วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ย. 2024, 10:26  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2011, 15:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
ผู้จัดการ
ผู้จัดการ
ลงทะเบียนเมื่อ: 27 มี.ค. 2006, 17:34
โพสต์: 7781

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว www


รูปภาพ

สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก

คำว่า “สัทธิวิหาริก” กับ “อันเตวาสิก” นั้น ผู้ที่เคยผ่านการบวชเรียนมาแล้วคงจะคุ้นเคยกับสองคำนี้มากกว่าคนทั่วๆ ไป แต่ก็ยังมีหลายท่านที่เข้าใจสับสนกันในระหว่างสองคำนี้ ในหนังสือ “พูดจาภาษาวัด” โดย กรมการศาสนา ปี พ.ศ. ๒๕๔๔ และหนังสือ “คำวัด” โดย พระมหาโพธิวงศาจารย์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) วัดราชโอรสาราม ราชวรวิหาร รวมทั้งหนังสือ “พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์” โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙) ได้อธิบายความหมายของทั้งสองคำนี้ไว้ว่า

“สัทธิวิหาริก” แปลว่า ผู้อยู่ด้วย เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท กล่าวคือ ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์รูปใด ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌาย์รูปนั้น ผู้สมัครใจขออุปสมบทต้องปฏิญญาว่ามีศรัทธาเลื่อมใส ขอสมัครอุปสมบทในพระพุทธศาสนา จึงขอมอบตัวเป็นสัทธิวิหาริกในพระอุปัชฌาย์ และเมื่อได้อุปสมบทแล้ว จะเคารพนับถือเชื่อฟัง ตั้งอยู่ในโอวาทของพระอุปัชฌาย์ และจะประพฤติดี ปฏิบัติชอบตามพระวินัย ระเบียบแบบแผนของวัด และคณะสงฆ์ตลอดไป

เมื่ออุปสมบทแล้ว พระอุปัชฌาย์จะออกหนังสือสุทธิให้แก่สัทธิวิหาริก พร้อมทั้งขึ้นทะเบียนไว้ และจัดทำบัญชีสัทธิวิหาริกที่อุปสมบทในปีหนึ่งๆ ส่งพระสังฆาธิการผู้บังคับบัญชาตามลำดับ

ที่เรียกว่า สัทธิวิหาริก นั้น เพราะพระวินัยกำหนดไว้ว่า ภิกษุผู้บวชใหม่จะต้องถือนิสสัยโดยอยู่กับพระอุปัชฌาย์อย่างน้อย ๕ ปี เพื่อให้พระอุปัชฌาย์อบรมแนะนำสั่งสอนเหมือนบิดาสอนบุตร ภิกษุผู้มีพรรษาพ้น ๕ แล้ว ไม่ต้องถือนิสสัยต่อไป เรียกภิกษุนั้นว่า นิสสัยมุตตกะ (ผู้พ้นนิสสัยแล้ว)

ธรรมเนียมหรือข้อปฏิบัติ ที่สัทธิวิหาริกพึงกระทำต่อพระอุปัชฌาย์ของตนโดยย่อ คือ เอาใจใส่ ปรนนิบัติรับใช้ คอยศึกษาเล่าเรียนจากท่าน ขวนขวายป้องกันหรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ความคิดจะสึก ความเห็นผิด เป็นต้น รักษาน้ำใจของท่าน มีความเคารพ จะไปไหนก็บอกลา ไม่เที่ยวตามอำเภอใจ และเอาใจใส่พยาบาลเมื่อท่านอาพาธ เรียกข้อปฏิบัติเหล่านี้ว่า “อุปัชฌายวัตร”

ส่วนหน้าที่หรือข้อควรปฏิบัติอันพระอุปัชฌาย์จะพึงกระทำแก่สัทธิวิหาริก คือ

๑. เอาธุระในการศึกษา

๒. สงเคราะห์ด้วยบาตร จีวร และบริขารอื่นๆ

๓. ขวนขวาย ป้องกัน หรือระงับความเสื่อมเสีย เช่น ระงับความคิดจะสึก เปลื้องความเห็นผิด ฯลฯ

๔. พยาบาลเมื่ออาพาธ

เรียกข้อปฏิบัติเหล่านี้ว่า “สัทธิวิหาริกวัตร”

สำหรับ “อันเตวาสิก” แปลว่า ผู้อยู่ภายใน ใช้เรียกภิกษุผู้อาศัยอยู่กับอาจารย์ หรือภิกษุผู้มิใช่พระอุปัชฌาย์ของตน เช่น บวชจากวัดนี้ไปอาศัยอยู่กับอาจารย์อีกวัดหนึ่งเพื่อเล่าเรียน ดังนี้เรียกว่าเป็นอันเตวาสิกของวัดนั้น

อันเตวาสิก มี ๔ ประเภท คือ

๑. ปัพพชันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกในบรรพชา
๒. อุปสัมปทันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกในอุปสมบท
๓. นิสสยันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกผู้ถือนิสสัย
๔. ธัมมันเตวาสิก คือ อันเตวาสิกผู้เรียนธรรม

ดังนั้น “สัทธิวิหาริก” จึงคู่กับ “อุปัชฌาย์” ส่วน “อันเตวาสิก” คู่กับ “อาจารย์”



......................................................
ศัพท์ธรรมคำวัด : สัทธิวิหาริก-อันเตวาสิก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 ธันวาคม 2547 16:17 น.


:b44: หนังสือที่พระบวชใหม่พึงอ่าน
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=19682

:b44: สิกขา สิกขาบท ลาสิกขา
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=23&t=32190

.....................................................
ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นกฎตายตัว


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ก.ค. 2018, 09:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 05 มิ.ย. 2009, 10:51
โพสต์: 2775


 ข้อมูลส่วนตัว


:b8: :b8: :b8:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 03 ก.พ. 2019, 08:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 08 ธ.ค. 2008, 09:34
โพสต์: 1322


 ข้อมูลส่วนตัว


4Aขออนุโมทนาสาธุการค่ะ :b8: :b8: :b8:


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 3 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร