วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 05:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 68, 69, 70, 71, 72, 73, 74 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภุตฺวา ติณปริฆาสํ ความว่า
เมื่อก่อน ท่านกินหญ้าที่เป็นเดน คือเดนหญ้าที่เหลือจากม้าทั้งหลาย
นั้นๆ กิน ที่หญิงชราให้จนเติบโต. ในบทว่า ภุตฺวา อาจามกุณฺฑกํ
นี้ ข้าวสุกสุดท้ายที่ติดก้นหม้อ เรียกว่าข้าวตัง รำนั่นแหละ

เรียกว่ากุณฑกะ. ท่านแสดงว่า ท่านกินข้าวตังและรำนั่นจนเติบโต.
บทว่า เอตํ เต ความว่า ข้าวตังและรำนั่นเป็นโภชนะของท่านใน
กาลก่อน. บทว่า กสฺมาทานิ น ภุญฺชสิ ความว่า เพราะเหตุไร
บัดนี้ ท่านจึงไม่กินข้าวตังและรำนั้น.

ลูกม้าสินธพได้ฟังดังนั้น จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา นอกนี้ว่า :-
ข้าแต่ท่านมหาพราหมณ์ ในที่ใดชน
ทั้งหลายไม่รู้จักสัตว์เลี้ยง โดยชาติ หรือ
โดยวินัย ในที่นั้น รำและข้าวตังมีอยู่เป็น
อันมาก. ท่านก็รู้จักข้าพเจ้าดีแล้วว่า ม้าตัว
นี้เป็นม้าสูงส่งเพียงไร ข้าพเจ้ารู้สึกตัว เพราะ
อาศัยท่านผู้รู้ จึงไม่บริโภครำของท่าน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยตฺถ แปลว่า ในที่ใด. บทว่า
โปสํ แปลว่า สัตว์. บทว่า ชาติยา วินเยน วา ความว่า
ชนทั้งหลายย่อมรู้อย่างนี้ว่า ม้าตัวนี้สมบูรณ์ด้วยชาติหรือไม่ หรือ
ว่าประกอบด้วยมารยาทหรือไม่. ม้าสินธพเมื่อจะเรียกจึงกล่าวการ

เรียกอย่างเคารพว่า ข้าแต่ท่านมหาพราหณ์. บทว่า ยาทิโสยํ ตัด
เป็น ยาทิโส อยํ แปลว่า ม้านี้เป็นม้าเช่นใด. ม้าสินธพกล่าว
หมายถึงตน. บทว่า ชานนฺโต ชานมาคมฺม ความว่า ข้าพเจ้า
รู้กำลังของตน เพราะอาศัยท่านผู้รู้อยู่นั่นแหละ จึงไม่กินรำใน
สำนักของท่าน ก็ท่านให้ทรัพย์ ๖ พันแล้วพาเอาข้าพเจ้ามา เพราะ
ประสงค์จะให้กินรำ ก็หามิได้.

พระโพธิสัตว์ได้ฟังดังนั้น จึงปลอบโยนลูกม้าสินธพนั้นว่า
เราทำดังนั้นเพื่อจะทดลองเจ้าอย่าโกรธเลย แล้วให้บริโภคโภชนะดี
พาไปพระลานหลวง กันม้า ๕๐๐ ตัวไว้ด้านหนึ่ง อีกด้านหนึ่ง แวดวง
ด้วยม่านอันวิจิตร ลาดเครื่องลาดข้างล่าง เบื้องบนดาดเพดานผ้า
ให้ลูกม้าสินธพยืนอยู่ในนั้น. พระราชาเสด็จมาทอดพระเนตรดู

ฝูงม้าตรัสถามว่า เหตุไฉน ม้าตัวนี้จึงแยกไว้ต่างหาก ได้ทรง
สดับว่า ม้าตัวนี้เป็นม้าสินธพ ถ้าไม่แยกไว้ในฝูงม้าเหล่านี้ก็จักหลุด
หนีไป จึงตรัสถามว่า พ่อมหาจำเริญ ม้าสินธพงดงามว่องไวหรือ ?
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า งดงามว่องไวดี พระเจ้าข้า. เมื่อพระองค์

ตรัสว่า ถ้าอย่างนั้นเราจะดูความว่องไวของม้าสินธพตัวนี้ จึงผูกม้า
นั้นแล้วขึ้นขี่ พลางกราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทอด

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 18:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระเนตร แล้วให้พวกมนุษย์หลีกออกไปแล้วควบขับไปในพระลาน
หลวง พระลานหลวงทั้งหมดได้เป็นเหมือนแถวม้าติดกันไปหมด.
พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะ ขอพระองค์โปรดทอดพระเนตร
กำลังเร็วของลูกม้าสินธพพระเจ้าข้า แล้วปล่อยออกไปอีก แม้คน
สักคนหนึ่งก็แลไม่เห็นลูกม้าสินธพนั้น. จึงเอาแผ่นผ้าแดงผูกที่ท้อง

แล้วปล่อยออกไปอีก. พวกมหาชนเห็นแต่แผ่นผ้าแดงที่เขาผูกไว้ที่
ท้องของลูกม้าสินธพนั้นเท่านั้น. ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์จึงปล่อยม้า
สินธพนั้นบนหลังน้ำในสระโบกขรณีแห่งหนึ่ง ภายในพระนคร. เมื่อ
ม้าสินธพนั้นวิ่งไปบนหลังพื้นน้ำในสระโบกขรณีนั้น แม้แต่ปลายกีบ

ก็ไม่เปียก เมื่อวิ่งควบไปบนใบบัวอีกครั้งหนึ่ง แม้ใบบัวสักใบหนึ่ง
ก็มิได้จมลงในน้ำ. พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงสมบัติแห่งความรวดเร็ว
ของลูกม้าสินธพนั้นอย่างนี้แล้ว จึงลง ปรบมือยื่นฝ่ามือเข้าไป. ม้า
กระโดดขึ้นไปยืนบนฝ่ามือ กระทำเท้าทั้งสี่ให้รวมอยู่ในที่เดียวกัน.

ลำดับนั้น มหาสัตว์กราบทูลพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อข้า-
พระองค์แสดงกำลังเร็วของอัศวโปดกตัวนี้โดยอาการทุกอย่าง เมื่อ
จะทรงเก็บไว้ในแว่นแคว้นอันมีสมุทรเป็นขอบเขต ก็ย่อมไม่เพียงพอ
ที่จะเก็บไว้. พระราชาทรงดีพระทัย ได้ประทานตำแหน่งอุปราช

แก่พระมหาสัตว์ ได้อภิเษกลูกม้าสินธพแล้วตั้งให้เป็นม้ามิ่งมงคล.
ลูกม้าสินธพนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระราชา. แม้สัก-
การะก็ได้มีเป็นอันมากแก่ลูกม้าสินธพนั้น. แม้ที่อยู่ของลูกม้าสินธพ
นั้น ได้เป็นดุจห้องเรือนอบที่พระราชาทรงตกแต่งประดับประดาไว้

ได้ทำการฉาบทาพื้นด้วยความหอมมีชาติ ๔ ให้ห้อยพวงของหอมและ
พวงดอกไม้ เบื้องบนมีเพดานผ้าวิจิตรงดงามด้วยดาวทอง. ได้แวดวง
ม่านอันวิจิตรไว้รอบด้าน. ตามประทีปน้ำมันหอมไว้เป็นนิตย์. ให้
ตั้งกระถางทองไว้ในที่ที่ลูกม้าสินธพนั้นถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บริโภค

โภชนะของเสวยสำหรับพระราชาเป็นนิตย์ทีเดียว. จำเดิมแต่ลูกม้า
สินธพนั้นมาอยู่ ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์
ของพระราชาทั้งนั้น. พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิ-
สัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากได้เป็น
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี. หญิงชราในกาล
นั้น ได้เป็นหญิงชราคนนี้แหละ. ม้าสินธพในกาลนั้น ได้เป็น
พระสารีบุตร. พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนพ่อค้าม้า คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่งผู้มรณภาพเพราะฉันมากเกินไปจนอาหารไม่ย่อย จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาว โส มตฺตมญฺาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพไปอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันถึงโทษมิใช่คุณของภิกษุรูปนั้นในโรงธรรมสภาว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุโน้นไม่รู้ประมาณท้องของตน บริโภคมากเกินไป
ไม่สามารถทำอาหารให้ย่อยจึงมรณภาพ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถาม
ว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง

อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ตายเพราะ
บริโภคมากเป็นปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกแขกเต้าในประเทศหิม-
พานต์ ได้เป็นพระยาของนกแขกเต้าหลายพัน อยู่ในหิมวันตประเทศ
อันเลียบไปตามมหาสมุทร. พระโพธิสัตว์นั้นมีลูกอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อ
ลูกนกนั้นเจริญวัย พระโพธิสัตว์ก็มีจักษุทุรพล. ได้ยินว่า นกแขกเต้า

ทั้งหลายมีกำลังบินเร็ว ด้วยเหตุนั้นในเวลานกแขกเต้าเหล่านั้นแก่
ตัวลง จักษุนั่นแลจึงทุรพลไปก่อน ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น ให้บิดา
มารดาอยู่เฉพาะในรัง แล้วนำอาหารมาเลี้ยงดู. วันหนึ่ง ลูกนก
แขกเต้านั้นไปยังที่หากินแล้วจับอยู่บนยอดเขา มองดูสมุทรเห็นเกาะๆ
หนึ่ง. ก็ที่เกาะนั้น มีป่ามะม่วง มีผลหวาน มีสีเหมือนทอง. วัน

รุ่งขึ้น ได้เวลาหากิน ลูกนกแขกเต้านั้นบินไปลงที่ป่ามะม่วงนั้น
ดื่มรสมะม่วงแล้วได้คาบเอาผลมะม่วงสุกมาให้บิดามารดา พระโพธิ-
สัตว์กินผลมะม่วงนั้นแล้วจำรสได้จึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย นี้ผลมะม่วงสุก
ในเกาะโน้นมิใช่หรือ เมื่อลูกนกแขกเต้ารับว่าใช่จ้ะพ่อ จึงกล่าวว่า

ลูกเอ๋ย พวกนกแขกเต้าที่ไปยังเกาะนั้น ชื่อว่าจะรักษาอายุให้ยืนยาว
ได้ไม่มีเลย เจ้าอย่าได้ไปยังเกาะนั้นอีกเลย. ลูกนกแขกเต้านั้นไม่เชื่อ
คำของพระโพธิสัตว์นั้น คงไปอยู่อย่างนั้น. ครั้นวันหนึ่ง ลูกนก

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 18:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แขกเต้าดื่มรสมะม่วงเป็นอันมากแล้วคาบเอามะม่วงสุกมาเพื่อบิดา
มารดาเมื่อบินมาถึงกลางมหาสมุทร เพราะบินเร็วเกินไป ร่างกายก็
เหน็จเหนื่อยถูกความง่วงครอบงำ ทั้งที่หลับอยู่ก็ยังบินมาอยู่นั่นแหละ.
ส่วนมะม่วงสุกที่คาบมาด้วยจงอยปากก็หลุดล่วงไป. ลูกนกแขกเต้า
นั้นได้ละทางที่เคยมาเสียโดยลำดับ จึงตกลงในน้ำ เขาลอยมาตาม
พื้นน้ำจึงจมลงในน้ำ. ทีนั้น ปลาตัวหนึ่งคาบลูกนกแขกเต้านั้น

กินเสีย. เมื่อลูกนกแขกเต้านั้นไม่มาตามเวลาที่เคยมา พระโพธิสัตว์
ก็รู้ได้ว่า เห็นจะตกมหาสมุทรตายเสียแล้ว. ครั้งนั้น เมื่อบิดามารดา
ของเขาไม่ได้อาหารจึงซูบผอมตายไป.

พระศาสดาครั้นทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรงเป็นผู้
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณใน
การบริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุ และ
ได้เลี้ยงดูบิดามารดาอยู่เพียงนั้น. อนึ่ง ใน
กาลใด ลูกนกแขกเต้านั้นกลืนกินโภชนะ
มากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้ชื่อว่าไม่รู้จัก
ประมาณในการบริโภค จึงจมลงในมหาสมุทร

นั่นเอง. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้ประมาณ
ความไม่หลงติดในโภชนะเป็นความดี. ด้วย
ว่า บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงใน
อบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมาณเท่านั้น
ย่อมไม่จมลงในอบาย ๔.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว โส ความว่า นกนั้นได้รู้
ประมาณในโภชนะอยู่เพียงใด. บทว่า ตาว อทฺธานมาปาทิ
ความว่า ให้ถึงความเป็นอยู่นาน คือได้อายุ ตลอดกาลเพียงนั้น.
บทว่า มาตรญฺจ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า ได้เลี้ยงดู
บิดามารดา. บทว่า ยโต จ โข แปลว่า ก็ในกาลใดแล. บทว่า

โภชนํ อชฺฌวาหริ ความว่า กลืนกินรสมะม่วง. บทว่า ตโต
แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า ตตฺเถว สํสีทิ ความว่า จมลง คือ
ดำลงในสมุทรนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นอาหารของปลา. บทว่า
ตสฺมา มตฺตญฺุตา สาธุ ความว่า เพราะเหตุที่นกแขกเต้าไม่รู้

ประมาณในโภชนะ จึงตกมหาสมุทรตาย เพราะฉะนั้น ความเป็น
ผู้รู้จักประมาณ กล่าวคือความเป็นผู้ไม่ติดในโภชนะเป็นความดี

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 18:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อธิบายว่า การรู้ประมาณเป็นความดี. อีกอย่างหนึ่งแม้ความเป็นผู้รู้
ประมาณก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณา
โดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ
ด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-

ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้งไม่
ควรให้อิ่มเกินไป เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จัก
ประมาณในอาหาร มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่
๔-๕ คำ ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำ
แทน เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่าง
ผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น. เวทนา
ของภิกษุนั้นผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา ผู้
ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณ ย่อมเป็นเวทนา
ที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไป
เลี้ยงอายุ

แม้ความเป็นผู้ไม่ติดก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่าง
นี้ว่า :-
บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหาร
เพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไปเหมือน.
บริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร เหมือนใช้
น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น.

แต่ในบาลีท่านเขียนว่า อคิทฺธิตา ปาฐะในอรรถกถานี้ไพเราะ
กว่าพระบาลีนั้น. บทว่า อมตฺตญฺญู หิ สีทนฺติ ความว่า ด้วยว่า
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ กระทำกรรมอันลามกด้วยอำนาจ
ความอยากในรส ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔ . บทว่า มตฺตญฺญูว

น สีทเร ความว่า ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะ
ชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้งในทิฏฐธรรม ทั้งในสัมปรายภพ.

พระศาสดาครั้นทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ แล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ชนเป็น
อันมากได้เป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง
พระอรหันต์บ้าง. ภิกษุผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะได้เป็นลูกของพระยา
นกแขกเต้าในกาลนั้น ส่วนพระยานกแขกเต้า. คือเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุกชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 18:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ชรูทปานํ
ขณมานา ดังนี้

ได้ยินว่า พ่อค้าเหล่านั้นซื้อสินค้าในเมืองสาวัตถีบรรทุกเกวียน
ในเวลาจะไปเพื่อต้องการค้าขาย ได้นิมนต์พระตถาคตมาแล้ว ถวาย
มหาทานรับสรณะตั้งอยู่ในศีล ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายจักเดินทางไกลไปค้าขาย

จำหน่ายสินค้าหมดแล้ว สำเร็จเสร็จการไป ได้กลับมาโดยปลอดภัย
จักถวายบังคมพระองค์อีก ครั้นกราบทูลแล้วก็ออกเดินทางไป. พ่อค้า
เหล่านั้น ได้พบบ่อน้ำเก่าในหนทางกันดาร จึงกล่าวกันว่า ในบ่อนี้
ไม่มีน้ำดื่ม และพวกเราก็กระหายน้ำ จักขุดบ่อนั้น ว่าแล้วก็พากัน

ขุดได้เหล็ก โลหะ และแก้วไพฑูรย์โดยลำดับ พ่อค้าเหล่านั้นเป็น
ผู้สันโดษด้วยทรัพย์นั้นเท่านั้น เอารัตนะเหล่านั้นบรรทุกจนเต็ม
เกวียน กลับมาพระนครสาวัตถีโดยปลอดภัย. พ่อค้าเหล่านั้นเก็บ
ทรัพย์ที่ได้มาแล้วคิดกันว่า พวกเราเดินทางสำเร็จเรียบร้อยแล้วจัก

ถวายทาน จึงนิมนต์พระตถาคต ถวายทาน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลถึงเหตุที่ตนได้ทรัพย์แด่พระศาสดา. พระศาสดา
ตรัสว่า ท่านทั้งหลายแลเป็นอุบาสก สันโดษด้วยทรัพย์นั้น จึงได้
ทรัพย์และชีวิต เพราะความเป็นผู้รู้ประมาณ ส่วนพวกเก่าเป็นผู้ไม่

สันโดษ ไม่รู้จักประมาณ ไม่กระทำตามคำของบัณฑิตทั้งหลาย จึง
ถึงความสิ้นชีวิตไป อันพ่อค้าเหล่านั้นอ้อนวอนอาราธนาแล้ว จึงทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพา-
ราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าในนครพาราณสี พอเจริญ
วัยก็ได้เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน พระโพธิสัตว์นั้น ซื้อสินค้าในนคร
พาราณสีบรรทุกเกวียน พาพวกพ่อค้าเป็นอันมากเดินไปทางกันดาร
นั้นเหมือนกัน ได้เห็นบ่อน้ำเหมือนกัน. ณ ที่นั้น พ่อค้าเหล่านั้น

กล่าวกันว่าจักดื่มน้ำ จึงขุดบ่อนั้น ได้ทรัพย์มีแก้วไพฑูรย์เป็นต้น
มากมายโดยลำดับ. พ่อค้าเหล่านั้นได้รัตนะแม้มากมาย ก็ยังไม่สันโดษ
คือยินดีเท่าที่ได้รัตนะนั้น พากันขุดบ่อนั้นหนักยิ่งขึ้นด้วยหมายใจว่า
ในบ่อนี้ จักมีสิ่งแม้อื่นที่ดีกว่ารัตนะแม้นี้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์

จึงกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อค้าทั้งหลายผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าความโลภ
นี้เป็นมูลแห่งความพินาศ พวกท่านได้ทรัพย์มากแล้ว จงสันโดษด้วย
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้เถิด อย่าขุดเกินไปนัก. พ่อค้าเหล่านั้นแม้จะ
ถูกพระโพธิสัตว์ห้ามก็ยังขืนขุดอยู่นั้นแหละ. ก็บ่อน้ำนั้นนาคหวงแหน

ไว้. ลำดับนั้น พระยานาคผู้อยู่ภายใต้บ่อน้ำนั้น เมื่อวิมานของตนถูก
ทำลาย เมื่อก้อนดินและฝุ่นตกใส่ก็โกรธใช้ลมจมูกเป่าพ่อค้าทั้งหมด
ให้ถึงความสิ้นชีวิตไม่มีเหลือ เว้นไว้แต่พระโพธิสัตว์ แล้วออกจาก
นาคพิภพให้เทียมเกวียนบรรทุกรัตนะทั้ง ๗ จนเต็ม ให้พระโพธิสัตว์

นั่งในยานน้อยอันสบาย พวกนาคมาณพขับเกวียนนำพระโพธิสัตว์
ไปยังนครพาราณสี เข้าไปยังเรือนเก็บทรัพย์แล้วก็ไปสู่นาคพิภพ
ของตนตามเดิม. พระโพธิสัตว์จ่ายทรัพย์นั้น กระทำให้ชมพูทวีป
ทั้งสิ้นไม่ต้องไถนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ในเวลาสิ้น
ชีวิตได้ไปเกิดในสวรรค์.


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 19:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้
ยิ่งเอง ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-

พ่อค้าทั้งหลายผู้มีความต้องการน้ำ
พากันขุดบ่อน้ำเก่า ได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง
ดีบุก ตะกั่ว แก้วมณี เงินทอง แก้วมุกดา
และแก้วไพฑูรย์ เป็นอันมาก แต่พ่อค้า
เหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น พากันขุด
ลึกยิ่งขึ้น ๆ ในบ่อน้ำมัน มีพระยานาคมีพิษ
ร้ายแรง มีเดช ได้ฆ่าพ่อค้าเหล่านั้นเสียด้วย

เดชแห่งพิษ. เพราะฉะนั้น บุคคลพึงขุดบ่อ
น้ำเถิด แต่ไม่ควรขุดให้ลึกเกินไป เพราะบ่อ
ที่ขุดลึกเกินไปเป็นของลามก ทรัพย์ที่พวก
พ่อค้าได้แล้วด้วยการขุดก็พินาศไป เพราะ
การขุดลึกเกินไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ ได้แก่ โลหะสีดำ (เหล็ก).
บทว่า โลหํ ได้แก่ โลหะสีแดง (ทองแดง) บทว่า มุตฺตา ได้แก่
แก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า เต จ เตน อสนฺตุฏฺ€า ความว่า ก็พ่อค้า
เหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น. บทว่า เต ตตฺถ ได้แก่ พ่อค้า
เหล่านั้น ในบ่อน้ำนั้น. บทว่า เตชสี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วย

เดชแห่งพิษ. บทว่า เตชสา หนิ ได้แก่ ฆ่าด้วยเดชแห่งพิษ. บทว่า
อติกฺขาเตน นาสิตํ ความว่า เพราะขุดลึกเกินไป ทรัพย์และชีวิต
นั้น จึงพินาศไป.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระยานาคในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้
ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาชรูทปานชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การสรรเสริญปัญญา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นายํ ฆรานํ
กุสโล ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญพระปัญญาของพระทศพล
ในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีพระปัญญามาก
มีพระปัญญาหนา มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาไว มีพระปัญญา
กล้าแข็ง มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ก้าวล่วงโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ด้วยพระปัญญา พระศาสดาเสร็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้

พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็มีปัญญาเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า ชนสันธะ ครองราช-
สมบัติอยู่ในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น. หน้าของพระโพธิสัตว์นั้น เกลี้ยง
เกลา บริสุทธิ์ดุจพื้นแว่นทองคำ ถึงความงามอันเลิศยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น
ในวันตั้งชื่อ ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า อาทาส-

มุขกุมาร. ภายใน ๗ ปีเท่านั้น พระชนกให้กุมารนั้นศึกษาพระเวท
ทั้ง ๓ และสิ่งทั้งปวงที่จะพึงทำในโลก แล้วได้สวรรคตในเวลาที่พระ-
กุมารนั้นมีอายุ ๗ ขวบ อำมาตย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระศพ
ของพระราชาด้วยบริวารใหญ่โต แล้วถวายทานเพื่อผู้ตาย ในวันที่ ๗
ประชุมกันที่พระลานหลวงหารือกันว่า พระกุมารยังเด็กเกินไป ไม่

อาจอภิเษกให้ครองราชย์ได้ พวกเราจักทดลองพระกุมารนั้นแล้วจึง
ค่อยอภิเษก. วันหนึ่งอำมาตย์เหล่านั้นให้ตกแต่งพระนคร จัดแจง
สถานที่วินิจฉัย ให้แต่งตั้งบัลลังก์แล้วไปเฝ้าพระกุมารทูลว่า ขอเดชะ
ควรเสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัย ( ตัดสินความ ) . พระกุมารรับคำแล้ว
เสด็จไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ประทับนั่งบนบัลลังก์. ในเวลาที่พระ-

กุมารนั้นประทับนั่งแล้ว อำมาตย์เหล่านั้นให้เอาลิงตัวหนึ่งซึ่งเดิน ๒
เท้าได้ ให้แต่งเป็นเพศอาจารย์ผู้มีวิชาดูที่ แล้วนำไปยังสถานที่วินิจฉัย-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ความ ทูลว่า ขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นอาจารย์รู้วิชาดูที่ ในสมัยของ
พระชนกผู้มหาราช ย่อมรู้คุณ-โทษในที่มีรัตนะ ๗ ภายในพื้นดิน
ด้วยวิชาอันคล่องแคล่ว สถานที่ตั้งวังของราชตระกูล บุรุษผู้นี้แหละ
จัดการ ขอพระองค์จงสงเคราะห์บุรุษผู้นี้ โปรดสถาปนาไว้ในฐานันดร
เถิด. พระกุมารแลดูลิงนั้นทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนก็ทรงทราบว่า ผู้นี้
ไม่ใช่มนุษย์ ผู้นี้เป็นลิง แล้วทรงดำริว่า ธรรมดาลิงย่อมรู้แต่จะ
ทำลายสิ่งที่เขาทำไว้ ย่อมไม่รู้จะทำหรือจัดสิ่งที่เขายังไม่ได้ทำ จึงกล่าว
คาถาแรกแก่พวกอำมาตย์ว่า :-

สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดที่จะทำเรือนมีปกติ
หลุกหลิก หนังที่หน้าย่น พึงประทุษร้ายของ
ที่เขาทำไว้แล้ว ตระกูลสัตว์นี้ มีอย่างนี้เป็น
ธรรมดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นายํ ฆรานํ กุสโล ความว่า
สัตว์นี้ไม่ฉลาดเรื่องบ้านเรือน คือไม่เฉลียวฉลาดเพื่อจะจัดหรือทำ
เรือน. บทว่า โลโล แปลว่า มีกำเนิดโลเล. บทว่า วลีมุโข
ความว่า ชื่อว่ามีหน้าย่น เพราะมีรอยย่นที่หน้า. บทว่า เอวํธมฺมมิทํ
กุลํ ความว่า ธรรมดาตระกูลลิงนี้ มีสภาวะอย่างนี้คือประทุษร้ายสิ่ง
ที่เขาทำไว้ให้พินาศ.

อำมาตย์ทั้งหลาย ทูลว่า ขอเดชะ จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น
แล้วนำลิงนั้นออกไป พอล่วงไปวันสองวัน ก็ประดับลิงตัวนั้นแหละ
อีกแล้วนำไปยังที่วินิจฉัยอรรถคดี กราบทูลว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็น
อำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดี เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช กระบวนการ
วินิจฉัยของท่านผู้นี้เป็นไปเรียบร้อยดี ควรที่พระองค์จะทรงอนุ-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เคราะห์ท่านผู้นี้ ให้ทำหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีต่อไป. พระกุมารแลดู
แล้วรู้ว่าคนที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์ มีความคิดย่อมไม่มีขนเห็นปานนี้
แม้ผู้นี้คงเป็นลิงที่ไม่มีความคิด จักไม่สามารถทำกิจในการวินิจฉัย
อรรถคดีได้ จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

ขนอย่างนี้ ไม่ใช่ขนของสัตว์ที่มี
ความคิด ลิงตัวนี้จะทำให้ผู้อื่นปลอดโปร่งใจ
ไม่ได้ พระราชบิดาของเราทรงพระนามว่า
ชนสันธะ ได้ตรัสสอนไว้ว่า ธรรมดาลิง
ย่อมไม่รู้จักเหตุอันใดอันหนึ่ง.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิทํ จิตฺตวโต โลมํ ความว่า
ขนหยาบในสรีระของสัตว์นี้ มิได้มีแก่ผู้มีความคิดอันประกอบด้วย
ปัญญาเป็นเครื่องพิจารณา ก็ธรรมดาสัตว์เดรัจฉาน ชื่อว่าไม่มีความคิด
ด้วยความคิดตามปกติย่อมไม่มี. บทว่า นายํ อสฺสาสิโก ความว่า
สัตว์นี้ชื่อว่าทำผู้อื่นให้ปลอดโปร่งใจไม่ได้ เพราะไม่สามารถเป็นที่พึ่ง

อาศัยหรือทำการพร่ำสอนให้ผู้อื่นเบาใจได้. บทว่า มิโค แปลว่า
ลิง. ด้วยบทว่า สตฺถํ เม ชนสนฺเธน นี้ แสดงว่า ข้อนี้ พระเจ้า
ชนสันธะ ผู้พระชนกของเราสอนไว้ คือ ตรัสไว้ ได้แก่ ประทาน
อนุศาสนีไว้อย่างนี้ว่า ธรรมดาลิงย่อมไม่รู้เหตุและมิใช่เหตุ. บทว่า
นายํ กิญฺจิ วิชานติ ความว่า เพราะฉะนั้น ในข้อนี้ พึงตกลงได้ว่า

ธรรมดาว่าวานรนี้ย่อมไม่รู้เหตุการณ์อะไรๆ แต่ในบาลีเขียนไว้ว่า
นายํ กิญฺจิ น ทูสเย แปลว่า ลิงนี้ไม่พึงประทุษร้ายอะไรๆ หามิได้.
คำนั้นไม่มีในอรรถกถา.

อำมาตย์ทั้งหลายได้ฟังพระดำรัส แม้นี้แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
จักเป็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วนำลิงนั้นออกไป วันหนึ่ง ประดับ
ประดาลิงตัวนั้นแหละ แล้วนำมายังสถานที่วินิจฉัยอรรถคดีอีก
กราบทูลว่า ขอเดชะ เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช บุรุษผู้นี้ได้บำเพ็ญ
หน้าที่บำรุงบิดามารดา เป็นผู้กระทำความอ่อนน้อมต่อผู้เจริญใน

ตระกูล พระองค์สมควรอนุเคราะห์บุรุษผู้นี้. พระกุมารมองดูลิง
ตัวนั้นอีกแล้วทรงดำริว่า ธรรมดาลิงทั้งหลายมีจิตใจกลับกลอก ไม่
สามารถทำการงานเห็นปานนี้ได้ จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
สัตว์เช่นนั้น จะพึงเลี้ยงดู บิดามารดา
หรือพี่ชายพี่สาวของตนไม่ได้ คำสอนนี้
พระเจ้าทศรถผู้ชนกของเราสั่งสอนไว้.

บรรดาบทเหล่านี้ บทว่า ภาตรํ ภคินึ สกํ ได้แก่ พี่ชายหรือ
พี่สาวของตน. แต่ในบาลีเขียนว่า สขํ ก็คำนั้น ในอรรถกถาท่าน
วิจารณ์ไว้ว่า เมื่อกล่าวว่า สกํ ย่อมกินความถึงพี่ชายและพี่สาวของตน
เมื่อกล่าวว่า สขํ ได้ความหมายเฉพาะสหาย. บทว่า ภเรยฺย แปลว่า
พึงพอกเลี้ยง. บทว่า ตาทิโส โปโส ความว่า สัตว์ชาติลิงที่เห็น

กันอยู่เช่นนั้น พึงเลี้ยงดูไม่ได้ บทว่า สิฏฺ€ํ ทสรเถน เม ความว่า
พระชนกของเราทรงสั่งสอนไว้อย่างนี้. จริงอยู่พระชนกของพระกุมาร
นั้น เขาเรียกว่า พระเจ้าชนสันธะ เพราะทรงสงเคราะห์ชนด้วย
สังคหะวัตถุ ๔ ประการ เรียกว่า พระเจ้าทศรถ เพราะทรงกระทำกิจ
ที่จะพึงกระทำด้วยรถ ๑๐ คัน ด้วยรถของพระองค์เพียงคันเดียว

เท่านั้น. เพราะได้สดับโอวาทเห็นปานนั้นจากสำนักของพระชนก
พระองค์นั้น พระกุมารจึงตรัสอย่างนั้น.

อำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลว่า จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น
พระเจ้าข้า แล้วนำลิงนั้นออกไป ได้ตกลงกันว่า พระกุมารเป็นบัณฑิต
จักสามารถครองราชสมบัติได้ จึงอภิเษกพระโพธิสัตว์ให้ครองราช-
สมบัติ แล้วให้เที่ยวตีกลองป่าวร้องไปในพระนครว่า เป็นอาณาจักร
ของพระเจ้าอาทาสมุขแล้ว. จำเดิมแต่นั้นมา พระโพธิสัตว์ทรงครอง

ราชสมบัติโดยธรรม โดยสม่ำเสมอ แม้ความที่พระเจ้าอาทาสมุขนั้น
เป็นบัณฑิตเฉลียวฉลาดก็แพร่ไปตลอดทั่วชมพูทวีป. ก็เพื่อจะแสดง
ความที่พระองค์เป็นบัณฑิต ได้นำเอาเรื่อง ๑๔ เรื่องนี้มากล่าวไว้ คือ :-


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เรื่องโค ๑ เรื่องบุตร ๑ เรื่องม้า ๑
เรื่องช่างสาน ๑ เรื่องนายบ้านส่วย ๑ เรื่อง-
หญิงแพศยา ๑ เรื่องหญิงรุ่นสาว ๑ เรื่องงู ๑
เรื่องเนื้อ ๑ เรื่องนกกระทา ๑ เรื่องรุกข-
เทวดา ๑ เรื่องพระยานาค ๑ เรื่องดาบส
มีตบะ ๑ เรื่องพราหมณ์มาณพ ๑

ในนิทาน ๑๔ เรื่องนั้น มีเรื่องราว ตามลำดับดังต่อไปนี้
เมื่อพระโพธิสัตว์อภิเษกอยู่ในราชสมบัตินั้น บุรุษผู้หนึ่งชื่อ
คามณิจันท์ ผู้เคยเป็นบาทมูลิกาของพระเจ้าชนสันธะ คิดอย่างนี้ว่า
ธรรมดาว่าความเป็นพระราชานี้ ย่อมจะงดงามกับคนผู้มีวัยเสมอกัน
ส่วนเราเป็นคนแก่จักไม่เหมาะที่จะบำรุงพระกุมารหนุ่ม เราจักทำ

กสิกรรมเลี้ยงชีวิตอยู่ในชนบท. เขาจึงออกจากพระนครไปยังที่ไกล
ประมาณ ๓ โยชน์ สำเร็จการอยู่ในบ้านแห่งหนึ่ง แต่เขาไม่มีแม้แต่
โคสำหรับจะทำกสิกรรม. เมื่อฝนตกเขาจึงขอยืมโค ๒ ตัว กับสหาย
คนหนึ่งไถนาอยู่ ตลอดทั้งวันแล้วให้โคกินหญ้าแล้วได้ไปยังเรือนเพื่อ
จะมอบโคทั้ง ๒ ตัวให้กับเจ้าของ. ขณะนั้น เจ้าของโคกำลังนั่งบริโภค

อาหารอยู่กลางบ้านพร้อมกับภรรยา. ฝ่ายโคทั้งสองตัวก็เข้าไปยังบ้าน
ด้วยความคุ้นเคย. เมื่อโคเหล่านั้นเข้าไป สามียกถาด ภรรยาเอาถาด
ออกไป. นายคามณิจันท์มองดูด้วยคิดว่าสามีภรรยาทั้งสองนี้จะเชื้อเชิญ
เรารับประทานข้าว จึงยังไม่มอบโคให้รีบกลับไปเสีย. ในเวลา

กลางคืน พวกโจรตัดคอกลักโคเหล่านั้นแหละไปเสีย. เจ้าของโคเข้าไป
ยังคอกโคแต่เช้าตรู่ ไม่เห็นโคเหล่านั้น แม้จะรู้อยู่ว่าถูกพวกโจรลักไป
ก็เข้าไปหานายคามณิจันท์นั้นด้วยตั้งใจว่า จักปรับเอาสินไหมแก่นาย
คามณิจันท์จึงกล่าวว่า ผู้เจริญ ท่านจงมอบโคทั้งสองให้เรา. นาย
คามณิจันท์ว่า โคเข้าบ้านไปแล้วมิใช่หรือ. เจ้าของโคว่า ท่านมอบโค

เหล่านั้นแก่เราแล้วหรือ. นายคามณิจันท์ว่า ยังไม่ได้มอบ. เจ้าของโค
กล่าวว่า ถ้าอย่างนั้นเรื่องนี้เป็นความอาญาสำหรับท่านๆจงมา จริงอยู่
ในชนบทเหล่านั้น เมื่อใครๆ ยกเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นจะเป็นก้อนกรวด
หรือชิ้นกระเบื้องก็ตาม แล้วกล่าวว่า นี้เป็นความอาญาสำหรับท่าน


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 20:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ท่านจงมา ดังนี้ ผู้ใดไม่ไปก็ย่อมลงอาญาแก่ผู้นั้น เพราะฉะนั้นนาย
คามณิจันท์นั้น พอได้ฟังว่าเป็นความอาญา ก็ออกไปทันที. เขาไปยัง
ราชสกุลกับเจ้าของโคนั้น ไปถึงบ้านอันเป็นที่อยู่ของสหาย เข้าบ้าน
หนึ่ง จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าหิวจัด ท่านจงรออยู่ที่นี้แหละ
จนกว่าจะเข้าไปยังบ้าน รับประทานอาหารแล้วกลับมา ว่าแล้วก็ได้

ไปยังบ้านของสหาย. ส่วนสหายของเขาไม่อยู่บ้าน หญิงสหายเห็นเข้า
ก็กล่าวว่า นายอาหารที่หุงต้มสุกไม่มี ท่านจงรอสักครู่ดิฉันจักหุงให้
ท่านเดี๋ยวนี้แหละ แล้วรีบขึ้นฉางข้าวสารทางพะอง จึงพลัดตกไปที่
พื้นดิน. ครรภ์ของนางพอดีได้ ๗ เดือนก็ตกไปในขณะนั้นนั่นเอง
ขณะนั้น สามีของนางกลับมาเห็นดังนั้นจึงกล่าวว่า ท่านประหาร

ภรรยาของเราทำให้ครรภ์ตก นี้เป็นความอาญาของท่าน นางจงมา
แล้วพานายคามณิจันท์นั้นออกไป. จำเดิมแต่นั้น คนทั้งสองเดินไป
ให้นายคามณิจันท์อยู่กลาง. ครั้งนั้น ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่ง คนเลี้ยงม้า
ผู้หนึ่งไม่สามารถต้อนม้าให้กลับบ้าน. ฝ่ายม้าก็เดินไปในสำนักของคน
เหล่านั้น คนเลี้ยงม้าเห็นนายคามณิจันท์จึงกล่าวว่า ลุงคามณิจันท์

ช่วยเอาอะไรๆ ปาม้าตัวนี้ให้กลับทีเถิด. นายคามณิจันท์จึงเอาหิน
ก้อนหนึ่งขว้างไป ก้อนหินนั้นกระทบขาม้าหักเหมือนท่อนไม้ละหุ่ง
ฉะนั้น. ลำดับนั้น คนเลี้ยงม้าได้กล่าวกะนายคามณิจันท์ว่า ท่านทำ
ขาม้าของเราหัก นี้เป็นความอาญาสำหรับท่านแล้วจับตัวไป. ฝ่ายนาย

คามณิจันท์นั้น เมื่อถูกคนทั้ง ๓ นำไป จึงคิดว่า คนเหล่านี้จักแสดง
เราแก่พระราชา แม้มูลค่าราคาโค เราก็ไม่อาจให้ได้ จะป่วยกล่าวใย
ถึงอาญาที่ทำให้ครรภ์ตก ก็เราจักได้มูลค่าม้ามาแต่ไหน เราตายเสีย
ประเสริฐกว่า. เขาเดินไปได้เห็นภูเขาลูกหนึ่งซึ่งมีหน้าผาชันข้างหนึ่ง

ณ ที่ใกล้ทางในดง ระหว่างทาง. ช่างสาน ๒ คนพ่อลูกสานเสื่อ
ลำแพนอยู่ในร่มเงาของภูเขานั้น. นายคามณิจันท์กล่าวว่า ข้าพเจ้าจะ


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 20:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ถ่ายอุจจาระ ท่านทั้งหลายจงรออยู่ที่นี้แหละสักครู่จนกว่าข้าพเจ้าจะมา
แล้วขึ้นไปยังภูเขานั้น กระโดดลงไปทางด้านหน้าผา ตกลงไปบนหลัง
ช่างสานผู้เป็นพ่อ ช่างสานผู้เป็นพ่อนั้นถึงแก่ความตายทันที นายคามณิ-
จันท์ไม่ตาย ลุกขึ้นได้ก็ไปเสีย. ช่างสานผู้บุตรกล่าวว่า ท่านเป็น

โจรฆ่าพ่อฉัน นี้เป็นความอาญาสำหรับท่าน แล้วจับมือนายคามณิ-
จันท์ลากออกจากพุ่มไม้ เมื่อนายคามณิจันท์พูดว่า นี่อะไรกัน จึง
กล่าวว่า เจ้าเป็นโจรฆ่าพ่อของข้า. ตั้งแต่นั้นมา ชนทั้ง ๔ คน ให้
นายคามณิจันท์อยู่กลางพากันห้อมล้อมไป.

ครั้นไปถึงประตูบ้านอีกแห่งหนึ่ง นายบ้านส่วยคนหนึ่งเห็น
นายคามณิจันท์ จึงกล่าวว่า ลุงคามณิจันท์ ท่านจะไปไหน? เมื่อนาย
คามณิจันท์กล่าวว่า จะไปเฝ้าพระราชา จึงกล่าวว่า ท่านจักไปเฝ้าพระ-
ราชาจริงแล้ว ข้าพเจ้าประสงค์จะถวายสาสน์แด่พระราชา ท่านจักนำไป
ได้ไหม. นายคามณิจันท์ว่า ได้ฉันจักนำไปให้. นายบ้านส่วยกล่าวว่า

เมื่อก่อนตามปกติ ข้าพเจ้ามีรูปงาม มีทรัพย์ สมบูรณ์ด้วยยศศักดิ์
ไม่มีโรค มาบัดนี้ ข้าพเจ้าเป็นคนเข็ญใจ เกิดโรคผอมเหลือง ท่าน
จงทูลถามพระราชาว่า ในเรื่องนั้นเป็นเพราะเหตุไร? ได้ยินว่าพระราชา
เป็นผู้ฉลาด พระองค์จักตรัสบอกแก่ท่าน ท่านจงบอกพระดำรัสของ
พระองค์แก่ข้าพเจ้าด้วย. นายคามณิจันท์รับว่าได้. ลำดับนั้น หญิง

คณิกาคนหนึ่ง อยู่ที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งข้างหน้า เห็นนายคามณิจันท์
นั้น จึงกล่าวว่า ลุงคามณิจันท์ ท่านจะไปไหน? เมื่อนายคามณิจันท์
บอกว่าจะไปเฝ้าพระราชา จึงกล่าวว่า เขาลือว่า พระราชาเป็นบัณฑิต
ผู้ฉลาด ท่านจงนำข่าวสาสน์ของเราไปด้วย แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า เมื่อ
ก่อน ข้าพเจ้าได้ค่าจ้างมาก มาบัดนี้ ไม่ได้แม้แต่หมากพลู ใครๆ

ผู้จะมายังสำนักของเรา ไม่มีเลย ท่านจงทูลถามพระราชาว่า ในเรื่อง
นั้นเป็นเพราะเหตุไร? แล้วพึงกลับมาบอกแก่ข้าพเจ้า. ลำดับนั้น หญิง
สาวคนหนึ่งที่ประตูบ้านแห่งหนึ่งข้างหน้า เห็นนายคามณิจันท์นั้น
แล้วได้ถามเหมือนอย่างนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่อาจอยู่ในเรือน


* พูดง่ายแต่ทำยาก พูดมากไม่ลงมือปฏิบัติก็ไม่เห็นผล
* พูดดี ไม่ทำตนให้ดี แล้วจะดีได้อย่างไร
* ศรัตรูที่น่ากลัวก็คือตัวกิเลสในจิตเรานี่เอง
* สังคมน่าอยู่ เพราะหมู่เรามีจิตเมตตา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน
* เมื่อให้ด้วยจิตบริสุทธิ์ ย่อมจะผุดสิ่งดีๆขึ้นมาเรื่อยๆ
* ลบขยะออกจากใจวันละนิด เพื่อจิตที่แจ่มใสและสงบยิ่งขึ้น
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 68, 69, 70, 71, 72, 73, 74 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร