วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 06:37  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัตพยายามปลงพระชนม์พระองค์ ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อลเมเตหิ อมฺเพหิ ดังนี้

ความย่อมีว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-
เทวทัตพยายามจะฆ่าพระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เทวทัตพยายามจะฆ่าเรามิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็พยายาม
เหมือนกัน แต่ก็ไม่สามารถทำแม้เพียงให้หวาดสะดุ้งได้ แล้ว
ทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดวานร ในหิมวันต-
ประเทศ มีกำลังดุจช้างสาร สมบูรณ์ด้วยเรี่ยวแรง ร่างกาย
ใหญ่ มีความงามพร้อม อาศัยอยู่ที่ราวป่าตรงคุ้งแม่น้ำ. ในกาล

นั้น จระเข้ตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในแม่น้ำคงคา. ภรรยาของจระเข้
เห็นร่างกายพระโพธิสัตว์ แล้วเกิดแพ้ท้องอยากกินเนื้อหัวใจ
ของพระโพธิสัตว์ จึงบอกจระเข้สามีว่า ผัวจ๋า น้องอยากกินเนื้อ
หัวใจของพญาลิงนั้น. ผัวบอกว่า น้องจ๋า เราเป็นสัตว์เที่ยวไป

ในน้ำ ลิงเป็นสัตว์เที่ยวไปบนบก เราจะจับลิงนั้นได้อย่างไรเล่า.
เมียบอกว่า พี่จระเข้ต้องหาอุบายจับมาให้ได้ หากจับมาไม่ได้
น้องขอตาย. ผัวปลอบว่า อย่าคิดมากไปเลยน้อง พี่มีอุบายอย่าง
หนึ่ง พี่จะให้น้องกินหัวใจพญาวานรนั้นให้จงได้ จึงเข้าไปหา

พระโพธิสัตว์ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ดื่มน้ำในแม่น้ำคงคา แล้ว
นั่งพัก ณ ฝั่งคงคา กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านพญาวานร ท่านเดี๋ยว
กินผลกล้วยในถิ่นนี้ เที่ยวไปในที่ที่เคยไปอย่างเดียวเท่านั้นหรือ
ที่ฝั่งคงคาฟากโน้นมีผลไม้อร่อย เป็นต้นว่า มะม่วงและชมพู่ ไม่
รู้จักวาย ท่านไม่ควรไปเคี้ยวกินผลาผล ที่ฝั่งโน้นบ้างหรือ.

พญาวานรตอบว่า ท่านพญากุมภีล์ แม่น้ำคงคามีน้ำมาก ทั้ง
กว้างใหญ่ ข้าพเจ้าจะข้ามไปได้อย่างไรเล่า. จระเข้กล่าวว่า
หากท่านจะไป ข้าพเจ้าจะให้ท่านขึ้นหลังเราไป พญาวานรเชื่อ
จึงยอมตกลง. เมื่อจระเข้กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมาขึ้นหลัง
เรา พญาวานรจึงขึ้นหลังจระเข้. จระเข้พาไปได้หน่อยหนึ่งก็
ดำน้ำจมลง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า สหายท่านแกล้งทำให้เรา

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จมน้ำ นี่เรื่องอะไรกัน. จระเข้ตอบว่า เรามิได้พาท่านไปตาม
ธรรมดาดอก แต่เมียของเราเกิดแพ้ท้อง อยากกินหัวใจท่าน
เราประสงค์จะให้เมียของเรากินหัวใจท่านต่างหาก. พญาวานร
กล่าวว่า สหายที่ท่านบอกมาก็ดีแล้ว หากหัวใจอยู่ในท้องของเรา
เมื่อเรากระโดดไปตามยอดไม้ หัวใจก็จะพึงแหลกลาญหมด.

จระเข้ถามว่า ก็ท่านเอาหัวใจไปไว้ที่ไหนเล่า. พระโพธิสัตว์ชี้
ให้ดูต้นมะเดื่อต้นหนึ่งไม่ไกลนัก มีผลสุกเป็นพวงแล้วกล่าวว่า
ท่านจงดูหัวใจของข้าพเจ้าแขวนไว้ที่ต้นมะเดื่อนั่น. จระเข้กล่าว
ว่า หากท่านให้หัวใจแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจะไม่ฆ่าท่าน. พญา-
วานรกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจงนำเราไปที่นั่นเถิด เราจะให้

หัวใจที่แขวนอยู่บนต้นมะเดื่อแก่ท่าน. จระเข้จึงพาพญาวานร
ไป ณ ที่นั้น. พระโพธิสัตว์จึงกระโดดจากหลังจระเข้ไปนั่งบน
ต้นมะเดื่อ กล่าวว่า สหายจระเข้หน้าโง่ เจ้าเข้าใจว่า ธรรมดา
หัวใจของสัตว์ทั้งหลายเหล่านี้อยู่บนยอดไม้หรือ เจ้าเป็นสัตว์โง่
เราจึงลวงเจ้าได้ ผลาผลของเจ้าก็จงเป็นของเจ้าเถิด เจ้าก็ใหญ่

แต่ตัวเท่านั้น แต่หามีปัญญาไม่ เมื่อจะประกาศเนื้อความนี้
ได้กล่าวคาถานี้ว่า :-

เราไม่ต้องการด้วยผลมะม่วง ผลชมพู่
และขนุนทั้งหลาย ที่ท่านเห็นฝั่งสมุทร ผล
มะเดื่อของเราต้นนี้ดีกว่า.
ร่างกายของท่านใหญ่โตก็จริง แต่ปัญญา
ไม่สมกับร่างกายเลย ดูก่อนจระเข้เจ้าถูกเราลวง
เสียแล้ว บัดนี้เจ้าจงไปตามสบายเถิด.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อลเมเตหิ ความว่า เราไม่ต้องการ
ผลไม้ที่ท่านเห็นบนเกาะ. บทว่า วรํ มยฺหํ อุทุมฺพโร คือ มะเดื่อ
ต้นนี้ของเราดีกว่า. บทว่า ตทูปิกา ความว่า เจ้ามีปัญญานิดเดียว
ไม่สมกับร่างกายของเจ้าเลย. บทว่า คจฺฉทานิ ยถาสุขํ ความว่า
เจ้าจงไปตามสบายเถิด อธิบายว่า อุบายที่เจ้าจะได้เนื้อหัวใจ
ไม่มีแล้ว.

จระเข้เป็นทุกข์เสียใจ ซบเซาดุจเสียพนันแพ้ไปตั้งพัน
ได้กลับไปที่อยู่ของตนตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. จระเข้ในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นางจระเข้ได้
เป็นนางจิญจมาณวิกา ส่วนพญาวานร คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสุงสุมารชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุหนุ่มผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระธรรมเสนาบดี
สารีบุตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ทิฏฺฐา มยา
วเน รุกฺขา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้น เป็นผู้ฉลาดในการรักษา
ร่างกายของตน. ไม่ฉันของเย็นจัด ร้อนจัด เพราะเกรงว่าร่างกาย
จะไม่สบาย ไม่ออกไปข้างนอก เพราะเกรงว่าร่างกายจะกระทบ
หนาวและร้อน ไม่ฉันจังหันที่แฉะและเป็นท้องเล็น. เพราะภิกษุ
หนุ่มนั้นเป็นผู้ฉลาดในการรักษาร่างกาย จึงปรากฏไปในท่าม

กลางสงฆ์. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันว่า อาวุโสทั้งหลาย
ได้ยินว่า ภิกษุหนุ่มรูปนั้นเป็นผู้ฉลาด ในการรักษาร่างกาย
เป็นอย่างดี. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้

มิใช่ฉลาดในการรักษาร่างกายในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอ
ก็เป็นผู้ฉลาดเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ในราวป่าใหญ่.
ครั้งนั้นมีพรานนกคนหนึ่ง อุ้มไก่ต่อตัวหนึ่ง ถือบ่วงและแร้ว
เที่ยวดักไก่ในป่าอยู่ เริ่มจะดักไก่ตัวหนึ่งซึ่งเป็นไก่ของตนมาก่อน

หนีเข้าป่าไป. ไก่ตัวนั้นเพราะเข้าใจในบ่วงจึงไม่ยอมเข้าติดบ่วง
ถอยหนีไปเรื่อย ๆ . นายพรานจึงเอากิ่งไม้และใบไม้คลุมกำบัง
ตนไว้ เลื่อนคันแร้วและบ่วงตามไปเรื่อย ๆ. ฝ่ายไก่อยากจะ
ให้นายพรานละอายใจ จึงพูดเป็นภาษามนุษย์ กล่าวคาถาแรกว่า:-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 07:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ต้นหูกวาง และสมอพิเภกทั้งหลายในป่า
เราเคยเห็นแล้ว ต้นไม้เหล่านั้นย่อมเดินไปเหมือน
กับท่านไม่ได้.

คาถานั้นมีอธิบายว่า ดูก่อนสหายพราน เราเคยเห็นต้น
หูกวางและสมอพิเภกเป็นอันมากเกิดในป่านี้ ต้นไม้เหล่านั้น
ไม่เคลื่อน ไม่ก้าว ไม่เดินเหมือนท่านก้าวเคลื่อนเดินไปทางโน้น
ทางนี้ได้ฉะนั้น.
ก็และครั้นไก่นั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงได้หนีไปเสียที่อื่น.
ในเวลาที่ไก่หนีไป นายพรานจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ไก่ตัวเก่าที่แหกกรงหนีมาได้นี้ เป็นไก่
ฉลาดในบ่วงขนสัตว์ ย่อมหลีกไปและยังขันเย้ย
เสียด้วย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กุสโล วาลปาสานํ ความว่า ไก่
ฉลาดในบ่วงขนสัตว์ ไม่ให้จับตัวได้ย่อมหนีไป และยังขันเย้ย
เสียด้วย ครั้นขันเย้ยแล้วไก่ก็หนีไป.
ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว พรานก็เที่ยวไปในป่าจับไก่ตาม
ที่ดักได้กลับเรือน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. พรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ไก่ได้เป็นภิกษุ
หนุ่มผู้ฉลาดในการรักษาร่างกาย ส่วนรุกขเทวดาผู้เห็นเหตุการณ์
อย่างประจักษ์ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากักกรชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 07:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุเลียนเอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อมฺโภ โกนามยํ ลุทฺโท ดังนี้.

เรื่องย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-
เทวทัตได้เลียนเอาอย่างพระสุคต จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เทวทัตเลียนอย่างเรา ถึงความพินาศ มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้
เมื่อก่อนเทวทัตก็ได้ถึงความพินาศมาแล้ว ทรงนำเรื่องอดีต
มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกหัวขวาน ใน
หิมวันตประเทศ. เที่ยวหาอาหารในป่าไม้ตะเคียน. นกหัวขวาน
นั้นมีชื่อว่าขทิรวนิยะ. มีนกสหายตัวหนึ่ง ชื่อกันทคลกะ. นก
กันทคลกะเที่ยวหากินอยู่ในป่าไม้ทองหลาง. วันหนึ่งนกกันทคลกะ

ได้ไปหานกขทิรวนิยะ. นกขทิรวนิยะดีใจว่าสหายของเรามาแล้ว
จึงพานกกันทคลกะเข้าไปยังป่าไม้ตะเคียน ใช้จงอยปากเคาะ
ลำต้นตะเคียน ได้ตัวสัตว์ออกจากต้นไม้นั้นมาให้. นกกันทคลกะ
จิกกินสัตว์ที่สหายให้แล้ว ๆ เล่า ๆ ดุจขนมอร่อย. เมื่อนก

กันทคลกะจิกกินอยู่นั้น จึงเกิดมานะขึ้นว่า นกขทิรวนิยะแม้นี้
ก็เกิดในกำเนิดนกหัวขวาน แม้เราก็เกิดในกำเนิดเดียวกัน ทำไม
เราจะต้องอาศัยเหยื่อที่เขาให้เล่า เราจักหาเหยื่อในป่าตะเคียน
เอง.

นกกันทคลกะกล่าวกะนกขทิรวนิยะว่า สหายท่าน อย่า
ลำบากเลย เรานี่แหละจักหากินในป่าตะเคียนเอง. ลำดับนั้น
นกขทิรวนิยะ จึงกล่าวว่า ดูก่อนสหายท่าน ด้วยการหากินใน
ป่าไม้ไม่มีแก่น เช่นไม้งิ้วและไม้ทองหลางเป็นต้น ส่วนไม้ตะเคียน
เป็นไม้แก่นแข็ง จะทำอย่างนั้นรู้สึกไม่พอใจเราเลย. นกกันทคลกะ

กล่าวว่า เรามิได้เกิดในกำเนิดนกหัวขวานดอกหรือ ไม่เชื่อคำ
ของนกขทิรวนิยะ ผลุนผลันไป เอาจงอยเคาะต้นตะเคียน. ทันใด
นั้นเองจงอยปากของนกกันทคลกะหักทันที ตาทะเล้น หัวแตก
ไม่อาจจับอยู่บนยอดไม้นั้นได้ ตกลงพื้นดิน กล่าวคาถาแรกว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 07:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนผู้เจริญ ต้นไม้ที่มีใบละเอียด มี
หนามนี้เป็นต้นไม้อะไร เราเจาะเพียงครั้งเดียว
ทำให้สมองศีรษะแตกได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อมฺโภ โก นามยํ รุกฺโข ความว่า
ดูก่อนนกขทิรวนิยะผู้เจริญ ต้นไม้นี้ชื่อไม้อะไร. บาลีว่า โกนามโส
บ้าง. บทว่า สินฺนปตฺโต คือใบละเอียด. บทว่า ยตฺถ เอกปฺปหาเรน
ได้แก่ ด้วยการเจาะครั้งเดียวที่ต้นไม้. บทว่า อุตฺตมงฺคํ วิสาฏิตํ

ได้แก่ หัวแตก ไม่เพียงหัวเท่านั้น แม้จงอยปากก็หัก. นกกันทคลกะ
ไม่สามารถจะรู้จักต้นตะเคียนว่า เป็นต้นอะไร เพราะเจ็บปวดมาก
ได้รับเวทนาจึงพร่ำเพ้อด้วยคาถานี้.
นกขทิรวนิยะฟังคำเพ้อของนกกันทคลกะ แล้วจึงกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-

นกกันทคลกะ เมื่อเจาะหมู่ไม้อยู่ในป่า
ได้เคยเที่ยวเจาะแต่ไม้แห้งที่ไม่มีแก่น ภายหลัง
มาพบเอาต้นตะเคียนซึ่งมีกำเนิดเป็นไม้แก่นอัน
เป็นที่ทำลายสมองศีรษะ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อจาริ วตายํ ได้แก่ นกกันทคลกะ
นี้ได้เที่ยวไป. บทว่า วิตุทํ วนานิ ความว่า เจาะ คือจิกไม้ไม่มีแก่น
เช่นงิ้ว ทองหลาง เป็นต้น. บทว่า กฏฺฐงฺครุกฺเขสุ ได้แก่ ไม้แห้ง.
บทว่า อสารเกสุ ได้แก่ ไม้ไม่มีแก่น มีทองหลางและงิ้วเป็นต้น.
บทว่า อถาสทา ขทิรํ ชาตสารํ ความว่า ภายหลังมาพบต้นตะเคียน
มีแก่นออกมาตั้งแต่ยังเล็ก. บทว่า ยตฺถพฺภิทา ในบทว่า ยตฺถพฺ-
ภิทา ครุโฬ อุตฺตมงฺคํ ได้แก่ เจาะคือจิกที่ต้นไม้ใด.

นกขทิรวนิยะ พูดกะนกกันทคลกะนั้นว่า ดูก่อนกันทคลกะ
ุผู้เจริญ ต้นตะเคียนนี้เป็นไม้แก่นที่ทำลายสมองศีรษะ. นก-
กันทคลกะได้ถึงแก่ความตายในที่นั้นเอง.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. กันทคลกะในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ ส่วนนก-
ขทิรวนิยะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถากันทคลกชาดกที่ ๑๐
รวมชาดกที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. พันธนาคารชาดก ๒. เกฬิสิลชาดก ๓. ขันธปริตต-
ชาดก ๔. วีรกชาดก ๕. คังเคยยชาดก ๖. กุรุงคมิคชาดก
๗. อัสสกชาดก ๘. สุงสุมารชาดก ๙. กักกรชาดก ๑๐. กัน-
ทคลกชาดก.
จบ นตังทัฬหวรรคที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 07:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๑

พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระโลฬุทายีเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อกาสิ โยคฺคํ ดังนี้.

เรื่องย่อมีว่า พระโลฬุทายีเถระนั้น ไม่สามารถจะกล่าว
คำแม้สักคำเดียวได้สำเร็จ ในระหว่างชนสองสามคน เป็นผู้
ประหม่าครั่นคร้ามคิดจะพูดคำหนึ่งกลับไปพูดอีกคำหนึ่ง. ภิกษุ
ทั้งหลายนั่งสนทนากันถึงเรื่องราวของพระเถระนั้น. พระศาสดา
เสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุม

สนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบ
แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลฬุทายีมิใช่เป็นผู้ประหม่า
ครั่นคร้ามแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้ประหม่าครั่น-
คร้ามเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ตระกูล
หนึ่ง ในแคว้นกาสี ครั้นเจริญวัยเรียนศิลปะในเมืองตักกสิลา
ครั้นสำเร็จแล้วจึงกลับมาเรือน รู้ว่ามารดาบิดายากจนคิดว่า
เราจักกู้ตระกูลที่ตกต่ำ จึงอำลามารดาบิดาไปรับราชการใน

กรุงพาราณสี. พระโพธิสัตว์เป็นที่รักโปรดปรานของพระราชา.
ครั้งนั้นเมื่อบิดาของพระโพธิสัตว์ซึ่งไถนาเลี้ยงชีพด้วยโคสองตัว
โคตัวหนึ่งได้ตายไป. บิดาจึงไปหาพระโพธิสัตว์กล่าวว่า นี่แน่ะ
ลูก โคตายไปเสียตัวหนึ่งแล้ว เลยทำกสิกรรมไม่ได้ ลูกจงขอ
พระราชทานโคกะพระราชาสักตัวหนึ่งเถิด. พระโพธิสัตว์กล่าว

ว่า พ่อจ๋า ลูกรับราชการยังไม่นานนัก จะทูลขอโคในตอนนี้ยัง
ไม่สมควร พ่อทูลขอเองเถิด. พราหมณ์กล่าวว่า นี่ลูก ลูกไม่รู้
ว่าพ่อเป็นคนประหม่าครั่นคร้ามดอกหรือ ต่อหน้าคนสองสามคน
พ่อไม่อาจจะพูดได้ถูกต้องนัก หากพ่อจะไปเฝ้าทูลขอโค พ่อคง

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จะถวายโคตัวนี้เสียก็ได้. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า จะอย่างไรก็ตาม
เถิดพ่อ ลูกไม่อาจทูลขอโคได้ เอาอย่างนี้เถิดพ่อ ลูกจะซักซ้อม
ให้พ่อเอง. พราหมณ์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้นลูกจงซ้อมพ่อให้ดีก็แล้ว
กัน. พระโพธิสัตว์พาบิดาไปป่าช้าชื่อพีรณัตถัมภกะ มัดฟ่อน

หญ้าไว้เป็นแห่ง ๆ สมมตินามแสดงแก่บิดาตามลำดับว่า นี้พระ-
ราชา นี้อุปราช นี้เสนาบดี แล้วกล่าวว่า พ่อจ๋าพ่อไปเฝ้าพระ-
ราชาแล้ว จงกราบถวายพระพรว่า ขอพระองค์จงทรงพระเจริญ
เถิด แล้วจึงค่อยกล่าวคาถานี้ทูลขอโค จึงให้บิดาเรียนคาถาว่า :-

ข้าแต่มหาราช ข้าพระพุทธเจ้ามีโค
สำหรับไถนาอยู่สองตัว ในโคสองตัวนั้นตายเสีย
ตัวหนึ่งแล้ว ขอพระองค์โปรดพระราชทานโค
ตัวที่สองเถิดพระเจ้าข้า.

พราหมณ์เรียนคาถานี้ได้คล่องแคล่วเป็นเวลาหนึ่งปีแล้ว
จึงบอกพระโพธิสัตว์ว่า โสมทัต ลูกพ่อ พ่อจำคาถาได้คล่องแล้ว
บัดนี้พ่อสามารถจะกล่าวได้ไม่ว่าในสำนักใด ๆ ลูกจงนำพ่อไป
เฝ้าพระราชาเถิด. พระโพธิสัตว์รับว่า ดีแล้วพ่อ จึงให้จัดหา
เครื่องบรรณาการนำบิดาไปเฝ้าพระราชา. พราหมณ์กราบทูล

ว่า ขอมหาราชเจ้าจงทรงพระเจริญเถิดพระเจ้าข้า แล้วทูลถวาย
เครื่องบรรณาการ. พระราชาตรัสว่า โสมทัต พราหมณ์ผู้นี้
เป็นอะไรกับเจ้า. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้าเป็นบิดาของ
ข้าพระพุทธเจ้า พระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า มาธุระอะไร. ขณะนั้น
พราหมณ์ เมื่อจะกล่าวคาถาทูลขอโค จึงทูลว่า :-

ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระพุทธเจ้ามีโค
สำหรับไถนาอยู่สองตัว ในโคสองตัวนั้นตายเสีย
ตัวหนึ่งแล้ว ขอพระองค์โปรดรับตัวที่สองไป
เถิด พระเจ้าข้า.

พระราชาทรงทราบว่า พราหมณ์พูดผิด ทรงพระสรวล
ตรัสถามว่า โสมทัต ในเรือนเจ้าเห็นจะมีโคหลายตัวซินะ. โสมทัต
กราบทูล ขอเดชะข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์พระราชทานแล้ว
ก็จักมีมากพระเจ้าข้า. พระราชาทรงโปรดปรานพระโพธิสัตว์
พระราชทานโค ๑๖ ตัว กับเครื่องประดับ และบ้านสำหรับ

อยู่เป็นรางวัลด้วย แล้วทรงส่งพราหมณ์ไปด้วยยศยิ่งใหญ่.
พราหมณ์ขึ้นรถเทียมด้วยม้ามีขาวล้วน ได้ไปบ้านพร้อมด้วย
บริวารใหญ่. พระโพธิสัตว์นั่งไปในรถกับบิดา กล่าวว่า พ่อ
ลูกทำการซ้อมมาทั้งปี แต่พอถึงคราวเอาจริงเอาจังเข้า พ่อ
กลับทูลถวายโคของพ่อแด่พระราชาเสียนี่ แล้วกล่าวคาถา
แรกว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 07:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ท่านเป็นผู้ไม่ประมาทเป็นนิจ ได้ทำความ
เพียรอยู่ในป่าช้าชื่อ พีรณัตถัมภกะถึงหนึ่งปี
ครั้นเข้าประชุมบริษัทกลับกล่าวให้ผิดพลาดไป
ความเพียรย่อมป้องกันผู้ปราศจากปัญญามิได้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อกาสิ โยคฺคํ ธุวํ อปฺปมตฺโต
สํวจฺฉรํ วีรณตฺถมฺภกสฺมึ ความว่า พ่อจ๋า พ่อไม่ประมาทเป็น
นิจ ได้ทำการซักซ้อมที่ป่าช้าชื่อ พีรณัตถัมภกะถึงหนึ่งปี. บทว่า
พฺยากาสิ อญฺญํ ปริสํ วิคยฺห ความว่า ครั้นพ่อเข้าประชุม

บริษัท ได้ทำเป็นอย่างอื่น คือได้ทำพลาดไป ได้แก่เปลี่ยนแปลง
ไป. บทว่า น นิยฺยโม ตายติ อปฺปปญฺญํ ความว่า ความเพียร
ย่อมไม่ป้องกัน คือไม่รักษาบุคคลผู้มีปัญญาน้อยแม้ทำบ่อย ๆ ได้.
พราหมณ์ฟังคำของพระโพธิสัตว์ แล้วจึงกล่าวคาถา
ที่ ๒ ว่า :-

ดูก่อนพ่อโสมทัต บุคคลผู้ขอย่อมประสบ
อาการสองอย่างคือ ได้ทรัพย์ ๑ ไม่ได้ทรัพย์ ๑
เพราะว่าการขอมีอาการอย่างนี้เป็นธรรมดา.
ในบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ ธมฺมา หิ ยาจนา ได้แก่ เพราะ
การขอมีสภาพเป็นอย่างนี้.

พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โลฬุทายีมิใช่
เป็นผู้ประหม่าครั่นคร้ามในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เป็นผู้
ประหม่าครั่นคร้าม แล้วทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ทรง
ประชุมชาดก. บิดาของโสมทัตได้เป็นโลฬุทายี ส่วนโสมทัต
คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาโสมทัตตชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อญฺโญ อุปริโม วณฺโณ ดังนี้.

ความย่อมีว่า พระศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อน
ภิกษุได้ยินว่าเธอกระสันจริงหรือ ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริง
พระเจ้าข้า ตรัสถามว่า ใครทำให้เธอกระสัน กราบทูลว่า
ภรรยาเก่าพระเจ้าข้า. ลำดับนั้นพระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ หญิงนี้เป็นผู้ทำความเสื่อมเสียให้เธอ แม้ในครั้งก่อน
ได้ให้เธอบริโภคอาหารเหลือเดนของชายชู้ตน แล้วทรงนำเรื่อง
อดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลคนฟ้อนรำที่ยากจน
เที่ยวขอภิกษาเขาเลี้ยงชีพตระกูลหนึ่ง ครั้นเติบใหญ่ เป็นคน
เข็ญใจ รูปชั่วเที่ยวขอภิกษาเลี้ยงชีพ. ในครั้งนั้น พราหมณีของ
พราหมณ์คนหนึ่งในหมู่บ้านแคว้นกาสี เป็นหญิงทุศีล ลามก
ประพฤตินอกใจผัว.

อยู่มาวันหนึ่ง เมื่อพราหมณ์ไปทำธุระนอกบ้าน ชายชู้
ของพราหมณีเห็นได้โอกาสจึงเข้าไปเรือนนั้น. นางประพฤติ
นอกใจร่วมกับชายชู้แล้วกล่าวว่า เชิญบริโภคอาหารสักครู่หนึ่ง
จึงค่อยกลับไป จัดแจงหาอาหารคดข้าวร้อน ๆ พร้อมด้วยแกง

และกับ ให้ชายชู้นั้น กล่าวเชิญให้บริโภค นางเองยืนที่ประตู
คอยดูพราหมณ์กลับมา. พระโพธิสัตว์ยืนคอยขอก้อนข้าวอยู่ในที่
ชายชู้ของพราหมณ์บริโภค. ขณะนั้นพราหมณ์เดินตรงมาบ้าน.
พราหมณีเห็นพราหมณ์มา จึงรีบเข้าไปบอกว่า ลุกขึ้นเถิด

พราหมณ์กำลังมา แล้วให้ชายชู้ลงไปในยุ้งข้าวในเวลาที่พราหมณ์
เข้าไปนั่งแล้ว นางจึงเอาแผ่นกระดานไปให้ ให้น้ำล้างมือ
คดข้าวร้อน ๆ ไว้ข้างบนข้าวเย็นที่เหลือจากชายชู้บริโภค
ให้พราหมณ์. พราหมณ์เอื้อมมือลงไปในข้าว เห็นข้าวข้างบน

ร้อน ข้างล่างเย็น จึงคิดว่าข้าวนี้คงเป็นข้าวเหลือเดนจากคนอื่น
กิน. พราหมณ์เมื่อจะถามพราหมณี จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 08:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
อาการข้าวข้างบนเป็นอย่างหนึ่ง อาการ
ข้าวข้างล่างเป็นอย่างหนึ่ง ดูก่อนพราหมณี ฉัน
ขอถามเจ้าหน่อยเถิด เหตุไรข้าวข้างล่างจึงเย็น
ข้างบนจึงร้อนนิดหน่อย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณฺโณ คืออาการ. เพราะพราหมณ์
เมื่อจะถามความที่ข้าวข้างบนร้อน และข้างล่างเย็น จึงกล่าว
อย่างนี้. บทว่า กึ เหฏฺฐา กิญฺจ อุปริ ความว่า แน่ะนางธรรมดา
ข้าวที่คดข้างบนควรจะเย็น ข้างล่างควรจะร้อน แต่นี่ไม่เป็น
เช่นนั้น เพราะเหตุนั้นเราจึงถามเจ้าว่า เพราะเหตุไรข้าวข้างบน
จึงร้อน ข้างล่างจึงเย็น.

พราหมณีแม้เมื่อพราหมณ์ถามอยู่บ่อย ๆ ก็ยังนิ่งเฉย
เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำไว้จะเปิดเผยขึ้น. ในขณะนั้น บุตร
คนฟ้อนมีความคิดว่า บุรุษที่ถูกให้นั่งในยุ้งคงจะเป็นชายชู้
บุรุษผู้นี้คงเป็นเจ้าของบ้าน. ส่วนพราหมณีไม่พูดอะไร ๆ
เพราะเกรงว่ากรรมที่ตนทำจะปรากฏ เอาเถิดเราจะประกาศ

กรรมของหญิงนี้ จักบอกถึงความที่ชายชู้ถูกซ่อนไว้ในยุ้งแก่
พราหมณ์. บุตรคนฟ้อนจึงบอกพฤติกรรมทั้งหมด ตั้งแต่พราหมณ์
ออกจากเรือนไป ชายชู้เข้าไปในเรือน ประพฤติล่วงเกินบริโภค
อาหารอย่างดี พราหมณียืนคอยดูทางที่ประตู จนถึงชายชู้ถูก
ให้ลงยุ้ง แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 12:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ดูก่อนท่านผู้เจริญ ฉันเป็นคนฟ้อนรำ
เที่ยวขอมาจนถึงที่นี่ ก็ชายชู้ของพราหมณีนี้
ลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง ท่านเสาะหาผู้ใด ผู้นั้นคือ
ชายชู้ผู้นี้เอง.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อหํ นโฏสฺมิ ภทฺทนฺเต ความว่า
นาย ข้าพเจ้าเป็นนักฟ้อนเป็นคนกำพร้า. บทว่า ภิกฺขโกสฺมิ
อิธาคโต ความว่า ข้าพเจ้าเที่ยวขอมาถึงที่นี่. บทว่า อยํ หิ
โกฏฺฐโมติณฺโณ ความว่า ก็ชายชู้ของหญิงนี้กำลังบริโภคอาหาร

อยู่ ลงไปเพราะกลัวท่าน จึงลงไปซ่อนอยู่ในยุ้ง. บทว่า อยํ
โส คเวสติ ความว่า เขาผู้นั้นแหละคือผู้ที่ท่านค้นหาอยู่ว่า ข้าว
เหลือเดนนี้เป็นของใครหนอ. ท่านจงจับมวยผมของชายชู้ผู้นั้น
แล้วโบยนำออกจากยุ้ง จงสั่งสอนเขาไม่ให้กระทำอย่างนี้อีก

พระโพธิสัตว์กล่าวแล้วก็หลีกไป. พราหมณ์ก็สั่งสอนคนทั้งสอง
ไม่ให้ทำความชั่วเช่นนี้อีกด้วยการขู่และตบตี เสร็จแล้วก็ไป
ตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุกระสัน
ตั้งอยู่ในโสดาบัน พราหมณีในครั้งนั้นได้เป็นภรรยาเก่าในครั้งนี้
พราหมณ์ได้เป็นภิกษุกระสัน ส่วนบุตรคนฟ้อนรำคือ เราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถาอุจฉิฏฐภัตตชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 12:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเจ้าโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิสีนมนฺตรํ กตฺวา ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า ลาภและสักการะได้เกิดขึ้นเป็น
อันมากแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์. ดังที่พระธรรม-
สังคาหกาจารย์กล่าวไว้ว่า ก็โดยสมัยนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า
อันมหาชนสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ได้จีวร
บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขารทั้งหลาย

แม้ภิกษุสงฆ์ก็เหมือนอย่างนั้น แต่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก
ทั้งหลาย ไม่มีใครสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม
ไม่ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจัยเภสัชและบริขาร
ทั้งหลาย. พวกปริพาชกเหล่านั้น เสื่อมจากลาภและสักการะ
อย่างนี้ จึงประชุมลับปรึกษากันทั้งกลางวันและกลางคืนว่า

ตั้งแต่พระสมณโคดมอุบัติมา พวกเราเสื่อมจากลาภและสักการะ
พระสมณโคดมกลับได้ลาภและยศอย่างเลิศลอย สมบัตินี้เกิด
แก่พระสมณโคดมด้วยเหตุไรหนอ. ในหมู่ปริพาชกเหล่านั้น
พวกหนึ่งกล่าวอย่างนี้ว่า พระสมณโคดมอยู่ทำเลดีเป็นที่อุดม
สมบูรณ์ของชมพูทวีปทั้งสิ้น เหตุนั้นลาภสักการะจึงเกิดแก่

สมณโคดม. พวกที่เหลือกล่าวว่า นั่นก็มีเหตุผลอยู่ แม้พวกเรา
หากจะสร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังเชตวันมหาวิหาร ก็คงจัก
มีลาภอย่างนั้นบ้าง. พวกปริพาชกทั้งหมดลงความเห็นกันว่า
เอาเป็นอย่างนั้น จึงตกลงกันต่อไปว่า ก็ถ้าพวกเราจักไม่กราบทูล
พระราชาเสียก่อนสร้างอาราม พวกภิกษุก็จะขัดขวางได้ ธรรมดา

ผู้ได้สินบนแล้วจะไม่เขวไม่มี เพราะฉะนั้น เราจักถวายของ
กำนัลแด่พระราชา แล้วจักขอรับเอาที่สร้างอาราม จึงขอร้อง
พวกอุปฐากทั้งหลายรวบรวมทรัพย์ได้แสนหนึ่ง ถวายแด่พระ-
ราชา แล้วกราบทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพทั้งหลายจักสร้าง
อารามเดียรถีย์ที่หลังเชตวันมหาวิหาร หากพวกภิกษุจักมา
ถวายพระพรแด่พระองค์ว่า จักไม่ยอมให้ทำ ขอมหาบพิตร
อย่าเพิ่งให้คำตอบแก่ภิกษุเหล่านั้น.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 12:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระราชาทรงรับคำเพราะความละโมภของกำนัล. พวก
เดียรถีย์ครั้นเกลี้ยกล่อมพระราชาแล้ว จึงเรียกช่างมาเริ่มการ
ก่อสร้าง. ได้มีเสียงเอ็ดอึงขึ้น. พระศาสดาจึงตรัสถามว่า อานนท์
นั่นอะไรกัน เสียงเอ็ดอึงอื้อฉาว. พระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่

พระองค์ พวกเดียรถีย์ให้สร้างอารามเดียรถีย์ขึ้นที่หลังพระ-
วิหารเชตวัน จึงมีเสียงขึ้น ณ ที่นั้น พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดูก่อน
อานนท์ ที่นั่นไม่สมควรแก่อารามเดียรถีย์ พวกเดียรถีย์ชอบ
เสียงเอ็ดอึง ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับพวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้
จึงให้ประชุมภิกษุสงฆ์แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอ

จงไปทูลพระราชาให้ทรงยับยั้งการสร้างอารามเดียรถีย์. ภิกษุ
สงฆ์ไปยืนอยู่ที่ประตูพระราชวัง. พระราชาทรงสดับว่าสงฆ์
มา ทรงดำริว่า พวกภิกษุคงจะมาเรื่องอารามเดียรถีย์ เพราะ
พระองค์รับสินบนไว้ จึงให้ไปบอกว่า พระราชาไม่ประทับอยู่
ในวัง. ภิกษุทั้งหลายจึงไปกราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดา

ตรัสว่า พระราชาทรงทำอย่างนี้เพราะทรงรับสินบน จึงส่ง
พระอัครสาวกทั้งสองรูปไป. พระราชาทรงสดับว่า พระอัคร-
สาวกทั้งสองรูปมา จึงรับสั่งให้บอกไปเหมือนอย่างนั้น. พระ-
อัครสาวกทั้งสองมากราบทูลแด่พระศาสดา. พระศาสดาตรัสว่า
ดูก่อนสารีบุตร คราวนี้พระราชาจักไม่ได้ประทับนั่งในพระ-

ราชมณเฑียร จักเสด็จออกข้างนอก รุ่งขึ้นในเวลาเช้าพระองค์
ทรงนุ่งถือบาตรจีวรเสด็จไปยังประตูพระราชวังกับภิกษุ ๕๐๐
รูป. พระราชาพอได้ทรงสดับเท่านั้นก็เสด็จลงจากปราสาท
รับบาตรนิมนต์พระศาสดาให้เสด็จเข้าไป แล้วทรงถวายข้าวยาคู
และภัตร ถวายบังคมพระศาสดา ประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนา โดยปริยายข้อหนึ่งมาแสดง
แก่พระราชาแล้วตรัสว่า มหาบพิตร พระราชาแต่ครั้งก่อนก็
รับสินบนแล้วทำให้ผู้มีศีลทั้งหลายทะเลาะวิวาทกัน ไม่เป็น
เจ้าของแห่งแคว้นของตนได้ถึงความพินาศใหญ่หลวง พระราชา
กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
* ห่างไกลธรรม ย่อมยังชีวิตตนให้ตกต่ำ
* คิดก่อนพูด ก่อนจะรูดบัตรเครดิตควรคิดให้ดีฃ
* ใช้จ่ายง่าย ระวังจะหมดตัว
* หาเงินทองนั้นยากแท้ แต่หาเพื่อนแท้นั้นยากกว่า หาคนดียากที่สุด
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 56, 57, 58, 59, 60, 61, 62 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร