วันเวลาปัจจุบัน 22 ก.ค. 2025, 23:05  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 71, 72, 73, 74, 75, 76, 77 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระกุมารนั้น. ในเวลาพระกุมารนั้นมีพระชันษา ๑๖ พรรษา
พระราชาทรงพระดำริว่า เราไม่มีโอรสองค์อื่นอีก ส่วนกุมารนี้ไม่
บริโภคกาม แม้ราชสมบัติก็ไม่ปรารถนา เราได้พระโอรสยากจริงหนอ.
ครั้งนั้น มีหญิงฟ้อนรุ่นสาวผู้หนึ่ง ฉลาดในการฟ้อนการขับร้อง
และการประโคม สามารถที่เล้าโลมบุรุษให้ตกอยู่ในอำนาจของตนได้

เข้าไปเฝ้าแล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ พระองค์ทรงพระดำริเรื่องอะไร
พระพุทธเจ้าข้า. ฝ่ายพระราชาก็ตรัสบอกเหตุนั้น. หญิงฟ้อนกราบทูล
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ เรื่องนั้นโปรดยกไว้ กระหม่อมฉัน
จักประเล้าประโลมพระราชกุมารนั้นให้รู้จักกามรส. พระราชาตรัสว่า
ถ้าเจ้าจักสามารถประเล้าประโลมอนิตถิคันธกุมารผู้โอรสของเราได้

ไซร้ พระกุมารนั้นจักเป็นพระราชา ตัวเจ้าจักเป็นอัครมเหสี. หญิง
ฟ้อนกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์เป็นเจ้า การประเล้าประโลมเป็น
ภาระของกระหม่อมฉัน พระองค์อย่าทรงปริวิตก ดังนี้แล้วเข้าไป
หาคนผู้ทำหน้าที่อารักขาแล้วกล่าวว่า ในเวลาใกล้รุ่งเราจักมายืนที่
หอคอยภายนอกพระวิสูตร ใกล้ที่บรรทมของพระลูกเจ้า แล้วจัก

ขับร้อง ถ้าพระราชกุมารจักทรงกริ้ว พวกท่านพึงบอกเรา เราจะ
หลบไปเสีย ถ้าทรงสดับ พวกท่านช่วยบอกแก่เราเช่นเดียวกัน.
คนผู้ทำหน้าที่อารักขาทั้งหลายต่างพากันรับคำนาง. ฝ่ายหญิงฟ้อนนั้น
ในเวลาใกล้รุ่ง ได้ไปยืนอยู่ ณ ประเทศที่นั้น แล้วขับเสียงเพลง

ประสานกับเสียงพิณ บรรเลงเสียงพิณประสานกับเสียงเพลงขับ ด้วย
เสียงอันไพเราะ. พระกุมารทรงบรรทมฟังอยู่ ทรงยอมรับว่า ดี
มีประโยชน์. วันรุ่งขึ้น ทรงสั่งให้นางยืนขับร้องในที่ใกล้ รุ่งขึ้น
วันที่สอง รับสั่งให้ยืนขับร้องในหอคอย รุ่งขึ้นวันที่สาม รับสั่งให้
ยืนขับร้องในที่ใกล้กับพระองค์ ด้วยวิธีการอย่างนี้ พระองค์ทรงทำ


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ตัณหาให้เกิดขึ้นโดยลำดับๆ จนถึงส้องเสพโลกธรรม ได้รู้รสกามเข้า
แล้ว ออกพระโอษฐ์ว่า ขึ้นชื่อว่ามาตุคาม เราจักไม่ยอมให้แก่ชายอื่น
ถือพระแสงดาบเสด็จลงสู่ท้องถนน เที่ยวไล่ติดตามบุรุษทั้งหลาย.

ลำดับนั้น พระราชารับสั่งให้จับพระกุมารนั้นแล้วให้นำออก
ไปเสียจากพระนคร พร้อมกับกุมาริกานั้น. ฝ่ายพระกุมารและชายา
ทั้งสอง เสด็จเข้าป่าไปยังแม่น้ำคงคาด้านใต้ สร้างอาศรมอยู่ใน
ระหว่างแม่น้ำคงคาและมหาสมุทร โดยมีแม่น้ำคงคาอยู่ด้านหนึ่ง

และมีมหาสมุทรอยู่ด้านหนึ่ง สำเร็จการอยู่ ณ ที่นั้น. ฝ่ายนาง
กุมาริกานั่งอยู่ในบรรณศาลา กำลังต้มหัวเผือกเหง้าไม้และผลไม้อยู่
พระโพธิสัตว์นำผลาผลทั้งหลายมาจากป่า. ครั้นวันหนึ่ง เมื่อพระ-
โพธิสัตว์แม้นั้นไปเพื่อต้องการผลหมากรากไม้ มีพระดาบสรูปหนึ่ง
อาศัยอยู่ที่เกาะในมหาสมุทร เหาะมาทางอากาศในเวลาภิกขาจารเห็น

ควันไฟนั้นจึงลงยังอาศรม. ลำดับนั้น กุมาริกานั้น เชิญพระดาบส
นั้นให้นั่ง โดยกล่าวว่า ท่านจงนั่งรอจนกว่าดิฉันจะต้มเสร็จ แล้ว
เล้าโล มด้วยความเด่นของหญิง ให้เสื่อมจากฌาน ทำพรหมจรรย์
ของดาบสนั้นให้อันตรธานหายไป. พระดาบสนั้นเป็นเหมือนกาปีกหัก

ไม่อาจละนางกุมาริกานั้นไปได้คงอยู่ในที่นั้นเองตลอดทั้งวัน ในเวลา
เย็นเห็นพระโพธิสัตว์มา จึงรีบหนีบ่ายหน้าไปทางมหาสมุทร. ลำดับ
นั้น พระโพธิสัตว์จึงชักดาบออกไล่ติดตามดาบสนั้นไปด้วยเข้าใจว่า
ผู้นี้จักเป็นศัตรูของเรา. พระดาบสแสดงอาการจะเหาะขึ้นในอากาศ

จึงตกลงไปในมหาสมุทร. พระโพธิสัตว์คิดว่า ดาบสผู้นี้จักมาทาง
อากาศ เพราะฌานเสื่อมจึงตกลงในมหาสมุทร บัดนี้ เราควรจะเป็น
ที่พึ่งอาศัยของดาบสนี้ แล้วยืนที่ชายฝั่ง ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เมื่อน้ำไม่กระเพื่อม ดาบสนี้มาได้
ด้วยฤทธิ์เอง ครั้นถึงความระคนด้วยหญิง
ก็จมลงในห้วงมหรรณพ. ธรรมดาว่า หญิง
เหล่านี้ เป็นผู้ทำบุรุษให้งงงวย มีมายามาก
และยังพรหมจรรย์ให้กำเริบ ย่อมจมลงใน
อบาย บัณฑิตรู้ชัดอย่างนี้แล้ว พึงหลีกเว้น
เสียให้ห่างไกล. หญิงเหล่านั้นย่อมเข้าไป
คบหาบุรุษใดเพราะความรักใคร่พอใจ หรือ

เพราะทรัพย์เขาย่อมเผาบุรุษนั้นเสียฉับพลัน
เปรียบเหมือนไฟไหม้ที่ของตนเองฉะนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิชฺชมาเน วาริสฺมึ ความว่า
เมื่อน้ำนี้ไม่ไหวคือไม่กระเพื่อม พระดาบสไม่ถูกต้องน้ำ มาด้วยฤทธิ์
ทางอากาศด้วยตนเอง. บทว่า มิสฺสีภาวิตฺถิยา ได้แก่ ภาวะที่ระคน
กับหญิงด้วยอำนาจการเสพโลกธรรม. บทว่า อาวฏฺฏนี มหามายา

ความว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ชื่อว่าทำบุรุษให้เวียนมา เพราะให้
เวียนมาด้วยกามคุณ ชื่อว่ามีมายามาก เพราะประกอบด้วยมายาหญิง
หาที่สุดมิได้. สมจริงดังที่ท่านโบราณาจารย์กล่าวไว้ว่า :-

หญิงทั้งหลายนี้เป็นผู้มีมายาดุจพยับ
แดด ความโศก โรค และอันตรายย่อมเกิด
แก่ผู้สมาคมกับหญิง ร่ำไป อนึ่ง หญิง
ทั้งหลาย กล้าแข็ง เป็นดุจเครื่องผูก เป็นบ่วง
แห่งมัจจุราช และมีมหาภูตรูปดุจคูหาเป็นที่
อาศัย บุรุษใดคุ้นเคยในหญิงเหล่านั้น บุรุษ
นั้นเท่ากับคนอาธรรม์ในนรชนทั้งหลาย.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมจริยวิโกปนา ความว่า
ยังความประพฤติอันประเสริฐ คือเมถุนวิรัตพรหมจรรย์ให้กำเริบ.
บทว่า สีทนฺติ ความว่า ธรรมดาหญิงเหล่านี้ ชื่อว่าย่อมจมลง
ในอบายทั้งหลาย เพราะทำพรหมจรรย์ของพวกฤาษีให้กำเริบ. คำที่
เหลือพึงประกอบความโดยนัยก่อนนั่นแล.

ฝ่ายพระดาบส ครั้นได้ฟังคำของพระโพธิสัตว์อย่างนี้แล้ว
ยืนอยู่ในท่ามกลางมหาสมุทรนั้นเอง ทำฌานที่เสื่อมให้กลับเกิดขึ้นอีก
แล้วไปยังที่อยู่ของตนทางอากาศ. พระโพธิสัตว์คิดว่า พระดาบสนี้
เป็นผู้อบรมมาแล้วอย่างนี้ ไปทางอากาศเหมือนปุยนุ่น แม้เราก็
ควรทำฌานให้เกิดแล้วไปทางอากาศเหมือนพระดาบสนี้. ครั้นคิด

แล้วก็ไปยังอาศรม นำหญิงนั้นไปส่งยังถิ่นมนุษย์แล้วส่งไปด้วยคำว่า
เจ้าจงกลับไปเถิด เสร็จแล้วก็เข้าป่าสร้างอาศรมในภูมิภาคอันรื่นรมย์
แล้วบวชเป็นฤาษีกระทำกสิณบริกรรมยังอภิญญาและสมาบัติให้บังเกิด
ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประกาศอริยสัจจธรรมทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ภิกษุ
ผู้กระสันจะสึก ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ก็อนิตถิคันธกุมาร
ในกาลนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาจุลลปโลภนชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาประทับนั่งอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ทรงปรารภอานุภาพ
ของพระภัททชิเถระจึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ปนาโท นาม โส
ราชา ดังนี้

สมัยหนึ่ง พระศาสดาทรงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาวัตถี ทรง
พระดำริว่า จักสงเคราะห์ภัททชิกุมาร แวดล้อมแล้วด้วยหมู่ภิกษุสงฆ์
เสด็จจาริกถึงภัททิยนคร ประทับอยู่ในชาติยาวันตลอด ๓ เดือน
ทรงรอคอยความแก่กล้าแห่งญาณของภัททชิกุมาร. ภัททชิกุมารนั้น
มียศมาก เป็นบุตรคนเดียวของภัททิยเศรษฐีผู้มีทรัพย์สมบัติประมาณ

๘๐ โกฏิ. ภัททชิกุมารนั้นมีปราสาท ๓ หลัง สมควรแก่ฤดูทั้ง ๓
ภัททชิกุมารอยู่ในปราสาทหลังละ ๔ เดือน ครั้นอยู่ในปราสาทหลัง
หนึ่งแล้ว ก็แวดล้อมด้วยนางฟ้อนไปยังปราสาทอีกหลังหนึ่งด้วยยศ
ใหญ่. ขณะนั้น พระนครทั้งสิ้นก็ตื่นเต้นกันว่า พวกเราจักดูสมบัติของ
ภัททชิกุมาร ต่างผูกจักรและจักรซ้อน ผูกเตียงและเตียงซ้อนในระหว่าง

ปราสาท. พระศาสดาประทับอยู่ตลอด ๓ เดือน ตรัสบอกชาวพระ-
นครว่า เราจะไปก่อนละ. ชาวพระนครกราบทูลนิมนต์พระศาสดาว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้ พระองค์จึงค่อยเสด็จไปเถิด แล้ววัน
ที่สอง ตระเตรียมมหาทานเพื่อภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน

สร้างมณฑปที่ถวายทานท่ามกลางพระนคร ตกแต่งปูลาดอาสนะแล้ว
กราบทูลให้ทรงทราบถึงกาลเวลา. พระศาสดาแวดล้อมด้วยภิกษุสงฆ์
เสด็จไปประทับนั่งในมณฑปนั้น. มนุษย์ทั้งหลายต่างได้ถวายมหาทาน.
พระศาสดาทรงกระทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ทรงเริ่มอนุโมทนาด้วยพระ-

สุรเสียงอันไพเราะ. ขณะนั้น ภัททชิกุมาร จากปราสาทหลังหนึ่ง
ไปยังปราสาทหลังหนึ่ง วันนั้นไม่มีใครๆ ไปเพื่อต้องการดูสมบัติของ
ภัททชิกุมารนั้น. มีแต่ คนของตนเท่านั้นห้อมล้อมไป ภัททชิกุมารจึง
ถามคนทั้งหลายว่า ในเวลาอื่น เมื่อเราจากปราสาทหนึ่งไปยังปราสาท
หนึ่ง ชาวพระนครทั้งสิ้นตื่นเต้น ต่างผูกจักรและจักรซ้อนเป็นต้น


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แต่วันนี้ นอกจากคนทั้งหลายของเรา ไม่มีใครๆ อื่นเลย เป็นเพราะ
เหตุอะไรกัน. พวกบริวารกล่าวว่า ข้าแต่นาย พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
เสด็จเข้าไปอาศัยนครนี้ประทับอยู่ตลอด ๓ เดือน วันนี้จักเสด็จไป
พระองค์ทรงทำภัตตกิจเสร็จแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่มหาชน ชาว

พระนครทั้งสิ้นพากันสดับพระธรรมกถาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์นั้น. ภัททชิกุมารนั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านทั้งหลาย
จงมา แม้เราก็จักฟังธรรม แล้วประดับด้วยอาภรณ์ทั้งปวงเข้าไปพร้อม
ด้วยบริวารใหญ่ ยืนฟังพระธรรมกถาอยู่ท้ายบริษัท ยังสรรพกิเลส

ทั้งหลายให้สิ้นไป บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลชั้นเลิศ. พระศาสดา
ตรัสเรียกภัททิยเศรษฐีมาแล้วตรัสว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่าน
ประดับประดาตกแต่งแล้วฟังธรรมกถาได้ดำรงอยู่ในพระอรหัต เพราะ
ฉะนั้น วันนี้ บุตรของท่านควรจะบรรพชา หรือควรจะปรินิพพาน.

ภัททิยเศรษฐีกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กิจด้วยการปรินิพพาน
แห่งบุตรของข้าพระองค์ ย่อมไม่มี ขอพระองค์จงให้บุตรของข้าพระ-
องค์นั้นบรรพชาเถิด พระเจ้าข้า ก็แหละครั้นให้บรรพชา ขอพระองค์
จงพาบุตรของข้าพระองค์นั้น เข้าไปยังเรือนข้าพระองค์ในวันพรุ่งนี้
เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์แล้ว พากุลบุตรเสด็จไปยัง

พระวิหารให้บรรพชาอุปสมบท. บิดามารดาของพระภัททชินั้นกระทำ
มหาสักการะ ๗ วัน พระศาสดาประทับอยู่ ๗ วัน ทรงพากุลบุตร
เที่ยวจาริกไปถึงโกฏิคาม. มนุษย์ชาวโกฏิคามได้ถวายมหาทานแก่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. ในเวลาเสร็จภัตตกิจ พระ-
ศาสดาทรงเริ่มอนุโมทนา. ในเวลาที่ทรงทำอนุโมทนา กุลบุตรไป


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นอกบ้านคิดว่า ในเวลาพระศาสดาเสด็จมาเท่านั้น เราจึงจักลุกขึ้น
แล้วนั่งเข้าฌานที่โคนไม้แห่งหนึ่งใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคา ครั้นพระเถระที่
แก่ๆ แม้จะมาก็ไม่ออกจากฌาน ในเวลาพระศาสดาเสด็จมาเท่านั้น
จึงได้ลุกขึ้น. พวกภิกษุปุถุชนพากันโกรธว่า พระภัททชินี้ท่าทีเหมือน
บวชก่อน เมื่อพระมหาเถระมา แม้เห็นก็ไม่ลุกขึ้น. ชาวโกฏิคาม

พากันผูกเรือขนาน. พระศาสดาประทับยืนท่ามกลางสงฆ์ในเรือ
ขนาน ตรัสถามว่า ภัททชิอยู่ที่ไหน ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า
พระภัททชินี้ อยู่ที่นี้แหละ พระเจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า มาเถิด
ภัททชิ จงขึ้นเรือลำเดียวกันกับเรา. พระเถระได้เหาะไปยืนอยู่ในเรือ

ลำเดียวกัน. ครั้นในเวลาที่เรือแล่นไปกลางแม่น้ำคงคา พระศาสดา
ตรัสว่า ภัททชิ ปราสาทที่เธอเคยอยู่ครอบครองในควาวเป็นพระเจ้า-
มหาปนาท อยู่ที่ไหน. พระภัททชิกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้ พระเจ้าข้า.
พวกภิกษุปุถุชนพากันกล่าวว่า พระภัททชิเถระพยากรณ์พระอรหัต
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ ถ้าอย่างนั้น เธอจงตัดความสงสัย

ของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย. ขณะนั้น พระเถระถวายบังพระ-
ศาสดาแล้วไปด้วยกำลังฤทธิ์ เอานิ้วเท้าคีบจอมปราสาท ยกปราสาท
อันสูง ๒๕ โยชน์ขึ้นแล้วเหาะขึ้นในอากาศ. ก็พระเถระเหาะขึ้นแล้ว
ปรากฎแก่ชนทั้งหลายที่ยืนอยู่ภายใต้ปราสาท ประหนึ่งปราสาทจะพัง

ทลายลงทับ. พระเถระนั้นยกปราสาทขึ้นจากน้ำ ๑ โยชน์ ๒ โยชน์
๓ โยชน์ จนกระทั่ง ๒๕ โยชน์ ลำดับนั้น ญาติทั้งหลายในภพ
ก่อนของพระเถระ บังเกิดเป็นปลา เต่า นาค และกบ อยู่ในปราสาท
นั่นแหละ เพราะความโลภในปราสาท เมื่อปราสาทลอยขึ้น ก็พลัด

ตกลงไปในน้ำตามเดิม พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นสัตว์เหล่านั้น
ตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ พวกญาติของเธอพากันลำบาก. พระ-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เถระได้ฟังพระดำรัสของพระศาสดา จึงปล่อยปราสาท. ปราสาทก็กลับ
ตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. ส่วนพระศาสดาเสด็จขึ้นจากแม่น้ำคงคา. ลำดับ
นั้น ชนทั้งหลายพากันปูลาดอาสนะถวายพระศาสดา ณ ที่ฝั่งแม่น้ำ
คงคานั่นเอง. พระศาสดาประทับนั่งเปล่งพระรัศมี ณ บวรพุทธอาศน์

ที่เขาปูลาดถวาย ประดุจพระอาทิตย์อ่อนๆ ฉะนั้น ลำดับนั้น ภิกษุ
ทั้งหลายทูลถามพระศาสดาว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ปราสาทนี้พระ-
ภัททชิเถระครอบครองอยู่ในกาลไร ? พระศาสดาตรัสว่า ในกาลเป็น
พระเจ้ามหาปนาทราช แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหรัฐ ได้มีพระราชาพระ-
นามว่า สุรุจิ. แม้พระโอรสของพระองค์ก็มีนามว่า สุรุจิ เหมือนกัน.
แต่พระโอรสของพระเจ้าสุรุจินั้น ได้มีพระนามว่า มหาปนาท. พระ-
ราชาทั้ง ๓ พระองค์นั้น ได้ครอบครองปราสาทนี้. ก็บุรพกรรมที่จะ
ได้ครอบครองปราสาทนั้นมีว่า บิดาและบุตรทั้งสองได้สร้างบรรณ-

ศาลาเป็นที่อยู่ของพระปัจเจกพุทธเจ้า ด้วยไม้อ้อและไม้มะเดื่อ. เรื่อง
อดีตทั้งหมดในชาดกนี้ จักมีแล้วในสุรุจิชาดก ในปกิณณกนิบาต.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วเป็นผู้ตรัสรู้ยิ่ง
แล้วได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

พระเจ้ามหาปนาทนั้น มีปราสาทล้วน
แล้วด้วยทอง กว้าง ๑๖ ชั่วธนูตก สูง ๑
พันชั่วธนูตก. และปราสาทนั้น มีพื้น ๗ ชั้น
ประดับด้วยธงอันล้วนแล้วด้วยสีเขียว มีนาง
ฟ้อนรำ ๖ พันคน แบ่งออกเป็น ๗ พวก

ฟ้อนรำอยู่ในปราสาทนั้น ดูก่อนภัททชิ เธอ
กล่าวถึงปราสาทนั้น ซึ่งมีแล้วในกาลนั้น
ในครั้งนั้น เราเป็นท้าวสักกะ ผู้รับใช้การงาน
ของเธอ.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยูโป แปลว่า ปราสาท. บทว่า ติริยํ
โสฬสุพฺเพโธ ความว่า โดยความกว้าง ได้มีความกว้าง ๑๖ ชั่วลูกศร
ตก. บทว่า อุจฺจมาหุ สหสฺสธา ความว่า โดยส่วนสูง ท่านกล่าว
ถึงความสูงประมาณระยะวิ่งไปของลูกศรชั่วพันลูก คือสูงประมาณ

๒๕ โยชน์ โดยการนับระยะวิ่งไปของลูกศรชั่วพันลูก ส่วนความกว้าง
ของปราสาทนั้น ประมาณกึ่งโยชน์. บทว่า สหสฺสกณฺโฑ สตฺต-
เคณฺฑุ ความว่า ก็ปราสาทสูง ๑ พันชั่วลูกศรนี้นั้น มีชั้น ๗ ชั้น.
บทว่า ธชาลุ แปลว่า พร้อมด้วยธง. บทว่า หริตามโย
ได้แก่ ขลิบด้วยแก้วมณีเขียว. ส่วนในอรรถกถามีปาฐะว่า สหาลู

หริตามโย ดังนี้ก็มี. อธิบายความปาฐะนั้นว่า ประกอบด้วยบาน
ประตูและหน้าต่าง อันล้วนแล้วด้วยแก้วมณีเขียว. ได้ยินว่า บทว่า
สห เป็นชื่อของบานประตูและหน้าต่าง. บทว่า คนฺธพฺพา ได้แก่
นางฟ้อนรำ. บทว่า ฉ สหสฺสานิ สตฺตธา ความว่า นางฟ้อนรำ
๖ พันคน แบ่งเป็น ๗ พวก ฟ้อนรำอยู่ในที่ทั้ง ๗ แห่งของปราสาท

นั้น เพื่อต้องการเพิ่มพูนความยินดีแก่พระราชา. นักฟ้อนรำเหล่านั้น
แม้จะฟ้อนรำและขับร้องอยู่อย่างนี้ ก็ไม่อาจให้พระราชาร่าเริงพระทัย.
ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงส่งการฟ้อนรำของเทพให้ไปแสดงการ
เล่นมหรสพ. คราวนั้น พระเจ้ามหาปนาททรงร่าเริง. บทว่า ยถา
ภาสสิ ภทฺทชิ ความว่า ก็เมื่อพระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ

ปราสาทที่เธออยู่ครอบครองในคราวเป็นพระเจ้ามหาปนาท อยู่ที่ไหน
พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ตรงที่นี้ พระเจ้าข้า ได้เป็นอัน
กล่าวความที่ปราสาทนั้นบังเกิดแล้วเพื่อประโยชน์แก่ตน และความ
ที่ตนเป็นพระเจ้ามหาปนาทในครั้งนั้น. พระศาสดาทรงถือเอาคำกล่าว
นั้นจึงตรัสว่า ดูก่อนภัททชิ เธอกล่าวโดยประการใด ดังนี้. ด้วย

บทว่า เอวเมตํ ตทา อาสิ นี้ พระศาสดาตรัสว่า ข้อที่กล่าว
อย่างนั้นได้มีแล้วโดยประการนั้นนั่นแหละ ในครั้งนั้น เราได้เป็น
ท้าวสักกะ จอมเทวดาผู้รับใช้การงานของเธอในกาลนั้น.ขณะนั้นภิกษุ
ปุถุชนทั้งหลาย ได้เป็นผู้หมดความเคลือบแคลงสงสัย.

พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
ชุมชาดกว่า พระเจ้ามหาปนาท ในครั้งนั้น ได้เป็นพระภัททชิใน
บัดนี้ ส่วนท้าวสักกะ คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาปนาทชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุผู้สละความเพียรรูปหนึ่ง จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิสฺวา
ขุรปฺเป ดังนี้

ความว่า พระศาสดาทรงตรัสกะภิกษุนั้นผู้ถูกนำมาในโรง-
ธรรมสภาว่า ได้ยินว่า เธอสละความเพียรจริงหรือ เมื่อภิกษุนั้น
กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุเธอบวชใน
ศาสนาอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์อย่างนี้ เพราะเหตุไรจึงละความ
เพียรเสีย โบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ย่อมไม่สละความเพียร แม้ใน
ฐานะไม่เป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมา
สาธก ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลผู้รักษาดงแห่งหนึ่ง พอ
เจริญวัยมีบุรุษ ๕๐๐ เป็นบริวาร เป็นหัวหน้าคนทั้งปวง ในบรรดา
คนผู้รักษาดง สำเร็จการอยู่ในบ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง. ก็หัวหน้าผู้
รักษาดงนั้นรับจ้างพาพวกมนุษย์ให้ข้ามดง. ครั้นวันหนึ่ง บุตรพ่อค้า

ชาวเมืองพาราณสีกับเกวียน ๕๐๐ เล่ม มาถึงบ้านนั้น เรียกหัวหน้า
ผู้รักษาดงนั้นมาพูดว่า ดูก่อนสหาย ท่านจงรับทรัพย์ ๑,๐๐๐ แล้ว
พาเราให้ข้ามพ้นดง เขารับคำแล้วถือเอาทรัพย์ ๑,๐๐๐ จากมือของ
บุตรพ่อค้านั้น เมื่อรับค่าจ้างอย่างนี้ จะต้องสละชีวิตเพื่อบุตรพ่อค้า

นั้น. เขาพาบุตรพ่อค้านั้นเข้าดง. พวกโจร ๕๐๐ ซุ่มอยู่กลางดง.
บุรุษที่เหลือพอแลเห็นพวกโจรเท่านั้นพากันนอนราบ. หัวหน้าผู้
อารักขาคนเดียวเท่านั้นเปล่งสีหนาทวิ่งเข้าประหัตประหารให้พวกโจร
๕๐๐ หนีไป. ให้บุตรพ่อค้าข้ามพ้นทางกันดารโดยปลอดภัย. ฝ่าย

บุตรพ่อค้าให้หมู่เกวียนพักอยู่ในที่ห่างไกลทางกันดารแล้ว ให้หัวหน้า
ผู้อารักขาบริโภคโภชนะมีรสเลิศต่างๆ ส่วนตนเองบริโภคอาหารเช้า


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แล้วนั่งสบาย เจรจาอยู่กับหัวหน้าผู้อารักขานั้น เมื่อจะถามว่า ดูก่อน
สหาย ในเวลาที่พวกโจรผู้ร้ายกาจเห็นปานนั้นจับอาวุธกรูเข้ามา
เพราะเหตุไรหนอ แม้ความสดุ้งตกใจกลัวก็ไม่เกิดขึ้น จึงกล่าวคาถา
ที่ ๑ ว่า :-

เมื่อท่านเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอัน
แหลมคม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดด้วยน้ำมัน
เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว เหตุไฉน
หนอ ท่านจึงไม่มีความครั่นคร้าม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ธนุเวคนุณฺเณ ได้แก่ ยิงไป
ด้วยกำลังลูกธนู. บทว่า ขคฺเค คหิเต ได้แก่ ถือดาบด้ามงาอย่าง
กระชับ. บทว่า มรเณ วิรุฬฺเห ได้แก่ เมื่อความตายปรากฏ.
บทว่า กสฺมา นุ เต นาหุ ความว่า เพราะเหตุไรหนอ ท่าน

จึงไม่มีความสดุ้งตกใจ. บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ ได้แก่ ตัวสั่น.
หัวหน้าผู้ทำหน้าที่อารักขาได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒
คาถานอกนี้ว่า :-

เมื่อเราเห็นพวกโจรยิงลูกธนูอัน
แหลมคม ถือดาบอันคมกล้าซึ่งขัดแล้วด้วย
น้ำมัน เมื่อมรณภัยปรากฏเฉพาะหน้าแล้ว
เรากลับได้ความยินดีและความโสมนัสมาก
ยิ่ง. เรานั้นเกิดความยินดีและโสมนัสแล้ว
ก็ครอบงำศัตรูทั้งหลายเสียได้ เพราะว่าชีวิต

ของเรา เราได้สละมาแต่ก่อนแล้ว ก็บุคคล
ผู้กล้าหาญ เมื่อทำความอาลัยในชีวิตอยู่ จะ
พึงกระทำกิจของคนผู้กล้าหาญในกาลบาง
คราวหาได้ไม่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เวทํ อลตฺถํ คือกลับได้ความ
ยินดีและโสมนัส. บทว่า วิปุลํ แปลว่า มาก. บทว่า อุฬารํ
แปลว่า ยิ่ง. บทว่า อชฺฌภวึ ได้แก่ บริจาคชีวิตครอบงำแล้ว
บทว่า ปุพฺเพว เม ชีวิตมาสิ จตฺตํ ความว่า เพราะว่าเราเมื่อ

รับค่าจ้างจากมือของท่านในตอนก่อนนั่นแล ได้สละชีวิตแล้ว. บทว่า
น หิ ชีวิเต อาลยํ กุพฺพมาโน ความว่า บุคคลผู้กล้าหาญ เมื่อ
ยังกระทำเสน่หา ความยินดีในชีวิตอยู่ จะพึงทำกิจของผู้กล้าหาญ
แม้ในกาลบางคราว หาได้ไม่.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
หัวหน้าผู้ทำหน้าที่อารักขานั้น ทำบุตรของพ่อค้าให้รู้ว่าตนได้
ทำกิจของคนกล้าหาญแล้ว เพราะได้สละความยินดีในชีวิตซึ่งสละให้
ไว้ในอำนาจของคนอื่น ได้ส่งบุตรพ่อค้าไปแล้ว กลับมายังบ้านของ
ตนตามเดิม ทำบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ไปตามยถากรรมแล้ว.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจจะแล้วทรงประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้สละความเพียร
ดำรงอยู่ในพระอรหัต. ก็หัวหน้าคนทำการอารักขาในกาลนั้น คือ
เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาขุรัปปชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 07:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
กฎุมพีคนหนึ่งในพระนครสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า
เยนาสิ กีสิยา ปณฺฑุ ดังนี้

ได้ยินว่า หญิงคนหนึ่งในเมืองสาวัตถี เห็นกฎุมพีรูปงาม
คนหนึ่ง ได้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่. ไฟคือกิเลสเกิดขึ้นภายในของนาง
ประดุจเผาร่างกายทั้งสิ้น. นางไม่ได้รับความยินดีเพลิดเพลินทางกาย
และทางใจเลย แม้อาหารนางก็ไม่ชอบใจ นอนเกาะแม่แคร่เตียง

อย่างเดียว. ลำดับนั้น หญิงผู้รับใช้และหญิงสหาย ได้ถามนางว่า
เพราะเหตุไรหนอ เธอจึงมีจิตซัดส่ายนอนเกาะแม่แคร่เตียง เธอไม่มี
ความผาสุกอะไรหรือ? นางอันพวกเพื่อนหญิงไม่ได้กล่าวครั้ง
เดียว สองครั้ง กล่าวบ่อยๆ จึงได้บอกเนื้อความนั้น แก่เพื่อนหญิง
เหล่านั้น. ลำดับนั้น เพื่อนหญิงเหล่านั้นจึงปลอบโยนนางให้เบาใจ

แล้วกล่าวว่า นางผู้เจริญ เธออย่าเสียใจเลย พวกเราจักนำกฎุมพี
มาให้ แล้วไปปรึกษากับกฎุมพี. กฎุมพีนั้นปฏิเสธ เมื่อพวกหญิง
เหล่านั้นพูดจาบ่อยเข้าจึงรับคำ. หญิงเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงมาใน
วันโน้นเวลาโน้น ดังนี้ ให้กฎุมพีรับคำปฏิญญาแล้ว จึงไปบอกให้

หญิงนั้นทราบ. หญิงนั้นเมื่อได้ฟังข่าวจึงจัดแจงห้องนอนของตน
แต่งตัวแล้วนั่งบนที่นอน เมื่อกฎุมพีนั้นมานั่ง ณ ส่วนหนึ่งของ
ที่นอน จึงคิดว่า ถ้าเราไม่ทำให้หนักแน่นต่อเขาไว้ ให้โอกาสเสีย
แต่เดี๋ยวนี้ ความเป็นใหญ่ของเราก็จักเสื่อมไป ชื่อว่าการให้โอกาส

ในวันที่เขามาถึงทีเดียว มิใช่เหตุอันควร วันนี้เราทำให้เขาเก้อ ใน
วันอื่น จึงจักให้โอกาส. ลำดับนั้น นางจูงมือเขาผู้ปรารภ จะหยอกล้อ
เล่นด้วยการจับมือเป็นต้น แล้วฉุดออกมาพร้อมกับพูดว่า หลีกไป
หลีกไป เราไม่ต้องการท่าน. กฎุมพีนั้นจึงหยุดชงัก ละอายใจลุกขึ้น

ไปบ้านของตนเลยทีเดียว. หญิงนอกนี้รู้ว่า หญิงนั้นกระทำอย่างนั้น
เมื่อกฎุมพีออกไปแล้ว จึงเข้าไปหาหญิงนั้นพากันพูดอย่างนี้ว่า เธอมี
จิตปฏิพัทธ์กฎุมพีนั้น ถึงกับห้ามอาหารนอนอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้น


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พวกเราอ้อนวอนเธอบ่อย ๆ แล้วนำเขามาให้ เพราะเหตุไร จึงไม่ให้
โอกาสแก่เขา. นางจึงบอกความมุ่งหมายอันนั้นให้ทราบ. หญิงเหล่า
นั้นกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเจ้าจักปรากฏผลในวันหน้า แล้วพากันหลีก
ไปเสีย. กฎุมพีก็ไม่หันกลับมามองดูอีก. หญิงนั้นเมื่อไม่ได้กฎุมพีนั้น
ก็ซูบซีดอดอาหาร ถึงความสิ้นชีวิตไปในที่นั้นเอง. กฎุมพีได้ฟังว่า

หญิงนั้นตายแล้ว จึงถือดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมาก
ไปยังพระวิหารเชตวัน บูชาพระศาสดา ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ส่วน
สุดข้างหนึ่ง และถูกพระศาสดาตรัสถามว่า อุบาสก เพราะเหตุไรหนอ
ท่านจึงหายหน้าไปไม่ปรากฏ ? จึงกราบทูลเรื่องนั้นให้ทรงทราบแล้ว

กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ละอายใจ ตลอดกาล
ประมาณเท่านี้ จึงไม่ได้มาสู่ที่พุทธอุปัฏฐาก. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อน
อุบาสก หญิงนั้นให้เรียกท่านมาด้วยอำนาจของกิเลส ครั้นในเวลา
ท่านมาแล้ว ไม่ให้โอกาส ทำให้ท่านได้อาย มิใช่บัดนี้เท่านั้น ก็แม้

ในกาลก่อน นางมีจิตปฏิพัทธ์แม้ในบัณฑิตทั้งหลาย ให้เรียกมาแล้ว
ครั้นในเวลามาถึงไม่ให้โอกาส ทำให้ลำบากถ่ายเดียวแล้วส่งไป อัน
กฎุมพีนั้นทูลอ้อนวอนแล้ว จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดัง
ต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในพระ-
นครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลม้าสินธพ ได้ชื่อว่าวาตัคค-
สินธพ ได้เป็นม้ามงคลของพระเจ้าพรหมทัตนั้น. คนผู้ดูแลม้า พา
ม้าสินธพนั้นไปอาบน้ำในแม่น้ำคงคา. ครั้งนั้น นางม้าชื่อว่าภัททลี

ได้เห็นม้าสินธพนั้นมีจิตปฏิพัทธ์ สั่นด้วยอำนาจกิเลส ไม่กินหญ้า
ไม่ดื่มน้ำ ซูบซีด ผอมได้มีสักแต่ว่าหนังหุ้มกระดูก. ลำดับนั้น ลูกม้า
เห็นแม่ม้านั้นซูบผอมจึงถามว่า แม่ เพราะเหตุไรหนอ แม่จึงไม่กิน
หญ้า ไม่ดื่มน้ำ ซูบซีด นอนสั่นอยู่ในที่นั้น ๆ แม่ไม่มีผาสุกอะไรหรือ ?

นางม้านั้นไม่บอก เมื่อถูกถามบ่อย ๆ เข้า จึงได้บอกเนื้อความนั้น
ลำดับนั้นลูกม้าจึงปลอบโยนแม่ม้าให้เบาใจแล้วกล่าวว่า แม่อย่าเสียใจ
ฉันจักนำม้าสินธพนั้นมาแสดง ครั้นในเวลาที่ม้าวาตัคคสินธพมา


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 16 ธ.ค. 2018, 10:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อาบน้ำ จึงเข้าไปหาแล้วกล่าวว่า ข้าแต่พ่อ มารดาของข้าพเจ้ามีจิต
ปฏิพัทธ์ในตัวท่าน อดอาหารซูบซีดจักตาย ขอท่านจงให้ทานชีวิต
แก่มารดาของข้าพเจ้าด้วยเถิด. วาตัคคสินธพกล่าวว่า ดีละพ่อ เรา
จักให้พวกคนเลี้ยงม้าให้เราอาบน้ำแล้ว จะปล่อยเพื่อให้เที่ยวหาอาหาร
กินที่ฝั่งแม่น้ำคงคาสักพักหนึ่ง เจ้าจงพามารดามายังประเทศนั้นเถิด.

ลูกม้านั้นไปพามารดามาแล้วปล่อยไว้ในประเทศที่นั้น แล้วได้ยืนอยู่
ในที่มิดชิด ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ฝ่ายคนเลี้ยงม้าทั้งหลายได้ปล่อยวาตัคค-
สินธพไว้ในที่นั้น. วาตัคคสินธพนั้นแลเห็นนางม้าจึงเข้าไปหา. ลำดับ
นั้น นางม้านั้น เมื่อม้าวาตัคคสินธพเข้าไปเสียดสีกายตนอยู่ จึงคิดว่า

ถ้าเราไม่หนักแน่นให้โอกาสแก่เขาในขณะที่มาถึงทีเดียว เมื่อเป็น
เช่นนั้น ยศและความเป็นใหญ่ของเราจักเสื่อมเสียไป เราควรจะทำ
เป็นเหมือนไม่ปรารถนาเถิด แล้วจึงเอาเท้าดีดลูกคางม้าสินธพแล้ว
หนีไป. ทันใดนั้น ได้เป็นเหมือนเวลาที่รากฟันทำลายล่วงไป. วาตัคค-

สินธพคิดว่า เราจะประโยชน์อะไรกับอีม้าตัวนี้ เป็นผู้มีความละอายใจ
หนีไปจากที่นั้นทันที. นางม้านั้นมีความวิปฏิสาร ล้มลงในที่นั้นเอง
นอนเศร้าโศกอยู่. ลำดับนั้น ลูกม้าได้เข้าไปหานางม้าผู้มารดา เมื่อ
จะถามจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

คุณแม่เป็นโรคผอมเหลือง ไม่ชอบ
ใจอาหาร เพราะม้าตัวใดเป็นเหตุให้มีจิต
ปฏิพัทธ์ ม้าตัวนั้นก็มาคบหาสมาคมแล้ว
เพราะเหตุไร คุณแม่จึงให้ม้าตัวนั้นหนีไป
เสียในบัดนี้เล่า
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เยนาสิ ความว่า เพราะม้าตัวใด
เป็นเหตุให้มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่.
นางม้าได้ฟังคำลูก จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 71, 72, 73, 74, 75, 76, 77 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร