วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 17:39  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 59, 60, 61, 62, 63, 64, 65 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เนื้อสำหรับเราหาได้ยากนักหรือ จึงทรงหักคอพระโอรสที่นั่ง
อยู่บนพระเพลา จนถึงสิ้นชีพีตักษัย โยนไปข้างหน้าพ่อครัว
ตรัสว่า จงไปปรุงมาโดยเร็ว. พ่อครัวได้ทำตามรับสั่ง. พระราชา
ได้เสวยพระกระยาหารด้วยเนื้อพระโอรสแล้ว. มิได้มีผู้สามารถ
ร่ำไห้ทัดทานแม้แต่คนเดียว เพราะกลัวพระราชา. พระราชา

ครั้นเสวยเสร็จแล้วเสด็จเข้าห้องบรรทม ทรงตื่นบรรทม
ตอนใกล้รุ่ง ทรงสร่างเมาแล้วรับสั่งว่า จงนำโอรสของเรามา.
ในกาลนั้นพระเทวีหมอบกันแสงร่ำไห้อยู่ ณ แทบพระบาท เมื่อ
พระราชาตรัสถามว่า กันแสงเรื่องอะไร กราบทูลว่า ข้าแต่
พระองค์เมื่อวานนี้พระองค์ทรงฆ่าพระโอรสแล้วเสวยพระกระ-

ยาหารกับเนื้อพระโอรสเพคะ. พระราชาทรงกันแสงด้วยความ
โศกถึงพระโอรส ทรงเห็นโทษในการดื่มน้ำเมาว่า ทุกข์นี้เกิด
ขึ้นแก่เรา เพราะอาศัยการดื่มน้ำเมา แล้วทรงกำฝุ่นขึ้นมาทา
พระพักตร์ ทรงอธิษฐานว่า ตั้งแต่นี้ไปเรายังไม่บรรลุพระอรหัต
ตราบใด เราจักไม่ดื่มสุราอันทำความพินาศเช่นนี้ตราบนั้น.

ตั้งแต่นั้นมาพระองค์มิได้ทรงดื่มน้ำเมาอีกเลย. ฉัตตปาณีกัลบก
กล่าวคาถานี้ว่า ปมตฺโตหํ มหาราช หมายถึงความนี้.

ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ฉัตตปาณีท่าน
เห็นอารมณ์อะไรหรือ จึงไม่มีความรัก. ฉัตตปาณีเมื่อจะทูลเหตุ
นั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ข้าพระองค์เป็นพระราชาพระนามว่า
กิตวาส โอรสของข้าพระองค์ทำลายบาตรของ
พระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วสิ้นชีวิต ข้าพระองค์ไม่
มีความรักเพราะโอรสนั้นเป็นเหตุ.

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อครั้งก่อนข้าพระองค์
เป็นพระราชาพระนามว่า กิตวาส ในกรุงพาราณสี. โอรสของ
ข้าพระองค์ได้ประสูติ. ครั้นประสูติแล้ว โหรเห็นลักษณะพระ-
โอรสแล้วทำนายว่า ข้าแต่มหาราช พระอาญาไม่พ้นเกล้า พระ-

โอรสนี้จักอดน้ำสิ้นพระชนม์ พระเจ้าข้า. พระชนกชนนีทรง
ขนานนามพระโอรสนั้นว่า ทุฏฐกุมาร. กุมารนั้นครั้นเจริญวัย
แล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเป็นอุปราช. พระราชาโปรดให้พระกุมาร
ตามเสด็จ ข้างหน้าบ้าง ข้างหลังบ้างเสมอ. และเพราะเกรง

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระโอรสจะอดน้ำตาย จึงรับสั่งให้ขุดสระโบกขรณีไว้ในที่นั้น ๆ
ภายในพระนครในประตูทั้งสี่ด้าน. รับสั่งให้สร้างมณฑปไว้
ตามสี่แยกเป็นต้น แล้วให้ตั้งตุ่มน้ำดื่มไว้. วันหนึ่งพระกุมารแต่ง
พระองค์เสด็จประพาสอุทยานแต่เช้าตรู่ พบพระปัจเจกพุทธเจ้า
ในระหว่างทาง. มหาชนเห็นพระปัจเจกพุทธเจ้า แล้วต่างก็กราบ

ไหว้สรรเสริญและประคองอัญชลีแด่พระปัจเจกพุทธเจ้านั้น.
พระกุมารนั้นคิดว่า พวกที่ไปกับคนเช่นเราพากันกราบไหว้
สรรเสริญประคองอัญชลีแด่สมณะโล้นนี้ ทรงพิโรธ ลงจากช้าง
เข้าไปหาพระปัจเจกพุทธเจ้า ตรัสถามว่า สมณะท่านได้ภัตตาหาร
แล้วหรือ พระปัจเจกพุทธเจ้าบอกว่า ได้แล้วพระกุมาร. พระ-

กุมารจึงแย่งบาตรจากมือพระปัจเจกพุทธเจ้าทุ่มลงบนพื้นดิน
เหยียบย่ำยีภัตตาหารให้แหลกไป. พระปัจเจกพุทธเจ้าแลดูหน้า
พระกุมารนั้น คิดว่าสัตว์ผู้นี้ทีจะวอดวายเสียแล้วหนอ. พระ-
กุมารตรัสว่า สมณะเราเป็นโอรสของพระเจ้ากิตวาส มีนามว่า
ทุฏฐกุมาร ท่านโกรธเรา มองดูตาเรา จะทำอะไรเรา. พระ-

ปัจเจกพุทธเจ้า บาตรแตกแล้วจึงเหาะขึ้นสู่เวหาไปสู่เงื้อมเขา
นันทมูล ณ หิมวันตประเทศ เบื้องทิศอุดร. ขณะนั้นเองกรรมชั่ว
ของพระกุมารก็ให้ผลทันตา. พระกุมารมีพระวรกายเร่าร้อน
พลุ่งพล่าน ตรัสว่า ร้อนเหลือเกินล้มลง ณ ที่นั้นเอง. น้ำทั้งหมด

ที่มีอยู่ ณ ที่นั้น ๆ ก็เหือดแห้ง. สระทั้งหลายก็แห้งผาก. พระ-
กุมารสิ้นชีพิตักษัยในที่นั้นเอง ไปบังเกิดในนรกอเวจี.

พระราชาทรงสดับเรื่องราวนั้นแล้ว ถูกความโศกถึงพระ-
โอรสครอบงำ ทรงดำริว่า ความโศกของเรานี้เกิดขึ้นแต่สิ่งที่
เรารัก หากเราจะไม่มีความรักแล้ว ความโศกก็จะไม่เกิดขึ้น
ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ขึ้นชื่อว่าความรักในสิ่งใด ๆ ทั้งที่มีวิญญาณ

หรือไม่มีวิญญาณ อย่าได้เกิดขึ้นแก่เราเลย ทรงอธิษฐานดังนี้
แล้ว. ตั้งแต่นั้นไปก็ไม่มีความรักเลย. ฉัตตปาณีกล่าวคาถาว่า
กิตวาโส นามาหํ หมายถึงเนื้อความนั้น.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ลำดับนั้นพระราชาตรัสถามฉัตตปาณีว่า ดูก่อนฉัตตปาณี
ท่านเห็นอารมณ์อันใดเล่า จึงเป็นผู้ไม่โกรธ. ฉัตตปาณีเมื่อจะ
กราบทูลความนั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ข้าพระองค์เป็นดาบสชื่อว่าอรกะ เจริญ
เมตตาจิตเจ็ดปีอยู่ในพรหมโลก เจ็ดกัป เพราะ
ฉะนั้นจึงเป็นผู้ไม่โกรธ.

ความในคาถานั้นว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพระองค์เป็นดาบส
ชื่ออรกะ เจริญเมตตาจิต เจ็ดปี แล้วอยู่ในพรหมโลกถึงเจ็ด
สังวัฏฏกัป วิวัฏฏกัป ข้าพระองค์นั้นจึงไม่เป็นผู้โกรธ เพราะ
ประพฤติสั่งสมเมตตาภาวนาสิ้นกาลนาน.

เมื่อฉัตตปาณีกราบทูลองค์ ๔ ของตนอย่างนี้แล้ว พระ-
ราชาได้ทรงให้สัญญาที่นัดหมายไว้แก่บริษัท. ทันใดนั้นเอง
เหล่าอำมาตย์มีพราหมณ์และคหบดีเป็นต้น ต่างลุกฮือกันขึ้น
กล่าวว่า แน่ะ เจ้าคนกินสินบน โจรผู้ชั่วร้าย เจ้าไม่ได้กินสินบน
แล้ว จึงคิดจะฆ่าบัณฑิต ต่างช่วยกันจับมือและเท้ากาฬกะเสนาบดี

พาลงจากพระราชนิเวศน์ ทุบศีรษะด้วยก้อนหินและไม้ฆ้อน
คนละไม้คนละมือ จนถึงแก่ความตาย จึงจับเท้าลากไปทิ้งไว้ที่
กองหยากเยื่อ. ตั้งแต่นั้นมาพระราชาทรงครองราชสมบัติโดย
ธรรม ครั้นสวรรคตแล้วก็เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. กาฬกะเสนาบดีในครั้งนั้นได้เป็น เทวทัตในครั้งนี้.
ฉัตตปาณีอุบาสกได้เป็นสารีบุตร ส่วนธัมมัทธชปุโรหิต คือเรา
ตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาธัมมัทธชชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. โสมทัตตชาดก ๒. อุจฉิฏฐภัตตชาดก ๓. ภรุราชชาดก
๔. ปุณณนทีชาดก ๕. กัจฉปชาดก ๖. มัจฉชาดก ๗. เสคคุ-
ชาดก ๘. กูฏวาณิชชาดก ๙. ครหิตชาดก ๑๐. ธัมมัทธชชาดก.
จบ พีรณัตถัมภกวรรคที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาสาวชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อนิกฺกสาโว กาสาวํ ดังนี้. แต่เรื่องเกิดขึ้นในกรุงราชคฤห์.

สมัยหนึ่งพระธรรมเสนาบดีอยู่ ณ เวฬุวันมหาวิหารกับ
ภิกษุ ๕๐๐ รูป. ครั้งนั้นพระเทวทัตห้อมล้อมไปด้วยบริษัท
ผู้ทุศีลสมควรแก่ตนอยู่ ณ คยาสีสประเทศ. สมัยนั้นชาวกรุง
ราชคฤห์เรี่ยไรกันจัดตระเตรียมทาน. ครั้งนั้นมีพ่อค้าผู้มาเพื่อ
ทำการค้าขายผู้หนึ่ง ได้ให้ผ้ากาสาวะมีกลิ่นหอม มีค่ามาก ว่า

ท่านทั้งหลายจงจำหน่ายผ้าสาฎกนี้แล้วให้เรามีส่วนบุญร่วมด้วย
เถิด. ชาวพระนคร ถวายทานกันมากมาย. วัตถุทานทุกอย่างที่
ร่วมใจกันรวบรวมจัดครบเรียบร้อยแล้วด้วยกหาปณะทั้งนั้น.
ผ้าสาฎกผืนนั้นจึงได้เหลือ. มหาชนประชุมกันว่า ผ้าสาฎกมี

กลิ่นหอมผืนนี้เป็นของเกิน เราจะถวายผ้าผืนนั้นแก่รูปไหน
เราจักถวายแก่พระสารีบุตร หรือแก่พระเทวทัต. ในมนุษย์
เหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า จักถวายแก่พระสารีบุตรเถระ อีก
พวกหนึ่งกล่าวว่า พระสารีบุตรเถระอยู่ชั่ว ๒-๓ วันแล้วก็จะ

หลีกไปตามชอบใจ ส่วนพระเทวทัตอยู่อาศัยเมืองของเราแห่ง
เดียวเป็นประจำ ท่านองค์นี้แหละได้เป็นที่พึ่งของเราทั้งในงาน
มงคลและอวมงคล พวกเราจักถวายแก่พระเทวทัต. แม้พวกที่
กล่าวกันไปหลายอย่างนั้น พวกที่กล่าวว่า เราจักถวายแก่พระ-

เทวทัตมีมากกว่า. มหาชนจึงได้ถวายผ้านั้นแก่พระเทวทัต. พระ-
เทวทัตให้ช่างตัดผ้ากาสาวะมีกลิ่นหอมนั้นออก แล้วให้เย็บเป็น
สองชั้น ให้ย้อมจนมีสีดังแผ่นทองคำห่ม.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในกาลนั้น ภิกษุประมาณ ๓๐๐ รูป ออกจากกรุงราชคฤห์
ไปยังกรุงสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดา พระศาสดาทรงทำ
ปฏิสันถารแล้วได้ทูลให้ทรงทราบเรื่องราว แล้วกราบทูลว่า
ข้าแต่พระองค์ พระเทวทัตห่มผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของ
พระอรหันต์อันไม่สมควรแก่ตนอย่างนี้. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตนุ่งห่มผ้ากาสาวะอันเป็นธงชัยของ
พระอรหันต์อันไม่สมควรแก่ตนในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้
เมื่อก่อนเทวทัตก็นุ่งห่มแล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัส
เล่า.
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลช้างที่ป่าหิมพานต์
ครั้นเติบใหญ่แล้วได้เป็นหัวหน้าโขลงมีช้าง ๘๔,๐๐๐ เชือก
เป็นบริวาร อาศัยอยู่ในราวป่า ครั้งนั้นมีมนุษย์เข็ญใจผู้หนึ่ง
อาศัยอยู่ในกรุงพาราณสี เห็นช่างกลึงงาที่ถนนช่างทำเครื่องงา

กำลังทำเครื่องงาต่าง ๆ มีกำไลงาเป็นต้น จึงถามว่า ท่านได้
งาช้างแล้วจักรับซื้อไหม. พวกช่างงาตอบว่า เรารับซื้อซิ.
มนุษย์เข็ญใจนั้นรับว่า ตกลง จึงถืออาวุธนุ่งห่มผ้าย้อมฝาด
คลุมศีรษะยืนคอยอยู่ที่ทางช้างผ่าน ใช้อาวุธฆ่าช้างแล้วเอางา

มาขายที่เมืองพาราณสีเลี้ยงชีพ. ต่อมาคนเข็ญใจนั้นได้เริ่มฆ่า
ช้างบริวารของพระโพธิสัตว์ที่เดินล้าหลังช้างทั้งหมด. เมื่อช้าง
ขาดหายไปทุกวัน ๆ พวกช้างจึงแจ้งแก่พระโพธิสัตว์ว่า ช้าง
ขาดหายไปด้วยเหตุอะไรหนอ. พระโพธิสัตว์คอยสังเกตดู ก็
รู้ว่า บุรุษคนหนึ่งถือเพศอย่างพระปัจเจกพุทธเจ้ายืนอยู่ที่ริมทาง
ช้างผ่าน เจ้าคนนี้กระมังฆ่าช้าง เราจักคอยจับมัน วันหนึ่งจึง

ให้พวกช้างเดินไปข้างหน้าตน ตนเองเดินไปข้างหลัง. มนุษย์
เข็ญใจ เห็นพระโพธิสัตว์จึงถืออาวุธตรงเข้าไป. พระโพธิสัตว์
ถอยหลังกลับมายืนอยู่ คิดว่า จักจับฟาดดินให้ตาย จึงยื่นงวง
ออกเห็นผ้ากาสายะที่มนุษย์นั้นนุ่งห่มอยู่ คิดว่า ผ้ากาสายะอัน
เป็นธงชัยของพระอรหันต์นี้เราควรทำความเคารพ จึงม้วนงวง

หดกลับแล้วกล่าวว่า นี่แน่ะเจ้าบุรุษ ผ้ากาสายะอันเป็นธงชัย
ของพระอรหันต์นี้ไม่สมควรแก่เจ้ามิใช่หรือ ไฉนเจ้าจึงห่มผ้า
ผืนนั้นเล่า ได้กล่าวคาถานี้ว่า

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ผู้ใดมีกิเลสดุจน้ำฝาด ปราศจากทมะและ
สัจจะ จักนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ผู้นั้นย่อมไม่สม
ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดเลย. ส่วนผู้ใดคาย
กิเลสดุจน้ำฝาดแล้ว ตั้งมั่นอยู่ในศีลทั้งหลาย
ประกอบด้วยทมะและสัจจะ ผู้นั้นแลย่อมสม
ควรจะนุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อนิกฺกสาโว ความว่า ท่านเรียก
กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้นได้แก่ ราคะ โทสะ โมหะ มักขะ
(ความลบหลู่คุณท่าน) ปลาสะ (ตีเสมอท่าน) อิสสา (ความริษยา)
มัจฉริยะ (ความตระหนี่) มายา (เจ้าเล่ห์) สาเถยยะ (ความ
โอ้อวด) ถัมภะ (หัวดื้อ) สารัมภะ (แข่งดี) มานะ (ความถือตัว)
อติมานะ (ดูหมิ่นท่าน) มทะ (ความมัวเมา) ปมาทะ (ความ
เลินเล่อ) อกุสลธรรมทั้งหมด ทุจจริตทั้งหมด กรรมที่นำไปสู่
ภพทั้งหมด กิเลสพันห้า นี่ชื่อว่า กสาวะกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด.

กิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาดนั้น บุคคลใดยังละไม่ได้ ยังอาศัยอยู่
ยังไม่ออกจากสันดานของบุคคลใด บุคคลนั้นชื่อว่ามีกิเลสเพียง
ดังว่าน้ำฝาดอันยังไม่คายออก. บทว่า กาสาวํ ได้แก่ มีสีเหลือง
อันเป็นรสของน้ำฝาด เป็นธงชัยของพระอรหันต์. บทว่า โย

วตฺถํ ปริทหิสฺสติ ความว่า ผู้ใดเป็นอย่างนี้จักใช้สรอย คือ
นุ่งและห่มผ้าชนิดนี้. บทว่า อเปโต ทมสจฺเจน ความว่า บุคคล
นั้นเป็นผู้ปราศจาก คือ ห่างไกลจากทมะอันได้แก่ การฝึก
อินทรีย์และปรมัตถสัจจะอันได้แก่ พระนิพพาน. บทว่า น โส
กาสาวมรหติ ความว่า บุคคลนั้น ไม่คู่ควรผ้ากาสาวะอันเป็น

ธงชัยของพระอรหันต์ เพราะยังมีกิเลสเพียงดังว่าน้ำฝาด ยัง
คายออกไม่ได้ จึงไม่สมควรแก่ผ้ากาสาวะนั้น. บทว่า โย จ
วนฺตกสาวสฺส ความว่า ส่วนบุคคลใด ชื่อว่าเป็นผู้มีกิเลสเพียง
ดังน้ำฝาดคายออกแล้ว เพราะกิเลสเพียงดังน้ำฝาดตามที่กล่าว
แล้วนั้น คายออกหมดแล้ว. บทว่า สีเลสุ สุสมาหิโต คือเป็นผู้

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มั่นคงด้วยดีในมรรคศีล และผลศีล คือตั้งมั่นในมรรคศีลและ
ผลศีลเหล่านั้น ดุจน้ำมาตั้งไว้. บทว่า อุเปโต ได้แก่ ถึงพร้อม
คือ ประกอบพร้อม. บทว่า ทมสจฺเจน คือ ด้วยทมะและสัจจะ
มีประการดังกล่าวแล้ว. บทว่า ส เว กาสาวมรหติ ความว่า
บุคคลเห็นปานนี้นั้น ย่อมคู่ควรผ้ากาสาวะ อันเป็นธงชัยของ
พระอรหันต์นี้.

พระโพธิสัตว์กล่าวเหตุนี้แก่บุรุษนั้นอย่างนี้แล้ว ขู่ว่า
ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่ามาที่นี่อีกเป็นอันขาด หากเจ้ามา เจ้าจะต้อง
ตายแล้วปล่อยให้หนีไป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. บุรุษผู้ฆ่าช้างในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วน
ช้างผู้เป็นหัวหน้าโขลง คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากาสาวชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิทํ ตทาจริยวโจ ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า วันหนึ่งพวกภิกษุประชุมสนทนากันใน
โรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าพระเทวทัตเป็นผู้
กักขฬะหยาบช้า โผงผาง ประกอบการมุ่งปลงพระชนม์พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้กลิ้งศิลา ปล่อยช้างนาฬาคิรี มิได้มีแม้แต่
ขันติเมตตา และความเห็นอกเห็นใจ ในพระตถาคตเลย. พระ-

ศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ
นั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตกักขฬะ หยาบคาย ไร้
กรุณามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเทวทัตก็กักขฬะ หยาบคาย
ไร้กรุณาเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นวานร ชื่อ นันทิยะ
อยู่ในหิมวันตประเทศ มีน้องชายชื่อว่า จุลลนันทิยะ ทั้งสอง
พี่น้องมีวานร ๘๔,๐๐๐ เป็นบริวาร ปรนนิบัติมารดาซึ่งตาบอด

อาศัยอยู่ในหิมวันตประเทศ. วานรสองพี่น้องให้มารดาพักนอน
ที่พุ่มไม้ เข้าไปป่าหาผลไม้ที่มีรสอร่อยได้แล้ว ส่งไปให้มารดา.
ลิงที่นำมามิได้เอาไปให้มารดา. มารดาถูกความหิวครอบงำ
จนผอมซูบซีดเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก. ครั้งนั้น พระโพธิสัตว์

จึงถามมารดาว่า แม่จ๋า ลูกส่งผลไม้มีรสอร่อยมาให้แม่ ไฉนแม่
จึงซูบผอมนักเล่า. มารดาตอบว่า ลูกเอ๋ย แม่ไม่เคยได้เลย.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระโพธิสัตว์คิดว่า เมื่อเรายังปกครองฝูงวานรอยู่ แม่ของเรา
คงตายเป็นแน่ เราจะละฝูงวานรไปปรนนิบัติแม่เท่านั้น. พระ-
โพธิสัตว์จึงเรียกจุลลนันทิยะมากล่าวว่า นี่แน่ะ น้อง น้องจง
ปรกครองฝูงวานรเถิด พี่จักปรนนิบัติแม่เอง. ฝ่ายจุลลนันทิยะ

จึงกล่าวว่า พี่จ๋า น้องไม่ต้องการปกครองฝูงวานร น้องก็จะ
ปรนนิบัติแม่บ้าง. พี่น้องทั้งสองนั้นมีความเห็นเป็นอันเดียวกัน
ฉะนี้แล้ว จึงละฝูงวานรพามารดาออกจากหิมวันตประเทศ อาศัย
อยู่ที่ต้นไทรชายแดน ปรนนิบัติมารดา.

ครั้งนั้น มีพราหมณ์มาณพชาวกรุงพาราณสีผู้หนึ่ง เรียน
จบศิลปะทุกประการ ในสำนักอาจารย์ทิศาปาโมกข์ ในเมือง
ตักกสิลา อำลาอาจารย์ว่า กระผมจักไป ฝ่ายอาจารย์ก็รู้ด้วยอานุภาพ
วิชชาในตนว่า มาณพนั้นเป็นคนกักขฬะ หยาบช้า โผงผาง จึง
สั่งสอนว่า แน่ะพ่อ เจ้าเป็นคนกักขฬะ หยาบช้า โผงผาง ถ้า

ขืนเป็นอย่างนี้จะไม่มีผลสำเร็จเช่นเดียวกันตลอดกาล ย่อมต้อง
พบความพินาศ ความทุกข์อย่างใหญ่หลวง ท่านอย่าได้เป็นคน
กักขฬะ หยาบช้า อย่าได้ทำกรรมอันให้เดือดร้อนในภายหลัง
เลย ดังนี้แล้วจึงส่งไป. พราหมณ์มาณพนั้นไหว้อาจารย์แล้วไป

สู่กรุงพาราณสี มีครอบครัวแล้ว เมื่อไม่สามารถจะเลี้ยงชีพด้วย
ศิลปะอย่างอื่น จึงคิดว่า เราจักยึดเอาคันธนูเป็นที่พึ่งเลี้ยงชีวิต
คือจักหากินทางเป็นพราน ออกจากกรุงพาราณสี อยู่ที่บ้าน
ชายแดน ผูกสอดธนูและแล่งธนูเสร็จแล้ว เข้าป่าล่าเนื้อนานา

ชนิด เลี้ยงชีพด้วยการขายเนื้อ. วันหนึ่งเขาหาอะไรในป่าไม่ได้
เลย กำลังเดินกลับพบต้นไทรอยู่ที่ริมเนิน คิดว่าน่าจะมีอะไร
อยู่ที่ต้นไทรนี้บ้าง จึงเดินตรงไปยังต้นไทร. ขณะนั้นวานร

สองพี่น้องนั่งอยู่ระหว่างค่าคบ ให้มารดาเคี้ยวกินผลไม้อยู่ข้างหน้า
เห็นพราหมณ์มาณพนั้นเดินมา คิดว่าถึงจะเห็นมารดาเรา ก็คง
จะไม่ทำอะไร จึงแอบอยู่ระหว่างกิ่งไม้. ฝ่ายบุรุษโผงผางผู้นั้น

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
มาถึงโคนต้นไม้แล้ว เห็นมารดาของวานรนั้นแก่ทุพพลภาพ
ตาบอด คิดว่า เราจะกลับไปมือเปล่าทำไม จักยิงนางลิงตัวนี้
เอาไปด้วย จึงโก่งธนูหมายจะยิงนางลิงแก่ตัวนั้น. พระโพธิสัตว์
เห็นดังนั้นจึงกล่าว พ่อจุลลนันทิยะบุรุษผู้จะยิงมารดาของเรา
พี่จะสละชีวิตให้แทนมารดา เมื่อพี่ตายไปแล้ว น้องจงเลี้ยงดู

มารดาเถิด จึงออกจากระหว่างกิ่งไม้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญขอ
ท่านอย่าได้ยิงมารดาของเราเลย มารดาของเราตาบอด ทุพพลภาพ
เราจะสละชีวิตให้แทนมารดา ขอท่านอย่าได้ฆ่ามารดาเลย จง
ฆ่าเราเถิด รับปฏิญญาของบุรุษนั้นแล้ว จึงไปนั่งในที่ใกล้ลูกศร.

บุรุษนั้นปราศจากความกรุณา ยิงพระโพธิสัตว์ตกลง แล้วขึ้น
ธนูอีกเพื่อจะยิงมารดาของพระโพธิสัตว์ด้วย. จุลลนันทิยะเห็น
ดังนั้น คิดว่าบุรุษผู้นี้ใคร่จะยิงมารดาของเรา มารดาของเรา
แม้จะมีชีวิตอยู่วันเดียว ก็ยังได้ชื่อว่ารอดชีวิตแล้ว เราจักสละ

ชีวิตให้แทนมารดา จึงออกจากระหว่างกิ่งไม้กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ
ท่านอย่ายิงมารดาของเราเลย เราจักสละชีวิตให้แทนมารดา
ท่านยิงเราแล้วเอาเราสองพี่น้องไป จงไว้ชีวิตแก่มารดาของเรา
เถิด รับปฏิญญาของบุรุษนั้นแล้ว นั่งในที่ใกล้ลูกศร. บุรุษนั้นจึง

ยิงจุลลนันทิยะนั้นตกลง แล้วคิดว่าเราจักเอาไปเผื่อเด็ก ๆ ที่บ้าน
จึงยิงมารดาของวานรทั้งสองด้วยตกลง หาบไปทั้ง ๓ ตัว มุ่งหน้า
ตรงไปบ้าน. ครั้งนั้นสายฟ้าได้ตกลงที่บ้านของบุรุษชั่วนั้น ไหม้
ภรรยาและลูกสองคนพร้อมกับบ้าน เหลือแต่เพียงเสากับขื่อ.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ขณะนั้นบุรุษผู้หนึ่ง พบบุรุษชั่วนั้นที่ประตูบ้านนั่นเอง
จึงเล่าความเป็นไปให้ฟัง. บุรุษชั่วผู้นั้นถูกความเศร้าโศกถึง
บุตรและภรรยาครอบงำ ทิ้งหาบเนื้อและธนูกับแล่งไว้ตรงนั้น
เอง ปล่อยผ้า เปลือยกายประคองแขนร่ำไห้เข้าไปที่เรือน ขณะ

นั้น ขื่อหักตกลงมาถูกศีรษะแตก แผ่นดินแยกออกเป็นช่อง
เปลวไฟแลบขึ้นมาจากอเวจีมหานรก. บุรุษชั่วผู้นั้นกำลังถูก
แผ่นดินสูบ ระลึกถึงโอวาทของอาจารย์ได้ คิดว่าท่านปาราสริย-
พราหมณ์เห็นเหตุนี้ จึงได้ให้โอวาทแก่เรา ได้กล่าวคาถาสอง
คาถารำพันว่า :-

ปาราสริยพราหมณ์ได้กล่าวคำใดไว้ว่า
ท่านอย่าได้กระทำกรรมชั่ว อันจะทำตัวท่านให้
เดือดร้อนในภายหลังนะ คำนี้นั้นเป็นถ้อยคำของ
ท่านอาจารย์.

บุรุษทำกรรมเหล่าใดไว้ เขาย่อมเห็นกรรม
เหล่านั้นในตน ผู้ทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี ผู้ทำ
กรรมชั่วย่อมได้รับผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด
ย่อมได้รับผลเช่นนั้น.

อธิบายแห่งคาถานั้นว่า ปาราสริยพราหมณ์ ได้กล่าวคำ
ใดไว้ว่า เจ้าอย่าได้ทำบาปนะ บาปใดเจ้าทำไว้ บาปนั้นจะเผา
ผลาญท่านในภายหลัง นี่เป็นคำของท่านอาจารย์ บุรุษทำกรรม
เหล่าใดไว้ทางกายทวาร วจีทวาร และมโนทวาร เมื่อเขากลับ
ได้ผลของกรรมนั้น ย่อมพบกรรมเหล่านั้นเองในตน ผู้ทำกรรมดี
ย่อมเสวยผลดี แต่ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมเสวยผลชั่วช้าลามกไม่น่า

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ปรารถนา แท้จริงแม้ในทางโลกบุคคลหว่านพืชเช่นใดไว้ ย่อม
นำไปซึ่งพืชนั้น คือย่อมเก็บผล ได้รับผล เสวยผล อันสมควร
แก่พืชนั้นเอง.
บุรุษผู้ชั่วช้านั้นคร่ำครวญอยู่อย่างนั้นเอง เข้าไปสู่แผ่นดิน
เกิดในอเวจีมหานรก.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวทัตกักขฬะ
หยาบช้ามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็กักขฬะ หยาบช้า
ไร้กรุณาเหมือนกัน แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาทรงประชุม
ชาดก. บุรุษพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ อาจารย์

ทิศาปาโมกข์ได้เป็นสารีบุตร จุลลนันทิยวานรได้เป็นอานนท์
มารดาวานรได้เป็นมหาปชาบดีโคตมี ส่วนมหานันทิยวานร คือ
เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาจุลลนันทิยชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภกุฎุมพีคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นเม นมนฺตสฺส ดังนี้.

ได้ยินว่า กุฎุมพีชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ได้ทำการค้าขาย
กับกุฎุมพีชาวชนบทผู้หนึ่ง. กุฎุมพีชาวกรุงนั้นได้พาภรรยาของ
ตนไปหาผู้เก็บเงินของกุฎุมพีชาวชนบทนั้น. ผู้เก็บเงินบอกว่า
เราไม่สามารถจะให้ได้ จึงไม่ให้อะไรไป. กุฎุมพีชาวกรุงโกรธ
ไม่ยอมบริโภคอาหารออกไปเลย. ครั้งนั้นบุรุษผู้เดินทางทั้งหลาย

เห็นกุฎุมพีชาวกรุงผู้นั้นหิวโหยในระหว่างทาง จึงให้ห่อข้าวด้วย
บอกว่า ท่านจงแบ่งให้ภรรยาด้วย แล้วบริโภคเถิด. กุฎุมพีชาว
กรุงรับห่อข้าวแล้ว ไม่อยากให้ภรรยา จึงกล่าวว่า แน่ะน้อง
ตรงนี้เป็นถิ่นโจร น้องจงล่วงหน้าไปก่อน ส่งภรรยาไปแล้ว จึง

บริโภคอาหารจนหมด แล้วเอาห่อเปล่า ๆ มาพูดว่า น้องพวก
บุรุษเดินทางให้ห่อเปล่า ๆ ไม่มีข้าวเลย. ภรรยารู้ว่าสามีบริโภค
แต่ผู้เดียว ก็มีความน้อยใจ. ทั้งสองสามีภรรยาผ่านไปทางหลัง
พระเชตวันมหาวิหาร จึงแวะเข้าไปเชตวันมหาวิหารด้วยคิดว่า

จักดื่มน้ำ. แม้พระศาสดาก็ประทับนั่งคอยดูการมาของสามีภรรยา
นั้น ใต้ร่มเงาพระคันธกุฏี ดุจพรานซุ่มดักเนื้อฉะนั้น. สามีภรรยา
พบพระศาสดาแล้ว จึงเข้าไปถวายบังคมนั่งแล้ว. พระศาสดา
ทรงกระทำการปฏิสันถารกับสามีภรรยานั้น ตรัสถามว่า อุบาสิกา
สามีท่านเอาใจใส่ห่วงใยท่านดีอยู่หรือ. ภรรยากราบทูลว่า

ข้าแต่พระองค์ ข้าพระองค์มีความห่วงใยต่อเขา แต่เขาไม่มีความ
ห่วงใยต่อข้าพระองค์เลย วันอื่นยกไว้เถิด วันนี้เองสามีของ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 18:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ข้าพระองค์นี้ได้ข้าวห่อมาห่อหนึ่งในระหว่างทาง ไม่แบ่งให้
ข้าพระองค์ บริโภคเฉพาะตน. พระศาสดาตรัสว่า อุบาสิกา
ท่านเป็นผู้เอาใจใส่ห่วงใยสามีเสมอมา สามีของท่านนั้นไม่
ห่วงใยท่านเลย แต่พอรู้คุณของท่าน เพราะอาศัยบัณฑิต ครั้งนั้น
จึงได้มอบความเป็นใหญ่ทั้งปวงให้ นางทูลอาราธนาขอให้เล่า
จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลอำมาตย์ ครั้นเจริญ
วัย ได้เป็นผู้สอนอรรถและธรรมของพระเจ้าพรหมทัต. ครั้งนั้น
พระราชาทรงระแวงโอรสของพระองค์ว่าจะกบฎต่อพระองค์

จึงทรงเนรเทศออกเสียจากอาณาจักรนั้น. พระโอรสนั้นพาชายา
ของตนออกจากนครไปอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแคว้นกาสีแห่งหนึ่ง.
ครั้นต่อมาพระโอรสนั้นทราบข่าวว่า พระบิดาสวรรคตแล้ว
คิดว่า เราจักไปครองราชสมบัติอันเป็นสมบัติของตระกูล จึง

กลับมาสู่เมืองพาราณสี ได้ข้าวห่อในระหว่างทาง โดยผู้ให้สั่งว่า
จงแบ่งให้ภรรยาบ้าง แล้วบริโภคเถิด ไม่ยอมให้ชายานั้น บริโภค
เสียเองทั้งหมด. นางเสียใจว่า บุรุษนี้ใจคอโหดร้ายจริงหนอ.

พระโอรสนั้นครองราชสมบัติในกรุงพาราณสีแล้ว ตั้งนาง
ไว้ในตำแหน่งอัครมเหสี มิได้ประทานเครื่องสักการะและยกย่อง
อย่างอื่น โดยทรงเห็นว่า เท่านั้นก็พอแล้วสำหรับนาง แม้แต่คำว่า
เจ้าเป็นอยู่อย่างไร ก็มิได้ตรัสถามนางเลย. พระโพธิสัตว์คิดว่า

พระเทวีนี้มีอุปการะมาก มีความจงรักภักดีต่อพระราชา. แต่
พระราชามิได้สนพระทัยถึงพระนางแม้แต่น้อย. เราจักให้พระองค์
ทรงประทานเครื่องสักการะและยกย่องพระนาง จึงเข้าไปเฝ้า
พระเทวี ไว้ระยะพอสมควรแล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่อตรัส

ถามว่า อะไรเล่าพ่อ จึงทูลเพื่อต่อเรื่องราวขึ้นว่า ข้าแต่พระเทวี
ข้าพระองค์รับราชการบำรุงพระองค์ไม่ควรจะให้ท่อนผ้าหรือ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 19:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ก้อนข้าวแก่มารดาบิดาผู้แก่เฒ่าบ้างเทียวหรือ. พระเทวีตรัสว่า
แม้ตัวเราเองยังไม่ได้อะไรเลย เราจะเอาอะไรให้ท่านเล่า ในเวลา
ที่ได้เราก็ให้ท่านมิใช่หรือ. แต่บัดนี้พระราชามิได้พระราชทาน
อะไรให้เรา. การพระราชทานอย่างอื่นจงยกไว้เถิด พระองค์
เมื่อกำลังเสด็จเพื่อจะรับราชสมบัติ ได้ข้าวห่อหนึ่งในระหว่าง

ทาง ยังมิได้ประทานแม้แต่อาหารแก่เรา พระองค์เสวยเสียเอง
หมด. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า ข้าแต่พระแม่เจ้า พระองค์จักกล้า
ทูลอย่างนี้ในสำนักพระราชาหรือ ตรัสว่า กล้าซิ พ่อคุณ จึงทูลว่า
ถ้าเช่นนั้น ในเวลาที่ข้าพระองค์เฝ้าอยู่ในราชสำนักวันนี้แหละ

เมื่อข้าพระองค์ทูลถามขึ้น ขอพระนางจงตรัสอย่างนี้ วันนี้แหละ
ข้าพระองค์จักให้พระราชารู้สึกคุณของพระองค์. ครั้นทูลอย่างนี้
แล้วพระโพธิสัตว์จึงล่วงหน้าไปก่อน ยืนเฝ้าพระราชา. ฝ่าย
พระเทวีก็ไปยืนเฝ้าพระราชา.

ลำดับนั้นพระโพธิสัตว์กราบทูลพระเทวีว่า ข้าแต่พระแม่
อยู่หัว พระแม่เจ้าทรงมีพระทัยจืดเหลือเกิน การที่พระแม่เจ้า
จะให้ท่อนผ้าหรือเพียงก้อนข้าวแก่มารดาบิดาไม่สมควรหรือ.
พระเทวีตรัสว่า เราเองยังไม่ได้อะไรจากพระราชา จักเอาอะไร
ให้ท่านเล่า. พระโพธิสัตว์ทูลถามว่า พระองค์ได้ตำแหน่งอัคร-

มเหสีมิใช่หรือ. พระเทวีตรัสว่า แน่ะพ่อ เมื่อไม่มีการยกย่อง
ตำแหน่งอัครมเหสีจักทำอะไรได้ พระราชาของท่านจักพระ-
ราชทานอะไรแก่เราในบัดนี้เล่า พระองค์ได้ข้าวห่อระหว่างทาง
ยังไม่พระราชทานให้สักหน่อย เสวยเสียเอง. พระโพธิสัตว์ทูล

ถามว่า ข้าแต่พระมหาราชได้ยินว่าอย่างนั้นหรือ. พระราชา
ทรงรับ พระโพธิสัตว์ทราบว่า พระราชาทรงรับแล้วจึงทูลว่า
ข้าแต่พระแม่เจ้า ถ้าเช่นนั้นพระองค์จะมีประโยชน์อะไร ด้วย
การประทับอยู่ที่นี้ ตั้งแต่กาลไม่เป็นที่รักของพระราชา เพราะ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
* อยากในสิ่งที่ควร ควรทำในสิ่งที่เป็นกุศล ผลนั้นย่อมเป็นความสุขติดตามมา
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 59, 60, 61, 62, 63, 64, 65 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร