วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 05:18  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:53 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
โคดมทรงใช้สอยมัน ก็ต้องย่อยยับ แม้พระวิหารก็จักพินาศ
ทีนั้นพวกเราจักต้องถูกครหา เราต้องถวายผ้าสาฎกอื่น ๆ มาก
ผืนแด่พระสมณโคดม ให้พระองค์ทรงทิ้งผ้านั้นเสีย เขาให้คน
ถือผ้าสาฎกหลายผืน ไปสู่พระวิหารเวฬุวันกับบุตร ถวายบังคม

พระศาสดา แล้วยืนอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระสมณโคดม ได้ยินว่าพระองค์ทรงถือเอาคู่ผ้าสาฎก
ในป่าช้าผีดิบ จริงหรือพระเจ้าข้า ? ตรัสว่า จริง พราหมณ์
กราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดม คู่ผ้าสาฎกนั้นเป็นอวมงคล เมื่อ
พระองค์ทรงใช้สอยมันจะต้องย่อยยับ ถึงพระวิหารทั้งสิ้นก็จัก

ต้องทำลาย ถ้าผ้านุ่ง ผ้าห่มของพระองค์มีไม่พอ พระองค์โปรด
รับผ้าสาฎกเหล่านี้ไว้ ทิ้งคู่ผ้าสาฎกนั้นเสียเถิด. ครั้งนั้นพระ-
ศาสดาตรัสกะเขาว่า พราหมณ์ พวกเรามีนามว่าบรรพชิต
ผ้าเก่า ๆ ที่เขาทิ้ง หรือตกอยู่ในที่เช่นนั้น คือที่ป่าช้าผีดิบ ที่

ท้องถนน ที่กองขยะ ที่ท่าอาบน้ำ ที่หนทางหลวง ย่อมควรแก่
พวกเรา ส่วนท่านเองมิใช่แต่จะเพิ่งเป็นคนมีลัทธิอย่างนี้ในบัดนี้
เท่านั้น แม้ในครั้งก่อน ก็เคยมีลัทธิอย่างนี้เหมือนกัน เขากราบทูล
อาราธนาทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ามคธราช ผู้ทรงธรรม เสวยราชสมบัติ
ในพระนครราชคฤห์ แคว้นมคธ. ครั้งนั้นพระโพธิสัตว์เกิดใน
สกุลอุทิจจพราหมณ์ สกุลหนึ่ง ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสาแล้ว บวชเป็น
ฤๅษียังอภิญญา และสมาบัติให้เกิดแล้ว พำนักอยู่ในป่าหิมพานต์

ในกาลครั้งหนึ่ง ออกจากป่าหิมพานต์มาถึงพระราชอุทยาน
ในพระนครราชคฤห์ พำนักอยู่ที่นั้น วันที่สองเข้าสู่พระนคร
เพื่อต้องการภิกขาจาร พระราชาทอดพระเนตรเห็นท่านแล้ว
รับสั่งให้นิมนต์มา อาราธนาให้นั่งในปราสาท ให้ฉันโภชนาหาร

แล้ว ทรงถือเอาปฏิญญา เพื่อการอยู่ในพระอุทยานตลอดไป.
พระโพธิสัตว์ฉันในพระราชนิเวศน์ พักอยู่ในพระราชอุทยาน
กาลครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์ ได้มีพราหมณ์ชื่อว่าทุสส-
ลักขณพราหมณ์ (พราหมณ์ผู้รู้ลักษณะผ้า). เรื่องทั้งปวงตั้งแต่

เขาเก็บคู่ผ้าสาฎกไว้ในหีบเป็นต้นไปเช่นเดียวกันกับเรื่องก่อน
นั่นแหละ (แปลกแต่ตอนหนึ่ง) เมื่อมาณพไปถึงป่าช้า พระโพธิสัตว์
ไปคอยอยู่ก่อนแล้ว นั่งอยู่ที่ประตูป่าช้า เก็บเอาคู่ผ้าที่เขาทิ้ง

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
แล้วไปสู่อุทยาน มาณพไปบอกแก่บิดา. บิดาคิดว่า ดาบสผู้ อ
ใกล้ชิดราชสกุล จะพึงฉิบหาย จึงไปสำนักพระโพธิสัตว์ กล่าวว่า
ข้าแต่พระดาบส ท่านจงทิ้งผ้าสาฎกที่ท่านถือเอาแล้วเสียเถิด
จงอย่าฉิบหายเสียเลย. พระดาบสแสดงธรรมแก่พราหมณ์ว่า ผ้า
เก่า ๆที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ควรแก่พวกเรา พวกเรามิใช่พวกถือ

มงคลตื่นข่าว ขึ้นชื่อว่าการถือมงคลตื่นข่าวนี้ พระพุทธเจ้า
พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ทั้งหลาย ไม่สรรเสริญเลย
เหตุนั้น บัณฑิตต้องไม่เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว. พราหมณ์ฟังธรรม
แล้วทำลายทิฏฐิเสีย ถึงพระโพธิสัตว์เป็นสรณะแล้ว แม้พระ-

โพธิสัตว์ก็มีฌานมิได้เสื่อม ได้เป็นผู้มีพรหมโลกเป็นที่ไปใน
เบื้องหน้า แม้พระบรมศาสดาทรงนำเรื่องอดีตนี้มาแล้ว ครั้น
ตรัสรู้พระสัมโพธิญาณแล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์
ตรัสพระคาถานี้ ความว่า :-

"ผู้ใดไม่ถือมงคลตื่นข่าว ไม่ถืออุกกาบาต
ไม่ถือความฝัน ไม่ถือลักษณะดีหรือชั่ว ผู้นั้น
ชื่อว่า ล่วงพ้นโทษแห่งการถือมงคลตื่นข่าว
ครอบงำกิเลสเครื่องประกอบสัตว์ไว้ในภพที่
เป็นคูกั้น ย่อมไม่กลับมาเกิดอีก" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยสฺส มงฺคลา สมูหตา ความว่า
มงคลเหล่านี้คือ ทิฏฐิมงคล มงคลที่เกิดเพราะสิ่งที่เห็น ๑ สุตมงคล
มงคลที่เกิดเพราะเรื่องที่ฟัง ๑ มุตมงคล มงคลที่เกิดเพราะอารมณ์
ที่ได้ทราบ ๑ อันพระอรหันตขีณาสพใด ถอนขึ้นได้แล้ว.

บทว่า อุปฺปาตา สุปินา จ ลกฺขณา จ ความว่า เรื่องอุบาท
ที่เป็นเรื่องใหญ่ ๕ ประการเหล่านี้คือ จันทรคราธรูป อย่างนี้
จักต้องมี สุริยคราธรูปอย่างนี้จักต้องมี นักษัตคราธรูปอย่างนี้
จักต้องมีอุกกาบาตรูปอย่างนี้จักต้องมี ลำพู่กันรูปอย่างนี้

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
จักต้องมี อีกทั้งความฝันมีประการต่าง ๆ ลักษณะทั้งหลาย
มีอาทิอย่างนี้ คือ ลักษณะคนโชคดี ลักษณะคนโชคร้าย ลักษณะ
หญิง ลักษณะชาย ลักษณะทาส ลักษณะทาสี ลักษณะคาม
ลักษณะศร ลักษณะอาวุธ ลักษณะผ้า เหล่านี้เป็นฐานแห่งทิฏฐิ
ท่านผู้ใดถอนได้หมดแล้ว คือไม่เชื่อถือเอาเป็นมงคล หรืออวมงคล
แก่ตน ด้วยเรื่องอุปบาตเป็นต้นเหล่านี้.

บทว่า โส มงฺคลโทสวีติวตฺโต ความว่า ท่านผู้นั้นเป็นภิกษุ
ผู้ขีณาสพ ล่วงพ้น ก้าวผ่าน ละเสียได้ซึ่งโทษแห่งมงคลทุกอย่าง.

บทว่า ยุคโยคาธิคโก น ชาตุเมติ ความว่า กิเลสที่มารวม
กันเป็นคู่ ๆ โดยนัยมีอาทิว่า โกธะความโกรธ และอุปนาหะ
ความผูกโกรธ มักขะความลบหลู่ และปลาสะความตีเสมอดังนี้
ชื่อว่ายุคะ. กิเลส ๔ อย่างเหล่านี้ คือ กามโยคะ ภวโยคะ ทิฏฐิโยคะ

อวิชชาโยคะ ชื่อว่า โยคะ เพราะเป็นเหตุประกอบสัตว์ไว้ในสงสาร
ภิกษุผู้เป็นพระขีณาสพ บรรลุแล้วคือ ครอบงำไว้ได้แล้ว ล่วงพ้น
แล้วได้แก่ ผ่านไปแล้วด้วยดี ซึ่งยุคและโยคะ คือทั้งยุคและโยคะ
เหล่านั้น.

บทว่า น ชาตุเมติ ความว่า ท่านผู้นั้นย่อมไม่ถึงคือไม่ต้อง
มาสู่โลกนี้ ด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิใหม่ โดยแน่นอนทีเดียว.
พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมแก่พราหมณ์ด้วยพระ-
คาถานี้ ด้วยประการฉะนี้ แล้วทรงประกาศสัจธรรม เมื่อจบ
สัจจะ พราหมณ์กับบุตร ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. พระศาสดา
ทรงประชุมชาดกว่า บิดาและบุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นบิดา
และบุตรคู่นี้แหละ ส่วนดาบสได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามังคลชาดกที่ ๗

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อทรงอาศัยพระนครสาวัตถี ประทับอยู่
ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภโอมสวาทสิกขาบท ตรัส
พระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า กลฺยาณเมว มุญฺเจยฺย ดังนี้.

แม้เรื่องทั้งสอง ก็เป็นเช่นเดียวกับเรื่องที่กล่าวไว้แล้ว
ในนันทวิสาลชาดก ในหนหลัง. (แปลกแต่ว่า) ในชาดกนี้ พระ-
โพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นโคทรงกำลัง ชื่อ สารัมภะ ของพราหมณ์
ผู้หนึ่งในพระนครตักกสิลา. พระศาสดาตรัสเรื่องในอดีตนี้แล้ว
ครั้นตรัสรู้พระสัมโพธิญาณแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"พึงเปล่งแต่วาจาดี เท่านั้น ไม่พึงเปล่ง
วาจาชั่วเลย การเปล่งวาจาดีสำเร็จประโยชน์ได้
เปล่งวาจาชั่ว ย่อมเดือดร้อน" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กลฺยาณเมว มุญฺเจยฺย ความว่า
บุคคลพึงเปล่ง คือพึงแถลงได้แก่พึงกล่าวถ้อยคำที่พ้นจากโทษ ๔
ชื่อว่า ถ้อยคำดีงาม คือไม่มีโทษเท่านั้น.
บทว่า น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ ความว่า ไม่พึงเปล่งคำชั่ว
คือคำลามก ได้แก่คำอันไม่เป็นที่รักไม่เป็นที่พอใจของคนอื่น ๆ.

บทว่า โมกฺโข กลฺยาณิยา สาธุ ความว่า การเปล่งวาจาดี
เท่านั้น ยังประโยชน์ให้สำเร็จ คือเป็นความดีงาม เป็นความ
เจริญในโลกนี้.
บทว่า มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ ความว่า ครั้นเปล่ง คือแถลง
ได้แก่กล่าวคำชั่ว คือคำหยาบแล้วบุคคลนั้นย่อมเดือดร้อน คือ
เศร้าโศก ลำบาก.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ด้วยประการฉะนี้
แล้ว ทรงประชุมชาดกว่า พราหมณ์ในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์
พราหมณีได้เป็นอุบลวรรณา ส่วนโคสารัมภะ ได้มาเป็นเรา
ตถาคตฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสารัมภชาดกที่ ๘

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:57 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้มักหลอกลวงรูปหนึ่งตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า วาจาว กิร เต อาสิ ดังนี้.

เรื่องการหลอกลวง จักปรากฏแจ้งในอุททาลชาดก.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุง-
พาราณสี ชฎิลโกงผู้หนึ่งเป็นดาบสหลอกลวง อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน
ตำบลหนึ่ง กุฎุมพีคนหนึ่ง ช่วยสร้างศาลาในป่าให้ดาบสนั้น
ให้ดาบสอยู่ในบรรณศาลา ปรนนิบัติด้วยอาหารอันประณีต

ในเรือนของตน เขาเชื่อดาบสโกงนั้นว่าท่านผู้นี้เป็นผู้มีศีล
นำเอาทองพันแท่งไปยังศาลาของดาบส ฝังไว้ในแผ่นดิน เพราะ
กลัวโจร กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พระคุณเจ้าพึงดูแล
ทองนี้ด้วย. ครั้งนั้น ดาบสกล่าวกะเขาว่า คุณ !การพูดแบบนี้
แก่พวกที่ได้นามว่า บรรพชิตไม่สมควรเลย ขึ้นชื่อว่า ความโลภ

ในสิ่งของของผู้อื่น ของพวกเราไม่มีเลย เขากล่าวว่า ดีละ พระ-
คุณเจ้าผู้เจริญ เชื่อถ้อยคำของดาบส แล้วหลีกไป ดาบสชั่วคิดว่า
เราอาจเลี้ยงชีพด้วยทรัพย์มีประมาณเท่านี้ได้ ล่วงไปได้สอง-สาม
วัน ก็ยักเอาทองนั้นไปไว้ ณ ที่หนึ่งระหว่างทาง ย้อนมาเข้าไป

ยังบรรณศาลา พอวันรุ่งขึ้น ทำภัตกิจในเรือนของกุฎุมพีแล้ว
กล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ พวกเราอาศัยท่านอยู่นานแล้ว ความ
พัวพันกันกับพวกมนุษย์ย่อมมี ก็ธรรมดาว่า ความพัวพันเป็น
มลทินของบรรพชิต เพราะฉะนั้นอาตมาจะขอลาไป แม้กุฏุมพี
จะอ้อนวอนแล้ว ๆ เล่า ๆ ก็ไม่ปรารถนาจะกลับ ครั้งนั้นกุฎุมพี

จึงกล่าวกะดาบสว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็นิมนต์ไปเถิด พระคุณเจ้า-
ข้า ดังนี้แล้ว ตามไปส่งจนถึงประตูบ้านแล้วจึงกลับ ดาบสเดิน
ไปได้หน่อยหนึ่ง คิดว่า เราควรจะลวงกุฎุมพีนี้ ก็เอาหญ้าวางไว้
ระหว่างชฎา ย้อนกลับไป กุฏุมพีถามว่าพระคุณเจ้าผู้เจริญ
พระคุณเจ้ากลับมาทำไม ขอรับ ? ตอบว่า ผู้มีอายุ หญ้าเส้น
หนึ่ง เกี่ยวชฎาของฉันไป จากชายคาเรือนของพวกท่าน ขึ้น

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ชื่อว่า อทินนาทาน ไม่สมควรแก่บรรพชิต อาตมาจึงรีบนำมัน
กลับมา กุฎุมพีกล่าวว่า จงทิ้งมันเสีย แล้วนิมนต์ไปเถิดครับ
เลื่อมใสว่า พระดาบสไม่ถือเอาสิ่งของ ๆ ผู้อื่น ซึ่งแม้เพียง
เส้นหญ้า โอ พระคุณเจ้าของเรา เคร่งครัดจริง ดังนี้กราบแล้ว
ส่งพระดาบสไป.

ก็ในครั้งนั้นพระโพธิสัตว์ ไปยังชนบทชายแดนเพื่อต้องการ
สิ่งของ อาศัยพักแรมในบ้านกุฎุมพีท่านฟังคำของดาบสแล้ว
คิดว่า ดาบสร้ายผู้นี้ จักต้องถือเอาอะไร ๆ ของกุฎุมพีนี้ไป
เป็นแน่ จึงถามกุฎุมพีว่า ดูก่อนสหาย ท่านได้ฝากฝังอะไร ๆ

ไว้ในสำนักของดาบสนั้น มีหรือไม่ ? กุฎุมพีตอบว่า มีอยู่สหาย
เราฝากฝังทองไว้ ๑๐๐ แท่ง. พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น
ท่านจงรีบไปตรวจตราดูทองนั้นเถิด เขาไปบรรณศาลาไม่เห็น
ทองนั้น รีบกลับมาบอกว่า ทองไม่มี สหาย. พระโพธิสัตว์บอกว่า
ทองของท่านผู้อื่นไม่ได้เอาไปดอก ดาบสร้ายนั้นคนเดียวเอาไป

มาเถิด เรามาช่วยกันติดตามจับดาบสนั้น แล้วรีบตามไป จับ
ดาบสโกงได้ ทุบบ้าง เตะบ้าง ให้นำเอาทองมาคืน แล้วจับไว้.
พระโพธิสัตว์เห็นทองแล้วกล่าวว่า ดาบสนี่ขโมยทอง ๑๐๐ แท่ง
ยังไม่ข้องใจ ไพล่มาข้องใจในเรื่องเพียงเส้นหญ้า เมื่อจะติเตียน
ดาบสนั้น กล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"น้อยหรือถ้อยคำของเจ้า ช่างสละสลวย
พูดจาน่านับถือจริง ๆ เจ้าข้องใจในวัตถุเพียง
เส้นหญ้า แต่เมื่อขโมยทองร้อยแท่งไป ไม่ข้องใจ
เลยนะ" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วาจาว กิร เต อาสิ สณฺหา
สขิลภาณิโน ความว่า เมื่อท่านกล่าวคำอ่อนหวานน่านับถืออยู่
อย่างนี้ว่า การถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แม้เพียงเส้นหญ้า
ก็ไม่ควรแก่พวกบรรพชิต ดังนี้ ถ้อยคำของท่านนั้นอ่อนหวาน
น้อยอยู่เมื่อไร อธิบายว่า คำพูดของท่านนั้นเกลี้ยงเกลาแท้ ๆ.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:58 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า ติณมตฺเต อสชฺชิตฺโถ ความว่า ดูก่อนชฎิลโกง
ท่านทำความรำคาญ (เคร่ง) ในเส้นหญ้าเส้นเดียว ดูติดใจ
ข้องใจเกาะเกี่ยวเสียจริง ๆ แต่เมื่อท่านขโมยทอง ๑๐๐ แท่งนี้ ช่างไม่
ติดใจช่างหมดข้อข้องใจเลยทีเดียว.

พระโพธิสัตว์ ครั้นติเตียนดาบสนั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว
ก็ให้โอวาทแก่ดาบสว่า ดูก่อนชฎิลโกง ท่านอย่าได้ทำกรรมเห็น
ปานนี้ ต่อไปอีก ดังนี้แล้ว ก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว จึงตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้นที่ภิกษุนี้เป็นผู้หลอกลวง
แม้ในกาลก่อน ก็ได้เป็นผู้หลอกลวงแล้วเหมือนกัน ดังนี้แล้ว
ทรงประชุมชาดกว่า ดาบสโกงในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุหลอกลวง
ในครั้งนี้ ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากุหกชาดกที่ ๙

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:59 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภท่านอนาบิณฑิกเศรษฐี ตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า โย ปุพฺเพ กตกลฺยาโณ ดังนี้.

ได้ยินว่า เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทผู้หนึ่ง ได้เป็นอทิฏฐสหาย
(สหายผู้ยังไม่เคยพบกัน) ของท่านอนาถบิณฑิกะ กาลครั้งหนึ่ง
เศรษฐีนั้นบรรทุกเกวียน ๕๐๐ เล่ม เต็มไปด้วยสิ่งของที่เกิดขึ้น
ในปัจจันตชนบท กล่าวกะพวกคนงานว่า ไปเถิดท่านผู้เจริญ

ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงนำของสิ่งนี้ไปสู่พระนครสาวัตถี ขาย
ให้แก่มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกะ สหายของเราด้วยราคาของ
ตอบแทน แล้วพากันขนของตอบแทนมาเถิด. คนงานเหล่านั้น
รับคำของท่านเศรษฐีแล้ว พากันไปสู่พระนครสาวัตถีพบท่าน

มหาเศรษฐีอนาถบิณฑิกแล้วให้บรรณาการ แจ้งเรื่องนั้นให้ทราบ
แม้ท่านมหาเศรษฐีเห็นแล้วก็กล่าว ว่า พวกท่านมาดีแล้ว จัดการ
ให้ที่พักและเสบียงแก่คนเหล่านั้น ไต่ถามความสุขของเศรษฐี
ผู้เป็นสหายรับซื้อภัณฑะไว้ แล้วให้ภัณฑะตอบแทนไป คนงาน

เหล่านั้นพากันไปสู่ปัจจันตชนบท แจ้งเนื้อความนั้นแก่เศรษฐี
ของตน ต่อมาท่านอนาถบิณฑิกะ ก็ส่งเกวียน ๕๐๐ เล่มอย่างนั้น
แหละ ไปในปัจจันตชนบทนั้นบ้าง พวกมนุษย์ไปในปัจจันตชนบท
นั้นแล้ว นำบรรณาการไปมอบให้ท่านเศรษฐีปัจจันตชนบท

เศรษฐีนั้นถามว่า พวกเจ้ามาจากที่ไหนเล่า ครั้นพวกคนเหล่านั้น
บอกว่า มาจากพระนครสาวัตถี สำนักอนาถบิณฑิกะผู้เป็นสหาย
ของท่าน ก็หัวเราะเยาะว่า คำว่า อนาถบิณฑิกะ จักเป็นชื่อของ
บุรุษคนไหน ๆ ก็ได้ แล้วรับเครื่องบรรณาการไว้ ส่งกลับไปว่า

พวกเจ้าจงไปกันเถิด มิได้จัดการเรื่องที่พักและให้เสบียงเลย
คนเหล่านั้นต้องขายสิ่งของกันเอง พากันขนสิ่งของตอบแทน
มาพระนครสาวัตถี แล้วแจ้งเรื่องนั้นแก่เศรษฐี. อยู่ต่อมา เศรษฐี
ชาวปัจจันตชนบทส่งเกวียน ๕๐๐ เล่มอย่างนั้นแหละ ไปสู่

พระนครสาวัตถีซ้ำอีกครั้งหนึ่ง พวกมนุษย์น้อมนำบรรณาการ
ไปพบท่านมหาเศรษฐีฝ่ายพวกคนของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เห็นพวกนั้นแล้วกล่าวว่า ท่านขอรับ พวกผมจักกำหนดที่พัก

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 06:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อาหาร และเสบียงของพวกนั้นเอง แล้วบอกให้พวกนั้นปลดเกวียน
ไว้ในที่เช่นนั้น ภายนอกพระนคร กล่าวว่า พวกท่านพากันอยู่
ที่นี่เถิด ข้าวยาคูแลภัตร และเสบียงสำหรับพวกท่าน ในเรือนของ
พวกท่านจักพอมี แล้วพากันไปเรียกพวกทาสและกรรมกรมา
ประชุมกัน พอได้เวลาเที่ยงคืน ก็คุมกันปล้นเกวียนทั้ง ๕๐๐ เล่ม

แย่งเอาแม้กระทั่งผ้านุ่ง ผ้าห่มของคนเหล่านั้น ไล่โคให้หนีไปหมด
ถอดล้อเกวียน ๕๐๐ เล่มเสียหมดวางไว้ที่แผ่นดิน แล้วขนเอา
แต่ล้อเกวียนทั้งหลายไป พวกชาวปัจจันตชนบท ไม่เหลือแม้แต่
ผ้านุ่งต่างกลัวพากันรีบหนีไปสู่ปัจจันตชนบท ฝ่ายคนของท่าน

เศรษฐี พากันบอกเรื่องนั้นแก่ท่านมหาเศรษฐี.ท่านมหาเศรษฐี
คิดว่า บัดนี้มีเรื่องนำข้อความที่จะกราบทูลแล้ว จึงไปสำนัก
พระบรมศาสดา กราบทูลเรื่องราวทั้งหมดตั้งแต่ต้น พระศาสดา
ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทนั้น เป็นผู้มีปกติ
ประพฤติอย่างนี้ ในบัดนี้เท่านั้นก็หามิได้ แม้ในกาลก่อนก็ได้มี

ปกติประพฤติเช่นนี้มาแล้วเหมือนกัน อันท่านเศรษฐีกราบทูล
อาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมีสมบัติมากในพระนคร-
พาราณสี เศรษฐีชาวปัจจันตชนบทผู้หนึ่ง ได้เป็นอทิฏฐสหาย
ของท่านเรื่องอดีตทั้งหมด เป็นเหมือนกับเรื่องในปัจจุบันนั่นแหละ

(แปลกกันแต่ว่า) พระโพธิสัตว์เมื่อคนของตนแจ้งให้ทราบว่า
วันนี้พวกผมทำงานชื่อนี้ ดังนี้แล้วก็กล่าวว่า พวกนั้นไม่รู้อุปการะ

ที่เขาทำแก่ตนก่อน จึงพากันได้รับกรรมเช่นนี้ในภายหลัง เพื่อ
จะแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุมกัน จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"ผู้ใดอันท่านทำดีให้ก่อน ทำประโยชน์
ให้ก่อน แต่ไม่รู้จักคุณผู้นั้น เมื่อมีกิจการเกิดขึ้น
ภายหลัง ย่อมไม่ได้ผู้ช่วยเหลือ" ดังนี้.
ในคาถานั้นประมวลข้ออธิบายได้ดังนี้ :- บรรดาชนมี
กษัตริย์เป็นต้น บุรุษผู้ใดผู้หนึ่ง มีความดีอันบุคคลอื่น คือมี
อุปการะอันท่านผู้อื่นกระทำให้ก่อน คือทีแรก มีประโยชน์อัน
คนอื่นกระทำให้คือมีผู้ช่วยเหลือทำกิจการให้สำเร็จได้ก่อน
มิได้รู้สำนึกคุณงามความดี และประโยชน์ที่ผู้อื่นกระทำไว้ในตน
นั้นเลย ผู้นั้นเมื่อกิจการของตนเกิดขึ้นในภายหลัง ย่อมหาคนช่วย
ทำกิจการนั้นให้ไม่ได้.
พระโพธิสัตว์แสดงธรรมด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้
แล้ว กระทำบุญทั้งหลาย มีให้ทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า เศรษฐีชาวปัจจันตชนบท ในครั้งนั้น ได้มาเป็นเศรษฐี
ปัจจันตชนบทคนนี้แหละ ส่วนพาราณสีเศรษฐีได้มาเป็นเรา
ตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอกตัญญูชาดกที่ ๑๐


:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อรรถกถาลิตตชาดกที่ ๑

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภการบริโภคปัจจัยที่มิได้พิจารณาตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ มีคำเริ่มต้นว่า ลิตฺตํ ปรเมน เตชสา ดังนี้.

ได้ยินมาว่า ในกาลนั้น พวกภิกษุได้ปัจจัยมีจีวรเป็นต้น
โดยมากไม่ได้พิจารณา แล้วบริโภคภิกษุเหล่านั้นผู้ไม่ได้
พิจารณาปัจจัย ๔ แล้วบริโภค โดยมากจะไม่พ้นจากนรกและ
กำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน. พระศาสดาทรงทราบเหตุนั้น ตรัส
ธรรมกถาแก่ภิกษุทั้งหลาย โดยปริยายเป็นอันมากตรัสถึงโทษ

ในการไม่พิจารณาปัจจัย แล้วใช้สอย ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมดาภิกษุได้รับปัจจัย ๔ แล้ว ไม่พิจารณาบริโภคไม่ควรเลย
เพราะฉะนั้น จำเดิมแต่นี้ พวกเธอต้องพิจารณาแล้วจึงค่อยบริโภค
เมื่อทรงแสดงวิธีพิจารณา ทรงวางแบบแผนไว้ โดยนัยมีอาทิว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อนึ่งภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาโดยแยบคาย

แล้ว จึงใช้สอยจีวร ฯลฯ เพื่อต้องการปกปิดอวัยวะที่น่าละอาย
แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การพิจารณาปัจจัย ๔ อย่างนี้
แล้วบริโภค ย่อมสมควร ขึ้นชื่อว่าการไม่พิจารณาแล้วบริโภค
เป็นเช่นกับบริโภคยาพิษที่ร้ายแรงยิ่งใหญ่ ด้วยว่าคนในครั้งก่อน

ไม่พิจารณา ไม่รู้โทษ บริโภคยาพิษ ผลที่สุดต้องเสวยทุกข์
ใหญ่หลวง ดังนี้แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลมีโภคะมาก ตระกูล
หนึ่ง เจริญวัยแล้วเป็นนักเลงสกา ครั้นเวลาต่อมามีนักเลงสกา-
โกงอีกคนหนึ่ง เล่นกับพระโพธิสัตว์ เมื่อตนเป็นฝ่ายชนะก็ไม่

ทำลายสนามเล่น แต่ในเวลาแพ้ ก็เอาลูกสกาใส่เสียในปาก
กล่าวว่า ลูกสกาหายเสียแล้ว พาลเลิกหลีกไป. พระโพธิสัตว์
ทราบเหตุของเขา คิดว่า ช่างเถิด เราจักหาอุบายแก้เผ็ดในเรื่องนี้
ดังนี้แล้ว รวบเอาลูกสกาไป ย้อมด้วยยาพิษอย่างแรงในเรือน

ของตน แล้วตากให้แห้ง บ่อย ๆ ครั้ง แล้วนำเอาลูกสกาเหล่านั้น
ไปสู่สำนักของเขา กล่าวว่า มาเถิดเพื่อน เราเล่นสกากันเถิด.
เขารับคำว่า ดีละเพื่อน จัดแจงสนามเล่น เล่นกับพระโพธิสัตว
์เรื่อยไป พอเวลาตนแพ้ ก็เอาลูกสกาลูกหนึ่งใส่ปากเสีย ครั้น
พระโพธิสัตว์เห็นเขาทำอย่างนั้น เพื่อจะท้วงว่า กลืนเข้าไปเถิด
ภายหลังเจ้าจักรู้ว่า นี้มันชื่อนี้ จึงกล่าวคาถานี้ ความว่า

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"บุรุษกลืนลูกสกาอันเคลือบด้วยยาพิษ
อย่างแรง ยังไม่รู้ตัว ดูก่อนเจ้าคนร้าย เจ้านักเลง
ชั่ว จงกลืนเถิด จงกลืนกินเข้าไปเถิด ภายหลัง
ผลร้ายจักมีแก่เจ้า" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลิตฺตํ ความว่า ลูกสกาที่เคลือบ
ไว้แล้ว ย้อมไว้แล้ว.

บทว่า ปรเมน เตชสา ความว่า ด้วยยาพิษอันร้ายแรง
สมบูรณ์ด้วยฤทธิ์เดชอันสูง.
บทว่า คิลํ แปลว่า กลืน.
บทว่า อกฺขํ แปลว่า ลูกสกา.

บทว่า น พุชฺฌติ ความว่า ไม่รู้ตัวว่าเมื่อเรากลืนลูกสกา
นี้อยู่ ชื่อว่าต้องกระทำกรรมนี้.
บทว่า คิล เร ความว่า กลืนเถิดเจ้าคนร้าย.
พระโพธิสัตว์กล่าวย้ำซ้ำเตือนอีกว่า คิล จงกลืน.
บทว่า ปุจฺฉา เต กฏุกํ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อเจ้ากลืน
ลูกสกานี้ไปแล้ว ภายหลังพิษอันร้ายแรงจักมี.

ขณะเมื่อพระโพธิสัตว์กำลังพูดอยู่นั่นแหละ เขาสลบไป
แล้วด้วยกำลังของยาพิษ นัยน์ตากลับคอตก ล้มฟาดลง พระ-
โพธิสัตว์คิดว่า ควรจะให้ชีวิตเป็นทานแม้แก่เขา จึงให้ยาสำรอก
ที่ปรุงด้วยโอสถจนสำรอกออกมา และให้กินเนยใส น้ำอ้อย น้ำผึ้ง
และน้ำตาลกรวด เป็นต้น ทำให้หายโรค แล้วสั่งสอนว่า อย่าได้
กระทำกรรมเห็นปานนี้อีก ดังนี้แล้วกระทำบุญมีทานเป็นต้น
ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขึ้นชื่อว่าการไม่พิจารณาแล้วบริโภค ย่อม
เป็นเช่นกับการบริโภคยาพิษ อันตนเคยกระทำไว้ แล้วทรง
ประชุมชาดกว่า นักเลงผู้เป็นบัณฑิตในกาลนั้น ได้มาเป็นเรา
ตถาคต ส่วนนักเลงโกง จะไม่กล่าวถึงในเรื่องนี้ เหมือนอย่าง
ผู้ใดไม่ปรากฏในกาลนี้ ผู้นั้นก็ไม่กล่าวถึงในเรื่องทั้งปวง ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาลิตตชาดกที่ ๑



:b8: :b8: :b8:
:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรง
ปรารภพระอานันทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้น
ว่า อุกกฏฺเฐ สูรมิจฺฉนฺติ ดังนี้.

สมัยหนึ่ง เหล่าพระสนมของพระเจ้าโกศลคิดกันว่า ขึ้น
ชื่อว่า การเสด็จอุปบัติแห่งพระพุทธเจ้าเป็นสภาพหาได้ยาก
การกลับได้เกิดเป็นมนุษย์ และความเป็นผู้มีอายตนะบริบูรณ์เล่า
ก็หาได้ยากเหมือนกัน อนึ่งพวกเราแม้จะได้พบความพร้อมมูล
แห่งขณะซึ่งหาได้ยากนี้ ก็ไม่ได้เพื่อจะไปสู่พระวิหาร ฟังธรรม

หรือกระทำการบูชา หรือให้ทานตามความพอใจของตนได้ ต้อง
อยู่กันเหมือนถูกเก็บเข้าไว้ในหีบ พวกเราจักกราบทูลพระราชา
ให้ทรงพระกรุณาโปรดนิมนต์พระภิกษุรูปหนึ่ง ซึ่งสมควร
แสดงธรรมโปรดพวกเรา จักพากันฟังธรรมในสำนักของท่าน
ข้อใดที่พวกเราต้องศึกษา ก็จักพากันเรียนข้อนั้นจากท่าน พากัน

บำเพ็ญบุญมีให้ทานเป็นต้น ด้วยประการอย่างนี้ การได้เฉพาะ
ซึ่งขณะนี้ของพวกเรา จักมีผล พระสนมเหล่านั้นแม้ทั้งหมด พากัน
เข้าเฝ้าพระราชา กราบทูลเหตุที่คบคิดกัน พระราชาทรงรับสั่ง
ว่าดีแล้ว ครั้นวันหนึ่ง มีพระประสงค์จะทรงเล่นอุทยาน รับสั่ง

ให้เรียกนายอุทยานบาลมาเฝ้า ตรัสว่า เจ้าจงชำระอุทยาน
นายอุทยานบาล เมื่อจะชำระอุทยาน พบพระศาสดาประทับนั่ง
ณ โคนไม้ต้นหนึ่ง รีบไปสู่ราชสำนัก กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้สมมติเทพ อุทยานสะอาดราบรื่นแล้ว ก็แต่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า

ประทับนั่ง ณ โคนไม้ต้นหนึ่งในอุทยานนั้น พระเจ้าข้า. พระราชา
ตรัสว่า ดีแล้วสหาย เราจักไปฟังธรรมในสำนักของพระศาสดา
เสด็จขึ้นราชรถทรง อันประดับแล้วเสด็จไปสู่พระอุทยาน ได้
เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ก็ในสมัยนั้น อุบาสกผู้เป็นพระอนาคามีผู้หนึ่ง ชื่อว่า
ฉัตตปาณี นั่งฟังธรรมอยู่ในสำนักของพระศาสดา. พระราชา
เห็นฉัตตปาณีอุบาสกแล้วเกิดระแวง ประทับหยุดอยู่ครู่หนึ่ง
แล้วทรงพระดำริว่า ถ้าบุรุษผู้นี้เป็นคนชั่วละก็คงไม่นั่งฟังธรรม
ในสำนักของพระศาสดา ชะรอยบุรุษผู้นี้จักไม่ใช่คนชั่ว แล้ว

เสด็จเข้าเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วเสด็จประทับนั่ง ณ
ส่วนข้างหนึ่ง อุบาสกมิได้กระทำการรับเสด็จ หรือการถวาย
บังคม ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า ด้วยเหตุนั้น พระราชา
จึงไม่ทรงพอพระทัยฉัตตปาณีอุบาสก. พระศาสดาทรงทราบความ

ที่พระราชาไม่ทรงพอพระทัยอุบาสก จึงตรัสคุณของอุบาสกว่า
มหาบพิตร ผู้นี้เป็นอุบาสก, เป็นพหูสูต คงแก่เรียน ปราศจาก
ความกำหนัดในกาม พระราชาทรงพระดำริว่า พระศาสดา
ทรงทราบคุณของผู้ใด ต้องเป็นคนไม่ต่ำ จึงตรัสว่า อุบาสก

ท่านต้องการสิ่งใด ก็ควรบอกได้ อุบาสกรับสนองพระดำรัสว่า
ดีแล้ว พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสดับพระธรรม ในสำนักของ
พระศาสดาแล้ว ทรงกระทำปทักษิณพระศาสดา แล้วเสด็จกลับไป.

วันหนึ่ง พระราชาทรงเปิดพระแกล ประทับยืน ณ ปราสาท
ชั้นบน ทอดพระเนตรเห็นอุบาสกนั้น บริโภคอาหารเย็นแล้ว
ถือร่มเดินไปสู่พระเชตวัน ก็รับสั่งให้ราชบุรุษไปเชิญมาเฝ้า
แล้วตรัสอย่างนี้ว่า อุบาสก ได้ยินว่า ท่านเป็นพหูสูต พวกหญิง
ของเรา ต้องการจะฟังและต้องการจะเรียนธรรม พึงเป็นการด

หนอ ธรรมดาคฤหัสถ์ทั้งหลาย ไม่เหมาะสมที่จะแสดงธรรม
หรือบอกธรรมในพระราชสถานฝ่ายใน เรื่องนั้นเหมาะแก่พระ-
ผู้เป็นเจ้าทั้งหลายเท่านั้น พระเจ้าข้า. พระราชาทรงพระดำริ
ว่า อุบาสกนี้พูดจริง ทรงส่งท่านไป รับสั่งให้หาพระสนมมาเฝ้า
มีพระดำรัสว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ เราจะไปสู่สำนักพระศาสดา

กราบทูลขอภิกษุรูปหนึ่ง เพื่อแสดงธรรมและบอกธรรมแก่พวกเธอ
ในพระมหาสาวกทั้ง ๘๐ องค์ เราจักทูลขอองค์ไหนดี. พระสนม
ทั้งหมดปรึกษากัน กราบทูลถึงพระอานนทเถระผู้เป็นคลังพระ-
ธรรมองค์เดียว พระราชาก็เสด็จไปสู่สำนักพระศาสดา ถวาย

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสต์ เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 13:55 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บังคมแล้วประทับ ณ ส่วนข้างหนึ่ง พลางกราบทูลอย่างนี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกหญิงในวังของหม่อมฉัน ปรารถนา
จะฟังและเรียนธรรมในสำนักของพระอานนทเถระ จะพึงเป็น
การดีหนอพระเจ้าข้า ถ้าพระเถระพึงแสดงธรรม พึงบอกธรรม
ในวังของหม่อมฉัน พระศาสดาทรงรับคำว่า ดีแล้ว มหาบพิตร
แล้วตรัสสั่งพระเถระเจ้าจำเดิมแต่นั้นพระสนมของพระราชา
ก็พากันฟังและเรียนธรรมในสำนักของพระเถระเจ้า.

ภายหลังวันหนึ่ง พระจุฬามณีของพระราชาหายไป. พระ-
ราชาทรงทราบความที่พระจุฬามณีนั้นหายไป ทรงบังคับพวก
อำมาตย์ว่า พวกเจ้าจงจับมนุษย์ผู้รับใช้ภายในทั้งหมด บังคับ
ให้นำจุฬามณีคืนมาให้ได้ พวกอำมาตย์สืบถามพระจุฬามณี

ตั้งต้นแต่มาตุคาม ก็ไม่ได้ความ ทำให้มหาชนพากันลำบาก ใน
วันนั้น พระอานันทเถระเจ้าเข้าสู่พระราชวัง พวกพระสนม
เหล่านั้น ก่อน ๆ พอเห็นพระเถระเจ้าเท่านั้น ก็พากันร่าเริงยินดี
ตั้งใจฟัง ตั้งใจเรียนธรรม หาได้กระทำอย่างนั้นไม่ ทุก ๆ คน

ได้พากันโทมนัสไปทั่วหน้า ครั้นพระเถระถามว่า เหตุไรพวกเธอ
จึงพากันเป็นเช่นนี้ ในวันนี้ ก็พากันกราบเรียนอย่างนี้ว่า ข้าแต่
พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกอำมาตย์กล่าวว่า พวกเราจักค้นหา
พระจุฬามณีของพระราชา พากันจับพวกมาตุคามไว้ ทำให้คน

ใช้สอยข้างในลำบากไปตาม ๆ กัน พวกดิฉันก็ไม่ทราบว่า
ใครจักเป็นอย่างไร ? เหตุนั้น พวกดิฉันจึงพากันกลุ้มใจเจ้าค่ะ
พระเถระกล่าวปลอบพวกนางว่า อย่าคิดมากไปเลย ดังนี้แล้ว
ไปสู่สำนักพระราชา นั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้ ถวายพระพรถามว่า
มหาบพิตร ได้ทราบว่า แก้วมณีของมหาบพิตรหายไปหรือ ?
พระราชารับสั่งว่า ขอรับ พระคุณเจ้าผู้เจริญ.

ถวายพระพรว่า ก็มหาบพิตรไม่ทรงสามารถจะให้ใคร
นำพาคืนได้หรือ ขอถวายพระพร ?

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร