วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 15:58  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 19:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ตาม แม้ว่า วิญญาณ จะต้องอาศัยอายตนะ และอารมณ์ กระทบกันจึงจะเกิดขึ้นได้ * (ม.มู.12/443-4/476-7) ก็จริง แต่การที่อารมณ์เข้ามาปรากฏแก่อายตนะ ก็มิใช่จะทำให้วิญญาณเกิดขึ้นได้ เสมอไป จำต้องมีความใส่ใจ ความกำหนดใจ หรือความใฝ่ใจประกอบอยู่ด้วย วิญญาณนั้นๆ จึงเกิดขึ้น * (ม.มู.12/346/358) ดังตัวอย่าง
ในบางคราว เช่น เวลาหลับสนิท เวลาฟุ้งซ่าน หรือใจลอยไปเสีย เวลาใจจดจ่อแน่วแน่อยู่กับกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง ตลอดจนขณะอยู่ในสมาธิ รูปและเสียง เป็นต้น หลายๆอย่างที่ผ่านเข้ามา อยู่ในวิสัยที่จะเห็น จะได้ยิน แต่หาได้เห็น ได้ยินไม่ หรือ
ตัวอย่างง่ายๆ ขณะเขียนหนังสือใจจดจ่ออยู่ จะไม่รู้สึกส่วนของร่างกาย ที่แตะอยู่กับโต๊ะเก้าอี้ ตลอดจนมือที่แตะกระดาษ และนิ้วที่แตะปากกา หรือดินสอ ในเมื่อมีอายตนะและอารมณ์เข้ามาถึงกันแล้ว แต่วิญญาณไม่เกิดขึ้น เช่นนี้ ก็ยังไม่เรียกว่า การรับรู้ได้เกิดขึ้น


การรับรู้จะเกิดขึ้น ต่อเมื่อมีองค์ประกอบเกิดขึ้นครบทั้งสามอย่าง คือ อายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ ภาวะนี้ในภาษาธรรม มีคำเรียกโดยเฉพาะว่า "ผัสสะ" หรือ "สัมผัส" แปลตามรูปศัพท์ว่า การกระทบ

แต่มีความหมายทางธรรมว่า การประจวบ หรือบรรจบพร้อมกันแห่งอายตนะ อารมณ์ และวิญญาณ

พูดอย่างเข้าใจกันง่ายๆ ผัสสะ ก็คือ การรับรู้นั่นเอง ผัสสะ หรือ สัมผัส หรือการรับรู้นี้ มีชื่อเรียกแยกเป็นอย่างๆ ไปตามทางรับรู้ คืออายตนะนั้นๆ ครบจำนวน ๖ คือ

จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโนสัมผัส

ผัสสะเป็นขั้นตอนสำคัญ ในกระบวนการรับรู้ เมื่อผัสสะเกิดขึ้นแล้ว กระบวนธรรมก็ ดำเนินต่อไป

เริ่มแต่ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น ปฏิกิริยาอย่างอื่นของจิตใจ การจำหมาย การนำอารมณ์นั้นไปคิดปรุงแต่ง ตลอดจนการแสดงออกต่างๆ ที่สืบเนื่องไปตามลำดับ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 19:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในกระบวนธรรมนี้ สิ่งที่ควรสนใจเป็นพิเศษในการศึกษาขั้นนี้ ก็คือ ความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามา ซึ่งเกิดขึ้นในลำดับถัดจากผัสสะนั่นเอง

ความรู้สึกนี้ ในภาษาธรรมเรียก ว่า "เวทนา" แปลว่า การเสวยอารมณ์ หรือการเสพรสอารมณ์ คือความรู้สึกต่ออารมณ์ที่รับรู้เข้ามานั้น โดยเป็นสุข สบาย ไม่สบาย หรือ เฉยๆ อย่างใดอย่างหนึ่ง

เวทนานี้ ถ้าแบ่งตามทางรับรู้ ก็มี ๖ เท่าจำนวนอายตนะ คือ เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางตา
เวทนาที่เกิดจากสัมผัสทางหู เป็นต้น * แต่ถ้าแบ่งตามจำนวนคุณภาพจะมีจำนวน ๓ คือ

๑. สุข ได้แก่ สบาย ชื่นใจ ถูกใจ

๒. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบาย เจ็บปวด

๓. อทุกขมสุข ไม่ทุกข์ ไม่สุข คือเรื่อยๆ เฉยๆ ซึ่งเรียกว่าอีกอย่างหนึ่ง อุเบกขา *

อีกอย่างหนึ่ง แบ่งละเอียดลงไปเป็น ๕ อย่าง คือ

๑. สุข ได้แก่ สบายกาย

๒. ทุกข์ ได้แก่ ไม่สบายกาย เจ็บปวด

๓. โสมนัส ได้แก่ สบายใจ ชื่นใจ

๔. โทมนัส ได้แก่ ไม่สบายใจ เสียใจ และ

๕. อุเบกขา ได้แก่ เฉยๆ ไม่สุขไม่ทุกข์

กระบวนการรับรู้เท่าที่กล่าวมานี้ เขียนให้เห็นง่ายๆ ได้ดังนี้

อายตนะ + อารมณ์ + วิญญาณ = ผัสสะ > เวทนา

ทางรับรู้ สิ่งที่ถูกรู้ ความรู้ การรับรู้ ความรู้สึกต่ออารมณ์

...........

ที่อ้างอิง *

เวทนา ๖ (feeling)

๑ จักขุสัมผัสชา เวทนา - เวทนาเกิดจากสัมผัสทางตา

๒. โสตสัมผัสชา เวทนา - เวทนาเกิดจากสัมผัสทางหู

๓. ฆานสัมผัสชา เวทนา - เวทนาเกิดจากสัมผัสทางจมูก

๔. ชิวหาสัมผัสชา เวทนา - เวทนาเกิดจากสัมผัสทางลิ้น

๕. กายสัมผัสชา เวทนา - เวทนาเกิดจากสัมผัสทางกาย

๖ มโนสัมผัสชา เวทนา - เวทนาเกิดจากสัมผัสทางใจ (สํ.สฬ.18/434/287)


* อุเบกขา ในเวทนาหมวดนี้ เป็นคนละอย่างกับอุเบกขาในหมวดสังขาร (เช่น อุเบกขาพรหมวิหาร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นต้น)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 20:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
6ทวารกำลังมีแล้วที่กายตัวเองเดี๋ยวนี้
ไม่ต้องไปอ่านตัวหนังสือดูความจริงเลย
เห็นผิดจึงพาให้เกิดกิเลสครบ6ทางอายตนะ
ตถาคตตรัสว่าจิตเห็นสีคุณเห็นแค่สีไหมเดี๋ยวนี้
ทวารทางตาก็มีแล้วก็ดูให้ชัดตาไม่บอดมันมีแค่สีไหม
ที่กำลังมองดูอยู่จำได้หมดเลยยังไม่พูดด้วยซ้ำเห็นผิดแล้วตรงไหมเพราะกำลังเห็นเกินสี
จิตเห็นเป็นประธานเนี่ยพาเห็นผิดทางอื่นก็ผิดหมดทำอะไรได้ไหมมีครบแล้ว6ทวารต้องอ่านตัวอักษรไหมคะ
cool
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 06:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คิกๆๆ

ต่อ


ดังได้กล่าวแล้ว อารมณ์ก็คือโลกที่ปรากฏลักษณะอาการแก่มนุษย์ทางอายตนะต่างๆ การรับรู้อารมณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้มีความสามารถในการเกี่ยวข้องกับโลก ทำให้ชีวิตอยู่รอดและดำเนินไปด้วยดี



ในกระบวนการรับรู้นี้ เวทนาก็ เป็นส่วนประกอบสำคัญอย่าง หนึ่ง โดยทำหน้าที่เป็นเครื่องชี้บอกให้ทราบว่า อะไรเป็นอันตรายแก่ ชีวิต ควรหลีกเว้น อะไรเกื้อกูลแก่ชีวิต ควรถือเอาประโยชน์ ได้ เวทนาจึงช่วยให้กระบวนการรับรู้ที่ดำเนินต่อไป สามารถสร้างความ รู้ความเข้าใจที่ครบถ้วนบริบูรณ์ เป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น


แต่สำหรับมนุษย์ปุถุชน เวทนามิ ได้มีความหมายเพียงเท่า นั้น คือ มิใช่เพียบแค่ว่า กระบวนการรับรู้ได้มีส่วนประกอบเพิ่มเข้ามาอีกอ ย่าง หนึ่ง ที่ช่วยเสริมความรู้ได้สมบูรณ์ อันจะทำให้เขามีความสามารถมากขึ้น ในการดำเนินชีวิตที่ดีงาม
แต่เวทนายัง หมายถึงการที่โลกมีอะไรอย่างหนึ่งเป็นผลตอบแทนหรือรางวัลแก่เขาในการเข้าไป เกี่ยวข้องกับโลกด้วย
ผลตอบแทนที่ว่านี้ คือความเอร็ดอร่อย ความชื่น ใจที่เกิดจากอารมณ์ ซึ่งเรียกว่า สุขเวทนา


ในกรณีที่กระบวนการรับรู้ดำเนินมาตามลำดับจนถึงเวทนา
ถ้ามนุษย์ หันเข้า จับเวทนาไว้ตามความหมายในแง่นี้ มนุษย์ก็จะหันเหออกไปจากกระบวนการรับรู้
ทำให้กระบวนธรรมอีกอย่าง หนึ่งได้โอกาสเข้ามารับช่วงแล่นต่อไปแทนที่ โดยเวทนา จะกลายเป็นปัจจัยตัวเอกที่จะก่อให้เกิดผลสืบเนื่องต่อไป พร้อมกันนั้น กระบวนการรับรู้ ซึ่งกลายไปเป็นส่วนประกอบ และเดินควบไปด้วย ก็จะถูกกำลังจากกระบวนธรรมใหม่นี้บีบคั้นให้บิดเบือน และเอนเอียงไปจากความเป็นจริง


กระบวนธรรมรับช่วงที่ ว่านี้ มักดำเนินไปในแบบง่ายๆพื้นๆ คือ เมื่อรับรู้อารมณ์อย่าง ใดอย่างหนึ่งแล้ว เกิดความรู้สึกสุขสบายชื่นใจ (= สุข-เวทนา) ก็อยากได้ (= ตัณหา)
เมื่ออยากได้ ก็ติดใจพัวพันจนถึงขั้นยึดติดถือมั่น (= อุปาทาน) ค้างใจอยู่ ไม่อาจวางลงได้ ทั้งที่ความเป็นจริง ไม่อาจถือเอาไว้ ได้ เพราะสิ่งนั้นๆ ล่วงเลยผ่านพ้นหมดไปแล้ว
จากนั้น ก็เกิดความครุ่นคิดสร้างภาพต่างๆ ที่จะให้ตนอยู่ในภาวะครอบ ครองอารมณ์อันให้เกิดสุขเวทนานั้น พร้อมทั้งคิดปรุงแต่งสร้างวิธีการที่จะให้ได้อารมณ์ และสิ่งอันเป็นที่ตั้งแห่งอารมณ์นั้น แล้วลงมือกระทำการต่างๆ ทางกายบ้าง วาจาบ้าง เพื่อให้ได้มาซึ่งผลที่ต้องการ เพื่อจะได้เวทนาที่ชอบใจนั้นยิ่งๆขึ้นไปอีก


ในทางตรงข้าม ถ้ารับรู้อารมณ์ใดแล้ว เกิดความรู้สึกทุกข์ เจ็บ ปวด ไม่สบาย (= ทุกข-เวทนา) ก็ไม่ชอบใจ ขัดเคือง
อยากจะพ้นไป หรือให้มันสูญสิ้นไป อยากทำลาย (= ตัณหา)
ผูกใจ ปักใจ ค้างใจกับสิ่งนั้น (=อุปาทาน) ในทางร้าย ที่จะชิงชัง เกลียดกลัว หลีกหนี อย่าให้พบเห็นอีก เป็นต้น
พร้อมกับเกิดเป็นปฏิกิริยา ให้ยิ่งยึดมั่นฝันหาผูกใจมั่นหมาย ที่จะให้พบให้ได้สุขเวทนา และสิ่งที่หวังว่าจะให้สุขเวทนาแก่ตนยิ่งขึ้นไป อีก


ในกระบวนการนี้ ก็จึงบังเกิด เป็นสุขทุกข์ แบบซับซ้อนรุนแรงเข้มข้น ที่เป็นผลเสกสรรค์ของมนุษย์เอง ซึ่งหมุนเวียนเข้าวงจรที่เริ่มจากเวทนาใหม่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า กลายเป็นสังสารวัฏ์ วนอยู่อย่างนั้น ไม่สามารถก้าวต่อไปสู่ผลเลิศอย่างอื่น ที่ชีวิตนี้ยังสามารถเข้าถึงได้ยิ่งกว่านั้นขึ้นไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 06:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
Kiss
6ทวารกำลังมีแล้วที่กายตัวเองเดี๋ยวนี้
ไม่ต้องไปอ่านตัวหนังสือดูความจริงเลย
เห็นผิดจึงพาให้เกิดกิเลสครบ6ทางอายตนะ
ตถาคตตรัสว่าจิตเห็นสีคุณเห็นแค่สีไหมเดี๋ยวนี้
ทวารทางตาก็มีแล้วก็ดูให้ชัดตาไม่บอดมันมีแค่สีไหม
ที่กำลังมองดูอยู่จำได้หมดเลยยังไม่พูดด้วยซ้ำเห็นผิดแล้วตรงไหมเพราะกำลังเห็นเกินสี
จิตเห็นเป็นประธานเนี่ยพาเห็นผิดทางอื่นก็ผิดหมดทำอะไรได้ไหมมีครบแล้ว6ทวารต้องอ่านตัวอักษรไหมคะ



กายใจตัวเองที่ไหน ก็ไหนว่ามันเป็นอนัตตา ว่าจะเอาอะไรไปทำไง คิกๆๆ

ธรรมะเรื่องของตัวเองแท้ๆ แต่ไม่เข้าใจตัวเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 09:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
6ทวารกำลังมีแล้วที่กายตัวเองเดี๋ยวนี้
ไม่ต้องไปอ่านตัวหนังสือดูความจริงเลย
เห็นผิดจึงพาให้เกิดกิเลสครบ6ทางอายตนะ
ตถาคตตรัสว่าจิตเห็นสีคุณเห็นแค่สีไหมเดี๋ยวนี้
ทวารทางตาก็มีแล้วก็ดูให้ชัดตาไม่บอดมันมีแค่สีไหม
ที่กำลังมองดูอยู่จำได้หมดเลยยังไม่พูดด้วยซ้ำเห็นผิดแล้วตรงไหมเพราะกำลังเห็นเกินสี
จิตเห็นเป็นประธานเนี่ยพาเห็นผิดทางอื่นก็ผิดหมดทำอะไรได้ไหมมีครบแล้ว6ทวารต้องอ่านตัวอักษรไหมคะ



กายใจตัวเองที่ไหน ก็ไหนว่ามันเป็นอนัตตา ว่าจะเอาอะไรไปทำไง คิกๆๆ

ธรรมะเรื่องของตัวเองแท้ๆ แต่ไม่เข้าใจตัวเอง


ธัมมะแปลว่าสิ่งที่มีจริงๆที่กำลังปรากฏ
ธัมมะมันอยู่ที่ตัวหนังสือนั่นเหรอ
คำสอนรู้ได้ตรงสัณฐาน
มหาภูตรูปที่ชื่อกาย
เป็นการรู้ที่ใจ
ตรงผัสสะ
ตรงๆ
ทีละ1
ไม่มีตัวตน
เพียรพึ่งพระรัตนตรัยคือฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
:b12:
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 09:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
Kiss
6ทวารกำลังมีแล้วที่กายตัวเองเดี๋ยวนี้
ไม่ต้องไปอ่านตัวหนังสือดูความจริงเลย
เห็นผิดจึงพาให้เกิดกิเลสครบ6ทางอายตนะ
ตถาคตตรัสว่าจิตเห็นสีคุณเห็นแค่สีไหมเดี๋ยวนี้
ทวารทางตาก็มีแล้วก็ดูให้ชัดตาไม่บอดมันมีแค่สีไหม
ที่กำลังมองดูอยู่จำได้หมดเลยยังไม่พูดด้วยซ้ำเห็นผิดแล้วตรงไหมเพราะกำลังเห็นเกินสี
จิตเห็นเป็นประธานเนี่ยพาเห็นผิดทางอื่นก็ผิดหมดทำอะไรได้ไหมมีครบแล้ว6ทวารต้องอ่านตัวอักษรไหมคะ



กายใจตัวเองที่ไหน ก็ไหนว่ามันเป็นอนัตตา ว่าจะเอาอะไรไปทำไง คิกๆๆ

ธรรมะเรื่องของตัวเองแท้ๆ แต่ไม่เข้าใจตัวเอง


ธัมมะแปลว่าสิ่งที่มีจริงๆที่กำลังปรากฏ

ธัมมะมันอยู่ที่ตัวหนังสือนั่นเหรอ

คำสอนรู้ได้ตรงสัณฐาน
มหาภูตรูปที่ชื่อกาย
เป็นการรู้ที่ใจ
ตรงผัสสะ
ตรงๆ
ทีละ1
ไม่มีตัวตน
เพียรพึ่งพระรัตนตรัยคือฟังคำสอนของพระพุทธเจ้า
:b12:
:b32: :b32:


ตัวหนังสือก็ธัมมะ อิอิ บาป อกุศลก็ธัมมะ คิกๆๆ อะไรบ้างที่ไม่ใช่ธรรมะ :b32:

ดังนั้น ไปศึกษาคำว่าธรรมะใหม่

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 10:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b13:


โดยนัยนี้ จะเห็นว่า ช่วงต่อที่กระบวนธรรมจะสืบทอดจากการรับรู้ (= ผัสสะ) ต่อไปนั้น เป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่ง เรียกได้ว่า เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทีเดียว และ
ในภาวะเช่นนี้ เวทนาเป็นองค์ธรรมที่มีบทบาทสำคัญมาก
กระบวนธรรมที่ดำเนินต่อไปจะเป็นอย่างไร ต้องขึ้นต่อบทบาทของเวทนา ว่า จะมีลักษณะอย่างใด ทั้งนี้ พอจะตั้งเป็นข้อสังเกตได้ว่า


ก. กระบวนธรรมที่สืบทอดต่อจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อ ระหว่างกระบวนการรับรู้ที่บริสุทธิ์ กับ กระบวนการสังสารวัฏ

ในกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ เวทนามีบทบาทเป็นเพียงองค์ประกอบย่อยๆอย่างหนึ่งที่ช่วยให้เกิดความรู้ที่ถูกต้องสมบูรณ์

ในกระบวนการสังสารวัฏ เวทนาเป็น ปัจจัยตัวเอกที่มีอิทธิพลครอบงำความเป็นไปของกระบวนธรรมทั้งหมด กล่าวได้ว่า มนุษย์จะคิดปรุงแต่งอย่างไรและทำการอะไร ก็เพราะเวทนา และเพื่อเวทนา หรือชีวิตจะเป็นอย่างไร นอกจากนั้น ในกระบวนการสังสารวัฏนี้ มนุษย์มิได้หยุดอยู่เพียงแค่เป็นผู้รับรู้อารมณ์เรียนรู้โลกเพื่อเกี่ยวข้อง จัดการกับโลกอย่างได้ผลดีเท่านั้น แต่ได้ก้าวต่อไปสู่ความเป็นผู้เสพเสวยโลกด้วย


สำหรับกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์นั้น ถ้าจะพูดให้ละเอียดชัดเจนตามหลัก ก็ต้องตัดตอนที่ช่วงต่อจากผัสสะนี้ ด้วยเหมือนกัน โดยถือว่า การรับรู้เกิดขึ้นเสร็จสิ้นแล้วที่ผัสสะ
ดังนั้น กระบวนธรรมต่อจากนี้ไป จึงแยกได้เป็นอีกตอนหนึ่ง และขอเรียกชื่อว่า กระบวนการญาณทัศนะ หรือกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ เป็นคู่ปฏิปักษ์ กับ กระบวนการสังสารวัฏ


(แต่กระบวนธรรมแบบ วิวัฏฏ์ เป็นเรื่องของการแก้ปัญหาชีวิต จะยกไปกล่าวตอนที่ว่าด้วย “ชีวิตควรให้เป็นอย่างไร” และ “ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร” ไม่กล่าวในที่นี้)


ข. กระบวนธรรมที่สืบทอดจากผัสสะ เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อทางจริยธรรม ระหว่างความดี กับ ความชั่ว ระหว่างกุศล กับ อกุศล ระหว่างความหลุดพ้นเป็นอิสระ กับ การหมกติดหมุนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ

เมื่อกล่าวถึงส่วนอื่นๆ ของกระบวนธรรมแล้ว ก็ต้องย้อนกลับไปพูดถึงอายตนะอีก เพราะกระบวนธรรมต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ต้องอาศัยอายตนะ เริ่มต้นที่อายตนะ เมื่อว่าองค์ธรรมอื่นๆ สำคัญ ก็ต้องว่าอายตนะสำคัญเหมือนกัน เช่น เมื่อว่าเวทนาเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก อายตนะก็ย่อมมีความสำคัญมากด้วย เพราะอายตนะเป็นแหล่งหรือเป็นช่องทางที่อำนายให้เวทนาเกิดขึ้น เวทนาเป็นสิ่งที่มนุษย์มุ่งประสงค์ อายตนะเป็นแหล่งอำนวยสิ่งที่มุ่งประสงค์นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 10:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมานี้ สรุปได้ว่า อายตนะ ๖ ทำหน้าที่รับใช้มนุษย์ ๒ อย่าง คือ

๑. เป็นทางรับรู้โลก หรือเป็นแหล่งนำโลกมาเสนอต่อมนุษย์ เป็นเครื่องมือสื่อสาร ทำให้มนุษย์ได้รับข้อมูลแหล่งความรู้ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้มนุษย์สามารถเกี่ยวข้องกับโลกได้ถูกต้อง ทำให้ชีวิตอยู่รอด และดำเนินไปด้วยดี


๒. เป็นช่องทางเสวยโลก หรือเป็นประตูที่มนุษย์จะเปิดออกไปรับอารมณ์ที่เป็นรสอร่อยของโลก มาเสพเสวย ด้วยการดู การฟัง การดม การลิ้มชิมรส การแตะต้องเสียดสี ความสนุกสนานบันเทิง ตลอดจนจินตนาการสิ่งที่หวานชื่นระรื่นใจ


ความจริง หน้าที่ทั้งสองอย่างนี้ ก็ติดเนื่องอยู่ด้วยกัน หน้าที่อย่างแรก เรียกไ้ด้ว่าเ็ป็นหน้าที่หลัก หรือหน้าทีีพื้นฐานที่จำเป็น ส่วนหน้าที่ที่สองเป็นหน้าที่รอง จะว่าเป็นของแถมหรือส่วนเกินก็คงได้


ในกรณีสนองหน้าที่ทั้งสองนั้น การทำงานของอายตนะก็อย่างเดียวกัน ความแตกต่างอยู่ที่เจตจำนงของมนุษย์ ซึ่งมุ่งไปที่ความรู้ หรือมุ่งไปที่เวทนา


สำหรับ มนุษย์ปุถุชน ความสำคัญของอายตนะมักจะก้าวข้ามมาอยู่กับหน้าที่อย่างที่สอง คือการเสพเสวยโลก จนถึงขั้นที่กลายเป็นว่า หน้าที่อย่างที่หนึ่งมีไว้เพียงเพื่อเป็นส่วนประกอบสนองการทำหน้าที่อย่าง ที่สอง หรือพูดอีกอย่างหนึ่งว่า กระบวนการรับรู้มีไว้เพื่อรับใช้กระบวนการเสพเสวยโลก หรือรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเท่านั้นเอง ทั้งนี้ เพราะปุถุชนมักใช้อายตนะเพื่อมุ่งรับรู้เฉพาะความรู้ส่วนที่จะทำให้ตนได้ เสพเสวยอารมณ์อร่อยของโลกเท่านั้น หาสนใจสิ่งอันพึงรู้นอกจากนั้นไม่

ยิ่งกว่านั้น สำหรับปุถุชน แม้กระทั่งความสัมพันธ์กับโลก ในภาคแสดงออกด้วยการทำ การพูด การคิด ก็จะกลายเป็นการกระทำเพื่อรับใช้กระบวนการสังสารวัฏเช่นเดียวกัน คือ มุ่งทำ พูด คิด เพื่อแสวงหาและให้ได้มา ซึ่งอารมณ์สำหรับเสพเสวย

ยิ่งเป็นปุถุชนที่หนามากเท่าใด ความติดข้องพัวพันอยู่กับหน้าที่อย่างที่สองของอายตนะก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น จนถึงขั้นที่ว่า ชีวิตและโลกของมนุษย์วนเวียนอยู่แค่อายตนะ ๖ เท่านั้นเอง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 10:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เท่าที่กล่าวมานี้ จึงเห็นได้ว่า แม้อายตนะ (ภายใน) ๖ จะเป็นเพียงส่วนหนึ่งของขันธ์ ๕ * และไม่

ครอบคลุมทุกส่วนแห่งชีวิตมนุษย์โดยสิ้นเชิง เหมือนอย่างขันธ์ ๕ ก็จริง แต่มันก็มีบทบาทสำคัญยิ่ง

ในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ มีอำนาจกำกับวิถีชีวิตของมนุษย์เป็นอย่างมาก จนกล่าวได้ว่า ชีวิตเท่า

ที่มนุษย์รู้จักและดำเนินอยู่ ก็คือการติดต่อเกี่ยวข้องกับโลกทางอายตนะเหล่านี้ และชีวิตมีความหมาย

ต่อมนุษย์ก็ด้วยอาศัยอายตนะเหล่านี้

ถ้าอายตนะไม่ทำหน้าที่แล้ว โลกก็ดับ ชีวิตก็ไร้ความหมายสำหรับมนุษย์

……

อ้างอิงที่ *

* อายตนะทั้ง ๑๒ (คือรวมทั้งอายตนะภายนอก) จัดลงในขันธ์ ๕ (อายตนะภายใน ๖ ลงได้หมด แต่อายตนะภายนอก ๖ เกินขันธ์ ๕ ) ดังนี้

๑. อายตนะ ๕ คู่แรก (จักขุ - รูป โสต - สัททะ ฆานะ - คันธะ ชิวหา - รส กาย -โผฏฐัพพะ) อยู่ในรูปขันธ์

๒. อายตนะภายในที่ ๖ คือ มโนหรือใจ อยู่ในวิญญาณขันธ์

๓. อายตนะภายนอก ๖ คือ ธรรม หรือธรรมารมณ์ อยู่ในขันธ์ ๔ คือ นามขันธ์ ๓ (เวทนา สัญญา สังขาร) และ รูปขันธ์ (เฉพาะที่เป็นสุขุมรูปเท่านั้น เช่น อากาศธาตุ ความเป็นหญิง ความเป็นชาย ความเบา ความอ่อนสลวย ความสืบต่อ ความทรุดโทรม การขยายตัว ความแปรสลายของรูป เป็นต้น) กับทั้งนิพพาน ซึ่งเป็นภาวะพ้นจากขันธ์ (ขันธวินิมุต) (ดู อภิ. วิ. 35/100/85)


.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 10:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อความแห่งหนึ่งในบาลี แสดงกระบวนธรรมเท่าที่กล่าวมานี้ได้อย่างกะทัดรัด และช่วยเชื่อมความที่กล่าวมาในตอนว่าด้วยขันธ์ ๕ เข้ากับเรื่องที่อธิบายในตอนนี้ให้ต่อเนื่องกัน มองเห็นกระบวนธรรมได้ครบถ้วนตลอดสายยิ่งขึ้น จึงขอยกมาอ้างไว้ ดังนี้ * (ม.มู.12/248/226)

"อาศัยตา และรูป เกิดจักขุวิญญาณ ความประจวบแห่งธรรมทั้ง ๓ นั้น เป็นผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมี บุคคลเสวยอารมณ์ใด ย่อมหมายรู้อารมณ์นั้น (= สัญญา) หมายรู้อารมณ์ใด ย่อมตริตรึกอารมณ์นั้น (= วิตักกะ) ตริตรึกอารมณ์ใด ย่อมผันพิสดารซึ่งอารมณ์นั้น (= ปปัญจะ) บุคคลผันพิสดารซึ่งอารมณ์ใด เพราะการผันพิสดารนั้นเป็นเหตุ ปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ * (= สัญญาที่ซับซ้อนหลากหลาย) ย่อมผุดพลุ่งสุมรุมเขา ในเรื่องรูปทั้งหลาย ที่พึงรู้ได้ด้วยตา ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน"

(ต่อไป ว่าด้วยอายตนะ และอารมณ์อื่นๆ จนครบ ๖ คู่ ใจความอย่างเดียวกัน)

เมื่อเกิดปปัญจสัญญาแล้ว ก็ยิ่งมีความตริตรึกนึกคิด (วิตักกะ) ได้มากมายและกว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น ทำให้เกิดกิเลสต่างๆ เช่น ชอบใจ ไม่ชอบใจ หวงแหน ริษยา เป็นต้น ปนเป คลุกเคล้า ไปกับความคิดนั้น * (ดู ที.ม.10/256-7/311)

* คำเต็มว่า ปปญฺจสญฺญาสงฺขา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 11:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


หมายเหตุ:

๑. คำที่ควรเข้าใจคือ ปปัญจะ หมายถึง อาการที่คลอเคลียพัวพันอยู่กับอารมณ์นั้น และคิดปรุงแต่งไปต่างๆด้วยแรงตัณหา มานะ และทิฏฐิผลักดัน หรือเพื่อสนองตัณหา มานะ และทิฏฐิ คือปรุงแต่งในแง่ที่จะเป็นของฉัน ให้ตัวฉันเป็นนั่นเป็นนี่ หรือเป็นไปตามความเห็นของฉัน ออกรูปออกร่างต่างๆ มากมายพิสดาร จึงทำให้เกิดปปัญจสัญญาแง่ต่างๆ คือสัญญาทั้งหลายที่เนื่องด้วยปปัญจะนั่นเอง

๒. จะเห็นว่ามีสัญญา ๒ ตอน สัญญาตอนแรก คือสัญญาขั้นต้น ที่กำหนดหมายอารมณ์ซึ่งปรากฏตามปกติธรรมดาของมัน
สัญญาตอนหลัง เรียกว่า ปปัญจสัญญา เป็นสัญญาเนื่องจากสังขารที่ปรุงแต่งภาพอารมณ์ให้ออกรูปร่างแง่มุมต่างๆ มากมายพิสดาร ดังกล่าวแล้ว

๓. จะเห็นว่า กระบวนธรรมทั้งหมดนั้นแยกได้เป็น ๒ ตอน


ก. ตอนแรก ตั้งแต่อายตนะภายในถึงเวทนา เป็นกระบวนการรับรู้บริสุทธิ์ พึงสังเกตว่า ช่วงตอนนี้กระบวนธรรมเป็นกระแสบริสุทธิ์ตามธรรมชาติ มีแต่องค์ธรรมที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัย (พึงอ่านความที่ยกมาอ้างข้างบน) ยังไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน เกี่ยวข้อง


ข. ตอนปลาย ตัดตอนแต่เวทนาไปแล้ว เป็นกระบวนธรรมแบบเสพเสวยโลก หรือกระบวนการสังสารวัฏ มารับช่วงไป ความจริงตั้งแต่เวทนานี้ไปเป็นทางแยก อาจต่อด้วยกระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์ก็ได้ แต่ในที่นี้มุ่งแสดงแต่แบบสังสารวัฏก่อน
ข้อพึงสังเกตในตอนนี้ก็คือ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของช่วงหลังนี้ จะไม่มีเพียงองค์ธรรมต่างๆ ที่เป็นเหตุปัจจัยแก่กันตามธรรมชาติเท่านั้น แต่จะเกิดมีสัตว์บุคคลขึ้นมา กลายเป็นความสัมพันธ์ระหว่างผู้เสพเสวย กับ สิ่งที่ถูกเสพเสวย ผู้คิดและสิ่งที่ถูกคิด เป็นต้น


๔. กระบวน ธรรมเสพเสวยโลกในช่วงปลาย ที่แสดงข้างบนนี้ เป็นเพียงวิธีแสดงแบบหนึ่งเท่านั้น เลือกเอามาเพราะเห็นว่าสั้น และเข้ากับเรื่องที่กำลังอธิบาย คือ ขันธ์ และอายตนะได้ดี อาจแสดงแบบอื่นอีกก็ได้ เช่นที่แสดงอย่างพิสดาร ในหลักปฏิจจสมุปบาทแบบทั่วไป ซึ่งเป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏโดยสมบูรณ์

๕. ว่าตามหลักอย่างเคร่งครัด วิญญาณ ผัสสะ เวทนา สัญญา ในกระบวนธรรมนี้ เป็นสหชาตธรรม ท่านถือว่า เกิดร่วมกัน พึงเข้าใจว่า ที่เขียนแสดงลำดับไว้อย่างนี้ มุ่งเพื่อศึกษาได้ง่าย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 16:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้ปฏิบัติธรรมหรือปฏิบัติกัมมัฏฐาน ดูอาจพอเข้าใจ เพราะการปฏิบัติต้องประสบกับเวทนา ไม่ว่าจะทุกขเวทนาก็ตาม สุขเวทนาก็ตาม ทั้งทางกายใจ ทั้งทางกาย โยคีจำต้องผ่านเวทนาไปด้วยการกำหนดรู้มันตามเป็นจริง มิใช่หลบๆเลี่ยงๆ

เพราะเวทนานั้นเป็นทางแยกทางสองแพร่ง ทางหนึ่งวนไปวนมา (สังสารวัฏฏ์) แต่อีกทางไปยังจุดหมายคือการพ้นทุกข์ (วิวัฏฏ์)

ดูหลัก ต่อ


เนื่องด้วยกระบวนธรรมนี้ แยกได้เป็น ๒ ช่วงตอน และช่วงตอนหลัง อาจแยกไปเป็นกระบวนธรรมแบบสังสารวัฏ หรือแบบวิวัฏฏ์ก็ได้

ดังนั้น เพื่อมองเห็นภาพได้กว้างขวางขึ้น อาจเขียนแสดงได้ ดังนี้

- - - - - - ------------ กระบวนธรรมแบบสังสารวัฏฏ์

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - ^
อายตนะ+อารมณ์+วิญญาณ = ผัสสะ => เวทนา

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - V

- - - - - -------------- - กระบวนธรรมแบบวิวัฏฏ์

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 16:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ในเรื่องอายตนะนี้ มีข้อควรรู้เพิ่มเติมเพื่อประโยชน์ในการศึกษาต่อไป ดังนี้

@ อายตนะภายใน หรือ ทวาร ๖ นั้น มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อินทรีย์ ๖

คำว่า อินทรีย์ แปลว่า ภาวะที่เป็นใหญ่ หมายถึง สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นใหญ่ เป็นเจ้าหน้าที่ หรือเป็นเจ้าการในเรื่องนั้นๆ เช่น

ตา เป็นเจ้าการในการรับรู้รูป (รูปารมณ์)

หู เป็น เจ้าการในการรับรู้เสียง (สัททารมณ์) เป็นต้น

อินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ และ มนินทรีย์

คำว่า อินทรีย์ นิยมใช้กับอายตนะ ในขณะทำหน้าที่ของมัน ในชีวิตจริง และเกี่ยวกับจริยธรรม เช่น การสำรวมจักขุนทรีย์ เป็นต้น

ส่วนอายตนะนิยมใช้ในเวลาพูดถึงตัวสภาวะที่ อยู่ในกระบวนธรรม เช่นว่า อาศัยจักขุ อาศัยรูป เกิดจักขุวิญญาณ เป็นต้น และ
เมื่อพูดถึงสภาวลักษณะ เช่นว่า จักขุไม่เที่ยง เป็นต้น


อีกคำหนึ่ง ที่ใช้พูดกันบ่อยในเวลากล่าวถึงสภาวะในกระบวนธรรม คือคำว่า ผัสสายตนะ แปลว่า ที่เกิดหรือบ่อเกิดแห่งผัสสะ คือ ที่มาของการรับรู้นั่นเอง

@ อายตนะภายนอก หรือ อารมณ์ ก็มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก คือ “โคจร” (ที่เที่ยว, ที่หากิน) และ “วิสัย” (สิ่งผูกพัน, แดนดำเนิน)


และชื่อที่ควรกำหนดเป็นพิเศษ ใช้เฉพาะกับ อารมณ์ ๕ อย่างแรก ซึ่งมีอิทธิพลมาในกระบวนธรรม แบบเสพเสวยโลก หรือแบบสังสารวัฏ คือคำว่า “กามคุณ(ส่วนที่น่าใคร่น่าปรารถนา, ส่วนที่ดี หรือส่วนอร่อยของกาม)

กามคุณ ๕ หมายถึง

รูป (รูปะ)

เสียง (สัททะ)

กลิ่น (คันธะ)

รส (รสะ) และ

โผฏฐัพพะ (สิ่งต้องกาย) เฉพาะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เท่านั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 13 ธ.ค. 2018, 16:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คุณโรสอ่านแล้วพอเข้าใจไหมขอรับ :b32:

หรือเห็นแค่เป็นตัวหนังสือ คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 43 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร