วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 04:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 14:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


การสัมพันธ์กับวัตถุทั้งหลายที่เป็นปัจจัยยังชีพ และหล่อเลี้ยงชีวิตนี้ ในพระธรรมวินัยก็ถือเป็นเรื่องสำคัญในการศึกษา ที่จะต้องฝึกฝนพัฒนาตลอดเวลาในชีวิตประจำวัน ดังที่ฝึกกันตั้งแต่เข้ามาบวช ให้เสพปัจจัยสี่โดยพิจารณา หรือ ให้บริโภคด้วยปัญญา โดยรู้จักประมาณ ให้ได้ความพอดี ที่จะเกิดคุณค่าแท้จริงที่ชีวิตต้องการ มิใช่แค่บริโภคอย่างมืดมัวด้วยโมหะ เพียงที่จะสนองความอยากเสพด้วยตัณหา

ดังความที่ตรัสว่า

"ดูกรจุนทะ เรามิใช่แสดงธรรมแก่เธอทั้งหลาย เพื่อปิดกั้นบรรดาอาสวะ (ความเสียหายหมักหมม) ที่เป็นไปในปัจจุบันอย่างเดียวเท่านั้น อีกทั้งเราก็มิใช่แสดงธรรม เพื่อป้องกันบรรดาอาสวะ ที่จะเป็นไปในเบื้อง หน้าเท่านั้น
หากแต่ว่า เราแสดงธรรม ทั้งเพื่อปิดกั้นบรรดาอา สวะ ที่เป็นไปในปัจจุบัน และเพื่อป้องกันบรรดาอาสวะ ที่จะเป็นไปใน เบื้องหน้าด้วย"

"ดูกรจุนทะ เพราะฉะนั้นแล จีวรใด อันเราอนุญาตแล้วแก่เธอทั้งหลาย จีวรนั้น ควรแก่พวกเธอ เพียงเพื่อป้องกันหนาว ป้องกันร้อน ป้องกันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียง เพื่อเป็นเครื่องปกปิดอวัยวะอันยังความละอายให้กำเริบ

"บิณฑบาตใด อันเราอนุญาตแล้วแก่เธอทั้งหลาย บิณฑบาตนั้น ควรแก่พวกเธอ เพียงเพื่อ ความดำรงอยู่แห่งกายนี้ เพื่อยังกายนี้ให้เป็นไป เพื่อระงับความขาด อาหารอันจะเบียดเบียนชีวิต เพื่อเกื้อกูลหนุนพรหมจริยา โดยรู้ว่าการ ปฏิบัติดังนี้ เราจักบรรเทาเวทนาเก่าได้ ทั้งจักไม่ยังเวทนาใหม่ให้เกิด ขึ้นด้วย และเราก็จักมีชีวิตที่ดำเนินไปราบรื่น พร้อมทั้งความไร้โทษและ ความอยู่สำราญ

"เสนาสนะใด อันเราอนุญาตแล้วแก่เธอทั้งหลาย เสนาสนะนั้น ควรแก่พวกเธอ เพียงเพื่อ เป็นเครื่องป้องกันหนาว ป้องกันร้อน ป้องกันสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เพียงเพื่อเป็นเครื่องบรรเทาอุตุอันตราย เพื่อเป็นที่มีความรื่นรมย์ในการ หลีกเร้น

"คิลานปัจจัยเภสัชบริขารใด อันเราอนุญาตแล้วแก่เธอทั้งหลาย คิลานปัจจัยเภสัชบริขารนั้น ควรแก่ พวกเธอ เพียงเพื่อเป็นเครื่องบำบัดเวทนาทั้งหลาย อันเนื่องจากอาพาธต่างๆ ที่ เกิดขึ้น เพื่อความเป็นผู้ไม่มีทุกข์ยากเป็นอย่างยิ่งฉะนี้" * (ที.ปา.11/113/142)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 14:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บรรดาปัจจัย ๔ นี้ ข้อ ที่ ๒ เสนาสนะ (แปลตามศัพท์ว่า ที่นั่ง และที่นอน) คือที่อยู่อาศัย เป็นปัจจัยใหญ่ ทั้งเป็นที่ตั้ง อาศัย และครอบคลุมปัจจัยข้ออื่นๆ จะปรุง จะรับประทาน จะเก็บอาหาร เสื้อผ้า จะนุ่งห่มแต่งตัว ฯลฯ แทบทุกอย่างทุกประการ ก็อาศัยเสนาสนะทั้งนั้น จนกระทั่งในการถวายทาน
พระพุทธเจ้าเคยตรัสแสดงความสำคัญไว้ว่า

"ผู้ให้ข้าว ชื่อว่าให้กำลัง ให้เสื้อผ้า ชื่อว่าให้ผิวพรรณ ให้ยานพาหนะ ชื่อว่าให้ความสะดวกสบาย ให้ประทีปโคมไฟ ชื่อว่าให้จักษุ ส่วนผู้ใด ให้ที่พักอาศัย ผู้นั้น ชื่อว่าให้ทุกอย่าง แลผู้ใด สั่งสอนธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าให้อำมฤต" (สํ.ส.15/138/44)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 19:27 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 19:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สำหรับพระสงฆ์ เสนาสนะมีความหมายโยงขยายออกไป ตั้งแต่กุฎีที่อยู่ส่วนตน จนถึงที่อยู่อาศัยร่วมกันอันรวมเป็นวัด ที่มีคำเรียกเดิม ตามพระพุทธานุญาตว่า "อาราม" (แปลสามัญว่า สวน) และวัดคืออารามนั้น ก็เกิดขึ้นมาจากป่า คือ วนะ และ หรือ อุทยาน ดังเห็นได้ชัดจากกำเนิดของวัดแรกในพระพุทธศาสนา ที่พระเจ้าพิมพิสารถวายแด่พระพุทธเจ้า คือ เวฬุวันอุทยาน (เวฬุวนํ อุยฺยานํ) และวัดสำคัญที่ประทับยาวนานที่สุด คือ เชตวันอุทยาน ที่มาเป็นเชตวนาราม ("เชตสฺส ราชกุมารสฺส อุยฺยานํ" มาเป็น "เชตวเน อนาถบิณฺฑิกสฺส อาราเม)


จากอารามคือวัดในวนะ อันเป็นป่าย่อยในถิ่นใกล้บ้านย่านใกล้เมืองและชายป่าใหญ่ ที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ก็ขยายกระจายออกไปสู่ถิ่นห่างไกลในป่าใหญ่ที่เรียก ว่าอรัญ (อรญฺญ) อันรวมทั้งถ้ำ เงื้อมเขา บนบรรพตคีรี และในที่สุด เสนาสนะคือที่อยู่อาศัยนั้น ก็โยงพระสงฆ์เข้ากับป่าดงพงไพร ขุนเขา และถิ่นบ้าน แดนเมืองทั้งหลาย จนถึงโลก อันรวมทั้งสิ่งแวดล้อมทั้งมวล


เสนาสนะ ที่อยู่อาศัย ถิ่นแดน สิ่งแวดล้อมทั้งหมดนี้ ก็คือสิ่งรอบตัวที่จะรับรู้ ติดต่อ เกี่ยวข้อง สื่อสารสัมพันธ์ ด้วยปัญจทวาร คือผัสสทวาร หรือ อินทรีย์ทั้ง ๕ นั้นเอง ดังนั้น โลกรอบตัวที่ว่ามานี้ จึงเป็นแดนแห่งกายภาวนา ที่จะฝึกฝนพัฒนากาย คือ พัฒนาความสัมพันธ์ทางอินทรีย์เหล่านั้น

ลักษณะ ความสัมพันธ์ที่ต้องการ ซึ่งมีอยู่ตลอดทุกเวลาในชีวิตของพระภิกษุ หรือผู้ศึกษา ปรากฏตั้งแต่ในถ้อยคำพื้นฐานที่กล่าวมาแล้วนั้น และโยงไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีงามกว้างออกไปๆ โดยก้าวหน้าไปกับการพัฒนา ในการฝึกการศึกษานั้น เริ่มด้วยคำหลักที่เป็นพื้นมาในชีวิตของพระภิกษุ คำแรกที่กล่าวแล้วนั้น คือ อาราม ที่แปลง่ายๆ ว่า "สวน" หรือแปลตามศัพท์ อย่างที่นิยมพูดกันมาว่า "ที่มายินดี"

คำว่า อาราม หรือที่มายินดีนี้ นอกจากความสัมพันธ์พื้นฐานของผู้ศึกษา เริ่มจากถิ่นที่อยู่อาศัย (คือวัด) ว่าเป็นที่ (มีสภาพธรรมชาติ พืชพรรณ กบ ไก่ นก กา ฯลฯ ) ที่ชวนใจให้มายินดี
คำว่า อาราม นี้ บอกความสัมพันธ์ทางจิตใจที่พึงประสงค์ ซึ่งภิกษุ หรือ ผู้ศึกษาพึงมีเป็นพื้นฐานต่อสถานที่อยู่อาศัยอันเหมาะนั้น แล้วขยายออกไปให้ถิ่นแดนที่ตนเกี่ยวข้อง เป็นอารามที่มายินดี

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 19:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มิใช่แต่เท่านั้น คำว่า อาราม โยงภิกษุ หรือ ผู้ศึกษานั้น ลึกเข้าไปทางด้านความเป็นอยู่ และการปฏิบัติธรรมด้วย คือ โยงต่อเข้าไปถึงแดนของอินทรีย์ใหญ่ภายใน อันได้แก่ใจ ให้มีอาราม คือ ความยินดีในเรื่องต่างๆ
ขยายต่อออกไป
อันที่เป็นหลักๆ เช่น ปวิเวการาม (มีความสงัดวิเวกเป็นที่มายินดี)
ปฏิสัลลาราม (มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี) แล้ว
ก็ลึกลงไปถึง ปหานาราม (มีการแก้ไขละเลิกอกุศลธรรมเป็นที่มายินดี)
ภาวนาราม (มีการเจริญ คือ พัฒนากุศลธรรมเป็นที่มายินดี)

อาราม เป็นอาการความรู้สึกในจิตใจของภิกษุ หรือ ผู้ศึกษา ที่มีต่อสิ่งอันเหมาะที่จะสื่อสารสัมพันธ์นั้นโดยตรง และเท่ากับ ว่า ผู้ศึกษาเอง มีหน้าที่จะพึงทำให้สิ่งที่ตนเกี่ยวข้องสัมพันธ์นั้น เป็นอารามอันจะเป็นที่มายินดีด้วย
ตั้งแต่วัด ที่อยู่อาศัยของตนเอง ที่มีชื่อให้เรียกว่าอย่างนั้นอยู่แล้ว และ พึงขยายอารามนี้ออกไปให้ทั่วรอบ

ขณะที่คำว่าอาราม แสดงความรู้สึกในใจที่สัมพันธ์ หรือ มีต่อสถานที่ ถิ่นฐาน สิ่งแวดล้อมนั้นๆ
ก็มีอีกคำหนึ่ง ที่ปรากฏมากมายเหลือเกินในชีวิตของพระสงฆ์ หรือ ผู้ศึกษา ตลอดถึงท่านผู้จบการศึกษาแล้วในพระธรรมวินัยนี้ (น่าจะมาก น่าจะบ่อยกว่าอารามเสียอีก) คือ

คำว่า "รมณีย์" ที่แปลว่า น่ารื่นรมย์ คำนี้ ชี้บอกไปที่สภาพของบรรยากาศที่ชื่นชูใจ อันพึงประสงค์ยิ่งสำหรับผู้ศึกษา ที่จะเกื้อกูลให้เจริญงอกงาม ก้าวไปด้วยดี ในการศึกษาพัฒนากุศลธรรม และ สำหรับท่านผู้จบการพัฒนาแล้ว ก็จะสัมผัสพบสภาพรมณีย์นี้ได้ง่าย หรือ อย่างพร้อมทันที เพราะมีสัมผัสที่ไม่มีกิเลสแฝงงำ หรือ กั้นบัง กับทั้งท่านเองนั่นแหละเป็นผู้พร้อม ที่จะทำให้ถิ่นฐาน สิ่งที่แวดล้อมเป็น รมณีย์ คือ เป็นที่รื่นรมย์ ทั้งแก่องค์ท่านเอง และแก่ผู้อื่นทั้งหลายที่เข้ามาใกล้ชิด หรือ แวดล้อมด้วย

"รมณีย์" ภาวะที่น่ารื่นรมย์ จึงเป็นที่ปรากฏทั่วไปในพระไตรปิฎก เหมือนเป็นบรรยากาศหนึ่งของพระไตรปิฎกนั้นด้วย
เริ่มตั้งแต่ในพุทธประวัติก่อนตรัสรู้ เมื่อพระโพธิสัตว์เสด็จเที่ยวทรงแสวงหาสถานที่อันเหมาะที่จะทรงบำเพ็ญ เพียร ในที่สุดทรงพบที่อันเหมาะเช่นนั้น ณ อุรุเวลาเสนานิคม ดังคำตรัสในวาระนั้นว่า

"ภาคพื้นภูมิสถานถิ่นนี้ เป็นที่รื่นรมย์จริงหนอ (รมณีโย วต) มีไพรสณฑ์ร่มรื่น น่าชื่นบาน ทั้งมีแม่น้ำไหลผ่าน น้ำใส เย็นชื่นใจ ชายฝั่งท่าน้ำก็ราบเรียบ ทั้งโคจรคามก็มีอยู่โดยรอบ เป็นสถานที่เหมาะจริงหนอ ที่จะบำเพ็ญเพียร สำหรับกุลบุตร ผู้ต้องการทำความเพียร ภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ได้นั่งลงแล้ว ณ ที่นั้น โดยตกลงใจว่า ที่นี่ล่ะ เหมาะที่จะบำเพ็ญเพียร" (ม.มู.12/319/323)

(คิดโยงให้ถึงสัปปายะ)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระ พุทธเจ้า และเหล่าพระสาวก เมื่อเสด็จไปประทับ หรือ ไปอยู่ และผ่านไปในที่ต่างๆ โดยเฉพาะตามป่าเขาแดนไพร มีคำบันทึกไว้ว่า ท่านได้กล่าวถึงสถานที่นั้นๆ ว่าเป็นที่รื่นรมย์ บางทีก็พรรณนาไว้ด้วยว่ารื่นรมย์อย่างไร
ดังตัวอย่าง พระเอกวิหาริยะเถระ กล่าวถึงบรรยากาศในถิ่นที่ท่านไปอยู่วิเวก เป็นคาถาความว่า

"...เมื่อลมเย็นพัดมา พากลิ่นดอกไม้หอมฟุ้งไป เรานั่งอยู่บนยอดเขา จักทำลายอวิชชา ณ เงื้อมผาที่ดารดาษไปด้วยดอกโกสุม มีภาคพื้นเยือกเย็นในแดนป่า เราผู้เป็นสุขแล้วด้วยวิมุตติสุข จะรื่นรมย์อยู่ในถ้ำแห่งขุนเขาอย่างแน่นอน" (ขุ.เถร.26/371/349)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 20:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


พระมหากัสสปะ กลับจากบิณฑบาต เดินขึ้นภูเขา ก็กล่าวคาถาประพันธ์ ชื่นชมความรื่นรมย์ในแดนป่า
ดังที่มีบันทึกไว้ยึดยาว เช่น ตอนหนึ่งว่า


“ภาคพื้นภูผา เป็นที่ร่าเริงใจ มีต้นกุ่มมากมาย เรียงรายเป็นทิวแถว เสียงช้างร้องก้องกังวาน เป็นรมยสถาน ถิ่นขุนเขาทำใจเราให้รื่นรมย์

ขุนเขาสิทะมีนดุจเมฆ งามเด่น มีธารน้ำเย็นใจสะอาด ดารดาษด้วยผืนหญ้าแผ่คลุม มีสีเหมือนแมลงค่อมทอง ถิ่นขุนเขาทำใจเราให้รื่นรมย์

ยอดภูผา สูงตระหง่านเทียมเมฆ เขียวทะมึน มองเห็นเหมือนเป็นปราสาท กัมปนาทด้วยเสียงช้างคำรนร้อง เป็นที่ร่าเริง ถิ่นขุนเขาทำใจเราให้รื่นรมย์" (ขุ.เถร.26/398/410)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รวมความ ดังได้กล่าวแล้ว พระอรหันต์ได้พัฒนาอินทรีย์แล้ว เป็นภาวิตินทรีย์ ท่านเอง นอกจากพร้อมที่จะสัมผัสบรรยากาศที่รื่นรมย์ได้โดยฉับพลันแล้ว

ถึงแม้ถ้าที่นั้นไม่น่ารื่นรมย์ ท่านก็มอง หรือ วางใจรื่นรมย์ได้

เมื่อไปในที่รื่นรมย์ ก็รื่นรมย์โดยไม่มีอะไรกีดกั้น

แม้ไปในที่วุ่นวาย ก็กลายเป็นทำสถานที่นั้นให้รื่นรมย์

คนใดมาใกล้ หรือ ได้แวดล้อม ก็พลอยรื่นรมย์ใจ ดังคาถามว่า

"ไม่ว่าบ้าน ไม่ว่าป่า ไม่ว่าที่ลุ่ม ไม่ว่าที่ดอน (พระอรหันต์) ท่านผู้ไกลกิเลส อยู่ที่ไหน ที่นั้นไซร้ เป็นภูมิสถาน อันรื่นรมย์" (ขุ.ธ.25/17/28)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กายภาวนาเป็นการพัฒนาพื้นฐานขั้นต้น ซึ่งจะสำเร็จผลสมบูรณ์เป็นจริง ก็ต่อเมื่อได้พัฒนาจบสิ้น คือ บรรลุผลของปัญญาภาวนา
แต่เมื่อพัฒนาจบสิ้นสมบูรณ์แล้ว ภาวิตกายก็เป็นด้านที่แสดงผลออกมา ซึ่งปรากฏก่อนนำหน้า หรือ ที่คนทั่วไปจะสัมผัสได้ง่าย
แต่พร้อมกันนั้น ก็มีผลสำแดงอย่างอื่นที่เทียบคล้าย ซึ่งคนทั่วไป ผู้ที่ตนเองมิได้พัฒนาจิต ปัญญา ศีล และกาย อาจเข้าใจผิด เหมือนถูกพาให้หลงไปได้โดยง่ายเช่นเดียวกัน

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 11 มี.ค. 2019, 20:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


@ คำแปลของภาวนา และภาวิตว่า “พัฒนา” นั้น จะใช้คำว่า เจริญ หรือ อบรม แทนก็ได้
แต่ในที่นี้ ใช้คำว่า พัฒนา เพราะเป็นคำที่ทั้งในภาษาไทยก็ใช้กันคุ้น และ เป็นคำที่มาจากภาษาบาลีเช่นเดียว กับ ภาวนา/ภาวิต
อีกทั้งเป็นคำที่ในคัมภีร์ ใช้เป็นคำแปลของภาวนา และภาวิต นั้น ด้วย เช่น “ภาวิตกาโยติ วฑฺฒิตกาโย” (นิทฺ.อ.267) “ภาวิตสีโลติ วฑฺฒิตสีลโล” (องฺ.อ.2/253)


จบตอน - ภาวิตกาย มีกายที่ได้พัฒนาแล้ว

พุทธธรรม หน้า ๓๕๕


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 12 มี.ค. 2019, 04:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


rolleyes

กลับสู่ธรรมชาติอันแท้จริง ไม่มีหลุมไม่มีบ่อ บริสุทธฺ์ ราบเรียบแท้ ชอบมั๊กๆ
แท้งกิ้วเนาะอุ๊ยคำ
tongue


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: Google [Bot] และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร