วันเวลาปัจจุบัน 27 ก.ค. 2025, 23:14  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุแก่ ๆ หลายรูปด้วยกันตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า อปิ นุ หนุกา สนฺตา ดังนี้.

ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ครั้งเป็นคฤหัสถ์ เป็นกุฏุมพี
ในเมืองสาวัตถี มั่งมีทรัพย์ เป็นสหายกัน ทำบุญร่วมกัน ฟัง
พระธรรมเทศนาของพระศาสดาแล้ว พากันดำริว่า พวกเรา
เป็นคนแก่ จะมีประโยชน์อะไรแก่พวกเราด้วยการอยู่
ครองเรือน พวกเราจักบวชในพระพุทธศาสนา อันเป็นที่

น่ายินดี ในสำนักของพระศาสดา จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ ดังนี้
แล้วต่างยกสมบัติทั้งปวงให้แก่ลูกหลานเป็นต้น ละหมู่ญาติผู้มี
น้ำตานองหน้าเสีย ทูลขอบรรพชากะพระศาสดา และครั้นบวช
แล้ว มิได้ชักชวนกันบำเพ็ญสมณธรรม อันสมควรแก่บรรพชา

แม้พระธรรมก็ไม่ศึกษา เพราะความเป็นคนแก่ ถึงจะบวชแล้ว
ก็เหมือนในครั้งที่ยังเป็นคฤหัสถ์ ให้คนสร้างบรรณศาลาไว้
ท้ายวิหาร คงรวมกันอยู่นั่นแล แม้เมื่อเที่ยวบิณฑบาต ก็ไม่ไป
ที่อื่น โดยมากชวนกันไปฉันที่บ้านบุตรภรรยาของตนนั่นแหละ

ในบรรดาคนเหล่านั้น ภรรยาเก่าของพระเถระแก่รูปหนึ่ง ได้มี
อุปการะแก่พระเถระแก่ ๆ แม้ทั้งปวง เหตุนั้น แม้พระเถระที่เหลือ
ต่างก็ถืออาหารที่ตนได้ มานั่งฉันในเรือนของของนางเพียงผู้เดียว
ฝ่ายนางเล่า ก็ถวายต้มแกงตามที่ตนจัดไว้ แก่พระเถระเหล่านั้น

นางป่วยด้วยอาพาธอย่างหนึ่ง ทำกาละแล้ว ครั้งนั้นพระเถระ
แก่ ๆ เหล่านั้น พากันไปสู่วิหาร กอดคอกัน เที่ยวร้องไห้อยู่
ท้ายวิหารว่า อุบาสิกาผู้มีรสมืออร่อย ตายเสียแล้ว ฝ่ายภิกษุ
ทั้งหลาย ฟังเสียงของพระเถระเหล่านั้นแล้ว ก็มาประชุมกัน

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จากที่ต่าง ๆ ถามว่า ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เหตุไรพวกท่านจึง
ร้องไห้ พระเถระเหล่านั้นตอบว่า ภรรยาเก่าแห่งสหายของพวก
กระผม ผู้มีรสมืออร่อยตายเสียแล้ว นางมีอุปการะแก่พวกผม
ยิ่งนัก ทีนี้จักหาที่ไหนได้เหมือนนางเล่า เหตุนี้พวกผมจึงพากัน

ร้องไห้ ภิกษุทั้งหลายเห็นข้อวิปริตนั้นของพระเถระเหล่านั้นแล้ว
พากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย
ด้วยเหตุชื่อนี้ พระเถระแก่ ๆ ทั้งหลาย กอดคอกันเที่ยวร้องไห้
อยู่แถวท้ายวิหาร พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ?

เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่ภิกษุเหล่านั้นพากันเที่ยว
ร้องไห้ เพราะหญิงนั้นตายลง แม้ในครั้งก่อน ภิกษุเหล่านี้ อาศัย
หญิงนี้ ผู้เกิดในกำเนิดกา แล้วตายเสียในสมุทรร่วมคิดกันว่า

พวกเราจักวิดน้ำในสมุทร นำนางขึ้นมาให้จงได้ ดังนี้ พากัน
เพียรพยายาม เพราะได้อาศัยบัณฑิต จึงได้มีชีวิตอยู่ได้ดังนี้แล้ว
ทรงนำเรื่องราวในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นการักษา
สมุทร ครั้งนั้น กาตัวหนึ่ง พานางกาผู้ภรรยาของตน เที่ยวแสวง
หาเหยื่อ ได้ไปถึงฝั่งสมุทร กาลนั้นฝูงชนพากันกระทำพลีกรรม

แก่พญานาค ด้วยน้ำนม ข้าวปายาส ปลา เนื้อและสุราเป็นต้น
แล้วพากันหลีกไป ครั้งนั้น กาตัวหนึ่ง ไปถึงที่พลีกรรม เห็น
น้ำนมเป็นต้น ก็พร้อมด้วยนางกากินน้ำนม ข้าวปายาส ปลา
และเนื้อเป็นต้น แล้วดื่มสุราเข้าไปมาก กาผัวเมียทั้งคู่ ต่าง

เมามายสุรา คิดจะเล่นสมุทรกรีฑา เกาะที่ชายหาดทราย หมายใจ
จะอาบน้ำ ทีนั้นคลื่นลูกหนึ่งซัดมา พาเอานางกาเข้าไปเสียใน
สมุทร ปลาตัวหนึ่งจึงฮุบนางกานั้น กลืนกินเสีย การ้องไห้

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
รำพรรณว่า เมียของเราตายเสียแล้ว ครั้นกามากด้วยกัน ได้ยิน
เสียงร่ำไห้ของมัน ก็มาประชุมกันถามว่า เจ้าร้องไห้เพราะ
เหตุไร ? มันบอกว่า หญิงสหายของพวกท่านกำลังอาบน้ำอยู่
ที่ชายหาด โดนคลื่นซัดไปเสียแล้ว กาเหล่านั้นแม้ทุกตัวก็

ร้องเอ็ดอึงเป็นเสียงเดียวกัน ครั้งนั้นฝูงกาเหล่านั้น ได้มีความคิด
ดังนี้ว่า ขึ้นชื่อว่า น้ำในสมุทรนี้ จะสำคัญกว่าพวกเราหรือ
พวกเราช่วยกันวิดน้ำให้แห้ง ค้นเอาหญิงสหายออกมาให้ได้
กาเหล่านั้น ช่วยกันอมน้ำเค็มปากทีเดียว เอาไปบ้วนทิ้งเสีย

ข้างนอก และเมื่อคอแห้งเพราะน้ำเค็มก็พากันขึ้นไปบนบก พวกมัน
ครั้นขาตะไกรล้า ปากซีด ตาแดง ก็อิดโรยไปตามกัน จึงเรียก
กันมาปรับทุกข์ว่า ชาวเราเอ๋ย พวกเราพากันอมน้ำจากสมุทร
ไปทิ้งข้างนอก ที่ที่เราอมน้ำไปแล้ว กลับเต็มไปด้วยน้ำเสียอีก
พวกเราคงไม่สามารถทำให้สมุทรแห้งเป็นแน่ ดังนี้แล้ว กล่าว
คาถานี้ ความว่า :-

"เออหนอ ขาตะไกรของพวกเราล้าเสีย
แล้ว และปากเล่าก็ซีดเซียว พวกเราพากันวิด
อยู่ ไม่ทำให้สมุทรเหือดแห้งได้ ดูเถอะ ห้วงน้ำ
ใหญ่คงเต็มอย่างเดิม" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปิ นุ หนุกา สนฺตา ความว่า
เออ ก็คางของเราเมื่อยล้าแล้ว.
บทว่า โอรมาม น ปาเรม ความว่า พวกเราพากันอมน้ำ
จากมหาสมุทรไปทิ้งตามกำลังของตน ก็ไม่อาจทำให้เหือดแห้ง
ได้ เพราะห้วงน้ำใหญ่คงเต็มเหมือนเดิมนั่นเอง.

ก็แลครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว กาเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก็ต่าง
พูดพร่ำเพ้อมากมายว่า จะงอยปากของนางกานั้น งดงามเห็น
ปานนี้ ตากลมอย่างนี้ ผิวพรรณทรวดทรง งามระหงอย่างนี้
เสียงเพราะปานนี้ เพราะอาศัยสมุทรผู้เป็นโจรนี้ นางกาของ
พวกเรา หายไปแล้ว เทวดาประจำสมุทร สำแดงรูปน่าสะพึงกลัว

ไล่ฝูงกาที่กำลังร้องรำพรรณพร่ำเพ้ออยู่อย่างนี้ ให้หนีไป ความ
สวัสดี ได้มีแก่ฝูงกานั้น ด้วยประการฉะนี้.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า นางกาในครั้งนั้น ได้มาเป็นภรรยาเก่านี้ กาได้มาเป็น
พระเถระแก่ ฝูงกาที่เหลือได้มาเป็นพระเถระแก่ ๆ ที่เหลือ
ส่วนเทวดารักษาสมุทร ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากากชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า นยิทํ ทุกฺขํ อทุํ ทุกฺขํ ดังนี้.

ความโดยย่อว่า ภิกษุนั้นอันพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ เขาว่า เธอกระสันจริงหรือ ? กราบทูลว่า
จริงพระเจ้าข้า ตรัสถามว่า กระสันเพราะเหตุไร ? กราบทูลว่า
เพราะภรรยาเก่าพระเจ้าข้า แล้วกราบทูลต่อไปว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ หญิงนั้นมีรสมืออร่อย ข้าพระองค์ไม่อาจจะพรากจากกัน

ได้ พระเจ้าข้า ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า ดูก่อนภิกษุ
หญิงนี้เป็นผู้ทำความพินาศให้แก่เธอ แม้ในปางก่อน เพราะหญิง
นั้นเป็นเหตุ เธอก็ต้องถูกเสียบบนหลาว คร่ำครวญถึงแต่นาง
เท่านั้น ครั้นตายแล้วไปบังเกิดในนรกบัดนี้ เพราะเหตุไร เธอ
ยังปรารถนานางอีกเล่า ? ดังนี้แล้ว ทรงนำเรื่องราวในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นอากาสัฏฐ-
เทวดา ครั้งนั้นในพระนครพาราณสี มีมหรสพกลางคืนวันเพ็ญ
กลางเดือน ๑๒ ผู้คนพากันตกแต่งบ้านเมืองสวยงาม ราวกับ
เทพนคร คนทั้งปวงมุ่งแต่จะเล่นมหรสพ แต่มีคนเข็ญใจผู้หนึ่ง

มีผ้าเนื้อแน่นอยู่คู่เดียวเท่านั้น เขาเอามาซักให้สะอาด ฟาดลง
เลยขาดเป็นริ้วเป็นรอยนับร้อยนับพัน ครั้งนั้นภรรยาพูดกะเขา
ว่า นาย ฉันอยากจะนุ่งผ้าย้อมดอกคำสักผืนหนึ่ง ห่มผืนหนึ่ง
กอดคอท่านเที่ยวตลอดงานประจำราตรี เดือนกัตติกะ เขากล่าวว่า

นางผู้เจริญ เราเข็ญใจจะมีผ้าย้อมดอกคำได้ที่ไหน เธอจงนุ่ง
ผ้าขาวเที่ยวเล่นเถิด นางกล่าวว่า เมื่อไม่ได้ผ้าย้อมดอกคำ
ฉันจักไม่เล่นกีฬาในงานมหรสพละ เธอพาหญิงอื่นเล่นกีฬาเถิด
เขากล่าวว่า นางผู้เจริญ ใยจึงคาดคั้นฉันนักเล่า เราจักได้ผ้า

ย้อมดอกคำมาจากไหน ? นางกล่าวว่า เมื่อความปรารถนาของ
ลูกผู้ชายมีอยู่ มีหรือจะชื่อว่าไม่สำเร็จ ดอกคำในไร่ดอกคำของ
พระราชามีมากมิใช่หรือ ? เขากล่าวว่า นางผู้เจริญ ที่นั่นมีการ
ป้องกันแข็งแรงเช่นเดียวกับโบกขรณีที่รากษสคุ้มครอง เรา

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:35 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ไม่อาจเข้าไปใกล้ได้ดอก เธออย่าชอบใจมันเลย จงยินดีตาม
ที่ได้มาเท่านั้นเถิด นางกล่าวว่า นาย เมื่อความมืดในยามรัตติกาล
มีอยู่ ขึ้นชื่อว่าสถานที่ที่ลูกผู้ชายจะไปไม่ได้ ไม่มีเลย เทวดา
ผู้เที่ยวไปในอากาศผู้หนึ่ง เห็นภัยในอนาคตของเขา ช่วยห้าม
เขาไว้.

เมื่อนางพูดเซ้าซี้อยู่บ่อย ๆ อย่างนี้ เขาก็เชื่อถือถ้อยคำ
ของนางด้วยอำนาจกิเลส ปลอบนางว่า นิ่งเสียเถิด นางผู้เจริญ
อย่าคิดมากไปเลย ถึงเวลากลางคืน ก็เสี่ยงชีวิตออกจากพระนคร
ไปสู่ไร่ดอกดำของหลวง ปีนรั้วเข้าไปในไร่ พวกคนเฝ้าไร่
ได้ยินเสียงรั้ว ต่างร้องว่า ขโมย ขโมย แล้วล้อมจับได้ ช่วยกันด่า
รุมกันซ้อม มัดไว้ ครั้นสว่างแล้ว ก็พาไปมอบพระราชา พระราชา

รับสั่งว่า ไปเถิดพวกเจ้าจงเอามันไปเสียบเสียที่หลาว คนเหล่านั้น
มัดเขาไพล่หลัง พาออกจากเมือง โดยมีคนตีกลองประกาศโทษ
ประหารตามไปด้วย แล้วเอาไปเสียบที่หลาว เขาเสวยเวทนาแสน

สาหัส ฝูงกาพากันไปเกาะที่ศีรษะ จิกนัยน์ตาด้วยจะงอยปาก
อันคมเหมือนปลายคีม เขาไม่ได้ใส่ใจทุกข์แม้จะสาหัสเพียงนั้น
ิึคิดถึงแต่หญิงนั้นถ่ายเดียว รำพึงว่า เราพลาดโอกาส จากงาน
ประจำราตรีในเดือนกัตติกะ กับนางผู้นุ่งผ้าย้อมด้วยดอกคำ
ใช้แขนทั้งคู่โอบกอดรอบคอ คลอเคลียกัน แล้วกล่าวคาถาน
ี้ ความว่า :-

"ที่เราถูกหลาวเสียบนี้ ก็ไม่เป็นทุกข์
ที่ถูกกาจิกเล่า ก็ไม่ทุกข์ เราทุกข์อยู่แต่ว่า นาง-
ผิวทองจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อมดอกคำ เที่ยวงาน
ประจำราตรีแห่งเดือนกัตติกะ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นยิทํ ทุกฺขํ อทุํ ทุกฺขํ ยํ มํ
ตุทติ วายโส มีอธิบายว่า ทุกข์ทางกายทางใจ อันมีการถูกเสียบ
ที่หลาวเป็นปัจจัยนี้ก็ดี ทุกข์ที่ถูกกาจิกด้วยจะงอยปากแหลมคม
ประหนึ่งทำด้วยโลหะก็ดี แม้ทั้งหมดนี้ ก็หาใช่ความทุกข์ของเรา
ไม่ โน่นสิเป็นทุกข์ นั่นต่างหากเป็นทุกข์ของเรา.

ทุกข์ชนิดไหนเล่า ?
คือทุกข์ที่แม่นางผิวทองจักไม่ได้นุ่งห่มผ้าย้อมดอกคำ
เที่ยวงานราตรีแห่งเดือนกัตติกะ อธิบายว่า ข้อที่ แม่ประยงค์ทอง
ผู้เป็นภรรยาของเราคนนั้น จักไม่ได้นุ่งผ้าย้อมดอกคำผืนหนึ่ง
ห่มผืนหนึ่งปกปิดร่างด้วยคู่แห่งผ้าย้อมดอกไม้เนื้อละเอียด

ชุดหนึ่งแล้ว กอดคอเราเที่ยวงานประจำคืน เดือนกัตติกะ นี้
ต่างหากเป็นทุกข์ของเรา ทุกข์นี้เท่านั้น ที่เบียดเบียนเรานัก.
เขาเอาแต่พร่ำเพ้อ บ่นถึงมาตุคามนั้น อยู่อย่างนี้เท่านั้น
จนตายไปเกิดในนรก.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คู่สามีภรรยาในครั้งนั้น ได้มาเป็นคู่สามีภรรยาในครั้งนี้
ส่วนอากาสัฏฐเทวดา ผู้ยืนประกาศทำเหตุนั้นให้ประจักษ์ ได้
มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาปุปผรัตตชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

ท่านอ่านแล้วรู้สึกอย่างไรบ้างครับ

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการข่มกิเลส ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
นาหํ ปุนํ น จ ปุนํ ดังนี้.

ได้ยินว่า เศรษฐีบุตรในเมืองสาวัตถี ประมาณ ๕๐๐ คน
เป็นเพื่อนกัน ต่างมีสมบัติคนละมากมาย ฟังพระธรรมเทศนา
ของพระศาสดาแล้ว พากันบวชถวายชีวิตในพระศาสนา อยู่ใน
กุฏิแถวสุดในพระวิหารเชตวัน อยู่มาวันหนึ่ง เป็นเวลาท่ามกลาง
รัตติกาล ความดำริ อาศัยกิเลสเป็นเจ้าเรือน บังเกิดขึ้นแก่

พวกภิกษุเหล่านั้น พวกเธอต่างกระสัน เกิดจิตตุบาท เพื่อที่จะ
ยึดครองกิเลสที่ตนละแล้วอีก ครั้งนั้น พระศาสดาทรงชูประทีป
อันมีพระสัพพัญญุตญาณเป็นด้าม ในระหว่างท่ามกลางรัตติกาล
ทรงตรวจดูอัธยาศัยของภิกษุทั้งหลายว่า พวกภิกษุพากันพำนัก

อยู่ในพระเชตวันวิหาร ด้วยความยินดีอย่างไหนเล่าหนอ ?
ได้ทรงทราบความที่พวกภิกษุเหล่านั้น ต่างมีความดำริใน
กามราคะ เกิดขึ้นในภายใน ก็ธรรมดาพระศาสดาย่อมรักษา
หมู่สาวกของพระองค์ ประดุจหญิงมีบุตรคนเดียวถนอมบุตร

ของตน ประดุจคนมีตาข้างเดียวระวังนัยน์ตาของตน ก็ปานกัน
ในสมัยใด ๆ มีเวลาเช้า เป็นต้น กองกิเลสเกิดแก่หมู่สาวกนั้น
ก็ไม่ทรงยอมให้กองกิเลสเหล่านั้น ของสาวกเหล่านั้น พอกพูน
ไปกว่านั้น ทรงข่มเสียในสมัยนั้น ๆ ทีเดียว ด้วยเหตุนั้น พระองค์

จึงได้มีพระปริวิตกว่า กาลนี้ เป็นประดุจดังกาลที่เกิดพวกโจร
ขึ้นภายในพระนคร ของพระเจ้าจักรพรรดิ์ ฉะนั้น เราต้อง
แสดงพระธรรมเทศนาข่มกองกิเลสแล้วให้พระอรหัตผลแก่พวก
เธอในบัดนี้ทีเดียว พระองค์จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฏี มีกลิ่นหอม

มีพระดำรัสด้วยพระสุรเสียงอันไพเราะ เรียกท่านพระอานนท์
ผู้เป็นขุนคลังแห่งธรรมว่า "ดูก่อนอานนท์" พระเถระเจ้ารับ
พระพุทธดำรัสว่า อะไร พระเจ้าข้า ? มาถวายบังคมยืนอยู่
ตรัสว่า อานนท์ ภิกษุมีเท่าไร ที่อยู่ในกุฏิแถวหลังสุด เธอจง
ให้ประชุมกันในบริเวณคันธกุฏีทั้งหมดทีเดียว ได้ยินว่าพระองค์
ได้ทรงมีพระดำริดังนี้ว่า แม้นเราให้เรียกภิกษุ ๕๐๐ พวกนั้น

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เท่านั้นมาประชุม พวกเธอจักพากันสลดใจว่า พระศาสดาทรง
ทราบความที่กองกิเลสเกิดขึ้น ในภายในของพวกเราแล้ว จักมิอาจ
ที่จะรับพระธรรมเทศนาได้ เหตุนั้นจึงตรัสว่า ให้ประชุมทั้งหมด
พระเถระรับพระพุทธดำรัสว่าดีละ พระเจ้าข้า แล้วถือลูกดาล
เที่ยวไปทั่วบริเวณ บอกให้ภิกษุทั้งหมด ประชุมกัน ณ บริเวณ
พระคันธกุฏี แล้วจัดปูลาดพระพุทธอาสน์ไว้.

พระศาสดาทรงคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรง ประทับเหนือ
พระพุทธอาสน์ที่จัดไว้ ปานประหนึ่งขุนเขาสิเนรุอันดำรงอย
ู่เหนือปฐพีศิลา ทรงเปล่งพระพุทธรัศมี เป็นทิวแดงมีพรรณ
๖ ประการ ฉวัดเฉวียนประสานสีทีละคู่ ๆ พระรัศมีแม้เหล่านั้น
มีประมาณเท่าถาด เท่าฉัตร และเท่าโคมแห่งเรือนยอด ขาดเป็น

ระยะวนเวียนรอบพระกาย ประหนึ่งสายฟ้าในนภากาศ กาลนั้น
ได้เป็นเสมือนเวลาที่ดวงอาทิตย์กำลังเริ่มฉายแสงอ่อน ๆ ทำให้
ท้องมหรรณพ มีประกายสาดแสงระยิบระยับฉะนั้น ภิกษุสงฆ์เล่า
ก็น้อมเกล้าถวายบังคมพระศาสดา ดำรงจิตอันเคารพไว้มั่นคง
นั่งล้อมพระองค์โดยรอบ ประหนึ่งแวดวงไว้ด้วยม่านกำพลแดง

พระบรมศาสดาทรงเปล่งพระสุรเสียงดังเสียงพรหม ทรงเตือน
ภิกษุทั้งหลาย ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุไม่ควร
ตรึก อกุศลวิตกทั้ง ๓ นี้ คือ กามวิตก ความตรึกในกาม พยาบาท-
วิตก ความตรึกในพยาบาท วิหิงสาวิตก ความตรึกในวิหิงสา
ขึ้นชื่อว่า กิเลสเป็นเช่นกับปัจจามิตร และปัจจามิตรเล่า จะชื่อว่า

เล็กน้อยไม่มีเลย ได้โอกาสแล้วย่อมทำให้ถึงความพินาศโดย
ส่วนเดียว กิเลสแม้ถึงจะมีประมาณน้อย เกิดขึ้นแล้ว ได้โอกาส
เพื่อจะเพิ่มพูน ย่อมยังความพินาศอย่างใหญ่หลวงให้เกิดขึ้นได้
อย่างนั้นทีเดียว ขึ้นชื่อว่ากิเลสนี้ เปรียบด้วยยาพิษที่ร้ายแรง
เป็นเช่นกับด้วยหัวฝีที่มีผิวหนังปอกไปแล้ว เทียบกันได้กับอสรพิษ

คล้ายกับไฟที่เกิดจากอสนีบาต ไม่ควรเลยที่จะนิยมยินดี ควรจะ
กีดกันเสีย ด้วยพลังแห่งการพิจารณา ด้วยพลังแห่งภาวนา

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:44 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในขณะที่เกิดทีเดียว ควรจะละเสีย ด้วยการที่กองกิเลสทั้งนั้น
จะเลือนไปไม่ทันตั้งอยู่ในหทัยแม้เพียงครู่เดียว เหมือนหยาดน้ำ
กลิ้งตกไปจากใบบัว ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ถึงบัณฑิตในครั้งก่อน
ทั้งหลาย ก็ติเตียนกิเลสแม้มีประมาณน้อย ข่มมันเสียไม่ยอม
ให้เกิดขึ้นในภายในได้อีกฉะนั้น ดังนี้ แล้วทรงนำเรื่องอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดหมาจิ้งจอก
พำนักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำใกล้ป่า ครั้งนั้นช้างแก่ตัวหนึ่งล้มอยู่ที่ฝั่งคงคา
สุนัขจิ้งจอก ออกหาเหยื่อ พบทรากช้างนั้น คิดว่า เหยื่อชิ้นใหญ่

เกิดแก่เราแล้ว จึงไปที่ทรากนั้น กัดที่งวง ก็เป็นเหมือนเวลาที่
กัดงอนไถ มันคิดว่า ตรงนี้ไม่ควรกิน จึงกัดที่งาทั้งคู่ ก็เป็นเหมือน
เวลาที่กัดเสา กัดหูเล่า ก็ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดขอบกระด้ง
กัดที่ท้อง ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดยุ้งข้าว กัดที่เท้า ก็ได้เป็น

เหมือนเวลาที่กัดครก กัดที่หางได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดสาก
ดำริว่า แม้ในที่นี้ก็ไม่ควรกิน เมื่อไม่ได้รับความพอใจในอวัยวะ
ทั้งปวง ก็กัดตรงวัจมรรค ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดขนมนุ่ม
มันดำริว่า คราวนี้เราได้ที่ที่ควรกินอันอ่อนนุ่มในสรีระนี้แล้ว

จึงกัดแต่วัจมรรคนั้น เข้าไปถึงภายในท้อง กินตับและหัวใจ
เป็นต้น เวลากระหายน้ำ ก็ดื่มโลหิต เวลาอยากจะนอนก็เอาพื้นท้อง
รองนอน ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกได้มีปริวิตกว่า ทรากช้างนี้เป็น
เหมือนเรือนของเรา เพราะเป็นที่อยู่สบาย ครั้นอยากกิน ก็มีเนื้อ
อย่างเพียงพอ ทีนี้เราจะไปที่อื่นทำไม จึงไม่ยอมไปในที่อื่น
อีกเลย คงอยู่กินเนื้อในท้องช้างแห่งเดียว.

ในขณะที่เกิดทีเดียว ควรจะละเสีย ด้วยการที่กองกิเลสทั้งนั้น
จะเลือนไปไม่ทันตั้งอยู่ในหทัยแม้เพียงครู่เดียว เหมือนหยาดน้ำ
กลิ้งตกไปจากใบบัว ฉันใดก็ฉันนั้น แม้ถึงบัณฑิตในครั้งก่อน
ทั้งหลาย ก็ติเตียนกิเลสแม้มีประมาณน้อย ข่มมันเสียไม่ยอม
ให้เกิดขึ้นในภายในได้อีกฉะนั้น ดังนี้ แล้วทรงนำเรื่องอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิในกำเนิดหมาจิ้งจอก
พำนักอยู่ที่ฝั่งแม่น้ำใกล้ป่า ครั้งนั้นช้างแก่ตัวหนึ่งล้มอยู่ที่ฝั่งคงคา
สุนัขจิ้งจอก ออกหาเหยื่อ พบทรากช้างนั้น คิดว่า เหยื่อชิ้นใหญ่
เกิดแก่เราแล้ว จึงไปที่ทรากนั้น กัดที่งวง ก็เป็นเหมือนเวลาที่

กัดงอนไถ มันคิดว่า ตรงนี้ไม่ควรกิน จึงกัดที่งาทั้งคู่ ก็เป็นเหมือน
เวลาที่กัดเสา กัดหูเล่า ก็ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดขอบกระด้ง
กัดที่ท้อง ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดยุ้งข้าว กัดที่เท้า ก็ได้เป็น
เหมือนเวลาที่กัดครก กัดที่หางได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดสาก
ดำริว่า แม้ในที่นี้ก็ไม่ควรกิน เมื่อไม่ได้รับความพอใจในอวัยวะ

ทั้งปวง ก็กัดตรงวัจมรรค ได้เป็นเหมือนเวลาที่กัดขนมนุ่ม
มันดำริว่า คราวนี้เราได้ที่ที่ควรกินอันอ่อนนุ่มในสรีระนี้แล้ว
จึงกัดแต่วัจมรรคนั้น เข้าไปถึงภายในท้อง กินตับและหัวใจ
เป็นต้น เวลากระหายน้ำ ก็ดื่มโลหิต เวลาอยากจะนอนก็เอาพื้นท้อง

รองนอน ครั้งนั้น สุนัขจิ้งจอกได้มีปริวิตกว่า ทรากช้างนี้เป็น
เหมือนเรือนของเรา เพราะเป็นที่อยู่สบาย ครั้นอยากกิน ก็มีเนื้อ
อย่างเพียงพอ ทีนี้เราจะไปที่อื่นทำไม จึงไม่ยอมไปในที่อื่น
อีกเลย คงอยู่กินเนื้อในท้องช้างแห่งเดียว.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ครั้งเวลาล่วงไป ผ่านไป จนถึงฤดูแล้ว ทรากช้างนั้น
ก็หดตัวเหี่ยวแห้ง ด้วยถูกลมสัมผัส และถูกแสงอาทิตย์แผดเผา
ช่องที่สุนัขจิ้งจอกเข้าไปก็ปิด ภายในท้องก็มืด ปรากฏแก่มัน
เหมือนอยู่ในโลกันตนรก ฉะนั้น เมื่อทรากเหี่ยวแห้ง แม้เนื้อ
ก็พลอยแห้ง แล้วโลหิตก็เหือดหาย มันไม่มีทางออก ก็เกิดความ
กลัว ซมซานไปกัดทางโน้น ทางนี้ วุ่นวายหาทางออกอยู่ เมื่อ
สุนัขจิ้งจอกนั้นตกอยู่ในท้องช้างอย่างนี้ ก็เป็นเหมือนก้อนแป้ง
ในหม้อข้าว ล่วงมา สอง-สามวันฝนตกใหญ่ ครั้นทรากนั้นชุ่ม
น้ำฝนก็พองขึ้น จนมีสัณฐานเป็นปกติ วัจมรรคก็เปิด ปรากฏ

เหมือนดวงดาว มันเห็นช่องนั้น คิดว่า คราวนี้เรารอดได้แน่แล้ว
ถอยหลังไปจนจดหัวช้าง วิ่งไปโดยเร็ว เอาหัวชนวัจมรรคออก
ไปได้ เพราะว่าร่างกายของมันซูบซีดเหี่ยวแห้ง ขนทั้งหมดก็
เลยติดอยู่ที่วัจมรรคนั่นเอง มันมีจิตสะดุ้ง ด้วยสรีระอันไร้ขน
เหมือนลำตาล วิ่งไปครู่หนึ่ง กลับนั่งมองดูสรีระ แล้วสลดใจ

ว่าทุกข์นี้ของเรา สิ่งอื่นมิได้ทำให้เลย แต่เพราะความโลภเป็นเหตุ
เพราะความโลภเป็นตัวการณ์ เราอาศัยความโลภ ก่อทุกข์นี้ไว้
เอ็ง บัดนี้นับแต่นี้ เราจะไม่ยอมอยู่ในอำนาจของความโลภ ขึ้น
ชื่อว่า ทรากช้างละก็เราจะไม่ขอเข้าไปอีกต่อดังนี้แล้ว กล่าว
คาถานี้ ความว่า :-

"ไม่เอาอีกแล้ว ไม่เอาอีกละ เราจะไม่
ขอเข้าสู่ทรากช้างซ้ำอีกละ เพราะเวลาอยู่ใน
ท้องช้าง ถูกภัยคุกคามเจียนตาย" ดังนี้.

ในคาถานั้น อ อักษร ในบาทคาถาว่า น จาปิ อปุนปฺปุนํ
เป็นเพียงนิบาต ก็ในคาถาทั้งหมดนี้ มีอรรถาธิบายดังนี้ว่า :-
ก็ต่อแต่นี้ไป เราจะไม่เข้าไปอีกละ ได้แก่ เราจะไม่ขอเข้าไป
สู่ทรากช้าง คือสรีระของช้าง หลังจากที่พูดไว้ว่า ไม่เอาอีกแล้ว
ดังนี้ เพราะเหตุไร ? เพราะว่า เวลาอยู่ในท้องช้าง ถูกภัย

คุกคามแทบตาย อธิบายว่า เพราะเราถูกภัยในการเข้าไปทั้งนี้
ทีเดียว คุกคามแทบตาย คือต้องถึงความสะดุ้ง ความสลดใจ
เพราะกลัวตาย.

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็แลสุนัขจิ้งจอกนั้น ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็หนีไปจาก
ที่นั้นทันที ขึ้นชื่อว่า สรีระช้างตัวนั้นหรือตัวอื่น มันจะไม่ยอม
เหลียวหลังไปมอง ดูอีกเลย ต่อจากนั้น สุนัขจิ้งจอกนั้น ก็ไม่ตก
อยู่ในอำนาจของความโลภ.

พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่า กิเลสที่เกิดขึ้นภายใน ต้องไม่ให้
พอกพูนได้ ควรข่มเสียทันทีทันใดทีเดียว แล้วตรัสประกาศสัจจะ
ทั้งหลาย ทรงประชุมชาดก ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุที่เหลือแม้
ทั้ง ๕๐๐ รูป ก็ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล ในบรรดาภิกษุที่เหลือ
เล่า บางเหล่าก็ได้เป็นพระโสดาบัน บางเหล่าเป็นพระสกทาคามี
บางเหล่าได้เป็นพระอนาคามี ก็ในกาลครั้งนั้น สิคาล (จิ้งจอก)
ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสิคาลชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครไพสาลี ประทับอยู่
ณ กูฏาคารศาลา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า
เอกปณฺโณ อยํ รุกฺโข ดังนี้.

ความพิสดารว่า ในกาลครั้งนั้น พระนครเวสาลี มีกำแพง
ล้อมถึง ๓ ชั้น ตลอดบริเวณคาวุตหนึ่ง ประกอบไปด้วยกระท่อมพล
และป้อมในที่ทั้งสาม ถึงความเป็นเมืองงดงามอย่างยิ่ง จำนวน
พระราชาเสวยราชสมบัติอยู่เป็นนิตยกาล ในพระนครนั้นเล่า

มีถึงเจ็ดพันเจ็ดร้อยเจ็ดองค์ จำนวนอุปราชก็เท่านั้นเหมือนกัน
เสนาบดีและขุนคลัง ก็มีจำนวนฝ่ายละเท่านั้น ในกลุ่มแห่งโอรส
ของราชาเหล่านั้น มีราชกุมารผู้หนึ่ง พระนามว่า ทุฏฐลิจฉวี
เป็นผู้มักโกรธ ดุร้าย หยาบคาย เป็นเสมือนอสรพิษที่ถูกตี
ด้วยไม้ คอยเป็นฟืนเป็นไฟอยู่เป็นประจำ ผู้ที่จะชื่อว่าสามารถ

กล่าวถ้อยคำ สอง-สามคำ ต่อหน้าพระกุมารด้วยอำนาจแห่ง
ความโกรธ ไม่มีเลย พระมารดา พระบิดา พระประยูรญาติ
และพระสหายต่างไม่สามารถที่จะอบรมเธอได้เลย.

ครั้งนั้น พระมารดา และพระบิดาของเธอ ได้ทรงวิตกว่า
กุมารนี้หยาบคายยิ่งนัก โหดเหี้ยมเว้นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
แล้ว ผู้อื่นที่จะชื่อว่าสามารถอบรมเธอได้ไม่มีเลย เธอควรจะ
เป็นผู้อันพระพุทธเจ้า ทรงแนะนำดังนี้แล้ว พาพระกุมารไปสู่
สำนักของพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์

ผู้เจริญ กุมารนี้ ดุร้าย หยาบคาย รุ่งโรจน์อยู่ด้วยความโกรธ
ขอพระองค์ทรงประทานพระโอวาทแก่กุมารนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า
พระศาสดาทรงโอวาทพระกุมารว่า ดูก่อนกุมาร เธอไม่น่าจะเป็น
คนดุร้าย หยาบคาย ร้ายกาจ ชอบข่มเหงรังแกในหมู่สัตว์เหล่านี้
เลย ขึ้นชื่อว่า คนมีวาจาหยาบ ย่อมไม่เป็นที่รัก ที่ชอบใจ แม้

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ของมารดาบังเกิดเกล้า แม้ของบิดา แม้ของบุตรภรรยา แม้ของ
พี่น้องชายหญิง แม้ของหมู่มิตรเผ่าพันธุ์พวกพ้อง เป็นที่ตั้งแห่ง
ความหวาดหวั่น เหมือนงูที่กำลังเลื้อยมากัด เหมือนโจรที่ส้องสุม
กันอยู่ในดง เหมือนยักษ์ที่กำลังเดินมาจับกิน ในวารจิตที่ ๒
ย่อมบังเกิดในนรกเป็นต้นได้ ในปัจจุบันนั้นเล่า คนมักโกรธ

ถึงจะประดับประดางดงาม ก็คงยังมีผิวพรรณเศร้าหมองอยู่
นั่นเอง หน้าตาของเขาแม้จะมีสิริ เพียงดวงจันทน์เต็มดวง ก็จะ
เป็นเหมือนดอกบัวที่ถูกลนไฟ เหมือนวงแว่นทองคำที่ฝ้าจับ
ย่อมผิดรูป ผิดร่าง ไม่น่าดู เพราะว่าฝูงสัตว์อาศัยความโกรธ
ย่อมจับศาตราประหารตนเองตาย ดื่มยาพิษตาย ผูกคอตาย

โดดเขาตาย ครั้นตายด้วยอำนาจความโกรธอย่างนี้แล้ว ก็ย่อม
บังเกิดในอบายภูมิมีนรกเป็นต้น ถึงคนที่ชอบข่มเหงเขาเล่า
ก็ต้องถูกติเตียนในปัจจุบัน เมื่อแตกกายทำลายขันธ์ก็บังเกิดใน
นรกเป็นต้น แม้จะได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ก็ย่อมเป็นคนมีโรค

มาก ตั้งแต่เกิดมาทีเดียว บรรดาโรคทั้งหลาย มีโรคตา โรคหู
เป็นต้น จะรุมกันทับถมคนประเภทนี้ พวกเขาจะไม่พ้นไปจาก
โรคร้าย จะเป็นผู้ครองทุกข์อยู่เป็นประจำทีเดียว เพราะฉะนั้น
เธอพึงเป็นคนมีจิตเมตตา มีจิตอ่อนโยนในสรรพสัตว์ เพราะบุคคล

เช่นนี้ ย่อมรอดพ้นจากภัยมีนรกเป็นต้นก็ได้ ดังนี้ กุมารนั้น
สดับโอวาทของพระศาสดาแล้ว ทิ้งมานะเสียได้ ด้วยพระโอวาท
ครั้งเดียวเท่านั้น เป็นผู้ฝึกฝนได้ ไร้พยศ เป็นคนมีจิตอ่อนโยน
ทีเดียว แม้คนอื่นจะด่าจะตี ก็มิได้เหลียวหลังมองดู เหมือนงูที่
ถูกถอนเขี้ยว เหมือนปูที่ถูกหักก้าม และเหมือนโคผู้ ที่ถูกตัดเขา

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 19:48 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ฉะนั้น.
ภิกษุทั้งหลายทราบพฤติการณ์ของกุมารนั้นแล้ว จึงยก
เรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระมารดา
บิดา พระประยูรญาติและพระสหายเป็นต้น มิอาจฝึกลิจฉวีกุมาร
ผู้ดุร้าย แม้ตลอดเวลาอันยาวนาน แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงทรมานเธอด้วยพระโอวาทครั้งเดียวเท่านั้น ก็ได้ทรงกระทำ

เหตุ คือการให้อยู่ในขอบเขตที่เชิดชูกันได้ เหมือนนายควาญช้าง
ทรมานพญาช้างซับมันให้หมดพยศร้ายฉะนั้น ตรงกันกับ
พระพุทธภาษิตที่ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างที่ควรฝึกได้
ม้าที่ควรฝึกได้ โคที่ควรฝึกได้ อันผู้ฝึกได้ฝึกหัดแล้วย่อมวิ่ง
ไปได้ทิศเดียวเท่านั้น คือทิศตะวันออก หรือตะวันตก เหนือ

หรือใต้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ม้าที่ควรฝึกได้ อันผู้ฝึกได้ฝึกหัด
แล้ว ฯลฯ โคที่ควรฝึกได้ อันผู้ได้ฝึกหัดแล้ว ฯลฯ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุรุษที่ควรฝึกได้ อันตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
ฝึกหัดแล้ว ย่อมแล่นไปได้ทั้งแปดทิศ ผู้มีรูปย่อมเห็นรูปทั้งหลาย

ได้ ผู้ที่ทรงฝึกแล้วนี้เล่า ก็เป็นเช่นนั้น ฯลฯ ตถาคตนั้น บัณฑิต
ย่อมกล่าวว่า เป็นผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกเลิศกว่าอาจารย์ผู้ฝึกทั้งหลาย
ผู้มีอายุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึก ที่จะเสมอเหมือน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่มีอย่างแท้จริง พระศาสดาเสด็จมาตรัส

ถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอประชุมสนทนากัน
ด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว
ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในครั้งนี้เท่านั้น ที่เราฝึก
กุมารนี้ได้ ด้วยโอวาทครั้งเดียว แม้ในครั้งก่อน เราก็ได้ฝึกเธอ

ด้วยโอวาทครั้งเดียวเหมือนกัน ดังนี้แล้วทรงนำเรื่องราวในอดีต
มาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 30 พ.ย. 2018, 20:46 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
พระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในสกุลอุทิจจพราหมณ์
เจริญวัยแล้ว เล่าเรียนไตรเพท และสรรพศิลปวิทยา ในเมือง
ตักกสิลา อยู่ครองเรือนสิ้นกาลเล็กน้อย ครั้นมารดาบิดาล่วงลับ
ไป ก็บวชเป็นฤๅษี ทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดแล้ว พำนัก
อยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้นอยู่ในป่านั้นนาน ๆ ก็ไปสู่ชนบทเพื่อ

บริโภคเปรี้ยว ๆ เค็ม ๆ บรรลุถึงพระนครพาราณสี อาศัยอยู่
ในพระราชอุทยาน รุ่งเช้านุ่งห่มเรียบร้อยแล้ว สมบูรณ์ด้วย
มรรยาทของดาบส เข้าสู่พระนครเพื่อภิกษา เดินไปถึงพระ-
ลานหลวง.

พระราชากำลังทอดพระเนตรทางช่องพระแกล ทรงเห็น
ท่านแล้ว ทรงเลื่อมใสในอิริยาบถ ทรงดำริว่า พระดาบสนี้
อินทรีย์งดงาม ใจสงบ ทอดตาต่ำชั่วแอก ประหนึ่งวางถุงทรัพย์
๑๐๐๐ เหรียญ ไว้ทุก ๆ ย่างก้าว เดินมาด้วยลีลาองอาจอย่าง
ราชสีห์ หากจะมีสภาวะที่ชื่อว่า สันตธรรมอยู่อย่างหนึ่งละก็

สันตธรรมนั้น ต้องมีภายในของดาบสนี้ แล้วทรงทอดพระเนตร
ดูอำมาตย์ผู้หนึ่ง อำมาตย์ผู้นั้น กราบทูลว่า ข้าพระองค์จักต้อง
ทำอะไรพระเจ้าข้า รับสั่งว่า เจ้าจงไปนิมนต์พระดาบสนั้นมา
เขารับพระดำรัสว่าดีละ พระเจ้าข้า เข้าไปหาพระโพธิสัตว์

ไหว้แล้วรับภาชนะใส่ภิกษา จากมือพระโพธิสัตว์ เมื่อพระโพธิสัตว์
กล่าวว่า อะไรหรือ ท่านผู้มีบุญมาก ก็กราบเรียนว่า ข้าแต่
พระคุณท่านผู้เจริญ พระราชารับสั่งนิมนต์พระคุณเจ้า พระ-
โพธิสัตว์กล่าวว่า เราไม่ใช่นักบวชประจำราชสำนัก เป็นนักบวช
อยู่ป่าหิมพานต์. อำมาตย์ไปกราบทูลความนั้นแด่พระราชา

พระราชาตรัสว่า ดาบสอื่นที่เป็นผู้ใกล้ชิดของเราไม่มีดอก จง
นิมนต์ท่านมาเถิด อำมาตย์ก็ไปไหว้พระโพธิสัตว์ พูดอ้อนวอน
นิมนต์ให้เข้าไปสู่พระราชวัง. พระราชาถวายบังคมพระโพธิสัตว์
อาราธนาให้นั่งเหนือบัลลังก์ทอง ภายใต้เศวตรฉัตร ให้ฉัน
โภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ ที่เขาจัดไว้เพื่อพระองค์ แล้วรับสั่งถามว่า
ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าอยู่ที่ไหนเจ้าข้า ? พระ-

• ความรู้จะมีมาก หากมิมากไปด้วยความตระหนี่
• แบ่งปันความรู้ด้วยความเมตตา ย่อมนำพาความเจริญสุขมาให้
• ความรู้มีเพื่อแบ่งปัน ก็เราต่างก็เพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตายเช่นกันนี่
• ความสุขเกิดจากความสามัคคี เมื่อมีดีไม่แบ่งปันแล้วจะเกิดหรือความสามัคคีนั้น?
• อ่านแล้วอ่านอีก หากยังไม่เข้าใจ
• ชีวิตยังเหลือน้อยเต็มที ถามตัวเองว่ามีความดีมากแค่ไหนแล้ว
• โลกก้าวไกลยิ่ง ยิ่งทำใจให้ตกต่ำ (ทำแต่อกุศล)
• เพิ่มความอบอุ่นอีกนิด ด้วยจิตเมตตาต่อคนรอบข้าง
• ความตระหนี่ทำให้ห่างไกล ยังใจให้เกิดอกุศล

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 21, 22, 23, 24, 25, 26, 27 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร