วันเวลาปัจจุบัน 21 ก.ค. 2025, 16:02  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2018, 07:11 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
อาสาสมัคร
อาสาสมัคร
ลงทะเบียนเมื่อ: 06 มี.ค. 2009, 10:48
โพสต์: 5361


 ข้อมูลส่วนตัว


ที่เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงอยากรู้ สมเด็จพระสังฆราชท่านกล่าวไว้ดังนี้

“...อันกรรมไม่ดีนั้น มีคู่ที่มักจะใช้ด้วยกันคือมีความหมายไปในทางที่ไม่ดีคือคำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ผู้ที่มีสัมมาทิฐิย่อมไม่ปฏิเสธความเชื่อที่มีอยู่ว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้น “มี” ไม่ใช่ไม่มี

เจ้ากรรมนายเวรนั้นคือ “ผู้ที่ถูกทำร้ายก่อนและผูกอาฆาตจองเวร” หากไม่มีอาการอาฆาตจองเวรก็ไม่ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรเขาย่อมเป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ติดตามทำร้ายให้เป็นการตอบสนองหรือที่เรียกกันว่าแก้แค้น

ผู้ที่มีสัมมาทิฐิหรือมีความเห็นชอบแม้จะมองไม่เห็นหน้าตาของเจ้ากรรมนายเวรแต่ก็ย่อมไม่ประมาทและย่อมไม่เห็นเป็นความเหลวไหลไม่มีเหตุผล

เหตุที่เรามีเจ้ากรรมนายเวรก็เพราะ เราต่างก็มีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ทำกรรมดีและไม่ดีเอาไว้นับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรที่ได้ไปก้ำเกินเบียดเบียนทำร้ายไว้ ก็ย่อมมีไม่น้อยเช่นกัน

ทำนองเดียวกันกับผู้ที่เป็นบิดามารดาบุพการี หรือผู้มีพระคุณก็ต้องมีมากมาย แม้ชาตินี้ไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง แต่ก็จงพึงยอมรับว่า เจ้ากรรมนายเวรมีอยู่ในภพภูมิที่พ้นความรู้เห็นของผู้ไม่มีความสามารถและทั้งในภพภูมิเดียวกันกับเราทั้งหลายนี้ด้วย

ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและผู้มีพระคุณนั้น เมื่อจะทำการขอโทษท่านก็ต้องพึงทำเช่นเดียวกับเมื่อการที่เราจะตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ คือการทำบุญทำกุศลด้วยความตั้งใจจริงที่จะอุทิศให้แล้วก็ตั้งใจจริงที่จะบอกกล่าวให้รับรู้ ให้ยอมรับความเจตนาอันจริงใจที่จะขอโทษและตอบแทน

การตอบแทนและการบอกกล่าวด้วยความจริงใจเช่นนี้

ต่อให้ผู้ที่ไม่มีตัวตนปรากฏให้เห็น นั้นเราไม่เรียกว่า ความหลง ไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผล

แต่เป็นการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและจะได้ผลอาจนำพาให้พ้นมือแห่งกรรมไม่ดีที่ตามอยู่ได้”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ได้ทรงประพันธ์ไว้ในหนังสือ “อำนาจที่ยิ่งใหญ่แห่งกรรม” ที่มีบทอธิบายถึงเจ้ากรรมนายเวรว่ามีจริงหรือไม่






“ทำสมาธิทำได้ถึง 4 อิริยาบถ ไม่บาปขอให้ทำกัน ถึงแม้ว่าเราจะทำงานประเภทใดก็ตาม เขียนหนังสือก็ตาม หั่นผักก็ตาม อะไรก็แล้วแต่ ขอให้มีสติคุมให้ทัน ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในงานที่เราทำก็เป็นสมาธิ สมาธินี่ก็แปลว่าตั้งใจมั่นเท่านั้น”
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี





พูดถึงการบริจาค ยกหลวงปู่มั่นขึ้นมา เรื่องเงินทองนี่ ถ้าเรามีครอบครัว เราต้องดูแลครอบครัวให้มีความสุข ใครจะถวายเงินหลวงปู่มั่น ท่านบอกพอแล้วหรือ ถ้าพอแล้วก็แบ่งมา ถ้ามีครอบครัว อยากจะได้บุญ ก็เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุขก็ได้บุญเหมือนกัน

เดี๋ยวนี้คนเอาแต่ความสะดวก บ้านเล็ก ๆ ก็มีตู้เย็น แต่เป็นตู้หนี้ นี่อำนาจของความอยาก วัดเราจึงไม่ให้เอาเข้ามา เรื่องไฟฟ้า เรื่องอะไรที่จะเป็นหนี้เป็นสินอย่าเอาเข้ามา พระหาเงินไม่เป็นจะไปเบียดเบียนเขา เขามาวัดไม่ได้มาเอาความวุ่นวาย แล้วก็งดกฐินออก คิดถึงคำสอนหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านก็ไม่ได้บอกให้ทอดกฐิน ใครมาท่านก็ให้บังสุกุลเอา ท่านเอาง่าย ๆ

อย่างเรื่องเจ้กไฮ เจ้กไฮไปทำบุญกับหลวงปู่มั่นด้วยความปลื้มอกปลื้มใจ ไปทำอาหารถวายหลวงปู่มั่น ใส่บาตรเสร็จแล้วถึงเวลารับพรเขาก็เรียกเจ้กไฮมารับพร เจ้กไฮว่า อั้วไม่เอา สวดอั้วก็ไม่สวด อั้วได้บุญตั้งแต่อั้วคิดที่บ้าน หลวงปู่มั่นชมเชยเจ้กไฮมาก แต่พวกเรานี่ ยัดใส่มือยังบอก ฉันให้หน่อยน่า ก็ตัวเจตนาเป็นตัวบุญมันเสร็จแล้ว คนมาใส่บาตรตั้งเท่าไร เป็นร้อย ๆ จะให้ฉันหมดต้องฉันตั้งกี่วัน เจตนานั่นคือตัวกุศล ได้แล้วน่ะ คนอิสานนี่ครูบาอาจารย์สอนแนะนำพอเข้าใจกัน คนกรุงเทพนี่ว่าอิมานิอยู่นั่น ก็เลยว่า เวลาตัวเองจะทาน ทานร้อน ๆ อร่อย พระก็อยากร้อน ๆ เหมือนกันนะ ก็ว่าอยู่นั่นน่ะจนข้าวเย็น มันเกินไป

แล้วมีพวกส่งเขียนใส่สังฆทานมาที่นี่ เขียนใส่กระดาษมาเลยนะ สังฆัสสะ โอโนชยามะ มันเกินขอบเขต ส่งกลับเลย รับไม่ได้ คำว่าสังฆทานต้องเข้าหาสงฆ์ พร้อมหน้าสงฆ์ ต้องอยู่ต่อหน้า ยกวัตถุขึ้นมา แล้วว่า อิมานิ สังฆัสสะ ต้องว่าอย่างนี้ นี่เขียนใส่กระดาษมาเลยส่งกลับ มันจะมาสอนพระให้มักง่ายเหมือนกันหมด ไม่มีเวลาก็ไม่จำเป็นต้องส่งมาที่นี่ ส่งไปที่วัดไหนในกรุงเทพเต็มไปหมด ทำไมมาทำอย่างนี้ แต่คนเขานิยม มันวุ่นวาย เราเลยเลิกกฐินออก มันวุ่นวาย กว่าจะเสร็จ เสียเวลาทำการทำงาน เลยส่งกลับไป แล้วเขียนบอกห้ามส่งมาอีก สังฆทานใส่กระดาษนี่ สงฆ์ไม่พร้อมที่จะรับ

แล้วมาเขียนสอนพระให้ทำด้วยนะ เขียนมา อิมานิ มะยังภันเต อิมานิ สังฆัสสะ โอโนชยามะ เขียนมาถวายสังฆทาน นี่บวชมาไม่ได้บวชมาโง่ ๆ ไม่รู้จักสังฆทานคืออะไร ไปดูบ้างสิ ต้องพร้อมหน้าสงฆ์ แล้วต้องอยู่ต่อหน้าว่า ยกของขึ้นว่าอิมานิ นี่จะมาทำงู ๆ ปลา ๆ ไม่ได้ จนต้องเขียนบอกไม่ต้องส่งมาอีก ไม่สะดวกจะรับสังฆทานแบบเขียนใส่กระดาษมา ต้องแนบกลับให้เจ็บ ๆ เลย จะได้เข็ด ถ้าได้มาไม่ชอบธรรมมันก็มิจฉาอาชีโว เลี้ยงชีพไม่ชอบธรรม ไม่ถูกธรรมถูกวินัยก็เป็นอาบัติ ถ้าเป็นของฉัน ได้มาไม่ถูกธรรมถูกวินัย ฉันไปก็เป็นอาบัติทุกคำกลืน วินัยนี่ละเอียด ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่เอาแล้ว เอากลับไป ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องฉัน เราไม่เล่นด้วย

หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร
๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๑





"วันหนึ่งๆ อย่าได้ลืม การให้ทานก็ดี
การรักษาศีลก็ดี การภาวนาก็ดี
นี่เป็นสมบัติของมนุษย์เรา
ที่จะสั่งสมคุณงามความดี ทั้งหลาย
จากการกระทำเหล่านี้ เข้าสู่ใจของตน
อย่าให้ได้ขาดวัน ขาดคืน

เวลาตายแล้ว หมดท่าทั้งนั้นแหละ
ไม่ว่าชาติชั้นวรรณะใด ตายแล้วก็ทิ้งโด่อยู่
เขาเอาศพ เอาเมรุ เอาชนิดไหนมาประดับประดา
ก็ประดับประดาคนตาย มีคุณค่าอะไร

เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเสาะแสวงหาความดี
มาประดับประดาจิตใจของเรา เสียตั้งแต่บัดนี้
จะไม่เสียที ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และ
พบพระพุทธศาสนาด้วย"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน





"เรารักตัวเรา คนอื่นก็รักตัวเขา

เราไม่อยากให้ใคร ทําเช่นไรกับเรา
คนอื่นก็ไม่อยากให้เรา ทําเช่นนั้นกับเขา

เราอยากให้คนอื่น ทําดีกับเราอย่างไร
คนอื่นก็อยากให้เรา ทําดีกับเขาอย่างนั้น

ขอให้พยายาม คิดถึงความจริงนี้
ให้บ่อยที่สุด เท่าที่จะมีสตินึกได้
จะเป็นคุณแก่ตนเองอย่างยิ่ง

การคิด พูด ทําทั้งหมด จะเป็นไปอย่างดีที่สุด
ไม่เป็นการทําร้ายผู้อื่น ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2018, 10:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สะกดอย่างนี้ อิริยาบ ถ ถุง แบกขน ส่วนมากจะสะกดเป็น ท ทหารอดทน ซึ่งผิด :b1:

อิริยาบถ "ทางแห่งการเคลื่อนไหว" ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าที่เคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง, อิริยาบถหลักมี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน, อิริยาบถย่อย เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือ จุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 01 พ.ย. 2018, 11:36 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
สะกดอย่างนี้ อิริยาบ ถ ถุง แบกขน ส่วนมากจะสะกดเป็น ท ทหารอดทน ซึ่งผิด :b1:

อิริยาบถ "ทางแห่งการเคลื่อนไหว" ท่าทางที่ร่างกายจะเป็นไป, ท่าที่เคลื่อนไหวตั้งวางร่างกายอย่างใดอย่างหนึ่ง, อิริยาบถหลักมี ๔ คือ ยืน เดิน นั่ง นอน, อิริยาบถย่อย เรียกว่า จุณณิยอิริยาบถ หรือ จุณณิกอิริยาบถ ได้แก่ ท่าที่แปรเปลี่ยนยักย้ายไประหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ นั้น

แดนซ์ ก็ได้ วิ่งก็ได้ แอโรบิค ฟิตเนสก้อได้
คริคริ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 04 พ.ย. 2018, 22:21 
 
ออฟไลน์
สมาชิก ระดับ 7
สมาชิก ระดับ 7
ลงทะเบียนเมื่อ: 14 ต.ค. 2018, 00:52
โพสต์: 512

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


รสมน เขียน:
ที่เชื่อว่าท่านทั้งหลายคงอยากรู้ สมเด็จพระสังฆราชท่านกล่าวไว้ดังนี้

“...อันกรรมไม่ดีนั้น มีคู่ที่มักจะใช้ด้วยกันคือมีความหมายไปในทางที่ไม่ดีคือคำว่า “เจ้ากรรมนายเวร” ผู้ที่มีสัมมาทิฐิย่อมไม่ปฏิเสธความเชื่อที่มีอยู่ว่าเจ้ากรรมนายเวรนั้น “มี” ไม่ใช่ไม่มี

เจ้ากรรมนายเวรนั้นคือ “ผู้ที่ถูกทำร้ายก่อนและผูกอาฆาตจองเวร” หากไม่มีอาการอาฆาตจองเวรก็ไม่ถือว่าเป็นเจ้ากรรมนายเวรเขาย่อมเป็นผู้ไม่คิดร้าย ไม่ติดตามทำร้ายให้เป็นการตอบสนองหรือที่เรียกกันว่าแก้แค้น

ผู้ที่มีสัมมาทิฐิหรือมีความเห็นชอบแม้จะมองไม่เห็นหน้าตาของเจ้ากรรมนายเวรแต่ก็ย่อมไม่ประมาทและย่อมไม่เห็นเป็นความเหลวไหลไม่มีเหตุผล

เหตุที่เรามีเจ้ากรรมนายเวรก็เพราะ เราต่างก็มีภพชาติมานับไม่ถ้วนในอดีต ต่างก็ทำกรรมดีและไม่ดีเอาไว้นับไม่ถ้วนในภพชาติทั้งหลายนั้น เจ้ากรรมนายเวรที่ได้ไปก้ำเกินเบียดเบียนทำร้ายไว้ ก็ย่อมมีไม่น้อยเช่นกัน

ทำนองเดียวกันกับผู้ที่เป็นบิดามารดาบุพการี หรือผู้มีพระคุณก็ต้องมีมากมาย แม้ชาตินี้ไม่อาจจะล่วงรู้ได้ว่าเป็นใครต่อใครบ้าง แต่ก็จงพึงยอมรับว่า เจ้ากรรมนายเวรมีอยู่ในภพภูมิที่พ้นความรู้เห็นของผู้ไม่มีความสามารถและทั้งในภพภูมิเดียวกันกับเราทั้งหลายนี้ด้วย

ทั้งเจ้ากรรมนายเวรและผู้มีพระคุณนั้น เมื่อจะทำการขอโทษท่านก็ต้องพึงทำเช่นเดียวกับเมื่อการที่เราจะตอบแทนบุญคุณของผู้มีพระคุณ คือการทำบุญทำกุศลด้วยความตั้งใจจริงที่จะอุทิศให้แล้วก็ตั้งใจจริงที่จะบอกกล่าวให้รับรู้ ให้ยอมรับความเจตนาอันจริงใจที่จะขอโทษและตอบแทน

การตอบแทนและการบอกกล่าวด้วยความจริงใจเช่นนี้

ต่อให้ผู้ที่ไม่มีตัวตนปรากฏให้เห็น นั้นเราไม่เรียกว่า ความหลง ไม่ใช่เรื่องไร้เหตุผล

แต่เป็นการปฏิบัติตนที่ถูกต้องและจะได้ผลอาจนำพาให้พ้นมือแห่งกรรมไม่ดีที่ตามอยู่ได้”

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
ได้ทรงประพันธ์ไว้ในหนังสือ “อำนาจที่ยิ่งใหญ่แห่งกรรม” ที่มีบทอธิบายถึงเจ้ากรรมนายเวรว่ามีจริงหรือไม่

----------------------------------------------

“ทำสมาธิทำได้ถึง 4 อิริยาบถ ไม่บาปขอให้ทำกัน ถึงแม้ว่าเราจะทำงานประเภทใดก็ตาม เขียนหนังสือก็ตาม หั่นผักก็ตาม อะไรก็แล้วแต่ ขอให้มีสติคุมให้ทัน ให้จิตตั้งมั่นอยู่ในงานที่เราทำก็เป็นสมาธิ สมาธินี่ก็แปลว่าตั้งใจมั่นเท่านั้น”
หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย
วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี

----------------------------------------------

พูดถึงการบริจาค ยกหลวงปู่มั่นขึ้นมา เรื่องเงินทองนี่ ถ้าเรามีครอบครัว เราต้องดูแลครอบครัวให้มีความสุข ใครจะถวายเงินหลวงปู่มั่น ท่านบอกพอแล้วหรือ ถ้าพอแล้วก็แบ่งมา ถ้ามีครอบครัว อยากจะได้บุญ ก็เลี้ยงครอบครัวให้มีความสุขก็ได้บุญเหมือนกัน

เดี๋ยวนี้คนเอาแต่ความสะดวก บ้านเล็ก ๆ ก็มีตู้เย็น แต่เป็นตู้หนี้ นี่อำนาจของความอยาก วัดเราจึงไม่ให้เอาเข้ามา เรื่องไฟฟ้า เรื่องอะไรที่จะเป็นหนี้เป็นสินอย่าเอาเข้ามา พระหาเงินไม่เป็นจะไปเบียดเบียนเขา เขามาวัดไม่ได้มาเอาความวุ่นวาย แล้วก็งดกฐินออก คิดถึงคำสอนหลวงปู่มั่น หลวงปู่มั่นท่านก็ไม่ได้บอกให้ทอดกฐิน ใครมาท่านก็ให้บังสุกุลเอา ท่านเอาง่าย ๆ

อย่างเรื่องเจ้กไฮ เจ้กไฮไปทำบุญกับหลวงปู่มั่นด้วยความปลื้มอกปลื้มใจ ไปทำอาหารถวายหลวงปู่มั่น ใส่บาตรเสร็จแล้วถึงเวลารับพรเขาก็เรียกเจ้กไฮมารับพร เจ้กไฮว่า อั้วไม่เอา สวดอั้วก็ไม่สวด อั้วได้บุญตั้งแต่อั้วคิดที่บ้าน หลวงปู่มั่นชมเชยเจ้กไฮมาก แต่พวกเรานี่ ยัดใส่มือยังบอก ฉันให้หน่อยน่า ก็ตัวเจตนาเป็นตัวบุญมันเสร็จแล้ว คนมาใส่บาตรตั้งเท่าไร เป็นร้อย ๆ จะให้ฉันหมดต้องฉันตั้งกี่วัน เจตนานั่นคือตัวกุศล ได้แล้วน่ะ คนอิสานนี่ครูบาอาจารย์สอนแนะนำพอเข้าใจกัน คนกรุงเทพนี่ว่าอิมานิอยู่นั่น ก็เลยว่า เวลาตัวเองจะทาน ทานร้อน ๆ อร่อย พระก็อยากร้อน ๆ เหมือนกันนะ ก็ว่าอยู่นั่นน่ะจนข้าวเย็น มันเกินไป

แล้วมีพวกส่งเขียนใส่สังฆทานมาที่นี่ เขียนใส่กระดาษมาเลยนะ สังฆัสสะ โอโนชยามะ มันเกินขอบเขต ส่งกลับเลย รับไม่ได้ คำว่าสังฆทานต้องเข้าหาสงฆ์ พร้อมหน้าสงฆ์ ต้องอยู่ต่อหน้า ยกวัตถุขึ้นมา แล้วว่า อิมานิ สังฆัสสะ ต้องว่าอย่างนี้ นี่เขียนใส่กระดาษมาเลยส่งกลับ มันจะมาสอนพระให้มักง่ายเหมือนกันหมด ไม่มีเวลาก็ไม่จำเป็นต้องส่งมาที่นี่ ส่งไปที่วัดไหนในกรุงเทพเต็มไปหมด ทำไมมาทำอย่างนี้ แต่คนเขานิยม มันวุ่นวาย เราเลยเลิกกฐินออก มันวุ่นวาย กว่าจะเสร็จ เสียเวลาทำการทำงาน เลยส่งกลับไป แล้วเขียนบอกห้ามส่งมาอีก สังฆทานใส่กระดาษนี่ สงฆ์ไม่พร้อมที่จะรับ

แล้วมาเขียนสอนพระให้ทำด้วยนะ เขียนมา อิมานิ มะยังภันเต อิมานิ สังฆัสสะ โอโนชยามะ เขียนมาถวายสังฆทาน นี่บวชมาไม่ได้บวชมาโง่ ๆ ไม่รู้จักสังฆทานคืออะไร ไปดูบ้างสิ ต้องพร้อมหน้าสงฆ์ แล้วต้องอยู่ต่อหน้าว่า ยกของขึ้นว่าอิมานิ นี่จะมาทำงู ๆ ปลา ๆ ไม่ได้ จนต้องเขียนบอกไม่ต้องส่งมาอีก ไม่สะดวกจะรับสังฆทานแบบเขียนใส่กระดาษมา ต้องแนบกลับให้เจ็บ ๆ เลย จะได้เข็ด ถ้าได้มาไม่ชอบธรรมมันก็มิจฉาอาชีโว เลี้ยงชีพไม่ชอบธรรม ไม่ถูกธรรมถูกวินัยก็เป็นอาบัติ ถ้าเป็นของฉัน ได้มาไม่ถูกธรรมถูกวินัย ฉันไปก็เป็นอาบัติทุกคำกลืน วินัยนี่ละเอียด ถ้าไม่ถูกต้องก็ไม่เอาแล้ว เอากลับไป ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องฉัน เราไม่เล่นด้วย

หลวงปู่ทุย ฉนฺทกโร
๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๑

----------------------------------------------

"วันหนึ่งๆ อย่าได้ลืม การให้ทานก็ดี
การรักษาศีลก็ดี การภาวนาก็ดี
นี่เป็นสมบัติของมนุษย์เรา
ที่จะสั่งสมคุณงามความดี ทั้งหลาย
จากการกระทำเหล่านี้ เข้าสู่ใจของตน
อย่าให้ได้ขาดวัน ขาดคืน

เวลาตายแล้ว หมดท่าทั้งนั้นแหละ
ไม่ว่าชาติชั้นวรรณะใด ตายแล้วก็ทิ้งโด่อยู่
เขาเอาศพ เอาเมรุ เอาชนิดไหนมาประดับประดา
ก็ประดับประดาคนตาย มีคุณค่าอะไร

เพราะฉะนั้น เราจึงต้องเสาะแสวงหาความดี
มาประดับประดาจิตใจของเรา เสียตั้งแต่บัดนี้
จะไม่เสียที ที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และ
พบพระพุทธศาสนาด้วย"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

----------------------------------------------

"เรารักตัวเรา คนอื่นก็รักตัวเขา

เราไม่อยากให้ใคร ทําเช่นไรกับเรา
คนอื่นก็ไม่อยากให้เรา ทําเช่นนั้นกับเขา

เราอยากให้คนอื่น ทําดีกับเราอย่างไร
คนอื่นก็อยากให้เรา ทําดีกับเขาอย่างนั้น

ขอให้พยายาม คิดถึงความจริงนี้
ให้บ่อยที่สุด เท่าที่จะมีสตินึกได้
จะเป็นคุณแก่ตนเองอย่างยิ่ง

การคิด พูด ทําทั้งหมด จะเป็นไปอย่างดีที่สุด
ไม่เป็นการทําร้ายผู้อื่น ไม่เป็นการเบียดเบียนผู้อื่น"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ

----------------------------------------------



สาธุครับคุณรสมน เป็นประโยชน์ดีมากยิ่งครับ โดยส่วนตัวผมก็เพิ่งเข้าถึงได้ไม่นาน คือ

1. ทาน คนเราเวลาให้ทาน ใส่บาตร ถวายสังฆทาน จะจำจดจำจ้องให้ถึงมือพระที่ตนนับถือเฉพาะเจาะจง หรือต้องการจะรับพรจากพระที่ตนถวาย แล้วทำไมเวลาให้เงินขอทาน ซื้อข้าวให้หมา ให้อาหารปลาเราไม่พนมมือขอพรขากขอทาน หมา ปลา ซึ่งตรงนี้ก็ละเอียดอ่อนเพราะสถานภาพต่างกันและศรัทธา จึงทำให้เราอยากฟังเทศนา รับพรจากพระนั่นเอง แต่การกระสันอยากอย่างนี้ใช่ว่าจะดีทั้งหมด กลับทำให้เราอัตตาในศีลและพรที่พระท่านให้
..ดั่งพระอริยะสงฆ์มีหลวงปู่มั่นเป็นต้นท่านสอนไว้ว่า ศีล เราตั้งใจมั่นยึดถือเอาเองก็ได้ไม่ต้องไปขอหรอก ..เรื่องทาน ก็ทำดั่งในคำสอนของหลวงปู่ทุยกล่าวถึงเจ้กไฮ ที่ท่านรสมนนำมาโพสท์ ก็กล่าวว่าทานนี้สำเร็จแล้วตั้งแต่เจตนาที่บ้าน สำเร็จต่อมาที่วาจา และกายที่ทำ นี่บุญมากโขแล้ว.. ก่อนทำบริสุทธิ์-ขณะทำก็บรสุทธิ์-หลังทำก็บริสุทธิ์มันมากโขในบุญนี้

ทีนี้การจำเพาะเจาจงของคนใส่บาตรหรือถวายภัตราหารจำเพาะให้ครูบาอาจารย์ตนได้รับเท่านั้น
- บางคนเห็นครูบาอาจารย์ตน รับบาตรตนบ้าง รับสังฆทานตนบ้าง รับสิ่งของจากตนบ้าง แล้วเรียกให้ไปแจกจ่ายให้ผู้อื่น หรือถวายสังฆทานบนรถเข็นตามพระป่าแล้วครูบาอาจารย์ท่านไม่รับซึ่งท่านรับโดยจับรถเข็นภัตราหารนั้นแล้ว แต่ไม่ยกเอามาเฉพาะตนแล้วปล่อยไปตามรถเข็นตามแต่พระรูปไหนจะเห็นจำเป็นแล้วรับเอา
- หรืออีกประการหนึ่งคือ..ครูบาอาจารย์ท่านไม่อยู่ก็ไม่ยอมถวาย ไม่อยากให้พระรูปอื่นต่อ บางทีก็ขนของกลับบ้านไปเลยไม่ให้ผู้ใดอีก
..ตรงนี้สำคัญมากนะครับ หากเราทำแบบนี้นี่แสดงถึงความว่าเราอัตตาในทาน ทานในพระพุทธศาสนานี้หวังผลได้ แต่ผลที่หวังนั้นย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลสุขสำราญแก่ตนเองและผู้อื่นอีกทั้งบารมีทานของตนให้เต็มในปัจจุบันและภายภาคหน้า
..หากคนที่เข้าถึงธรรมแท้จริงแล้ว ไม่ใช่การท่องจำคำครู ไม่ใช่ท่องจำอภิธรรมมาเพ้อสภาวะจิตเจตสิกในทาน แต่ทำจริงๆ ไม่ใช่แค่อบรมจิตเพื่อมาพูดคุย แต่เพื่อสละอุปธิ เข้าถึงจาคะในพระพุทธศาสนาทั้งปวงนี้ ท่านจะให้ทานด้วย "อัปปมัญญา" ไม่เจาะจง ไม่มีประมาณ ทำด้วยใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่ผู้รับไม่ว่าจะเป็นใคร บุคคลใด สัตว์ใด

ตัวอย่างที่ ๑ เช่น... ตั้งใจทำหรือหาซื้อกับข้าว สังฆทาน บริวารทั้งหลายอย่างดีเพื่อมาถวายแก่ครูบาอาจารย์ แต่เมื่อถวายครูบาอาจารย์แล้วท่านโยนแจกจ่ายให้พระรูปอื่นๆทันที บางคนเสียใจ แต่หากคนถึงธรรมท่านจะทำให้เป็นอัปมัญญา โดยจะเห็นว่า..ขณะที่ครูบาอาจารย์ท่านทำอย่างนั้น เพื่อทำให้เราได้บุญมากสิ่งของที่ถวายนั้นได้เกื้อกูลแก่ภิกษุหลายรูปเพื่อเป็นการให้เรานั้นได้อุปถัมป์พระพุทธศาสนาของพระศาสดาไปในตัว นี่บุญมากโขเลยนะที่ครูบาอาจารย์ท่านทำแบบนี้
..ส่วนตัวเรานี้ที่ควรทำไว้ในใจในขณะนั้นคือ..อัปปมัญญา ไม่จำเพาะเจาะจง ตัดขาดจากโลภ โกรธ หลงน้อมใจไปในการสละ ทำความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่พระทุกรูป และพระพุทธศาสนาว่า.."ทานนี้ของเราได้อุปถัมป์เกื้อกูลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาแล้ว ได้เกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อธำรงไว้อยู่ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไป" นี่บุญโขเลย ทั้งก่อนทำก็คิดทำดีถวายเกื้อกูลแล้ว ระหว่างทำเมื่อพบเจอตัดขาดอกุศลมีใจเกื้อกูลพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้านี่ยิ่งใกหญ่มากนะเหมือนถวายโดยตรงแก่พระพุทธเจ้าเลยนะ ต่อมาหลังทำก็ปลื้มใจเป็นสุข

ตัวอย่างที่ ๒ เช่น... ตั้งใจทำหรือหาซื้อกับข้าว สังฆทาน บริวารทั้งหลายอย่างดีเพื่อมาถวายแก่ครูบาอาจารย์ แต่ครูบาอาจารย์ไม่อยู่ เสียใจ เสียดายที่ไม่ได้ถวายท่าน แต่หากคนถึงธรรมท่านจะทำให้เป็นอัปมัญญา โดยจะเห็นว่า..ไม่ว่าครูบาอาจารย์ที่ตนตั้งใจนำมาถวาย หรือภิกษุอื่นใดก็ดี ต่างล้วนแต่เป็นพระในพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้า เมื่อเราถวายสิ่งของและภัตราหารทั้งหลายเหล่านี้ที่เรานำมา ไม่ว่าจะแก่พระรูปใดก็ตามก็ล้วนเพื่ออุปถัมป์ค้ำจุน เคารพเอื้อเฟื้อ แก่พระพุทธศาสนาของพระศาสดาทั้งสิ้น อย่างนี้ยิ่งสามารถให้เราแจกจ่ายสิ่งของและภัตราหารได้ทั่วถึงไม่มีประมาณ
..ส่วนตัวเรานี้ที่ควรทำไว้ในใจในขณะนั้นคือ..อัปปมัญญา ไม่จำเพาะเจาะจง ตัดขาดจากโลภ โกรธ หลงน้อมใจไปในการสละ ทำความเอื้อเฟื้อเกื้อกูลแก่พระทุกรูป และพระพุทธศาสนาว่า.."ทานนี้ของเราได้อุปถัมป์เกื้อกูลทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าพระบรมศาสดาแล้ว ได้เกื้อกูลประโยชน์สุขแก่ภิกษุทั้งหลายเพื่อธำรงไว้อยู่ซึ่งพระพุทธศาสนาสืบไป" นี่บุญโขเลย

..ประดุจเหมือนพระพุทธเจ้าในสมัยที่ทรงเสวยชาติเป็นพระเวสสันดร อันทำทานบารมีตนให้เต็ม แม้ผู้มารับทานจะเป็นคนไม่ดี ติดเหล้า ไม่มีศีลธรรม ดี หรือชั่ว พระบรมโพธิสัตว์ก็ยังทรงให้ เอื้อเฟื้อประโยชน์สุขแก่เขา และประโยชน์สุขแก่ตนด้วยบารมีทานให้เต็มกำลังใจ แม้เขามาขอเหล้าทั้งๆที่เหล่าไม่มีอานิสงส์ใด แต่พระโพธิสัตว์ก็ทรงเอาเหล้าให้ด้วยใจขณะนั้นสละความโลภ ราคะ โทสะ โมหะในตนเองที่จำเพาะเจาะจงจะเอาแต่อานิสงส์ในผลทานนั้นแล้ว แต่เพราะความสละนั้นกลับทำให้ผลบารมีทานนั้นบริบูรณ์ด้วยจาคะ ดังนั้นไม่ว่าจะพระอรหันต์ พระบวชใหม่ พระทุศีล พระอาบัติ เราให้ไปเพื่อหวังอุปถัมป์เกื้อกูลพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าไม่เจาะจงใครทั้งสิ้น ประโยชน์สุขเกื้อกูลเกิดมีถ้วนหน้า เราก็ยังมีดีมีชั่วจะนับปะสาอะไรกับสมมติสสงฆ์ สมมติสาวกทั้งหลายเล่า บางทีเมื่อคำข้้าวเรามีบุญบารมากอาจทำให้สมมติสงฆ์ที่ทุศีล ติดอาบัติ หรือพระบวชใหม่ ท่านรู้ถึงคุณคำข้าวโยมที่มาถวาย ไม่กระทำความเนรคุณคำข้าวโยม แล้วพระพฤติปฏิบัติดีงามจนบรรลุธรรมเลยก็ได้ แต่ถึงไม่เป็นอย่างนั้นเราก็ให้ด้วยความเกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาแล้ว นี่บุญมากโข

......................................................................

2. อิริยาบถ ๔ ข้อนี้ดีมากครับ เราอบรมจิตภาวนาในทุกขณะ ทุกกิจการงานที่ทำ ทุกอริยิยาบถ เพียงแค่น้อมใจทำ
..อิริบาบถ 4 ก็คือ สัมปะชัญญะ แต่แยกบรรพออกมาต่างหากจากสัมปะชัญญะบรรพ เพราะองค์ธรรมท่านมีวิธีปฏิบัติจำเพาะในแบบของท่าน
- สัมปะชัญญะ และอิริยาบถ ๔ นี้ เพื่อความรู้ตัวในปัจจุบันขณะตัดความคิดฟุ้งซ่าน พิจารณาธรรมได้ง่ายตามกำลังสติเป็นเบื้องต้น
- สัมปะชัญญะ และอิริยาบถ ๔ นี้ เพื่อความรู้ตัวทั่วพร้อมอบรมใจให้ผ่องใส เกิดเป็นอินทรีย์สังวรอยู่ทุกเมื่อในท่ามกลาง
- สัมปะชัญญะ และอิริยาบถ ๔ นี้ จะอยู่อิริยาบถใดก็เข้าถึงธรรมเห็นธรรมได้ เห็นกายเห็นใจได้ และบรรลุธรรมได้ถ้าสะสมบารมีเต็มดีแล้วในขั้นสุด

..สมดั่งหลวงปู่สมชายท่านกล่าวไว้

......................................................................

.....................................................
(จิตรู้สมมติ เป็นสมุทัย)
(ผลอันเกิดจากจิตรู้สมมติ เป็นทุกข์)
(จิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นมรรค)
(ผลอันเกิดจากจิตเห็นจริงต่างหากจากสมมติ เป็นนิโรธ)


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 4 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร