วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 03:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


กฎการใช้บอร์ด


อ่านนิทาน จากบอร์ดเก่า
http://www.dhammajak.net/board/viewforum.php?f=5



กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 151  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 21:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
อาจารย์ขอรับ พวกกระผมอยู่กันอย่างสบาย ก็แต่ว่า พวกผม
พากันดื่มในสิ่งไม่ควรดื่ม สลบไสลไปตาม ๆ กัน ไม่อาจดำรง
สติได้ พากันขับร้องฟ้อนรำตามเรื่อง เมื่อแจ้งเรื่องนั้นแล้ว
ก็พากันยกคาถานี้เรียนอาจารย์ว่า :-

"พวกกระผมได้พากันดื่ม ได้ชวนกัน
ฟ้อน พากันขับร้อง แล้วก็พากันร้องไห้ เพราะ
ดื่มสุราที่ทำให้สัญญาวิปริต เห็นดีแต่ที่มิได้
กลายเป็นลิงไปเสียเลย" ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปายิมฺห แปลว่า พวกกระผม
พากันดื่มสุรา.

บทว่า อนจฺจิมฺห ความว่า ครั้นดื่มสุราแล้ว ก็คะนองมือ
คะนองเท้า พากันฟ้อนรำ.
บทว่า อคายิมฺหิ ความว่า เปิดปากร้องเพลงด้วยเสียง
อันยืดยาว.
บทว่า รุทิมฺห จ ความว่า กลับมีวิปฏิสาร พากันร้องไห้ว่า
พวกเราทำกรรมไม่สมควรเห็นปานนี้.

บทว่า ทิฏฺฐา นาหุมฺห วานรา ความว่า เหตุเพราะดื่มสุรา
ที่ชื่อว่า กระทำให้สัญญาวิปริตเพราะทำลายสัญญาเสียได้ถึง
เพียงนี้ ข้อนั้นยังดี ที่พวกข้าพเจ้าไม่กลายเป็นลิงไปเสียหมด.
พวกอันเตวาสิกเหล่านั้น พากันกล่าวโทษของตน ด้วยประการ
ฉะนี้.

พระโพธิสัตว์กล่าวว่า ขึ้นชื่อว่า นรชนที่เหินห่างจากการ
อยู่ร่วมกับครู ย่อมเป็นเช่นนี้ได้ทั้งนั้น ตำหนิดาบสเหล่านั้น
แล้วให้โอวาทว่า พวกท่านอย่ากระทำกรรมเห็นปานนี้ต่อไปอีก
มีฌานไม่เสื่อม ได้ไปบังเกิดในพรหมโลกแล้ว.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า คณะฤๅษีในครั้งนั้น ได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนศาสดา
ของคณะ ได้มาเป็นเราตถาคต ขอประกาศว่า นับแต่เรื่องนี้ไป
จะไม่กล่าวถึงบทว่า อนุสนฺธึ ฆเฏตฺวา นี้อีกต่อไป.
จบ อรรถกถาสุราปานชาดกที่ ๑

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุว่ายากรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ
เริ่มต้นว่า อติกฺกมฺม รมณกํ ดังนี้.

ก็เรื่องของชาดกนี้ เป็นเรื่องเกิดขึ้นครั้งศาสนาของ
พระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า จักแจ่มแจ้งในมหามิตตวินทกชาดก
หลักนิบาต ก็ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้ ความว่า

"ท่านเลยปราสาทแก้วผลึก ปราสาทเงิน
และปราสาทแก้วมณี มาแล้ว มาถูกจักรกรด
สำเร็จด้วยหินพัดผันอยู่ ตราบใดที่ยังมีชีวิตอยู่
ก็จักไม่พ้นจากจักรกรดตราบนั้น" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า รมณกํ เป็นชื่อของแก้วผลึก
ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์แสดงว่า เจ้านั้นสิผ่านพ้นปราสาทแก้ว-
ผลึกไปเสียแล้ว.
บทว่า สทามตฺตญฺจ เป็นชื่อของเงิน. พระโพธิสัตว์แสดงว่า
เจ้านั้นสิผ่านปราสาทเงินไปเสียแล้ว.

บทว่า ทูภกํ เป็นชื่อของแก้วมณี พระโพธิสัตว์แสดงว่า
เจ้านั้นสิผ่านปราสาทแก้วมณีไปเสียแล้ว.
บทว่า สฺวาสิ ตัดบทเป็น โส อสิ แปลว่า เจ้านั้นสิ.
บทว่า ปาสาณมาสีโน ความว่า ที่ชื่อว่า จักกรดนั้น สำเร็จ
ด้วยหินก็มี สำเร็จด้วยแก้วมณีก็มี แต่จักรกรดอันที่เจ้าถูกมัน
ขยี้บดทับนั้น สำเร็จด้วยหิน เพราะเหตุที่มาต้องจักรกรดสำเร็จ
ด้วยหิน เมื่อควรจะกล่าวว่า ปาสาณาสีโน กลับกล่าวว่า ปาสาณ-
มาสีโน โดยถือเอา ม อักษร ด้วยอำนาจพยัญชนะสนธิ มีอธิบาย
ไว้อีกนัยหนึ่งว่า ทูลหัวจักรกรดหิน คือมาถูกจักรกรดนั้นพัดผัน
ยืนอยู่.

บทว่า ยสฺมา ชีวํ น โมกฺขสิ ความว่า ทั้ง ๆ ที่ยังเป็น ๆ
อยู่นั้นแหละ จักไม่พ้นไปจากจักรกรดได้ ต้องทูนมันไว้ จนกว่า
บาปกรรมของเจ้าจะสิ้นไป.

พระโพธิสัตว์กล่าวคาถานี้แล้ว เสด็จไปสู่เทวสถานแห่ง
ตนทันที ฝ่ายมิตตวินทุกะเล่า ก็ทูนจักรกรดไว้ เสวยทุกข์อย่าง
มหันต์ ครั้นบาปกรรมหมดไปแล้ว ก็ไปตามยถากรรม.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า มิตตวินทกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุว่ายากในครั้งนี้
ส่วนท้าวเทวราช ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถามิตตวินทกชาดกที่ ๒

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 21:15 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภมิตรของท่านอนาถบิณฑิกะผู้หนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า มิตฺโต หเว สตฺตปเทน โหติ. ดังนี้.

ได้ยินว่า มิตรผู้นั้นได้เคยเป็นสหายร่วมเล่นฝุ่นมากับ
ท่านอนาถบิณฑิกะ ทั้งเรียนศิลปะในสำนักอาจารย์เดียวกัน
โดยนามมีชื่อว่า กาฬกรรณี. กาฬกรรณีนั้น เมื่อกาลล่วงผ่านไป
ก็เป็นผู้ตกยาก ไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้ จึงไปยังสำนักของท่านเศรษฐี
ท่านเศรษฐีก็ปลอบสหาย ให้เสบียงแล้วมอบสมบัติของตนแบ่ง

ให้ไป เขาเป็นผู้ทำอุปการะแก่ท่านเศรษฐี ทำกิจการทุกอย่าง
เวลาที่เขามาสู่สำนักท่านเศรษฐี คนทั้งหลายพากันกล่าวว่า
หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิดกาฬกรรณี กินเถิดกาฬกรรณี.
อยู่มาวันหนึ่ง หมู่มิตร และอำมาตย์ของท่านเศรษฐี พากันเข้าไป
หาท่านเศรษฐี แล้วพูดอย่างนี้ว่า อย่าเลี้ยงเขาไว้ใกล้ชิดอย่างน
ี้
เลย ท่านมหาเศรษฐี เพราะแม้ยักษ์เองก็ยังต้องหนีด้วยเสียงนี้ว่า
หยุดเถิด กาฬกรรณี นั่งเถิดกาฬกรรณี กินเถิดกาฬกรรณี
เขาเองก็มิได้เสมอกับท่าน ตกยาก เข็ญใจ ท่านจะเลี้ยงคน ๆ นี้
ไว้ทำไม ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กล่าวว่า ธรรมดาว่าชื่อเป็น
คำเรียกร้อง หมู่บัณฑิตมิได้ถือชื่อเป็นประมาณ ไม่ควรจะเป็น

คนประเภทที่ชื่อว่า "สุตมังคลิกะ" (ถือมงคลจากเสียงที่ได้ยิน)
เราไม่อาจอาศัยเหตุเพียงแต่ชื่อ แล้วทอดทิ้งเพื่อนผู้เล่นฝุ่นมา
ด้วยกัน ดังนี้แล้ว มิได้ยึดถือถ้อยคำของพวกนั้น วันหนึ่งเมื่อจะไป
บ้านส่วยของตน ได้ตั้งเขาเป็นผู้รักษาเคหะสถาน.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 21:16 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พวกโจรคบคิดกันว่า ได้ข่าวว่าเศรษฐีไปบ้านส่วย พวก
เราระดมกันปล้นบ้านของเขาเถิด พากันถืออาวุธต่าง ๆ มาใน
เวลากลางคืน ล้อมเรือนไว้. ฝ่ายกาฬกรรณี ระแวงการมาของ
พวกโจรอยู่ จึงนั่งเฝ้าไม่ยอมหลับนอนเลย ครั้นรู้ว่า พวกโจร
พากันมา เพื่อจะปลุกพวกมนุษย์ จึงตะโกนว่า เจ้าจงเป่าสังข์

เจ้าจงตีกลอง ดังนี้แล้ว ทำให้เป็นเหมือนมีมหรสพโรงใหญ่
กระทำนิเวศน์ทั้งสิ้นให้มีเสียงสนั่นครื้นเครงตลอดไป พวกโจร
พากันพูดว่า ข่าวที่ว่า เรือนว่างเปล่าพวกเราฟังมาเหลว ๆ
ท่านเศรษฐียังคงอยู่ แล้วต่างทิ้งก้อนหิน และไม้พลองเป็นต้น
ไว้ตรงนั้นเองหนีไปหมด. รุ่งขึ้นพวกมนุษย์ เห็นก้อนหินและ

ไม้พลองเป็นต้น ที่พวกโจรทิ้งไว้ในที่นั้น ๆ ต่างสลดใจไปตาม ๆ
กัน พูดกันว่า ถ้าวันนี้ไม่มีคนตรวจเรือน ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้
ขนาดนี้แล้ว พวกโจรจักพากันเข้าได้ตามความพอใจ ปล้นเรือน
ได้หมดเป็นแน่ เพราะอาศัยมิตรผู้มั่นคงผู้นี้ ความจำเริญจึงเกิด
แก่ท่านเศรษฐี ต่างพากันสรรเสริญกาฬกรรณีนั้น เวลาที่

เศรษฐีมาจากบ้านส่วย ก็พากันบอกเรื่องราวนั้นให้ทราบทุก
ประการ. ครั้งนั้นท่านเศรษฐีได้พูดกับคนเหล่านั้นว่า พวกเธอ
บอกให้เราไล่มิตรผู้รักษาเรือนอย่างนี้ไปเสีย ถ้าเราไล่เขาไป
ตามถ้อยคำของพวกเธอเสียแล้ว วันนี้ทรัพย์สินของเราจักไม่ม
ีเหลือเลย ธรรมดาว่า ชื่อไม่เป็นประมาณดอก จิตที่คิดเกื้อกูล

เท่านั้นเป็นประมาณ ดังนี้แล้ว ให้ทรัพย์เป็นทุนแก่เขายิ่ง ๆ ขึ้นไป
ดำริว่า บัดนี้ เรามีเรื่องที่จะเริ่มเป็นหัวข้อกราบทูลได้แล้ว ไปสู่
สำนักพระศาสดา กราบทูลเรื่องราวนั้นแต่ต้น แด่พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า พระบรมศาสดาตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี มิใช่แต่ในบัดนี้
เท่านั้น ที่มิตรชื่อว่า กาฬกรรณี รักษาทรัพย์สินในเรือนแห่ง

มิตรของตนไว้ แม้ในครั้งก่อนก็รักษาแล้วเหมือนกัน ท่านเศรษฐี
กราบทูลอาราธนา จึงทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 21:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นเศรษฐีมียศยิ่งใหญ่. ท่าน
เศรษฐีได้มีมิตรชื่อ กาฬกรรณี เรื่องราวทั้งหมดก็เหมือนกับ
เรื่องปัจจุบันนั่นแหละ. พระโพธิสัตว์มาจากบ้านส่วยแล้วฟัง
เรื่องนั้นแล้ว กล่าวว่า ถ้าเราไล่มิตรเช่นนี้ออกไปเสียตามคำ
ของพวกท่านแล้ว วันนี้ทรัพย์สมบัติของเราจักไม่มีอะไรเหลือ
เลย แล้วกล่าวคาถานี้ ความว่า :-

"บุคคลชื่อว่าเป็นมิตรด้วยการเดินร่วม
กัน ๗ ก้าว ชื่อว่าเป็นสหายด้วยการเดินร่วมกัน
๑๒ ก้าว และชื่อว่าเป็นญาติ ด้วยการอยู่ร่วมกัน
เดือนหนึ่งหรือกึ่งเดือน ส่วนผู้ชื่อว่ามีตนเสมอ
กัน ก็ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น เราจะละทิ้ง
มิตรชื่อว่า กาฬกรรณี ผู้ชอบพอกันมานาน
เพราะความสุขส่วนตัวได้อย่างไร ?" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หเว เป็นเพียงนิบาต. ที่ชื่อว่า
มิตร เพราะอรรถว่าประพฤติไมตรีอธิบายว่า เข้าไปตั้งไว้เ
ฉพาะซึ่งไมตรีจิต กระทำความสนิทสนม ก็มิตรนั้นเป็นกันได้
ด้วย ๗ ก้าวย่าง อธิบายว่า เป็นกันได้ด้วยเหตุเพียงเดินทาง
ร่วมกัน ๗ ย่างก้าว.

บทว่า สทาโย ปน ทฺวาทสเกน โหติ ความว่า ที่ชื่อ
ว่าสหาย เพราะอรรถว่า ไปร่วมกันในอิริยาบถทั้งปวง ด้วยอำนาจ
แห่งการทำกิจทุก ๆ อย่างร่วมกัน อธิบายว่า ก็แลสหายนั้น
เป็นกันได้ด้วยเพียงย่างเท้าไป ๑๒ ก้าว.

บทว่า มาสฑฺฒมมาเสน ความว่า (อยู่ร่วมกัน) เดือนหนึ่ง
หรือกึ่งเดือน.
บทว่า ญาติ โหติ ความว่า ย่อมชื่อว่าเป็นผู้เสมอญาติ.
บทว่า ตตุตฺตรึ ความว่า ด้วยการอยู่ร่วมกันยิ่งกว่านั้น
ย่อมถือว่าเป็นผู้เสมอตนได้ทีเดียว.

บทว่า ชเหยฺยํ ความว่า เราจะทิ้งสหายผู้เช่นนี้ได้อย่างไร
เล่า ? พระโพธิสัตว์กล่าวถึงคุณของมิตรนั่นแล ด้วยประการ
ฉะนี้. ตั้งแต่นั้นมา ก็มิได้มีใคร ๆ ที่จะได้ชื่อว่า กล่าวละลาบ
ละล้วง กาฬกรรณีนั้นอีกเลย.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า กาฬกรรณีในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ในครั้งนี้
ส่วนพาราณสีเศรษฐี ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากาฬกัณณิชาดกที่ ๓

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 22:03 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระบรมศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์คนหนึ่ง ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า อาโรคฺยมิจฺเฉ ปรมญฺจ ลาภํ ดังนี้.

มีเรื่องย่อ ๆ ว่า ในพระนครสาวัตถี บุตรของท่านเศรษฐี
ผู้มีสมบัติมากคนหนึ่ง เกิดมาได้ ๗ ขวบ เป็นผู้มีปัญญาฉลาด
ในประโยชน์. วันหนึ่งเขาเข้าไปหาท่านบิดา ถามถึงเรื่องที่ชื่อว่า
ปัญหาอันเป็นประตูแห่งประโยชน์ ท่านเศรษฐีผู้บิดาไม่ทราบ
ปัญหานั้น จึงได้เกิดปริวิตกว่า ปัญหานี้สุขุมยิ่งนักเว้นพระสัมมา-

สัมพุทธเจ้าเสียแล้ว ผู้อื่นในโลกสันนิวาส ที่กำหนดด้วยภวัคคพรหม
เป็นส่วนสุดเบื้องบน และด้วยอเวจี เป็นส่วนสุดเบื้องต่ำ ที่ชื่อว่า
สามารถเพื่อจะแก้ปัญหานี้ได้ ไม่มีเลย. ท่านจึงพาบุตรให้ถือ
ดอกไม้ของหอมและเครื่องลูบไล้เป็นอันมาก ไปสู่พระเชตวันวิหาร

บูชาพระศาสดาแล้วถวายบังคม นั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง กราบทูล
ความข้อนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เด็ก
นี้มีปัญญาฉลาดในประโยชน์ ถามปัญหาประตูแห่งประโยชน์กะ
ข้าพระองค์ข้าพระองค์ไม่ทราบปัญหานั้น จึงมาสู่สำนักของ
พระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ตัวข้าพระองค์ขอโอกาส ขอ

พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดกล่าวแก้ปัญหานั้นเถิด พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า ดูก่อนอุบาสก แม้ในกาลก่อน เราก็ถูกเด็กน
ี้ถามปัญหานั้นแล้ว และเราก็กล่าวแก้ปัญหานั้นกะเขาแล้ว ใน
ครั้งนั้นเด็กนี้รู้ปัญหานั้น แต่บัดนี้เขากำหนดไม่ได้ เพราะถือ
ความสิ้นไปแห่งภพ (ติดต่อกัน) ท่านเศรษฐีกราบทูลอาราธนา
ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐีมีสมบัต
ิมาก ครั้งนั้นบุตรของท่านเกิดมาได้ ๗ ขวบ เป็นผู้มีปัญญา
ฉลาดในประโยชน์ วันหนึ่งเข้าไปหาบิดา ถามปัญหาเรื่องประตู
ประโยชน์ว่า ข้าแต่ท่านบิดา อะไรชื่อว่าประตูแห่งประโยชน์
ครั้งนั้นบิดาของเขา เมื่อจะกล่าวแก้ปัญหานั้น กล่าวคาถานี้
ความว่า

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 22:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
"บุคคลควรปรารถนาลาภอย่างยิ่ง คือ
ความไม่มีโรค ๑ ศีล ๑ ความคล้อยตามผู้รู้ ๑
การสดับตรับฟัง ๑ ความประพฤติตามธรรม ๑
ความไม่ท้อถอย ๑ คุณธรรม ๖ ประการนี้ เป็น
ประตูด่านแรกแห่งประโยชน์" ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น จ อักษรในบทว่า อาโรคฺยมิจฺเฉ
ปรมญฺจ ลาภํ เป็นเพียงนิบาต. พระโพธิสัตว์เมื่อจะแสดงความนี้
ว่า พ่อคุณ ก่อนอื่นทีเดียว พึงปรารถนาลาภยอดเยี่ยม กล่าวคือ
ความไม่มีโรค จึงกล่าวอย่างนี้.

ที่ชื่อว่าความเป็นผู้ไม่มีโรค ในบาทคาถาว่า อาโรคฺยมิจฺเฉ
ปรมญฺจ ลาภํ เป็นเพียงนิบาต. ได้แก่อาการที่ไม่มีสภาวะเสียดแทง ไม่มี
อาการกระวนกระวายแห่งร่างกาย และจิตใจ. เพราะว่าเมื่อ
ร่างกายยังถูกเสียดแทง กระวนกระวายอยู่ บุคคลย่อมไม่สามารถ
จะยังลาภที่ยังไม่ได้ให้เกิดขึ้น ที่ได้ไว้แล้วก็ไม่อาจที่จะใช้สอย

แต่เมื่อไม่กระวนกระวาย ย่อมสามารถบันดาลให้เกิดได้ทั้งสอง
สถาน อนึ่ง เมื่อจิตใจเดือดร้อนเพราะอุปกิเลสอยู่ คนก็ไม่อาจ
เหมือนกับที่จะก่อลาภ คือคุณพิเศษ มีฌานเป็นต้น ที่ยังไม่เกิด
ให้เกิดขึ้น ที่ได้ไว้แล้ว ก็อาจจะชมเชยด้วยสามารถแห่งสมาบัติ

อีกได้ เมื่อโรคนี้ยังมีอยู่ แม้ลาภที่ยังไม่ได้ก็เป็นอันไม่ได้ แม้ที่ได
้แล้วก็ไร้ประโยชน์ แต่เมื่อโรคนี้ไม่มี แม้ลาภที่ยังไม่ได้ ก็จะต้อง
ได้แม้ที่ได้แล้วก็ย่อมอำนวยประโยชน์ เหตุนั้นความไม่มีโรค จึง
ชื่อว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง จำต้องปรารถนาความไม่มีโรคนั้น ก่อนอื่น
ทั้งหมดนี้เป็นประตูเอกแห่งประโยชน์ ทั้งหมดนี้เป็นอรรถาธิบาย
ในข้อนั้น

บทว่า สีลญฺจ ได้แก่อาจารศีล คือระเบียบในส่วนที่เป็น
มรรยาท. พระโพธิสัตว์แสดงถึงจารีตของชาวโลก ด้วยบทนี้.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 22:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า พุทฺธานุมตํ ได้แก่ความคล้อยตามบัณฑิตผู้เจริญ
ด้วยคุณทั้งหลาย พระโพธิสัตว์แสดงโอวาทของครูทั้งหลาย ผู้
สมบูรณ์ด้วยความรู้ ด้วยบทนี้.
บทว่า สุตญฺจ คือการฟังที่อิงเหตุ พระโพธิสัตว์แสดง
พาหุสัจจะ ความเป็นผู้คงแก่เรียน อันอาศัยตนในโลกนี้ ด้วยบทนี้.
บทว่า ธมฺมานุวตฺตี จ ได้แก่ การคล้อยตามสุจริตธรรม
มีอย่าง ๓. พระโพธิสัตว์แสดงการเว้นทุจริตธรรม แล้วประพฤติ
สุจริตธรรม ด้วยบทนี้.

บทว่า อลีนตา จ ได้แก่ความที่จิตไม่หดหู่ไม่ตกต่ำ. พระ-
โพธิสัตว์แสดงความที่จิตเป็นสภาพประณีต และเป็นสภาพสูงยิ่ง
อย่างไม่เสื่อมคลายด้วยบทนี้.
บทว่า อตฺถสฺส ทฺวารา ปมุขา ฉเฬเต ความว่า ความ
เจริญชื่อว่าประโยชน์(๑) ธรรมทั้ง ๖ ประการเหล่านี้ เป็นประตู
๑. ปาฐะว่า อตฺโถ นาม วุฑฺฒิสงฺขาตสฺส ฯลฯ ฉบับพม่าเป็น อตฺโถ นาม วุฑฺฒิ,
วุฑฺฒิสงฺขาตสฺส - แปลตามฉบับพม่า.
เป็นอุบาย คือเป็นทางบรรลุด่านแรกคือสูงสุด แห่งประโยชน์
ทั้งที่เป็นโลกิยะ ทั้งที่เป็นโลกุตตระกล่าวคือความเจริญ.

พระโพธิสัตว์กล่าวแก้ปัญหาประตูแห่งประโยชน์แก่บุตร
ด้วยประการฉะนี้. ตั้งแต่นั้นมา เขาก็ประพฤติในธรรม ๖ ประการ
นั้น. พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบุญมีทานเป็นต้น แล้วก็ไปตามยถากรรม.
พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ประชุมชาดก
ว่า บุตรในครั้งนั้น ได้มาเป็นบุตรคนปัจจุบัน ส่วนมหาเศรษฐ
ีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาอัตถัสสทวารชาดกที่ ๔

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 22:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันแล้วรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มี
คำเริ่มต้นว่า อายตึ โทสํ นาญฺญาย ดังนี้.

ได้ยินว่ากุลบุตรผู้หนึ่ง บวชถวายชีวิตในพระพุทธศาสนา
วันหนึ่งเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถี เห็นหญิงนางหนึ่ง
แต่งกายหมดจดงดงาม เกิดกระสัน ครั้งนั้นอาจารย์แลอุปัชฌาย์
พาเธอ มายังสำนักของพระบรมศาสดา. พระบรมศาสดาตรัส
ถามว่า ดูก่อนภิกษุ จริงหรือที่ว่าเธอกระสันเมื่อเธอกราบทูลว่า

จริงพระเจ้าข้า ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ขึ้นชื่อว่า เบ็ญจกามคุณ
เหล่านี้ น่ารื่นรมย์ในเวลาบริโภค แต่ว่าการบริโภคเบ็ญจกามคุณ
เหล่านั้น ย่อมเปรียบได้กับการบริโภค ผลกิมปักกะ(ผลไม้มีพิษ
ชนิดหนึ่ง ลูกเท่าผลมะม่วง) เพราะเป็นตัวให้เกิดปฏิสนธิในนรก
เป็นต้น ที่ได้ชื่อว่า ผลกิมปักกะสมบูรณ์ด้วยสี กลิ่น และรส

แต่กินเข้าไปแล้ว กัดไส้ ทำให้ถึงสิ้นชีวิต ในครั้งก่อนคน
เป็นอันมาก ไม่เห็นโทษของมัน ติดใจในสี กลิ่นและรส ต่างบริโภค
ผลนั้น พากันถึงสิ้นชีวิต อันภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูล
อาราธนา ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติ อยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เป็นนายกองเกวียน คุมกองเกวียน
๕๐๐ เล่ม เดินทางไปสู่ชายแดนไกล ๆ ถึงปากดง เรียกประชุม
คนทั้งหลายตักเตือนว่า ในดงนี้มีต้นไม้ที่ชื่อต้นไม้มีพิษ ไม่ถาม
เราก่อนแล้ว อย่ากินผลาผลที่ไม่เคยกินมาก่อนเป็นอันขาด

ฝูงชนเดินทางล่วงเข้าสู่ดง ได้เห็นต้นกิมปักกะ (ต้นไม้มีผลเป็นพิษ
ชนิดหนึ่ง ลูกเท่าผลมะม่วง) ต้นหนึ่ง มีกิ่งโน้มลงเพราะหนักผล
ลำต้น กิ่ง และใบของมัน คล้ายกับต้นมะม่วง ทั้งสัณฐาน สี
กลิ่นและรส พากันกินผลไม้ ด้วยสำคัญว่าผลมะม่วง บางพวก

ก็ว่า ต้องถามนายกองเกวียนก่อนแล้วจึงจักกิน ถือยืนรออยู่
ครั้นพระโพธิสัตว์มาถึงที่นั้น ก็ร้องบอกพวกที่ถือยืนรอนั้นให้
ทิ้งผลไม้เสีย บอกให้พวกที่พากันกินเข้าไปแล้วทำการสำรอก
แล้วให้ยาพวกนั้นกิน พวกเหล่านั้นบางคนก็หาย แต่พวกที่กิน

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 22:07 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
เข้าไปก่อนพวกทีเดียว พากันสิ้นชีวิต ฝ่ายพระโพธิสัตว์ เดินทาง
ถึงสถานที่ต้องการจะไปโดยสวัสดี ได้ลาภแล้วกลับมาถึงสถานที่
ของตนดังเดิม กระทำบุญมีให้ทานเป็นต้น แล้วไปตามยถากรรม.
พระศาสดาตรัสเรื่องนั้นแล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
"ผู้ใดไม่รู้โทษในอนาคต มัวเสพกามอยู่
ผลที่สุดกามเหล่านั้น ก็จะกำจัดบุคคลนั้นเสีย
เหมือนผลกิมปักกะ กำจัดผู้กินให้ถึงตายฉะนั้น"
ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อายตึ โทสํ นาญฺญาย ความว่า
ไม่รู้คือไม่ทราบถึงโทษในกาลภายหน้า.
บทว่า โย กาเม ปฏิเสวติ ความว่า บุคคลใดส้องเสพ
วัตถุกาม และกิเลสกาม.

บทว่า วิปากนฺเต หนนฺตี นํ ความว่า กามเหล่านั้น จะยัง
บุรุษนั้น ผู้เกิดแล้วในนรกเป็นต้นในที่สุด, กล่าวคือวิบากของตน
ให้พัวพันอยู่ด้วยทุกข์มีปราการต่าง ๆ ชื่อว่าย่อมกำจัดเขาเสีย.
กำจัดอย่างไร ?
อย่างเดียวกับผลกิมปักกะ ที่บุคคลบริโภคแล้วฉะนั้น
อธิบายว่า อุปมาเหมือนผลกิมปักกะน่าชอบใจ เพราะถึงพร้อม
ด้วยสี กลิ่น และรสในเวลาบริโภค ทำให้คนที่ไม่เห็นโทษใน
อนาคตกินแล้วถึงความสิ้นชีวิตไปตาม ๆ กันฉันใด กามทั้งหลาย
แม้จะน่าชอบใจในเวลาบริโภค ก็จะกำจัดเขาเสียในเวลาให้ผล
ฉันนั้น.

พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมตามอนุสนธิ แล้วทรง
ประกาศสัจธรรม ภิกษุผู้กระสัน บรรลุโสดาปัตติผล บริษัท
ที่เหลือ บางพวกเป็นพระโสดาบัน บางพวกเป็นพระสกทาคามี
บางพวกเป็นพระอนาคามี บางพวกได้เป็นพระอรหันต์. พระ-
ศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า
บริษัทในครั้งนั้นได้มาเป็นพุทธบริษัท ส่วนนายกองเกวียนได
้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถากิมปักกชาดกที่ ๕

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 พ.ย. 2018, 22:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพราหมณ์ผู้ทดลองศีลผู้หนึ่งตรัสพระธรรมเทศนานี้
มีคำเริ่มต้นว่า สีลํ กิเรว กลฺยาณํ ดังนี้.

ดังได้สดับมา พราหมณ์นั้นอาศัยพระเจ้าโกศลเลี้ยงชีวิต
เป็นผู้ถึงไตรสรณาคมน์ มีศีล ๕ ไม่ขาด ถึงฝั่งแห่งไตรเพท
พระราชาทรงพระดำริว่า พราหมณ์ผู้นี้มีศีล ดังนี้แล้ว ทรงยกย่อง
เขาอย่างยิ่งเขาคิดว่า พระราชานี้ทรงยกย่องเรายิ่งกว่าพราหมณ
์อื่น ๆ ทรงเห็นเราเหมือนผู้ควรเคารพอย่างยิ่ง พระองค์ทรง
กระทำการยกย่องนี้ เพราะอาศัยชาติสมบัติ โคตรสมบัติ กุล-

สมบัติ ปเทสสมบัติและศิลปสมบัติของเรา หรืออย่างไร หรือว่า
ทรงอาศัยศีลสมบัติของเรา เราจักทดลองดูก่อน วันหนึ่งท่านไป
สู่ที่เฝ้า เมื่อจะกลับบ้านได้หยิบเหรียญกษาปณ์ ๑ อันไปจาก
แผงของเหรัญญิกคนหนึ่ง โดยมิได้บอกกล่าวเลย. ครั้งนั้นเหรัญญิก
มิได้พูดอะไรกับท่าน เพราะความเคารพในพราหมณ์คงนั่งเฉย

รุ่งขึ้นหยิบไปสองเหรียญ เหรัญญิกคงนิ่งเฉยเหมือนกัน ในวันที่
สาม คว้าไปเต็มกำเลย ครั้งนั้นเหรัญญิก ก็พูดกับท่านว่า วันนี้
เป็นวันที่สามที่ท่านฉกชิงเอาทรัพย์สินของพระราชาไป พลาง
ตะโกนบอก ๓ ครั้งว่า เราจับโจรฉกชิงทรัพย์สินของพระราชา

ไว้ได้แล้ว ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายต่างวิ่งมาคนละทิศทาง รุมพูด
กะพราหมณ์ว่า ท่านแสร้งประพฤติเหมือนผู้มีศีลมานานจน
ป่านนี้ ดังนี้แล้ว ต่างก็ติเตียน สอง-สามที จับมัดไปแสดงแก่
พระราชา. พระราชาทรงร้อนพระทัย ตรัสว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์
เหตุไรเล่าท่านจึงทำกรรมของผู้ทุศีลเช่นนี้ แล้วตรัสว่า พวกเจ้า

ไปเถิด จงลงพระราชอาญาแก่พราหมณ์. พราหมณ์กราบทูลว่า
ข้าแต่มหาราชเจ้า ข้าพระองค์มิใช่โจรดอก พระเจ้าข้า พระราชา
รับสั่งถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไรท่านจึงหยิบเหรียญกระษาปณ์
ไปจากแผงแห่งพระราชทรัพย์เล่า ? พราหมณ์กราบทูลว่า
ขอเดชะ ที่ข้าพระองค์กระทำไป ในเมื่อพระองค์ทรงยกย่อง

ข้าพระองค์อย่างยิ่งเช่นนี้นั้น ก็เพื่อจะทดลองว่า พระราชาทรง
ยกย่องเรายิ่งนัก เหตุทรงอาศัยสมบัติมีชาติเป็นต้นหรืออย่างไร
หรือว่าทรงอาศัยศีล ก็และบัดนี้ ข้าพระองค์ทรงทราบโดย

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:49 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
แน่นอนแล้ว เพราะที่ทรงพระกรุณาโปรดให้ลงพระราชอาญา
แก่ข้าพระองค์บัดนี้ เป็นข้อเทียบได้ว่า ความยกย่องที่พระองค์
ทรงทำแก่ข้าพระองค์นั้น อาศัยศีลอย่างเดียว มิได้ทรงกระทำ
เพราะอาศัยสมบัติมีชาติเป็นต้นเลย แล้วกราบทูลต่อไปว่า

ข้าพระองค์นั้นได้ตกลงใจได้ด้วยเหตุนี้ว่า ในโลกนี้ ศีลเท่านั้น
สูงสุด ศีลเป็นประมุข ก็เมื่อข้าพระองค์จะกระทำให้สมควร
แก่ศีลนี้ ยังดำรงตนอยู่ในเรือน บริโภคกิเลสอยู่ จักไม่อาจกระทำ
ได้ วันนี้แหละข้าพระองค์จักไปสู่พระวิหารเชตวัน บรรพชา
ในสำนักพระศาสดา ได้โปรดทรงพระกรุณาพระราชทานการ

บรรพชาแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด พระเจ้าข้า ครั้นขอพระบรม
ราชานุญาตได้แล้ว ก็ออกเดินมุ่งหน้าไปพระเชตวันมหาวิหาร
ครั้งนั้นหมู่ญาติและพวกพ้องที่สนิทสนม พากันห้อมล้อม เมื่อ
ไม่อาจทัดทานท่านได้ จึงพากันกลับไป.

พราหมณ์ไปสู่สำนักของพระศาสดา ทูลขอบรรพชา
ครั้นได้บรรพชาและอุปสมบทแล้ว ก็ไม่ทอดทิ้งพระกรรมฐาน
เจริญวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตผล เข้าเฝ้าพระบรมศาสดา
กราบทูลพยากรณ์พระอรหัตผลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บรรพชา
ของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว คำพยากรณ์พระอรหัตผลนั้น ของ

ท่านปรากฏในภิกษุสงฆ์แล้ว อยู่มาวันหนึ่งพวกภิกษุประชุม
กันในธรรมสภา นั่งสนทนาถึงคุณของท่านว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย พราหมณ์ผู้อุปัฏฐากพระราชาชื่อโน้น ทดลองศีลของ
ตนแล้ว กราบทูลลาพระราชาบรรพชา ดำรงอยู่ในพระอรหัตผล
แล้ว พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวก

เธอประชุมสนทนากันด้วยเรื่องอะไร ? เมื่อภิกษุทั้งหลาย กราบ
ทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ใน
บัดนี้เท่านั้นที่พราหมณ์ผู้นี้ ทดลองศีลของตนแล้วบวช กระทำ
ที่พึ่งแก่ตนได้ ถึงในกาลก่อนบัณฑิตทั้งหลาย ก็เคยทดลองศีล
ของตนแล้วบวช กระทำที่พึ่งแก่ตนมาแล้วเหมือนกัน อันภิกษุ
เหล่านั้น กราบทูลอาราธนาแล้ว ทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก
ดังต่อไปนี้ :-

ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ใน
กรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้าพรหมทัต
พระองค์นั้น เป็นผู้มีจิตใจน้อมไปในทาน มีศีลเป็นอัธยาศัย
ถือศีล ๕ ไม่ขาดพระราชาทรงยกย่องท่านยิ่งกว่าพราหมณ

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
์ที่เหลือ เรื่องทั้งหมดก็เช่นเดียวกับเรื่องแรกนั้นแหละแปลกแต่ว่า
เมื่อพระโพธิสัตว์ถูกเขามัดนำตัวไปสู่สำนักพระราชา พวกหมองู
กำลังบังคับงูให้เล่นอยู่ที่ระหว่างถนน พากันจับงูที่หาง จับที่คอ
เอางูพันคอ. พระโพธิสัตว์เห็นพวกนั้นแล้วกล่าวว่า พ่อคุณทั้งหลาย
เจ้าอย่าจับงูนี้ที่หาง อย่าจับที่คอ อย่าเอาไปพันคอ เพราะงูนี้

กัดแล้ว ก็ต้องถึงสิ้นชีวิตพวกหมองูกล่าวว่า ท่านพราหมณ์
งูนี้มีศีลสมบูรณ์ด้วยมรรยาท มิใช่เป็นผู้ทุศีลอย่างเช่นท่าน
ส่วนท่านสิ เป็นผู้หาอาจาระมิได้ เพราะความเป็นผู้ทุศีล ถูก
หาว่าเป็นโจรฉกชิงพระราชทรัพย์ กำลังถูกมัดนำตัวไป พราหมณ์
ได้คิดว่า แม้พวกงูที่ไม่กัดใคร ไม่เบียดเบียนใคร ก็ได้ชื่อว่ามีศีล

ได้ จะป่วยกล่าวไปใยถึงพวกที่เป็นมนุษย์ในโลกนี้ ศีลเท่านั้น
ที่ชื่อว่าสูงสุด สิ่งอื่นที่จะยิ่งไปกว่าศีลนั้นไม่มี. ครั้นมนุษย์นำตัว
ไปแสดงแด่พระราชาแล้ว พระราชาตรัสถามว่า พ่อคุณ นี้เรื่อง
อะไรกัน ? พวกราชบุรุษกราบทูลว่า ขอเดชะโจรฉกชิงพระ-
ราชทรัพย์ พระเจ้าข้า รับสั่งว่า ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงกระทำ

ตามพระราชอาญาแก่เขาเถิด พราหมณ์กราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช ข้าพระองค์มิใช่โจรดอก พระเจ้าข้า. เมื่อรับสั่งว่า
เมื่อเป็นเช่นนั้น ทำไมถึงได้หยิบเอาเหรียญกระษาปณ์ไปเล่า ?
จึงกราบทูลเรื่องราวทั้งมวล โดยนัยที่มีในเรื่องก่อนนั่นเอง แล้ว
กราบทูลว่า ด้วยเหตุนี้ ข้าพระองค์นั้นตกลงใจแล้วว่า ในโลกนี้

ศีลเท่านั้นสูงสุด ศีลเป็นประธาน แล้วกราบทูลว่า ข้อนี้ยกไว้
ก่อนเถิดพระเจ้าข้า แม้แต่อสรพิษไม่กัดใคร ไม่เบียดเบียนใคร
ยังได้ชื่อเสียงว่ามีศีลได้เลย แม้เพราะเหตุนี้ ศีลเท่านั้นสูงสุด
ศีลประเสริฐ เมื่อจะสรรเสริญศีล กล่าวคาถานี้ว่า :-

ได้ยินว่า ศีลเป็นคุณชาติงามเป็นเยี่ยม
ในโลก จงดูงูใหญ่ มีพิษร้ายแรง เป็นสัตว์มีศีล
เหตุนั้น จึงไม่เบียดเบียนใคร. ดังนี้

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลํ กิเรว ได้แก่ศีลคือมรรยาท
กล่าวคือ ความไม่ล่วงละเมิดนั่นเอง.
บทว่า กิร ความว่า พระโพธิสัตว์กล่าวตามที่ได้ยินมา.
บทว่า กลฺยาณํ แปลว่า งาม ประเสริฐ.
บทว่า อนุตฺตรํ ความว่า ยอดเยี่ยม คือให้คุณได้ทุกอย่าง.
บทว่า ปสฺส ได้แก่กล่าวมุ่งถึงเหตุเฉพาะเท่าที่ตนเห็น.

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:51 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
บทว่า สีลวาติ น หญฺญติ ความว่า งูแม้มีพิษร้ายแรง
ยังได้รับการสรรเสริญว่ามีศีล ด้วยเหตุเพียงไม่กัดใคร ไม่
เบียดเบียนใคร ย่อมไม่ถูกใครทำร้าย คือไม่ถูกใครฆ่า แม้ด้วย
เหตุดังกล่าวมานี้ศีลนั่นแล จึงชื่อว่า สูงสุด.

พระโพธิสัตว์แสดงธรรมถวายพระราชา ด้วยคาถานี้
ด้วยประการฉะนี้ ละกามทั้งหลาย บวชเป็นฤๅษี เข้าป่าหิมพานต์
ทำอภิญญา ๕ สมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้ว ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า.

พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ทรงประชุม
ชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นอานนท์ บริษัทได้มา
เป็นพุทธบริษัท ส่วนปุโรหิต ได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสีลวิมังสนชาดกที่ ๖

:b8: :b8: :b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 28 พ.ย. 2018, 05:52 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
Moderators-2
Moderators-2
ลงทะเบียนเมื่อ: 16 พ.ย. 2007, 16:58
โพสต์: 7548

แนวปฏิบัติ: พุทธานุสติ
งานอดิเรก: ทำหลายอย่างแต่ตอนนี้ไฟฟ้า
สิ่งที่ชื่นชอบ: ปฏิบัติธรรม ศึกษาธรรม และแบ่งปันต่อไป
อายุ: 0
ที่อยู่: จาก ลาว ครับ

 ข้อมูลส่วนตัว


:b8:
อ้างคำพูด:
พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร
ทรงปรารภพราหมณ์ผู้รู้จักลักษณะผ้าสาฎกผู้หนึ่ง ตรัสพระ-
ธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า ยสฺส มงฺคลา สมูหตา ดังนี้.

ได้ยินว่า พราหมณ์ชาวพระนครราชคฤห์ผู้หนึ่ง เป็นผู้
ถือมงคลตื่นข่าว ไม่เลื่อมใสในพระรัตนตรัย เป็นมิจฉาทิฏฐิ
มั่งคั่ง มีทรัพย์มาก มีโภคะมาก. หนูกัดคู่แห่งผ้าสาฎกที่เขา
เก็บไว้ในหีบ ครั้นถึงเวลาที่เขาสนานเกล้า กล่าวว่า จงนำผ้า
สาฎกมา คนทั้งหลายจึงบอกการที่หนูกัดผ้าแก่เขา เขาคิดว่า

ด้วยผ้าสาฎกทั้งคู่ที่หนูกัดนี้ จักคงมีในเรือนนี้ละก็ ความพินาศ
อย่างใหญ่หลวงจักมี เพราะผ้าคู่นี้เป็นอวมงคล เช่นกับตัว
กาฬกรรณี ทั้งไม่อาจให้แก่บุตรธิดา หรือทาสกรรมกร เพราะ
ความพินาศอย่างใหญ่หลวงจักต้องมีแก่ผู้ที่รับผ้านี้ไปทุกคน
ต้องให้ทิ้งมันเสียที่ป่าช้าผีดิบ แต่ไม่กล้าให้ในมือพวกทาสเป็นต้น

เพราะพวกนั้นน่าจะเกิดโลภในผ้าคู่นี้ ถือเอาไปแล้วถึงความ
พินาศไปตาม ๆ กันได้ เราจักให้ลูกถือผ้าคู่นั้นไป เขาเรียกบุตร
มาบอกเรื่องราวนั้นแล้วใช้ไปด้วยคำว่า พ่อคุณ ถึงตัวเจ้าเอง
ก็ต้องไม่เอามือจับมัน จงเอาท่อนไม้คอนไปทิ้งเสียที่ป่าช้าผีดิบ
อาบน้ำดำเกล้าแล้วมาเถิด.

แม้พระบรมศาสดาเล่า ในวันนั้น เวลาใกล้รุ่ง ทรงตรวจ
พวกเวไนยสัตว์ เห็นอุปนิสัยแห่งโสดาปัตติผลของพ่อลูกคู่นี้
ก็เสด็จไปเหมือนพรานเนื้อตามรอยเนื้อฉะนั้น ได้ประทับยืน ณ
ประตูป่าช้าผีดิบ ทรงเปล่งพระพุทธรังษี ๖ ประการอยู่. แม้
มาณพรับคำบิดาแล้ว คอนผ้าคู่นั้นด้วยปลายไม้เท้าเหมือนคอน

งูเขียว เดินไปถึงประตูป่าช้าผีดิบ. ลำดับนั้นพระศาสดารับสั่ง
กะเขาว่า มาณพ เจ้าทำอะไร ? มาณพกราบทูลว่า ข้าแต่พระ-
โคดมผู้เจริญ ผ้าคู่นี้ถูกหนูกัด เป็นเช่นเดียวกับตัวกาฬกรรณี
เปรียบด้วยยาพิษที่ร้ายแรง บิดาของข้าพระองค์เกรงว่า เมื่อ

ผู้ทิ้งมันเป็นคนอื่น น่าจะเกิดความโลภขึ้นถือเอาเสีย จึงใช้ข้า-
พระองค์ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าเองก็มาด้วยหวังว่า
จักทิ้งมันเสีย. พระศาสดาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น ก็จงทิ้งเถิด. มาณพ
จึงทิ้งเสีย พระศาสดาตรัสว่า คราวนี้สมควรแก่เราตถาคต
ดังนี้แล้ว ทรงถือเอาต่อหน้ามาณพนั้นทีเดียว ทั้ง ๆ ที่มาณพนั้น

ห้ามอยู่ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นอวมงคลเหมือนตัว
กาฬกรรณีอย่าจับ อย่าจับเลย พระศาสดาก็ทรงถือเอาผ้าคู่นั้น
เสด็จผันพระพักตร์มุ่งหน้าตรงไปพระเวฬุวัน. มาณพรีบไปบอก
แก่พราหมณ์ผู้บิดาว่า คุณพ่อครับ คู่ผ้าสาฎกที่ผมเอาไปทิ้งท
ี่ป่าช้าผีดิบนั้น พระสมณโคดมตรัสว่า ควรแก่เรา ทั้ง ๆ ที่ผม
ห้ามปราม ก็ทรงถือเอาแล้วเสด็จไปสู่พระเวฬุวัน ถึงพระสมณ-

• อยู่ใกล้ความตาย แต่ไม่คลายความยึดมั่นถือมั่น
• เมื่อจิตใจดี วาจาย่อมจะออกมาดี
• ระวังความชั่ว จะเข้าตัวอยู่ทุกขณะ
• มีศีล ๕ กันทุกคน หมดความกังวนในเรื่องของโจรผู้ร้าย
• สังคมคือคนหมู่มาก หากมากไปด้วย หิริโอตัปป และเมตตาก็อยู่กันด้วยความผาสุข
• อยู่กับสังคม มิควรจมอยู่กับความตระหนี่
• รักเพื่อน ควรแนะนำบอกสิ่งที่ดีที่สุดให้
• รักตัว ควรแล้วหรือที่เอาตัวไปเกือกกลั้วกับความเลว
• ช่วยเหลือแบ่งปัน เพื่อวันที่สดใสยิ่งขึ้น

:b8:

.....................................................
เมื่อความเห็นใดมีการหัวเราะ ผมขออนุญาตไม่ยุ่ง และตอบนะครับ

สนทนาธรรมโปรดเคารพในพระธรรม และเพื่อนสมาชิกด้วย

เจริญ สติ และปัญญา


เพื่อลดละเลิก ป้องกันสิ่งที่เป็นอกุศลทาง กาย วาจา ใจ
เพื่อเจริญและรักษาไว้ชึ่งสิ่งที่เป็นกุศลทาง กาย วาจา ใจ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 2252 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14 ... 151  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 0 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร