วันเวลาปัจจุบัน 20 ก.ค. 2025, 09:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
รับสั่งว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ข้าพเจ้าสั่งให้จับคนข้างใน
ทุกคน ถึงจะทำให้ลำบาก ก็ยังไม่อาจให้นำมาได้ ขอรับ.
ถวายพระพรว่า มหาบพิตร อุบายที่จะไม่ต้องให้มหาชน
ลำบาก แล้วให้เขานำมาคืน ยังพอมีอยู่ ขอถวายพระพร.
รับสั่งว่า เป็นอย่างไร พระคุณเจ้า ?
ถวายพระพรว่า บิณฑทานซิ มหาบพิตร.
รับสั่งถามว่า บิณฑทานเป็นอย่างไร ขอรับ ?

ถวายพระพรว่า มหาบพิตรมีความสงสัยคนมีประมาณ
เท่าใด ก็จับคนเหล่านั้นเท่านั้น แล้วให้ฟ่อนฟาง หรือก้อนดิน
ไปคนละฟ่อน หรือคนละก้อน บอกว่า เวลาย่ำรุ่ง ให้นำฟ่อนฟาง
หรือก้อนดินนี้มาโยนทิ้งไว้ที่ตรงโน้น ผู้ใดเป็นคนเอาไป ผู้นั้น
จักซุกจุฬามณีไว้ในฟ่อนฟางหรือก้อนดินนั้น นำมาโยนไว้ ถ้า

พากันเอามาโยนให้ในวันแรกทีเดียวนั่นเป็นความดี ผิไม่นำมา
โยนให้ ก็พึงกระทำอย่างนั้นแหละต่อไป แม้ในวันที่สองที่สาม
ด้วยวิธีนี้มหาชนจักไม่ต้องพลอยลำบากด้วย จักต้องได้แก้วมณี
ด้วย ขอถวายพระพร ครั้นถวายพระพรอย่างนี้แล้ว พระเถระเจ้า
ก็ถวายพระพรลาไป.

พระราชาได้รับสั่งให้พระราชทาน โดยนัยที่พระเถระเจ้า
ถวายพระพรไว้ตลอด ๓ วัน ไม่มีใครนำแก้วมณีมาคืนเลย ใน
วันที่ ๓ พระเถระเจ้าก็มาถวายพระพรถามว่า มหาบพิตร ใคร
เอาแก้วมณีมาโยนให้แล้วหรือ ?

รับสั่งว่า ยังไม่มีใครนำมาโยนให้เลย ขอรับ.
ถวายพระพรว่า ถ้าเช่นนั้น มหาบพิตรจงโปรดรับสั่งให้
ตั้งตุ่มใหญ่ไว้ในที่กำบังในท้องพระโรงใหญ่นั่นแหละ ให้ตักน้ำ
ใส่ให้เต็ม ให้วงม่าน แล้วรับสั่งว่า พวกมนุษย์ที่รับใช้ข้างใน
ทุกคนและพวกสตรี จงห่มผ้าเข้าไปในม่านทีละคน ๆ จงล้างมือเสีย

แล้วออกมา. พระเถระเจ้าถวายพระพรบอกอุบายนี้แล้ว ก็ถวาย
พระพรลาหลีกไป. พระราชารับสั่งให้กระทำอย่างนั้น. คนที่
ขโมยแก้วมณีไป ได้คิดว่า พระเถระเจ้าผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริก
มาคุมอธิกรณ์เรื่องนี้ ยังไม่ได้แก้วมณี จักระบุตัวได้ คราวนี้

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เราควรจะทิ้งแก้วนั้น แล้วถือเอาแก้วซ่อนไว้มิดชิด เข้าไปภายใน
ม่าน ทิ้งไว้ในตุ่มแล้วรีบออก ในเวลาออกกันหมดทุกคนแล้ว
พวกราชบุรุษเทน้ำทิ้ง ได้เห็นแก้วมณี พระราชาทรงดีพระทัย
ว่า เราอาศัยพระเถระเจ้า มิต้องให้มหาชนลำบากเลย ได้แก้วมณี

แล้ว ถึงพวกมนุษย์ที่เป็นพวกรับใช้ฝ่ายใน ก็พากันยินดีว่า
พวกเราพากันอาศัยพระเถระเจ้า พากันพ้นจากทุกข์อันใหญ่หลวง
อานุภาพของพระเถระเจ้าที่ว่า พระราชาทรงได้พระจุฬามณี
ด้วยอานุภาพของพระเถระเจ้า ลือชาปรากฏไปในพระนครทั้งสิ้น
และในภิกษุสงฆ์.

พวกภิกษุนั่งประชุมกันในธรรมสภา พรรณนาคุณของ
พระเถระเจ้าว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระอานนท์เถระไม่ต้องให
้มหาชนลำบาก ใช้อุบายเท่านั้น แสดงแก้วมณีให้พระราชาได้
เพราะท่านเป็นพหูสูต เป็นบัณฑิต และเป็นผู้ฉลาดในอุบาย
พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอ

นั่งประชุมกันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูล
ให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า มิใช่อานนท์ผู้เดียวที่แสดงภัณฑะอัน
ตกถึงมือผู้อื่นได้ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลาย
มิต้องให้มหาชนลำบากเลย ใช้แต่อุบายเท่านั้น ก็แสดงภัณฑะ

อันตกถึงมือสัตว์เดียรัจฉานได้ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เรียนจบศิลปศาสตร์ทุกอย่างแล้ว
ได้เป็นอำมาตย์ของพระเจ้าพรหมทัตพระองค์นั้นแหละ อยู่มา
วันหนึ่ง พระราชาเสด็จไปสู่พระอุทยาน ด้วยบริวารเป็นอันมาก

เสด็จเที่ยวไปสู่ละแวกป่า แล้วทรงพระประสงค์จะทรงอุทกกีฬา
เสด็จลงสู่สระโบกขรณีอันเป็นมงคล รับสั่งเรียกแม้นางใน.
พวกสตรีต่างก็เปลื้องอาภรณ์ มีเครื่องประดับศีรษะและประดับคอ
เป็นต้น ใส่ในผ้าห่มวางไว้บนหลังหีบ มอบให้ทาสีทั้งหลายรับไว้

แล้วพากันลงสู่โบกขรณี. ครั้งนั้นนางลิงอยู่ในสวนตัวหนึ่ง นั่งเจ่า
เหนือกิ่งไม้ เห็นพระเทวีทรงเปลื้องเครื่องประดับทรงใส่ไว้ใน

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ผ้าทรงสพัก แล้วทรงวางไว้หลังพระสมุค นึกอยากจะแต่งสร้อย
มุกดาหารของพระนาง นั่งจ้องดูความเผลอเลอของนางทาสีอยู่
ฝ่ายนางทาสีผู้เฝ้า ก็มัวนั่งมองดูในที่นั้นอยู่ เลยง่วงหลับไป
นางลิงรู้ความที่นางทาสีประมาท โดดลงโดยรวดเร็วปานลมพัด
สอดสวมสร้อยมุกดาหารใหญ่ที่คอ แล้วโดดขึ้นรวดเร็วปานลม

เหมือนกัน กลับนั่งเหนือกิ่งไม้ กลัวนางลิงตัวอื่น ๆ จะเห็น จึง
ซุกไว้ที่โพรงไม้แห่งหนึ่ง แสร้งทำเป็นเหมือนสงบเสงี่ยม นั่งเฝ้า
เครื่องประดับนั้นไว้ ฝ่ายนางทาสีนั้นเล่า ตื่นขึ้นไม่เห็นมุกดาหาร

ก็ตัวสั่น ครั้นไม่เห็นอุบายอื่น ก็ต้องตะโกนว่า คนแย่งมุกดาหาร
ของพระเทวีหนีไปแล้ว พวกมนุษย์ที่เฝ้าแหน ประชุมกันตาม
ตำแหน่งนั้น ๆ ครั้นได้ยินคำของนาง ก็กราบทูลแด่พระราชา
พระราชารับสั่งว่า พวกท่านจงจับโจรให้ได้ พวกราชบุรุษ

ทั้งหลายก็พากันออกจากพระราชอุทยาน กล่าวว่า พวก
ท่านจงจับโจร จงจับโจร พากันค้นหาทางโน้น ทางนี้.

ขณะนั้น บุรุษผู้กระทำพลีกรรมชาวชนบทคนหนึ่ง ได้ยิน
เสียงนั้น ก็หวั่นหวาดวิ่งหนี พวกราชบุรุษเห็นเข้าก็กวดตามไป
ว่า คนนี้เป็นโจร จับเขาได้ โบยพลางตวาดพลาง เฮ้ย ไอ้โจรชั่ว
มึงกล้าลักเครื่องประดับชื่อมหาสารอย่างนี้เทียวนะ เขาคิดว่า
ถ้าเราจักบอกว่า ฉันไม่ได้เอาไป วันนี้คงไม่รอดชีวิต พวก

ราชบุรุษคงโบยเราเรื่อยไปจนถึงตาย จำเราต้องรับ เขาจึงบอก
ว่า นายขอรับกระผมนำไปเอง ทีนั้นพวกราชบุรุษก็พากันมัดเขา
นำมาสู่สำนักพระราชา ฝ่ายพระราชาตรัสถามว่า เครื่องประดับ
มีค่ามาก เจ้าลักไปหรือ ? กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ

เป็นความจริงพระเจ้าข้า รับสั่งถามว่า บัดนี้เอาไปไว้ที่ไหน ?
บุรุษนั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ ขึ้นชื่อว่าสิ่ง
ที่มีค่ามาก แม้เตียงตั่งข้าพระองค์ก็ไม่เคยเห็น แต่ท่านเศรษฐีบอก
ให้ข้าพระองค์ลักเครื่องประดับมีค่ามากนั้น ข้าพระองค์จึงลัก

เอาไป แล้วมอบให้ท่านไป ท่านเศรษฐีนั่นแหละถึงจะรู้ พระราชา
รับสั่งให้หาท่านเศรษฐีมาเฝ้า รับสั่งถามว่า เครื่องประดับม
ีค่ามาก ท่านรับเอาจากมือคนนี้ไว้หรือ ? เศรษฐีกราบทูลว่า
พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ รับสั่งถามว่า ท่านเอาไว้
ที่ไหนเล่า ? กราบทูลว่า ให้ท่านปุโรหิตไปแล้วพระเจ้าข้า

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
รับสั่งให้เรียกปุโรหิตแม้นั้นมาเฝ้า รับสั่งเช่นนั้นแหละ ถึงท่าน
ปุโรหิตเองก็รับ แล้วกราบทูลว่า ข้าพระองค์ให้แก่คนธรรพ์
ไปแล้ว รับสั่งให้เรียกคนธรรพ์มาเฝ้า รับสั่งถามว่า เจ้ารับเอา
เครื่องประดับมีค่ามากไปจากมือปุโรหิต หรือ ? กราบทูลว่า

พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพรับสั่งถามว่า เอาไว้
ที่ไหน ? กราบทูลว่า ข้าพระองค์ให้แก่นางวัณณทาสีไปแล้ว
ด้วยอำนาจแห่งกิเลส รับสั่งให้เรียกนางวัณณทาสีมาตรัสถาม
นางกราบทูลว่า กระหม่อมฉันมิได้รับไว้ เมื่อสอบถามคนทั้ง ๕

กว่าจะทั่ว ดวงอาทิตย์ก็อัษฎงค์ พระราชารับสั่งว่า บัดนี้มืดค่ำ
เสียแล้ว เราจักต้องรู้เรื่องในวันพรุ่งนี้ มอบคนทั้ง ๕ เหล่านั้น
แก่พวกอำมาตย์ แล้วเสด็จเข้าสู่พระนคร.

พระโพธิสัตว์ดำริว่า เครื่องประดับนี้หายในวงภายใน
ส่วนคฤหบดีนี้เป็นคนภายนอก การเฝ้าประตูเล่าก็เข้มแข็ง เหตุนั้น
แม้จะเป็นคนอยู่ข้างในลักเครื่องประดับนั้น ก็ไม่อาจหนีรอด
เมื่อเป็นเช่นนี้ ลู่ทางที่คนข้างนอกจะลักก็ดี ที่คนรับใช้ในสวน
จักลักก็ดี ไม่มีวี่แววเลย คำที่ทุคคตมนุษย์นี้กล่าวว่า ข้าพระองค์

ให้เศรษฐีไปแล้ว ต้องเป็นคำกล่าวเพื่อเปลื้องตน ถึงที่เศรษฐี
กล่าวว่าให้แก่ปุโรหิตเล่า จักเป็นอันกล่าวเพราะคิดว่า พวกเรา
ต้องร่วมกันสะสาง แม้ที่ท่านปุโรหิตกล่าวว่า ให้คนธรรพ์ไปแล้ว
ก็คงเป็นอันกล่าวเพราะคิดว่า พวกเราต้องอาศัยคนธรรพ์ จักพา
กันอยู่สบายในเรือนจำ ที่คนธรรพ์พูดว่าให้นางวัณณทาสีไปแล้ว

ก็จักเป็นอันกล่าวเพราะคิดว่า พวกเราจักไม่ต้องนึกกระสันอยู่
แม้ทั้ง ๕ คนเหล่านี้ คงไม่ใช่โจรทั้งนั้น ในอุทยานมีลิงเป็นอันมาก
อันเครื่องประดับคงตกอยู่ในมือนางลิงตัวหนึ่งเป็นแน่ พระโพธิสัตว์
จึงเข้าเฝ้าพระราชากราบทูลว่า ข้าแต่มหาบพิตร ขอได้โปรด
ทรงพระกรุณามอบโจรเหล่านั้นแก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์จะ

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ชำระเรื่องนั้นเอง พระเจ้าข้า. พระราชารับสั่งว่า ดีแล้วพ่อบัณฑิต
เธอจงชำระเถิด แล้วทรงมอบคนเหล่านั้นแก่พระโพธิสัตว์ พระ-
โพธิสัตว์ให้เรียกคนใช้ผู้ชายของตนมา ให้คนทั้ง ๕ ไปอยู่ในท
ี่แห่งเดียวกันทั้งหมด กระทำการควบคุมโดยสงบ สั่งให้แอบฟังว่า
พวกนั้นพูดคำใดกันบ้าง เจ้าทั้งหลายจงบอกคำนั้นแก่เรา แล้ว
หลีกไป พวกคนเหล่านั้น ก็ได้กระทำอย่างนั้นแล้ว.

ครั้นถึงเวลาที่พวกมนุษย์สนทนากัน ท่านเศรษฐีกล่าวกะ
คฤหบดีนั้นว่า เฮ้ย ! ไอ้คฤหบดีชั่วมึงเคยพบกูหรือกูเคยพบมึง
ในครั้งไหน มึงให้เครื่องประดับกูเมื่อไร ? คฤหบดีกล่าวว่า
ข้าแต่ท่านมหาเศรษฐีผู้เป็นเจ้านาย ผมไม่รู้จักสิ่งที่ชื่อว่า มหาสาร

จะเป็นเตียงตั่งที่มีเท้าทำด้วยแก่นไม้ ก็ไม่รู้จัก ที่ได้พูดอย่างนั้น
เพราะคิดว่า จักอาศัยท่านได้ความรอดพ้น โปรดอย่าโกรธผมเลย
ขอรับ แม้ปุโรหิตก็พูดกับท่านเศรษฐีว่า ท่านให้เครื่องประดับ
ที่คฤหบดีนี้มิได้ให้แก่ท่านเลย แก่เราได้อย่างไรกัน ? ท่าน-

เศรษฐีกล่าวว่า ข้าพเจ้ากล่าวไป เพราะคิดว่า เราทั้งสองเป็น
คนใหญ่คนโต ในเวลาที่เราไปร่วมพูดจากัน การงานจักสำเร็จ
ไปโดยเร็ว ฝ่ายคนธรรพ์ก็กล่าวกะปุโรหิตว่า ดูก่อนพราหมณ์
ท่านให้เครื่องประดับแก่ผม เมื่อไรกัน ? ปุโรหิตกล่าวว่า ข้าพเจ้า
กล่าวไป เพราะคิดว่า จักได้อาศัยท่านอยู่เป็นสุขในที่ที่ถูกคุมขัง

แม้นางวัณณทาสีก็กล่าวกะคนธรรพ์ว่า ไอ้คนร้าย คนธรรพ์ชาติชั่ว
เราเคยไปหาเจ้า หรือเจ้าเคยมาหาเราแต่ครั้งไร เจ้าให้เครื่อง
ประดับแก่เราในเวลาไร ? คนธรรพ์กล่าวว่า น้องเอ๋ย เพราะ
เหตุไรจะต้องมาโกรธเคืองข้าพเจ้าด้วยเล่า เมื่อพวกเราทั้ง ๕ คน

อยู่ร่วมกัน เรื่องเพศสัมพันธ์จักต้องมี อาศัยเจ้า พวกเราจักไม่ต้อง
หงอยเหงา อยู่ร่วมกันอย่างสบาย ดังนี้.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 14:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระโพธิสัตว์ฟังถ้อยคำนั้น จากสำนักของคนที่จัดไว้
ทราบความที่พวกนั้นไม่ใช่โจรโดยแน่นอน คิดว่า เครื่องประดับ
ต้องเป็นนางลิงหยิบเอาไป จักทำอุบายให้มันโยนลงมาจงได้ แล้ว
ทำเครื่องประดับสำเร็จด้วยยางไม้ ให้จับเหล่านางลิงในอุทยาน
แล้วให้แต่งเครื่องประดับยางไม้ ที่มือที่เท้าและที่คอ แล้วปล่อย

ไป ฝ่ายนางลิงตัวที่เฝ้าเครื่องทรงอยู่ ก็นั่งอยู่ในอุทยานนั่นเอง
พระโพธิสัตว์สั่งคนทั้งหลายว่า พวกเธอพากันไปเถิด พากัน
ตรวจดูฝูงนางลิงในอุทยานทุกตัว เห็นเครื่องทรงนั้นอยู่ที่ตัวใด
จงทำให้มันตกใจ แล้วเอาเครื่องประดับมาให้จงได้ ฝูงนางลิง

นั้นเล่า ก็พากันร่าเริงยินดีว่า พวกเราได้เครื่องแต่งตัวกันแล้ว
ต่างก็วิ่งเที่ยวไปมาในอุทยาน ถึงสำนักของนางลิงนั้น พากัน
กล่าวว่า จงดูเครื่องประดับของพวกเรา นางลิงทนไม่ไหว คิดว่า
เรื่องอะไรด้วยเครื่องประดับทำด้วยยางไม้นี้แล้วแต่งเครื่อง

มุกดาหารมาอวด ครั้งนั้นคนเหล่านั้นเห็นมันแล้ว ทำให้มันทิ้ง
เครื่องทรงแล้วนำมามอบให้พระโพธิสัตว์. พระโพธิสัตว์นำ
เครื่องทรงนั้นไปถวายพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ นี้เครื่องทรงของพระองค์คนแม้ทั้ง ๕ นั้นมิใช่โจร

แต่เครื่องทรงนี้ได้มาจากนางลิงในอุทยาน พระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสถามว่า พ่อบัณฑิต ก็พ่อรู้ความที่เครื่องทรงนี้ตกอยู่ในมือ
นางลิงได้อย่างไร เอาคืนมาได้อย่างไร ? พระโพธิสัตว์กราบทูล
เรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระราชาทรงดีพระทัย ตรัสว่า ธรรมดา

คนกล้าเป็นต้น เป็นบุคคลที่น่าปรารถนา ในฐานะตำแหน่ง จอมทัพ
เป็นต้น ดังนี้แล้วเมื่อจะทรงชมเชยพระโพธิสัตว์ ตรัสพระคาถานี้
ความว่า :-

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 14:01 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ยามคับขัน ย่อมปรารถนาผู้กล้าหาญ ยาม
ปรึกษาการงาน ย่อมปรารถนาคนไม่พูดพล่าม
ยามมีข้าวน้ำ ย่อมปรารถนาคนเป็นที่รักของตน
ยามต้องการเหตุผลย่อมปรารถนา บัณฑิต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุกฺกฏฺเฐ ความว่า ในยาม
คับขัน คือคราวที่ทั้งสองฝ่ายเข้าประชิดกัน อธิบายว่า เมื่อการ
รุกรบในสงครามกำลังดำเนินไป.

บทว่า สูรมิจฺฉนฺติ ความว่า ย่อมปรารถนาผู้ที่กล้าหาญ
อันมีปกติไม่รู้จักถอย แม้เมื่อสายฟ้าจะฟาดลงมาบนกระหม่อม
เพราะว่าในขณะนั้น คนอย่างนี้ควรได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นจอมทัพ.

บทว่า มนฺตีสุ อกุตูหลํ ความว่า เมื่อเวลามีกิจการที่จะ
ต้องปรึกษา ถึงกิจที่ควรทำและไม่ควรทำ ในเวลาปรึกษากิจการ
ย่อมปรารถนาคนที่ไม่พูดพร่ำ ไม่พูดเลื่อนเปื้อน คือไม่แพร่งพราย
ข้อที่ปรึกษากัน เพราะคนลักษณะเช่นนั้น เหมาะที่จะแต่งตั้ง
ในตำแหน่งนั้น ๆ.

บทว่า ปิยญฺจ อนฺนปานมฺหิ ความว่า เมื่อข้าวน้ำมีรสอร่อย
ปรากฏขึ้น ย่อมปรารถนาคนอันเป็นที่รัก เพื่อชักชวนให้บริโภค
ร่วมกัน เพราะคนเช่นนั้น จำปรารถนาในเวลานั้น.

บทว่า อตฺเถ ชาเต จ ปณฺฑิตํ ความว่า เมื่ออรรถอันลึกซึ้ง
ธรรมอันลึกซึ้งเกิดขึ้น หรือเมื่อเหตุหรือปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง
เกิดขึ้น ย่อมปรารถนาบัณฑิตผู้มีปัญหาประจักษ์ เพราะท่าน
ผู้มีลักษณะเช่นนั้น ชอบที่จะปรารถนาในสมัยนั้น.

พระราชาตรัสพรรณนาชมเชยพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ
ฉะนี้ ทรงบูชาด้วยรัตนะ ๗ ประการ ปานประหนึ่งมหาเมฆ
ยังฝนลูกเห็บให้ตกฉะนั้น ดำรงค์พระองค์ในโอวาทของพระ-
โพธิสัตว์ ทรงบำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น เสด็จไปตามยถากรรม
แม้พระโพธิสัตว์ก็ไปตามยถากรรม.

พระบรมศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา แล้วตรัส
คุณของพระเถระเจ้า ทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น
ได้มาเป็นพระอานนท์ ส่วนอำมาตย์ผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามหาสารชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการบริโภคด้วยความวางใจ ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า น วิสฺสเส อวิสฺสฏฺเฐ ดังนี้.

ความย่อว่า ในสมัยนั้น พวกภิกษุโดยมากพากันวางใจ
ไม่พิจารณาบริโภคปัจจัย ๔ ที่หมู่ญาติถวาย เพราะคิดเสียว่า
มารดาของพวกเราถวาย บิดาของพวกเราถวาย พี่ชายน้องชาย
พี่สาวน้องสาว น้า อา ลุง ป้า ถวาย คนเหล่านี้ สมควรจะให้
แก่เรา แม้ในเวลาเป็นคฤหัสถ์มาแล้ว ถึงในเวลาเราเป็นภิกษุ

ก็คงเป็นผู้สมควรจะให้ได้ พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น ทรง
พระดำริว่า สมควรที่เราจะแสดงพระธรรมเทศนา แก่ภิกษุ
ทั้งหลาย ดังนี้แล้วรับสั่งให้เรียกประชุมภิกษุ แล้วตรัสว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาภิกษุต้องพิจารณาแล้วจึงค่อยทำการ
บริโภคปัจจัย ๔ แม้ที่พวกญาติพากันถวาย ด้วยว่าพวกภิกษุ

ที่ไม่พิจารณาแล้วบริโภคเมื่อทำกาละ ย่อมไม่พ้นจากอัตภาพ
แห่งยักษ์และเปรต ขึ้นชื่อว่าการบริโภคปัจจัย ๔ ที่ไม่พิจารณา
นี้ เป็นเช่นกับการบริโภคยาพิษ แม้ที่คนคุ้นเคยกันให้แล้วก็ตาม
แม้ที่คนไม่คุ้นกันให้แล้วก็ตาม ย่อมทำให้ตายได้ทั้งนั้น แม้ใน
ครั้งก่อนสัตว์ทั้งหลายบริโภคยาพิษที่เขาให้ด้วยความพิศวาส

ถึงความสิ้นชีวิตไปแล้ว อันภิกษุเหล่านั้นกราบทูลอาราธนา
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมาก คนเลี้ยงโค
ของท่านคนหนึ่ง ต้อนฝูงโคเข้าป่า ในสมัยที่ภูมิภาคแออัดไปด้วย

ข้าวกล้าตั้งคอกเลี้ยงโคอยู่ในป่านั้น และนำโครสมาให้ท่าน-
เศรษฐีตามเวลา ก็แลในที่ไม่ห่างคนเลี้ยงโคนั้นสีหะยึดเอาเป็น
ที่อยู่อาศัย เพื่อพวกโคซูบผอมไปเพราะหวาดหวั่นต่อสีหะ น้ำนม
ก็ใส อยู่มาวันหนึ่งคนเลี้ยงโคนำเอานมมาให้ ท่านเศรษฐีจึงถามว่า

สหายโคบาลเป็นอย่างไรหรือ น้ำนมจึงได้ใส เขาแจ้งเหตุนั้น
ท่านเศรษฐีถามว่า สหาย ก็ความปฏิพัทธ์ในอะไร ๆ ของสีหะนั้น
มีบ้างไหม ? เขาตอบว่ามีครับนาย มันติดพันแม่เนื้อตัวหนึ่ง.
ท่านเศรษฐีถามว่า แกสามารถจะจับแม่เนื้อนั้นได้ไหม ? เขา

ตอบว่า พอจะทำได้ครับนาย ท่านเศรษฐีกล่าวว่า ถ้าเช่นน
ั้นเจ้าจงจับมันให้ได้ เอายาพิษย้อมขนที่ตัว ตั้งแต่หน้าผากของมัน
ขึ้นไปหลาย ๆ ครั้ง ทำให้แห้ง กักไว้สอง-สามวัน ค่อยปล่อย
แม่เนื้อนั้นไป สีหะนั้นจักเลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หา

ถึงความสิ้นชีวิตเป็นแน่ ทีนั้นเจ้าจงเอาหนังเล็บเขี้ยวและเนื้อ
ของมันมาให้ แล้วมอบยาพิษอย่างแรงให้ส่งตัวไป คนเลี้ยงโค
วางข่ายจับแม่เนื้อนั้นได้ด้วยอุบายแล้วได้กระทำตามสั่ง สีหะ
เห็นแม่เนื้อนั้นแล้ว เลียสรีระของแม่เนื้อนั้นด้วยเสน่หาอย่าง
รุนแรง ถึงความสิ้นชีวิต ฝ่ายคนเลี้ยงโค ก็เอาหนังเป็นต้น ไปสู่
สำนักพระโพธิสัตว์.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระโพธิสัตว์ทราบเหตุนั้นแล้ว กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าเสน่หา
ในพวกอื่นไม่ควรกระทำ สีหะผู้เป็นมฤคราช ถึงจะสมบูรณ์ด้วย
กำลังอย่างนี้ ก็เพราะอาศัยความติดพันด้วยอำนาจกิเลส เลีย
สรีระของแม่เนื้อ ทำการบริโภคยาพิษ ถึงสิ้นชีวิตไปแล้ว เมื่อ
จะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน กล่าวคาถานี้ ความว่า

บุคคลไม่ควรไว้วางใจในผู้ที่ยังไม่คุ้นเคย
กัน แม้ผู้ที่คุ้นเคยกันแล้ว ก็ไม่ควรไว้วางใจ
ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน เหมือนภัยของ
ราชสีห์เกิดจากแม่เนื้อ ฉะนั้น ดังนี้.

ในคาถานั้น มีความสังเขปดังนี้ ผู้ใดในกาลก่อน เคยเป็น
ภัยยังไม่เป็นที่มักคุ้นกับตน ไม่พึงวางใจ คือไม่พึงทำความมักคุ้น
กับผู้ไม่คุ้นเคยนั้น ผู้ใดแม้ในกาลก่อนจะไม่เคยเป็นภัย เป็นผู้
สนิทสนมมักคุ้นอยู่กับตน แม้ในผู้มักคุ้นกันนั้น ก็ไม่ควรวางใจ

คือไม่พึงทำความสนิทสนมเลยทีเดียว เพราะเหตุไร ? เพราะ
ภัยย่อมมาจากผู้ที่คุ้นเคยกัน ได้แก่ภัยนั่นแหละ ย่อมมาแต่ความ
คุ้นเคยทั้งในมิตร ทั้งในอมิตร อย่างไร ? เหมือนอย่างภัยของ
ราชสีห์ เกิดแต่แม่เนื้อฉะนั้น คืออย่างเดียวกันกับภัยที่มาถึง

กระชั้นชิดประจวบเข้าแก่สีหะ จากสำนักแม่เนื้อที่ตนกระทำ
ความวางใจ ด้วยอำนาจมิตตสันถวะ อีกนัยหนึ่งมีอธิบายว่า
อย่างเดียวกันกับแม่เนื้อที่ปรารถนาจะมาหา เข้าใกล้สีหะด้วย
ความพิศวาสดังนี้บ้าง.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมแก่บริษัทที่มาประชุมกัน ด้วย
ประการฉะนี้ ทำบุญทั้งหลายมีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตาม
ยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า มหาเศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาวิสสาสโภชนชาดกที่ ๓


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:32 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาทรงอาศัยพระนครเวสาลี ประทับอยู่ ณ
ปาฏิการาม ทรงปรารภท่านพระสุนักขัตตะ ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า โสตตฺโต โสสีโต ดังนี้.

ความพิสดารว่า สมัยหนึ่งท่านพระสุนักขัตตะเป็นผู้
อุปัฏฐากพระศาสดา ถือบาตรจีวรตามเสด็จไป เกิดพอใจธรรม
ของโกรักขัตติยปริพาชก ถวายบาตรจีวรคืนพระทศพล ไปอาศัย
โกรักขัตติยปริพาชก ในเมื่อโกรักขัตติยปริพาชกนั้นไปเกิดใน
กำเนิดอสูรพวกกาลัญชิกะ จึงสึกเป็นคฤหัสถ์เที่ยวกล่าวติโทษ

พระศาสดา ตามแนวกำแพงทั้ง ๓ ในพระนครเวสาลีว่า อุตตริ-
ิมนุษยธรรม คือญาณทัสสนอันวิเศษซึ่งพอแก่ความเป็นพระอริยเจ้า
ของพระสมณโคดม ไม่มีดอก พระสมณโคดมแสดงธรรมที่ตน
กำหนดนึกเอาเอง ค้นคว้าเอาตามที่สอบสวน เป็นปฏิภาณ

ของตนเอง และธรรมที่พระสมณโคดมแสดงนั้นเล่า ก็มิได้
นำไปเพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ปฏิบัติตาม คราวนั้น
ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้า เที่ยวบิณฑบาต ได้ยินเขากล่าวติโทษ
เรื่อยมา กลับจากบิณฑบาตแล้ว ก็กราบทูลข้อความนั้นแด่

พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร
สุนักขัตตะเป็นคนมักโกรธ เป็นโมฆบุรุษ กล่าวอย่างนี้ด้วย
อำนาจความโกรธเท่านั้น กล่าวอยู่ว่า ธรรมนั้นมิได้นำไป
เพื่อความสิ้นทุกข์โดยชอบ แก่ผู้ปฏิบัติตามนั้น ดังนี้ แม้ต้อง
อำนาจแห่งความโกรธมาก เพราะเหตุที่ไม่รู้จริง จึงกล่าวโทษ
เราอยู่ตลอดเวลา ก็เขาเป็นโมฆบุรุษ จึงไม่รู้คุณของเรา

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:33 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เลย ดูก่อนสารีบุตร ที่แท้คุณพิเศษที่ชื่อว่า อภิญญา ๖ ของ
เราก็มี แม้ข้อนี้ก็เป็นอุตตริมนุษยธรรมของเราเหมือนกัน
พล ๑๐ ก็มี เวสารัชชญาณ ๔ ประการก็มี ญาณที่จะ
กำหนดรู้กำเนิดทั้ง ๔ ก็มี ญาณที่จะกำหนดรู้คติทั้ง ๕

ก็มี แม้ข้อนี้ก็เป็นอุตตริมนุษยธรรมของเราเหมือนกัน ก็ผู้ใด
กล่าวว่า เราผู้ถึงพร้อมด้วยอุตตริมนุษยธรรมเพียงเท่านี้ อย่างนี้
ว่า อุตตริมนุสสธรรมของพระสมณโคดมไม่มีดอก ผู้นั้นไม่ละคำ
นั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่ถอนคืนความเห็นนั้นย่อมถูกฝังในนรก

เหมือนกับถูกจับมาฝัง ฉะนั้น ครั้นตรัสพระคุณแห่งอุตตริมนุษย-
ธรรม ที่มีในพระองค์อย่างนี้แล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร ได้ยิน
ว่า สุนักขัตตะ เลื่อมใสในมิจฉาตบะ ด้วยกิริยาแห่งกรรมอัน
บุคคลทำได้ยากของโกรักขัตติยะ เมื่อเลื่อมใสอยู่ ก็ไม่สมควร

จะเลื่อมใสในเราทีเดียว ที่จริงในที่สุดแห่งกัป ๙๑ แต่ภัททกัปนี้
เราทดลองมิจฉาตบะของลัทธิภายนอก เพื่อจะรู้ว่าสาระในตบะ
นั้นมีจริงหรือไม่ อยู่บำเพ็ญพรหมจรรย์อันประกอบด้วยองค์ ๔
เรากล่าวได้ว่า เป็นผู้เรืองตบะ เรืองตบะอย่างยอดเยี่ยม เป็น

ผู้เศร้าหมอง เศร้าหมองอย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้น่าเกลียด น่าเกลียด
อย่างยอดเยี่ยม เป็นผู้เงียบ เงียบอย่างยอดเยี่ยม ดังนี้ อันพระ-
เถระเจ้ากราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลที่สุดแห่งกัปที่ ๙๑ พระโพธิสัตว์ดำริว่า เรา
จักทดลองตบะของพวกนอกลู่นอกทางดู จึงบวชเป็นอาชีวก ไม่
นุ่งผ้า คลุกเคล้าด้วยธุลี เงียบฉี่อยู่คนเดียว เห็นพวกมนุษย์แล้ว
ต้องวิ่งหนี เหมือนมฤคมีมหาวิกัติเป็นโภชนะ บริโภคโคมัยแห่ง

ลูกโคเป็นต้น เพื่อจะอยู่ด้วยความไม่ประมาท จึงอยู่ในไพรสณฑ์
เปลี่ยวตำบลหนึ่งในราวไพร เมื่ออยู่ในถิ่นนั้น เวลาหิมะตกตอน
กลางคืน ออกจากไพรสณฑ์ อยู่กลางแจ้ง ชุ่มโชกด้วยน้ำหิมะ
เวลากลางวันก็ทำนองเดียวกัน ให้ตนชุ่มโชกด้วยหยาดน้ำที่ไหล
จากไพรสณฑ์ เสวยทุกข์แต่ความหนาว ทั้งกลางวันกลางคืน

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อยู่อย่างนี้ อนึ่งในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน ตอนกลางวันก็ถึงความ
รุ่มร้อนด้วยแสงแดด ณ ที่โล่ง กลางคืนก็อย่างนั้นเหมือนกับถึง
ความรุ่มร้อนอยู่ในไพรสณฑ์ที่ปราศจากลม หยาดเหงื่อไหลออก
จากสรีระ ครั้งนั้น คาถานี้ที่ไม่เคยได้ยินมาก่อนเลย ได้ปรากฏ
แจ่มแจ้งว่า :-

"เราเร่าร้อนแล้ว หนาวเหน็บแล้ว อยู่
ผู้เดียวในป่าอันน่าสพึงกลัว เป็นคนเปลือย ไม่ได้
ผิงไฟ เป็นมุนีขวนขวายแล้ว ในการแสวงบุญ"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โสตตฺโต ความว่า เราเร่าร้อน
ด้วยความแผดเผาจากดวงอาทิตย์.
บทว่า โสสีโต ความว่า เราหนาวเหน็บ คือชุ่มโชกด้วย
น้ำหิมะ.

ด้วยบทว่า เอโก ภึสนเก วเน นี้ ท่านแสดงความว่า เรา
อยู่แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนเลย ในป่าชัฎอันน่าสพึงกลัวถึงกับทำให้
ผู้ที่เข้าไปแล้วต้องขนลุกขนพองโดยมาก.

ด้วยบทว่า นคฺโค น จคฺคิมาสีโน นี้ท่านแสดงว่า เรา
เป็นคนเปลือย ทั้งไม่ได้ผิงไฟ คือแม้จะถูกลมหนาวเบียดเบียน
ก็มิได้อาศัยผ้านุ่งผ้าห่มเป็นต้น และไม่ได้ผิงไฟอีกด้วย.

ด้วยบทว่า เอสนาปสุโต นี้ท่านแสดงว่า แม้ในอพรหมจรรย์
ก็มีความมั่นหมายว่า เป็นพรหมจรรย์ในความเพียรนั้น คือเป็น
ผู้ขวนขวายพากเพียร ถึงความมั่นหมายในการแสวงหาพรหม-
จรรย์นั้นอย่างนี้ว่า ก็แลข้อนี้เป็นพรหมจรรย์แท้ การแสวงหา
และการค้นหาเป็นอุบายแห่งพรหมโลก.

ด้วยบทว่า มุนี นี้ ท่านแสดงว่า ได้เป็นผู้อันชาวโลก
ยกย่องอย่างนี้ว่า ท่านผู้นี้ ปฏิบัติเพื่อต้องการญาณเป็นเครื่องร
ู้เป็นมุนีแล.

ก็พระโพธิสัตว์ประพฤติพรหมจรรย์ ประกอบด้วยองค์ ๔
อย่างนี้ เล็งเห็นลางนรกปรากฏชัดขึ้นในเวลารุ่งอรุณ ก็ทราบว่า
การสมาทานวัตรนี้ไร้ประโยชน์ จึงทำลายลัทธินั้นเสียในขณะ
นั้นเอง กลับถือสัมมาทิฏฐิ เกิดในเทวโลกแล้ว.
พระบรมศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า สมัยนั้นเราตถาคตได้เป็นอาชีวกนั้นแล.
จบ อรรถกถาโลมหังสชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:

พระบรมศาสดา บรรทมเหนือแท่นปรินิพพาน ทรง
ปรารภคำของพระอานนทเถระเจ้าที่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
อย่าเสด็จปรินิพพาน ในพระนครเล็ก ๆ นี้เลย ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่ม
ต้นว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ดังนี้.

ความย่อว่า เมื่อพระตถาคตเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน-
มหาวิหาร ท่านพระสารีบุตรเถระเจ้าปรินิพพานแล้ว ณ ห้อง
ที่ท่านเกิด ในหมู่บ้านนาลกะ เมื่อวันเพ็ญเดือน ๑๒ พระมหา-
โมคคัลลานะปรินิพพานในวันอมาวสี (สิ้นเดือน) ในกาฬปักษ์
ของเดือน ๑๒ นั่นเอง. พระศาสดาทรงพระดำริว่า เมื่อคู่อัคร-

สาวกปรินิพพานแล้วอย่างนี้ แม้เราก็จักปรินิพพานในเมือง-
กุสินารา เสด็จจาริกไปโดยลำดับในเมืองนั้น เสด็จบรรทมด้วย
อนุฏฐานไสยาเหนือพระแท่น ผันพระเศียรทางอุตตรทิศ ระหว่าง
ไม้รังทั้งคู่. ครั้งนั้น พระอานนทเถระเจ้า กราบทูลวิงวอนพระองค์
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าเสด็จปรินิพพาน

ในเมืองเล็ก ๆ นี้ เป็นเมืองดอน เป็นเมืองเขิน เป็นเมืองกิ่ง เชิญ
พระองค์เสด็จปรินิพพาน ณ เมืองมหานคร เมืองใดเมืองหนึ่ง
บรรดามหานคร มีจัมปากะและราชคฤห์เป็นต้นอื่น ๆ พระศาสดา
ตรัสว่า อานนท์ เธออย่ากล่าวว่า นครนี้เป็นเมืองเล็ก ๆ เมืองดอน
เมืองกิ่ง ครั้งก่อนในรัชกาลแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ์สุทัสสนะ

เราอยู่ในเมืองนี้ ในครั้งนั้นเมืองนี้แวดล้อมด้วยกำแพง ๑๒ โยชน์
เป็นมหานครมาแล้ว พระเถระเจ้ากราบทูลอาราธนา ทรงนำ
เอาเรื่องในอดีตมาสาธก มหาสุทัสสนสูตรดังต่อไปนี้ :-

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็ในครั้งนั้น เมื่อพระนางสุภัททาเทวี ทอดพระเนตรเห็น
พระเจ้ามหาสุทัสสนะ เสด็จลงจากปราสาทสุธัมมา เสด็จบรรทม
โดยอนุฏฐานไสยา โดยพระปรัสเบื้องขวา เหนือพระแท่น
อันสมควร ล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๗ ประการ อันราชบุรุษจัดไว้
ในป่าตาลไม่ไกลนัก จึงกราบทูลว่า ข้าแต่พระทูลกระหม่อม

พระนครแปดหมื่นสี่พัน มีราชธานีกุสาวดี เป็นประมุขเหล่านี้
เป็นของทูลกระหม่อมโปรดพอพระทัยในพระนครเหล่านี้เถิด
พระเจ้ามหาสุทัสสนะตรัสว่า เทวี อย่าได้พูดอย่างนี้เลย จง
ตักเตือนเราอย่างนี้เถิดว่า พระองค์จงกำจัดความพอใจในพระนคร

เหล่านี้เสียให้จงได้เถิด อย่าทรงกระทำความเพ่งเล็งเลย พระเทวี
ทูลถามว่า เพราะเหตุไรเล่า พระเจ้าข้า ? ตรัสว่า เราจักต้อง
ตายในวันนี้. ทันใดนั้นพระเทวีทรงพระกรรแสงเช็ดพระเนตร
ตรัสคำอย่างนั้นกะพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยากลำบาก เอาแต่

ทรงพระกรรแสงร่ำไห้ เหล่าสตรีแปดหมื่นสี่พันนางแม้ที่เหลือ
ก็พากันร้องไห้ร่ำไร ถึงในหมู่อำมาตย์เป็นต้น แม้คนเดียวก็ไม่อาจ
อดกลั้นความโศกไว้ได้ ต่างร้องไห้ระงมทั่วกัน พระโพธิสัตว์

ห้ามคนทั้งหมดว่า อย่าเลยพนาย อย่าได้ส่งเสียงคร่ำครวญไปเลย
เพราะสังขารที่ชื่อว่า เที่ยง แม้เท่าเมล็ดงาไม่มีเลย ทุกอย่าง
ไม่เที่ยง มีความแตกดับเป็นธรรมดาทั้งนั้น เมื่อจะทรงสั่งสอน
พระเทวี ตรัสพระคาถานี้ ความว่า

"สังขารทั้งหลาย ไม่เที่ยงหนอ มีความ
เกิดขึ้น และความเสื่อมไป เป็นธรรมดา เกิดขึ้น
แล้วก็ดับไป การเข้าไประงับสังขารเหล่านั้น
เสียได้เป็นสุข" ดังนี้.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 17:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา ความว่า
ดูก่อนสุภัททาเทวีผู้เจริญ สังขารทั้งหลายมีขันธ์และอายตนะ
เป็นต้น อันปัจจัยมีประมาณเท่าใดมาประชุมก่อกำเนิดไว้ ทั้งหมด
นั้น ชื่อว่าไม่เที่ยงไปทั้งหมด เพราะบรรดาสังขารเหล่านี้ รูป
ไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง จักษุไม่เที่ยง ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย

ไม่เที่ยง รวมความว่าสิ่งที่ยังความยินดีให้เกิด ทั้งที่มีวิญญาณ
และหาวิญญาณมิได้ มีอันใดบ้าง อันนั้นทั้งหมด ไม่เที่ยงทั้งนั้น
ด้วยเหตุนี้จงกำหนดถือเอาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ.
เพราะเหตุไร ? เพราะเป็นอุปปาทวยธรรม คือ เพราะสังขาร

เหล่านี้ทั้งหมดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาด้วย และมีความเสื่อม
เป็นธรรมดาด้วย ล้วนมีความเกิดขึ้นและความแตกดับเป็น
สภาวะทั้งนั้น เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบเถิดว่า เป็นของ
ไม่เที่ยง ก็เพราะไม่เที่ยง จึงเกิดแล้วก็ดับ คือแม้จะเกิดแล้ว
ถึงความดำรงอยู่ได้ ก็ต้องดับทั้งนั้น แท้จริง สังขารเหล่านี้

ทุกอย่างกำลังเกิด ชื่อว่าย่อมเกิดขึ้น กำลังสลาย ชื่อว่าย่อมดับ
เมื่อความเกิดขึ้นแห่งสังขารเหล่านั้น มีอยู่ ชื่อว่า ฐีติ จึงมีได้
เมื่อ ฐีติมีอยู่ ชื่อว่า ภังคะ จึงมีได้ เพราะเมื่อสังขารไม่เกิดขึ้น
ฐีติก็มีไม่ได้, ฐีติขณะปรากฏแล้ว ชื่อว่าความไม่แตกดับ ก็

ไม่มี เพราะฉะนั้น สังขารแม้ทั้งหมด ถึงขณะทั้ง ๓ แล้ว
ก็ย่อมดับไปในขณะนั้น ๆ เอง เพราะเหตุนั้น สังขารเหล่านี้
แม้ทั้งหมด จึงเป็นของไม่เที่ยง เป็นไปชั่วขณะ เป็นสิ่งเปลี่ยนแปลง
ได้ ไม่ยั่งยืน เปื่อยเน่า หวั่นไหว โยกคลอน ตั้งอยู่ได้ไม่นาน

แปรผันได้ เป็นของชั่วคราว ไร้สาระ เป็นเช่นกับของหลอกลวง
พยับแดด และฟองน้ำ ด้วยอรรถว่า เป็นของเป็นไปชั่วขณะ.
ดูก่อนสุภัททาเทวีผู้เจริญ เพราะเหตุไรเธอจึงยังสุขสัญญา
(ความสำคัญว่าเป็นสุข) ให้บังเกิดขึ้นในสังขารทั้งหลายเหล่านั้น
เล่า อย่าได้ถือเอาอย่างนั้นเลย.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร