วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 22:15  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 55, 56, 57, 58, 59, 60, 61 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ
ภิกษุรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า วิรูปกฺเขหิ
เม เมตฺตํ ดังนี้.

ได้ยินว่า เมื่อภิกษุนั้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ งู
ตัวหนึ่งเลื้อยออกจากระหว่างไม้ผุได้กัดเข้าที่นิ้วเท้า. ภิกษุนั้น
มรณภาพในที่นั้นทันที. เรื่องที่ภิกษุนั้นมรณภาพได้ปรากฏไป
ทั่ววัด. ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ได้ยินว่า
ภิกษุรูปโน้นกำลังผ่าฟืนอยู่ที่ประตูเรือนไฟ ถูกงูกัดถึงแก่

มรณภาพ ณ ที่นั้นเอง. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุ
ทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
หากภิกษุรูปนั้นจักได้เจริญเมตตาแผ่ถึงตระกูลพญางูทั้งสี่แล้ว

งูก็จะไม่กัดภิกษุนั้น. แม้ดาบสทั้งหลายซึ่งเป็นบัณฑิตแต่ปางก่อน
เมื่อพระพุทธเจ้ายังมิได้อุบัติ ก็ได้เจริญเมตตาในตระกูลพญางู
ทั้ง ๔ ปลอดภัยอันจะเกิดเพราะอาศัยตระกูลพญางูเหล่านั้น
แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ แคว้นกาสี
ครั้นเจริญวัย สละกามสุข ออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและ
สมาบัติให้เกิด สร้างอาศรมบทอยู่ที่คุ้งแม่น้ำแห่งหนึ่งในหิมวันต-
ประเทศ เพลิดเพลินในฌาน เป็นครูประจำคณะ มีหมู่ฤๅษี
แวดล้อมอยู่อย่างสงบ.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้งนั้นที่ฝั่งคงคา มีงูนานาชนิดทำอันตรายแก่พวกฤๅษี.
พวกฤๅษีโดยมากได้ถึงแก่กรรม. ดาบสทั้งหลายจึงบอกเรื่องนั้น
แก่พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์เรียกประชุมดาบสทั้งหมด แล้ว
กล่าวว่า หากพวกท่านเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ งู
ทั้งหลายก็จะไม่กัดพวกเธอ เพราะฉะนั้นตั้งแต่นี้ไป พวกเธอ
จงเจริญเมตตาในตระกูลพญางูทั้ง ๔ แล้วจึงตรัสคาถานี้ว่า :-

ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับตระกูลพญางู
ชื่อว่า วิรูปักขะ ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับ
ตระกูลพญางูชื่อว่า เอราปถะ ขอไมตรีจิตของเรา
จงมีกับตระกูลพญางูชื่อว่า ฉัพยาปุตตะ ขอไมตรี
จิตของเราจงมีกับตระกูลพญางูชื่อกัณหาโคตมกะ.

พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงตระกูลพญางูทั้ง ๔ อย่างนี้แล้ว
จึงกล่าวว่า หากพวกท่านจักสามารถเจริญเมตตาในตระกูลพญางู
ทั้ง ๔ นั้น งูทั้งหลายก็จักไม่กัดไม่เบียดเบียนพวกท่าน. แล้ว
กล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

ขอไมตรีจิตของเรา จงมีกับสัตว์ที่ไม่มี
เท้า ขอไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สองเท้า ขอ
ไมตรีจิตของเราจงมีกับสัตว์สี่เท้า ขอไมตรีจิต
ของเราจงมีกับสัตว์มีเท้ามาก.

พระโพธิสัตว์ครั้นแสดงเมตตาภาวนาโดยสรุปอย่างนี้แล้ว
บัดนี้เมื่อจะแสดงด้วยการขอร้องจึงกล่าวคาถานี้ว่า :-
ขอสัตว์ที่ไม่มีเท้า สัตว์ที่มี ๒ เท้า สัตว์ที่มี
๔ เท้า สัตว์ที่มีเท้ามาก อย่าได้เบียดเบียนเราเลย.
บัดนี้เมื่อจะแสดงการเจริญเมตตาโดยไม่เจาะจง จึงกล่าว
คาถานี้ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ขอสัตว์ผู้ข้องอยู่ สัตว์ผู้มีลมปราณ สัตว์
ผู้เกิดแล้วหมดทั้งสิ้นด้วยกัน จงประสบพบแต่
ความเจริญทั่วกัน ความทุกข์อันชั่วช้า อย่าได้
มาถึงสัตว์ผู้ใดผู้หนึ่งเลย.
พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านจงเจริญเมตตาไม่เฉพาะ
เจาะจงในสรรพสัตว์อย่างนี้ เพื่อให้ระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย
อีก จึงกล่าวว่า :-

พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีพระคุณ
หาประมาณมิได้ บรรดาสัตว์เลื้อยคลาน คือ งู
แมลงป่อง ตะขาบ แมลงมุม ตุ๊กแก และหนู เป็น
สัตว์ประมาณได้.

พระโพธิสัตว์แสดงว่า เพราะธรรมทั้งหลายอันทำประมาณ
มีราคะภายในของสัตว์เหล่านั้นยังมีอยู่ ฉะนั้นสัตว์เลื้อยคลาน
เหล่านั้น จึงชื่อว่ามีประมาณ แล้วกล่าวว่าท่านทั้งหลายจงระลึก
ถึงคุณของพระรัตนตรัยอย่างนี้ว่า ด้วยอานุภาพของพระรัตนตรัย
อันหาประมาณมิได้ ขอสัตว์ทั้งหลายอันมีประมาณเหล่านี้ จงทำ
การปกป้องรักษาพวกเราทั้งกลางคืนกลางวันเถิด เพื่อแสดง
กรรมที่ควรทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านั้น จึงกล่าวคาถานี้ว่า :-

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เราได้ทำการรักษาตัวแล้ว ป้องกันตัวแล้ว
ขอสัตว์ทั้งหลาย จงพากันหลีกไป ข้าพเจ้าขอ
นอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอนอบน้อม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ๗ พระองค์.

พระโพธิสัตว์ผูกพระปริตรนี้ให้แก่คณะฤๅษี. ก็พระปริตร
นี้ พึงทราบว่าท่านกล่าวไว้ในชาดกนี้ด้วยคาถาทั้งหลายตอนต้น
เพราะแสดงเมตตาในตระกูลพญานาคทั้งสี่ หรือเพราะแสดง
เมตตาภาวนาทั้งสอง คือ โดยเจาะจงและไม่เจาะจง ควรค้นคว้า
หาเหตุอื่นต่อไป.

ตั้งแต่นั้นคณะฤๅษีตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์
เจริญเมตตารำลึกถึงพระพุทธคุณ. เมื่อฤๅษีรำลึกถึงพระพุทธคุณ
อยู่อย่างนี้ บรรดางูทั้งหลายทั้งหมดต่างก็หลีกไป แม้พระโพธิสัตว์
ก็เจริญพรหมวิหาร มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. คณะฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้. ส่วน
ครูประจำคณะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาขันธปริตตชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการเอาอย่างพระสุคต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า อปิ วีรก ปสฺเสสิ ดังนี้.

ความย่อมีว่า เมื่อพระเถระทั้งหลายพาบริษัทของพระ-
เทวทัตมาเฝ้า พระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนสารีบุตร เทวทัต
เห็นพวกเธอแล้วได้ทำอย่างไร กราบทูลว่า พระเทวทัตเลียนแบบ
พระสุคตพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร เทวทัตทำตาม
อย่างเรา ถึงความพินาศมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้แต่ก่อนก็ถึงความ
พินาศมาแล้ว พระเถระกราบทูลอาราธนา ทรงนำเรื่องอดีต
มาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในกำเนิดกาน้ำ ในหิมวันต-
ประเทศ อาศัยสระแห่งหนึ่งอยู่. มีชื่อว่า วีรกะ. ในครั้งนั้น
ได้เกิดข้าวยากหมากแพงขึ้นในแคว้นกาสี. พวกมนุษย์ไม่สามารถ

ให้อาหารกา หรือกระทำการบวงสรวงยักษ์และนาคได้. กา
ทั้งหลายจึงออกจากแคว้นที่อดหยาก เข้าป่าไปโดยมาก. ในกา
เหล่านั้น มีกาตัวหนึ่งชื่อ สวิษฐกะอยู่เมืองพาราณสี พานางกา
ไปยังที่อยู่ของกาวีรกะ อาศัยสระนั้นอยู่ส่วนหนึ่ง. อยู่มาวันหนึ่ง

กาสวิษฐกะหาเหยื่ออยู่ในสระนั้น เห็นกาวีรกะลงสระกินปลา
แล้วขึ้นมาตากตัวให้แห้ง จึงคิดว่า เราอาศัยกาตัวนี้แล้วสามารถ
หาปลาได้มาก เราจักปรนนิบัติกาตัวนี้ แล้วเข้าไปหากาวีรกะ
นั้น เมื่อกาวีรกะถามว่า อะไรล่ะสหาย ตอบว่า นาย ข้าพเจ้า

อยากจะปรนนิบัติท่าน กาสวิษฐกะรับว่า ดีแล้ว ตั้งแต่นั้นมา
กาสวิษฐกะก็ปรนนิบัติกาวีรกะ.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ฝ่ายกาวีรกะกินปลาพออิ่มสำหรับตนแล้วก็คาบปลามา
ให้แก่สวิษฐกะ. ฝ่ายกาสวิษฐกะกินพออิ่มสำหรับตนแล้วก็ให้
ปลาที่เหลือแก่นางกา. ต่อมากาสวิษฐกะเกิดความทะนงตนขึ้น
มาว่า แม้กาน้ำตัวนี้ก็เป็นกาดำ แม้เราก็เป็นกาดำ แม้ตา
จงอยปาก และเท้าของกาวีรกะนั้น และของเราก็ไม่ต่างกัน

ตั้งแต่นี้ไปเราไม่ต้องการปลาที่กาตัวนี้จับมาให้เรา. เราจักจับ
เสียเอง. กาสวิษฐกะจึงเข้าไปหากาวีรกะนั้นกล่าวว่า สหาย
ตั้งแต่นี้ไป เราจะลงสระจับปลากินเอง แม้เมื่อกาวีรกะห้ามอยู่ว่า
สหาย เจ้ามิได้เกิดในตระกูลกาที่ลงน้ำจับปลากิน เจ้าอย่าพินาศ

เสียเลย. ก็มิได้เชื่อฟังคำ ลงสระดำน้ำแล้วก็โผล่ขึ้น ไม่สามารถ
จะแหวกสาหร่ายออกมาได้ ติดอยู่ภายในสาหร่าย โผล่แต่ปลาย
จงอยปากเท่านั้น. กาสวิษฐกะหายใจไม่ออกถึงแก่ความตายใน
น้ำนั่นเอง ครั้งนั้นนางกา ภรรยาของกาสวิษฐกะไม่เห็นกา

สวิษฐกะกลับมา จึงไปหากาวีรกะเพื่อจะรู้ความเป็นไป เมื่อ
จะถามว่า นาย กาสวิษฐกะไม่ปรากฏ เขาหายไปเสียที่ไหนเล่า
จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ท่านวีรกะ ท่านเห็นนกที่ร้องเสียงไพเราะ
มีสีเสมอด้วยสร้อยคอแห่งนกยูงผู้เป็นผัวของ
ฉัน ชื่อสวิษฐกะบ้างไหม.
กาวีรกะฟังดังนั้นแล้วจึงกล่าวว่า จ้ะข้ารู้ที่ที่ผัวของเจ้าไป
แล้วกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-

นกสวิษฐกะ เมื่อทำตามภรรยาของปักษี
ผู้เที่ยวไปได้ทั้งทางน้ำและทางบก บริโภคปลาสด
เป็นนิจนั้น ถูกสาหร่ายพันคอตายเสียแล้ว.
นางกาได้ฟังดังนั้น ก็โศกเศร้าเสียใจกลับไปกรุงพาราณสี
ตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม
ชาดก. กาสวิษฐกะในครั้งนั้น ได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้. ส่วนกา
วีรกะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาวีรกชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภภิกษุผู้เป็นสหายสองรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า โสภนฺติ มจฺฉา คงฺเคยฺยา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุทั้งสองนั้นเป็นกุลบุตรชาวเมืองสาวัตถี
บวชในศาสนาแล้ว มิได้บำเพ็ญอสุภภาวนา ชอบสรรเสริญรูป
เที่ยวพร่ำเพ้อแต่เรื่องรูป. วันหนึ่ง ภิกษุทั้งสองนั้นเกิดทุ่มเถียง
กันเรื่องรูปว่า ท่านงาม เราก็งาม เห็นพระเถระแก่รูปหนึ่งนั่ง
อยู่ไม่ไกล พูดว่า พระเถระรูปนี้จักรู้ว่าเรางามหรือไม่งาม จึง

เข้าไปหาท่านถามว่า ท่านขอรับ ผมทั้งสองนี้ใครงาม. พระเถระ
ตอบว่า เรานี้แหละงามกว่าพวกท่าน. ภิกษุหนุ่มทั้งสองรูป
คิดว่า หลวงตาแก่รูปนี้ไม่ตอบคำที่เราถาม กลับตอบคำที่เรา
ไม่ได้ถาม จึงบริภาษแล้วหลีกไป. กิริยาของภิกษุสองรูปนั้น
ได้ปรากฏในหมู่สงฆ์.

อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรม
ว่า ได้ข่าวว่า พระเถระผู้เฒ่าได้ทำให้ภิกษุหนุ่มอวดรูปโฉม
ทั้งสองนั้นได้อาย. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูล

ให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุหนุ่ม
สองรูปนี้มิใช่ยกยอรูปแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อน เธอทั้งสอง
ก็เที่ยวพร่ำเพ้อรูปเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นรุกขเทวดาอยู่ที่ฝั่งคงคา.
ครั้งนั้นมีปลาสองตัวอยู่แม่น้ำคงคาตัวหนึ่ง อยู่แม่น้ำยมุนาตัวหนึ่ง
ทุ่มเถียงกันเรื่องรูป ณ ที่แม่น้ำคงคาและยมุนามาบรรจบกันว่า

เรางาม ท่านซิไม่งาม เห็นเต่าเกาะอยู่ที่แม่น้ำคงคา ไม่ไกลจาก
ที่นั้นเท่าไร คิดกันว่า เต่านี้คงจักรู้ว่า พวกเรางามหรือไม่งาม

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
จึงเข้าไปหาเต่านั้น แล้วถามว่า เต่าผู้เป็นสหาย ปลาตัวที่อยู่
แม่น้ำคงคางามหรือปลาตัวที่อยู่แม่น้ำยมุนางาม. เต่าตอบว่า
ปลาตัวที่อยู่แม่น้ำคงคาก็งาม ตัวที่อยู่แม่น้ำยมุนาก็งาม แต่เรา
งามยิ่งกว่าเจ้าทั้งสองเสียอีก เมื่อจะประกาศความนี้ จึงกล่าว
คาถาแรกว่า :-

ปลาชื่อคังเคยยะก็งาม และปลาชื่อว่า ยมุนา
ก็งาม แต่บุรุษ ๔ เท้ามีปริมณฑลเพียงดังต้นไทร
มีคอยาวหน่อยหนึ่งผู้นี้ ย่อมรุ่งเรืองกว่าใคร
ทั้งหมด.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จตุปฺปทายํ พระเถระกล่าวหมายถึง
ตัวท่านเองว่า บุรุษผู้นี้มี ๔ เท้า. บทว่า นิโคฺรธปริมณฺฑโล คือ
มีปริมณฑลเพียงดังต้นไทรที่เกิดดีแล้ว. บทว่า อีสกายตคีโว
คือมีคอยาวดุจงอนรถ. บทว่า สพฺเพว อติโรจติ ความว่า เต่า
ผู้สมบูรณ์ด้วยทรวดทรงกล่าวว่า ผู้นี้ย่อมรุ่งเรืองยิ่งกว่าใคร
ทั้งหมด คือเรานี่แหละงามเกินพวกท่านทั้งหมด.

ปลาฟังคำเต่าแล้วกล่าวว่า เจ้าเต่าชั่วพ่อตัวดี เจ้าไม่
ตอบคำที่เราถามกลับไปตอบเป็นอย่างอื่นเสียนี่ แล้วกล่าวคาถา
ที่ ๒ ว่า :-
ท่านไม่บอกเหตุที่เราถาม เราถามอย่าง
หนึ่งท่านบอกเสียอย่างหนึ่ง คนสรรเสริญตนเอง
นี้ ไม่ชอบใจเราเลย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺตปฺปสํสโก ได้แก่ คนชอบ
สรรเสริญตัวเอง คือ ยกย่องตัวเอง. บทว่า นายํ อสฺมาก รุจฺจติ
ความว่า เต่าชั่วตัวนี้ ไม่ชอบใจ คือไม่พอใจเราเลย.
ปลาทั้งสองตัวพ่นน้ำใส่เต่าแล้วก็ได้ไปยังที่อยู่ของตน
ตามเดิม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. ปลาสองตัวในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหนุ่มสองรูปในครั้งนี้
เต่าได้เป็นภิกษุแก่ ส่วนรุกขเทวดาผู้เกิดที่ฝั่งคงคาผู้เห็นเหตุการณ์
โดยตลอด คือ เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาคังเคยยชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 11 ธ.ค. 2018, 21:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระเทวทัต ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
อิงฺฆ วทฺธมยํ ปาสํ ดังนี้.

ความย่อมีอยู่ว่า ในครั้งนั้นพระศาสดาทรงสดับว่า พระ-
เทวทัตพยายามจะปลงพระชนม์พระองค์ จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย เทวทัตพยายามจะปลงชีวิตของเรา มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น
แม้เมื่อก่อนก็พยายามเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือกำเนิดเป็นกวางอาศัยอยู่ที่
ละเมาะแห่งหนึ่ง ไม่ไกลสระแห่งหนึ่งในป่า. ไม่ไกลสระนั้นมี
นกชื่อสตปัตตะ จับอยู่ที่ยอดไม้ต้นหนึ่ง. ก็ที่สระมีเต่าอาศัยอยู่.
สัตว์ทั้งสามนั้นเป็นสหายกัน ต่างอยู่กันด้วยความรัก. ครั้งนั้น

พรานเนื้อคนหนึ่งท่องเที่ยวไปในป่า พบรอยเท้าพระโพธิสัตว์
ที่ท่าลงน้ำดื่ม จึงดักบ่วงมีเกลี่ยวแข็งแรงราวกับโซ่เหล็ก แล้ว
กลับไป. พระโพธิสัตว์มาดื่มน้ำ ติดที่บ่วงแต่ยามต้น จึงร้องให้รู้
ว่าติดบ่วงเข้าแล้ว. นกสตปัตตะได้ยินเสียงพระโพธิสัตว์ จึงลง
จากยอดไม้ เต่าก็ขึ้นจากน้ำ ปรึกษากันว่า จะควรทำอย่างไรดี.

นกสตปัตตะจึงบอกเต่าว่า สหายท่านมีฟันจงแทะบ่วงนี้เถิด เรา
จะไปคอยกันไม่ให้พรานมาได้ ด้วยความพยายามที่เราทั้งสอง
ทำอย่างนี้ สหายของเราจักรอดชีวิต เมื่อจะประกาศเนื้อความ
นี้ จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนเต่าเราขอเตือน ท่านจงกัดบ่วงอัน
มีเกลียวแข็งด้วยฟัน เราจักทำอุบายไม่ให้นาย
พรานมาถึงเร็วได้.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
เต่าจึงเริ่มแทะเชือกหนัง นกสตปัตตะก็จับคอยอยู่บนต้นไม้
ไม่ไกลจากบ้านที่นายพรานอยู่. นายพรานถือหอกออกแต่เช้าตรู่.
นกรู้ว่านายพรานออกก็โฉบปรบปีก เอาปากจิกนายพรานผู้จะ
ออกทางประตูหน้า. นายพรานคิดว่าเราถูกนกกาฬกัณณีตีเข้า
ให้แล้ว จึงกลับไปนอนเสียหน่อยหนึ่ง แล้วลุกขึ้นถือหอกไปอีก.
นกรู้ว่านายพรานนี้ออกไปทางประตูหน้า บัดนี้คงจะออกไปทาง
ประตูหลัง จึงไปจับที่เรือนด้านหลัง ฝ่ายนายพรานคิดว่า เมื่อ
เราออกทางประตูหน้าก็พบนกกาฬกัณณี บัดนี้เราจะออกทาง
ประตูหลัง จึงออกไปทางประตูหลัง. นกก็โฉบลงเอาปากจิกอีก.

นายพรานคิดว่า เราถูกนกกาฬกัณณีตีอีก. บัดนี้นกนี้คงไม่ให้
เราออก นอนรอจนอรุณขึ้น จึงถือหอกออกไปในเวลาอรุณขึ้น.
นกรีบไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ว่า พรานกำลังเดินมา. ในขณะนั้น
เต่ากัดเชือกขาดยังเหลืออีกเกลียวเดียว. แต่ฟันของเต่าชักจะ
เรรวนจวนจะร่วง ปากก็ฟูมไปด้วยเลือด. พระโพธิสัตว์เห็น

บุตรนายพรานถือหอก เดินมาด้วยความเร็วดุจฟ้าแลบ จึงกัด
เกลียวนั้นขาดเข้าป่าไป. นกจับอยู่บนยอดไม้. แต่เต่าคงนอน
อยู่ในที่นั้นเอง เพราะบอบช้ำมาก. พรานเห็นเต่า จึงจับใส่
กระสอบแขวนไว้ที่ตอไม้ต้นหนึ่ง. พระโพธิสัตว์กลับมาดูรู้ว่า
เต่าถูกจับไปจึงคิดว่า เราจักให้ช่วยชีวิตสหาย จึงทำเป็นคล้าย

จะหมดกำลังแสดงตนให้พรานเห็น. พรานคิดว่า เนื้อนี้คงหมด
แรง เราจักฆ่ามันเสียแล้วถือหอกติดตามไป. พระโพธิสัตว์ไป
ได้ไม่ไกลไม่ใกล้นัก ล่อพรานเข้าป่าไป. ครั้นรู้ว่าพรานไปไกล
แล้ว จึงเหยียบรอยเท้าลวงไว้ แล้วไปเสียทางอื่นด้วยความเร็ว

ราวกะลมพัด เอาเขายกกระสอบขึ้นแล้วทิ้งลงบนพื้นดิน ขวิด
ฉีกขาดนำเต่าออกมาได้. แม้นกสตปัตตะก็ลงจากต้นไม้. พระ-
โพธิสัตว์เมื่อจะให้โอวาทแก่สัตว์ทั้งสอง จึงกล่าวว่า เราได้ชีวิต
ก็เพราะอาศัยพวกท่าน กิจที่ควรทำแก่สหาย พวกท่านก็ได้ทำ

แก่เราแล้ว บัดนี้พรานคงจะมาจับท่านอีก เพราะฉะนั้น สหาย
สตปัตตะท่านจงพาลูกเล็ก ๆ ของท่านไปอยู่ที่อื่นเสียเถิด สหาย
เต่า แม้ท่านก็จงลงน้ำไปเถิด. สัตว์ทั้งสองได้ทำตาม.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาตรัสรู้แล้ว ตรัสคาถาที่ ๒ ว่า :-
เต่าก็ลงน้ำไป กวางก็เข้าป่าไป นกสต-
ปัตตะไปถึงต้นไม้แล้ว ก็พาลูก ๆ ไปอยู่ในที่
ห่างไกล.

แม้พรานมายังที่นั้น ไม่เห็นใคร ๆ หยิบกระสอบที่ขาด
ขึ้นแล้วก็เสียใจ กลับเรือนของตน. สัตว์ทั้งสามสหายก็มิได้ตัด
ความสนิทสนมกันจนตลอดชีวิต แล้วต่างก็ไปกันตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดก. นายพรานในครั้งนั้นได้เป็นเทวทัตในครั้งนี้ นกสตปัตตะ
ได้เป็นสารีบุตร เต่าได้เป็นโมคคัลลานะ ส่วนกวาง คือเราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถากุรุงคมิคชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:20 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภการเล้าโลมของภรรยาเก่า ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อยมสฺสกราเชน ดังนี้.

ความย่อมีว่า ภิกษุนั้นพระศาสดาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า ตรัส
ถามว่าเพราะเหตุไร เธอจึงกระสัน กราบทูลว่า เพราะภรรยา
เก่าพระเจ้าข้า. จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ หญิงนั้นมีความรักใน
เธอมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนเธอก็ได้รับทุกข์ใหญ่หลวง
เพราะอาศัยหญิงนั้นเหมือนกัน แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลพระราชาพระนามว่า อัสสกะ ครองราชสมบัติ
อยู่ในนครชื่อว่า ปาฏลิแคว้นกาสี. พระองค์มีอัครมเหสีพระนาม
ว่าอุพพรี เป็นที่รักใคร่โปรดปรานของพระองค์ มีรูปโฉมงดงาม
น่าดู มีพระฉวีเหนือมนุษย์ แต่ยังไม่ถึงวรรณะทิพย์. พระนางได้

สิ้นพระชนม์ลง. พระราชาทรงโศกาดูร เสวยทุกข์โทมนัสยิ่งนัก
เพราะการสิ้นพระชนม์ของพระนางนั้น. พระองค์ให้เชิญพระศพ
ของพระนางลงในรางแล้วใส่น้ำมันหล่อไว้ ยกไปตั้งไว้ใต้พระ-
แท่นไสยาสน์ ทรงอดพระกระยาหารบรรทมกันแสงปริเทวนาการ.

พระราชมารดาพระราชบิดา หมู่พระญาติมิตรอำมาตย์ พราหมณ์
คหบดีเป็นต้น พากันทูลปลอบโยนเป็นต้นว่า อย่าทรงเศร้าโศก
ไปเลย มหาราช สังขารทั้งหลาย เป็นของไม่เที่ยง ก็ไม่สามารถ
ให้พระองค์ยินยอมได้. พระองค์ทรงรำพันอยู่เช่นนั้นล่วงไป ๗ วัน.

ในกาลนั้นพระโพธิสัตว์เป็นดาบสสำเร็จอภิญญาห้าและสมาบัติ
แปด อยู่ในหิมวันตประเทศ เจริญอาโลกกสิณตรวจดูชมพูทวีป
ด้วยทิพยจักษุ เห็นพระราชาปริเทวนาการอยู่อย่างนั้น ดำริว่า
เราควรเป็นที่พึ่งของพระราชาพระองค์นั้น จึงเหาะไปบนอากาศ
ด้วยอิทธานุภาพ แล้วลงไปในพระอุทยานนั่งเหนือแผ่นมงคลสิลา
ราวกะว่า พระปฏิมาทองคำ.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ครั้งนั้นมาณพพราหมณ์ชาวนครพาราณสีคนหนึ่ง ไป
พระอุทยานเห็นพระโพธิสัตว์จึงนั่งลงไหว้. พระโพธิสัตว์กระทำ
ปฏิสันถารกับมาณพนั้นแล้วถามว่า มาณพพระราชาทรงตั้งอยู่
ในธรรมหรือ. มาณพตอบว่า ขอรับพระคุณเจ้า พระราชาทรง
ตั้งอยู่ในธรรม แต่พระมเหสีของพระองค์สิ้นพระชนม์เสียแล้ว

พระองค์เชิญพระศพของพระนางไว้ในรางแล้วทรงบรรทม
พร่ำเพ้อรำพันวันนี้เป็นวันที่ ๗ พระคุณเจ้าจะไม่ช่วยพระราชา
ให้พ้นจากทุกข์บ้างหรือ เมื่อมีผู้มีศีล เช่นท่านสมควรจะให้
พระราชาเสวยทุกข์เช่นนั้นหรือ. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ดูก่อน
มาณพ เราไม่รู้จักพระราชา หากพระราชาจะเสด็จมาถามเรา

เรานี่แหละจะทูลบอกที่ที่พระมเหสีไปเกิด จะให้พระนางตรัส
สนทนากับพระราชาทีเดียว. มาณพนั้นกล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า
ถ้าเช่นนั้น ขอพระคุณเจ้านั่งรออยู่ที่นี้ จนกว่ากระผมจะทูลเชิญ
พระราชาเสด็จมา มาณพรับปฏิญญาของพระโพธิสัตว์แล้ว ไป
เฝ้าพระราชา กราบทูลความนั้น แล้วทูลพระองค์ควรเสด็จไป

ยังสำนักของท่านผู้มีจักษุทิพย์. พระราชาทรงดีพระทัยที่จะได้
ทรงเห็นพระนางอุพพรี เสด็จขึ้นรถไปอุทยาน ไหว้พระโพธิสัตว์
แล้วนั่ง ณ ส่วนหนึ่งถามว่า ได้ยินว่าท่านรู้ที่เกิดของพระเทวี
จริงหรือ. พระโพธิสัตว์ทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถามว่า เกิด
ที่ไหน. ทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระนางทรงมัวเมาในรูป อาศัย

ความเมาไม่ทรงทำกรรมดี จึงไปเกิดในกำเนิดหนอนมูลโค. ตรัส
ว่า ข้าพเจ้าไม่เชื่อ. ทูลว่า ถ้าเช่นนั้น อาตมาจะแสดงแก่พระองค์
แล้วให้พูด. ตรัสว่า ดีแล้ว จงให้พระนางพูดเถิด. พระโพธิสัตว์
ได้ทำให้หนอนสองตัวมาด้วยอานุภาพของตน โดยอธิษฐานว่า
ขอให้หนอนสองตัวจงชำแรกก้อนโคมัยออกมาเบื้องพระพักตร์

ของพระราชา. หนอนสองตัวก็ออกมาตามนั้น. พระโพธิสัตว์
เมื่อจะแสดงพระเทวี จึงกราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช พระเทวี
อุพพรีนี้จากพระองค์ไปแล้ว เดินตามหลังหนอนโคมัยมา ขอ

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
พระองค์จงทอดพระเนตรเถิด. พระราชาตรัสว่า พระคุณเจ้า
ข้าพเจ้าไม่เชื่อว่า สัตว์ที่เกิดในกำเนิดหนอนโคมัยชื่ออุพพรี.
พระโพธิสัตว์ทูลว่า มหาบพิตร อาตมาภาพจะให้หนอนนั้นพูด.
ตรัสว่า ให้พูดเถิดพระคุณเจ้า.

พระโพธิสัตว์เมื่อจะให้หนอนพูดด้วยอานุภาพของตน จึง
เรียกว่า แน่ะนางอุพพรี. นางหนอนพูดเป็นภาษามนุษย์ว่า อะไร
เจ้าคะ. พระโพธิสัตว์ถามว่า ในอัตภาพที่ล่วงแล้วท่านเป็นอะไร.
ตอบว่า ข้าพเจ้าเป็นมเหสีของพระเจ้าอัสสกะ ชื่ออุพพรีเจ้าคะ.

ถามว่า ก็เดี๋ยวนี้พระราชาอัสสกะยังเป็นที่รักของเจ้าหรือว่า หนอน
โคมัยเป็นที่รักของเจ้า. ตอบว่า ท่านเจ้าขา พระราชาเป็นพระ-
สวามีของข้าพเจ้าในชาติก่อน ครั้งนั้นข้าพเจ้าเที่ยวชื่นชมรูป
เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะกับพระราชานั้นในอุทยานนี้ แต่เดี๋ยวนี้
ตั้งแต่ข้าพเจ้าไปต่างภพกันแล้ว พระราชาอัสสกะจะเป็นอะไรกับ

ข้าพเจ้าเล่า บัดนี้ข้าพเจ้าจะสังหารพระเจ้าอัสสกะ เอาพระโลหิต
ในพระศอของพระองค์มาล้างเท้าของหนอนโคมัยผัวของข้าพเจ้า
เสีย แล้วได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยภาษามนุษย์ในท่ามกลาง
บริษัทว่า :-

ประเทศนี้เราผู้มีความจงรักได้เที่ยวเล่น
อยู่กับพระเจ้าอัสสกะผู้เป็นพระสวามีที่รัก ผู้มี
ความประสงค์ตามความใคร่.
ความสุขและความทุกข์เก่า ถูกความสุข
และความทุกข์ใหม่ปกปิดไว้ เพราะฉะนั้นหนอน
จึงเป็นที่รักของเรายิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะอีก.

* เมื่อยังเห็นประโยชน์ในการดื่มเหล้าเบียร์อยู่ ใจย่อมจะไม่ยอมออกห่าง
* เมื่อจะเลิกควรมองให้เห็นโทษ ท่องคิดพิจารนาบ่อยๆ จะเกิดความกลัว ความเบื่อหน่าย
คลายกำนัด และกำจัดทิ้งไป
• อ่านหนังสือไปแล้ว ท่านได้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วรู้อะไรบ้าง?
อ่านแล้วเข้าใจมากน้อยแค่ไหน?
อ่านแล้วนำไปใช้งานได้มากน้อยเพียงใด?
อ่านแล้วใจผ่องใสขึ้นบ้างหรือไม่?
อ่านแล้วยังไม่เข้าก็คงต้องแล้วอ่านอีก
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 12 ธ.ค. 2018, 06:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
Quote Tipitaka:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อยมสฺสกราเชน เทโส วิจริโต มยา
ความว่า อุทยานประเทศอันน่ารื่นรมย์นี้ เราเคยเที่ยวไปกับ
พระเจ้าอัสสกะ. คำว่า อนุ ในบทว่า อนุกามยกาเมน เป็น
เพียงนิบาต. ความว่า เราผู้มีความใคร่ต่อพระเจ้าอัสสกะนั้น
ได้เที่ยวเล่นกับพระเจ้าอัสสกะผู้ใคร่เรา. บทว่า ปิเยน ได้แก่

เป็นที่รักในอัตภาพนั้น. บทว่า นเวน สุขทุกฺเขน โปราณํ อปิถิยฺยติ
ความว่า นางหนอนกล่าวว่า ท่านเจ้าขา สุขเก่าถูกสุขใหม่ปกปิด
ครอบงำ ทุกข์เก่าถูกทุกข์ใหม่ปกปิดครอบงำ นี้เป็นธรรมดา
ของโลก. บทว่า ตสฺมา อสฺสกรญฺญาว กีโฏ ปิยตโร มมํ. ความว่า
เพราะสุขทุกข์เก่าถูกสุขทุกข์ใหม่ปกปิด ฉะนั้น หนอนจึงเป็นที่รัก
ของข้าพเจ้ายิ่งกว่าพระเจ้าอัสสกะร้อยเท่าพันเท่า.

พระเจ้าอัสสกะได้สดับดังนั้นแล้ว ทรงแค้นพระทัย ยัง
ประทับอยู่ ณ ที่นั้น รับสั่งให้ย้ายศพพระเทวีออกไป ทรงสรง
สนานพระเศียร แล้วไหว้พระโพธิสัตว์ เสด็จเข้าพระนคร ทรง
อภิเษกสตรีอื่นเป็นอัครมเหสี ทรงครองราชสมบัติโดยธรรม.

ฝ่ายพระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาให้ทรงหายโศกแล้ว ก็
ได้กลับไปยังป่าหิมพานต์.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน
ได้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล พระเทวีอุพพรีในครั้งนั้นได้เป็นภรรยา
เก่า (ของภิกษุนั้น) ในครั้งนี้ พระเจ้าอัสสกะได้เป็นภิกษุกระสัน
มาณพได้เป็นสาริบุตร ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาอัสสกชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 55, 56, 57, 58, 59, 60, 61 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร