วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:54  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ภาษาชาวบ้านเรียกว่า คน แต่ภาษาทางธรรมเรียกว่า กอง หมวด ขันธ์ ดังนั้น เมื่อแยกแยะแล้วว่า ได้ ๕ กอง ๕ ขันธ์ ว่าโดยอายตนะ มี ๑๒ ว่าโดยธาตุ มี ๑๘ ว่าโดยอินทรีย์ มี ๒๒

รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 09:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


๒.วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประประกอบ

วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประประกอบ หรือ กระจายเนื้อหา เป็นการคิดที่มุ่งให้มอง และให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามสภาวะของมันเองอีกแบบหนึ่ง

ในทางธรรม ท่านมักให้พิจารณาเพื่อให้เห็นความไม่มีแก่นสาร หรือ ความไม่เป็นตัวเป็นตนที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ให้หายยึดติดถือมั่นในสมมติบัญญัติ โดยเฉพาะการพิจารณาเห็นสัตว์บุคคล เป็นเพียงการประชุมกันเข้าขององค์ประกอบต่างๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ ๕ และขันธ์ ๕ แต่ละอย่าง ก็เกิดขึ้นจากส่วนประกอบย่อยต่อไปอีก
การพิจารณาเช่นนี้ ช่วยให้มองเห็นความเป็นอนัตตา

แต่การที่จะมองเห็นสภาวะเช่นนี้ได้ชัดเจน มักต้องอาศัยวิธีคิดแบบที่ ๑ และหรือแบบที่ ๓ เข้าร่วม
โดยพิจารณาไปพร้อมๆ กัน กล่าวคือ เมื่อแยกแยะส่วนประกอบออก ก็เห็นภาวะที่องค์ประกอบเหล่านั้นอาศัยกัน และขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่เป็นตัวของมันเองแท้จริง
ยิ่งกว่านั้น องค์ประกอบ และเหตุปัจจัยต่างๆ เหล่านั้น ล้วนเป็นไปตามกฎธรรมดา คือ มีการเกิดดับอยู่ตลอด ไม่เที่ยงแท้ ไม่คงที่ ไม่ยั่งยืน

ภาวะที่เกิดขึ้นแล้วต้องดับไป และต้องขึ้นต่อเหตุปัจจัยต่างๆ ถูกเหตุปัจจัยทั้งหลายบีบคั้นขัดแย้งนั้น

ถ้าไม่มองในแง่สืบสาวหาเหตุปัจจัยตามวิธีที่ ๑ ซึ่งอาจจะยากสักหน่อย ก็มองได้ในแง่ลักษณะทั่วไปที่เป็นธรรมดาสามัญของสิ่งทั้งหลาย ซึ่งอยู่ในขอบเขตของวิธีคิดแบบที่ ๓ ในบาลี ท่านมักกล่าวถึงวิธีคิดแบบที่ ๒ นี้ รวมพร้อมไปด้วยกันกับแบบที่ ๓

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 09:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ในชั้นอรรถกา ซึ่งเป็นแนวของอภิธรรมสมัยหลัง นิยมจัดวิธีคิดแบบที่ ๒ นี้เป็นขั้นหนึ่งต่างหาก และถือเป็น วิภัชชวิธีอย่างหนึ่ง * (วิสุทฺธิ.ฎีกา 3/45,397,349) นอกจากนั้นยังนิยมจำแนกขั้นพื้นฐาน โดยถือนามรูปเป็นหลัก ยิ่งกว่าจะจำแนกเป็นขันธ์ ๕ ทันที

ความจริง วิธีคิดแบบนี้ มิใช่มีแต่การจำแนกแยกแยะ หรือแจกแจงออกไปอย่างเดียวเท่านั้น
แต่มีการจัดหมวดหมู่ หรือ จัดประเภทไปด้วยพร้อมกัน แต่ท่านเน้นในแง่การจำแนกแยกแยะ จึงเรียกว่า “วิภัชชะ” ถ้าจะเรียกอย่างสมัยใหม่ก็คงว่า วิธีคิดแบบวิเคราะห์

ที่อ้างอิง *
* การแยกแยะดูตามเหตุปัจจัยแบบปฏิจจสมุปบาท ก็ถือเป็นวิภัชชวิธีเช่นกัน – วิสุทฺธิ.3/114 ฯลฯ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 09:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในการบำเพ็ญวิปัสสนาตามประเพณีปฏิบัติ ที่บรรยายไว้ในชั้นอรรถกถา เรียกการคิดพิจารณาที่แยกแยะโดยถือเอานามรูปเป็นหลักในขั้นต้นนี้ว่า นามรูปววัตถาน หรือนามรูปปริคคหะ * (บางทีเรียก นามรูปปริจเฉท บ้าง สังขารปริเฉท บ้าง) คือไม่มองสัตว์บุคคลตามสมมติบัญญัติ ว่าเป็นเขาเป็นเรา เป็นนายนั่น นางนี่
แต่มองตามสภาวะแยกออกไป ว่าเป็นนามธรรม และรูปธรรม กำหนดส่วนประกอบทั้งหลาย ที่ประชุมกันอยู่แต่ละอย่างๆ ว่าอย่างนั้นเป็นรูป อย่างนี้เป็นนาม
รูป คือ สภาวะที่มีลักษณะอย่างนี้ นามคือสภาวะที่มีลักษณะอย่างนี้
สิ่งนี้มีลักษณะอย่างนี้ จึงจัดเป็นรูป
สิ่งนี้มีลักษณะอย่างนี้ จึงจัดเป็นนาม ดังนี้เป็นต้น

เมื่อแยกแยะออกไปแล้ว ก็มีแต่นาม กับ รูป หรือนามธรรม กับ รูปธรรม
เมื่อหัดมอง หรือ ฝึกความคิดอย่างนี้ จนชำนาญ ในเวลาที่พบเห็นสัตว์และสิ่งต่างๆ ก็จะมองเห็นเป็นเพียงกองแห่งนามรธรรม และรูปธรรม เป็นเพียงสภาวะ ว่างเปล่าจากความเป็นสัตว์บุคคลตัวตนเราเขา นับว่ามีกระแสความคิดความเข้าใจ ที่คอยช่วยต้านทานไม่ให้คิดอย่างหลงใหลหมายมั่นติดสมมติบัญญัติมากเกินไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นักศึกษาพระอภิธรรม อ่านหัวข้อนี้จนกว่าจะเข้าใจชัด ของสิ่งเดียวกันนั่นแหละ แต่แยกให้ขาด คน,มนุษย์มีอยู่ ชายคนนี้ ชื่อ นายนั่น นามสกุลเตะโด่ง หญิงคนนี้ ชื่อนางนี่ นามสกุล แซ่ห่าน ซึ่งทางสังคมทางโลกใช้สื่อสารกัน ไม่ยังงั้นพูดกันไม่รู้เรื่อง :b1:
แต่เมื่อพูดโดยภาษาทางธรรมแล้ว คนหามีไม่ กล่าวคือ ทางธรรมมองสรรพสิ่งเป็นธาตุ เป็นรูปธรรมนามธรรม

ภาษาคนเอาไว้ใช้ ภาษาธรรมเอาไว้รู้ เข้าใจไหมคุณโรส นู่เม :b10:

ถ้าแยกออกแยกเป็นแล้วเนี่ยนะ พูดยังไงท่าไหนก็ได้ (ตนเองรู้อยู่แก่ใจ) ไม่มีปัญหาอันใดเลย ถึงตอนนั้น ปิดบอร์ดลานธรรมได้ทั้งสองแห่ง :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 10:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูบาลีต่อไปนี่แล้วยิ่งชัดเข้าไปใหญ่

ต่อ

ตัวอย่างการใช้ความคิดแนวนี้ในบาลีพึงเห็นดังนี้

“เพราะคุมส่วนประกอบทั้งหลายเข้าด้วยกัน จึงมีศัพท์ว่า “รถ” ฉันใด
เมื่อขันธ์ทั้งหลายมีอยู่ สมมติว่า “สัตว์” จึงมี ฉันนั้น” (สํ.ส.15/554/198)

“ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ช่องว่าง อาศัยเครื่องไม้ เถารัด ดินฉาบ และหญ้ามุงล้อมเข้า ย่อมถึงความนับว่า “เรือน” ฉันใด
ช่องว่าง อาศัยกระดูก เอ็น เนื้อ และหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า “รูป” ฉันนั้น
...เวทนา...สัญญา...สังขาร...วิญญาณ...การคุมเข้า การประชุมกัน การประมวลเข้าด้วยกัน แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ เป็นอย่างนี้” (ม.มู.12/346/358)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 10:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


“ภิกษุทั้งหลาย แม่น้ำคงคานี้ พึงพาเอากลุ่มฟองน้ำใหญ่มา คนตาดีมองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย เมื่อเขามองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่างเปล่า ไร้แก่นสารเท่านั้น แก่นสารในกลุ่มฟองน้ำ จะมีได้อย่างไร ฉันใด

“รูปก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่ว่าอย่างหนึ่งอย่างใด เป็นอดีต อนาคต หรือ ปัจจุบัน ก็ตาม ฯลฯ ไกลหรือใกล้ ก็ตาม ภิกษุมองดูรูปนั้น เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย
เมื่อเธอมองดู เพ่งพินิจ พิจารณาโดยแยบคาย ก็จะปรากฏเป็นแต่สภาพว่าง เปล่า ไม่มีแก่นสาร แก่นสารในรูปจะพึงมีได้อย่างไร “

ต่อจากนี้ตรัสถึงเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ และมีคาถาสรุปว่า

“พระอาทิตย์พันธุ์ (พระพุทธเจ้า) ได้ตรัสแสดงไว้ว่า รูปอุปมาเหมือนฟูมฟองแม่น้ำ
เวทนาอุปมาเหมือนฟูมฟองน้ำฝน
สัญญาอุปมาเหมือนพยับแดด
สังขารอุปมาเหมือนต้นกล้วย
วิญญาณอุปมาเหมือนมายากล
ภิกษุเพ่งพินิจดู พิจารณาโดยแยบคาย ซึ่งเบญจขันธ์นั้น ด้วยประการใดๆก็มีแต่สภาวะที่ว่างเปล่า…” (สํ.ข.17/2427/171-4)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 มี.ค. 2019, 10:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน

รูปภาพ


จิต วิญญาณ มโน อุปมาเหมือนมายากล

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 8 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร