วันเวลาปัจจุบัน 28 ก.ค. 2025, 05:53  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 06:39 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ความสุข คืออะไร


เมื่อจะพัฒนาความสุข ก็มาดูความหมายของความสุขเสียก่อนว่า ความสุข มีความหมายอย่างไร

ความสุข คือ การได้สนองความต้องการ หรือใช้ภาษาง่ายๆ ว่า คือ ความสมอยากสมปรารถนา

ขอทำความเข้าใจไว้ก่อนว่า นี่ยังไม่ใช่ความหมายที่ครอบคลุมทั้งหมด แต่ครอบคลุมในระดับในระดับพื้นฐานที่มีขอบเขตกว้างมาก เป็นความหมายที่สำคัญอย่างยิ่ง ความสุขที่คนทั่วๆไป รู้จัก ก็อยู่แค่ความหมายนี้

เราอยากอาบน้ำแล้ว ได้อาบน้ำ ก็มีความสุข อยากรับประทานอะไรแล้ว ได้รับประทาน ก็มีความสุข เด็กอยากเล่นแล้ว ได้เล่น ก็มีความสุข นี่ก็คือได้สนองความต้องการ หรือสนองความอยากความปรารถนานั่นเอง *

.........

ที่อ้างอิง *

* บางทีเราใช้คำว่า ความต้องการให้ตรงกับคำว่า need อย่างในเศรษฐศาสตร์ คล้ายจะบัญญัติให้ให้แปลคำนามพหูพจน์ของคำนี้ คือ needs ว่า “ความต้องการจำเป็น”
ส่วนความอยากความปรารถนา ก็หมายถึง desire เป็นต้น ทำให้ดูเหมือนกับว่า ในภาษาไทยไม่มีคำที่มีความหมายตรงกับ need ของฝรั่ง จึงต้องมาคิดกันใหม่ และหาคำตรงแท้ไม่ได้ ก็เลยต้องใช้เป็นขอความหรือวลี

คำว่า ต้องการเชิงจำเป็น นี้ น่าจะตรงกับคำเก่าที่เคยใช้มาก่อนว่า “จำปรารถนา” เช่น ภาษิตว่า สติ สพฺพตฺถ ปตฺถิยา แปลว่า “สติจำปรารถนาในที่ทั้งปวง” หมายความว่า สติเป็นธรรมที่ต้องใช้หรือจำเป็นในทุกกรณี “จำปรารถนา” ก็ใกล้ๆ กับคำว่าจำเป็น แต่ไม่ตรงกันแท้ เช่น ในตัวอย่างว่า ในกระท่อมหลังหนึ่ง ที่เราจะเข้าไปนอน ไม่มีอะไรเลย นอกจากพื้นดินที่เฉอะแฉะ แลขรุขระ เราก็บอกว่า จำปรารถนาเตียง นี่ก็คือ ไม่ว่าเราจะอยากได้หรือไม่ แต่ก็จำปรารถนา อย่างคนเจ็บป่วยก็จำปรารถนายา ดังนี้เป็นต้น โบราณ มีคำนี้ จึงไม่สับสนระหว่างคำว่า ต้องการ กับ ปรารถนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ตรงนี้ ขอแทรกเรื่องปัญหาทางภาษา เวลานี้ คำว่า “ต้องการ” กับ “ปรารถนา” กับ “อยาก” บางทีก็ต้องระวังการใช้ เนื่องจากในทางวิชาการสมัยใหม่บางสาขา มีการใช้โดยแยกความหมายให้แตกต่างกัน โดยเฉพาะระหว่างความต้องการ กับ ความอยาก ให้มีความหมายไปคนละอย่าง

สำหรับในที่นี้ จะใช้คำว่า ต้องการ กับ ปรารถนา แบบปนกันไปเลย ไม่แยก ให้เหมือนกับว่ามีความหมายอย่างเดียวกัน ถ้าเทียบกับคำภาษาอังกฤษ ให้ถือว่าเท่ากับ desire ทั้งนั้น

เมื่อบอกว่า ความสุข คือการได้สนองความต้องการ หรือการได้สมอยากสมปรารถนา เรื่องก็เลยโยงไปหาคำว่า ต้องการ หรือ ปรารถนา ซึ่งต้องมาทำความเข้าใจกัน

ความต้องการ หรือ ปรารถนานี้ เป็นเรื่องใหญ่มาก ขอยกพุทธพจน์มาตั้งเป็นหลัก พระองค์ตรัสว่า “ฉนฺทมูลกา สพฺเพ ธมฺมา” แปลว่า ธรรมทั้งหลาย มีฉันทะเป็นมูล หมายความว่า เรื่องของมนุษย์ทุกสิ่งทุกอย่าง มีความต้องการเป็นมูล มีความอยากเป็นต้นทาง

เพราะฉะนั้น

๑. เราจะต้องทำความเข้าใจเรื่องความอยาก ความปรารถนา ความต้องการนี้ ให้ชัดเจน

๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ หรือได้สนองความปรารถนา มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น ก็ต้องพัฒนาความอยาก พัฒนาความปรารถนา หรือ พัฒนาความต้องการด้วย มิฉะนั้น การพัฒนาความสุข ก็จะไม่สำเร็จ

เป็นอันว่า ความต้องการนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา

ก็จึงมาทำความเข้าใจเรื่องความต้องการ หรือความอยากกันต่อไป ขอให้ถือหลักความต้องการนี้ว่าเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ควรไปหลบไปเลี่ยงที่จะศึกษามัน

ความคลุมเครือพร่ามัวในหลักความอยากความต้องการนี้ ทำให้มองอะไรไม่ชัด พัฒนาไม่เดินหน้า แก้ปัญหาไม่สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษา จริยธรรม วิชาการ หรือกิจการอะไรก็ตาม ถ้าจับจุดนี้ไม่ได้ ก็เป็นอันว่าไปไม่ถึงไหน ไม่ถึงเนื้อตัวไม่ถึงสาระของเรื่องนั้นๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:23 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:

๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ หรือได้สนองความปรารถนา มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น ก็ต้องพัฒนาความอยาก พัฒนาความปรารถนา หรือ พัฒนาความต้องการด้วย มิฉะนั้น การพัฒนาความสุข ก็จะไม่สำเร็จ

เป็นอันว่า ความต้องการนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา



ถูกต้อง..แล้ว..

ต้องพัฒนาความปรารถณา..ให้ถูกทาง..จึงจะถึงความสุขที่ถูกต้อง


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:

๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ หรือได้สนองความปรารถนา มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น ก็ต้องพัฒนาความอยาก พัฒนาความปรารถนา หรือ พัฒนาความต้องการด้วย มิฉะนั้น การพัฒนาความสุข ก็จะไม่สำเร็จ

เป็นอันว่า ความต้องการนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา



ถูกต้อง..แล้ว..

ต้องพัฒนาความปรารถณา..ให้ถูกทาง..จึงจะถึงความสุขที่ถูกต้อง


กบทำไมไม่พูด ความอยาก กลัวความอยากหรอ :b32: อย่ากลัวความอยาก ความอยากนั่นแหละต้องพัฒนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ดูต่อไป


ความต้องการ คือ อะไร และสำคัญอย่างไร

ศัพท์ธรรมสำหรับความอยาก หรือ ความต้องการ นี้ ค่อนข้างซับซ้อน ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจเล็กน้อย

ขอยกพุทธพจน์มาดูกันอีกครั้งหนึ่ง คือ ที่ตรัสว่า “ฉนฺทมูลกา สพฺเพ ธมฺมา” (ธรรมทั้งปวงมีฉันทะเป็นมูล หรือเป็นราก เป็นฐาน เป็นต้นตอ)

คำสำคัญ คือ “ฉันทะ” แปลว่า ความต้องการ หรือความอยาก จะแปลว่า ความปรารถนา ที่เป็นคำบาลีว่า “ปตฺถนา” ก็ได้

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ที่ว่าซับซ้อน ก็คือ เริ่มแรก “ฉันทะ” ความต้องการ หรือความอยาก นี้ ในขั้นพื้นฐาน เป็นคำกลางๆ ใช้ในทางดี ก็ได้ ใช้ในทางร้าย ก็ได้ เป็นกุศล ก็ได้ เป็นอกุศล ก็ได้ มีทั้ง กามฉันท์ เนกขัมมฉันท์ บริโภคฉันท์ ธรรมฉันท์ ฯลฯ

ในขั้นนี้ ท่านแยก “ฉันทะ” คือ ความต้องการนี้ ว่ามี ๒ อย่าง คือ

๑. ตัณหาฉันทะ แปลว่า ฉันทะคือตัณหา หรือฉันทะที่เป็นตัณหา (ฉันทะ คือ ความอยากได้ อยากเอา อยากเป็น อยากมี อยากมลาย)

๒. กัตตุกัมยตาฉันทะ แปลว่า ฉันทะคือกัตตุกัมยตา หรือฉันทะที่เป็นกัตตุกัมยตา (ฉันทะ คือ ความอยากทำ ใฝ่จะทำ ใฝ่สร้างสรรค์)

อย่างแรกเป็นฝ่ายร้าย เป็นอกุศลฉันทะ

อย่างหลังเป็นฝ่ายดี เป็นกุศลฉันทะ ที่จริง อย่างนี้ก็ดูง่าย และก็ชัดดีอยู่ แต่ถ้อยคำยาวไปหน่อย เรียกยาก


ตรงนี้ก็มาถึงที่ซับซ้อน คือ ในเวลาแสดงธรรม อธิบายธรรม หรือพูดจาสื่อสารกันทั่วไป ก็อยากใช้คำที่สั้นๆง่ายๆ ในที่สุดก็ปรากฏผลออกมาว่า

@ เวลาพูดถึง ฉันทะ ที่อยากในทางไม่ดี เป็นอกุศล ก็ใช้คำเดียวไปเลยว่า “ตัณหา” (ไม่ต้องพูดว่า ตัณหาฉันทะ)

@ ถ้าจะพูดถึง ฉันทะ ที่อยากในทางดี เป็นกุศล ก็ใช้คำเดียวไปเลยว่า “ฉันทะ” (ไม่ต้องพูดให้ยาวว่า กัตตุกัมยตาฉันทะ หรือกุศลฉันทะ หรือธรรมฉันทะ หรือสภาวฉันทะ ฯลฯ)

ตอนนี้ ก็เลยพูดได้ง่าย สั้นนิดเดียว รู้เรื่องกันไป ไม่ต้องยืดยาดเยิ่นเย้อ พอบอกว่า “ตัณหา” ก็คือความอยากที่ไม่ดี (คือฉันทะฝ่ายอกุศลนั่นเอง)

พอพูดว่า “ฉันทะ” ก็คือ ความอยากที่ดี (คือฉันทะฝ่ายกุศล หรือกัตตุกัมยตาฉันทะ นั่นเอง)

ถ้าไม่รู้ที่ไปที่มา ก็จะงง ว่าคำไหน หมายถึงอะไร คำไหนดี คำไหนร้าย ก็สับสนยุ่งไปหมด เช่น ไปเจอ กามฉันทะ ก็งง ไหนว่า ฉันทะเป็นฝ่ายดี ทำไม่นี่ไม่ดีล่ะ ดังนี้ เป็นต้น จึงต้องพูดทำความเข้าใจกันให้ชัด

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:13 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 25 เม.ย. 2009, 02:43
โพสต์: 12232


 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:

๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ หรือได้สนองความปรารถนา มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น ก็ต้องพัฒนาความอยาก พัฒนาความปรารถนา หรือ พัฒนาความต้องการด้วย มิฉะนั้น การพัฒนาความสุข ก็จะไม่สำเร็จ

เป็นอันว่า ความต้องการนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา



ถูกต้อง..แล้ว..

ต้องพัฒนาความปรารถณา..ให้ถูกทาง..จึงจะถึงความสุขที่ถูกต้อง


กบทำไมไม่พูด ความอยาก กลัวความอยากหรอ :b32: อย่ากลัวความอยาก ความอยากนั่นแหละต้องพัฒนา


ไม่ได้กลัว...อยาก..กับ ปรารถณา..มันก็พวกเดียวกัน..

ไม่อยากพูดยาวๆ...มันเจ็บคอ.. :b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 09:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:
กบนอกกะลา เขียน:
กรัชกาย เขียน:

๒. ในเมื่อความสุขเป็นการได้สนองความต้องการ หรือได้สนองความปรารถนา มันก็บ่งชี้ว่า การที่จะพัฒนาความสุขได้นั้น ก็ต้องพัฒนาความอยาก พัฒนาความปรารถนา หรือ พัฒนาความต้องการด้วย มิฉะนั้น การพัฒนาความสุข ก็จะไม่สำเร็จ

เป็นอันว่า ความต้องการนี้ เป็นสิ่งที่จะต้องพัฒนา



ถูกต้อง..แล้ว..

ต้องพัฒนาความปรารถณา..ให้ถูกทาง..จึงจะถึงความสุขที่ถูกต้อง


กบทำไมไม่พูด ความอยาก กลัวความอยากหรอ :b32: อย่ากลัวความอยาก ความอยากนั่นแหละต้องพัฒนา


ไม่ได้กลัว...อยาก..กับ ปรารถณา..มันก็พวกเดียวกัน..

ไม่อยากพูดยาวๆ...มันเจ็บคอ.. :b32: :b32:


ก็พูดความอยากดิ ไหนพูดไปสิ ว่า กบนอกกะลา อยาก พูดสิพูดไป :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รอกบนอกกะลาพูดคำว่า "อยาก" กบนอกกะลาอยาก ค่อนวันแล้ว ไม่กล้าพูด อิอิ แสดงว่า ตะขิดตะขวงใจ คิกๆๆ นี่แหละภาษาธรรม กับ ภาษาไทย

ไปต่อ


ถึงตอนนี้ ก็สรุปได้ คือบอกว่า ความอยาก หรือ ความต้องการ นั้น มี ๒ อย่าง คือ

๑. ตัณหา คือ ความอยากความต้องการที่เป็นอกุศล ได้แก่ อยากได้ อยากเอา อยากมี อยากเป็น อยากทำลาย

๒. ฉันทะ คือ ความอยากความต้องการที่เป็นกุศล ได้แก่ อยากทำ (ให้มันดี) ใฝ่ฝึก ใฝ่ศึกษา ใฝ่ปฏิบัติ ใฝ่จัดทำ ใฝ่สร้างสรรค์

ในคัมภีร์ภาษาบาลีชั้นอรรถกถา เมื่อท่านจะแยก ๒ อย่างนี้ ท่านก็หาคำกลางมาตั้งก่อน ได้พบว่า ท่านใช้คำว่า ปตฺถนา คือ ความปรารถนา มาวางเป็นคำกลาง แล้วท่านก็แยกให้ดู บอกว่า ปตฺถนา (คือ ความปรารถนา) มี ๒ อย่าง (ก็คือที่แยกให้ดูแล้วข้างบนนั่นเอง) ได้แก่

๑.ตณฺหาปตฺถนา คือ ความปรารถนาที่เป็นตัณหา (ปรารถนาเอา, ต้องการเสพ)

๒. ฉนฺทปตฺถนา คือ ความปรารถนาที่เป็นฉันทะ (ปรารถนาดี, ต้องการทำให้ดี)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:34 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


มีข้อสังเกตว่า คนไทยทั่วไป โดยเฉพาะชาวพุทธไทยนี้เอง พอพูด ถึง ความอยาก ก็มักจะบอกว่า ไม่ดี ไม่ถูก ใช้ไม่ได้ แล้วก็ชอบบอกกัน สอนกัน ไม่ให้อยาก ซึ่งนับว่าเป็นอันตราย อาจกลายเป็นการทำร้าย ทั้งตัดรอนการพัฒนาคน และขัดขวางการพัฒนาสังคมประเทศชาติ

ส่วนคนอีกพวกหนึ่ง ก็เลยเถิดไปในทางตรงข้าม ชอบพูดชอบสอนว่าให้อยากได้อยากเอา อยากมั่งอยากมี บางทีถึงกับสอนให้โลภ ให้อยากเด่นอยากดัง อยากเป็นใหญ่เป็นโต บอกว่าต้องอย่างนี้ ประเทศชาติสังคมจึงจะพัฒนา แต่ไม่ได้พัฒนาจริงเลย มีแต่พัฒนาไปสู่ความพินาศ อย่างน้อยก็ทำให้เกิดการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ทั้งการเมืองและเศรษฐกิจ พาคนพาโลกออกไปจากสันติภาพ

ทั้งสองพวกนี้ ก็คือสุดโต่ง สุดขั้วไปคนละด้าน แต่เหมือนกัน ร่วมกันตรงที่มีความไม่รู้ คือ ไม่รู้จักความอยาก ไม่รู้ไม่เข้าใจธรรมชาติของความต้องการ แล้วก็จัดการ กับ ความอยากนั้นไม่ถูกต้อง

เพราะฉะนั้น เรื่องความอยาก จึงต้องรู้จัก และแยกให้ได้ ดังที่นำมาให้ดูนั้น เมื่อแยกได้แล้ว เรื่องราวอะไรต่างๆ ก็จะกระจ่างแจ้งชัดขึ้นมากมาย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เมื่อได้เห็นความหมายที่แตกต่างกันระหว่างความอยาก ๒ แบบนั้นไปคร่าวๆแล้ว ก็จะให้จับสาระ หรือลักษณะสำคัญของความแตกต่างนั้นให้จะแจ้งขึ้นอีก เป็นการชี้จุดสำคัญให้เด่นชัดยิ่งขึ้น

๑. ตัณหา เป็นความอยากเพื่อตัวตนของเรา หรือเพื่อตัวเราเอง เช่น อยากเอาเข้ามาให้แก่ตัว เอามาบำเรอตัว ให้ตัวเสพ ให้ตัวได้ ให้ตัวเป็นหรือไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้

๒. ฉันทะ เป็นความอยากเพื่อสภาวะของสิ่งนั้นๆ เอง เพื่อความดี เพื่อความงาม เพื่อความสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ

ขอยกตัวอย่างง่ายๆ ในวัด เช่นว่า คนมาในวัดแล้ว เข้าไปในบริเวณที่มีต้นไม้มากๆ เห็นกระรอกกระแตวิ่งโลดเต้นกระโดดกระโจนไปมา

คนหนึ่งก็ชื่นชม มองว่า เจ้ากระรอกนี้น่าดู คล่องแคล่ว มันกระโดดไปกระโดดมา ดีนะ เป็นภาพที่งามตา ขอให้กระรอกเหล่านี้มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ทำหมู่ไม้ที่ร่มรื่นให้งดงามน่าเพลินใจ ช่วยให้วัดเป็นรมณียสถานนานเท่านานต่อไปเถิด อย่างนี้คืออยากเพื่อสภาวะที่เต็มสมบูรณ์ของสิ่งนั้นเอง เรียกว่า มีความอยากหรือความต้องการที่เป็นกุศล เป็นฉันทะ

ส่วนอีกคนหนึ่ง ก็เห็นกระรอกตัวเดียวกันนั้นแหละ แต่เขามองไปก็คิดไปว่า เจ้ากระรอกตัวนี้อ้วนดี เนื้อมาก ถ้าเราได้ เอาไปลงหม้อแกงเย็นนี้ คงอร่อยทีเดียวละ นี้คืออยากเพื่อตัวตนของตนเอง เรียกว่า มีความอยากที่เป็นอกุศล เป็นตัณหา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 19:22, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกตัวอย่างหนึ่ง นักเรียนจบมัธยมศึกษาแล้ว คิดเลือกจะเรียนแพทย์

คนหนึ่งอยากเป็นแพทย์ เพราะอยากมีรายได้มาก อยากหาเงินง่าย จะมั่งคั่งร่ำรวย และมีหน้ามีตา มีเกียรติสูง นี้คืออยากเพื่อตัวตนของตนเอง เรียกว่ามีความอยากหรือความต้องการที่เป็นอกุศล ก็เป็นพวกตัณหา

ส่วนอีกคนหนึ่งอยากเป็นแพทย์ เพราะอยากทำให้คนหายจากโรค อยากเห็นประชาชนแข็งแรงมีสุขภาพดี อยากให้ชาวบ้านพ้นความเดือดร้อน อยากให้บ้านเมืองมีพลเมืองที่มีคุณภาพอยู่กันร่มเย็นเป็นสุข อย่างนี้คืออยากเพื่อสภาวะที่เต็มสมบูรณ์ของสิ่งนั้นๆ ที่เป็นวัตถุประสงค์อย่างตรงไปตรงมาของอาชีพแพทย์นั้นเอง เรียกว่า มีความอยากหรือความต้องากรที่เป็นกุศล เป็นฉันทะ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:43 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


คนมีความอยากต้องการอย่างไหน เมื่อเขาได้สนองความต้องการอย่างนั้น เขาก็มีความสุข ดังนั้น ความสุขของคนจึงต่างกันไปตามความต้องการ

คนหนึ่งอยากให้กระรอกแข็งแรงสมบูรณ์เป็นอยู่สุขสบายของมัน พอเห็นกระรอกนั้นกระโดดโลดเต้นร่าเริงดี ความต้องการของเขาก็ได้รับการสนอง เขาก็มีความสุขทันที

อีกคนหนึ่งอยากเอากระรอกมาต้มกินให้ลิ้นของตัวได้อร่อย ต้องไล่จับไล่ยิงเอากระรอกนั้นมาต้มมาแกงให้มันตาย จนกว่าตัวเองจะได้กิน ความต้องการของเขาจึงจะได้รับการสนอง แล้วเขาจึงจะมีความสุข

มองกว้างไกลออกไป คนมีฉันทะรักที่จะทำเหตุของความเจริญ
คนมากด้วยตัณหา ได้แต่รอเสพผลของความเจริญนั้น
พูดสั้นๆ ว่า พวกฉันทะเป็นนักสร้าง พวกตัณหาเป็นนักเสพ
พวกฉันทะจึงมีความสุขในการสร้างสรรค์
พวกตัณหาจึงมีความสุขต่อเมื่อได้เสพ

ในสังคมที่เป็นอยู่นี้ ไม่อาจหวังว่าจะทำการใดให้กระแสตัณหาเหือดหายไปได้ หรือจะให้วิถีของฉันทะขยายขึ้นมาเป็นใหญ่ สิ่งที่พึงทำ คือพยายามดุลไว้ ไม่ปล่อยให้กระแสตัณหาท่วมท้นไหลพาลงเหวไป และคอยส่งเสริมวิถีแห่งการสนองฉันทะให้ดำเนินไปได้

ตราบใด คนผู้มีความสุขในแนวทางของการสนองฉันทะ ยังมีเป็นหลักเป็นแกนอยู่ สังคมมนุษย์ก็จะยังพอดำเนินไปได้

สิ่งที่จะต้องทำตลอดเวลา ก็คือ ความไม่ประมาทในการพัฒนามนุษย์ ให้ก้าวหน้าไปในการพัฒนาความสุข

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:45 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7520

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Kiss
พระพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริงของสิ่งที่กำลังมีจริงๆที่เป็นทศพลญาณ
ความจริงที่ทรงแสดงคิดในมืดไม่เกิดพร้อมเห็นจึงเห็นตัวอักษรไม่ได้ค่ะ
บอกแล้วว่าให้ฟังเพื่อสะสมปัญญาตามปกติตามเป็นจริงใช้หูฟังทีละคำตรงๆ
เพราะเห็นแสงสี1สีดับสลับกับมืดทางเสียงทางคิดทางรู้สึกทุกอารมณ์ไม่มีตัวตน
ไม่มีอะไรในความสว่างนอกจากสีกระทบตาดับวาบลงมืดต่ออีก5ทางตลอดเวลามืดมากกว่าแจ้ง
รู้แจ้งแทงตลอดธรรมได้ตอนกำลังฟังและลืมตาดูโลกตามปกติฟังจริงๆตถาคตสอนให้รู้จักกิเลสก่อนน๊า
ฟังพระพุทธพจน์จากปรโตโฆสะที่เป็นผู้รู้ที่แสดงคำของตถาคตให้เข้าใจความจริงที่กำลังปรากฏว่ามีแล้วค่ะ
:b12:
:b4: :b4:


แก้ไขล่าสุดโดย Rosarin เมื่อ 25 พ.ย. 2018, 15:51, แก้ไขแล้ว 3 ครั้ง.

โพสต์ เมื่อ: 25 พ.ย. 2018, 15:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b41: จบตอน พุทธธรรมหน้า ๑๐๗๒ :b48:

ต่อ

พอจะได้ ใจพองฟูขึ้นไป เป็นปีติ ได้สมใจสงบลงมา เป็นความสุข

ที่

viewtopic.php?f=1&t=56800

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 36 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2, 3  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร