วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 20:20  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 67, 68, 69, 70, 71, 72, 73 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลูกม้าสินธพนั้นได้เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระราชา. แม้สัก-
การะก็ได้มีเป็นอันมากแก่ลูกม้าสินธพนั้น. แม้ที่อยู่ของลูกม้าสินธพ
นั้น ได้เป็นดุจห้องเรือนอบที่พระราชาทรงตกแต่งประดับประดาไว้
ได้ทำการฉาบทาพื้นด้วยความหอมมีชาติ ๔ ให้ห้อยพวงของหอมและ
พวงดอกไม้ เบื้องบนมีเพดานผ้าวิจิตรงดงามด้วยดาวทอง. ได้แวดวง

ม่านอันวิจิตรไว้รอบด้าน. ตามประทีปน้ำมันหอมไว้เป็นนิตย์. ให้
ตั้งกระถางทองไว้ในที่ที่ลูกม้าสินธพนั้นถ่ายอุจจาระปัสสาวะ บริโภค
โภชนะของเสวยสำหรับพระราชาเป็นนิตย์ทีเดียว. จำเดิมแต่ลูกม้า
สินธพนั้นมาอยู่ ราชสมบัติในชมพูทวีปทั้งสิ้น ได้อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์

ของพระราชาทั้งนั้น. พระราชาทรงดำรงอยู่ในโอวาทของพระโพธิ-
สัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญทั้งหลายมีทานเป็นต้น ได้มีสวรรค์เป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประ-
กาศสัจจะประชุมชาดก. ในเวลาจบสัจจะ ชนเป็นอันมากได้เป็น
พระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามี. หญิงชราในกาล
นั้น ได้เป็นหญิงชราคนนี้แหละ. ม้าสินธพในกาลนั้น ได้เป็น
พระสารีบุตร. พระราชาในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้
ส่วนพ่อค้าม้า คือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุณฑกกุจฉิสินธวชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่งผู้มรณภาพเพราะฉันมากเกินไปจนอาหารไม่ย่อย จึงตรัส
เรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยาว โส มตฺตมญฺาสิ ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นมรณภาพไปอย่างนี้แล้ว ภิกษุทั้งหลาย
นั่งสนทนากันถึงโทษมิใช่คุณของภิกษุรูปนั้นในโรงธรรมสภาว่า ผู้มี
อายุทั้งหลาย ภิกษุโน้นไม่รู้ประมาณท้องของตน บริโภคมากเกินไป
ไม่สามารถทำอาหารให้ย่อยจึงมรณภาพ. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถาม

ว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่อง
อะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน ภิกษุนี้ก็ตายเพราะ
บริโภคมากเป็นปัจจัย ดังนี้แล้วจึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติในพระนคร
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกแขกเต้าในประเทศหิม-
พานต์ ได้เป็นพระยาของนกแขกเต้าหลายพัน อยู่ในหิมวันตประเทศ
อันเลียบไปตามมหาสมุทร. พระโพธิสัตว์นั้นมีลูกอยู่ตัวหนึ่ง เมื่อ
ลูกนกนั้นเจริญวัย พระโพธิสัตว์ก็มีจักษุทุรพล. ได้ยินว่า นกแขกเต้า

ทั้งหลายมีกำลังบินเร็ว ด้วยเหตุนั้นในเวลานกแขกเต้าเหล่านั้นแก่
ตัวลง จักษุนั่นแลจึงทุรพลไปก่อน ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น ให้บิดา
มารดาอยู่เฉพาะในรัง แล้วนำอาหารมาเลี้ยงดู. วันหนึ่ง ลูกนก
แขกเต้านั้นไปยังที่หากินแล้วจับอยู่บนยอดเขา มองดูสมุทรเห็นเกาะๆ

หนึ่ง. ก็ที่เกาะนั้น มีป่ามะม่วง มีผลหวาน มีสีเหมือนทอง. วัน
รุ่งขึ้น ได้เวลาหากิน ลูกนกแขกเต้านั้นบินไปลงที่ป่ามะม่วงนั้น
ดื่มรสมะม่วงแล้วได้คาบเอาผลมะม่วงสุกมาให้บิดามารดา พระโพธิ-
สัตว์กินผลมะม่วงนั้นแล้วจำรสได้จึงกล่าวว่า ลูกเอ๋ย นี้ผลมะม่วงสุก
ในเกาะโน้นมิใช่หรือ เมื่อลูกนกแขกเต้ารับว่าใช่จ้ะพ่อ จึงกล่าวว่า

ลูกเอ๋ย พวกนกแขกเต้าที่ไปยังเกาะนั้น ชื่อว่าจะรักษาอายุให้ยืนยาว
ได้ไม่มีเลย เจ้าอย่าได้ไปยังเกาะนั้นอีกเลย. ลูกนกแขกเต้านั้นไม่เชื่อ
คำของพระโพธิสัตว์นั้น คงไปอยู่อย่างนั้น. ครั้นวันหนึ่ง ลูกนก

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
แขกเต้าดื่มรสมะม่วงเป็นอันมากแล้วคาบเอามะม่วงสุกมาเพื่อบิดา
มารดาเมื่อบินมาถึงกลางมหาสมุทร เพราะบินเร็วเกินไป ร่างกายก็
เหน็จเหนื่อยถูกความง่วงครอบงำ ทั้งที่หลับอยู่ก็ยังบินมาอยู่นั่นแหละ.
ส่วนมะม่วงสุกที่คาบมาด้วยจงอยปากก็หลุดล่วงไป. ลูกนกแขกเต้า

นั้นได้ละทางที่เคยมาเสียโดยลำดับ จึงตกลงในน้ำ เขาลอยมาตาม
พื้นน้ำจึงจมลงในน้ำ. ทีนั้น ปลาตัวหนึ่งคาบลูกนกแขกเต้านั้น
กินเสีย. เมื่อลูกนกแขกเต้านั้นไม่มาตามเวลาที่เคยมา พระโพธิสัตว์
ก็รู้ได้ว่า เห็นจะตกมหาสมุทรตายเสียแล้ว. ครั้งนั้น เมื่อบิดามารดา
ของเขาไม่ได้อาหารจึงซูบผอมตายไป.

พระศาสดาครั้นทรงนำเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรงเป็นผู้
ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-

ลูกนกแขกเต้าตัวนั้น รู้ประมาณใน
การบริโภคอยู่เพียงใด ก็ได้สืบอายุ และ
ได้เลี้ยงดูบิดามารดาอยู่เพียงนั้น. อนึ่ง ใน
กาลใด ลูกนกแขกเต้านั้นกลืนกินโภชนะ
มากเกินไป ในกาลนั้น ก็ได้ชื่อว่าไม่รู้จัก
ประมาณในการบริโภค จึงจมลงในมหาสมุทร

นั่นเอง. เพราะฉะนั้น ความเป็นผู้รู้ประมาณ
ความไม่หลงติดในโภชนะเป็นความดี. ด้วย
ว่า บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณ ย่อมจมลงใน
อบายทั้ง ๔ บุคคลผู้รู้จักประมาณเท่านั้น
ย่อมไม่จมลงในอบาย ๔.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาว โส ความว่า นกนั้นได้รู้
ประมาณในโภชนะอยู่เพียงใด. บทว่า ตาว อทฺธานมาปาทิ
ความว่า ให้ถึงความเป็นอยู่นาน คือได้อายุ ตลอดกาลเพียงนั้น.
บทว่า มาตรญฺจ นี้เป็นเพียงหัวข้อเทศนา. อธิบายว่า ได้เลี้ยงดู

บิดามารดา. บทว่า ยโต จ โข แปลว่า ก็ในกาลใดแล. บทว่า
โภชนํ อชฺฌวาหริ ความว่า กลืนกินรสมะม่วง. บทว่า ตโต
แปลว่า ในกาลนั้น. บทว่า ตตฺเถว สํสีทิ ความว่า จมลง คือ
ดำลงในสมุทรนั้นนั่นแหละ ถึงความเป็นอาหารของปลา. บทว่า

ตสฺมา มตฺตญฺุตา สาธุ ความว่า เพราะเหตุที่นกแขกเต้าไม่รู้
ประมาณในโภชนะ จึงตกมหาสมุทรตาย เพราะฉะนั้น ความเป็น
ผู้รู้จักประมาณ กล่าวคือความเป็นผู้ไม่ติดในโภชนะเป็นความดี
อธิบายว่า การรู้ประมาณเป็นความดี. อีกอย่างหนึ่งแม้ความเป็นผู้รู้

ประมาณก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่างนี้ว่า ภิกษุพิจารณา
โดยแยบคายแล้วกลืนกินอาหาร มิใช่เพื่อเล่น มิใช่เพื่อมัวเมา ฯลฯ
ด้วยการอยู่อย่างผาสุก และว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ภิกษุบริโภคของสดหรือของแห้งไม่
ควรให้อิ่มเกินไป เป็นผู้มีท้องพร่อง รู้จัก
ประมาณในอาหาร มีสติพึงงดเว้นเสีย ยังอยู่
๔-๕ คำ ก็จะอิ่ม อย่าบริโภค พึงดื่มน้ำ
แทน เป็นการเพียงพอเพื่อจะอยู่อย่าง
ผาสุก สำหรับภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่น. เวทนา
ของภิกษุนั้นผู้เป็นมนุษย์มีสติอยู่ทุกเวลา ผู้
ได้โภชนะแล้วรู้จักประมาณ ย่อมเป็นเวทนา
ที่เบา อาหารที่บริโภคย่อมค่อยๆ ย่อยไป
เลี้ยงอายุ

แม้ความเป็นผู้ไม่ติดก็เป็นความดี ซึ่งท่านพรรณนาไว้อย่าง
นี้ว่า :-

บุคคลไม่ติดรส ย่อมกลืนกินอาหาร
เพื่อต้องการยังอัตภาพให้เป็นไปเหมือน.
บริโภคเนื้อบุตรในหนทางกันดาร เหมือนใช้
น้ำมันหยอดเพลารถฉะนั้น.

แต่ในบาลีท่านเขียนว่า อคิทฺธิตา ปาฐะในอรรถกถานี้ไพเราะ
กว่าพระบาลีนั้น. บทว่า อมตฺตญฺญู หิ สีทนฺติ ความว่า ด้วยว่า
บุคคลผู้ไม่รู้จักประมาณในโภชนะ กระทำกรรมอันลามกด้วยอำนาจ
ความอยากในรส ย่อมจมลงในอบายทั้ง ๔ . บทว่า มตฺตญฺญูว

น สีทเร ความว่า ส่วนชนเหล่าใดย่อมรู้จักประมาณในโภชนะ
ชนเหล่านั้นย่อมไม่จมลงทั้งในทิฏฐธรรม ทั้งในสัมปรายภพ.

พระศาสดาครั้นทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธกแล้ว ทรง
ประกาศอริยสัจ ๔ แล้วประชุมชาดก. ในเวลาจบอริยสัจ ชนเป็น
อันมากได้เป็นพระโสดาบันบ้าง พระสกทาคามีบ้าง พระอนาคามีบ้าง
พระอรหันต์บ้าง. ภิกษุผู้ไม่รู้ประมาณในโภชนะได้เป็นลูกของพระยา
นกแขกเต้าในกาลนั้น ส่วนพระยานกแขกเต้า. คือเราตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสุกชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พ่อค้าชาวเมืองสาวัตถี จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ชรูทปานํ
ขณมานา ดังนี้

ได้ยินว่า พ่อค้าเหล่านั้นซื้อสินค้าในเมืองสาวัตถีบรรทุกเกวียน
ในเวลาจะไปเพื่อต้องการค้าขาย ได้นิมนต์พระตถาคตมาแล้ว ถวาย
มหาทานรับสรณะตั้งอยู่ในศีล ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลายจักเดินทางไกลไปค้าขาย
จำหน่ายสินค้าหมดแล้ว สำเร็จเสร็จการไป ได้กลับมาโดยปลอดภัย

จักถวายบังคมพระองค์อีก ครั้นกราบทูลแล้วก็ออกเดินทางไป. พ่อค้า
เหล่านั้น ได้พบบ่อน้ำเก่าในหนทางกันดาร จึงกล่าวกันว่า ในบ่อนี้
ไม่มีน้ำดื่ม และพวกเราก็กระหายน้ำ จักขุดบ่อนั้น ว่าแล้วก็พากัน
ขุดได้เหล็ก โลหะ และแก้วไพฑูรย์โดยลำดับ พ่อค้าเหล่านั้นเป็น
ผู้สันโดษด้วยทรัพย์นั้นเท่านั้น เอารัตนะเหล่านั้นบรรทุกจนเต็ม

เกวียน กลับมาพระนครสาวัตถีโดยปลอดภัย. พ่อค้าเหล่านั้นเก็บ
ทรัพย์ที่ได้มาแล้วคิดกันว่า พวกเราเดินทางสำเร็จเรียบร้อยแล้วจัก
ถวายทาน จึงนิมนต์พระตถาคต ถวายทาน ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ
ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลถึงเหตุที่ตนได้ทรัพย์แด่พระศาสดา. พระศาสดา
ตรัสว่า ท่านทั้งหลายแลเป็นอุบาสก สันโดษด้วยทรัพย์นั้น จึงได้

ทรัพย์และชีวิต เพราะความเป็นผู้รู้ประมาณ ส่วนพวกเก่าเป็นผู้ไม่
สันโดษ ไม่รู้จักประมาณ ไม่กระทำตามคำของบัณฑิตทั้งหลาย จึง
ถึงความสิ้นชีวิตไป อันพ่อค้าเหล่านั้นอ้อนวอนอาราธนาแล้ว จึงทรง
นำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในอดีตกาลเมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพา-
ราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพ่อค้าในนครพาราณสี พอเจริญ
วัยก็ได้เป็นหัวหน้าพ่อค้าเกวียน พระโพธิสัตว์นั้น ซื้อสินค้าในนคร
พาราณสีบรรทุกเกวียน พาพวกพ่อค้าเป็นอันมากเดินไปทางกันดาร

นั้นเหมือนกัน ได้เห็นบ่อน้ำเหมือนกัน. ณ ที่นั้น พ่อค้าเหล่านั้น
กล่าวกันว่าจักดื่มน้ำ จึงขุดบ่อนั้น ได้ทรัพย์มีแก้วไพฑูรย์เป็นต้น
มากมายโดยลำดับ. พ่อค้าเหล่านั้นได้รัตนะแม้มากมาย ก็ยังไม่สันโดษ
คือยินดีเท่าที่ได้รัตนะนั้น พากันขุดบ่อนั้นหนักยิ่งขึ้นด้วยหมายใจว่า
ในบ่อนี้ จักมีสิ่งแม้อื่นที่ดีกว่ารัตนะแม้นี้. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์

จึงกล่าวกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า พ่อค้าทั้งหลายผู้เจริญ ขึ้นชื่อว่าความโลภ
นี้เป็นมูลแห่งความพินาศ พวกท่านได้ทรัพย์มากแล้ว จงสันโดษด้วย
ทรัพย์มีประมาณเท่านี้เถิด อย่าขุดเกินไปนัก. พ่อค้าเหล่านั้นแม้จะ
ถูกพระโพธิสัตว์ห้ามก็ยังขืนขุดอยู่นั้นแหละ. ก็บ่อน้ำนั้นนาคหวงแหน

ไว้. ลำดับนั้น พระยานาคผู้อยู่ภายใต้บ่อน้ำนั้น เมื่อวิมานของตนถูก
ทำลาย เมื่อก้อนดินและฝุ่นตกใส่ก็โกรธใช้ลมจมูกเป่าพ่อค้าทั้งหมด
ให้ถึงความสิ้นชีวิตไม่มีเหลือ เว้นไว้แต่พระโพธิสัตว์ แล้วออกจาก
นาคพิภพให้เทียมเกวียนบรรทุกรัตนะทั้ง ๗ จนเต็ม ให้พระโพธิสัตว์
นั่งในยานน้อยอันสบาย พวกนาคมาณพขับเกวียนนำพระโพธิสัตว์

ไปยังนครพาราณสี เข้าไปยังเรือนเก็บทรัพย์แล้วก็ไปสู่นาคพิภพ
ของตนตามเดิม. พระโพธิสัตว์จ่ายทรัพย์นั้น กระทำให้ชมพูทวีป
ทั้งสิ้นไม่ต้องไถนา ให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถ ในเวลาสิ้น
ชีวิตได้ไปเกิดในสวรรค์.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว เป็นผู้ตรัสรู้
ยิ่งเอง ได้ตรัสคาถาเหล่านี้ว่า :-
พ่อค้าทั้งหลายผู้มีความต้องการน้ำ
พากันขุดบ่อน้ำเก่า ได้แร่เหล็ก แร่ทองแดง
ดีบุก ตะกั่ว แก้วมณี เงินทอง แก้วมุกดา
และแก้วไพฑูรย์ เป็นอันมาก แต่พ่อค้า
เหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น พากันขุด
ลึกยิ่งขึ้น ๆ ในบ่อน้ำมัน มีพระยานาคมีพิษ
ร้ายแรง มีเดช ได้ฆ่าพ่อค้าเหล่านั้นเสียด้วย
เดชแห่งพิษ. เพราะฉะนั้น บุคคลพึงขุดบ่อ
น้ำเถิด แต่ไม่ควรขุดให้ลึกเกินไป เพราะบ่อ
ที่ขุดลึกเกินไปเป็นของลามก ทรัพย์ที่พวก
พ่อค้าได้แล้วด้วยการขุดก็พินาศไป เพราะ
การขุดลึกเกินไป.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยํ ได้แก่ โลหะสีดำ (เหล็ก).
บทว่า โลหํ ได้แก่ โลหะสีแดง (ทองแดง) บทว่า มุตฺตา ได้แก่
แก้วมุกดาเป็นต้น. บทว่า เต จ เตน อสนฺตุฏฺ€า ความว่า ก็พ่อค้า
เหล่านั้นไม่ได้ยินดีด้วยทรัพย์นั้น. บทว่า เต ตตฺถ ได้แก่ พ่อค้า
เหล่านั้น ในบ่อน้ำนั้น. บทว่า เตชสี ได้แก่ เป็นผู้ประกอบด้วย

เดชแห่งพิษ. บทว่า เตชสา หนิ ได้แก่ ฆ่าด้วยเดชแห่งพิษ. บทว่า
อติกฺขาเตน นาสิตํ ความว่า เพราะขุดลึกเกินไป ทรัพย์และชีวิต
นั้น จึงพินาศไป.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประชุมชาดกว่า พระยานาคในกาลนั้น ได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้
ส่วนหัวหน้าพ่อค้าเกวียนคือเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาชรูทปานชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
การสรรเสริญปัญญา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า นายํ ฆรานํ
กุสโล ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งหลายนั่งสรรเสริญพระปัญญาของพระทศพล
ในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระตถาคตมีพระปัญญามาก
มีพระปัญญาหนา มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาไว มีพระปัญญา
กล้าแข็ง มีพระปัญญาชำแรกกิเลส ก้าวล่วงโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก
ด้วยพระปัญญา พระศาสดาเสร็จมาตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลายบัดนี้

พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้น
กราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุทั้งหลายมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้ในกาลก่อน ตถาคตก็มีปัญญาเหมือนกัน แล้วทรงนำเอาเรื่องใน
อดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า ชนสันธะ ครองราช-
สมบัติอยู่ในนครพาราณสี. พระโพธิสัตว์บังเกิดในพระครรภ์ของ
พระอัครมเหสีของพระราชานั้น. หน้าของพระโพธิสัตว์นั้น เกลี้ยง
เกลา บริสุทธิ์ดุจพื้นแว่นทองคำ ถึงความงามอันเลิศยิ่ง. ด้วยเหตุนั้น

ในวันตั้งชื่อ ญาติทั้งหลายจึงตั้งชื่อของพระโพธิสัตว์นั้นว่า อาทาส-
มุขกุมาร. ภายใน ๗ ปีเท่านั้น พระชนกให้กุมารนั้นศึกษาพระเวท
ทั้ง ๓ และสิ่งทั้งปวงที่จะพึงทำในโลก แล้วได้สวรรคตในเวลาที่พระ-
กุมารนั้นมีอายุ ๗ ขวบ อำมาตย์ทั้งหลายได้ถวายพระเพลิงพระศพ
ของพระราชาด้วยบริวารใหญ่โต แล้วถวายทานเพื่อผู้ตาย ในวันที่ ๗

ประชุมกันที่พระลานหลวงหารือกันว่า พระกุมารยังเด็กเกินไป ไม่
อาจอภิเษกให้ครองราชย์ได้ พวกเราจักทดลองพระกุมารนั้นแล้วจึง
ค่อยอภิเษก. วันหนึ่งอำมาตย์เหล่านั้นให้ตกแต่งพระนคร จัดแจง
สถานที่วินิจฉัย ให้แต่งตั้งบัลลังก์แล้วไปเฝ้าพระกุมารทูลว่า ขอเดชะ

ควรเสด็จไปยังสถานที่วินิจฉัย ( ตัดสินความ ) . พระกุมารรับคำแล้ว
เสด็จไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ประทับนั่งบนบัลลังก์. ในเวลาที่พระ-
กุมารนั้นประทับนั่งแล้ว อำมาตย์เหล่านั้นให้เอาลิงตัวหนึ่งซึ่งเดิน ๒
เท้าได้ ให้แต่งเป็นเพศอาจารย์ผู้มีวิชาดูที่ แล้วนำไปยังสถานที่วินิจฉัย-
ความ ทูลว่า ขอเดชะ บุรุษผู้นี้เป็นอาจารย์รู้วิชาดูที่ ในสมัยของ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 14 ธ.ค. 2018, 21:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระชนกผู้มหาราช ย่อมรู้คุณ-โทษในที่มีรัตนะ ๗ ภายในพื้นดิน
ด้วยวิชาอันคล่องแคล่ว สถานที่ตั้งวังของราชตระกูล บุรุษผู้นี้แหละ
จัดการ ขอพระองค์จงสงเคราะห์บุรุษผู้นี้ โปรดสถาปนาไว้ในฐานันดร
เถิด. พระกุมารแลดูลิงนั้นทั้งเบื้องล่างและเบื้องบนก็ทรงทราบว่า ผู้นี้
ไม่ใช่มนุษย์ ผู้นี้เป็นลิง แล้วทรงดำริว่า ธรรมดาลิงย่อมรู้แต่จะ

ทำลายสิ่งที่เขาทำไว้ ย่อมไม่รู้จะทำหรือจัดสิ่งที่เขายังไม่ได้ทำ จึงกล่าว
คาถาแรกแก่พวกอำมาตย์ว่า :-

สัตว์ตัวนี้ไม่ฉลาดที่จะทำเรือนมีปกติ
หลุกหลิก หนังที่หน้าย่น พึงประทุษร้ายของ
ที่เขาทำไว้แล้ว ตระกูลสัตว์นี้ มีอย่างนี้เป็น
ธรรมดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นายํ ฆรานํ กุสโล ความว่า
สัตว์นี้ไม่ฉลาดเรื่องบ้านเรือน คือไม่เฉลียวฉลาดเพื่อจะจัดหรือทำ
เรือน. บทว่า โลโล แปลว่า มีกำเนิดโลเล. บทว่า วลีมุโข
ความว่า ชื่อว่ามีหน้าย่น เพราะมีรอยย่นที่หน้า. บทว่า เอวํธมฺมมิทํ

กุลํ ความว่า ธรรมดาตระกูลลิงนี้ มีสภาวะอย่างนี้คือประทุษร้ายสิ่ง
ที่เขาทำไว้ให้พินาศ.

อำมาตย์ทั้งหลาย ทูลว่า ขอเดชะ จักเป็นดังพระดำรัสอย่างนั้น
แล้วนำลิงนั้นออกไป พอล่วงไปวันสองวัน ก็ประดับลิงตัวนั้นแหละ
อีกแล้วนำไปยังที่วินิจฉัยอรรถคดี กราบทูลว่า ขอเดชะ ผู้นี้เป็น
อำมาตย์ผู้วินิจฉัยอรรถคดี เมื่อครั้งพระชนกผู้มหาราช กระบวนการ

วินิจฉัยของท่านผู้นี้เป็นไปเรียบร้อยดี ควรที่พระองค์จะทรงอนุ-
เคราะห์ท่านผู้นี้ ให้ทำหน้าที่วินิจฉัยอรรถคดีต่อไป. พระกุมารแลดู
แล้วรู้ว่าคนที่เป็นมนุษย์สมบูรณ์ มีความคิดย่อมไม่มีขนเห็นปานนี้
แม้ผู้นี้คงเป็นลิงที่ไม่มีความคิด จักไม่สามารถทำกิจในการวินิจฉัย
อรรถคดีได้ จึงตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ของท่านประดับเครื่องประดับอะไรมา จึงกล่าวตอบว่า ประดับ
แก้วมณีมา. ดาบสผู้พี่ชายกล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น เมื่อพระยานาคนั้นมา
ไหว้ท่านแล้วยังไม่ทันนั่ง จงรีบขอว่า ท่านจงให้แก้วมณี เมื่อขอ
อย่างนั้น พระยานาคนั้นจักไม่รัดท่านด้วยขนดเลย จักไปทันที

วันรุ่งขึ้นพระยานาคนั้นมายืนที่ประตูอาศรมบทยังไม่ทันเข้าไป ท่าน
พึงขอ ในวันที่ ๓ ท่านจงไปยืนอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำคงคา พอพระยานาคนั้น
ผุดขึ้นจากน้ำพึงร้องขอทันที เมื่อเป็นอย่างนี้ พระยานาคนั้นจักไม่
มาหาท่านอีกต่อไป. พระดาบสรับคำแล้วกลับไปบรรณศาลาของตน

วันรุ่งขึ้น พระยานาคพอมายืนเท่านั้น ก็ร้องขอว่า ท่านจงให้แก้วมณี
เครื่องประดับตนลูกนั้นแก่เราเถิด. พระยานาคนั้น ไม่นั่ง หนีไปเลย.
ครั้นวันที่สอง พระยานาคนั้นมายืนอยู่ที่ประตูอาศรมบทเท่านั้น
ก็กล่าวว่า เมื่อวานท่านยังไม่ได้ให้แก้วมณีแก่เรา แม้วันนี้ ท่านก็
จงให้ในบัดนี้เถิด. เมื่อเป็นเช่นนั้น พระยานาคนั้นก็มิได้เข้าไปยัง

อาศรมบท รีบหนีไป. ในวันที่สาม พอพระยานาคนั้นโผล่ขึ้นจากน้ำ
เท่านั้นพระดาบสก็กล่าวว่า เมื่อเราร้องขออยู่วันนี้เป็นวันที่สามแล้ว
บัดนี้ ท่านจงให้แก้วมณีดวงนั้นแก่เราเถิด. พระยานาคแม้อยู่ในน้ำ
เมื่อจะห้ามดาบสนั้นมิให้ขอ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถาว่า :-

ข้าวและน้ำอันไพบูลย์ยิ่ง ย่อมเกิด
ขึ้นแก่ข้าพเจ้า เพราะเหตุแก้วมณีดวงนี้
ข้าพเจ้าจักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้
ท่านก็ยิ่งขอหนักขึ้น ทั้งข้าพเจ้าก็จักไม่มาสู่
อาศรมของท่านอีกด้วย. เมื่อท่านขอแก้วมณี

อันเกิดแต่หินดวงนี้ ย่อมทำให้ข้าพเจ้าหวาด
เสียว เหมือนชายหนุ่มมีมือถือดาบอันลับ
แล้วที่หิน มาทำให้ข้าพเจ้าหวาดเสียวฉะนั้น
ข้าพเจ้าจักให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่านไม่ได้
ท่านก็ยิ่งขอหนักขึ้น ทั้งตัวข้าพเจ้าก็จักไม่
มาสู่อาศรมของท่านอีกต่อไป.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มมนฺนปานํ ได้แก่ โภชนะ
อันเป็นทิพย์มีข้าวยาคูและภัตต์เป็นต้น และน้ำดื่มอันเป็นทิพย์มีน้ำ
ปานะ ๘ ชนิด ของข้าพเจ้า. บทว่า วิปุลํ แปลว่า มาก. บทว่า
อุฬารํ ได้แก่ ประเสริฐ คือ ประณีต. บทว่า ตนฺเต ได้แก่
เราจักไม่ให้แก้วมณีดวงนั้นแก่ท่าน. บทว่า อติยาจโกสิ ความว่า

ท่านขอแก้วมณีอันเป็นที่รักที่ชอบใจของข้าพเจ้า สิ้น ๓ วัน เข้าวันนี้
ล่วงกาลและล่วงกำหนดประมาณ ชื่อว่าเป็นผู้ขอเกินไป. บทว่า
น จาปิ เต ความว่า เราจักไม่ให้อย่างเดียวเท่านั้นก็หามิได้ แม้
อาศรมของท่านเราก็จักไม่มา. บทว่า สุสู ยถา ได้แก่ เหมือน
มนุษย์หนุ่ม. บทว่า สกฺขรโธตปาณี แปลว่า ผู้มีฝ่ามือล้างแล้ว

ด้วยน้ำตาลกรวด อธิบายว่า มีมือถือดาบอันลับแล้วที่หินประกอบด้วย
น้ำมัน. บทว่า ตาเสสิมํ เสลํ ยาจมาโน ความว่า ท่านเมื่อขอ
แก้วมณีดวงนี้ ทำให้หวาดเสียว เหมือนบุรุษหนุ่มชักดาบมีด้าม
คร่ำทองแล้วกล่าวขู่ว่า จะตัดศีรษะท่าน. พระยานาคนั้นครั้นกล่าว
อย่างนี้แล้วจึงดำน้ำลงไปยังนาคพิภพทีเดียว แล้วไม่กลับมาอีกต่อไป.

ต่อมาพระดาบสนั้นกลับเป็นผู้ซูบผอม เศร้าหมอง ผิวพรรณ
ไม่งดงาม เกิดเป็นโรคผอมเหลือง มีเนื้อตัวสะพรั่งด้วยแถวเส้นเอ็น
หนักยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อนเพราะไม่ได้เห็นพระยานาคผู้น่าดูตนนั้น. ฝ่าย
ดาบสผู้พี่ชายคิดว่าจักรู้เรื่องราวของดาบสผู้น้องชาย จึงไปยังสำนัก

ดาบสนั้น ได้เห็นดาบสผู้น้องชายนั้นมีโรคผอมเหลืองหนักกว่าเดิม
จึงกล่าวว่า ผู้เจริญ เพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงเกิดโรคผอมเหลือง
ยิ่งกว่าเดิม ครั้นได้สดับว่า เพราะไม่ได้พบพระยานาคผู้น่าดูตนนั้น
จึงกำหนดได้ว่า ดาบสนี้ไม่อาจเหินห่างพระยานาคได้ จึงกล่าว
คาถาที่ ๓ ว่า :-

บุคคลรู้ว่าสิ่งใดเป็นที่รักของเขาก็ไม่
ควรขอสิ่งนั้น บุคคลย่อมเป็นที่เกลียดชัง
เพราะขอจัด พระยานาคถูกพราหมณ์ขอ
แก้วมณีตั้งแต่นั้นมา พระยานาคก็มิได้มาให้
พราหมณ์นั้นเห็นอีกเลย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ตํ ยาเจ ความว่า ไม่พึงขอ
สิ่งนั้น. บทว่า ยสฺส ปิยํ ชิคึเส ความว่า พึงรู้ว่า สิ่งใดเป็น
ที่รักของบุคคลนั้น. บทว่า เทสฺโส โหติ แปลว่า ย่อมไม่เป็น
ที่รัก. บทว่า อติยาจนาย ได้แก่ เมื่อขอสิ่งของเกินประมาณนั้นแล
ชื่อว่า เพราะขอจัดนั้น. บทว่า อทสฺสนํเยว ตทชฺฌคมา ได้แก่
ตั้งแต่นั้นมาก็ไปไม่เห็นอีกเลย.

ก็ดาบสผู้พี่ชายครั้นกล่าวกะดาบสน้องชายอย่างนั้นแล้วจึง
ปลอบโยนว่า ผู้เจริญ ตั้งแต่บัดนี้ไปท่านอย่าเศร้าโศกเสียใจเลย
แล้วกลับไปยังอาศรมของตน. ครั้นในกาลต่อมาอีกดาบสพี่น้องทั้ง
สองนั้นทำฌานและสมาบัติให้บังเกิดแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า. พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า
การขอ ไม่เป็นที่ชอบใจแม้ของพวกนาคที่อยู่ในนาคพิภพอันสมบูรณ์
ด้วยรัตนะทั้ง ๗ ประการ จะป่วยกล่าวไปใยถึงมนุษย์ทั้งหลายเล่า

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า ดาบสน้องชายในกาลนั้น ได้เป็นพระอานนท์ในบัดนี้ ส่วน
ดาบสผู้พี่ชายคือเราตถาคต ฉะนี้แล
จบ อรรถกถามณิกัณฐชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
พระสารีบุตรเถระ จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า ภุตฺวา ติณปริฆาสํ
ดังนี้.

ได้ยินว่า สมัยหนึ่ง พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับอยู่ใน
พระนครสาวัตถี ออกพรรษาแล้วเสด็จเที่ยวจาริกแล้วเสด็จกลับมาอีก.
คนทั้งหลายคิดกันว่า จักกระทำอาคันตุกสักการะ จึงถวายมหาทาน
แก่พระภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน. พากันตั้งภิกษุผู้ประกาศ

ธรรมรูปหนึ่งไว้ในพระวิหาร. ภิกษุนั้นจัดภิกษุให้แก่ทายกเท่าจำนวน
ที่ต้องการ. ครั้งนั้น มีหญิงแก่เข็ญใจคนหนึ่ง ได้จัดแจงส่วนทาน-
วัตถุไว้เฉพาะส่วนเดียว เมื่อพระธรรมโฆษกจัดภิกษุให้แก่คนเหล่านั้น
แล้ว ในเวลาสายนางจึงไปยังสำนักของพระธรรมโฆษกแล้วกล่าวว่า
ขอท่านจงจัดภิกษุให้แก่ดิฉันรูปหนึ่งเถิด. พระธรรมโฆษกกล่าวว่า

อาตมาจัดภิกษุให้ไปหมดแล้ว แต่พระสารีบุตรเถระยังอยู่ในวิหาร
ท่านจงถวายภิกษาหารแก่ท่านเถิด. หญิงชรานั้นดีใจ ยืนอยู่ที่ซุ้ม
ประตูพระเชตวันในเวลาพระเถระมา จึงไหว้แล้วรับบาตรจากมือนำ
ไปเรือนนิมนต์ให้นั่งในบ้าน. พวกตระกูลที่มีศรัทธาเป็นอันมากได้

ข่าวว่า หญิงชราคนหนึ่งนิมนต์พระธรรมเสนาบดีให้นั่งในเรือนของ
ตน. ในบรรดาชนเหล่านั้นพระเจ้าปัสเสนทิโกศลได้ทรงสดับเหตุนั้น
จึงทรงส่งภัตรและโภชนะพร้อมกับผ้าสาฎก และถุงทรัพย์หนึ่งพันไป
ให้หญิงชรา โดยตรัสสั่งว่า หญิงชราเมื่อจะอังคาสพระผู้เป็นเจ้าของ
เรา จงนุ่งห่มผ้าสาฎกนี้แล้วใช้จ่ายกหาปณะเหล่านี้อังคาสพระเถระ
เถิด. ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ท่านจุลลอนาถบิณฑิกเศรษฐี แม้

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
นางวิสาขามหาอุบาสิกาก็ส่งไปเหมือนดังที่พระราชาทรงส่งไป. ส่วน
ตระกูลอื่นๆ ก็ส่งกหาปณะไปตามควรแก่กำลังของตนๆ คนละร้อย
สองร้อยเป็นต้น. โดยวิธีอย่างนี้ หญิงชราคนนั้นได้ทรัพย์ประมาณ
หนึ่งแสนเพียงวันเดียวเท่านั้น. ฝ่ายพระเถระดื่มยาคูเฉพาะที่หญิง
ชรานั้นถวาย และฉันเฉพาะของเคี้ยว และเฉพาะภัตรที่สุกแล้วที่หญิง

ชรานั้นกระทำ แล้วกล่าวอนุโมทนา ให้หญิงชรานั้นดำรงอยู่ใน
โสดาปัตติผล แล้วได้ไปยังวิหารทีเดียว. ภิกษุทั้งหลายนั่งสนทนาถึง
คุณของพระเถระในโรงธรรมสภาว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระธรรม
เสนาบดีได้เป็นที่พึ่งช่วยปลดเปลื้องหญิงชราผู้เป็นแม่เรือนให้พ้นจาก

ความเข็ญใจ ไม่รังเกียจอาหารที่นางถวาย ฉันได้. พระศาสดาเสด็จ
มาแล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งประชุมกันด้วย
เรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สารีบุตรเป็นที่พึ่งอาศัยของหญิงชราคนนี้ ใน

บัดนี้เท่านั้น ก็หามิได้ ทั้งมิได้รังเกียจบริโภคอาหารที่นางถวายใน
บัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อน ก็ได้บริโภคเหมือนกัน ดังนี้
แล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในเมือง
พาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพาณิช ในอุตตราปถชนบท.
พ่อค้าม้า ๕๐๐ คน จากอุตตราปถชนบทนำม้ามาขายยังเมืองพาราณสี.
พ่อค้าม้าอีกคนหนึ่ง นำม้า ๕๐๐ ตัวเดินทางไปเมืองพาราณสี. ใน
ระหว่างทางมีหมู่บ้านนิคมหนึ่งอยู่ในที่ไม่ไกลเมืองพาราณสี. เมื่อ

ก่อนได้มีเศรษฐีมีทรัพย์สมบัติมากอยู่ในหมู่บ้านนั้น นิเวศน์ของ
เขาใหญ่โต แต่ตระกูลนั้นได้ถึงความเสื่อมสลายไปโดยลำดับ. เหลือ
แต่หญิงชราผู้เดียวเท่านั้น. หญิงชราคนนั้นอาศัยอยู่ในนิเวศน์นั้น.
ครั้งนั้น พ่อค้าม้าคนนั้นไปถึงหมู่บ้านนั้นแล้วพูดกะหญิงชราว่า ฉัน

จะให้ค่าเช่าแก่ท่าน แล้วจับจองการอยู่อาศัยในนิเวศน์ของหญิงชรา
นั้น พักม้าทั้งหลายไว้ ณ ส่วนสุดด้านหนึ่ง. ในวันนั้นเองแม่ม้า
อาชาไนยตัวหนึ่งของพ่อค้านั้นตกลูกออกมา. พ่อค้านั้นพักอยู่ ๒-๓
วัน พอให้ม้าทั้งหลายมีกำลัง จึงกล่าวว่า ฉันจักไปเฝ้าพระราชา จึง
พาม้าทั้งหลายไป. ลำดับนั้น หญิงชราได้พูดกับพ่อค้านั้นว่า ท่าน

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จงให้ค่าเช่าบ้าน เมื่อพ่อค้ากล่าวว่า ดีละแม่ฉันจะให้ นางจึงกล่าวว่า
ดูก่อนพ่อ เมื่อท่านจะให้ค่าเช่าบ้านแก่ฉัน จงให้ลูกม้าตัวนี้ โดย
หักกับค่าเช่าบ้าน พ่อค้านั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้นแล้วก็หลีกไป.
หญิงชรานั้นเข้าไปตั้งความเสน่หาในลูกม้านั้นประหนึ่งบุตร เมื่อเป็น
อย่างนั้น ได้ให้ภัตรที่เป็นข้าวตังและหญ้าที่เป็นเดนแก่ลูกม้านั้น

ปรนนิบัติอยู่. ครั้นกาลต่อมาอีก พระโพธิสัตว์พาม้า ๕๐๐ ตัวไป
จับจองการอยู่อาศัยในเรือนนั้น พอได้กลิ่นจากที่ที่ลูกม้าสินธพกินรำ
อยู่ แม้ม้าสักตัวเดียวก็ไม่อาจเข้าไปยังลานของเรือนนั้น. พระโพธิ-
สัตว์จึงถามหญิงชรานั้นว่า ดูก่อนแม่ ในเรือนนี้มีม้าบ้างไหม ? หญิง
ชรากล่าวว่า ดูก่อนพ่อ ชื่อว่าม้าตัวอื่นไม่มี แต่เราปรนนิบัติลูกม้า
ตัวหนึ่งเหมือนอย่างลูก ลูกม้าตัวนั้นมีอยู่ในเรือนนี้.

พ่อค้ากล่าวว่า ดูก่อนแม่ ลูกม้าตัวนั้นอยู่ที่ไหน. หญิงชรา
ตอบว่า ไปเที่ยวหากินจ้ะพ่อ. พ่อค้าว่า เวลาใดจักมาล่ะแม่. หญิงชรา
ตอบว่า ต่อเวลาจวนค่ำนั่นแหละ จึงจะมานะพ่อ. พระโพธิสัตว์เมื่อ
จะคอยการมาของลูกม้าสินธพนั้น จึงพักม้าทั้งหลายไว้ภายนอกแล้ว

นั่งอยู่. ฝ่ายลูกม้าสินธพเที่ยวหากินแล้ว ต่อเวลาจวนค่ำนั่นแล จึง
ได้กลับมา. พระโพธิสัตว์เห็นลูกม้าสินธพมีท้องเปื้อนรำ พิจารณา
ลักษณะทั้งหลายแล้วคิดว่า ม้าสินธพตัวนี้มีค่ามาก เราจะให้มูลค่า
แก่หญิงชราแล้ว ถือเอาลูกม้าสินธพจึงจะควร. ฝ่ายลูกม้าสินธพก็

เข้าเรือนยืนอยู่ในที่อยู่ของตนเท่านั้น. ขณะนั้น ม้าเหล่านั้นไม่อาจ
เข้าไปยังเรือน. พระโพธิสัตว์พักอยู่ ๒-๓ วัน ทำม้าทั้งหลายให้อิ่ม
หนำแล้ว เมื่อจะไปจึงกล่าวว่า แม่ท่านจงเอามูลค่าแล้วให้ลูกม้าตัวนี้
แก่ฉัน. หญิงชราว่า ท่านพูดว่าอะไรพ่อ ขึ้นชื่อว่าบุตร คนที่จะขาย
ย่อมไม่มี. พ่อค้าว่า แม่ ท่านให้ลูกม้าตัวนี้กินอะไรปรนนิบัติอยู่.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 15 ธ.ค. 2018, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
หญิงชราว่า ดูก่อนพ่อ เราให้กินรำข้าว ข้าวตังและหญ้าที่เป็นเดน
และให้ดื่มข้าวยาคูต้มด้วยรำข้าวปรนนิบัติอยู่. พ่อค้าว่า ดูก่อนแม่
ฉันได้ลูกม้าตัวนี้แล้วจักให้บริโภคโภชนะมีรสอร่อยทั้งก้อน แล้วขึง
เพดานผ้าตรงที่ที่เขายืน แล้วให้ยืนตั่งที่ลาดไว้. หญิงชราว่า ดูก่อนพ่อ
เมื่อเป็นอย่างนั้น บุตรของเราจงเสวยสุขอันเกิดจากโภคะ ท่านจงพา

เอาไปเถิด. ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์จึงวางถึงทรัพย์หกพัน โดยเป็น
มูลค่าของเท้าทั้ง ๔ เท้า หางและศีรษะของลูกม้านั้น แห่งละพัน
แล้วให้หญิงชรานุ่งห่มผ้าใหม่ ตกแต่งแล้วให้ยืนอยู่ข้างหน้าลูกม้า-
สินธพ. ลูกม้าสินธพนั้นลืมตาดูมารดาหลั่งน้ำตา. ฝ่ายหญิงชราลูบ

หลังลูกม้าอาชาไนยนั้นแล้วกล่าวว่า เราได้ทำการเลี้ยงดูเหมือนดังลูก
เจ้าจงไปเถิดพ่อ. ขณะนั้น ลูกม้าสินธพนั้นได้ไปแล้ว วันรุ่งขึ้น
พระโพธิสัตว์จัดแจงโภชนะมีรส สำหรับลูกม้านั้น คิดว่า เราจัก
ทดลองลูกม้านั้นดูก่อน ลูกม้านั้นจะรู้กำลังของตนหรือไม่ จึงให้

เทข้าวยาคูที่ต้มด้วยรำลงในรางแล้วให้กิน. ลูกม้าสินธพนั้นคิดว่า
เราจักไม่กินโภชนะนี้ จึงไม่ปรารถนาจะดื่มข้าวยาคูนั้น. พระโพธิสัตว์
เมื่อจะทดลองลูกม้าสินธพนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-

ท่านกินหญ้าที่เป็นเดน กินข้าวตัง
และรำ นี้เป็นอาหารของท่าน บัดนี้ เพราะ
เหตุไรท่านจึงไม่บริโภค.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 67, 68, 69, 70, 71, 72, 73 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร