วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 12:00  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 25  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2019, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสณฺณโสปานผลกา แปลว่า
แผ่นกระดานบันได ล้วนแล้วด้วยทองคำ. บทว่า โสวณฺณวาลุกสนฺถตา
แปลว่า ลาดด้วยทรายทองคำโดยรอบ. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ในสระ-
โบกขรณีนั้น. บทว่า โสคนฺธิยา แปลว่ามีกลิ่นหอม. บทว่า วคฺคู
แปลว่า ดีน่าชอบใจ. บทว่า สุจิคนฺธา แปลว่า มีกลิ่นเป็นที่ฟูใจ.
บทว่า นานาคนฺธสเมริตา ได้แก่ มีกลิ่นน่ารื่นรมย์ใจ หอมตลบ

ไปด้วยลมรำเพยพัด. บทว่า นานาปทุมสญฺฉนฺนา ได้แก่ พื้นน้ำ
ดาดาษไปด้วยบัว ต่าง ๆ ชนิด. บทว่า ปุณฺฑรีกสโมตฺตา ได้แก่
เกลื่อนกล่นไปด้วยบัวขาว. บทว่า สุรภึ สมฺปวายนฺติ ความว่า
มีกลิ่นหอมน่าเจริญใจ ถูกลมรำเพยพัดฟุ้งขจร. อธิบายว่า สระ-
โบกขรณี. บทว่า หํสโกญฺจาภิรุทา แปลว่า เสียงระงมไปด้วย
หงส์และนกกะเรียน.

บทว่า นานาทิชคณา กิณฺณา แปลว่า เกลื่อนกล่นไปด้วย
ฝูงนกต่าง ๆ. บทว่า นานาสรคณายุตา แปลว่า ประกอบไปด้วย
หมู่นกต่าง ๆ ส่งเสียงร้องไพเราะจับใจอยู่อึงมี่. บทว่า นานาผลธรา
ความว่า มีรุกขชาติอันทรงดอกออกผลอยู่ทุกฤดูกาล. บทว่า
นานาปุปฺผธรา วนา ความว่า ได้แก่ป่าที่มีหมู่ไม้ให้เผล็ดดอกน่า
รื่นรมย์ใจนานาชนิด. จริงอยู่ บทว่า วนา ท่านกล่าวด้วยลิงควิปัลลาส.

บทว่า น มนุสฺเสสุ อีทิสํ นครํ ความว่า ในมนุษยโลก
ไม่มีนครใดที่จะเสมอเหมือนนครของท่านนี้ อธิบายว่า หาไม่ได้
ในมนุษยโลก. บทว่า รูปิยามยา แปลว่า ล้วนแล้วด้วยเงิน. บทว่า
ททฺทลฺลมานา แปลว่า รุ่งโรจน์อย่างยิ่ง. บทว่า อาเภนฺติ แปลว่า
ย่อมงดงาม. บทว่า สมนฺตา จตุโร ทิสา ความว่า ตลอดทั้ง ๔ ทิศ
โดยรอบ

บทว่า ยา เตมา ตัดเป็น ยา เต อิมา. บทว่า ปริจาริกา
ได้แก่ หญิงผู้ทำการขวนขวาย. บทว่า ตา ได้แก่ หญิงผู้บำเรอ.
บทว่า กมฺพุกายูรธรา แปลว่า ประดับด้วยกำไลทองคำ. บทว่า
กญฺจนาเวฬภูสิตา ได้แก่ มีผมและมือประดับด้วยดอกไม้ กรองทอง.

บทว่า กทลิมิคสญฺฉนฺนา แปลว่า ลาดด้วยหนังชะมด.
บทว่า สชฺชา แปลว่า อันบุคคลจัดแจงแล้ว คือ เหมาะสมที่จะนอน.
บทว่า โคณกสนฺถตา แปลว่า ลาดด้วยผ้าโกเชาว์มีขนยาว.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 พ.ค. 2019, 07:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า ยตฺถ คือ ในบัลลังก์ใด. บทว่า วาสูปคตา แปลว่า
เข้าไปยังที่อยู่ อธิบายว่า นอน. บทว่า สมฺปตฺตายฑฺฒรตฺตาย
แปลว่า เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน. บทว่า ตโต แปลว่า จากบัลลังก์.

บทว่า โปกฺขรฺา คือ ใกล้สระโบกขรณี. บทว่า หริเต
แปลว่า หญ้าเขียวอ่อน. บทว่า สทฺทเล แปลว่า ดารดาษไปด้วย
หญ้าอ่อน. บทว่า สุเภ แปลว่างดงาม. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
สุเภ เป็นคำร้องเรียกนางเปรต. มีวาจาประกอบความว่า ดูก่อน
นางผู้งดงาม เจ้าจงไปยืนอยู่ที่ริมสระโบกขรณีนั้น บนหญ้าอัน
เขียวสดโดยรอบ.

บทว่า กณฺณมุณฺโฑ แปลว่า มีหูขาด คือมีหูด้วน. บทว่า
ขายิตา อาสิ ความว่า ท่านเป็นผู้อันสุนัขหูขาดกัดแล้ว. บทว่า
อฏฺ€ิสงฺขลิกา กตา แปลว่า กัดให้เหลือเพียงร่างกระดูก. บทว่า
ยถา ปุเร ได้แก่ เหมือนในกาลก่อนแต่เวลาที่สุนัขจะกัด.

บทว่า ตโต ได้แก่ ภายหลังจากลงสู่สระโบกขรณี. บทว่า
องฺคปจฺจงฺคี แปลว่า มีสรรพางค์กายครบถ้วน. บทว่า สุจารุ
แปลว่า น่ารื่นรมย์ใจด้วยดี. บทว่า ปิยทสฺสนา แปลว่า น่าชม.
บทว่า อายาสิ แปลว่า ย่อมมา.

นางเปรตนั้น ถูกพระราชาตรัสถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะกล่าว
ประวัติของตนตั้งแต่ต้นแด่พระราชานั้น จึงกล่าวคาถา ๕ คาถาว่า :-

มีคฤหบดี คนหนึ่ง เป็นอุบาสก มีศรัทธา
อยู่ในเมืองกิมิละ หม่อมฉันเป็นภริยาของอุบาสก
นั้น ประพฤตินอกใจเขา เมื่อหม่อมฉันประพฤติ
นอกใจเขาอย่างนั้น สามีหม่อมฉันจึงคิดว่า การ
ที่เธอประพฤตินอกใจฉันนั้น เป็นการไม่เหมาะ

ไม่สมควร และหม่อมฉันได้กล่าวมุสาวาทสบถ
อย่างร้ายแรงว่า ฉันไม่ได้ประพฤตินอกใจท่าน
ด้วยกายหรือด้วยใจ ถ้าฉันประพฤตินอกใจท่าน
ด้วยกายหรือด้วยใจไซร้ ขอให้สุนัขหูด้วนตัวนี้
กัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของฉันเถิด วิบากแห่ง

กรรมอันลามก คือการประพฤตินอกใจ สามี และ
มุสาวาททั้ง ๒ อันหม่อมฉันได้เสวยแล้วตลอด
๗๐๐ ปี เพราะกรรมอันชั่วนั้น สุนัขหูด้วนจึง
กัดกินอวัยวะน้อยใหญ่ของหม่อมฉัน.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กิมิลายํ ได้แก่ ในพระนครมีชื่อ
อย่างนั้น. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อติจารินี ความว่า จริงอยู่
ภริยาท่านเรียกว่ามีความประพฤตินอกใจ เพราะประพฤตินอกใจ
สามี เมื่อดิฉันประพฤตินอกใจ สามีหม่อมฉันนั้น จึงได้กล่าวคำนี้
กะหม่อมฉัน. บทว่า เนตํ ฉนฺนํ เป็นต้น เป็นการแสดงอาการที่
สามีกล่าวแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนตํ ฉนฺนํ ความว่า

การประพฤตินอกใจนั้น เป็นการไม่สมควร. บทว่า น ปติรูปํ เป็น
ไวพจน์ของบทว่า เนตํ ฉนฺนํ นั้นนั่นเอง บทว่า ยํ เป็นกิริยา
ปรามาส. บทว่า อติจราสิ แปลว่าประพฤตินอกใจ อีกอย่างหนึ่ง
บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน, อธิบายว่า การที่ท่านประพฤตินอกใจ
เรานั้น เป็นการไม่เหมาะไม่ควร.

บทว่า โฆรํ แปลว่า ร้ายแรง. บทว่า สปถํ แปลว่า คำสาป. บทว่า
ภาสิสํ แปลว่า ได้กล่าวแล้ว. บทว่า สจาหํ ตัดเป็น เสจ อหํ. บทว่า ตํ
ได้แก่ ตฺวํ แปลว่าท่าน. บทว่า ตสฺส กมฺมสฺส ได้แก่ กรรมอันลามก คือ
กรรมแห่งบุคคลผู้ทุศีลนั้น. บทว่า มุสาวาทสฺส จ ได้แก่ พูดมุสาวาทว่า
ฉันไม่ได้ประพฤตินอกใจท่าน. บทว่า อุภยํ ได้แก่ วิบากของกรรมทั้ง ๒.
บทว่า อนุภูตํ ความว่า ที่หม่อมฉันเสวยอยู่. บทว่า ยโต จากกรรมชั่วใด.

ก็แลนางเปรตนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว เมื่อจะระบุอุปการะที่
พระราชาทำแก่ตนจึงกล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ข้าแต่พระองค์ผู้สมมุติเทพ พระองค์มี
อุปการะแก่หม่อมฉันมาก พระองค์เสด็จมาใน
ที่นี้ เพื่อประโยชน์แก่หม่อมฉัน หม่อมฉันพ้นดี
แล้วจากสุนัขหูด้วน ไม่มีความเศร้าโศก ไม่มี
ภัยแต่ที่ไหน ๆ ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคม

พระองค์ หม่อมฉันขอประนมอัญชลีวิงวอนว่า
ขอพระองค์จงเสวยกามสุข อันเป็นทิพย์ รื่นรมย์
อยู่กับหม่อมฉันเถิด.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
นางเปรตเรียกพระราชาด้วยคำว่า เทว ในคาถานั้น. บทว่า
กณฺณมุณฺฑสฺส ได้แก่สุนัขหูด้วน. จริงอยู่ คำว่า กณฺณมุณฺฑสฺส นี้
เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ. ลำดับนั้น พระราชา
ทรงมีพระทัยเบื่อหน่ายด้วยการอยู่ในที่นั้น จึงประกาศอัธยาศัย
ในการเสด็จไป. นางเปรตได้ฟังดังนั้น มีจิตปฏิพัทธ์ต่อพระราชา
เมื่อจะวอนพระราชาให้ประทับอยู่ในที่นั้นนั่นเอง จึงกล่าวคาถา
ว่า ตาหํ เทว นมสฺสามิ ขอเดชะ หม่อมฉันขอถวายบังคมพระองค์.

พระราชามีพระประสงค์จะเสด็จไปพระนคร โดยส่วนเดียว
เทียว เมื่อจะประกาศอัธยาศัยของพระองค์อีก จึงได้กล่าวคาถา
สุดท้ายว่า :-
กามสุขอันเป็นทิพย์ เราได้เสวยแล้ว และ
รื่นรมย์แล้วกับท่าน ดูก่อนนางผู้ประกอบด้วย
ความงดงาม เราขออ้อนวอนต่อท่าน ขอท่าน
จงรีบนำฉันกลับไปเสียเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตาหํ ตัดเป็น ตํ อหํ. บทว่า
สุภเค แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความงดงาม. บทว่า ปฏินยาหิ มํ
แปลว่า ขอเธอจงนำฉันกลับไปยังพระนครของฉันเถิด. คำที่เหลือ
ในบททั้งปวง ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น.

ลำดับนั้น นางเวมานิกเปรตนั้น ครั้นสดับพระดำรัสของ
พระราชาแล้ว เมื่อจะอดกลั้น ความพลัดพรากจากกันมิได้ มีหัวใจ
ว้าวุ่น เพราะอาดูรด้วยความเศร้าโศก มีร่างกายสั่นหวั่นไหว ถึง
จะอ้อนวอนด้วยอุบายมีประการต่าง ๆ เมื่อไม่อาจจะให้พระราชา
ประทับอยู่ในที่นั้นได้ จึงนำพระราชาพร้อมด้วยรัตนะอันควรแก่

ค่ามาก เป็นจำนวนมาก ไปยังพระนคร ให้เสด็จขึ้นสู่ปราสาท
คร่ำครวญรำพรรณแล้ว จึงไปยังที่อยู่ของตนตามเดิม. ฝ่าย
พระราชา ครั้นเห็นดังนั้นแล้ว จึงเกิดความสลดพระทัย บำเพ็ญ
บุญกรรมมีทานเป็นต้น ได้เป็นผู้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าของพวกเรา เสด็จอุบัติขึ้นใน
โลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี
โดยลำดับ วันหนึ่ง ท่านพระมหาโมคคัลลานะ เที่ยวจาริกไปยัง
บรรพต เห็นหญิงนั้น พร้อมด้วยบริวาร จึงถามถึงกรรมที่นางทำไว้.
นางเล่าเรื่องทั้งหมดนั้น ตั้งแต่ต้นแก่พระเถระ. พระเถระแสดง

ธรรมแก่หญิงเหล่านั้น. พระเถระกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็น
อัตถุปปัตติเหตุแล้ว จึงทรงแสดงธรรมแก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว.
มหาชนได้ความสลดใจ งดจากความชั่ว บำเพ็ญบุญกรรมมีทาน
เป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากัณณมุณฑเปติวัตถุที่ ๑๒

อรรถกถาอุพพรีเปติวัตถุที่ ๑๓

เรื่องนางอุพพรีเปรตนี้ มีคำเริ่มต้นว่า อหุ ราชา พฺรหฺมทตฺโต
ดังนี้. พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภอุบาสิกาคนหนึ่ง. เล่ากันมาว่า ในกรุงสาวัตถี ได้มีสามี
ของอุบาสิกาคนหนึ่งตายไป. อุบาสิกานั้นก็อาดูรเพราะความทุกข์
ในการพลัดพรากจากสามี เศร้าโศก เดินร้องไห้ไปยังป่าช้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเห็นอุปนิสัยสมบัติแห่งโสดาปัตติผลของ

นาง ทรงมีพระมนัสอันพระกรุณากระตุ้นเตือน จึงเสด็จไปยังเรือน
ของนาง ประทับนั่งบนบัญญัตอาสน์. อุบาสิกาเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดา ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรข้างหนึ่ง. ลำดับนั้น พระ-
ศาสดาตรัสกะนางว่า อุบาสิกา เธอเศร้าโศกไปทำไม. เมื่อนางทูล
ว่า อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า หม่อมฉันเศร้าโศก เพราะพลัดพราก
จากสามีสุดที่รัก ทรงมีพระประสงค์จะให้นางปราศจากความ
เศร้าโศก จึงได้นำอดีตนิทานมาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ในอดีตกาล ในกปิลนครแคว้นปัญจาละ ได้มีพระราชา
พระนามว่า พรหมทัต พระองค์ทรงละการลุแก่อคติ ทรงยินดี
ในการทำประโยชน์แก่ประชาชนในแว่นแคว้นของพระองค์ ไม่
ทรงให้ราชธรรม ๑๐ ประการเสียหายครองราชสมบัติอยู่ บาง
คราวประสงค์จะทรงสะดับว่า ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีใคร

พูดอะไรกันบ้าง จึงปลอมเป็นช่างหูก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน
เสด็จออกจากนคร เที่ยวไปจากบ้านถึงบ้าน จากชนบทถึงชนบท
ทรงเห็นแว่นแคว้นทั่วไปไม่มีเสี้ยนหนาม ไม่ถูกเบียดเบียน (ทั้ง)
พวกคนตื่นตัวอยู่อย่างไม่ต้องปิดประตูเรือน ทรงเกิดความโสมนัส
จึงเสด็จกลับมุ่งมายังพระนคร จึงเสด็จเข้าไปยังเรือนของหญิงหม้าย

ยากจนคนหนึ่งในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง. นางเห็นพระองค์จึงกล่าวถามว่า
ดูก่อนเจ้า ท่านเป็นใครและมาจากไหน. พระราชาตรัสว่า นาง
ผู้เจริญ ฉันเป็นช่างหูก เที่ยวรับจ้างทำการทอผ้า ถ้าท่านมีกิจใน
การทอผ้า ท่านจงให้อาหารและค่าจ้าง ฉันจะทำงานให้แม้แก่ท่าน
หญิงหม้ายกล่าวว่า ฉันไม่มีงานหรือค่าจ้างดูก่อนเจ้า ท่านจง

ทำงานของคนอื่นเถิด. พระราชานั้น ประทับอยู่ที่นั้น ๒-๓ วัน
ทรงเห็นธิดาของนางเพียบพร้อมด้วยลักษณะของผู้มีบุญมีโชค จึง
ตรัสกะมารดาของนางว่า หญิงคนนี้ ใคร ๆ ทำการหวงแหนแล้ว
หรือยัง ถ้ายังไม่มีใคร ๆ หวงแหน ท่านจงให้เด็กหญิงคนนี้แก่เรา
เราสามารถทำอุบายเครื่องเลี้ยงชีพตามความสบายแก่พวกท่านได้
หญิงหม้ายนั้นรับคำ แล้วได้ถวายธิดานั้นแก่พระราชา.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระราชา ทรงอยู่กับนางนั้น ๒-๓ วัน จึงพระราชทาน
ทรัพย์ ๑,๐๐๐ กหาปณะ แก่นางแล้วตรัสว่า เพียง ๒-๓ วันเท่านั้น
เราก็จักกลับ แน่ะนางผู้เจริญ เจ้าอย่ากระสันไปเลย ดังนี้แล้ว
จึงเสด็จไปยังพระนครของพระองค์ ทรงรับสั่งให้สร้างหนทางใน
ระหว่าง พระนครกับบ้านนั้น ให้สม่ำเสมอให้ประดับแล้วเสด็จไป

ในที่นั้น ด้วยราชานุภาพอันใหญ่แล้ว ให้ตั้งนางทาริกานั้นไว้ ใน
กองกหาปณะ แล้วให้อาบด้วยหม้อน้ำทองคำและหม้อน้ำเงิน แล้ว
ให้ตั้งชื่อว่า อุพพรี แล้วทรงสถาปนาไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี
และได้ประทานบ้านนั้น แก่พวกญาติของนาง ได้นำนางมายัง
พระนครด้วยราชานุภาพอันใหญ่ ทรงอภิรมย์กับนาง เสวยรัชชสุข
ตลอดพระชนมชีพ ในที่สุดแห่งอายุ ก็เสด็จสวรรคต. ก็เมื่อพระ-

ราชาสวรรคตแล้ว และทำการถวายพระเพลิงพระศพเสร็จแล้ว
พระนางอุพพรีมีหทัยเพียบพร้อมด้วยลูกศร คือความเศร้าโศก
เพราะพลัดพรากจากพระสวามี ไปยังป่าช้า บูชาด้วยสักการะ
มีของหอมและดอกไม้เป็นต้น อยู่หลายวัน ระบุถึงพระคุณของ
พระราชา คร่ำครวญรำพรรณอยู่ ดุจถึงความเป็นบ้า กระทำ
ประทักษิณป่าช้า.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ของเราทั้งหลาย เป็นพระ-
โพธิสัตว์ ทรงผนวชเป็นฤาษี บรรลุฌานและอภิญญา อยู่ใน
ราวป่าแห่งหนึ่ง ใกล้ ๆ ขุนเขาหิมพานต์ ทอดพระเนตรเห็น
พระนางอุพพรี ผู้เพียบพร้อมไปด้วยลูกศร คือความเศร้าโศก
ด้วยทิพยจักษุ เสด็จเหาะมา ปรากฏรูป ประทับยืนอยู่ในอากาศ

ตรัสถามพวกมนุษย์ผู้อยู่ในที่นั้นว่า นี้เป็นป่าช้าของใครกัน และ
หญิงนี้ คร่ำครวญรำพรรณอยู่ว่า พรหมทัต พรหมทัต เพื่อต้องการ
พรหมทัตคนไหน. พวกมนุษย์ได้ฟังดังนั้น พากันกล่าวว่า พระราชา
ของชาวปัญจาละ ทรงพระนามว่า พรหมทัต ท้าวเธอสวรรคต
ในเวลาสิ้นพระชนมายุ นี้เป็นป่าช้าของท้าวเธอ นี้เป็นอัครมเหสี

ชื่อว่า อุพพรี ของพระองค์คร่ำครวญรำพรรณระบุถึงพระนามของ
พระองค์ว่า พรหมทัต พรหมทัต. พระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย เมื่อจะ
แสดงความนั้น จึงได้ตั้งคาถา ๖ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 21 พ.ค. 2019, 21:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
พระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่ เสวยราช-
สมบัติ ในแคว้นปัญจาละราช เมื่อวันคืนล่วงไป
พระองค์เสด็จสวรรคต พระนางเจ้าอุพพรีมเหสี
เสด็จไปยังพระเมรุมาศ แล้วทรงกรรแสงอยู่ เมื่อ
พระนางไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ก็ทรงกรรแสง
ว่า พรหมทัต พรหมทัต ก็ดาบสผู้เป็นมุนี
สมบูรณ์ด้วยจรณญาณ ได้มาที่พระนางอุพพรี

ประทับอยู่นั้น ท่านได้ถามชนทั้งหลาย ที่มาประ-
ชุมกันในที่นั้นว่า นี้เป็นพระเมรุมาศของใครกัน
มีกลิ่นหอมต่าง ๆ ฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นภริยา
ของใครกัน ไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นใหญ่
ซึ่งเสด็จไปแล้ว ไกลจากโลกนี้ คร่ำครวญอยู่ว่า
พรหมทัต พรหมทัต ชนที่มาประชุมกันอยู่ในที่
นั้น กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ นี้เป็นพระ-

เมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต ข้าแต่ท่านผู้นิร-
ทุกข์ นี้เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต
มีกลิ่นหอมฟุ้งตลบไป หญิงนี้เป็นพระมเหสีของ
ท้าวเธอ เมื่อไม่เห็นพระเจ้าพรหมทัต ผู้เป็นพระ-
ราชสวามี ซึ่งเสด็จไปไกลจากโลกนี้ ทรงกรร-
แสงอยู่ว่า พรหมทัต พรหมทัต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ แปลว่า ได้มีแล้ว. บทว่า
ปญฺจาลานํ ได้แก่ชาวปัญจาลรัฐ หรือได้แก่ ปัญจาลรัฐนั่นเอง.
จริงอยู่ ชนบทแม้หนึ่งชนบท เขาแสดงออกด้วยคำเป็นอันมากว่า
ปญฺจาลานํ ด้วยถ้อยคำอันดาดดื่น ด้วยอำนาจแห่งพระราชกุมาร
ชาวชนบท. บทว่า รเถสโภ ความว่า ได้เป็นเสมือนผู้ยิ่งใหญ่
ในรถ คือ รถคันใหญ่. บทว่า ตสฺส อาฬาหนํ ได้แก่ สถานที่เป็น
ที่ถวายพระเพลิง พระสรีระของพระราชาพระองค์นั้น.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า อิสิ ความว่า ชื่อว่าฤาษี เพราะอรรถว่า แสวงหา
ซึ่งคุณมีฌานเป็นต้น. บทว่า ตตฺถ ได้แก่ ในที่เป็นที่ประทับของ
พระนางอุพพรีนั้น คือ ในสุสาน. บทว่า อาคจฺฉิ แปลว่า ได้ไปแล้ว.
บทว่า สมฺปนฺนจรโณ ความว่า ผู้ถึงพร้อมคือ ผู้ประกอบด้วยคุณ
คือ จรณะ ๑๕ ประการ เหล่านี้คือ สีลสัมปทา ความเป็นผู้คุ้มครอง
ทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้จักประมาณในโภชนะ

ชาคริยานุโยค สัทธรรม ๗ ประการมีศรัทธาเป็นต้น และรูปา-
วจรฌาน ๔ ประการ. บทว่า มุนิ ความว่า ชื่อว่ามุนิ เพราะรู้
คือ รู้ชัด ซึ่งประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น. บทว่า โส จ ตตฺถ
อปุจฺฉิตฺถ ความว่า พระดาบสนั้น ได้สอบถามถึงคนผู้อยู่ในที่นั้น.
บทว่า เย ตตฺถ สุ สมาคตา ได้แก่ เหล่าคนผู้มาประชุมกันที่ป่าช้า
นั้น. ศัพท์ว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า เย ตตฺถาสุํ
สมาคตา ดังนี้ก็มี. บทว่า อาสุํ ความว่า ได้มีแล้ว.

บทว่า นานาคนฺธสเมริตํ ความว่า มีกลิ่น นานาชนิด หอมฟุ้ง
อบอวลไปโดยรอบ. บทว่า อิโต แปลว่า จากมนุษยโลก. ด้วยคำว่า
ทูรคตํ หญิงนี้กล่าวเพราะค่าที่ตนไปสู่ปรโลก. บทว่า พฺรหฺมทตฺตาติ
วทติ ความว่า พระนางร้องเรียกด้วยอำนาจความรำพรรณ โดยระบุ
ถึงชื่ออย่างนี้ว่า พรหมทัต พรหมทัต.

บทว่า พฺรหฺมทตฺตสฺส ภทฺทนฺเต พฺรหฺมทตฺตสฺส มาริส
อธิบายว่า ข้าแต่พระมหามุนีผู้มีกายและจิตปลอดโปร่ง ผู้นิรทุกข์
นี้เป็นพระเมรุมาศของพระเจ้าพรหมทัต หญิงนี้ เป็นพระมเหสี
ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้นนั่นเอง ขอความเจริญ จงมีแก่
ท่าน และจงมีแด่พระเจ้าพรหมทัตนั้น ประโยชน์สุขย่อมมีแด่พระ-

มเหสีเช่นนั้น ผู้สถิตอยู่ในปรโลก ด้วยความคิดถึงเนืองนิตย์ถึงหิต
ประโยชน์.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น พระดาบสนั้น ครั้นสดับคำของคนเหล่านั้นแล้ว
ด้วยอาศัยความอนุเคราะห์ จึงไปยังสำนักของพระนางอุพพรี เพื่อ
จะบันเทาความเศร้าโศกของพระนางอุพพรี จึงได้กล่าวคาถาว่า :-

พระราชาทรงพระนามว่า พรหมทัต ถูก
เผาในป่าช้านี้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์แล้ว บรรดา
พระเจ้าพรหมทัตเหล่านั้น พระนางทรง
กรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉฬาสีติสหสฺสานิ ความว่า
นับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์. บทว่า พฺรหฺมทตฺตสฺสนามกา ได้แก่
มีชื่ออย่างนี้ว่า พรหมทัต. บทว่า เตสํ กมนุโสจสิ ความว่า พระนาง
ทรงพระกรรแสงถึงพระเจ้าพรหมทัตพระองค์ไหน บรรดาพระเจ้า
พรหมทัตที่นับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์นั้น. ดาบสถามว่า พระนางเกิด
ความเศร้าโศก เพราะอาศัยพระเจ้าพรหมทัต พระองค์ไหนกัน.

ก็พระนางอุพพรี ถูกฤาษีนั้นถามแล้วอย่างนี้ เมื่อจะบอกถึง
พระเจ้าพรหมทัตที่ตนประสงค์ จึงกล่าวคาถาว่า :-

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระราชาพระองค์ใด
เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าจูฬนี ทรงเป็นใหญ่
อยู่ในแคว้นปัญจาละ ดิฉันเศร้าโศกถึงพระ-
ราชาพระองค์นั้น ผู้เป็นพระราชสวามี ทรงประ-
ทานสิ่งของที่น่าปรารถนาทุกอย่าง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จูฬนีปุตฺโต ได้แก่พระโอรส
ของพระราชา ผู้ทรงพระนามอย่างนั้น. บทว่า สพฺพกามทํ ได้แก่
ผู้ทรงประทานสิ่งทั้งปวงที่น่าต้องการน่าปรารถนาแก่ดิฉัน, หรือ
ผู้ให้สิ่งที่สรรพสัตว์ต้องการ.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
เมื่อพระนางอุพพรี กล่าวอย่างนี้แล้ว ดาบสจึงกล่าว คาถา
๒ คาถาอีกว่า :-
พระราชาทุกพระองค์ ทรงพระนามว่า
พรหมทัตเหมือนกันทั้งหมด ล้วนเป็นพระราช-
โอรสของพระเจ้าจูฬนี เป็นใหญ่อยู่ในแคว้น
ปัญจาละ พระนางเป็นพระมเหสี ของพระ-
ราชาเหล่านั้นทั้งหมด โดยลำดับกันมา เพราะ
เหตุไร พระนางจึงเว้นพระราชา พระองค์ก่อน ๆ
เสีย มาทรงกรรแสงถึงพระราชาพระองค์หลัง
เล่า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺเพวาเหสุํ ความว่า พระราชา
เหล่านั้นทั้งหมดนับได้ ๘๖,๐๐๐ พระองค์ เป็นพระราชโอรสของ
พระเจ้าจูฬนี พระนามว่า พรหมทัต ได้เป็นใหญ่ในแคว้นปัญจาละ.
ความพิเศษมีความเป็นพระราชา เป็นต้นเหล่านี้ ไม่ได้มีแต่พระ-
ราชาแม้พระองค์เดียว ในพระราชาเหล่านั้น.

บทว่า มเหสิตฺตมการยิ ความว่า ก็ท่านได้กระทำ ให้เป็น
พระอัครมเหสี ของพระราชาทั้งหมดนั้น โดยลำดับ อธิบายว่า
ถึงโดยลำดับ ด้วยบทว่า กสฺมา พระดาบสถามว่า ท่านเว้น
พระราชาพระองค์ก่อน ๆ ในบรรดาพระราชาเหล่านี้ ผู้ไม่พิเศษ
โดยคุณและโดยเป็นพระสวามี มาทรงกรรแสงถึงพระราชาพระองค์
หลัง พระองค์เดียวเท่านั้น เป็นเพราะเหตุไร คือ ด้วยเหตุไร?

พระนางอุพพรี ได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดสลดพระทัย จึงกล่าว
คาถากะดาบสอีกว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ดิฉันเกิดเป็นแต่หญิง
ตลอดกาลนานเท่านั้นหรือ หรือจะเกิดเป็นชาย
บ้าง ท่านพูดถึงแต่กาลที่ดิฉันเป็นหญิง ในสงสาร
เป็นอันมาก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาตุเม คือ ในตน. บทว่า อิตฺถิภูตาย
แปลว่า เกิดเป็นผู้หญิง. บทว่า ทีฆรตฺตาย แปลว่า ตลอดกาลนาน.
จริงอยู่ ในข้อนี้ มีอธิบายดังนี้ว่า เมื่อดิฉันเป็นผู้หญิง ก็คงเป็น
ผู้หญิงอยู่ตลอดกาลเท่านั้น. หรือว่า จะเป็นผู้ชายได้บ้าง. บทว่า
ยสฺสา เม อิตฺถิภูตาย ความว่า ข้าแต่ท่านพระมหามุนี ท่านพูด
ถึงคือกล่าวถึงแต่กาลที่ดิฉันเป็นหญิง เป็นมเหสี ในสงสารมากมาย

ถึงเพียงนั้น. อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า อาหุ เม อิตฺถิภูตาย ดังนี้ก็มี.
บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อา เป็นนิบาต ใช้ในอนุสสรณัตถะ.
บทว่า อาหุ เม ความว่า ดิฉันเอง ได้ระลึกถึง คือได้รู้ทั่วถึงข้อนี้.
มีวาจาประกอบความว่า เมื่อดิฉันเป็นหญิง คือเกิดเป็นผู้หญิง

ดิฉันเกิดไป ๆ มา ๆ ตลอดกาลเพียงเท่านี้ ด้วยอาการอย่างนี้
เพราะเหตุไร? เพราะเมื่อดิฉันเป็นหญิง ท่านได้ทำดิฉันให้เป็น
มเหสีของพระราชาทุกพระองค์โดยลำดับ ข้าแต่พระมหามุนี
ท่านได้กล่าวถึงฉันในสงสารเป็นอันมาก เพราะเหตุไร?

พระดาบสครั้นได้ฟังดังนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่า การกำหนด
แน่นอนนี้ ไม่มีในสงสารว่า หญิงก็ต้องเป็นหญิง ชายก็ต้องเป็นชาย
อยู่นั่นเอง จึงกล่าวคาถาว่า :-

บางคราวพระนางเกิดเป็นหญิง บางคราว
ก็เกิดเป็นชาย บางคราวก็เกิดในกำเนิดปสุสัตว์
ที่สุดแห่งอัตภาพทั้งหลายอันเป็นอดีต ย่อม
ไม่ปรากฏอย่างนี้.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อหุ อิตฺถี อหุ ปุริโส ความว่า
บางคราวท่านก็เป็นหญิง บางคราวก็เป็นชาย จะเป็นหญิงหรือเป็น
ชายอย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้เกิดในกำเนิดปสุสัตว์บ้าง
คือ บางคราวก็ไปสู่ภาวะปสุสัตว์บ้าง คือ บางคราวก็เกิดในกำเนิด
สัตว์ดิรัจฉานบ้าง. บทว่า เอวเมตํ อตีตานํ ปริยนฺโต น ทิสฺสติ

ความว่า ที่สุดแห่งอัตภาพอันเป็นอดีต อันเกิดเป็นหญิง เป็นชาย
และเป็นสัตว์ดิรัจฉานเป็นต้น อย่างนี้ คือตามที่กล่าวแล้วนี้ ย่อม
ไม่ปรากฏ แก่ผู้เห็นด้วยญาณจักษุ คือ ด้วยความอุตสาหะใหญ่
สำหรับพระองค์ คืออย่างเดียวเท่านั้น ก็หามิได้ โดยที่แท้ที่สุดแห่ง
อัตภาพ ของเหล่าสัตว์ผู้วนเวียนอยู่ในสงสารทั้งหมด ย่อมไม่ปรากฏ
คือรู้ไม่ได้ทีเดียว. ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า :-

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้ไม่มีที่สุด
และเบื้องต้นอันใคร ๆ ไปตามอยู่รู้ไม่ได้ เบื้องต้น
และที่สุดของเหล่าสัตว์ ผู้มีอวิชชาเป็นเครื่อง
ปิดกั้น ผูกพันด้วยตัณหา แล่นไป ท่องเที่ยวไป
ย่อมไม่ปรากฏ.

พระมเหสี ได้ฟังธรรมที่พระดาบสนั้น เมื่อจะประกาศ
ความที่สงสารไม่มีที่สุด และความที่สัตว์มีกรรมเป็นของของตน
แสดงไว้แล้วอย่างนี้ มีหทัยสลดในสงสาร และมีใจเลื่อมใสในธรรม
ปราศจากลูกศรคือความเศร้าโศก เมื่อจะประกาศความเลื่อมใส
และความปราศจากเศร้าโศกของตน จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า :-

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
ท่านดับความกระวนกระวายทั้งปวงของ
ดิฉัน ผู้เร่าร้อนอยู่ให้หายเหมือนบุคคลเอาน้ำ
ดับไฟที่ลาดด้วยน้ำมันฉะนั้น ท่านบันเทาความ
เศร้าโศก ถึงพระสวามีของดิฉัน ผู้ถูกความ
เศร้าโศกครอบงำแล้ว ถอนได้แล้วหนอ ซึ่งลูกศร
ความเศร้าโศก อันเสียดแทงที่หทัยของดิฉัน

ข้าแต่ท่านผู้เป็นพระมหามุนี ดิฉันเป็นผู้มีลูกศร
คือความเศร้าโศกอันถอนขึ้นได้แล้ว เป็นผู้เย็น
สงบ ดิฉันไม่เศร้าโศก ไม่ร้องไห้อีก เพราะได้
ฟังคำของท่าน.
ความของคาถานั้น ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้ว ในหนหลัง
นั่นแล.

บัดนี้ พระศาสดา เมื่อจะทรงแสดงข้อปฏิบัติของพระนาง
อุพพรี ผู้มีพระหทัยสลด จึงได้ตรัสพระคาถา ๔ พระคาถาว่า :-
พระนางอุพพรี ฟังคำสุภาษิตของดาบส
ผู้เป็นสมณะนั้นแล้ว ถือบาตรและจีวรออกบวช
เป็นบรรพชิต ครั้นออกบวชแล้ว เจริญเมตตาจิต
เพื่อเข้าถึงพรหมโลก พระนางอุพพรีนั้น เมื่อ
ท่องเที่ยวไปสู่บ้านหนึ่งจากบ้านหนึ่ง สู่นิคม
และราชธานีทั้งหลาย ได้เสด็จสวรรคต ที่บ้าน

อุรุเวลา พระนางเบื่อหน่ายความเป็นหญิง เจริญ
เมตตาจิต เพื่อบังเกิดในพรหมโลก จึงได้เป็นผู้
เข้าถึงพรหมโลก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตสฺส ได้แก่ ดาบสนั้น. บทว่า
สุภาสิตํ ได้แก่ คำอันเป็นสุภาษิต, อธิบายว่า ซึ่งธรรม. บทว่า
ปพฺพชิตา สนฺตา ได้แก่ เข้าถึงบรรพชา หรือบวชแล้ว เป็นผู้มี
กายวาจาสงบ. ด้วยบทว่า เมตฺตจิตฺตํ พระนางอุพพรี กล่าวถึงจิต

ที่เกิดพร้อมด้วยเมตตา คือ ฌานที่มีเมตตาเป็นอารมณ์ โดยยก
จิตขึ้นเป็นประธาน. บทว่า พฺรหฺมโลกูปปตฺติยา ความว่า ก็และ
พระนางเมื่อเจริญเมตตาจิตนั้น ก็เจริญเพื่อเข้าถึงพรหมโลก ไม่ใช่
เพื่อเป็นบาทแห่งวิปัสสนาเป็นต้น. จริงอยู่เมื่อพระพุทธเจ้ายังไม่
เสด็จอุบัติ ดาบสและปริพาชกผู้เจริญธรรมมีพรหมวิหารเป็นต้น
ก็เจริญเพียงเพื่อภวสมบัติเท่านั้น.

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 22 พ.ค. 2019, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
บทว่า คามา คามํ ได้แก่ จากบ้านหนึ่ง ไปบ้านหนึ่ง. บทว่า
อาภาเวตฺวา แปลว่า เจริญแล้ว คือ พอกพูนแล้ว. บางอาจารย์
กล่าวว่า อภาเวตฺวา ก็มี. อ อักษร ของบทว่า อภาเวตฺวา ของ
อาจารย์บางพวกนั้น เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อิตฺถิ จิตฺตํ วิราเชตฺวา

ความว่า คลายความคิด คือ ความมีอัธยาศัย ได้แก่ ความชอบใจ
ในความเป็นหญิง คือ เป็นผู้มีจิตปราศจากความยินดี ในความ
เป็นหญิง. บทว่า พฺรหฺมโลกูปคา ความว่า ได้เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลก
โดยการถือปฏิสนธิ. คำที่เหลือ ง่ายทั้งนั้น เพราะมีนัยดังกล่าวแล้ว
ในหนหลัง.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ได้ทรง
กระทำความเศร้าโศก ของอุบาสิกานั้น โดยจตุสัจจเทศนาเบื้องบน.
ในเวลาจบสัจจะ อุบาสิกานั้น ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. และ
เทศนา ได้มีประโยชน์แก่บริษัทผู้ถึงพร้อมแล้ว ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอุพพรีเปติวัตถุที่ ๑๓
จบ ปรมัตถทีปนี
อรรถกถาขุททกนิกาย เปตวัตถุ

จูฬวรรคที่ ๓
อรรถกถาอภิชชมานเปตวัตถุที่ ๑
เมื่อพระศาสดาเสด็จประทับอยู่ในพระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภเปรตพรานตนหนึ่ง จึงตรัสพระคาถานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อภิชฺชมาเน วาริมฺหิ ดังนี้.

ได้ยินว่าในกรุงพาราณสี ได้มีพรานคนหนึ่งอยู่ในบ้าน
ชื่อว่า จุนทัฏฐิละ เลยวาสภคาม ฝั่งแม่น้ำคงคาในด้านอีกทิศหนึ่ง
เขาล่าเนื้อในป่าย่างเนื้อล่ำ ๆ กิน ที่เหลือเอาห่อใบไม้หามมาเรือน
พวกเด็กเล็ก ๆ เห็นเขาที่ประตูบ้านจึงวิ่งเหยียดมือร้องขอว่า จง
ให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้เนื้อแก่เด็กเหล่านั้นคนละน้อย ๆ.

ภายหลังวันหนึ่ง พวกเด็กเห็นเขาที่ประตูบ้าน ผู้ไม่ได้เนื้อ ประดับ
ดอกราชพฤกษ์และหอบเอาไปบ้านเป็นจำนวนมาก จึงวิ่งเหยียด
มือร้องขอว่า จงให้เนื้อฉัน จงให้เนื้อฉัน เขาได้ให้ดอกนมแมว
แก่เด็กเหล่านั้นคนละดอก.

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 363 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 13, 14, 15, 16, 17, 18, 19 ... 25  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร