วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 138, 139, 140, 141, 142, 143, 144 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เรามักมั่นใจหญิงผู้ไม่มีความสงบ ไม่
สำรวมว่าอยู่ในท่ามกลางสรีระของเรา และมั่น
ใจว่าเป็นภรรยาของเรา ดังนั้น นางจึงก้าวล่วง
ธรรม ประพฤติสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เราไม่ควร
เชยชิดภรรยาผู้ร่าเริงเช่นนี้.

บัณฑิตจะพึงวางใจว่า หญิงนี้เรารักษา
ไว้ดีแล้วดังนี้อย่างไรได้ อุบายที่จะป้องกัน
รักษาหญิงผู้มีหลายใจไม่พึงมีโดยแท้ เพราะว่า
หญิงเหล่านั้นมีอาการคล้ายกับเหวที่เรียกกันว่า
บาดาล บุรุษผู้ประมาทในหญิงเหล่านั้น ย่อม
ถึงความพินาศทั้งนั้น.

เพราะเหตุนั้นแหละ ชนเหล่าใดไม่
เที่ยวคลุกคลีกับมาตุคาม ชนเหล่านั้นเป็นผู้มี
ความสุขไร้โศก ความประพฤติไม่คลุกคลี
กับมาตุคามนี้ เป็นคุณนำความสุขมาให้ ผู้
ปรารถนาความเกษมอันอุดม ไม่ควรเชยชิด
ด้วยมาตุคามทั้งหลาย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุทิฏฺ€รูปุคฺคตปานุวตฺตินา ความว่า
ข้าแต่พระฤๅษีผู้เจริญ เหตุอันนี้ ท่านผู้ประพฤติตบะชั้นสูงเห็นดีแล้ว.
บทว่า หีนา คือเป็นคนต่ำ. บทว่า ยถา หเว ปาณริเวตฺถ รกฺขิตา
ความว่า ภรรยานี้ที่เราดูแลรักษาไว้ในที่นี้คือภายในท้องนี้เพียงดังชีวิต

ของตน. สองบทว่า ทุฏฺ€า มยิ ความว่า บัดนี้ กลับมาทำกรรมของ
ผู้ประทุษร้ายมิตร ประทุษร้ายเราไปชื่นชมยินดีกะบุรุษอื่น. บทว่า
โชติริวา วเน วสํ ความว่า เราบำรุงคือบำเรอภรรยานั้นเหมือนฤๅษี


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ผู้มีตบะอยู่ในป่าบำเรอไฟฉะนั้น. บทว่า สา ธมฺมมุกฺกมฺม ความว่า
ภรรยานั้นยังก้าวล่วงคือล่วงเกินธรรม. บทว่า อกฺรียรูโป เท่ากับ
อกตฺตพฺพรูโป แปลว่า ไม่ควรทำ. บทว่า สรีรมชฺฌมฺหิ €ิตาติ
มฺิหํ มยฺหํ อยนฺติ อสตํ อสฺตํ ความว่า เรามักมั่นใจ

หญิงนี้ผู้ไม่มีความสงบ คือผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษผู้ไม่สำรวม
คือผู้ทุศีลว่าอยู่ในท่ามกลางสรีระของเรา และมั่นใจว่าหญิงนี้เป็นภรรยา
ของเรา. บทว่า สุรกฺขิตมฺเมติ กถนฺนุ วิสลเส ความว่า บัณฑิต
จะพึงวางใจอย่างไรได้ว่า หญิงนี้เรารักษาไว้ดีแล้ว แม้แต่คนเช่นเรา

รักษาภรรยาไว้ในท้องของตนแท้ๆ ยังไม่อาจรักษาไว้ได้. บทว่า ปาตาล
ปปาตสนฺนิภา ความว่า ชื่อว่ามีอาการคล้ายกับเหว ที่เรียกกันว่า
บาดาลในมหาสมุทร เพราะหญิงเหล่านั้นเป็นผู้ยากที่บุคคลจะให้เต็ม
ด้วยความยินดีของชาวโลกได้. บทว่า เอตฺถปฺปมตฺโต ความว่า บุรุษ

ผู้ประมาทในหญิงผู้ไร้คุณแบบนี้เหล่านั้น ย่อมถึงความพินาศใหญ่. บทว่า
ตสฺมา หิ ความว่า เพราะผู้ตกอยู่ในอำนาจของมาตุคาม ย่อมถึงความ
พินาศใหญ่ ฉะนั้นชนเหล่าใดไม่เที่ยวคลุกคลีกับมาตุคาม ชนเหล่านั้น
ย่อมเป็นผู้มีความสุข. บทว่า เอตํ สิวํ ความว่า ความประพฤติของ

บุคคลผู้ไม่คลุกคลีคือไม่เกี่ยวข้องกับมาตุคามนี้เป็นความสุข คือเป็น
ความดี ได้แก่เป็นความเกษมอันอุดมอันบุคคลพึงปรารถนา ผู้ปรารถนา
ความเกษมอันอุดมนั้น ไม่ควรทำความเชยชิดสนิทสนมกับมาตุคาม
เลย.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ก็แหละ ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว ทานพได้หมอบลงแทบเท้าของ
พระมหาสัตว์ กล่าวสรรเสริญชื่นชมพระมหาสัตว์ว่า ข้าพเจ้าได้ชีวิตไว้
เพราะอาศัยท่าน เพราะข้าพเจ้าไม่ถูกนางผู้มีธรรมลามกนี้ใช้ให้วิทยาธร
ฆ่า แม้พระมหาสัตว์ ครั้นแสดงธรรมแก่ทานพนั้นแล้วกล่าวว่า ท่าน

อย่าได้ทำกรรมชั่วอะไรๆ แก่หญิงนี้ จงรับศีล ให้ทานพนั้นตั้งอยู่ใน
ศีลห้า ทานพคิดว่า แม้เราจะพิทักษ์รักษาด้วยท้อง ก็ยังไม่อาจรักษา
หญิงนั้นไว้ได้ คนอื่นใครเล่าจะรักษาได้ จึงส่งนางนั้นไปแล้ว ตนเองก็
เข้าป่าอันเป็นที่อยู่ของตน.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ได้ทรง
ประกาศสัจธรรมเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสัน ได้ดำรงผู้ในโสดา-
ปัตติผล พระทศพลทรงประชุมชาดกว่า ดาบสผู้มีทิพยจักษุในครั้งนั้น
คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสมุคคชาดกที่ ๑๐

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาปูติมังสชาดกที่ ๑๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ความไม่สำรวม จึงได้ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า น โข เม รุจฺจติ
ดังนี้.

ความย่อมีว่า สมัยหนึ่ง ภิกษุจำนวนมากไม่คุ้มครองทวารใน
อินทรีย์ทั้งหลาย พระศาสดาตรัสแก่พระอานนท์เถระว่า ควรจะกล่าว
สอนภิกษุเหล่านี้. รับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์เป็นพิเศษ เสด็จไปในท่าม
กลางประทับนั่งเหนือบัลลังก์อันประเสริฐที่จัดไว้ ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย
มาแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าภิกษุไม่ควรถือนิมิตรใน

รูปเป็นต้น ด้วยสามารถแห่งศุภนิมิตร เพราะถ้าตายลงในขณะนั้น จะ
บังเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ฉะนั้น อย่าถือศุภนิมิตรในรูปเป็นต้น
ขึ้นชื่อว่าภิกษุไม่ควรยึดรูปเป็นต้นเป็นอารมณ์ เพราะผู้ที่ยึดรูปเป็นต้น
เป็นอารมณ์ ย่อมถึงมหาพินาศในปัจจุบันทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น จักขุนทรีย์ที่ถูกแทงด้วยซี่เหล็กแดงประเสริฐกว่าการ
แลดูศุภนิมิตรในรูปไม่ประเสริฐเลย เวลาที่พวกเธอจะควรแลดูรูปมีอยู่
บางคราว เวลาที่พวกเธอไม่ควรแลดูรูปมีอยู่บางคราว ในเวลาแลดู
ไม่ควรแลดูด้วยสามารถแห่งศุภนิมิตร ควรแลดูด้วยสามารถแห่งอศุภ-

นิมิตรเท่านั้น เมื่อทำได้อย่างนี้ก็จักไม่เสื่อมจากอารมณ์ของตน ก็อะไร
เล่าเป็นอารมณ์ของพวกเธอ คือ สติปัฏฐาน ๔ อริยมรรคมีองค์ ๘


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
โลกุตตรธรรม ๙ เมื่อพวกเธอโคจรอยู่ในอารมณ์เช่นนี้ มารก็จะไม่ได้
โอกาสทำร้าย แต่ถ้าพวกเธอตกอยู่ในอำนาจกิเลส แลดูด้วยสามารถแห่ง
ศุภนิมิตร ก็จักเสื่อมจากอารมณ์ของตน เหมือนสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ
เสื่อมจากที่หาอาหารฉะนั้น แล้วได้ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อ
ไปนี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนคร
พาราณสี. มีแพะหลายร้อยอยู่ในถ้ำเชิงภูเขา ในแดนป่าหิมพานต์ ณ ที่
ใกล้ๆ กับที่อยู่ของแพะเหล่านั้น มีสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะกับภรรยาชื่อ
เวณี อยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง วันหนึ่ง สุนัขจิ้งจอกเที่ยวไปกับภรรยา เห็น
แพะเหล่านั้น คิดว่า เราควรจะกินเนื้อแพะเหล่านี้ด้วยอุบายอย่างหนึ่ง

แล้วได้ใช้อุบายฆ่าแพะวันละตัว สุนัขจิ้งจอกทั้งสองกินเนื้อแพะจนมี
กำลังร่างกายอ้วนสมบูรณ์ แพะก็น้อยลงโดยลำดับ ในกลุ่มแพะเหล่า
นั้น มีแพะตัวเมียตัวหนึ่งชื่อเมณฑิกมาตา เป็นแพะฉลาดรู้เท่าทันอุบาย
สุนัขจิ้งจอกไม่อาจฆ่ามันได้ วันหนึ่ง จึงปรึกษากับภรรยาว่า ที่รัก

แพะทั้งหลายหมดสิ้นแล้ว เราควรใช้อุบายกินแพะตัวเมียตัวนี้ และ
ในเรื่องนี้มีอุบายดังนี้ คือตัวเจ้าผู้เดียว จงไปเป็นเพื่อนกับเขา ครั้น
เมื่อนางแพะมีความคุ้นเคยกับเจ้า เราจักนอนทำเป็นตาย เจ้าจงเข้าไป
หานางแพะแล้วพูดว่า แม่แพะเอ๋ย สามีของฉันตายเสียแล้ว และฉัน

ก็ไม่มีที่พึ่ง นอกจากท่านแล้ว ญาติคนอื่นของฉันไม่มี ท่านจงมาเถิด
พวกเราจักพากันร้องไห้คร่ำครวญเผาศพสามีของฉัน ดังนี้แล้ว จงพา
เขามา แล้วฉันจักโดดขึ้นกัดคอฆ่าแพะนั้นเสีย. สุนัขจิ้งจอกตัวเมียรับ


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
คำว่า ดีแล้ว จึงไปคบมันเป็นเพื่อน เมื่อคุ้นเคยกันแล้วก็ได้กล่าวกะมัน
อย่างนั้น. มันจึงกล่าวว่า แน่ะสหายการที่เราจะไปนั้นไม่ควร สามี
ของท่านกินญาติของเราจนหมด เรากลัวไม่อาจไป สุนัขจิ้งจอกตัวเมีย
จึงกล่าวว่า แน่ะสหาย อย่ากลัวเลยผู้ที่ตายแล้วจะทำอะไรได้ แพะตัว
เมียแม้กล่าวตอบอย่างนี้ว่า สามีของท่านมีฤทธิ์เดชมาก ฉันกลัวจริงๆ

ดังนี้ ถูกสุนัขจิ้งจอกตัวเมียวิงวอนอยู่บ่อยๆ คิดว่า สุนัขจิ้งจอกคงตาย
แน่. จึงรับคำแล้วไปกับสุนัขจิ้งจอกตัวเมีย และเมื่อไปมันคิดว่า ใคร
จะรู้ว่าจักมีเหตุอะไรเกิดขึ้น จึงให้สุนัขจิ้งจอกตัวเมียไปข้างหน้า มัน
ตามไปพลาง คอยกำหนดสุนัขจิ้งจอกอยู่ด้วย เพราะความสงสัยใน
สุนัขจิ้งจอกนั้น.

สุนัขจิ้งจอกตัวผู้ได้ยินเสียงฝีเท้าสัตว์ทั้งสอง คิดว่า แพะตัวเมีย
มาถึงหรือยัง จึงยกศีรษะขึ้นชำเลืองดู. แพะตัวเมียเห็นสุนัขจิ้งจอกทำ
ดังนั้น คิดว่า สุนัขจิ้งจอกนี้เลวมาก ประสงค์จะลวงเรามาฆ่า นอน
ทำเป็นตาย จึงกลับไป สุนัขจิ้งจอกตัวเมียจึงถามว่า เหตุใดท่านจึงหนี
ไปเสีย ? เมื่อจะกล่าวเหตุนั้น ได้กล่าวคาถาที่ ๑ ว่า:-

แน่ะสหาย การจ้องดู ของสุนัขจิ้งจอก
ชื่อปูติมังสะไม่เป็นที่ชอบใจเราเลย บุคคลพึง
เว้นสหายเช่นนี้ ให้ห่างไกล.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 19:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อาฬิ เป็นอาลปนะ ความว่า ดูก่อน
เพื่อน คือ ดูก่อนสหาย. บทว่า เอตาทิสา สขารสฺมา ความว่า
บุคคลหลีกจากสหายเห็นปานนี้ แล้วพึงเว้นสหายนั้นให้ห่างไกล.

ก็แหละ ครั้นกล่าวดังนี้แล้ว แพะตัวเมียได้กลับไปที่อยู่ของตน.
สุนัขจิ้งจอกตัวเมียเมื่อไม่อาจให้แพะตัวเมียกลับมาได้ก็โกรธแพะตัวเมีย
ไปสำนักของสามีตน นั่งซบเซาอยู่. ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวผู้ เมื่อ
จะติเตียนสุนัขจิ้งจอกตัวเมีย จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า:-

สุนัขจิ้งจอกตัวเมียชื่อว่า เวณีนี้เป็นบ้า
ไปได้ พรรณนาถึงแพะตัวเมียผู้เป็นสหายให้
ผัวฟัง ครั้นแพะตัวเมียถอยหลังกลับไปไม่มา
ก็นั่งซบเซาถึงแพะตัวเมียชื่อเมณฑิมาตา ผู้มา
แล้วถอยหลังกลับไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวณิ เป็นชื่อของสุนัขจิ้งจอกตัว
เมียตัวนั้น. บทว่า วณฺเณติ ปติโน สขึ ความว่า แรกทีเดียว
สุนัขจิ้งจอกตัวเมียชื่อว่าเวณีนี้ พรรณนาถึงแพะตัวเมียผู้เป็นสหายของตน

ในสำนักของสามีว่า แม่แพะผู้มีความรักใคร่คุ้นเคยในเราจักมาสู่สำนัก
ของสามี ขอให้ท่านจงทำเป็นตายบัดนี้ ครั้นมันถอยกลับไป ก็มานั่ง
ซบเซาถึง คือ เศร้าโศกถึงแม่แพะชื่อว่าเมณฑิมาตานั้น ผู้มาแล้วแต่
ไม่ถึงสำนักเรา.

แม่สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า:-
แน่ะเพื่อน ท่านนั้นแหละเป็นบ้า มี
ปัญญาทราม ขาดปัญญาเครื่องพิจารณา ท่าน
นั้นทำอุบายล่อลวงว่าตาย แต่ชะเง้อดู โดย
กาลอันไม่ควร.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 20:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวิจกฺขโณ คือ เว้นจากปัญญา
เครื่องพิจารณา. บทว่า อกาเลน วิเปกฺขสิ ความว่า เมื่อแม่แพะยัง
ไม่ทันมาถึงสำนักของตนเลย ชะเง้อมองในเวลาที่ไม่ควร.
ในที่นี้มีอภิสัมพุทธคาถาดังนี้ว่า:-

บัณฑิตไม่ควรชะเง้อมองในกาลอันไม่ควร
ควรมองดูแต่ในกาลอันควร ผู้ใดชะเง้อมอง
ในกาลอันไม่ควร ผู้นั้นย่อมซบเซา เหมือน
สุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะ ฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกาเล ได้แก่ ในกาลที่จิตตุปบาท
เกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งศุภนิมิตร เพราะปรารภกามคุณ กาลนี้แลชื่อว่า
กาลอันไม่ควรที่ภิกษุจะพึงแลดูรูป. บทว่า กาเล ได้แก่ ในกาลที่
กำหนดถือเอารูปด้วยสามารถแห่งอศุภนิมิตร ด้วยสามารถแห่งอนุสสติ
หรือด้วยสามารถแห่งกสิณ กาลนี้แลชื่อว่ากาลอันควรที่ภิกษุจะพึงแลดู
รูป.

ในกาลทั้งสองนั้น ชนทั้งหลายที่แลดูรูปในกาลที่มีความกำหนัด
ย่อมถึงมหาพินาศ ดังนั้น. คำว่า ในกาลอันไม่ควรบัณฑิตพึงเปรียบ-
เทียบด้วยชาดกทั้งหลายมีหริตจชาดกและโลมสกัสสปชาดกเป็นต้น ชนที่
แลดูรูปด้วยสามารถแห่งอศุภนิมิตย่อมดำรงอยู่ในพระอรหัตผล ดังนั้น

คำว่า ในกาลอันควร บัณฑิตพึงเปรียบเทียบด้วยเรื่องพระติสสเถระผู้-
เจริญอสุภกรรมฐาน. บทว่า ปูติมํโสว ปชฺฌาติ ความว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย สุนัขจิ้งจอกชื่อปูติมังสะชะเง้อดูแม่แพะในกาลอันไม่ควร
จึงเสื่อมจากเหยื่อของตน ซบเซาอยู่ฉันใด ภิกษุแลดูรูปด้วยสามารถ

แห่งศุภนิมิตรในกาลอันไม่ควร จึงเสื่อมจากอารมณ์มีสติปัฏฐานเป็นต้น
ซบเซาอยู่ คือลำบากอยู่ทั้งในทิฏฐธรรมและสัมปรายภพฉันนั้น.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 20:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แม่สุนัขจิ้งจอกชื่อเวณี ได้กล่าวปลอบโยนสุนัขจิ้งจอกชื่อปูติ-
มังสะว่า ข้าแต่สามีท่านอย่าเสียใจเลย ฉันจะใช้อุบายนำนางแพะนั้น
มาอีก เวลานางแพะมา ท่านอย่าประมาท จงจับไว้ให้ได้ แล้วไปสำนัก
นางแพะนั้น กล่าวว่า สหายเอ๋ย การที่ท่านกลับมาเสียนั้นแหละเกิด
ประโยชน์แก่เรา เพราะพอท่านมาแล้วเท่านั้นสามีก็กลับได้สติ บัดนี้
ยังมีชีวิตอยู่ท่านจงมา ไปทำปฏิสันถารกับสามีของเราเถิด ดังนี้ แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๕ ว่า:-

ดูก่อนสหาย ขอความรักจงมีแก่เรา
ท่านจงให้ความเอิบอิ่มแก่เรา สามีของเรากลับ
ฟื้นขึ้นมาแล้ว ถ้าท่านมีความรักเรา ก็จงมา
ไปกับเราเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุณฺณปตฺตํ ททาหิ เม ความว่า
ขอท่านจงให้ความยินดีแก่เราผู้มาแล้วเพื่อชนที่รักทั้งหลาย. บทว่า ปติ
สฺชีวิโต ความว่า สามีของเรากลับฟื้นขึ้นมาแล้ว คือลุกขึ้นมาแล้ว
เป็นผู้ไม่มีโรค. บทว่า เอยฺยาสิ ความว่า ขอท่านจงมาไปกับเราเถิด.

แม่แพะคิดว่า แม่สุนัขจิ้งจอกเลวทรามนี้ ประสงค์จะลวงเรา
การกระทำตนเป็นปฏิปักษ์ไม่สมควรเลย เราจักใช้ลวงนางสุนัขจิ้งจอก
บ้าง ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๖ ว่า:-
แน่ะสหาย ขอความรักจงมีแก่ท่าน เรา
จะให้ความเอิบอิ่มแก่ท่าน เราจักมาด้วยบริวาร
เป็นอันมาก ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอสฺสํ ความว่า เราจักมา แลเมื่อ
มา จักมาด้วยบริวารเป็นอันมาก สำหรับอารักขาตน.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้น แม่สุนัขจิ้งจอกเมื่อจะถามถึงบริวารกะแม่แพะ ได้
กล่าวคาถาที่ ๗ ว่า:-
บริวารของท่านเป็นเช่นไร เราจักจัดแจง
โภชนาหารเพื่อบริวารเหล่าใด ก็บริวารเหล่านั้น
ทั้งหมดมีชื่อว่าอย่างไร เราขอถาม ขอท่านจง
บอกบริวารเหล่านั้นแก่เรา.

เมื่อแม่แพะจะบอก ได้กล่าวคาถาที่ ๘ ว่า:-
บริวารของเราเช่นนี้ คือ สุนัขชื่อมาลิ-
ยะ ๑ ชื่อจตุรักขะ ๑ ชื่อปิงคิยะ ๑ ชื่อชัม-
พุกะ ๑ ท่านจงจัดแจงโภชนาหารไว้เพื่อบริวาร
เหล่านั้นเถิด.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต เม ความว่า ขอท่านจงบอก
บริวารเหล่านั้นแก่เรา.
คำว่า มาลิโย เป็นต้น เป็นชื่อของสุนัข ๔ ตัว.

แม่แพะกล่าวดังนี้แล้วได้กล่าวต่อไปว่า บรรดาสุนัขเหล่านั้น
ตัวหนึ่งๆ มีบริวารตัวละห้าร้อย เมื่อเป็นเช่นนี้ เราจักมีสุนัขสองพันตัว
แวดล้อมมา ดังนี้ แล้วกล่าวว่า ถ้าสุนัขเหล่านั้นไม่ได้โภชนาหาร ก็
จักฆ่าท่านทั้งสองกินเสีย. แม่สุนัขจิ้งจอกได้ฟังดังนั้นก็กลัว คิดว่า ไม่
เป็นการสมควรที่แม่แพะนี้จะไปในสำนักของสามีเรา เราจักใช้อุบายทำ
ให้แม่แพะนี้ไม่ไป ดังนี้ แล้วกล่าวคาถาที่ ๙ ว่า:-


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 20:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เมื่อท่านออกจากเรือนไป สิ่งของของ
ท่านไม่มีใครดูแล จักเสียหาย คำพูดของ
สหายมิได้มีความรังเกียจ ท่านจงอยู่ที่นี่เถิด
อย่าไปเลย.

อธิบายความแห่งคาถานั้นว่า แน่ะสหาย ในเรือนของท่านมีสิ่ง
ของอยู่เป็นอันมาก เมื่อท่านออกจากเรือนไป สิ่งของนั้นก็จักไม่มีใคร
ดูแล จักเสียหาย เรานี้แหละจักบอก คำกล่าวของท่านผู้เป็นสหาย คือ
เป็นเพื่อน มิได้มีความรังเกียจ ท่านจงอยู่ที่นี่แหละ อย่าไปเลย.

ก็แหละ ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว แม่สุนัขจิ้งจอกมีความกลัวมรณ-
ภัยรีบไปสำนักของสามี พาสามีหนีไปที่อื่น ทั้งสองผัวเมียก็ไม่อาจมาที่
นั้นอีก.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรง
ประชุมชาดกว่า ในครั้งนั้น เราตถาคตเกิดเป็นเทวดาอยู่ที่ต้นไม้ใหญ่
ในที่นั้น ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปูติมังสชาดกที่ ๑๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 21:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาติตติรชาดกที่ ๑๒

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภ การที่
พระเทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า โย เต ปุตฺตเก ดังนี้.

ความย่อมีว่า สมัยนั้นภิกษุทั้งหลายสนทนากันในธรรมสภาว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระเทวทัตไม่มีความละอาย ไม่ใช่คนดี คบกับ
พระเจ้าอชาตศัตรู ทำอุบายเพื่อปลงพระชนม์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรง
พระคุณสูงสุด โดยวิธีประกอบนายขมังธนู กลิ้งก้อนศิลา และปล่อย

ช้างนาฬาคิรี พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้
พวกเธอนั่งสนทนากันถึงเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรง
ทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่
พระเทวทัตพยายามฆ่าเรา แม้ในกาลก่อน พระเทวทัตก็ได้พยายาม

ฆ่าเราเหมือนกัน ดังนี้ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไป
นี้:-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี อาจารย์ทิศาปาโมกข์คนหนึ่ง สอนศิลปะแก่มาณพ
ห้าร้อยคนในพระนครพาราณสี วันหนึ่งคิดว่า เราอยู่ในที่นี้มีความ
กังวล แม้มาณพทั้งหลายก็จะไม่สำเร็จการศึกษา เราจะเข้าป่าเขตถิ่น

หิมพานต์ อยู่ในที่นั้น บอกศิลปะ. อาจารย์ทิศาปาโมกข์นั้น บอกแก่
พวกมาณพ แล้วให้ขนงา ข้าวสาร น้ำมัน และผ้าเป็นต้น เข้าป่า
ให้สร้างบรรณศาลาอยู่ในที่ไม่ไกลจากหนทาง แม้พวกมาณพก็สร้าง
บรรณศาลาของตนๆ พวกญาติของมาณพทั้งหลายต่างก็ส่งน้ำมันและ
ข้าวสารเป็นต้น แม้ชาวแว่นแคว้นก็พูดว่า ได้ยินว่าอาจารย์ทิศาปาโมกข์


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 21:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อยู่ในป่าแห่งโน้น ให้มาณพเรียนศิลปะ ดังนี้ ต่างก็นำข้าวสารเป็นต้น
ไปให้ แม้ผู้ที่เดินทางกันดารก็นำไปให้ บุรุษคนหนึ่ง ได้ให้แม่โคนม
พร้อมด้วยลูกโค เพื่อประโยชน์ที่อาจารย์ทิศาปาโมกข์จะได้ดื่มน้ำนม
ณ ที่ใกล้บรรณศาลาของอาจารย์ มีเหี้ยตัวหนึ่งอยู่กับลูกอ่อนสองตัว

แม้ราชสีห์และเสือโคร่ง ก็มาสู่ที่บำรุงอาจารย์นั้น นกกระทาตัวหนึ่ง
ได้มาอยู่ ณ ที่นั้นเป็นประจำ นกกระทาตัวนั้นได้ยินเสียงอาจารย์กำลัง
บอกมนต์แก่มาณพทั้งหลาย จึงเรียนเวทย์ได้ทั้งสาม มาณพทั้งหลาย
ก็ได้คุ้นเคยกับนกกระทานั้น

ต่อมา เมื่อมาณพทั้งหลายยังไม่ทันสำเร็จการศึกษา อาจารย์ได้
ทำกาละเสียแล้ว พวกมาณพช่วยกันเผาศพอาจารย์แล้ว ก่อพระสถูป
ด้วยทราย เอาดอกไม้ต่างๆ มาบูชาแล้ว ร้องไห้คร่ำครวญอยู่. ลำดับนั้น
นกกระทาถามมาณพเหล่านั้นว่า พวกท่านร้องไห้ทำไม ? พวกมาณพ

กล่าวว่า พวกเรายังไม่สำเร็จการศึกษา อาจารย์ก็มาตายเสีย ฉะนั้น
พวกเราจึงร้องไห้ นกกระทากล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นพวกท่านอย่าเสียใจเลย
เราจะบอกศิลปะแก่พวกท่าน มาณพทั้งหลายถามว่า ท่านรู้ได้อย่างไร ?
นกกระทาตอบว่า เมื่ออาจารย์กำลังบอกแก่พวกท่าน เราได้ฟังแล้ว

ได้ทำไตรเพทให้คล่องแคล่ว มาณพทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่าน
จงให้พวกเรารู้ความที่ตนเป็นผู้คล่องแคล่วเถิด นกกระทากล่าวว่า ถ้า
เช่นนั้น พวกท่านคอยฟัง แล้วได้สวดไตรเพทที่มาณพเหล่านั้นฟั่นเฝือ
ประดุจจะบินถลามาจากยอดภูเขาลงสู่แม่น้ำฉะนั้น มาณพทั้งหลายต่างก็

ร่าเริงยินดี เริ่มเรียนศิลปะในสำนักนกกระทาผู้เป็นบัณฑิต แม้นก-
กระทาก็ได้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอาจารย์ทิศาปาโมกข์ บอกศิลปะแก่
มาณพเหล่านั้น พวกมาณพได้กระทำกรงทองแก่นกกระทา ดาษ
เพดานเบื้องบน นำน้ำผึ้งและข้าวตอกเป็นต้น ใส่จานทองให้นกกระทา

บูชาด้วยดอกไม้นานาชนิด กระทำสักการะเป็นการใหญ่ ข่าวนกกระทา
บอกมนต์แก่มาณพห้าร้อยในป่า ได้แพร่สะพัดไปทั่วชมพูทวีป.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 21:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้งนั้น ประชาชนในชมพูทวีปได้ป่าวร้องกันเล่นมหรสพเป็น
การใหญ่ เหมือนมหรสพที่เล่นบนยอดภูเขา มารดาบิดาของมาณพ
ทั้งหลายได้ส่งข่าวไปถึงบุตรว่า จงมาดูงานมหรสพ มาณพทั้งหลาย
บอกลานกกระทาแล้ว ช่วยกันปิดบังนกกระทาผู้เป็นบัณฑิต * และ
สัตว์ทั้งหมดตลอดจนอาศรมไม่ให้ใครรู้เห็น แล้วไปสู่เมืองของตนๆ

ในกาลนั้นดาบสชั่วร้ายไม่มีความกรุณาคนหนึ่ง ท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ
มาถึงที่นั้น เหี้ยเห็นดาบสนั้นก็กระทำการต้อนรับ กล่าวว่า ข้าวสาร
มีอยู่ที่โน้น น้ำมันเป็นต้นอยู่ที่โน้น ท่านจงหุงภัตรฉันเถิด ดังนี้แล้ว
ก็ไปเพื่อหาอาหาร ดาบสหุงภัตรแต่เช้าทีเดียว ฆ่าลูกเหี้ยสองตัวทำเป็น

กับข้าวบริโภค ตอนกลางวันฆ่านกกระทาผู้เป็นบัณฑิตและลูกโคกิน
ตอนเย็นเห็นแม่โคเดินมาก็ฆ่าแม่โคนั้นเสีย กินเนื้อแล้วไปนอนหลับ
กรนอยู่ที่โคนต้นไม้ เหี้ยมาในเวลาเย็นไม่เห็นลูกน้อยทั้งสอง ก็เที่ยว
วิ่งหาอยู่ รุกขเทวดาแลดูเหี้ยผู้ไม่พบลูกน้อย มีกายหวั่นไหวอยู่ จึง

แสดงกายให้ปรากฏที่โพรงไม้ ด้วยทิพยานุภาพ แล้วกล่าวว่า แน่ะเหี้ย
เจ้าอย่าหวั่นไหวไปเลย ลูกน้อยของเจ้า นกกระทา ลูกโค และแม่โค
ถูกคนชั่วนี้ฆ่าแล้ว เจ้าจงกัดคอมันให้ตาย ดังนี้แล้ว กล่าวคาถาที่ ๑
ว่า:-

ผู้ใด เจ้าให้ข้าวมันหุงกิน มันเลยกิน
ลูกทั้งสองของเจ้าผู้ไม่มีความผิด เจ้าจงวาง
เขี้ยวลงบนผู้นั้น อย่าปล่อยให้มันมีชีวิตอยู่ต่อ
ไปเลย.


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 06 ม.ค. 2019, 21:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทินฺนภตฺโต คือผู้ที่เจ้าให้ภัตร
ด้วยกล่าวว่า ท่านจงหุงภัตรฉันเถิด ดังนี้. บทว่า อทูสเก ได้แก่
ผู้ไม่มีโทษ คือปราศจากความผิด. บทว่า ตสฺมึ ทาเ€ อธิบายว่า
เจ้าจงวางเขี้ยวทั้งสี่ลงบนคนชั่ว. บทว่า มา เต มุฺจิตฺถ ชี
วเต
ความว่า ท่านอย่าปล่อยคนใจชั่วนั้นพ้นไปจากเงื้อมมือให้มันเป็นอยู่ คือ
ให้มีชีวิตอยู่ต่อไปเลย อธิบายว่า มันจงอย่าได้พ้น ท่านจงให้มันถึง

ความสิ้นชีวิตไปเสีย.
ลำดับนั้น เหี้ยได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า:-

บุรุษผู้เกลือกกลั้วด้วยความหยาบ ผู้
ลบหลู่ท่อนผ้าที่ตนนุ่งอยู่ เราไม่ขอเห็นมันเลย
เราจะพึงให้เขี้ยวตกไปในบุรุษไรเล่า ?
อันคนอกตัญญู มักคอยหาโอกาสอยู่
เป็นนิตย์ ถึงจะให้สมบัติทั้งแผ่นดิน ก็ไม่พึง
ทำให้มันชื่นชมยินดีได้เลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อากิณฺณลุทฺโธ ได้แก่ ผู้มีความ
หยาบช้าร้ายแรง. บทว่า วิวรทสฺสิโน ได้แก่ ผู้แสวงหาช่อง คือ
โทษ. ด้วยบทว่า เนว นํ อภิราธเย เหี้ยแสดงไว้ว่า ถึงจะให้สมบัติ
ทั้งแผ่นดินก็ไม่สามารถจะให้บุคคลเห็นปานนี้ ยินดีได้เลย จะป่วยกล่าว
ไปใยถึงเราที่ให้เพียงภัตตาหาร.

เหี้ยกล่าวอย่างนี้แล้ว คิดว่า บุรุษนี้ตื่นขึ้นคงกินเรา เมื่อจะ
รักษาชีวิตของตน จึงได้หนีไป แม้ราชสีห์และเสือโคร่งก็เป็นเพื่อน
ของนกกระทา บางครั้งสัตว์เหล่านั้นก็พากันมาเยี่ยมนกกระทา บางครั้ง
นกกระทานั้นก็ไปแสดงธรรมแก่สัตว์ทั้งสองแล้วกลับมา ก็ในวันนั้น
ราชสีห์กล่าวกะเสือโคร่งว่า แน่ะเพื่อน เราไม่ได้ไปเยี่ยมนกกระทา


* สุขเพียงชั่วคราว แต่ต้องระทมยาวกับความทุกข์อันเกิดจากโรคที่ตามมา
* ความรู้มากมี เพราะมีมากมายไปด้วยเมตตาธรรม
* เมื่อรู้ว่าลูกจะมีภัย พ่อแม่ย่อมจะเป็นห่วง
เมื่อเข้าใจตามความเป็นจริงย่อมละทิ้งความห่วงนั้นลงได้
* ตอนมีชีวิตอยู่ทำดี เมื่อตายคนก็เสียดายและคิดถึง
ตอนมีชีิวีตอยู่ทำตัวเลว ชั่ว เมื่อตายคนก็มิได้เสียดายและเสียใจเลย
* ขยะคนไม่ชอบฉันใด บุคคลที่เปรียบเหมือนขยะสังคมนั้น คนก็ย่อมไม่รักฉันนั้น
* ขยะนั้นเกิดที่ใจ ควรขับไล่ออกไปด้วยทาน ศีล ภาวนา
* ดื่มอย่างมีสติ แต่ติดตรงที่ว่าไม่เคยฝึกสติเลยนะสิ
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 138, 139, 140, 141, 142, 143, 144 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร