคำมีอาทิว่า การฟ้อน การขับ ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รตึ ได้แก่ ซึ่งความยินดีในกาม. บทว่า
ขิฑฺฑํ ได้แก่ การเล่นด้วยสหายเป็นต้น. บทว่า คิริพฺพชํ ได้แก่
กรุงราชคฤห์.

บทว่า อิสึ ความว่า ชื่อว่า ฤๅษี เพราะอรรถว่าแสวงหาคุณอัน
ยิ่งใหญ่มีศีลขันธ์เป็นต้น อันเปนของพระอเสกขะ. บทว่า สุเนตฺตํ
ได้แก่ อตฺตทนฺตํ ได้แก่ ผู้มีจิตอันฝึกแล้วด้วยการฝึกอย่างสูง. บท
ว่า สมาหิตํ ได้แก่ ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้วด้วยสมาธิอันสัมปยุตต์ด้วย
พระอรหัตตผล. บทว่า อุญฺเฉ ปตฺตคเต รตํ ได้แก่ ผู้ยินดี คือ

สันโดษในอาหารที่อยู่ในบาตร คือที่นับเนื่องในบาตร อันได้มาด้วย
การแสวงหา คือ ด้วยการภิกษาจาร.

บทว่า ลทฺธา ภนฺเตติ จาพฺรวิ ความว่า ตรัสเพื่อให้เกิดความ
คุ้นเคยว่า ท่านขอรับ ท่านภิกษาบ้างไหม. บทว่า อุจฺจํ ปคฺคยฺห
ได้แก่ ยกบาตรขึ้นให้สูง.

บทว่า ถณฺฑิเล ปตฺตํ ภินฺทิตฺวา ได้แก่ ทำลายบาตรให้แตก
โยนไปในภูมิประเทศอันแข็ง. บทว่า อปกฺกมิ ได้แก่ หลีกไปหน่อย
หนึ่ง. ก็พระราชโอรสเมื่อจะหลีกไปหน่อยหนึ่ง. ก็พระราชโอรส
เมื่อจะหลีกไปจึงกล่าวว่า เราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวะ ดูก่อน
ภิกษุ ท่านจักทำอะไรเราดังนี้ กะพระปัจเจกพุทธเจ้าผู้แลดูด้วย
ความกรุณาว่า คนอันธพาลได้ทำความพินาศอันใหญ่หลวงให้แก่
ตน โดยเหตุอันไม่สมควรเลย.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 08 มิ.ย. 2019, 21:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ผรุสสฺส แปลว่า หยาบช้า. บทว่า กฏโก แปลว่า ไม่น่า
ปรารถนา. บทว่า ยํ โยควิปากํ แปลว่า วิบากใด. บทว่า สมปฺปิโต
ได้แก่ ติดอยู่แล้ว.
บทว่า ฉเฬว จตุราสีติ วสฺสานิ นหุตานิ จ ความว่า นอนหงาย
นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นบนหัวห้อยลง
และยืนอยู่ตามเดิม อย่างละ ๘๔,๐๐๐ ปี รวมเป็น ๖ ครั้ง ๆ ละ
๘๔,๐๐๐ ปี ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

พระราชโอรสผู้เป็นอันธพาล หมกไหม้
ในนรก คือนอนหงาย นอนคว่ำ นอนตะแคงซ้าย
นอนตะแคงขวา เอาเท้าขึ้นข้างบนหัวลงล่าง
และยืนอยู่ตามปกติ สิ้นกาลนาน.
ก็เพราะเหตุที่มีหลายหมื่นปี ฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า นหุตานิ
หลายหมื่นปี. บทว่า ภุสํ ทุกฺขํ นิคจฺฉิตฺโถ ความว่า ประสบทุกข์
อย่างยิ่ง.

บทว่า ปูคานิ ได้แก่ ในการประชุมแห่งปี แต่ในคาถานี้
และในคาถาต้น พึงเห็นว่า เป็นทุติยาวิภัติลงในอรรถแห่งอัจจันต-
สังโยค แปลว่า ตลอด.
บทว่า เอตาทิส คือเห็นปานนั้น. บทว่า กฏกํ ได้แก่ ทุกข์
หนักนี้ เป็นการแสดงออกแห่ง นปุํสกลิงค์ เหมือนในประโยคว่า
นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งเป็นต้น. มีวาจาประกอบความว่า บุคคล

ผู้มีการงานอันลามก พากันประทุษร้าย คือ รุกรานฤๅษี ผู้ไม่
ประทุษร้าย ต่อผู้ไม่ประทุษร้าย คือ ผู้มีวัตรดี ย่อมประสบทุกข์
เห็นปานนี้ อันเผ็ดร้อนยิ่งนัก.

บท โส ได้แก่ เปรตราชบุตรนั้น. บทว่า ตตฺถ คือ ในนรก.
บทว่า เวทยิตฺวา แปลว่า เสวย. บทว่า นาม ได้แก่ โดยความเป็น
ผู้ปรากฏโดยแจ้งชัด. บทว่า ตโต จุโต ได้แก่ จุติจากนรก. คำที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงให้มหาชนผู้ประชุมกันในที่นั้น
เกิดความสังเวช ด้วยกถาว่าด้วยราชบุตรเปรตอย่างนี้แล้ว จึง
ประกาศสัจจะยิ่ง ๆ ขึ้นไป. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากบรรลุ
โสดาปัตติผล เป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาราชปุตตเปตวัตถุที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภคูถขาทกเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.

ได้ยินว่า ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งไม่ไกลแต่กรุงสาวัตถีนัก
ยังมีกฎุมพีผู้หนึ่ง สร้างวิหาร อุทิศถวายภิกษุผู้เป็นชีต้นของตน,
ภิกษุทั้งหลาย มาจากชนบทต่าง ๆ อยู่อาศัยในวิหารหลังนั้น.
มนุษย์ทั้งหลายเห็นภิกษุเหล่านั้นแล้ว มีจิตเลื่อมใส อุปัฏฐากด้วย
ปัจจัยอันประณีต. ภิกษุชีต้น อดทนปัจจัยนั้นไม่ได้ เป็นผู้ถูกความ

ริษยา ครอบงำ เมื่อจะกล่าวโทษของภิกษุเหล่านั้น จึงยกโทษกะ
กฎุมพี. กฎุมพี ข่มขี่บริภาษภิกษุเหล่านั้น และภิกษุผู้เป็นชีต้น.
ลำดับนั้น ภิกษุผู้เป็นชีต้น ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตในเวจจกุฏี
ในวัดนั่นเอง. ฝ่ายกฎุมพี ทำกาละแล้ว บังเกิดเป็นเปรตอยู่ข้างบน
ของพระเปรตนั้นนั่นแล. ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ
พอเห็นเปรตนั้นแล้ว เมื่อจะถามจึงกล่าวคาถาว่า :-

ท่านเป็นใครหนอ โผล่ขึ้นจากหลุมคูถ
ให้เราเห็นเช่นนี้ ท่านร้องครวญครางอื้ออึงไป
ทำไมเล่า ท่านมีการงานอันลามก โดยไม่ต้อง
สงสัย.
เปรตได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงแสดงตนด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นเปรตเสวย
ทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะได้ทำกรรมอันลามก
ไว้ จึงจากโลกนี้ไปสู่เปตโลก.
ลำดับนั้นพระเถระจึงถามกรรมที่เปรตนั้นกระทำกะเปรต
นั้น ด้วยคาถาว่า :-

ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ด้วย กาย วาจา
ใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร ท่านจึงได้ประสบ
ทุกข์เช่นนี้.
เปรตนั้น ได้บอกกรรมที่ตนทำด้วยคาถา ๒ คาถาว่า :-
เมื่อก่อน มีภิกษุรูปหนึ่ง เป็นเจ้าอาวาส
อยู่ในอาวาสของข้าพเจ้า ท่านมีปกติริษยา
ตระหนี่ในตระกูล มีใจกระด้าง มักด่าบริภาษ
ได้ยกโทษภิกษุอาคันตุกะทั้งหลาย ที่เรือนของ
ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าฟังคำของภิกษุนั้นแล้ว ได้ด่า
ภิกษุทั้งหลาย เพราะผลแห่งกรรมนั้น ข้าพเจ้า
จากโลกนี้แล้ว ไปสู่เปตโลก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อาวาสิโก มยฺหํ ได้แก่ ภิกษุ
รูปหนึ่ง ผู้เป็นเจ้าอาวาส ได้อยู่ประจำ ในอาวาสของข้าพเจ้า คือ
ในวัดที่ข้าพเจ้าได้สร้างไว้. บทว่า อชฺฌาสิโต มยฺหํ ฆเร ความว่า
ท่านได้อยู่อาศัยในเรือนของข้าพเจ้า โดยความเป็นชีต้น ด้วย
อำนาจการอยู่ด้วยตัณหา.
บทว่า ตสฺส ได้แก่ภิกษุผู้เป็นชีต้นนั้น. บทว่า ภิกฺขโว
แปลว่า ซึ่งภิกษุทั้งหลาย. บทว่า ปริภาสิสํ แปลว่า ด่าแล้ว. บทว่า
เปตโลกํ อิโต คโต ความว่า เข้าถึงกำเนิดเปรต คือเป็นเปรตด้วย
อาการอย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะถามถึงคติของเปรตนอกนี้
จึงกล่าวคาถาว่า :-
ภิกษุผู้ชีต้นของท่าน ไม่ใช่มิตรแท้ เป็น
แต่มิตรเทียม เป็นคนมีปัญญาทราม ทำลายขันธ์
ละไปแล้ว ไปสู่คติไหนหนอ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มิตฺตวณฺเณน ได้แก่ ด้วยมิตรเทียม
คือ โดยความเทียมมิตร.
เปรตเมื่อจะบอกเรื่องนั้น แก่พระเถระอีก จึงกล่าวคาถา
๒ คาถาว่า :-

ข้าพเจ้า ยืนอยู่บนศีรษะ ของภิกษุผู้มี
กรรมอันลามกนั้น ภิกษุผู้ชีต้น ไปเกิดเป็นเปรต
บริวารของข้าพเจ้า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ชนเหล่า
อื่น ถ่ายมูตรคูถลงในเวจกุฏีนี้ มูตรคูถนั้น เป็น
อาหารของข้าพเจ้า และข้าพเจ้ากินมูตรคูถนั้น
แล้ว ถ่ายมูตรคูถสิ่งใดลงไป เปรตผู้เป็นชีต้น
นั้น ก็เลี้ยงชีพด้วยมูตรและคูถนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺเสว ได้แก่ เปรตผู้เป็นภิกษุ
ชีต้น ในกาลก่อน ของข้าพเจ้านั้นนั่นแล. บทว่า ปาปกมฺมสฺส
ได้แก่ มีความประพฤติลามก. บทว่า สีเส ติฏฺ€ามิ มตฺถเก ความว่า
ข้าพเจ้ายืนอยู่บนศีรษะ และเมื่อยืน ยืนอยู่บนกระหม่อมนั้นเอง
อธิบายว่า ไม่ได้ยืนอยู่บนอากาศประมาณศีรษะ. บทว่า ปรวิสยํ
ปตฺโต ได้แก่ อาศัยมนุษยโลกแล้วถึงเปตวิสัยอันเป็นแดนอื่น. บทว่า
มเมว ความว่า บาลีที่เหลือ บัณฑิตพึงนำมาเชื่อมเข้าด้วยคำว่า ได้
เป็นบริวารของข้าพเจ้าเอง.

บทว่า ยํ ภทนฺเต หทนฺตฺเ ความว่า ข้าแต่พระมหา-
โมคคัลลานะผู้เจริญ ชนเหล่าอื่น ย่อมถ่ายอุจจาระลงในเวจจกุฏีนั้น.
บทว่า เอตํ เม โหติ โภชนํ ความว่า อุจจาระนั้น เป็นอาหารของ
ข้าพเจ้าทุก ๆ วัน. บทว่า ยํ หทามิ ความว่า ก็ข้าพเจ้าถ่ายอุจจาระ
ที่ข้าพเจ้ากินเข้าไป. บทว่า เอตํ โส อุปชีวติ ความว่า เปรตผู้เป็น
ชีต้นนั้น เลี้ยงชีพ คือยังอัตภาพให้เป็นไป ด้วยการกินอุจจาระของ
ข้าพเจ้านั้น ทุก ๆ วัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในคนเหล่านั้น กฎุมพี ด่าภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักว่า การกิน
คูถของพวกท่าน ยังประเสริฐกว่าการบริโภคอาหารอย่างนี้. ส่วน
ภิกษุผู้เป็นชีต้น ชักชวนกฎุมพีในการพูดเช่นนั้น ตนเองก็ได้ด่า
เหมือนเช่นนั้น, ด้วยเหตุนั้น เปรตนั้นจึงมีการเลี้ยงชีพ อันน่าติเตียน
แม้กว่ากฎุมพีนั้น. ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กราบทูลเรื่องนั้น
แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงกระทำเรื่องนั้น
ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ แล้วทรงแสดงโทษในการว่าร้ายแล้ว ทรง
แสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่
มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปฐมคูถขาทกเปตวัตถุที่ ๘

อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภนางเปรตผู้กินคูถตนหนึ่ง จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า คูถกูปโต อุคฺคนฺตฺวา ดังนี้.
เรื่องของนางเปรตนั้น เช่นกับเรื่องที่ติดต่อกันนั้น. ในเรื่อง
นั้น มาโดยอำนาจอุบาสกว่า อุบาสกได้สร้างวิหาร แต่ในเรื่องนี้
มีความแปลกกันเท่านี้ว่า อุบาสิกาได้สร้างวิหาร. คำที่เหลือ ใน
ท้องเรื่อง และในคาถา ไม่เคยมี.
จบ อรรถกถาทุติยคูถขาทกเปติวัตถุที่ ๙

อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐
เมื่อพระศาสดา ประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภเปรตเป็นอันมาก จึงได้ตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นคฺคา ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ดังนี้.
ได้ยินว่า ในกรุงสาวัตถี มนุษย์เป็นอันมาก เป็นคณะ ไม่มี
ศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส มีจิตถูกมลทินคือ ความตระหนี่กลุ้มรุม
เป็นผู้เบือนหน้าต่อสุจริต มีทานเป็นต้น มีชีวิตอยู่นาน เพราะกาย
แตกตายไป จึงบังเกิดในกำเนิดเปรต ใกล้พระนคร. ภายหลัง
วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ กำลังเดินบิณฑบาตในกรุง
สาวัตถี เห็นพวกเปรตในระหว่างทาง จึงถามด้วยคาถาว่า :-
พวกท่านเปลือยกาย มีรูปร่างผิวพรรณ
น่าเกลียด ซูบผอม มีตัวสะพรั่งไปด้วยเส้นเอ็น
ผอมจนเห็นแต่ซี่โครงเช่นนี้ แน่ะท่านผู้นิรทุกข์
พวกท่านเป็นใคร หนอ?

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุพฺพณฺณรูปาตฺถ ความว่า ท่าน
เป็นผู้มีร่างกายผิวพรรณน่าเกลียด. บทว่า เก นุ ตุมฺเหตฺถ ความว่า
พวกท่านเป็นใครหนอ. พระมหาโมคคัลลานะ เรียกเปรตเหล่านั้น
โดยสมควรแก่ตนว่า มาริสา.
เปรตได้ฟังดังนั้น จึงพากันประกาศความที่ตนเป็นเปรต
ด้วยคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าเป็นเปรต
เสวยทุกข์ เกิดในยมโลก เพราะกระทำกรรมชั่ว
ไว้ จึงจากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก ดังนี้
ถูกพระเถระถามถึงกรรมที่เขาทำไว้อีก ด้วยคาถาว่า :-
ท่านทำกรรมชั่วอะไรไว้ ด้วยกาย วาจา
และใจ เพราะผลแห่งกรรมอะไร พวกท่านจึง
จากมนุษยโลก ไปสู่เปตโลก.
จึงได้กล่าวกรรมที่ตนทำด้วยคาถาว่า :-

เมื่อสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ผู้เป็นที่พึ่ง
อันหาโทษมิได้มีอยู่ ข้าพเจ้าทั้งหลาย มิได้ก่อ
สร้างกุศลไว้ แม้เพียงกึ่งมาสก เมื่อไทยธรรม
มีอยู่ ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน พวกข้าพเจ้าหิวน้ำ
จึงเข้าไปใกล้แม่น้ำ แม่น้ำกลับกลายเป็นว่างเปล่า
ไป เมื่อเวลาร้อน พวกข้าพเจ้าเข้าไปสู่ร่มไม้
ร่มไม้กลับกลายเป็นแดดแผดเผาไป และลมมีสี

ดังไฟแผดเผาพวกข้าพเจ้า ฟุ้งไป ข้าแต่ท่าน
ผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรจะเสวยทุกข์ อันมีความ
กระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์อย่างอื่น อันชั่วช้า
กว่าทุกข์นั้น อนึ่งพวกข้าพเจ้า เป็นผู้ถูกความ
หิวแผดเผาแล้ว อยากอาหาร พากันไปสิ้นทาง
หลายโยชน์ ก็ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย จึงพา
กันกลับมา พวกข้าพเจ้านี้หาบุญมิได้หนอ เมื่อ

มีความหิวโหยอิดโรยมากขึ้น ก็พากันล้มสลบ
ลงที่พื้นดิน บางคราวก็ล้มนอนหงาย บางคราว
ก็ล้มคว่ำ ดิ้นรนไปมา ก็พวกข้าพเจ้านั้นสลบ
อยู่ที่พื้นดิน ตรงที่ล้มอยู่นั่นเอง เอาศีรษะชน
หน้าอกกันและกัน พวกข้าพเจ้านี้ หาบุญมิได้
หนอ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกข้าพเจ้าควรที่จะ
เสวยทุกข์ มีความกระหายเป็นต้นนี้ และทุกข์

อย่างอื่น อันชั่วช้ากว่าทุกข์นั้น เพราะเมื่อไทย
ธรรมมีอยู่ พวกข้าพเจ้า ก็ไม่ได้ทำที่พึ่งแก่ตน
ก็พวกข้าพเจ้านั้น ไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์
จักเป็นผู้รู้ความประสงค์ ของผู้ขอ เป็นผู้สมบูรณ์
ด้วยศีล จักทำกุศลให้มากแน่ ๆ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ โยชนานิ คจฺฉาม ความว่า
ข้าพเจ้าไปได้หลายโยชน์. อย่างไร? คือเป็นผู้หิวอยากกินอาหาร,
อธิบายว่า พวกข้าพเจ้า ถูกความหิวครอบงำมานาน อยากกิน คือ
อยากลิ้มอาหาร แม้ครั้นไปอย่างนี้ ไม่ได้อาหารอะไร ๆ เลย ก็พา
กันกลับมา. บทว่า อปฺปปุฺตา ได้แก่ พวกข้าพเจ้า ไม่มีบุญ
คือ ไม่ได้ทำคุณงามความดีไว้.

บทว่า อุตฺตานา ปฏิกิราม ความว่า บางคราวเป็นผู้นอนหงาย
เป็นไปเหมือนอวัยวะน้อยใหญ่กระจัดกระจายไป. บทว่า อวกุชฺชา
ปตามเส ความว่า บางคราวก็นอนคว่ำตกลงไป.

บทว่า เต จ ได้แก่ พวกข้าพเจ้านั้น. บทว่า อุรํ สีลญฺจ ฆฏฺเฏม
ความว่า นอนคว่ำตกลงไป เมื่อไม่อาจจะลุกขึ้นได้ สั่นงันงกอยู่
ประสบเวทนา เอาอกและศีรษะเสียดสีกัน. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าว
แล้วในหนหลัง นั้นแล.

พระเถระกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรม
แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว. มหาชนฟังธรรมนั้นแล้ว ละมลทิน คือ
ความตระหนี่ ได้เป็นผู้ยินดีสุจริต มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาคณเปตวัตถุที่ ๑๐

อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑
เมื่อพระศาสดาประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภวิมานเปรตตนหนึ่ง จึงตรัสคาถานี้มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺ€า
ตยา นิรยา ติรจฺฉานโยนิ ดังนี้

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ได้ยินว่าพ่อค้าชาวกรุงสาวัตถีและชาวกรุงปาฏลีบุตรเป็น
อันมาก แล่นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้า
คนหนึ่งเป็นอุบาสก เกิดป่วยไข้ มีจิตปฏิพัทธ์ในมาตุคาม ได้ทำ
กาละแล้ว. เขาแม้ได้ทำกุศลไว้ก็ไม่เข้าถึงเทวโลก เกิดเป็นวิมาน
เปรตในท่ามกลางมหาสมุทร เพราะเป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในหญิง.
ก็หญิงที่เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น ขึ้นเรือไปยังสุวรรณภูมิ. ลำดับนั้น

เปรตนั้นประสงค์จะจับหญิงนั้น จึงปิดกั้นไม่ให้เรือไป. ลำดับนั้น
พ่อค้าทั้งหลายพิจารณากันว่า เพราะเหตุอะไรหนอ เรือนี้จึงไม่
แล่น จึงให้จับสลากคนกาฬกิณี สลากได้ถึงหญิงนั้นนั่นแหละ
ถึง ๓ ครั้ง โดยความสำเร็จของอมนุษย์. พวกพ่อค้าเห็นหญิงที่
เขามีจิตปฏิพัทธ์นั้น จึงให้หย่อนแพไม้ไผ่ลงในสมุทร ให้หญิงนั้น
ลงไปอยู่บนแพไม้ไผ่นั้น. พอหญิงนั้นลงไป เรือก็แล่นบ่ายหน้าไป
ยังสุวรรณภูมิโดยเร็ว. อมนุษย์ยกหญิงนั้นขึ้นยังวิมานของตน
อภิรมย์กับหญิงนั้น.

ครั้นล่วงไป ๑ ปี หญิงนั้นเกิดเบื่อหน่าย เมื่อจะขอร้องเปรต
นั้น จึงกล่าวว่า ดิฉันอยู่ในที่นี้ก็ไม่ได้เพื่อจะสร้างประโยชน์ใน
สัมปรายภพ ดีละท่านผู้นิรทุกข์ ขอท่านจงนำข้าพเจ้าไปเมือง
ปาฏลีบุตร. เปรตนั้นถูกหญิงนั้นอ้อนวอน จึงกล่าวคาถา :-

สัตว์นรกบางพวกท่านก็เห็นแล้ว สัตว์
เดียรัจฉาน เปรต อสุรกาย มนุษย์ หรือเทวดา
บางพวก ท่านก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตนท่าน
ก็เห็นประจักษ์ด้วยตนเองแล้ว เราจะนำท่านไป
ส่งยังเมืองปาฏลีบุตร ท่านไปถึงเมืองปาฏลีบุตร
แล้ว จงทำกุศลกรรมให้มากเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทิฏฺ€า ตยา นิรยา ได้แก่ แม้เฉพาะ
สัตว์นรกบางพวก ท่านก็เห็นแล้ว. บทว่า ติรจฺฉานโยนิ มีวาจา
ประกอบความว่า แม้สัตว์ดิรัจฉานมี นาคและครุฑเป็นต้น ผู้มี
อานุภาพมาก ท่านก็เห็นแล้ว. บทว่า เปตา ได้แก่ เปรตชนิดผู้

หิวกระหายเป็นต้น. บทว่า อสุรา ได้แก่ อสูร ชนิดกาลกัญชิกาสูร
เป็นต้น. บทว่า เทวา ได้แก่ เทพชั้นจาตุมมหาราชบางพวก. ได้
ยินว่าเปรตนั้น พาหญิงนั้น เที่ยวแสดงปัจเจกนรกเป็นต้น ใน
ระหว่าง ๆ ด้วยอานุภาพของตน ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวอย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 มิ.ย. 2019, 20:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า สยมทฺทส กมฺมวิปากมตฺตโน ความว่า หญิงนั้น ไปเห็น
สัตว์นรกเป็นต้นโดยพิเศษ ก็ได้เห็นประจักษ์ซึ่งวิบากกรรมที่ตน
ทำไว้ ด้วยตนเอง. บทว่า เนสฺสามิ ตํ ปาฏลิปุตฺตมกฺขตํ ความว่า
บัดนี้ เราจักนำท่านผู้อันใครป้องกันไม่ได้ ไปยังเมืองปาฏลีบุตร
โดยร่างของมนุษย์นั่นแล. แต่ท่านครั้นไปถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว
จงทำกุศลกรรมให้มาก อธิบายว่า เจ้าจงเป็นผู้ประกอบขวนขวาย
ยินดีในบุญ เพราะเจ้าเห็นวิบากของกรรมโดยประจักษ์แล้ว.

ลำดับนั้น หญิงนั้น ครั้นได้ฟังคำของเปรตนั้นแล้ว มีความ
ดีใจ กล่าวคาถาว่า :-
ข้าแต่เทพเจ้า ผู้อันบุคคลพึงบูชา ท่าน
ปรารถนาความเจริญแก่ดิฉัน ปรารถนาประโยชน์
เกื้อกูลแก่ดิฉัน ดิฉันจักทำตามคำของท่าน ท่าน
เป็นอาจารย์ของดิฉัน สัตว์นรกบางพวก ดิฉันก็
เห็นแล้ว สัตว์ดิรัจฉาน เปรต อสูร มนุษย์ หรือ
เทพดาบางพวก ดิฉันก็เห็นแล้ว ผลกรรมของตน
ดิฉันก็ได้เห็นด้วยตนเองแล้ว ดิฉันจักทำบุญไว้
ให้มาก.

ลำดับนั้น เปรตนั้น จึงพาหญิงนั้นไปทางอากาศ พักไว้ใน
ท่ามกลางเมืองปาฏลีบุตร แล้วก็หลีกไป. ลำดับญาติและมิตรเป็นต้น
ของหญิงนั้น เห็นเปรตนั้นแล้ว ดีใจยิ่งนักว่า เมื่อก่อนพวกเรา
ได้ฟังมาว่า เจ้าถูกเขาโยนลงไปในมหาสมุทรตายแล้ว เจ้านั้นคือ
หญิงนี้แหละ พวกเราเห็นแล้วหนอ มาโดยสวัสดี แล้วมาประชุมกัน

ถามถึงประวัติของนาง. จำเดิมแต่นั้น นางก็ได้เล่าเรื่องทั้งหมด
ที่ตนเห็นและที่ตนเสวยมา แก่พวกญาติและมิตรเป็นต้นนั้น พ่อค้า
ชาวกรุงสาวัตถีเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาในเวลาที่ได้ถึง
กรุงสาวัตถี โดยลำดับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง

กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุ จึงแสดงธรรมแก่บริษัท ๔
มหาชน ได้ฟังธรรมนั้นแล้ว เกิดความสังเวช ได้ยินดีในกุศลธรรม
มีทานเป็นต้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปาฏลีปุตตเปตวัตถุที่ ๑๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 20, 21, 22, 23, 24, 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร