วันเวลาปัจจุบัน 16 ก.ค. 2025, 18:12  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ]    Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 07:54 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อจาก สติโดยคุณค่าทางสังคม

viewtopic.php?f=1&t=56676

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 08:09 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทบาทของสติในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการกำจัดอาสวกิเลส

อัปปมาทคือความไม่ประมาทนั้น หมายถึง การมีชีวิตอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือการใช้สติอยู่เสมอ ในการครองชีวิต
อัปปมาท เป็นตัวการทำให้ระมัดระวังตัว ป้องกันไม่ให้พลาดตกไปในทางชั่วหรือเสื่อม คอยยับยั้งเตือนไม่ให้เพลิดเพลินมัวเมาลุ่มหลงสยบอยู่ คอยกระตุ้น ไม่ให้หยุดอยู่กับที่ และคอยเร่งเร้าให้ขะมักเขม้น ที่จะเดินรุดหน้าอยู่เรื่อยไป ทำให้สำนึกในหน้าที่อยู่เสมอ โดยตระหนักถึงสิ่งที่ควรทำ และไม่ควรทำ ทำแล้วและยังมิได้ทำ และช่วยให้ทำการต่างๆ ด้วยความรอบคอบ จึงเป็นองค์ธรรมสำคัญยิ่งในระบบจริยธรรม ดังได้กล่าวแล้ว

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อย่างไรก็ดี ความสำคัญของอัปปมาทนั้น เห็นได้ว่าเป็นเรื่องจริยธรรมในวงกว้าง เกี่ยวกับความประพฤติปฏิบัติทั่วๆไปของชีวิต กำหนดคร่าวๆตั้งแต่ระดับ ศีล ถึง สมาธิ
ในระดับนี้ สติทำหน้าที่แทรกแซงพัวพัน และพ่วงกันไปกับองค์ธรรมอื่นๆ เป็นอันมาก โดยเฉพาะจะมีวายามะหรือความเพียรควบอยู่ด้วยเสมอ


ครั้นจำกัดการพิจารณาแคบเข้ามา กล่าวเฉพาะการดำเนินของจิต ในกระบวนการพัฒนาปัญญา หรือการใช้ปัญญาเข้าชำระล้างภายในดวงจิต อัปปมาท ก็กลายเป็นตัววิ่งเต้น ที่คอยเร่งเร้าอยู่ในวงนอก


เมื่อถึงขั้นนี้ การพิจารณาจึงจำกัดวงขอบเขตจำเพาะเข้ามา เป็นเรื่องกระบวนการทำงานในจิตใจ และแยกแยะรายละเอียดซอยถี่ออกวิเคราะห์เป็นขณะๆ ในระดับนี้เอง ที่สติ ทำหน้าที่ของมันอย่างเต็มที่ และเด่นชัด กลายเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญ ที่เรียกโดยชื่อของมันเอง ( เช่น สติปัฏฐาน สตินทรีย์ สติพละ สติสัมโพชฌงค์ พุทธานุสติ กายคตาสติ ฯลฯ )


ความหมายที่แท้จำเพาะตัวของสติ อาจเข้าใจได้จากการพิจารณาการปฏิบัติหน้าที่ของสติ ในกรณีที่มีบทบาทของมันเอง แยกจากองค์ธรรมอื่นๆอย่างเด่นชัด เช่นในข้อปฏิบัติที่เรียกว่า สติปัฏฐาน เป็นต้น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 10:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


ในกรณีเช่นนี้ พอจะสรุปการปฏิบัติหน้าที่ของ สติ ได้ดังนี้

ลักษณะการทำงานโดยทั่วไปของสตินั้น คือ การไม่ปล่อยใจให้เลื่อนลอย ไม่ปล่อยอารมณ์ให้ผ่านเรื่อยเปื่อยไป หรือไม่ปล่อยให้ความนึกคิดฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ต่างๆ

แต่คอยเฝ้าระวัง เหมือนจับตาดูอารมณ์ที่ผ่านมาแต่ละอย่าง มุ่งหน้าเข้าหาอารมณ์นั้นๆ เมื่อต้องการกำหนดอารมณ์ใดแล้ว ก็เข้าจับดูติดๆไป ไม่ยอมให้คลาดหายคือนึกถึง หรือระลึกไว้เสมอ ไม่ยอมให้หลงลืม *


มีคำเปรียบเทียบว่า เหมือนเสาหลัก เพราะปักแน่นในอารมณ์ หรือเหมือนนายประตู เพราะเฝ้าอายตนะต่างๆที่เป็นทางรับอารมณ์ตรวจดูอารมณ์ที่ผ่านเข้ามาๆ
ปทัฏฐาน หรือ เหตุใกล้ชิดที่จะให้เกิดสติ ก็คือ สัญญา ที่มั่นคง หรือ สติปัฏฐานต่างๆ ที่จะกล่าวต่อไป


พิจารณาในแง่จริยธรรม จ ะมองเห็นการปฏิบัติหน้าที่ของสติได้ทั้งในแง่ปฏิเสธ (negative) และในแง่อนุมัติ (positive)


ในแง่ปฏิเสธ สติเป็นตัวป้องกัน ยับยั้งจิตไม่ให้ฟุ้งซ่าน ไม่ให้ก้าวพลาด ไม่ให้ถลำลงไปในธรรมที่ไม่พึงประสงค์ ไม่ยอมให้ความชั่วได้โอกาสเกิดขึ้นในจิต และไม่ยอมให้ใช้ความคิดผิดทาง


ในแง่อนุมัติ สติเป็นตัวควบคุมตรวจตรากระแสการรับรู้ ความนึกคิด และพฤติกรรมทุกอย่าง ที่อยู่ในแนวทางที่ต้องการ คอยกำกับจิตไว้กับอารมณ์ที่ต้องการ และจึงเป็นเครื่องมือสำหรับยึด หรือเกาะกุมอารมณ์อย่างใดๆ ดุจเอาวางไว้ข้างหน้าจิต เพื่อพิจารณาจัดการ อย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป


ในทางปฏิบัติของพุทธธรรม เน้นความสำคัญของสติมาก อย่างที่กล่าวว่า สติจำปรารถนา (คือ ต้องนำมาใช้) ในกรณีทั้งปวง เป็นทั้งตัวการเหนี่ยวรั้งปรามจิต และหนุนประคองจิต ตามควรแก่กรณี * (ความตอนนี้ ดู วิสุทธิ.1/165,207; 3/38 ฯลฯ)

…………….

ที่อ้างอิง *

จะเห็นได้ว่า สติ ไม่ได้มีความหมายตรงกับ ความจำ ทีเดียว แต่การระลึกได้ จำได้ (recollection หรือ remembrance) ซึ่งเป็นอาการแสดงออกของความจำ ก็เป็นความหมายแง่หนึ่งของสติด้วย และความหมายในแง่นี้ จะพบใช้ในที่หลายแห่ง เช่น ในคำว่า พุทธานุสติ เป็นต้น แต่ในความหมายที่แท้ เช่นที่กล่าวถึง ณ ที่นี้ มุ่งความหมายตามคำอธิบายข้างบน ซึ่งใกล้เคียงกับที่ใช้ในภาษาอังกฤษว่า mindfulness

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 10:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


บทความ คคห. บน ผู้ซึ่งเคยปฏิบัติกรรมฐานถูกต้องอ่านแล้วจะเก็ตเลยร้องอ๋อเข้าใจแล้ว ส่วนคุณโรส กับ พี่เมโลกสวยนี่ จบข่าว มืดตึ๊ดตื๋อเหมือนติดถ้ำเลย ร้องเหมือนกัน แต่ไม่ใช่ร้องอ๋อนะ ร้องว่าอะไรล่ะงั้น ร้องอารัยว๊า ไม่เห็นรู้เรื่องเบย :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 10:13 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ


เมื่อนำลักษณะการทำหน้าที่ของสติที่กล่าวแล้วนั้นมาพิจารณาประกอบ จะมองเห็นประโยชน์ที่มุ่งหมายของการปฏิบัติฝึกฝนในเรื่องสติ ดังนี้

1. ควบคุมรักษาสภาพจิตให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ โดยตรวจตรากระบวนการรับรู้ และกระแสความคิดเลือกรับสิ่งที่ต้องการ กันออกไปซึ่งสิ่งที่ไม่ต้องการ ตรึงกระแสความคิด ให้นิ่งเข้าที่ และทำให้จิตเป็นสมาธิได้ง่าย

2. ทำให้ร่างกายและจิตใจ อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่า เป็นตัวของตัวเอง เพราะมีความโปร่งเบา ผ่อนคลาย เป็นสุขโดยสภาพของมันเอง พร้อมที่จะเผชิญความเป็นไปต่างๆ และจัดการกับสิ่งทั้งหลายในโลกอย่างได้ผลดี

3. ในภาวะจิตที่เป็นสมาธิ อาจใช้สติเหนี่ยวนำกระบวนการรับรู้ และกระแสความคิด ทำขอบเขตการรับรู้และความคิดให้ขยายออกไป โดยมิติต่างๆ หรือให้เป็นไปต่างๆได้

4. โดยการยึด หรือจับเอาอารมณ์ที่เป็นวัตถุแห่งการพิจารณา วางไว้ต่อหน้า จึงทำให้การพิจารณาสืบค้นด้วยปัญญา ดำเนินไปได้ชัดเจนเต็มที่ เท่าที่เป็นพื้นฐานในการสร้างเสริมปัญญาให้ เจริญบริบูรณ์

5. ชำระพฤติกรรมต่างๆ ทุกอย่าง (ทั้ง กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม) ให้บริสุทธิ์ อิสระ ไม่เกลือกกลั้วหรือเป็นไปด้วยอำนาจตัณหา อุปาทาน และร่วม กับ สัมปชัญญะ ทำให้พฤติกรรมเหล่านั้นเป็นไปด้วยปัญญา หรือเหตุผลบริสุทธิ์ล้วนๆ

ประโยชน์ข้อที่ 4 และ 5 นับว่าเป็นจุดหมายขั้นสูง จะเข้าถึงได้ด้วยวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้เป็นพิเศษ ซึ่งตามคำจำกัดความในข้อสัมมาสตินี้ ก็ได้ แก่ สติปัฏฐาน 4

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 27 ต.ค. 2018, 10:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบ ตอนบทบาทของสติในการกำจัดอาสวกิเลส เท่านี้

ต่อ สติปัฏฐานในฐานะสัมมาสติ ที่

viewtopic.php?f=1&t=56633

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 7 โพสต์ ] 

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร