วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 14:44  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 26, 27, 28, 29, 30, 31, 32 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พญาแร้งสดับพระราชดำรัสแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
ความเสื่อมจะมีในเวลาใด สัตว์ใกล้จะ
สิ้นชีวิตในเวลาใด ในเวลานั้นถึงจะมาใกล้ข่าย
และบ่วง ก็รู้ไม่ได้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปราภโว คือ ความพินาศ.
บทว่า โปโส คือสัตว์.
พระราชาครั้นทรงสดับคำของแร้งแล้ว จึงตรัสถาม
เศรษฐีว่า ดูก่อนมหาเศรษฐี แร้งทั้งหลายนำผ้าเป็นต้นมาที่
เรือนของท่านจริงหรือ. กราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า. ตรัสถาม
ว่า ผ้าเป็นต้นเหล่านั้นอยู่ที่ไหน. กราบทูลว่า ขอเดชะข้าพระ-

พุทธเจ้าจัดผ้าเหล่านั้นไว้เป็นส่วน ๆ ข้าพระพุทธเจ้าจะให้แก่
ผู้ที่เป็นเจ้าของ ขอพระองค์ได้โปรดทรงปล่อยแร้งตัวนี้เถิด
พระเจ้าข้า. มหาเศรษฐีกราบทูลให้ปล่อยพญาแร้ง แล้วคืน
สิ่งของให้แก่ทุกคน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
อริยสัจ ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบอริยสัจ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา
ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล. พระราชาในครั้งนั้น ได้เป็นอานนท์ใน
บัดนี้. เศรษฐีกรุงพาราณสีได้เป็นสารีบุตร. ส่วนแร้งเลี้ยง
มารดา คือเราตถาคตนี้แล
จบ อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
การทะเลาะของเสณี ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
สนฺธึ กตฺวา อมิตฺเตน ดังนี้.

เรื่องราวเหมือนกับที่กล่าวไว้แล้วในอุรคชาดก ในหนก่อน.
แม้ในเรื่องนี้พระศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหา-
อำมาตย์สองคนเหล่านี้ มิใช่เราทำให้สามัคคีกันในบัดนี้เท่านั้น
แม้เมื่อก่อนเราก็ได้ทำให้คนเหล่านี้สามัคคีกันเหมือนกัน แล้ว
ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์อุบัติในตระกูลพราหมณ์ ในบ้าน
แห่งหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เรียนศิลปะทุกแขนง ในกรุงตักกสิลา
สละเพศฆราวาสออกบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้

เกิด มีรากไม้และผลาผลในป่าเป็นอาหาร โดยการเที่ยวแสวง
หา พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ท้ายสุดที่จงกรมของพระ-
โพธิสัตว์ มีพังพอนอาศัยอยู่ในจอมปลวกแห่งหนึ่ง. ใกล้จอมปลวก
นั้นมีงูอาศัยอยู่ที่โคนไม้ต้นหนึ่ง. งูและพังพอนทั้งสองก็ทะเลาะกัน

ตลอดกาล. พระโพธิสัตว์กล่าวถึงโทษในการทะเลาะกันและ
อานิสงส์ในการเจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งสองนั้น แล้วสอนว่า ไม่
ควรทะเลาะกัน ควรอยู่กันด้วยความสามัคคี ได้ทำให้สัตว์
ทั้งสองนั้นสามัคคีกัน. ครั้นถึงเวลาที่งูออกไปข้างนอก พังพอน

ก็นอนอ้าปากหันหัวไปทางช่องโพลงจอมปลวก ท้ายที่จงกรม
หายใจเข้าออกหลับไป. พระโพธิสัตว์เห็นพังพอนนั้นนอนหลับ
เมื่อจะถามว่า ภัยอะไรเกิดขึ้นแก่เจ้า จึงกล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนพังพอน ท่านได้ทำมิตรภาพกับงู
ผู้เป็นศัตรู ไฉนจึงยังนอนแยกเขี้ยวอยู่อีกเล่า
ภัยที่ไหนจะมาถึงแก่ท่านอีก.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)
• เจ้าต้องเสื่อมเสียอีกมากเท่าไหร่ ใจถึงจะรู้ชึ้งถึงโทษของเหล้าและเบียร์หนอ
• เจ็บแล้วไม่จำ ก็ยังดื่มกันอีก
• รอดตายมาได้ ก็มิวายที่จะดื่มต่อ
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สนฺธึ กตฺวา คือทำความเป็น
มิตรกัน. บทว่า อณฺฑเชน ได้แก่ งูซึ่งเกิดในกะเปาะไข่. เรียก
พังพอนว่า ชลาพุชะ. ด้วยว่าพังพอนนั้นเรียกว่าชลาพุชะเพราะ
เกิดในครรภ์ บทว่า วิวริย แปลว่า อ้าปาก.

พระโพธิสัตว์กล่าวอย่างนี้แล้ว พังพอนจึงบอกว่า พระคุณ-
เจ้า ขึ้นชื่อว่าศัตรูไม่ควรดูหมิ่น ควรระแวงไว้เสมอ แล้วกล่าว
คาถาที่ ๒ ว่า :-

บุคคลพึงระแวงภัยในศัตรูไว้ แม้ในมิตร
ก็ไม่ควรวางใจ ภัยเกิดขึ้นแล้วจากมิตร ย่อม
ตัดมูลรากทั้งหลายเสีย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกยา ภยมุปฺปนฺนํ ได้แก่
ภัยไม่เกิดแก่ท่านจากโอกาสนี้ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ไม่มีภัย.
ใครจัดว่าเป็นมิตร ผู้ที่คุ้นเคยจัดว่าเป็นมิตร เพราะฉะนั้น ภัย
ย่อมเกิดขึ้นจากมิตรนั้น ย่อมตัดแม้มูลรากนั้นเสีย อธิบายว่า

ชื่อว่าย่อมเป็นไปเพื่อกำจัดมูลราก เพราะค่าที่มิตรรู้โทษทั้งหมด
แล้ว.

ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ได้สอนพังพอนนั้นว่า เจ้าอย่า
กลัวเลย เราได้กระทำโดยที่ไม่ให้งูทำร้ายเจ้าแล้ว ตั้งแต่นี้ไป
เจ้าอย่าได้ระแวงงูนั้นเลย แล้วสอนให้เจริญพรหมวิหารสี่มุ่ง
ต่อพรหมโลก. แม้สัตว์เหล่านั้นก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประชุม
ชาดก. งูและพังพอนในครั้งนั้นได้เป็นมหาอำมาตย์สองคนใน
บัดนี้. ส่วนดาบส คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถานกุลชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พราหมณ์ผู้ถือความบริสุทธิ์ของป่าช้า ชื่ออุปสาฬหกะ.

มีเรื่องได้ยินมาว่า พราหมณ์นั้นเป็นผู้มั่งคั่งมีทรัพย์มาก
แต่เพราะค่าที่ตนเป็นคนเจ้าทิฏฐิ จึงมิได้ทำการสงเคราะห์
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แม้ประทับอยู่ ณ พระวิหารใกล้ ๆ. แต่
บุตรของเขาเป็นคนฉลาด มีความรู้. พราหมณ์บอกบุตรเมื่อ

ตัวแก่เฒ่าว่า นี่แน่ลูก เจ้าอย่าเผาพ่อในป่าช้าที่เผาคนเฉาโฉด
แต่ควรเผาพ่อในป่าช้าที่ไม่ปะปนกับใคร ๆ แห่งหนึ่ง. บุตรกล่าว
ว่า พ่อจ๋าลูกไม่รู้จักที่ที่ควรเผาพ่อ ทางที่ดีพ่อพาลูกไปแล้ว
บอกว่าให้เผาตรงนี้. พราหมณ์พูดว่า ดีละลูกแล้วพาบุตรออก

จากเมืองขึ้นไปยังยอดเขาคิชฌกูฏ กล่าวว่าลูกตรงนี้แหละเป็น
ที่ที่ไม่เคยเผาคนเฉาโฉดอื่น. ลูกควรเผาพ่อตรงนี้แล้วก็เริ่ม
ลงจากภูเขาพร้อมกับลูก.

ในวันนั้นเวลาใกล้รุ่งพระศาสดาทรงตรวจดูเผ่าพันธุ์ผู้
ืัที่ควรโปรดได้ทอดพระเนตรเห็นอุปนิสัยโสดาปัตติมรรคของ
พ่อลูกนั้น เพราะฉะนั้น จึงทรงถือเอาทางนั้นเสด็จไปยังเชิงภูเขา
ดุจพรานชำนาญทาง ประทับนั่งรอพ่อลูกลงจากยอดเขา. พ่อลูก

ลงจากภูเขาได้เห็นพระศาสดา. พระศาสดาทรงกระทำปฏิสันถาร
ตรัสถามว่า จะไปไหนกันพราหมณ์. มาณพกราบทูลเนื้อความ
ให้ทรงทราบ. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้นมาเถิด เราจะไป
ยังที่ที่บิดาของเจ้าบอกทรงพาพ่อลูกทั้งสองขึ้นสู่ยอดเขาตรัส

ถามว่า ที่ตรงไหนเล่า. มาณพกราบทูลว่า บิดาของข้าพระองค์
บอกว่า ระหว่างภูเขาสามลูกนี่แหละพระเจ้าข้า. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนมาณพบิดาของเจ้ามิใช่ถือความบริสุทธิ์แห่งป่าช้า
ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนบิดาของเจ้าก็ถือความบริสุทธิ์แห่ง

ป่าช้า อนึ่งบิดาคนนี้บอกเจ้าว่าจงเผาเราตรงนี้แหละมิใช่เวลานี้
เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็บอกที่สำหรับเผาตนในที่นี้เหมือนกัน เมื่อ
เขากราบทูลอาราธนาจึงทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)
• เจ้าต้องเสื่อมเสียอีกมากเท่าไหร่ ใจถึงจะรู้ชึ้งถึงโทษของเหล้าและเบียร์หนอ
• เจ็บแล้วไม่จำ ก็ยังดื่มกันอีก
• รอดตายมาได้ ก็มิวายที่จะดื่มต่อ
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ที่กรุงราชคฤห์นี้แหละ ได้มีพราหมณ์ชื่อ
อุปสาฬหกะคนเดียวกันนี้แหละ และบุตรของเขาก็คนเดียวกันนี้.
ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ แคว้นมคธ
ครั้นจบศิลปศาสตร์แล้ว จึงออกบวชเป็นฤๅษี ทำอภิญญาและ

สมาบัติให้เกิด เพลิดเพลินอยู่ด้วยฌานกรีฑา อาศัยอยู่ในหิมวันต-
ประเทศเป็นเวลาช้านาน แล้วจึงไปพักอยู่ ณ บรรณศาลาใกล้
ภูเขาคิชฌกูฏ เพื่อเสพของเค็มของเปรี้ยว. ในครั้งนั้น พราหมณ์
นั้นได้บอกกะบุตรทำนองเดียวกันนี้แหละ เมื่อบุตรกล่าวว่า

พ่อจงบอกที่เช่นนั้นแก่ลูกเถิด. แล้วบอกที่นี้แหละ แล้วลงไปพบ
พระโพธิสัตว์พร้อมกับบุตร ได้เข้าไปหาพระโพธิสัตว์. พระโพธิ-
สัตว์ถามทำนองเดียวกันนี้แหละ ครั้นฟังคำของมาณพแล้ว
จึงกล่าวว่า มาเถิดเราจะรู้ว่าที่ที่บิดาเจ้าบอกปะปนหรือไม่ปะปน

แล้วพาบิดาและบุตรขึ้นไปยอดภูเขา เมื่อมาณพกล่าวว่า ระหว่าง
ภูเขาสามลูกนี้แหละ เป็นที่ไม่ปะปน จึงตอบว่า ดูก่อนมาณพใน
ที่นี้แหละไม่มีปริมาณของผู้ที่ถูกเผา บิดาของเจ้านั่นเองเกิดใน
ตระกูลพราหมณ์เมืองราชคฤห์นี้แหละ ชื่ออุปสาฬหกะอย่าง
เดียวกัน ถูกเผาในระหว่างภูเขานี้มาแล้วถึงหมื่นสี่พันชาติ.

อันที่จริง สถานที่ที่ไม่ถูกเผาก็ดี สถานที่ที่ไม่ใช่ป่าช้าก็ดี สถานที่
ที่ศีรษะไม่ทอดลงก็ดี ไม่อาจหาได้ในแผ่นดิน แล้วกำหนดด้วย
ญาณอันรู้ถึงภพของสัตว์ที่อยู่อาศัยในชาติก่อน (บุพเพนิวาสญาณ)
จึงกล่าวสองคาถาว่า :-

พราหมณ์ชื่อว่า อุปสาฬหกะทั้งหลาย
ถูกญาติทั้งหลายเผาเสียในประเทศนี้ ประมาณ
หมื่นสี่พันชาติแล้ว สถานที่อันใคร ๆ ไม่เคย
ตายแล้วย่อมไม่มีในโลก. สัจจะ ธรรม อหิงสา
สัญญมะ และทมะมีอยู่ในบุคคลใด พระอริยะ
ทั้งหลายย่อมคบหาบุคคลนั้น คุณชาตินี้แลชื่อว่า
ไม่ตายในโลก.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)
• เจ้าต้องเสื่อมเสียอีกมากเท่าไหร่ ใจถึงจะรู้ชึ้งถึงโทษของเหล้าและเบียร์หนอ
• เจ็บแล้วไม่จำ ก็ยังดื่มกันอีก
• รอดตายมาได้ ก็มิวายที่จะดื่มต่อ
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนามตํ ได้แก่ จริงอยู่สถานที่
อันไม่ตายท่านเรียกว่า อมตะด้วยการเปรียบเทียบ. เมื่อจะปฏิเสธ
ข้อนั้น จึงกล่าวว่า อนามตํ (ที่ที่ไม่เคยตาย). บาลี เป็น อมตํ
ก็มี อธิบายว่า ชื่อว่าที่อันไม่ใช่สุสาน อันเป็นที่ที่ใคร ๆ ไม่เคย

ตายไม่มีในโลก. บทว่า ยมฺหิ สจฺจญฺจ ธมฺโมจ ได้แก่ ญาณ
คือสัจธรรมอันเป็นส่วนเบื้องต้น มีอริยสัจสี่เป็นพื้นฐาน และ
โลกุตตรธรรม มีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า อหึสา ได้แก่ การไม่
เบียดเบียน กิริยาที่ไม่เบียดเบียนต่อผู้อื่น. บทว่า สญฺญโม ได้แก่

การสำรวมด้วยศีล. บทว่า ทโม ได้แก่การฝึกอินทรีย์. คุณชาติ
นี้แลมีอยู่ในบุคคลใด. บทว่า เอตทริยา เสวนฺติ ความว่า พระ-
อริยะทั้งหลาย ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ
สาวกของพระพุทธเจ้า ย่อมเสพฐานะนี้คือ ย่อมเข้าไปหา ย่อม
คบบุคคลชนิดนี้. บทว่า เอตํ โลเกอนามตํ ได้แก่ คุณชาตินั้นชื่อว่า
อมตะ เพราะให้สำเร็จถึงความไม่ตาย.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่สองพ่อลูกอย่างนี้แล้ว เจริญ
พรหมวิหารสี่มุ่งต่อพรหมโลก. พระศาสดาทรงนำพระธรรม-
เทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก.

เมื่อจบสัจธรรม พ่อลูกทั้งสองตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล.
พ่อลูกในครั้งนั้นได้เป็นพ่อลูกในบัดนี้. ส่วนดาบสคือเราตถาคต
นี้แล.
จบ อรรถกถาอุปสาฬหกชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อเสด็จเข้าไปอาศัยกรุงราชคฤห์ประทับ
อยู่ ณ พระวิหารตโปทาราม ทรงปรารภพระเถระชื่อสมิทธิ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกขุ ดังนี้.

ความพิสดารว่า วันหนึ่งท่านสมิทธิเถระตั้งความเพียร
ตลอดคืนยังรุ่ง พอรุ่งสว่างก็ไปอาบน้ำ ผึ่งกายอันมีสีดุจทองคำ
ให้แห้ง แล้วนุ่งผ้ามือหนึ่งถือผ้าห่มยืนอยู่. พระเถระมีชื่อว่า
สมิทธิ เพราะมีอัตภาพสมบูรณ์คล้ายรูปทอง อันนายช่างหล่อ
หลอมไว้อย่างงดงาม. ครั้งนั้นเทพธิดานางหนึ่งเห็นส่วนแห่งความ

งามในร่างกายของพระเถระก็มีจิตปฏิพัทธ์ พูดกับพระเถระ
อย่างนี้ว่า ท่านภิกษุ ท่านยังเด็กเยาว์วัย หนุ่มแน่นมีผมดำ
ประกอบด้วยความหนุ่ม ทั้งยังเจริญ มีรูปงาม น่าดู น่าเลื่อมใส
ท่านเป็นเช่นนี้ไม่บริโภคกาม ประโยชน์อะไรด้วยการบรรพชา

จงบริโภคกามเสียก่อนเถิด ภายหลังจึงค่อยบวชบำเพ็ญสมณธรรม.
ครั้นแล้วพระเถระกล่าวกะเทพธิดาว่า แน่ะเทพธิดา เราไม่รู้
ความตายของเราว่า เราจักตายเมื่ออยู่ในวันโน้น เรากำหนด
เวลาไม่ได้ เพราะฉะนั้น เราจักบำเพ็ญสมณธรรม ในตอนยัง

เป็นหนุ่มแล้วจักทำที่สุดทุกข์. เทพธิดาครั้นไม่ได้การต้อนรับ
จากพระเถระก็หายไป ณ ที่นั้นเอง. พระเถระเข้าไปเฝ้าพระ-
ศาสดา แล้วกราบทูลเรื่องราวนั้นให้ทรงทราบ. พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนสมิทธิ ก็เทพธิดาเล้าโลมเธอมิใช่ในบัดนี้เท่านั้น

แม้แต่ก่อนเทพธิดาทั้งหลาย ก็เล้าโลมนักบวชบัณฑิตเหมือนกัน
เมื่อทูลอาราธนา จึงทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ใน
กาสิกคาม ตำบลหนึ่ง ครั้นเจริญวัย ได้เล่าเรียนศิลปศาสตร์
ทุกชนิด แล้วบวชเป็นฤๅษี ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิด อาศัย

สระแห่งหนึ่งอยู่ใกล้หิมวันตประเทศ. ดาบสนั้นบำเพ็ญเพียร
อยู่ตลอดคืนยังรุ่ง ในเวลาอรุณขึ้นอาบน้ำแล้วนุ่งผ้าเปลือกไม้
ผืนหนึ่ง จับผืนหนึ่งไว้ ยืนผึ่งสรีระให้แห้ง. ขณะนั้นเทพธิดา
นางหนึ่งมองดูอัตภาพอันมีรูปโฉมงดงามของพระดาบส มีจิต
ปฏิพัทธ์ จึงเล้าโลมพระโพธิสัตว์กล่าวคาถาแรกว่า :-

ดูก่อนภิกษุ ท่านยังไม่ทันได้บริโภคกาม
เลย มาเที่ยวภิกษาเสีย ท่านจะบริโภคกามเสีย
ก่อนแล้วจึงเที่ยวภิกษาไม่ดีหรือ

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)
• เจ้าต้องเสื่อมเสียอีกมากเท่าไหร่ ใจถึงจะรู้ชึ้งถึงโทษของเหล้าและเบียร์หนอ
• เจ็บแล้วไม่จำ ก็ยังดื่มกันอีก
• รอดตายมาได้ ก็มิวายที่จะดื่มต่อ
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ดูก่อนภิกษุท่านจงบริโภคกามเสียก่อน
แล้วจึงเที่ยวภิกษาเถิด เวลาบริโภคกามอย่า
ล่วงเลยท่านไปเสีย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อภุตฺวา ภิกฺขสิ ภิกฺขุ ความว่า ดูก่อน
ภิกษุ ท่านยังไม่บริโภควัตถุกาม เนื่องด้วยกิเลสกาม ในคราว
เป็นเด็กแล้วเที่ยวขอ. บทว่า น หิ ภุตฺวาน ภิกฺขสิ ความว่า

ท่านควรบริโภคกามคุณห้าแล้วจึงเที่ยวภิกษามิใช่หรือ ท่านยัง
ไม่บริโภคกามเลย เที่ยวขอภิกษาเสียแล้ว. บทว่า ภุตฺวาน ภิกฺขุ
ภิกฺขสฺสุ ความว่า ดูก่อนภิกษุ ท่านบริโภคกามเสียแต่ยังเป็น
หนุ่มก่อน ภายหลังเมื่อแก่แล้วจึงขอเถิด. บทว่า มา ตํ กาโล

อุปจฺจคา ความว่า เวลาบริโภคกามนี้อย่าล่วงเลยท่านในเวลา
หนุ่มเลย.

พระโพธิสัตว์สดับคำของเทพธิดาแล้ว เมื่อจะประกาศ
อัธยาศัยของตน จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

เรารู้เวลาตายไม่ได้โดยแท้ เวลาตายยัง
ปกปิดอยู่ หาปรากฏไม่ เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่
บริโภคกามแล้วเที่ยวภิกษา เวลากระทำสมณ-
ธรรมอย่าล่วงเลยเราไปเสีย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โว ในบทว่า กาลํ โวหํ น
ชานามิ เป็นเพียงนิบาต. เราไม่รู้เวลาตายของตนอย่างนี้ว่า
เราควรตายในปฐมวัย หรือในมัชฌิมวัย หรือในปัจฉิมวัย. ดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า :-

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)
• เจ้าต้องเสื่อมเสียอีกมากเท่าไหร่ ใจถึงจะรู้ชึ้งถึงโทษของเหล้าและเบียร์หนอ
• เจ็บแล้วไม่จำ ก็ยังดื่มกันอีก
• รอดตายมาได้ ก็มิวายที่จะดื่มต่อ
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บุคคลแม้เป็นอติบัณฑิต ก็ไม่รู้ถึงฐานะ
ห้าอย่างอันไม่มีนิมิตในชีวโลกนี้ คือ ชีวิต ๑
พยาธิ ๑ เวลา ๑ ที่ตาย ๑ ที่ไป ๑.

บทว่า ฉนฺโน กาโล น ทิสฺสติ ความว่า เพราะเราไม่
เห็นกาล กาลอันปกปิดนี้ คือไม่ปรากฏกาลอันตั้งอยู่อย่างปกปิด
ว่า เราควรตายเมื่อถึงวัยโน้น หรือ ในฤดูหนาวเป็นต้น. บทว่า
ตสฺมา อภุตฺวา ภิกฺขามิ ความว่า เพราะเหตุนั้นเราจึงไม่บริโภค

กามคุณแล้วขอ. บทว่า มา มํ กาโล อุปจฺจคา ความว่า เวลา
บำเพ็ญสมณธรรมอย่าล่วงเลยเราไป เพราะเหตุนั้น เราจึงบวช
บำเพ็ญสมณธรรมแต่ยังหนุ่ม.

เทพธิดาสดับคำพระโพธิสัตว์แล้วก็หายไป ณ ที่นั้นเอง.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. เทพธิดาในครั้งนั้นได้เป็นเทพธิดานี้ในบัดนี้ เราได้เป็น
ดาบสในสมัยนั้น.
จบ อรรถกถาสมิทธิชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภพระสูตรว่าด้วยโอวาทของนก อันเป็นพระอัธยาศัยของ
พระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า เสโน พลสา
ปตมาโน ดังนี้.

ความพิสดารมีอยู่ว่า วันหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกภิกษุ
ทั้งหลาย แล้วตรัสพระสูตรในมหาวรรคสังยุตต์นี้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวไปในโคจรอันเป็นวิสัยของบิดา
ของตนแล้วตรัสว่า พวกเธอจงยกไว้ก่อนเถิด เมื่อก่อนแม้เดียรัจฉาน

ทั้งหลายก็ละวิสัยของตนแล้วเที่ยวไปในที่เป็นอโคจร ไปสู่เงื้อมมือ
ของข้าศึก แต่รอดจากเงื้อมมือข้าศึกได้ ก็ด้วยความฉลาดใน
อุบาย เพราะตนมีปัญญาเป็นสมบัติ แล้วทรงนำเรื่องในอดีต
มาเล่า.

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในกำเนิดนกมูลไถ อาศัยอยู่
ในก้อนดินที่ทำการไถ. วันหนึ่งนกมูลไถนั้นละถิ่นที่หากินเดิม
ของตนไปท้ายดงด้วยคิดว่า จักหาอาหารในถิ่นอื่น ครั้งนั้นเหยี่ยว

นกเขาเห็นนกมูลไถกำลังหาอาหารอยู่ จึงโฉบจับเอามันไป. เมื่อ
มันถูกเหยี่ยวนกเขาพาไป จึงคร่ำครวญอย่างนี้ว่า เราเคราะห์
ร้ายมาก มีบุญน้อย เราเที่ยวไปในที่อโคจรอันเป็นถิ่นอื่น ถ้า
วันนี้เราเที่ยวไปในที่โคจรอันเป็นถิ่นบิดาของตนแล้ว เหยี่ยว

นกเขานี้ไม่พอมือเราในการต่อสู้. เหยี่ยวนกเขาถามว่า ดูก่อน
นกมูลไถที่หาอาหารอันเป็นถิ่นบิดาของเจ้าเป็นอย่างไร. นกมูลไถ
ตอบว่า คือที่ก้อนดินคันไถน่ะซิ. เหยี่ยวนกเขายังออมกำลัง
ของมันไว้ จึงได้ปล่อยมันไปโดยพูดว่า ไปเถิดเจ้านกมูลไถ แม่

เจ้าไปในที่นั้นก็คงไม่พ้นเราดอก. นกมูลไถบินกลับไปในที่นั้น
ได้ขึ้นไปยังดินก้อนใหญ่ ยืนท้าเหยี่ยวว่า มาเดี๋ยวนี้ซิเจ้าเหยี่ยว
นกเขา. เหยี่ยวนกเขามิได้ออมกำลังของมัน ลู่ปีกทั้งสองโฉบ
นกมูลไถทันทีทันใด. ก็เมื่อนกมูลไถรู้ว่าเหยี่ยวนี้มาถึงเราด้วย

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)
• เจ้าต้องเสื่อมเสียอีกมากเท่าไหร่ ใจถึงจะรู้ชึ้งถึงโทษของเหล้าและเบียร์หนอ
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
กำลังแรง จึงบินหลบกลับเข้าไปในระหว่างก้อนดินนั้นเอง. เหยี่ยว
ไม่อาจยั้งความเร็วได้ จึงกระแทกอกเข้ากับก้อนดินในที่นั้นเอง.
เหยี่ยวอกแตกตาถลนตายทันที.

พระศาสดา ครั้นทรงแสดงเรื่องในอดีตนี้แล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายแม้สัตว์เดียรัจฉานเที่ยวไปในที่อโคจร
อย่างนี้ ยังถึงเงื้อมมือข้าศึก แต่เมื่อเที่ยวไปในถิ่นหาอาหารอัน
เป็นของบิดาของตน ก็ยังข่มข้าศึกเสียได้ เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอ
ก็จงอย่าเที่ยวไปในอโคจรซึ่งเป็นแดนอื่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

เมื่อพวกเธอเที่ยวไปในอโคจรอันเป็นแดนอื่น มารย่อมได้ช่อง มาร
ย่อมได้อารมณ์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อโคจรอันเป็นแดนอื่นของ
ภิกษุคืออะไร คือกามคุณห้า กามคุณห้าเป็นไฉน กามคุณห้าคือ
รูปที่รู้ได้ด้วยตา ๑ เสียงที่รู้ได้ด้วยหู ๑ กลิ่นที่รู้ได้ด้วยจมูก ๑
รสที่รู้ได้ด้วยลิ้น ๑ โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย ๑ ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย นี้แลเป็นอโคจรเป็นแดนอื่นของภิกษุ เมื่อทรงบรรลุ
อภิสัมโพธิญาณแล้ว จึงตรัสคาถาแรกว่า :-

เหยี่ยวนกเขาบินโผลงด้วยกำลังหมายใจ
ว่าจะเฉี่ยวเอานกมูลไถ ซึ่งจับอยู่ที่ท้ายดง เพื่อ
หาเหยื่อโดยฉับพลัน เพราะเหตุนั้นจึงถึงความ
ตาย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า พลสา ปตมาโน ความว่า เหยี่ยว
โผลงด้วยกำลัง คือด้วยเรี่ยวแรงด้วยคิดว่า จักจับนกมูลไถ.
บทว่า โคจรฏฺฐานิยํ ความว่า เหยี่ยวโฉบเอานกมูลไถ ซึ่งออก
จากแดนของตน เที่ยวไปท้ายดงเพื่อหาอาหาร. บทว่า อชฺฌปฺปตฺโต
ได้แก่โผลง. บทว่า เตนุปาคมิ ได้แก่ เหยี่ยวถึงแก่ความตาย
ด้วยเหตุนั้น.

ก็เมื่อเหยี่ยวตาย นกมูลไถจึงออกมายืนบนอกของเหยี่ยว
ด้วยมั่นใจว่าเราชนะข้าศึกได้แล้ว เมื่อจะเปล่งอุทานจึงกล่าว
คาถาที่สองว่า :-

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เรานั้นเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอุบายยินดีแล้ว
ในโคจรอันเนื่องมาแต่บิดา เห็นอยู่ซึ่งประโยชน์
ของตน จึงหลีกพ้นไปจากศัตรู ย่อมเบิกบานใจ.
ในบทเหล่านั้นบทว่า นเยน ได้แก่อุบาย. บทว่า อตฺถมตฺตโน
ได้แก่ ความเจริญ กล่าวคือความปลอดภัยของตน.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรง
ประกาศสัจธรรม ทรงประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุ
เป็นอันมากบรรลุโสดาปัตติผล เป็นต้น. เหยี่ยวในครั้งนั้นได้เป็น
เทวทัตในบัดนี้ ส่วนนกมูลไถ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสกุณัคฆิชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรงปรารภ
เมตตสูตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า โย เว เมตฺเตน
จิตฺเตน ดังนี้.

สมัยหนึ่งพระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้ซ่องเสพเจริญเมตตาเจโตวิมุติทำให้
มาก ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ไม่ให้ฟุ้งซ่าน สั่งสม
เริ่มไว้ด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ หลับเป็นสุข ๑
ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝันร้าย ๑ เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เป็น

ที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย ๑ เทวดาย่อมรักษา ๑ ไฟ ยาพิษ
ศัสตรา ไม่ล่วงเกิน ๑ จิตได้สมาธิเร็ว ๑ สีหน้าผ่องใส ๑ ไม่หลง
ทำกาลกิริยา ๑ เมื่อยังไม่บรรลุ ย่อมเข้าถึงพรหมโลกชั้นสูง ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อได้ส้องเสพอบรมเมตตาเจโตวิมุติ ฯเปฯ

สั่งสมไว้ด้วยดีแล้ว พึงหวังอานิสงส์ ๑๑ ประการเหล่านี้ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุพึงอบรมเมตตาภาวนาซึ่งยึดอานิสงส์
๑๑ ประการเหล่านี้ เจริญเมตตาไปในสัตว์ทุกชนิด โดยเจาะจง
และไม่เจาะจง พึงมีจิตเกื้อกูลแผ่ไปยังสัตว์ทั้งที่มีจิตเกื้อกูล

พึงมีจิตเกื้อกูลแผ่ไปยังสัตว์ทั้งที่ไม่มีจิตเกื้อกูล พึงมีจิตเกื้อกูล
แผ่ไปยังสัตว์ทั้งที่มีอารมณ์เป็นกลาง พึงเจริญเมตตาในสรรพสัตว์
โดยเจาะจงและไม่เจาะจงอย่างนี้ พึงเจริญ กรุณา มุทิตา อุเบกขา
พึงปฏิบัติในพรหมวิหาร ๔ เพราะเมื่อทำอย่างนี้ แม้ไม่ได้มรรค

หรือผล ก็ยังมีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. แม้โบราณก-
บัณฑิตทั้งหลาย เจริญเมตตาตลอด ๗ ปี แล้วสถิตอยู่ในพรหม-
โลกนั่นเอง ตลอด ๗ สังวัฏฏกัปและวิวัฏฏกัป แล้วทรงนำเรื่อง
ในอดีตมาเล่า.

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 20:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ในกัปหนึ่งพระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูล
พราหมณ์ ครั้นเจริญวัยจึงละกามสุขบวชเป็นฤๅษี เป็นครูชื่อ
อรกะ ได้พรหมวิหาร ๔ พำนักอยู่ในหิมวันตประเทศ. ครูอรกะ
มีบริวารมาก เมื่อจะสอนหมู่ฤๅษีจึงประกาศอานิสงส์เมตตาว่า

ธรรมดาบรรพชิตควรเจริญเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
เพราะเหตุชื่อว่าจิตเมตตานี้เมื่อถึงความเป็นจิตแน่วแน่แล้ว
ย่อมให้สำเร็จทางไปพรหมโลก ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า :-

ผู้ใดแลย่อมอนุเคราะห์สัตว์โลกทั้งปวง
ด้วยจิตเมตตาหาประมาณมิได้ ทั้งเบื้องบน เบื้อง
ต่ำและเบื้องขวาง โดยประการทั้งปวง จิตเกื้อกูล
หาประมาณมิได้ เป็นจิตบริบูรณ์อันผู้นั้นอบรม
ดีแล้ว กรรมใดที่เขาทำแล้วพอประมาณ กรรม
นั้นจักไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า โย เว เมตฺเตน จิตฺเตน สพฺพโลกา-
นุกมฺปติ. ความว่า บรรดากษัตริย์เป็นต้น หรือสมณพราหมณ์
ผู้ใดผู้หนึ่ง มีจิตเมตตาอย่างแนบแน่น ย่อมอนุเคราะห์สัตวโลก
ทั่วไป. บทว่า อุทฺธํ คือตั้งแต่เบื้องล่างของพื้นปฐพี จนถึง
พรหมโลกชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ. บทว่า อโธ คือเบื้องล่าง

ของปฐพี จนถึงอุสสทมหานรก. บทว่า ติริยํ คือในมนุษยโลก
ได้แก่ ในจักรวาลทั้งหมด อธิบายว่า เจริญเมตตาจิตอย่างนี้ว่า
ขอสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่เกิดในที่ประมาณเท่านี้ จงอย่ามีเวร
อย่าเบียดเบียนกัน อย่ามีความคับแค้น จงมีความสุขรักษา

ตนเถิด. บทว่า อปฺปมาเณน คือชื่อว่าไม่มีประมาณเพราะยึด
สัตว์หาประมาณมิได้เป็นอารมณ์. บทว่า สพฺพโส คือโดยอาการ
ทั้งปวง. อธิบายว่า โดยอำนาจแห่งสุคติและทุคติทั้งปวงอย่างนี้
คือ เบื้องบน เบื้องล่าง และเบื้องขวาง. บทว่า อปฺปมาณํ หิตํ

* ความพอดีอยู่ที่ความพอใจ ความพอใจอยู่เห็นคุณค่าของสิ่งนั้นๆว่าดี
• ทุกชีวิตล้วนแต่มีกรรมเป็นของๆตน วิตกกังวนใจมากไปทำไม
• ผิดถูกไม่ค่อยแน่ใจ ไม่เป็นไรเมื่อปฏิบัติไปรู้เห็นจะเข้าใจเอง
• เพียรสร้างเพียรสั่งสมมาทั้งชีวิต สุดท้ายตายเอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง
• คิด พูด ทำชั่ว เป็นภัยอย่างยิ่ง
• เมื่อความตระหนี่ยังมีอยู่เต็มดวงจิต ก็ยากที่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 21:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จิตฺตํ ได้แก่ จิตเกื้อกูลในสรรพสัตว์ที่อบรมทำให้ไม่มีประมาณ.
บทว่า ปริปุณฺณํ คือไม่บกพร่อง. บทว่า สุภาวิตํ คือเจริญดีแล้ว.
บทนี้เป็นชื่อของจิตที่ไม่มีประมาณ. บทว่า ยํ ปมาณํ กตํ กมฺมํ
ความว่า กรรมเล็กน้อย คือกรรมเป็นกามาวจรที่อบรมแล้ว
ด้วยอำนาจเมตตาภาวนามีอารมณ์เป็นที่สุด และด้วยอำนาจ

การถึงความเป็นผู้เชี่ยวชาญอย่างนี้ว่า กรรมใดไม่มีประมาณ
มีอารมณ์ไม่มีประมาณ. บทว่า น ตํ ตตฺราวสิสฺสติ. ความว่า
กรรมเล็กน้อยนั้น คือกรรมเป็นรูปาวจรซึ่งนับว่า จิตอันเกื้อกูล
ไม่มีประมาณนั้นไม่เหลืออยู่ในจิตนั้น. อธิบายว่า เหมือนน้ำน้อย

ที่ถูกห้วงน้ำใหญ่ไหลบ่าเข้ามา จะถูกห้วงน้ำนั้นพัดพาไปมิได้
ย่อมไม่เหลืออยู่ คือตั้งอยู่มิได้ภายในห้วงน้ำ ที่แท้ห้วงน้ำใหญ่
หุ้มห่อน้ำนั้นไว้ฉันใด กรรมอันเล็กน้อยก็ฉันนั้น ไม่มีโอกาสแห่ง
ผลที่กรรมเป็นของใหญ่จะกำหนดยึดไว้ได้ ย่อมไม่เหลืออยู่ คือ

ไม่ดำรงอยู่ ไม่สามารถให้ผลของตน ภายในกรรมอันเป็นของ
ใหญ่นั้นได้ ที่แท้กรรมอันเป็นของใหญ่เท่านั้น ย่อมหุ้มห่อกรรม
นั้น คือให้ผล.

พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวถึงอานิสงส์เมตตาภาวนาแก่
อันเตวาสิกทั้งหลายอย่างนี้แล้ว เป็นผู้ไม่เสื่อมจากฌาน จึง
บังเกิดในพรหมโลก มิได้กลับมายังโลกนี้อีกตลอด ๗ สังวัฏฏกัป
และวิวัฏฏกัป.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงทรง
ประมวลชาดก. หมู่ฤๅษีในครั้งนั้นได้เป็นพุทธบริษัทในครั้งนี้.
ส่วนครูอรกะ คือเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาชาดกที่ ๙
กกัณฏกชาดกนี้มีคำเริ่มต้นว่า นายํ ปุเร โอกฺกมติ จักมี
แจ้งในมหาอุมมังคชาดก
จบ อรรถกถากกัณฏกชาดกที่ ๑๐

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 26, 27, 28, 29, 30, 31, 32 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร