วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 00:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ร้องไห้คร่ำครวญ แล้วจึงวางพระโพธิสัตว์ให้บรรทมบนพระหัตถ์
ของพระเทวี แล้วออกจากโรงช้างไป หมายใจว่าจักจับพระเจ้า
กรุงโกศล. ลำดับนั้นพวกอำมาตย์จึงสวมเกาะ ตกแต่งพญาช้าง
เปิดประตูพระนคร พากันห้อมล้อมพญาช้างนั้นออกไป. พญา-
มงคลหัตถีครั้นออกจากพระนครแล้ว ก็แผดเสียงโกญจนาถ

ยังมหาชนให้หวาดสะดุ้งพากันหนีทำลายค่ายข้าศึก คว้าพระเมาลี
พระเจ้ากรุงโกศลไว้ได้แล้วพามาให้หมอบลง ณ บาทมูลของ
พระโพธิสัตว์ ครั้นหมู่ทหารเข้ารุมล้อมเพื่อฆ่าพระเจ้ากรุงโกศล
พญาช้างก็ห้ามเสียแล้วถวายโอวาทว่า ตั้งแต่นี้ไปพระองค์อย่า

ประมาท อย่าสำคัญว่าพระกุมารนี้ยังเป็นเด็ก แล้วจึงกลับไป.
ตั้งแต่นั้นมาราชสมบัติทั่วชมพูทวีป ก็ตกอยู่ในเงื้อมพระหัตถ์
ของพระโพธิสัตว์. ขึ้นชื่อว่าข้าศึกปัจจามิตรอื่น ๆ ไม่สามารถ
จะเผชิญได้เลย.

พระโพธิสัตว์ได้รับการอภิเษกในเมื่อพระชนม์ได้ ๗
พระพรรษา ทรงพระนามว่า อลีนจิตตราช ทรงปกครองราช-
สมบัติโดยธรรม ทรงบำเพ็ญทางไปสวรรค์จนวาระสุดท้าย
พระชนมชีพ.

พระศาสดาทรงนำอดีตนี้มา เมื่อทรงบรรลุพระสัมมา-
สัมโพธิญาณ ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
เสนาหมู่ใหญ่อาศัยเจ้าอลีนจิต มีใจรื่นเริง
ได้จับเป็นพระเจ้าโกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราช-
สมบัติฉันใด.

ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยกัลยาณมิตรเป็นที่
พึ่งอาศัย ปรารภความเพียรเจริญกุศลธรรม เพื่อ
บรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ พึงบรรลุธรรม
เป็นที่สิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งปวงโดยลำดับ ก็
ฉันนั้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อลีนจิตฺตํ นิสฺสาย ได้แก่อาศัย
พระอลีนจิตราชกุมาร. บทว่า ปหฏฺฐา มหตี จมู ความว่า เสนา
หมู่ใหญ่ต่างพากันรื่นเริงยินดีว่า เราได้ราชสมบัติสืบสายราช-
ประเพณีคืนมาแล้ว. บทว่า โกสลํ เสนาสนฺตุฏฺฐํ พระเจ้ากรุง-
โกศล ผู้ไม่ทรงอิ่มด้วยราชสมบัติของพระองค์ เสด็จมาด้วย

ทรงโลภในราชสมบัติของผู้อื่น. บทว่า ชีวคาหํ อคาหยิ ความว่า
เสนานั้นขอให้พญาช้างจับเป็นพระราชาอย่าฆ่า. บทว่า เอวํ
นิสฺสยสมฺปนฺโน ความว่า เสนานั้นฉันใด กุลบุตรแม้อื่นซึ่ง

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
สมบูรณ์ด้วยนิสัยได้กัลยาณมิตรซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าก็ดี สาวก
ของพระพุทธเจ้าก็ดี พระปัจเจกพุทธเจ้าก็ดี ให้เป็นที่พึ่งอาศัย
ก็ฉันนั้น. บทว่า ภิกขุ นี้เป็นชื่อของผู้บริสุทธิ์. บทว่า อารทฺธวีริโย
ได้แก่ เป็นผู้ประคองความเพียร คือประกอบด้วยความเพียรอัน
ปราศจากโทษสี่ประการ. บทว่า ภาวยํ กุสลํ ธมฺมํ ความว่า

เมื่อเจริญธรรมอันเป็นกุศล คือ ไม่มีอาลัย ได้แก่ โพธิปักขิยธรรม
๓๗ ประการ. บทว่า โยคกฺเขมสฺส ปตฺติยา ได้แก่ เจริญธรรม
นั้นเพื่อบรรลุนิพพานอันเกษมจากโยคะ ๔. บทว่า ปาปุเณ
อนุปุพฺเพน สพฺพสํโยชนกฺขยํ ความว่า ภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วย
อุปนิสัยอันเป็นกัลยาณมิตรนั้น เมื่อเจริญกุศลธรรมนี้ ตั้งแต่การ

เห็นแจ้งอย่างนี้ ก็จะบรรลุวิปัสสนาญาณโดยลำดับ และมรรคผล
เบื้องต่ำ ในที่สุดย่อมบรรลุพระอรหัต กล่าวคือการสิ้นสังโยชน์
ทั้งหมด เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในที่สุดแห่งความสิ้นไปของ
สังโยชน์ ๑๐. อนึ่งเพราะสังโยชน์ทั้งหมดสิ้นไป เพราะอาศัย

พระนิพพาน ฉะนั้น พระนิพพานนั้นก็เป็นอันสิ้นสังโยชน์ทั้งหมด.
อธิบายว่า ภิกษุย่อมบรรลุความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ทั้งหมด อัน
ได้แก่พระนิพพานด้วยประการฉะนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรวบยอดแห่งพระธรรมเทศนา
ด้วยอมตมหานิพพาน ด้วยประการฉะนี้แล้ว จึงทรงประกาศ
สัจธรรมให้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป แล้วจึงทรงประชุมชาดก.

ในเมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้คลายความเพียร ได้บรรลุ
พระอรหัต. พระมารดาในครั้งนั้นได้เป็นพระมหามายา. พระบิดา
ได้เป็นพระเจ้าสุทโธทนมหาราช. พญาช้างซึ่งช่วยให้ได้ราช-
สมบัติ ได้เป็นภิกษุผู้คลายความเพียรรูปนี้. บิดาของพญาช้าง

ได้เป็นสาริบุตร. ส่วนอลีนจิตตราชกุมาร ได้เป็นเราตถาคต
ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอลีนจิตตชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
พระอานนทเถระได้ผ้าสาฏกพันผืน ตรัสพระธรรมเทศนานี้มี
คำเริ่มต้นว่า เยน กามํ ปณาเมติ ดังนี้.
เรื่องพระเถระบอกธรรมภายในพระราชวังของพระเจ้า
กรุงโกศลมาแล้วในมหาสารชาดกในตอนหลัง

พระเถระเมื่อบอกธรรมอยู่ภายในพระราชวังของพระราชา
ได้มีผู้นำผ้าสาฎกพันผืน ราคาผืนละพันมาถวายแด่พระราชา
พระราชาได้พระราชทานผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนแก่พระเทวี ๕๐๐ นาง
ทุก ๆ นางเก็บผ้าสาฎกเหล่านั้นไว้ ในวันรุ่งขึ้นได้นำไปถวาย
แด่พระอานนทเถระ ตนเองห่มผ้าสาฎกเก่า ๆ ไปเฝ้าปฏิบัติ

พระราชาในตอนเช้า. พระราชาตรัสถามว่า เราให้ผ้าสาฎก
ราคาตั้งพันแก่พวกเจ้า เพราะเหตุไรพวกเจ้าจึงไม่ห่มผ้าเหล่านั้น
มา. ขอเดชะฝ่าละอองทุลีพระบาท พวกหม่อมฉันได้ถวายผ้า
เหล่านั้นแก่พระเถระเสียแล้วเพคะ. พระอานนทเถระรับไว้
ทั้งหมดหรือ. รับไว้ทั้งหมดเพคะ. พระราชาทรงกริ้วพระเถระว่า

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาตจีวรเพียง ๓ ผืน พระอานนท-
เถระเห็นจักทำการค้าผ้า ท่านจึงรับผ้าไว้มากมายนัก เสวย
พระกระยาหารเช้าเสร็จแล้ว จึงเสด็จไปพระวิหาร เสด็จไปยัง
ที่อยู่ของพระเถระ ทรงนมัสการพระเถระ แล้วประทับนั่ง

ตรัสถามว่า พระคุณเจ้า พวกหญิงในเรือนของข้าพเจ้ายังฟังธรรม
หรือเรียนธรรมในสำนักของท่านอยู่หรือ. ยังฟังธรรมหรือเรียน
ธรรมอยู่ พวกหญิงเหล่านั้นเรียนสิ่งที่ควรเรียน ฟังสิ่งที่ควรฟัง
ถวายพระพร. พวกเธอฟังเท่านั้นหรือถวายผ้านุ่งผ้าห่มแก่พระ-

คุณเจ้าด้วย. ขอถวายพระพร วันนี้พวกหญิงเหล่านั้นได้ถวาย
ผ้าสาฎกราคาหนึ่งพันประมาณ ๕๐๐ ผืน. พระคุณเจ้ารับไว้หรือ.
ขอถวายพระพรอาตมารับไว้. พระคุณเจ้าพระศาสดาทรงอนุญาต
ผ้าไว้เพียง ๓ ผืน เท่านั้นมิใช่หรือ. ขอถวายพระพรถูกแล้ว

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตจีวร ๓ ผืนเท่านั้นแก่ภิกษุรูป
หนึ่งโดยหลักการสำหรับใช้ แต่มิได้ทรงห้ามการรับ เพราะฉะนั้น
อาตมารับผ้านั้นไว้ก็เพื่อถวายแก่ภิกษุซึ่งมีจีวรเก่ารูปอื่น. ก็
ภิกษุเหล่านั้นได้ผ้าไปจากพระคุณเจ้าแล้ว จักทำอะไรกับ
จีวรผืนเก่า. ขอถวายพระพรจักทำจีวรผืนเก่าเป็นผ้าห่ม. พระ-

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
คุณเจ้า ผ้าห่มผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจัก
ทำเป็นผ้านุ่ง. พระคุณเจ้า ผ้านุ่งผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอ
ถวายพระพรจักทำเป็นผ้าปูนอน. พระคุณเจ้าผ้าปูนอนผืนเก่าเล่า
จักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพร จักทำเป็นผ้าปูพื้น. พระคุณเจ้า
ผ้าปูพื้นผืนเก่าเล่าจักทำเป็นอะไร. ขอถวายพระพรจักทำเป็น

ผ้าเช็ดเท้า. พระคุณเจ้าผ้าเช็ดเท้าผืนเก่าเล่า จักทำเป็นอะไร.
ขอถวายพระพร ธรรมดาของที่ถวายด้วยศรัทธาจะทำให้เสียไป
ไม่ควร เพราะฉะนั้นภิกษุทั้งหลายจักสับผ้าเช็ดเท้าผืนเก่า ผสม
กับดินเหนียวฉาบทาที่เสนาสนะ. พระคุณเจ้าของที่ถวายท่านแล้ว
ย่อมไม่ได้ความเสียหาย โดยที่สุดแม้กระทั่งผ้าเช็ดเท้าหรือ.

ขอถวายพระพรถูกแล้วแม้ผ้าที่ถวายอาตมาก็มิได้เสียหาย ย่อม
เป็นของใช้สอยทั้งนั้น. พระราชาทรงชื่นชมโสมนัสยิ่งนักรับสั่ง
ให้จ่ายผ้าอีก ๕๐๐ ผืนที่เก็บไว้ในพระตำหนักมาถวายพระเถระ
ครั้นทรงฟังอนุโมทนาแล้ว จึงทรงนมัสการพระเถระกระทำ
ประทักษิณ แล้วเสด็จกลับ.

พระเถระก็ได้ถวายผ้าสาฎก ๕๐๐ ผืนที่ได้มาครั้งแรกแก่
ภิกษุผู้มีจีวรเก่า. อนึ่งพระเถระมีสัทธิงวิหาริกอยู่ประมาณ
๕๐๐. บรรดาท่านเหล่านั้น ภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งมีอุปการะแก่
พระเถระมาก เช่นกวาดบริเวณสถานที่ เข้าไปตั้งน้ำใช้น้ำฉัน

ถวายไม้สีฟัน น้ำล้างหน้าและน้ำสรง ชำระล้างวัจจกุฏี จัด
เรือนไฟและเสนาสนะ นวดมือ นวดเท้า นวดหลังเป็นต้น. พระ-
เถระได้ถวายผ้า ๕๐๐ ผืน ที่ได้ครั้งหลังทั้งหมดแก่ภิกษุหนุ่ม
รูปนั้นด้วยเห็นเหมาะสมว่า ภิกษุหนุ่มรูปนี้เป็นผู้มีอุปการะมาก.
แม้ภิกษุรูปนั้นก็ได้แบ่งผ้าเหล่านั้นทั้งหมด ถวายแก่ภิกษุผู้ร่วม
อุปัชฌาย์ของตน.

ภิกษุทั้งหลายผู้ได้ผ้าสาฎกเหล่านั้นทั้งสิ้น ก็ตัดย้อม
แล้วนุ่งและห่มผ้ากาสายะอันมีสีดุจดอกกรรณิกา พากันเข้าไป
เฝ้าพระศาสดา นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่งแล้วกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ พระอริยสาวกชั้นโสดาบัน ยังมีการให้เห็นแก่หน้า
อยู่หรือ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย

พระอริยสาวกให้เพราะเห็นแก่หน้านั้นไม่มี. ภิกษุทั้งหลาย
กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระเถระผู้เป็นธรรมภัณ-
ฑาคาริก (คลังธรรม) อุปัชฌายะของข้าพระองค์ทั้งหลาย ให้
ผ้าสาฏก ๕๐๐ ผืนราคาหนึ่งพันแก่ภิกษุรูปเดียวเท่านั้น แต่

ภิกษุหนุ่มรูปนั้นได้แบ่งผ้าที่ตนได้ให้แก่พวกข้าพระองค์พระ-
เจ้าข้า. พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์มิได้ให้
แก่ภิกษุเพราะเห็นแก่หน้า แต่ว่าภิกษุหนุ่มรูปนั้นมีอุปการะแก่
เธอมาก เพราะฉะนั้นเธอคิดเห็นด้วยอำนาจอุปการะของผู้อุปการะ

แก่ตนว่า ขึ้นชื่อว่า ผู้มีอุปการะเราควรทำอุปการะตอบด้วย
อำนาจคุณและด้วยอำนาจการกระทำอันเหมาะสม จึงได้ให้
ด้วยความกตัญญูกตเวที ด้วยประการฉะนี้.

อันที่จริงบัณฑิตแต่ก่อนก็ยังทำอุปการะตอบแก่ผู้มี
อุปการะแก่ตนเหมือนกัน เมื่อภิกษุเหล่านั้นทูลอาราธนา จึงทรง
นำเรื่องในอดีตมาตรัสว่า

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นราชสีห์ อาศัยอยู่
ในถ้ำเขา. วันหนึ่งราชสีห์นั้นออกจากถ้ำยืนอยู่บนยอดเขามองดู
เชิงเขา. ได้มีสระใหญ่ล้อมรอบเชิงเขานั้น. ในที่ดอนแห่งหนึ่ง

ของสระนั้น มีหญ้าเขียวอ่อนเกิดขึ้นบนหลังเปือกตมอันแห้ง.
จำพวกเนื้อเล็ก ๆ เป็นต้นว่า กระต่าย แมว และสุนัขจิ้งจอก
เที่ยวและเล็มหญ้าเหล่านั้นบนหลังเปือกตมแห้ง. แม้ในวันนั้น
เนื้อตัวหนึ่งก็เที่ยวและเล็มหญ้านั้น. ราชสีห์คิดว่า จักจับเนื้อนั้น
กินเสีย จึงกระโดดลงจากยอดเขา วิ่งไปด้วยกำลังของราชสีห์.

เนื้อกลัวตายส่งเสียงร้องหนีไป. ราชสีห์ไม่สามารถยั้งความเร็ว
ไว้ได้ จึงตกจมลงไปเหนือเปือกตมแห้ง ไม่สามารถจะขึ้นได้.
ได้ยืนปักเท้าทั้งสี่เหมือนเสา อดอาหารอยู่เจ็ดวัน.

ลำดับนั้น สุนัขจิ้งจอกตัวหนึ่งเที่ยวหาอาหาร ครั้นเห็น
ราชสีห์นั้นเข้าจึงหนีไปด้วยความกลัว. ราชสีห์เห็นสุนัขจิ้งจอก
จึงร้องเรียกแล้วพูดว่า พ่อมหาจำเริญสุนัขจิ้งจอกอย่าหนีเลย.
ข้าพเจ้าติดหล่ม. ช่วยข้าพเจ้าด้วยเถิด. สุนัขจิ้งจอกจึงวิ่งเข้าไป
หาราชสีห์แล้วพูดว่า ข้าพเจ้าจะช่วยยกท่านขึ้น แต่เมื่อข้าพเจ้า

ยกท่านขึ้นมาแล้ว ข้าพเจ้าเกรงว่าท่านจะกินข้าพเจ้าเสียน่ะซิ.
ราชสีห์พูดว่า อย่ากลัวเลย ข้าพเจ้าจะไม่กินท่านดอก แต่ข้าพเจ้า
จักสนองคุณท่าน ท่านจงหาทางยกข้าพเจ้าขึ้นเถิด. สุนัขจิ้งจอก
รับคำปฏิญญาของราชสีห์แล้ว จึงตะกุยเลนรอบเท้าทั้งสี่ ขุดเป็น
ลำรางสี่ตอนของเท้าทั้งสี่แล้วทำให้น้ำไหลเข้าไป. น้ำไหลเข้าไป

ทำให้เลนอ่อน. ขณะนั้นสุนัขจิ้งจอกจึงเข้าไประหว่างท้องของ
ราชสีห์ ร้องบอกว่า พยายามเถิดนาย เอาศีรษะดุนท้อง. ราชสีห์
ออกกำลังโดดขึ้นจากหล่มวิ่งไปยืนอยู่บนบก.

ราชสีห์พักอยู่ครู่หนึ่ง จึงลงไปสู่สระอาบน้ำชำระโคลน
ตมหายเหนื่อยแล้ว จึงฆ่าควายได้ตัวหนึ่ง จึงเอาเขี้ยวฉีกเนื้อ
วางไว้ข้างหน้าสุนัขจิ้งจอกพร้อมกับพูดว่า กินเสียเถิดสหาย
เมื่อสุนัขจิ้งจอกกินแล้ว ตัวจึงกินภายหลัง. สุนัขจิ้งจอกกัดชิ้น
เนื้อชิ้นหนึ่งคายไว้. ราชสีห์ถามว่า ทำดังนี้เพื่อประสงค์อะไร

สหาย สุนัขจิ้งจอกตอบว่า ทาสีของข้าพเจ้ายังมีอยู่ ชิ้นนี้จัก
เป็นส่วนของเธอ. ราชสีห์กล่าวว่า เอาไปเถิด แม้ตนเองก็คาบ
เนื้อไปเพื่อนางราชสีห์ แล้วกล่าวว่า มาเถิดสหาย เราจักไปบน
ยอดเขา ไปยังที่อยู่ของนางสหายของเรา แล้วพากันไป ณ ที่นั้น
ให้นางราชสีห์กินเนื้อแล้วปลอบสุนัขจิ้งจอกและนางสุนัขจิ้งจอก
ว่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักปฏิบัติท่าน แล้วนำไปยังที่อยู่ของตน ให้

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
สุนัขจิ้งจอกสองผัวเมียอยู่ในถ้ำอีกถ้ำหนึ่งใกล้ประตูถ้ำ. ตั้งแต่
นั้นมาเมื่อราชสีห์ไปหาอาหาร ก็ให้นางราชสีห์และนางสุนัข
จิ้งจอกอยู่เฝ้าถ้ำ ตนเองไปกับสุนัขจิ้งจอกฆ่าเนื้อต่างชนิด ทั้งสอง
ตัวกินเนื้อด้วยกัน ณ ที่นั้น แล้วนำมาให้นางราชสีห์และนาง
สุนัขจิ้งจอก. เมื่อกาลเวลาผ่านไป นางราชสีห์คลอดลูกออก

สองตัว. แม้นางสุนัขจิ้งจอกก็คลอดลูกออกสองตัวเหมือนกัน.
สัตว์เหล่านั้นทั้งหมด อยู่กลมเกลียวกันเป็นอย่างดี. อยู่มาวันหนึ่ง
นางราชสีห์ได้เฉลียวใจว่า ราชสีห์นี้ดูรักนางสุนัขจิ้งจอกและ
ลูกสุนัขจิ้งจอกเสียเหลือเกิน ชะรอยราชสีห์นี้จะมีการเชยชม

กับนางสุนัขจิ้งจอกก็เป็นได้ จึงรักกันถึงอย่างนี้. ถ้ากระไร
เราจะเบียดเบียนคุกคามให้สุนัขจิ้งจอกหนีไปจากที่นี้ให้ได้.
ครั้นถึงเวลาที่ราชสีห์พาสุนัขจิ้งจอกไปหาอาหาร นางราชสีห์จึง
เบียดเบียนคุกคามนางสุนัขจิ้งจอกว่า ทำไมเจ้าจึงอยู่ในที่นี้
ไม่หนีไปเสีย. แม้ลูก ๆ ของนางราชสีห์ก็คุกคามลูก ๆ ของนาง

สุนัขจิ้งจอกเหมือนกัน. นางสุนัขจิ้งจอกจึงบอกเรื่องนั้นแก่สุนัข
จิ้งจอกแล้วกล่าวว่า เรารู้ไม่ได้ว่า นางราชสีห์นี้ได้ทำตามคำ
ของราชสีห์ เราอยู่มานานแล้ว เรากลับไปที่อยู่ของเราเถิด.

สุนัขจิ้งจอกฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอก จึงเข้าไปหาราชสีห์
กล่าวว่า นาย เราอยู่ในสำนักของท่านมานานแล้ว ธรรมดาผู้ที่อยู่
นาน ๆ นักย่อมไม่เป็นที่พอใจ ในเวลาที่เราออกไปหาอาหารกัน
นางราชสีห์เบียดเบียนขู่นางสุนัขจิ้งจอกว่า ทำไมเจ้าจึงอยู่ใน
ที่นี้ไม่หนีไปเสีย. แม้ลูกราชสีห์ก็คุกคามลูกสุนัขจิ้งจอก ผู้ใด

ไม่ชอบให้ผู้ใดอยู่ในสำนักตน ผู้นั้นพึงขับไล่เขาว่าจงไปเสียดีกว่า
รบกวนกันมีประโยชน์อะไร แล้วกล่าวคาถาแรกว่า :-

ผู้เป็นใหญ่ย่อมขับไล่ผู้น้อยได้ตามความ
ต้องการของตน นี่เป็นธรรมดาของผู้มีกำลัง
นางมฤคีผู้มีฟันคมแหลมของท่าน ได้คุกคาม
บุตรภรรยาของเรา ขอท่านจงทราบเถิด ภัยเกิด
แต่ที่พึ่งแล้ว.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ราชสีห์ได้ฟังคำของนางสุนัขจิ้งจอกแล้ว จึงกล่าวกะนาง
ราชสีห์ว่า นี่แน่ะน้อง เมื่อครั้งกระโน้น เจ้ายังระลึกได้ไหมว่า
เราไปหาอาหาร พอถึงวันที่เจ็ดได้มากับสุนัขจิ้งจอก และนาง
สุนัขจิ้งจอกนี้. จำได้จ้ะ. เจ้ารู้ถึงเหตุที่เรามิได้มาตลอด ๗ วัน
หรือ. ไม่รู้จ้ะ. นี่แน่น้อง เราไปด้วยตั้งใจว่าจักจับเนื้อสักตัวหนึ่ง

แล้วพลาดลงไปติดหล่ม ไม่อาจจะขึ้นมาได้จากนั้นได้ยืนอดอาหาร
อยู่ ๗ วัน. เรารอดชีวิตมาได้เพราะอาศัยสุนัขจิ้งจอกนี้. สุนัข
จิ้งจอกนี้เป็นสหายช่วยชีวิตเรา. จริงอยู่ผู้สามารถจะตั้งอยู่ใน
ธรรมของมิตร ชื่อว่ามีกำลังน้อยไม่มีเลย. ตั้งแต่นี้ไป เจ้าอย่า
ได้ดูหมิ่นสหายของเรา นางสุนัขจิ้งจอกและลูกน้อย แล้วราชสีห์
จึงกล่าวคาถาที่สองว่า :-

ถ้าผู้ใดเป็นมิตร แม้จะมีกำลังน้อย แต่
ตั้งอยู่ในมิตรธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่า
พันธุ์ เป็นมิตรและเป็นสหายของเรา แนะนาง
มฤคี ท่านอย่าดูหมิ่นสหายของเราอีกนะ เพราะ
ว่าสุนัขจิ้งจอกตัวนี้ให้ชีวิตเรา.

ในบทเหล่านั้นบทว่า อปิ เจปิ ได้แก่ อปิศัพท์หนึ่งเป็น
อนุคคหัตถะ (อรรถว่า คล้อยตาม) ศัพท์หนึ่งเป็นสัมภาวนัตถะ
(อรรถว่ายกย่อง). ในศัพท์นั้นโยชนาแก้ไว้ว่า หากผู้ใดเป็นมิตร
แม้จะมีกำลังน้อย แต่ตั้งอยู่ในมิตรธรรม คือ หากสามารถตั้งอยู่
ได้ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นญาติ เป็นเผ่าพันธุ์ ผู้นั้นชื่อว่าเป็นมิตรเพราะ

มีจิตเมตตาและชื่อว่าเป็นสหาย เพราะอยู่ร่วมกัน. บทว่า ทาฐินิ
มาติมญฺญิโวฺห ความว่า ดูก่อนแม่ราชสีห์ผู้มีเขี้ยวงาม เจ้าอย่า
ดูหมิ่นสหายของเรา และนางสุนัขจิ้งจอกเลย เพราะสุนัขจิ้งจอก
ให้ชีวิตเราไว้.

นางราชสีห์ฟังคำของราชสีห์แล้วจึงขอโทษสุนัขจิ้งจอก
ตั้งแต่นั้นมาก็อยู่กลมเกลียวกันกับนางสุนัขจิ้งจอกนั้นพร้อมทั้งลูก.
แม้ลูกราชสีห์ก็เล่นหัวกับลูกสุนัขจิ้งจอก แม้เมื่อพ่อแม่ซึ่งชื่นชอบ
กันได้ล่วงลับไปแล้ว ก็ไม่ทำลายความเป็นมิตรต่อกัน อยู่กันอย่าง

รื่นเริงบันเทิงใจ. นัยว่าไมตรีของสัตว์เหล่านั้นมิได้แตกทำลาย
ได้เป็นไปชั่วเจ็ดตระกูล.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วทรงประกาศ
อริยสัจ ทรงประชุมชาดก.
ในเมื่อจบอริยสัจ ภิกษุบางพวกได้เป็นโสดาบัน บางพวก
ได้เป็นสกทาคามี บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็น
พระอรหัต. สุนัขจิ้งจอกในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์. ส่วนราชสีห์
ได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาคุณชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันทรงปรารภ
ภิกษุดุร้ายสองรูป ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นยิทํ
วิสมสีเลน ดังนี้.

ความพิสดารมีว่า ในสมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งแม้ในพระ-
วิหารเชตวัน ได้เป็นผู้ดุร้ายหยาบคายอย่างสาหัส. ในชนบท
ก็ได้มีภิกษุรูปหนึ่งดุร้าย. อยู่มาวันหนึ่ง ภิกษุที่อยู่ในชนบทได้
ไปพระวิหารเชตวันด้วยกรณียกิจอย่างใดอย่างหนึ่ง. บรรดา

สามเณรและภิกษุหนุ่มรู้ว่า ภิกษุชาวชนบทรูปนั้นดุร้าย จึงส่ง
ภิกษุรูปนั้นไปยังที่อยู่ของภิกษุรูปที่อยู่สำนักพระเชตวัน ด้วย
แตกตื่นว่า จักเห็นภิกษุดุร้ายสองรูปนั้นทะเลาะกัน. ภิกษุทั้ง
๒ รูปนั้น ครั้นเห็นกันและกันแล้วก็สามัคคีกัน อยู่ชื่นชมกันด้วย
ความรัก ได้กระทำกิจมีนวดมือ นวดเท้า และนวดหลังให้กัน
และกัน.

ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อน
อาวุโส ภิกษุดุร้ายสองรูป เป็นผู้ดุร้ายหยาบคายอย่างสาหัสต่อ
ผู้อื่น แต่ทั้งสองรูปนั้นมีความสามัคคีกัน ชื่นชมกันอยู่ด้วยความ
รักต่อกันและกัน. พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้
เท่านั้น แม้เมื่อก่อนภิกษุสองรูปนี้ก็ดุร้าย หยาบคายอย่างสาหัส
แต่ครั้นเห็นกันแล้วก็สามัคคีกัน ชื่นชอบกันด้วยความรัก แล้ว
ทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นอำมาตย์สำเร็จราชการในทุกอย่าง
เป็นผู้ถวายอรรถถวายธรรมแด่พระราชา. ส่วนพระราชาพระองค์
นั้น ปกติทรงละโมภพระราชทรัพย์อยู่หน่อย. พระองค์มีม้าโกง

ชื่อมหาโสณะ คราวนั้นพวกพ่อค้าม้าชาวอุตตราบถนำม้ามา
๕๐๐ ตัว. พวกอำมาตย์กราบทูลถึงเรื่องที่ม้ามาถวายพระราชา
ให้ทรงทราบ. ก็แต่ก่อนพระโพธิสัตว์ตีราคาม้าให้ทรัพย์ไม่ทำ
ราคาให้ตก (ไม่ลดค่าม้า). พระราชาทรงเห็นพระโพธิสัตว์ไม่ต่อ

ราคาให้ลด จึงตรัสเรียกอำมาตย์คนอื่นมาแล้วตรัสว่า นี่แน่เจ้า
เจ้าจงตีราคาม้า และเมื่อจะตีราคาจงปล่อยม้ามหาโสณะเข้าไป
ในระหว่างม้าเหล่านั้นก่อน แล้วให้กัดม้าทำให้เป็นแผล ในเมื่อ
ม้าพิการ จงต่อราคาให้ลดลง. อำมาตย์นั้นรับพระราชบัญชา

ได้กระทำตามพระราชประสงค์. พ่อค้าม้าทั้งหลาย ไม่พอใจ
จึงเล่าถึงกิริยาที่อำมาตย์นั้นทำให้พระโพธิสัตว์ทราบ. พระ-
โพธิสัตว์ถามว่า ในเมืองของพวกท่าน ไม่มีม้าโกงบ้างหรือ.
มีจ้ะนายม้าโกงชื่อสุหนุดุร้ายหยาบคายมาก. ถ้าอย่างนั้นเมื่อท่าน

มาอีก จงนำม้านั้นมาด้วย. พวกพ่อค้าม้ารับคำ เมื่อพวกเขามาอีก
ได้นำม้าโกงนั้นมาด้วย.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระราชาทรงสดับว่า พวกพ่อค้าม้ามารับสั่งให้เปิด
สีหบัญชรทอดพระเนตรม้าทั้งหลาย แล้วมีพระบัญชาให้ปล่อย
ม้ามหาโสณะ. พวกพ่อค้าม้าเห็นม้ามหาโสณะมา ก็ปล่อยม้า
สุหนุไป. ม้าทั้งสองประจัญหน้ากันต่างก็เลียร่างกายกันด้วย

ความชื่นชม. พระราชาจึงตรัสถามพระโพธิสัตว์ว่า ดูซิ ม้าโกง
สองตัวนี้ดุร้ายหยาบคายแสนสาหัสต่อม้าอื่น กัดม้าอื่นให้ได้รับ
การเจ็บป่วย บัดนี้มันเลียร่างกายกันและกันด้วยความชื่นชม.
นี่มันเรื่องอะไรกัน. พระโพธิสัตว์กราบทูลว่า ขอเดชะข้าแต่
พระองค์ ม้าเหล่านี้มีปกติไม่เสมอกันหามิได้ มันมีปกติเสมอกัน
มีธาตุเสมอกัน แล้วได้กล่าวคาถาสองคาถาว่า :-

การที่ม้าโกงสุหนุกระทำความรักกับม้า
โสณะนี้ ย่อมมีด้วยปกติที่ไม่เสมอกันหามิได้
ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้น
ม้าโสณะมีความประพฤติเช่นใด ม้าสุหนุก็มี
ความประพฤติเช่นนั้น

ม้าทั้งสองนั้น ย่อมเสมอกันด้วยการวิ่ง
ไปด้วยความคะนองและด้วยกัดเชือกที่ล่ามอยู่
เป็นนิจ ความชั่วย่อมสมกับความชั่ว ความไม่ดี
ย่อมสมกับความไม่ดี.

ในบทเหล่านั้น บทว่า นยิทํ วิสมสีเลน โสเณน สุหนู สห
ความว่า สุหนุม้าโกง ทำกิริยาใดเสมอกับม้าโสณะ กิริยานี้มิใช่
เป็นไปโดยปกติไม่เสมอกับตน. ที่แท้ย่อมทำร่วมปกติเสมอกับ
ตน สัตว์ทั้งสองนี้ชื่อว่ามีปกติเสมอกัน มีธาตุเสมอกัน เพราะค่า
ที่ตนมีมารยาทเลวทราม มีปกติชั่วร้าย. บทว่า สุหนุปิ ตาทิโสเยว

ความว่า ม้าโสณะเป็นเช่นใด แม้ม้าสุหนุก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน.
บทว่า โย โสณสฺส สโคจโร ความว่า ม้าโสณะมีอารมณ์อย่างใด
ม้าสุหนุ ก็มีอารมณ์อย่างนั้นเหมือนกัน. เหมือนอย่างว่า ม้าโสณะ
ชอบรังแกม้า เที่ยวกัดม้าฉันใด แม้ม้าสุหนุก็ฉันนั้น. พระโพธิสัตว์

แสดงข้อที่ม้าทั้งสองนั้นมีอารมณ์เสมอกันด้วยบทนี้. เพื่อจะ
แสดงถึงม้าทั้งสองนั้นมีมารยาททรามเป็นอารมณ์เหมือนกัน จึง
กล่าวคำว่า ปกฺขนฺทินา (วิ่งไป) เป็นต้น. บทว่า ปกฺขนฺทินา
ได้แก่ มีปกติวิ่งไป คือมีปกติวิ่งไปเป็นอารมณ์เหนือม้าทั้งหลาย.

บทว่า ปคพฺเภน ได้แก่มีปกติชั่วประกอบด้วยความคนองกาย
เป็นต้น. บทว่า นิจฺจํ ปกฺขนฺทินา ได้แก่มีปกติกัดและมีอารมณ์
ชอบกัดเชือกล่ามตัว. บทว่า สเมติ ปาปํ ปาเปน ความว่า ในม้า
สองตัวนั้นความชั่ว คือ ความมีปกติชั่วของตัวหนึ่ง ย่อมเหมือน
กันกับอีกตัวหนึ่ง. บทว่า อสตาสตํ ความว่า ความไม่ดีของอีก

ฝ่ายหนึ่ง ผู้ไม่สงบย่อมเข้ากันได้ คือเหมือนกันไม่ผิดแปลกกัน
กับอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งไม่สงบ คือประกอบด้วยมารยาททรามเหมือน
คูถเป็นต้น เข้ากันได้กับคูถเป็นต้น.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็พระโพธิสัตว์ครั้นกราบทูลอย่างนี้แล้ว จึงถวายโอวาท
พระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมดาพระราชาไม่ควรโลภจัด
ไม่ควรทำสมบัติของผู้อื่นให้เสียหาย แล้วทูลให้ตีราคาม้าให้
ตามราคาที่เป็นจริง.

พวกพ่อค้าม้าได้ราคาตามที่เป็นจริง ต่างก็ร่าเริงยินดีพา
กันกลับไป. แม้พระราชาก็ตั้งอยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์ แล้ว
เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้วทรงประชุม
ชาดก. ม้าสองตัวในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุโหดร้ายสองรูปใน
ครั้งนี้. พระราชาได้เป็นอานนท์ ส่วนอำมาตย์บัณฑิตได้เป็น
เราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาสุหนุชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหารทรง
ปรารภภิกษุผู้กระสัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้มีคำเริ่มต้นว่า
อุเทตยญฺจกฺขุมา เอกราชา ดังนี้.

ภิกษุทั้งหลายนำภิกษุนั้นไปเฝ้าพระศาสดา เมื่อพระองค์
ตรัสถามว่า เธอกระสันจริงหรือ ภิกษุกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า
เมื่อตรัสถามว่า เธอเห็นอะไรจึงกระสัน กราบทูลว่า เห็นมาตุคาม
คนหนึ่งซึ่งประดับตกแต่งกาย. พระศาสดารับสั่งกะภิกษุนั้นว่า
ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่ามาตุคามทำไมจักไม่รบกวนจิตคนเช่นเธอ

แม้บัณฑิตแต่ก่อน พอได้ยินเสียงมาตุคาม กิเลสที่สงบมาเจ็ดร้อยปี
ได้โอกาสยังกำเริบได้ทันที สัตว์ทั้งหลายแม้บริสุทธิ์ ยังเศร้าหมอง
ได้ แม้สัตว์ผู้เปี่ยมด้วยยศสูง ยังถึงความพินาศได้ จะกล่าวไป
ทำไมถึงสัตว์ผู้ไม่บริสุทธิ์ แล้วทรงนำเรื่องในอดีตมาตรัสเล่า

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุง
พาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดนกยูง ในเวลาเป็น
ฟอง มีกระเปาะฟองคล้ายสีดอกกรรณิการ์ตูม ครั้นเจาะกระเปาะ
ฟองออกมาแล้ว มีสีดุจทองคำ น่าดู น่าเลื่อมใส มีสายแดงพาด
ในระหว่างปีก. นกยูงนั้นคอยระวังชีวิตของตน อาศัยอยู่ ณ

พื้นที่เขาทัณฑกหิรัญแห่งหนึ่ง ใกล้แนวเขาที่สี่เลยแนวเขาที่สาม
ไป. ตอนสว่างนกยูงทองจับอยู่บนยอดเขา มองดูพระอาทิตย์
กำลังขึ้น เมื่อจะผูกมนต์อันประเสริฐ เพื่อรักษาป้องกันตัว ณ
ภูมิภาคที่หาอาหาร จึงกล่าวคาถาเป็นต้นว่า :-

พระอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็น
เจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอก กำลังอุทัยขึ้นมาทอ
แสงอร่ามสว่างไปทั่วปฐพี เพราะเหตุนั้นข้าพเจ้า
ขอนอบน้อมพระอาทิตย์นั้น ซึ่งทอแสงอร่าม
สว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านช่วยคุ้มกัน
แล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดวัน.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในบทเหล่านั้น บทว่า อุเทติ ได้แก่พระอาทิตย์ขึ้นจาก
ทิศปราจีน. บทว่า จกฺขุมา ได้แก่ มีดวงตาด้วยดวงตาที่ให้แก่ประชาชน
เพราะกำจัดความมืด ทำให้ผู้อยู่ในจักรวาฬทั้งสิ้นได้ดวงตา.
บทว่า เอกราชา ความว่า ชื่อว่าเป็นเอกราช เพราะประเสริฐ
ที่สุด ในระหว่างสิ่งที่ทำให้โลกสว่าง ในจักรวาลทั้งสิ้น. บทว่า

หริสฺสวณโณ คือมีสีดุจทอง อธิบายว่า มีสีงามยิ่งนัก. บทว่า
ปฐวิปฺปภาโส คือมีแสงสว่างเหนือแผ่นดิน. บทว่า ตํ ตํ นมสฺสามิ
คือข้าพเจ้าขอนอบน้อม คือไหว้ท่านผู้เจริญเช่นนั้น. บทว่า
ตยชฺช คุตฺตา วิหเรมุ ทิวสํ ได้แก่ ขอให้ท่านรักษาคุ้มครอง
ในวันนี้ ข้าพเจ้าพึงอยู่เป็นสุขตลอดวันนี้ ด้วยการอยู่ในอิริยาบถทั้งสี่.

พระโพธิสัตว์ครั้นนอบน้อมพระอาทิตย์ด้วยคาถานี้ อย่าง
นี้แล้ว จึงนมัสการพระพุทธเจ้าซึ่งเสด็จปรินิพพานไปแล้วใน
อดีต และพระคุณของพระพุทธเจ้า ด้วยคาถาที่สองว่า :-

พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวทในธรรม
ทั้งปวง ขอพราหมณ์เหล่านั้น จงรับความนอบ
น้อมของข้าพเจ้า และขอจงคุ้มครองข้าพเจ้าด้วย.
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย
ขอนอบน้อมแด่พระโพธิญาณ ขอนอบน้อมแด่ผู้
หลุดพ้นแล้ว ขอนอบน้อมแด่วิมุติธรรมของท่าน
ผู้หลุดพ้นแล้ว นกยูงนั้นเจริญพระปริตรนี้แล้ว
จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหาร.

ในบทเหล่านั้นบทว่า เย พฺราหฺมณา ได้แก่พราหมณ์ผู้
บริสุทธิ์ลอยบาปเสียแล้วเหล่าใด. บทว่า เวทคู ความว่าชื่อว่า
ผู้รู้ไตรเพท เพราะถึงฝั่งแห่งพระเวท. อนึ่งเพราะถึงฝั่งด้วยพระเวท
บ้าง. แต่ในที่นี้มีอธิบายว่า พราหมณ์เหล่าใดกระทำสังขตธรรม
และอสังขตธรรมทั้งปวงที่ตนรู้แล้ว ปรากฏแล้ว ทำลายยอดมาร

ทั้งสาม ยังหมื่นโลกธาตุให้บรรลือ บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณ
ที่ควงไม้โพธิล่วงฝั่งแห่งสงสารได้แล้ว. บทว่า เต เม นโม คือ
ขอพราหมณ์เหล่านั้นจงรับความนอบน้อมนี้ของข้าพเจ้า. บทว่า
เต จ มํ ปาลยนฺตุ ความว่า อนึ่งขอท่านผู้เจริญเหล่านั้นที่ข้าพเจ้า

นอบน้อมแล้วอย่างนี้ จงรักษา คือ ดูแลคุ้มครองข้าพเจ้า. บทว่า
นมตฺถุ พุทฺธานํ ฯเปฯ นโมวิมุตฺติยา ความว่า ขอความนอบน้อม
ของข้าพเจ้านี้ จงมีแด่พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ซึ่งเสด็จปรินิพพาน
ล่วงไปแล้ว. คือขอจงมีแด่พระปรีชาตรัสรู้อันได้แก่ ญาณ

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:12 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในมรรคสี่ ผลสี่ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ขอจง
มีแด่พระองค์ผู้หลุดพ้นแล้วด้วยความหลุดพ้น คือพระอรหัตตผล
ของพระองค์. และความหลุดพ้นห้าอย่างของพระองค์ คือ ตทังค-
วิมุติ พ้นชั่วคราว ๑ วิกขัมภนวิมุติ พ้นด้วยการข่มไว้ ๑ สมุจเฉท-
วิมุติ พ้นเด็ดขาด ๑ ปฏิปัสสัทธิวุมิต พ้นด้วยสงบ ๑ นิสสรณ-
วิมุติ พ้นด้วยออกไป ๑. ขอความนอบน้อมของข้าพเจ้านี้ จงมีแก่
ความหลุดพ้นห้าอย่างของพระองค์เหล่านั้น.

หลายบทว่า อิมํ โส ปริตฺตํ กตฺวา โมโร จรติ เอลน นี้
พระศาสดาตรัสเมื่อได้บรรลุพระอภิสัมโพธิญาณแล้ว. บทนั้นมี
อธิบายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นกยูงนั้นครั้นเจริญปริตรนี้
คือการป้องกันนี้แล้ว จึงเที่ยวไปแสวงหาอาหารนานาชนิด
เพื่อต้องการดอกไม้ผลไม้เป็นต้นในที่หาอาหารของตน.

นกยูงครั้นเที่ยวไปตลอดวันอย่างนี้แล้ว ตอนเย็นก็จับอยู่
บนยอดเขามองดูดวงอาทิตย์ซึ่งกำลังตก ระลึกถึงพระพุทธคุณ
เมื่อจะผูกมนต์อันประเสริฐอีก เพื่อรักษาคุ้มกันในที่อยู่จึงกล่าว
คำมีอาทิว่า อเปตยํ ดังนี้
ความว่า :-

ดวงอาทิตย์นี้เป็นดวงตาของโลก เป็น
เจ้าแห่งแสงสว่างอย่างเอกมีสีทองส่องแสงสว่าง
ไปทั่วปฐพีแล้วอัสดงคตไป เพราะเหตุนั้น ข้าพ-
เจ้าจักขอนอบน้อมดวงอาทิตย์นั้น ซึ่งมีสีทอง
ส่องแสงสว่างไปทั่วปฐพี ข้าพเจ้าอันท่านคุ้ม
ครองแล้วในวันนี้ พึงอยู่เป็นสุขตลอดคืน.

พราหมณ์เหล่าใด ผู้ถึงฝั่งแห่งเวท ใน
ธรรมทั้งปวง ขอพราหมณ์เหล่านั้น จงรับและจง
คุ้มครองข้าพเจ้าด้วย ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่
พระพุทธเจ้าทั้งหลาย แด่พระโพธิญาณ แด่ท่าน
ผู้หลุดพ้นแล้ว แด่วิมุติธรรมของท่าน ผู้หลุด
พ้นแล้ว นกยูงนั้น ครั้นเจริญพระปริตรนี้แล้ว
จึงพักอยู่.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อเนติ ได้แก่ล่วงลับไป คือ ตกไป.
แม้บทว่า อิมํ โส ปริตฺตํ กตฺวา โมโร วาสมกปฺปยิ นี้ พระศาสดา
ก็ตรัสเมื่อบรรลุอภิสัมโพธิญาณแล้ว. บทนั้นมีอธิบายว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย นกยูงนั้นครั้นเจริญพระปริตร คือการป้องกันนี้
แล้ว จึงพักอยู่ ณ ที่อยู่นั้น. ด้วยอานุภาพแห่งพระปริตรนี้ นกยูง
มิได้มีความกลัว ความสยดสยองตลอดคืนตลอดวัน.

ลำดับนั้นพรานชาวบ้านเนสาทคนหนึ่ง อยู่ไม่ไกลกรุง-
พาราณสีท่องเที่ยวไปในหิมวันตประเทศ เห็นนกยูงโพธิสัตว์
จับอยู่บนยอดเขาทัณฑกหิรัญ จึงกลับมาบอกลูก. อยู่มาวันหนึ่ง
พระนางเขมาพระเทวีของพระเจ้ากรุงพาราณสี ทรงสุบินเห็น

นกยูงสีทองแสดงธรรม ขณะตื่นพระบรรทมได้กราบทูลสุบิน
แด่พระราชาว่า ขอเดชะข้าแต่พระองค์หม่อมฉันประสงค์จะฟัง
ธรรมของนกยูงสีทองเพคะ. พระราชาจึงมีพระดำรัสถามพวก
อำมาตย์. พวกอำมาตย์กราบทูลว่า พวกพราหมณ์คงจะทราบ

พ่ะย่ะค่ะ พราหมณ์ทั้งหลายสดับพระราชปุจฉาแล้ว จึงพากัน
กราบทูลว่า ขอเดชะนกยูงสีทองมีอยู่แน่ พระเจ้าข้า พระราชา
ตรัสถามว่ามีอยู่ที่ไหนเล่า จึงกราบทูลว่า พวกพรานจักทราบ
พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งให้ประชุมพวกพรานแล้วตรัสถาม.

ครั้นแล้วบุตรพรานคนนั้นก็กราบทูลว่า ขอเดชะ ข้าแต่มหาราช
นกยูงสีทองมีอยู่จริงอาศัยอยู่ ณ ทัณฑกบรรพต พระเจ้าข้า.

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระราชารับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้นเจ้าจงไปจับนกยูงนั้นมาอย่าให้ตาย.
พรานจึงเอาบ่วงไปดักไว้ที่ ณ ที่นกยูงหาอาหาร. แม้ในสถานที่
ที่นกยูงเหยียบ บ่วงก็หาได้กล้ำกรายเข้าไปไม่. พรานไม่สามารถ
จับนกยูงได้ ท่องเที่ยวอยู่ถึงเจ็ดปี ได้ถึงแก่กรรมลง ณ ที่นั้นเอง.
แม้พระนางเขมาราชเทวี เมื่อไม่ได้สมพระประสงค์ก็สิ้นพระชนม์.
พระราชาทรงกริ้วว่า พระเทวีได้สิ้นพระชนม์ลงเพราะอาศัย

นกยูง จึงให้จารึกอักษรไว้ในแผ่นทองว่า ในหิมวันตประเทศ
มีภูเขาลูกหนึ่งชื่อทัณฑกบรรพต นกยูงสีทองตัวหนึ่งอาศัยอยู่
ณ ที่นั้น ผู้ได้กินเนื้อของมัน ผู้นั้นจะไม่แก่ไม่ตาย จะมีอายุยืน
แล้วเก็บแผ่นทองไว้ในหีบทอง. ครั้นพระราชาสวรรคตแล้ว
พระราชาองค์อื่นครองราชสมบัติ ทรงอ่านข้อความในสุพรรณบัฎ

มีพระประสงค์จะไม่แก่ไม่ตาย จึงทรงส่งพรานคนอื่นไป ให้
เที่ยวแสวงหา. แม้พรานนั้นไปถึงที่นั้นแล้วก็ไม่สามารถจะจับ
พระโพธิสัตว์ได้ ได้ตายไปในที่นั้นเอง. โดยทำนองนี้พระราชา
สวรรคตไปหกชั่วพระองค์ ครั้นถึงองค์ที่เจ็ดครองราชสมบัติ

จึงทรงส่งพรานคนหนึ่งไป. พรานนั้นไปถึงแล้วก็รู้ถึงภาวะที่
บ่วงมิได้กล้ำกรายแม้ในที่ที่นกยูงโพธิสัตว์เหยียบ และการที่
นกยูงโพธิสัตว์เจริญพระปริตรป้องกันตนก่อนแล้ว จึงบินไปหา
อาหาร จึงขึ้นไปยังปัจจันตชนบท จับนางนกยูงได้ตัวหนึ่ง ฝึก

ให้รู้จักฟ้อนด้วยเสียงปรบมือ และให้รู้จักขันด้วยเสียงดีดนิ้ว.
ครั้นฝึกนางนกยูงจนชำนาญดีแล้ว จึงพามันไป เมื่อนกยูงทอง
ยังไม่เจริญพระปริตรปักโคนบ่วงดักไว้ในเวลาเช้า ทำสัญญาณ
ให้นางนกยูงขัน. นกยูงทองได้ยินเสียงมาตุคาม ซึ่งเป็นข้าศึกแล้ว.

ก็เร่าร้อนด้วยกิเลสไม่อาจเจริญพระปริตรได้ จึงบินโผไปติด
บ่วง. พรานจึงจับนกยูงทองไปถวายพระเจ้าพาราณสี. พระราชา
ทอดพระเนตรเห็นรูปสมบัติของนกยูงทอง ก็ทรงพอพระทัย
พระราชทานที่ให้จับ. นกยูงทองโพธิสัตว์จับอยู่เหนือคอนที่เขา

จัดแต่งให้จึงทูลถามว่า ข้าแต่มหาราชเพราะเหตุไรจึงมีรับสั่งให้จับ
ข้าพเจ้า. พระราชาตรัสว่า ข่าวว่าผู้ใดกินเนื้อเจ้า ผู้นั้นจะไม่แก่ไม่
ตาย ข้าพเจ้าต้องการกินเนื้อเจ้าจะได้ไม่แก่ไม่ตายบ้าง จึงให้จับ
เจ้ามา. นกยูงทองทูลว่า ข้าแต่มหาราช คนทั้งหลายกินเนื้อ

* เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีชื้อข้าวทาน
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีค่าเรียนค่าขนมลูก
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้ภรรยา
• เงินมีชื้อเหล้าเบียร์ดื่มได้ แต่ไม่มีให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า (บุคคลที่ติดมาก)

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 ธ.ค. 2018, 13:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ข้าพเจ้าจะไม่แก่ไม่ตายก็ช่างเถิด แต่ข้าพเจ้าจักตายหรือ. รับ
สั่งว่าจริงเจ้าต้องตาย. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราชเมื่อข้าพเจ้า
ต้องตาย ผู้ที่กินเนื้อข้าพเจ้าแล้วทำอย่างไรจึงไม่ตายเล่า. รับสั่ง
ว่า เจ้ามีตัวเป็นสีทอง เพราะฉะนั้นมีข่าวว่า ผู้ที่กินเนื้อเจ้าแล้ว

จักไม่แก่ไม่ตาย. กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช ข้าพเจ้ามีสีทอง
เพราะไม่มีเหตุหามิได้ เมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์
ในนครนี้แหละ ทั้งตนเองก็รักษาศีลห้า แม้ชนทั้งหลายทั่วจักรวาฬ
ก็ให้รักษาศีล ข้าพเจ้าสิ้นชีพแล้วก็ไปบังเกิดในภพดาวดึงส์
ดำรงอยู่ในภพนั้นจนตลอดอายุ จุติจากนั้นแล้ว จึงมาเกิดใน

กำเนิดนกยูง เพราะผลแห่งอกุศลกรรมอื่น อีกอย่างหนึ่งแต่ตัว
มีสีทองก็ด้วยอานุภาพศีลห้าที่รักษาอยู่ก่อน. รับสั่งถามว่า
เจ้าพูดว่า เจ้าเป็นเจ้าจักรพรรดิ์รักษาศีลห้า ตัวมีสีเป็นทอง
เพราะผลของศีล ข้อนี้ข้าพเจ้าจะเชื่อได้อย่างไร มีใครเป็นพยาน.
กราบทูลว่า ข้าแต่มหาราช มี. รับสั่งถามว่า ใครเล่า. กราบทูล

ว่า ข้าแต่มหาราช เมื่อครั้งเป็นเจ้าจักรพรรดิ์ ข้าพเจ้านั่งรถ
สำเร็จด้วยแก้วเจ็ดประการ เที่ยวไปในอากาศ รถของข้าพเจ้า
นั้นจมอยู่ภายใต้ภาคพื้นสระมงคลโบกขรณี โปรดให้ยกรถนั้นขึ้น
จากสระมงคลโบกขรณีเถิด รถนั้นจักเป็นพยานของข้าพเจ้า.

พระราชารับสั่งว่า ดีละแล้วให้วิดน้ำออกจากสระโบกขรณี ยก
รถขึ้นได้จึงทรงเชื่อคำของพระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์แสดง
ธรรมถวายพระราชาว่า ข้าแต่มหาราช ธรรมที่ปรุงแต่งทั้งหมด
ที่เหลือนอกจากพระอมตมหานิพพานแล้ว ชื่อว่าไม่เที่ยง มีความ

สิ้นและความเสื่อมเป็นธรรมดา เพราะมีแล้วกลับไม่มี ดังนี้แล้ว
ให้พระราชาดำรงอยู่ในศีลห้า. พระราชาทรงเลื่อมใสบูชา
พระโพธิสัตว์ด้วยราชสมบัติ ได้ทรงกระทำสักการะเป็นอันมาก.
นกยูงทองถวายราชสมบัติคืนแด่พระราชา พักอยู่ ๒-๓ วัน จึง

ถวายโอวาทว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์จงทรงไม่ประมาทเถิด
แล้วบินขึ้นอากาศไปยังภูเขาทัณฑกหิรัญ. ฝ่ายพระราชาดำรง
อยู่ในโอวาทของพระโพธิสัตว์แล้ว ทรงบำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น
เสด็จไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประกาศ
สัจธรรม ประชุมชาดก. เมื่อจบสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน
ตั้งอยู่ในพระอรหัต. พระราชาในครั้งนั้นได้เป็นอานนท์ในบัดนี้.
ส่วนนกยูงทองได้เป็นเราตถาคตนี้แล.
จบ อรรถกถาโมรชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 24, 25, 26, 27, 28, 29, 30 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร