วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 05:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 80, 81, 82, 83, 84, 85, 86 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เป็นแกงอ่อม จึงเลี้ยงสุกรตัวนี้ด้วยข้าวยาคูและภัต เพื่อกระทำเนื้อ
ให้เป็นกล้ามๆ อีก ๒-๓ วัน เจ้าจะเห็นสุกรตัวนั้นถูกเขาฉุดลาก
ออกจากใต้เตียงแล้ว ฆ่าสับให้เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ กระทำให้เป็น
อาหาร สำหรับเลี้ยงแขก ดังนี้ แล้วตั้งคาถา ๒ คาถาแรกว่า :-

ท่านอย่าปรารถนาต่อสาลุกสุกรเลย
เพราะเขาบริโภคอาหารอันเดือดร้อน ท่านจง
เป็นผู้มีความขวนขวายน้อยเคี้ยวกินแกลบ
เถอะ นี้เป็นลักษณะแห่งความอายุยืน.

ในไม่ช้า ราชบุรุษผู้มีบริวารมากนั้น
ก็จะเป็นแขกมาประชุมกันที่นี้ ในการนั้น
ท่านก็จะได้เห็นสาลุกสุกรตัวนี้ ถูกเขาทุบ
ด้วยสากตะลุมพุก นอนตายอยู่.

ในกาลนั้น มีเนื้อความสังเขปดังต่อไปนี้ :- พ่อมหาจำเริญ
ท่านอย่าปรารถนาภาวะเช่นสาลุกสุกรเลย เพราะว่าสาลุกสุกรนี้
บริโภคอาหารอันเดือดร้อน คือโภชนะเครื่องฆ่าตน ซึ่งบริโภคแล้ว
ไม่นานนักจักถึงความตาย แต่ท่านจงเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย ไม่

ห่วงใย เคี้ยวกินแกลบปนฟางนี้ที่ตนได้แล้วเถิด นี้เป็นลักษณะ คือ
เป็นนิมิตรให้รู้ถึงความเป็นผู้มีอายุยืนยาว บัดนี้ คือไม่นานนัก ราช-
บุรุษผู้มาในงานวิวาหมงคลนั้น ชื่อว่าอำมาตย์ราชเสวก เพราะ


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ประกอบด้วยบริวารเป็นอันมาก จักเป็นแขกมาในที่นี้ เมื่อนั้นแหละ
ท่านจะได้เห็นสาลุกสุกรนี้ ถูกทุบด้วยสากตะลุมพุก เพราะประกอบ
ส่วนข้างบนเหมือนสาก นอนตายอยู่.

ต่อมาสองสามวันเท่านั้น เมื่อแขกในงานวิวาหมงคลพากันมา
แล้ว เจ้าของงานทั้งหลายได้ฆ่าสาลุกสุกรทำเป็นแกงอ่อม. โคทั้งสอง
เห็นความวิบัตินั้นของสาลุกสุกรนั้น จึงปรึกษากันว่า แกลบเท่านั้น
เป็นของประเสริฐสำหรับพวกเรา. พระศาสดาทรงเป็นผู้ตรัสรู้พร้อม
เฉพาะแล้ว จึงตรัสพระคาถาที่ ๓ อันเกิดจากเรื่องนั้นว่า :-

วัวชราทั้งสองได้เห็นสาลุกสุกรผู้กล้า
หาญ ถูกเจ้าของทุบด้วยสากตะลุมพุกนอน
ตายอยู่ จึงได้คิดกันว่า ข้าวลีบเท่านั้นเป็น
อาหารอย่างสูงสุดของพวกเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุสามิว ความว่า ข้าวลีบเท่านั้น
เป็นอาหารประเสริฐ คือสูงสุดของเรา.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุนั้นดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล. ถูลกุมาริกาในครั้งนั้น ได้เป็นนางถูลกุมาริกาในบัดนี้
แหละ สาลุกสุกรในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้กระสันในบัดนี้ โคจุลล-
โลหิตในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วนโคมหาโลหิตใน
ครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสาลุกชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุสัทธิวิหาริกของพระสารีบุตรเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นานุมฺมตฺโต ดังนี้.

ได้ยินว่า สัทธิวิหาริกของพระเถระ เข้าไปหาพระเถระ ไหว้
แล้ว นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง แล้วถามว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านโปรด
บอกปฏิปทาอันจะให้ลาภเกิดแก่กระผม ภิกษุกระทำอะไรจึงจะได้ปัจจัย
มีจีวรเป็นต้น ขอรับ. ลำดับนั้น พระเถระจึงบอกปฏิปทาอันจะให้

ลาภเกิดขึ้นแก่สัทธิวิหาริกนั้น ดังนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ลาภสักการะ
ย่อมเกิดแก่ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๔ คือ ๑. พึงทำลายหิริโอตตัปปะ
ภายในตนอันละสมณสัญญาเสีย ไม่เป็นบ้าเลย ทำเป็นเหมือนคนบ้า
๒ พึงกล่าววาจาส่อเสียด ๓. พึงเป็นเช่นกับนักฟ้อนรำ และ ๔. พึง

เป็นคนเอิกเกริกมีวาจาพล่อยๆ. สัทธิวิหาริกนั้นติเตียนปฏิปทานั้น
แล้วจึงลุกขึ้นหลีกไป. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว
กราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร
ภิกษุนั้นติเตียนลาภในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้
ติเตียนแล้วเหมือนกัน อันพระเถระทูลอาราธนาแล้ว จึงทรงนำเอา
เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ พอเจริญวัยแล้ว
ในกาลมีอายุ ๑๖ ปีเท่านั้น ก็เรียนจบไตรเพท และศิลปศาสตร์ ๑๘
ประการ ได้เป็นอาจารย์ทิศาปาโมกข์บอกศิลปะแก่มาณพ ๕๐๐ คน ใน
จำนวนมาณพเหล่านั้น มีมาณพคนเพียบพร้อมด้วยศิลาจารวัตร


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
วันหนึ่งเข้าไปหาอาจารย์ แล้วถามปฏิปทาอันเป็นเครื่องให้เกิดลาภว่า
ขอท่านจงบอก ลาภเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านี้ได้อย่างไร ๆ อาจารย์กล่าว
ว่า ดูก่อนพ่อมหาจำเริญ ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านี้ ด้วยเหตุ
๔ ประการ แล้วกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ไม่ใช่คนบ้าทำเป็นเหมือนคนบ้า ไม่ใช่
คนส่อเสียดทำเป็นเหมือนคนส่อเสียด ไม่
ใช่นักฟ้อนรำทำเป็นเหมือนนักฟ้อนรำ ไม่
ใช่คนตื่นข่าวทำเป็นเหมือนคนตื่นข่าว ย่อม
จะได้ลาภในหมู่คนหลงงมงาย นี้เป็นคำสอน
สำหรับท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นานุมฺมตฺโต ตัดเป็น น อนุมฺมตฺโต
แปลว่า ไม่ใช่คนบ้า. ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า ชื่อว่าคนบ้าเห็นเด็กหญิง
เด็กชายแล้ว แย่งเอาผ้าและเครื่องประดับเป็นต้นของเด็กเหล่านั้น
ถือเอาเนื้อ ปลา และขนมเป็นต้นจากที่นั้น ๆ โดยพลการมาเคี้ยวกิน

ฉันใด คนใดเป็นคฤหัสถ์ ละทิ้งหิริโอตตัปปะอันตั้งขึ้นภายในและ
ภายนอก ไม่เอื้อเฟื้อกุศลและอกุศล ไม่กลัวภัยในนรก ถูกความโลภ
ครอบงำ ถูกตัณหาครอบงำจิต มัวเมาในกามทั้งหลาย กระทำกรรม
อันสาหัสมีตัดช่องย่องเบาเป็นต้น แม้เป็นบรรพชิตก็ละหิริโอตตัปปะ
เสีย ไม่เอื้อเฟื้อกุศลและอกุศล ไม่กลัวภัยในนรก ย่ำยีสิกขาบท

ที่พระศาสดาบัญญัติไว้ ถูกความโลภครอบงำ อันตัณหาครอบงำจิต
อาศัยเพียงผ้าจีวรเป็นต้น ละทิ้งความเป็นสมณะของตนเสีย เป็นคน
ประมาทมัวเมา กระทำเวชชกรรมและทูตกรรมเป็นต้น อาศัยอเนสนา
การแสวงหาอันไม่สมควรมีการให้ไม้ไผ่เป็นต้นเลี้ยงชีวิต ก็ฉันนั้น

เหมือนกัน บุคคลนี้แม้จะไม่เป็นบ้าก็ชื่อว่าเป็นคนบ้า เพราะเป็น
เหมือนคนบ้า ลาภย่อมเกิดขึ้นแก่คฤหัสถ์หรือบรรพชิตเห็นปานนี้โดย
พลัน ส่วนบุคคลใด ไม่เป็นคนบ้าอย่างนั้น มีความละอาย มีความ
รังเกียจ บุคคลนี้ย่อมไม่ได้ลาภในหมู่คนผู้งมงายมิใช่บัณฑิต เพราะ
ฉะนั้น บุคคลผู้ต้องการลาภ พึงทำเป็นเหมือนคนบ้า.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แม้ในบทว่า ไม่เป็นคนส่อเสียด นี้ พึงทราบความอย่างนี้ว่า
ส่วนบุคคลใดเป็นคนส่อเสียด นำความส่อเสียดเข้าไปในราชสกุลว่า
บุคคลโน้นกระทำกรรมชื่อนี้ บุคคลนั้นแย่งชิงยศของคนอื่นถือเอามา
เพื่อตนเอง ฝ่ายพระราชาทั้งหลายก็คิดว่า ผู้นี้มีความเสน่หาในพวก

เรา จึงตั้งบุคคลนั้นไว้ในตำแหน่งสูง ๆ ฝ่ายอำมาตย์เป็นต้นย่อม
สำคัญสิ่งที่จะพึงให้แก่บุคคลนั้น เพราะกลัวว่า ผู้นี้จะทำพวกเราให้
แตกร้าวในราชสกุล ลาภย่อมเกิดแก่คนผู้ส่อเสียดในทันที ด้วย
ประการอย่างนี้ ส่วนคนใดไม่ส่อเสียด คนนั้นย่อมไม่ได้ลาภในหมู่
ชนผู้งมงาย.

บทว่า นานโฏ ความว่า อันผู้จะทำลาภให้เกิดขึ้น พึงเป็น
เหมือนนักฟ้อนรำ. อธิบายว่า นักฟ้อนรำทั้งหลายละทิ้งหิริโอตตัปปะ
เสีย กระทำการเล่นด้วยฟ้อนรำ ขับร้อง และการประโคมรวบรวม
ทรัพย์อยู่ ฉันใด ผู้ต้องการลาภก็ฉันนั้นเหมือนกัน ต้องทำลายหิริ-

โอตตัปปะเสีย เป็นเหมือนสหายนักเลงของสตรี บุรุษ เด็กชาย และ
เด็กหญิงทั้งหลาย เที่ยวแสดงการเล่น มีประการต่าง ๆ ส่วนบุคคลใด
ไม่เป็นนักฟ้อนรำอย่างนี้ บุคคลนั้นย่อมไม่ได้ลาภในหมู่คนงมงาย.

บทว่า นากุตูหโล ความว่า คนผู้มีวาจาพล่อย ๆ ชื่อว่าคน
ตื่นข่าว. จริงอยู่ พระราชาทั้งหลายแวดล้อมด้วยหมู่อำมาตย์ ตรัสถาม
อำมาตย์ทั้งหลายว่า เราได้ฟังมาว่า ในที่โน้น คนถูกฆ่า ถูกปล้น
เรือน ลูกเมียของคนอื่นถูกข่มขืน นี้เป็นกรรมของพวกไหนนะ ?
ในหมู่อำมาตย์เหล่านั้น เมื่ออำมาตย์ที่เหลือไม่ทูลอะไรเลย ผู้ใดลุกขึ้น
กราบทูลว่า คนชื่อโน้น ๆ กระทำดังนี้ ผู้นี้ชื่อว่าคนตื่นข่าว. พระ-


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ราชาทั้งหลาย ก็จะส่งราชบุรุษเหล่านั้นไปสืบสวน ห้ามปรามตามคำ
ของอำมาตย์ผู้นั้น ย่อมประทานยศใหญ่โตให้แก่อำมาตย์ผู้นั้น ด้วย
ทรงพระดำริว่า เพราะอาศัยผู้นี้ บ้านเมืองของเราจึงปราศจากโจร
ผู้ร้าย. ฝ่ายชนที่เหลือก็ให้ทรัพย์แก่ผู้นั้นเหมือนกัน เพราะกลัวว่า ผู้
นี้ถูกราชบุรุษไต่ถาม จะกล่าวมิดีมิร้ายให้. ลาภย่อมเกิดแก่คนตื่นข่าว

ด้วยประการอย่างนี้. ส่วนผู้ที่ไม่ตื่นข่าวย่อมไม่ได้ลาภในหมู่ชนที่
งมงาย. บทว่า เอสา เต อนุสาสนี ความว่า นี้เป็นการพร่ำสอน
ในเรื่องการจะได้ลาภแก่เจ้า จากสำนักของเรา.

อันเตวาสิกได้ฟังคาถาของอาจารย์แล้ว เมื่อจะติเตียนลาภ จึง
กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-
ข้าแต่ท่านพราหมณ์ น่าติเตียนความ
ประพฤติอันเป็นเหตุให้ได้ลาภและยศ โดย
การทำชื่อเสียงให้ตกไปหรือโดยไม่เป็นธรรม.
อนึ่ง หากจะถือบาตรออกไปบวชเสีย ความ
เป็นอยู่นี้แล ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดย
ไม่เป็นธรรม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยา วุตฺติ ได้แก่ การประพฤติ
เลี้ยงชีพอันใด บทว่า วินิปาเตน คือ โดยการทำตนให้เสื่อมเสียไป.
บทว่า อธมฺมจริยาย วา ได้แก่ ด้วยการประพฤติไม่เป็นธรรม และ
ด้วยการกระทำอันไม่สม่ำเสมอ. อธิบายว่า ความประพฤติอันใด โดย

ทำตนให้เสื่อมเสียด้วยการถูกฆ่า ถูกจองจำ และถูกติเตียนเป็นต้น
และโดยประพฤติไม่เป็นธรรม ดังเราจะติเตียน คือนินทา ครหาความ
ประพฤตินั้น และการได้ยศและทรัพย์ทั้งปวง เราไม่ต้องการความ
ประพฤติเลี้ยงชีพอันนั้น. บทว่าปตฺตมาทาย ได้แก่ ถือภาชนะ


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สำหรับเที่ยวภิกขาจาร. บทว่า อนาคาโร ปริพฺพเช ความว่า พึง
เป็นบรรพชิตไม่มีเหย้าเรือนเที่ยวไป. และเป็นสัปบุรุษไม่ประพฤติ
อธรรมด้วยกายทุจริตเป็นต้น. เพราะเหตุไร ? เพราะความเป็นอยู่แล
ประเสริฐกว่าการแสวงหาโดยไม่เป็นธรรม. ด้วยบทว่า เอสาว ชีวิกา

เสยฺยา ยา จาธมฺเมน เอสนา นี้ ท่านแสดงว่า การที่บรรพชิต
มีบาตรในมือเที่ยวภิกขาจารในตระกูลอื่นๆ เท่านั้น ประเสริฐกว่า
การแสวงหาเลี้ยงชีพโดยอธรรม คือ ดีกว่าร้อยเท่า พันเท่า.

มาณพครั้นพรรณนาคุณของบรรพชาอย่างนี้แล้ว จึงออกบวช
เป็นฤาษี แสวงหาภิกษาโดยธรรม ยังสมาบัติทั้งหลายให้เกิดขึ้น ได้
มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า มาณพในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุผู้ติเตียนลาภในบัดนี้
ส่วนอาจารย์คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาลาภครหิกชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พ่อค้าโกงคนหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้มีคำเริ่มต้นว่า อคฺฆนฺติ มจฺฉา
ดังนี้. เรื่องนี้ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั้นแล.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลกฎุมพี พอรู้เดียงสาก็
รวบรวมทรัพย์สมบัติไว้. และพระโพธิสัตว์นั้นมีน้องชายอยู่คนหนึ่ง.
ในกาลต่อมา เมื่อบิดาของคนทั้งสองนั้นทำกาลกิริยาไปแล้ว วันหนึ่ง
พี่น้องทั้งสองนั้นคิดกันว่า พวกเราจักชำระสะสางการค้าขายอันเป็น

ของบิดาให้เรียบร้อยเสียที จึงไปยังบ้านหนึ่ง ได้ทรัพย์พัน
กหาปณะแล้วกลับมา บริโภคอาหารห่อแล้วรอเรืออยู่ที่ท่าแม่น้ำ.
พระโพธิสัตว์ได้ให้อาหารที่เหลือแก่ปลาทั้งหลายในแม่น้ำคงคาแล้วให้
ส่วนบุญแก่เทวดาประจำแม่น้ำ. เทวดาพออนุโมทนาส่วนบุญเท่านั้น
ก็เจริญพอกพูนด้วยยศอันเป็นทิพย์ จึงรำพึงถึงความเจริญยศของตน

ก็ได้รู้ถึงเหตุนั้น. ฝ่ายพระโพธิสัตว์ลาดผ้าห่มลงบนทรายนอนหลับไป.
ส่วนน้องชายของพระโพธิสัตว์นั้น มีปกตินิสัยค่อนข้างเป็นโจรอยู่บ้าง
เขาจึงทำห่อกรวดเข้าห่อหนึ่งให้เหมือนห่อกหาปณะ แล้ววางทั้งสอง
ไว้รวมกัน เพราะประสงค์จะไม่ให้กหาปณะเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์

จะถือเอาเสียเองคนเดียว. เมื่อพี่น้องทั้งสองนั้นขึ้นเรือไปถึงกลาง
แม่น้ำคงคา น้องชายทำเรือให้โคลงแล้วคิดว่าเราจะโยนห่อกรวดทิ้งน้ำ
กลับโยนห่อทรัพย์พันกหาปณะลงไปเก็บซ่อนห่อกรวดไว้ แล้วกล่าวว่า
คุณพี่ ห่อทรัพย์พันกหาปณะตกน้ำไปแล้ว เราจะทำอย่างไรกัน.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า เมื่อมันตกน้ำไปแล้ว พวกเราจักกระทำอย่างไร
ได้ อย่าคิดมันเลย. เทวดาประจำแม่น้ำคิดว่า เราอนุโมทนาส่วนบุญที่
พระโพธิสัตว์นี้ให้ จึงเจริญด้วยยศทิพย์ เราจักรักษาทรัพย์อันเป็นของ
พระโพธิสัตว์นี้ไว้ จึงบันดาลให้ปลาปากกว้างตัวหนึ่ง กลืนห่อทรัพย์

นั้นไว้ด้วยอานุภาพของตน ตนเองถือการอารักขาอยู่. ฝ่ายน้องชายผู้
เป็นโจรแม้นั้นแล ไปถึงเรือนแล้วคิดว่า เราลวงพี่ชายได้แล้ว จึงแก้
ห่อออกเห็นแต่กรวด มีหัวใจเหี่ยวแห้ง นอนกอดแม่แคร่เตียงอยู่.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในกาลนั้น พวกชาวประมงได้ทอดแหเพื่อจับปลา. ปลาตัวนั้นได้เข้า
ไปติดแหด้วยอานุภาพของเทวดา. พวกชาวประมงจับปลานั้นได้แล้ว
จึงเข้าไปยังพระนครเพื่อจะขายปลา. คนทั้งหลายเห็นปลาใหญ่จึงถาม
ราคา. ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้ทรัพย์หนึ่งพันกหาปณะกับเจ็ด

มาสก แล้วจงถือเอาปลานั้นไป. พวกประชาชนทำการหัวเราะเยาะว่า
แหมปลาราคาทั้งพันไม่เคยเห็น. พวกชาวประมงจึงถือเอาปลาไปยัง
ประตูเรือนของพระโพธิสัตว์กล่าวว่า ท่านจงถือเอาปลาตัวนี้. พระ-
โพธิสัตว์ถามว่า ปลานี้ราคาเท่าไร ? ชาวประมงกล่าวว่า ท่านให้เจ็ด

มาสกแล้วเอาไปเถอะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า พวกท่านเมื่อให้แก่คน
อื่นให้อย่างไร ? พวกชาวประมงกล่าวว่า ให้แก่คนอื่น ๑ พันกับ ๗
มาสก แต่ท่านให้ ๗ มาสก แล้วเอาไปเถิด. พระโพธิสัตว์ให้พวก
ชาวประมงไป ๗ มาสก แล้วส่งปลาให้แก่ภรรยา. ภรรยาผ่าท้องปลา

เห็นห่อทรัพย์พันกหาปณะ จึงมอบแก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์
ตรวจดูห่อทรัพย์นั้นเห็นตราของตน ก็รู้ว่าเป็นของตน จึงคิดว่า
บัดนี้ ชาวประมงเหล่านี้เมื่อให้ปลาตัวนี้แก่คนอื่น ก็ให้ถึง ๑ พัน
กหาปณะกับ ๗ มาสก แต่พอมาถึงเราเข้าไม่พูดถึงพันเลย ได้ให้เอา

เพียง ๗ มาสกเท่านั้น เพราะพันกหาปณะนั้นเป็นของของตน เรา
ไม่อาจให้ใครๆ ผู้ไม่รู้เหตุการณ์นี้เชื่อถือได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า
ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะ
กับ ๗ มาสก ย่อมจะไม่มีผู้เชื่อถือเลย และ
ในที่นี้ เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น แต่ก็ซื้อ
ปลาพวงนั้นได้.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อธิกํ ความว่า ชาวประมงถูก
คนอื่นถามย่อมกล่าวว่า ปลาทั้งหลายมีราคา ๑ พันกหาปณะกับอีก ๗
มาสก. บทว่า น โส อตฺถิ โย อิมํ สทฺทเหยฺย ความว่า คนที่
ไม่รู้เหตุการณ์นี้โดยประจักษ์จะเชื่อถือคำของเรา ย่อมไม่มี หรือว่า
คนที่จะเชื่อคำนี้ที่ว่า ปลาทั้งหลายมีราคาประมาณเท่านี้ ย่อมไม่มี.

เพราะเหตุนั้นแหละ คนอื่นๆ จึงไม่ถือเอาปลาเหล่านั้น. บทว่า
มยฺหญฺจ อสฺสู ความว่า อนึ่ง เราก็มี ๗ มาสกเท่านั้น. บทว่า
มจฺฉทานํ แปลว่า พวงปลา. เพราะว่า เขาผูกปลา แม้อื่นๆ รวม
กับปลาตัวนั้น ท่านหมายเอาพวงปลาแม้ทั้งสิ้นนั้น จึงกล่าวคำว่า
มจฺฉทานํ ได้แก่ พวงปลานั้น บทว่า กิเณยฺยํ แปลว่า เราซื้อ อธิบาย
ว่า เราให้ ๗ มาสกเท่านั้น ถือเอาพวงปลามีประมาณเท่านี้ได้.

ก็แหละ พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคิดดังนี้ว่า
เพราะอาศัยอะไรหนอ เราจึงได้กหาปณะเหล่านี้. ขณะนั้น เทวดา
ประจำแม่น้ำแสดงรูปร่างให้ปรากฏ ยืนอยู่ในอากาศกล่าวว่า เราเป็น
เทวดาประจำอยู่ในแม่น้ำคงคา ท่านให้อาหารส่วนเกินแก่ปลาทั้งหลาย

แล้วให้ส่วนบุญแก่เรา ด้วยเหตุนั้น เราจึงมาอารักขาทรัพย์ของท่าน
ไว้ เมื่อจะแสดงความให้แจ่มแจ้ง จึงกล่าวคาถาว่า :-
ท่านได้ให้โภชนะแก่ปลาทั้งหลาย แล้ว
อุทิศส่วนบุญให้แก่เรา เราระลึกถึงส่วนบุญ
อันนั้น และความนอบน้อมที่ท่านกระทำแล้ว
จึงรักษาทรัพย์ของท่านนี้ไว้.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทกฺขิณํ ความว่า การให้ส่วน
บุญชื่อว่า ทักษิณา ในที่นี้. บทว่า กตํ อปจิตึ ตยา ความว่า เรา
ระลึกถึงความนอบน้อมที่ท่านกระทำแก่เรานั้น จึงรักษาทรัพย์ของ
ท่านนี้ไว้.

ก็แหละ เทวดาประจำแม่น้ำนั้น ครั้นกล่าวคาถานี้แล้ว จึง
บอกการคดโกงที่น้องชายกระทำทั้งหมดแก่พระโพธิสัตว์นั้น แล้ว
กล่าวว่า บัดนี้น้องชายของท่านนั้นมีหัวใจเหี่ยวแห้งนอนอยู่ ชื่อว่า
ความเจริญย่อมไม่เกิดแก่คนผู้มีจิตประทุษร้าย อันเราคิดว่า ทรัพย์
อันเป็นของท่านอย่าได้พินาศฉิบหายเสีย จึงได้นำทรัพย์นั้นมาให้ท่าน
ท่านอย่าให้ทรัพย์นี้แก่น้องชายโจรของท่าน จงถือเอาผู้เดียวทั้งหมด
เถิด แล้วกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-

บุคคลผู้มีจิตคิดประทุษร้าย ย่อมไม่มี
ความเจริญเลย ใช่แต่เท่านั้น เทวดาทั้งหลาย
ก็ไม่บูชาผู้นั้น ผู้ใดทำกรรมอันชั่วช้า ยักยอก
เอาทรัพย์มรดกของบิดา ไม่ต้องการให้พี่ชาย
เทวดาทั้งหลายย่อมไม่บูชาผู้นั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ผาติ โหติ ความว่า ชื่อว่า
ความเจริญในโลกนี้หรือในโลกหน้า ย่อมไม่มีแก่บุคคลเห็นปานนั้น.
บทว่า น จาปิ นํ ความว่า เทวดาทั้งหลายผู้อารักขาสมบัติของ
พระโพธิสัตว์นั้น ย่อมไม่บูชาบุคคลนั้น.

ดังนั้น เทวดาผู้ไม่ประสงค์จะให้กหาปณะแก่โจรผู้ประทุษร้าย
มิตร จึงกล่าวอย่างนั้น. ส่วนพระโพธิสัตว์คิดว่า เราไม่อาจกระทำ
อย่างนั้น จึงได้ส่งทรัพย์จำนวน ๕๐๐ ไปให้แก่น้องชายผู้เป็นโจร
แม้นั้น.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะทั้งหลายแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ พ่อค้าดำรงอยู่
ในโสดาปัตติผล. น้องชายในครั้งนั้น ได้เป็นพ่อค้าโกงในบัดนี้. ส่วน
พี่ชายในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามัจฉทานชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันวิหาร ทรงปรารภ
การได้พร ๘ ประการของท่านพระอานันทเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า นานาฉนฺทา มหาราช ดังนี้. เรื่องนี้จักมีแจ้งในชุณห-
ชาดก เอกาทสนิบาต.

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของพระอัครมเหสีของ
พระเจ้าพรหมทัตนั้น พอเจริญวัย เล่าเรียนศิลปะทั้งปวงในเมือง
ตักกศิลา เมื่อพระราชบิดาสวรรคต ก็ได้ครองราชสมบัติ. พระโพธิ-

สัตว์นั้น มีปุโรหิตของพระราชบิดาถูกถอดจากตำแหน่ง. ปุโรหิตนั้น
เป็นคนเข็ญใจ อาศัยอยู่ในเรือนคนชราแห่งหนึ่ง. ครั้นวันหนึ่ง
พระโพธิสัตว์ปลอมเพศโดยใครๆ ไม่รู้จัก เสด็จเที่ยวตรวจตราพระ-
นครในตอนกลางคืน. พวกโจรที่กระทำโจรกรรมแล้ว พากันดื่มสุรา

ในโรงสุราแห่งหนึ่ง เอาหม้อใส่สุราไว้ต่างหากหม้อหนึ่ง ถือไปบ้าน
ของตนๆ ในระหว่างทาง ได้เห็นพระโพธิสัตว์นั้นเข้าจึงกล่าวว่า เฮ้ย
เจ้าเป็นใคร ? แล้วตีชิงเอาผ้าห่ม ให้ยกหม้อสุรานั้นขู่ให้เดินไป.
ฝ่ายพราหมณ์นั้น ขณะนั้น ออกไปยืนอยู่ในระหว่างถนน ตรวจดู
ดาวนักษัตรรู้ว่าพระราชาตกอยู่ในเงื้อมมือของพวกศัตรู จึงเรียกนาง

พราหมณี. นางพราหมณีนั้นกล่าวว่า อะไรกันค่ะท่าน แล้วรีบมายัง
สำนักของพราหมณ์นั้น. ลำดับนั้น พราหมณ์กล่าวกะนางพราหมณี


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นั้นว่า นางผู้เจริญ พระราชาของเราตกอยู่ในอำนาจของศัตรู. พราหมณี
กล่าวว่า ก็ธุระอะไรของท่านเล่า พวกพราหมณ์ผู้มียศในราชสำนัก
จักรู้เอง. พระราชาทรงสดับเสียงของพราหมณ์ได้เสด็จไปหน่อยจึง
ตรัสกะพวกนักเลงว่า นาย ข้าพเจ้าเป็นคนยากจน ท่านเอาผ้าห่ม

ไปแล้ว จงปล่อยข้าพเจ้าเถิด. พระราชาทรงตรัสอยู่บ่อย ๆ พวกนักเลง
เหล่านั้นจึงปล่อยไป ด้วยความกรุณา. พระราชาทรงกำหนดเรือนที่
อยู่ของนักเลงเหล่านั้นแล้วเสด็จกลับ. ลำดับนั้น แม้ปุโรหิตคนเก่า
ก็กล่าวว่า นางผู้เจริญ พระราชาของเราพ้นจากเงื้อมมือของศัตรูแล้ว.

พระราชาได้ทรงสดับคำแม้นั้น แล้วทรงกำหนดเรือนของปุโรหิตนั้น
ไว้ เสด็จขึ้นสู่ปราสาท. เมื่อราตรีสว่างแล้ว พระราชารับสั่งให้เรียก
พราหมณ์ทั้งหลายมา แล้วตรัสถามว่า ท่านอาจารย์ ในตอนกลางคืน
ท่านทั้งหลายได้ตรวจดาวนักษัตรบ้างหรือเปล่า ? พราหมณ์ทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ได้ตรวจดูแล้ว พระเจ้าข้า

พระราชาตรัสถามว่า นักขัตตฤกษ์งามไหม ? พราหมณ์. งามพระ-
เจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า ไม่เคราะห์อะไร ๆ หรือ ? พราหมณ์. ไม่มี
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้เรียกปุโรหิตคนเก่ามา โดยรับสั่งว่า ท่าน
จงไปเรียกพราหมณ์จากบ้านโน้นมา แล้วตรัสถามว่า อาจารย์ตอน
กลางคืน ท่านเห็นดาวนักษัตรบ้างไหม ? ปุโรหิตกราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ผู้สมมติเทพ เห็นพระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามว่า เคราะห์
อะไร ๆ มีไหม ? พราหมณ์. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระเจ้าข้า
วันนี้ เวลากลางคืน พระองค์ตกอยู่ในอำนาจของศัตรู แต่เพียงครู่


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เดียว ก็หลุดพ้นได้. พระราชาตรัสว่า ธรรมดาผู้รู้ดวงดาวนักขัตตฤกษ์
ต้องเป็นคนเห็นปานนี้ ครั้นตรัสแล้วให้ถอดพวกพราหมณ์ที่เหลือ
นอกนั้นเสียแล้วตรัสว่า พราหมณ์ เราเลื่อมใสท่าน ท่านจงรับเอาพร.
พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าปรึกษากับบุตร
และภรรยา แล้วจักรับเอา พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ไปเถอะท่าน

ปรึกษากันแล้วจึงค่อยมา. พราหมณ์นั้นไปแล้วเรียกพราหมณี บุตร
ชาย บุตรสะใภ้ และหญิงทาสี มาแล้วถามว่า พระราชาพระราชทาน
พรแก่เรา เราจะรับเอาอะไร ? พราหมณีกล่าวว่า ท่านจงนำโคนมมา
ให้ดิฉัน ๑๐๐ ตัว. บุตรชาย ชื่อว่าฉัตตมาณพกล่าวว่า ท่านจงนำรถ
เทียมม้าอันเทียมด้วยม้าสินธพ ๔ ตัว มีสีเหมือนดอกโกมุทมาให้ฉัน.

บุตรสะใภ้กล่าวว่า ท่านจงนำเอาเครื่องประดับมีต่างหูแก้วมณีเป็นต้น
มาให้ดิฉัน. ทาสีชื่อว่าปุณณากล่าวว่า ท่านจงเอาครกและสากมาให้
ดิฉัน. ส่วนพราหมณ์ต้องการรับเอาบ้านส่วย จึงไปยังราชสำนัก
อันพระราชาตรัสถามว่า ท่านถามบุตรและภรรยาดูแล้วหรือ จึงกราบ

ทูลว่า พระเจ้าข้า ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้าถามแล้ว แต่มี
ความพอใจไม่เป็นอย่างเดียวกัน แล้วกล่าว ๒ คาถาแรกว่า :-

ข้าแต่มหาราช ข้าพระบาททั้งหลายอยู่
ในเรือนหลังเดียวกัน แต่มีฉันทะความพอใจ
ต่างกัน ข้าพระบาทอยากได้บ้านส่วย นาง
พราหมณีอยากได้โคนมสักร้อยหนึ่ง. ลูกชาย
อยากได้รถเทียมอาชาไนย ลูกสะใภ้อยากได้
ต่างหูแก้วมณี ฝ่ายนางปุณณทาสีผู้ชั่วช้า
จำนงหวังจะใคร่ได้ครก สาก และกระด้ง.


* ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้ไว
ความขยันหมั่นเพียร ทำให้เรียนรู้ได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร ทำงานได้เก่ง
ความขยันหมั่นเพียร นายจ้างก็รัก
ความขยันหมั่นเพียร คนโดยส่วนมากรักใคร่พอใจปราถนา
ความขยันหมั่นเพียร สร้างฝันให้เป็นจริง
ความขยันหมั่นเพียร เปลี่ยนชีวิตให้ดีขึ้นได้
ความขยันหมั่นเพียร มีเงินทองร้อยเล่มเกวียนก็ชื้อมิได้
ความขยันหมั่นเพียร แบ่งปันกันมิได้(มีต่อ)http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?p=432566#p432566
* ยิ่งให้ยิ่งได้ ยิ่งทำก็ยิ่งสำนิสำนาน ยิ่งให้ธรรมทาน นานวันเข้าก็ยิ่งรู้แจ้ง
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 19 ธ.ค. 2018, 09:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเฉ แปลว่า ย่อมปรารถนา.
บทว่า ควํ สตํ ได้แก่ โคชนิดแม่โคนมร้อยตัว. บทว่า กญฺา หมายถึง
ลูกสะใภ้. บทว่า ยา เจสา ความว่า ทาสีชื่อว่าปุณณาในเรือนของ
ข้าพระบาทนั้น นางเป็นคนเลวทราม จำนงหวัง คือต้องการครก
พร้อมทั้งกระด้งและสาก.

พระราชาทรงสั่งว่า พวกท่านจงให้สิ่งที่ต้องการแล้วๆ แก่
ทุกๆ คน ได้ตรัสเป็นคาถาว่า :-

ท่านทั้งหลายจงให้บ้านส่วยแก่พราหมณ์
จงให้โคนมร้อยตัวแก่พราหมณี จงให้รถ
เทียมม้าอาชาไนยแก่บุตรชาย จงให้ต่างหู
แก้วมณีแก่บุตรสะใภ้ และจงให้ครกแก่นาง
ปุณณทาสีผู้ชั่วช้า.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยญฺเจตํ ความว่า ท่านทั้งหลาย
จงยังทาสีที่เรียกว่า ปุณณกา ผู้ชั่วช้านั้นให้ได้ คือให้รับเอาครก.

พระราชาได้พระราชทานสิ่งที่พราหมณ์ปรารถนา. และยศ
ใหญ่โตอย่างอื่น ด้วยประการดังนี้ แล้วตรัสว่า จำเดิมแต่นี้ไป ท่าน
จงขวนขวายในกิจที่จะพึงกระทำแก่เรา แล้วทรงตั้งพราหมณ์ไว้ใน
สำนักของพระองค์.

พระศาสดาครั้งทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนพระราชา คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานานาฉันทชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 80, 81, 82, 83, 84, 85, 86 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร