วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 20:52  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 04:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กระทู้นี้ก็อีก

แสดงว่า คุณลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระปริยัติ เรยไม่รู้ว่า
อาหารน่ะ มี 4 ประเภท

คือ



1 กพฬีกาอาหาร

2 ผัสสาหาร

3 มโนสัญเจตนาหาร

4 วิญญาณอาหาร


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 05:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กระทู้นี้ก็อีก

แสดงว่า คุณลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระปริยัติ เรยไม่รู้ว่า
อาหารน่ะ มี 4 ประเภท

คือ



1 กพฬีกาอาหาร

2 ผัสสาหาร

3 มโนสัญเจตนาหาร

4 วิญญาณอาหาร


ตัดข้อ 1 ออกไปเสีย ที่เหลือ 3 ก็อยู่ในฝ่ายนามธรรม ก็จึงอยู่ในฝ่ายโพชฌงค์ด้วยดังนี้ สนองเจตนาให้แค่นี้ก่อน ไว้ตอนท้ายๆ จะสนองให้อีก

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 05:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อกระทู้กันดีก่า ท้ายๆก็จะมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วย ดูดีๆ จะเห็นวิธีทำที่เรียกว่าสมถะด้วย จะเห็นวิธีทำวิปัสสนาด้วย ชัดเลย

ต่อ


ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 13:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อกระทู้กันดีก่า ท้ายๆก็จะมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วย ดูดีๆ จะเห็นวิธีทำที่เรียกว่าสมถะด้วย จะเห็นวิธีทำวิปัสสนาด้วย ชัดเลย

ต่อ


ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)


เอาอีกแล้วเม สอนให้เท่าไรไม่จำ นะเนี่ย

เข้าใจผิดๆอีก เพราะลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนปริยัติ

เรยไม่รู้ว่า
สติ น่ะ ต้องเป็นสัมมาสติ เท่านั้น ค่ะ

สติชุ่ยๆ สติๆๆ แต่ไม่เป็นสัมมาสติ
เรยเป็นมิจฉาปฎิบัติ ค่ะ

และมั่วอีกแล้วว่าไม่จำกัดขอบเขต

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดง ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา จำกัดขอบเขตในการปฎิบัติ
ลงในปรมัตถ์ ในอริยะสัจ ในไตรลักษณ์เท่านั้น ค่ะ




โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 14:37 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
ปัญญายังไม่ถึงระดับที่จะรู้ก็รู้ไม่ได้
เพราะปัญญาเกิดตามลำดับ
ข้ามฟังไม่ได้ทุกกรณี
ชาตินี้ไม่ฟัง
เกิดปัญญาหาได้ไม่ค่ะ
https://youtu.be/XHkG7EOodUY
:b32: :b32:


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 19:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ :b13:


ส่วนประกอบที่สำคัญที่พึงสังเกตอีกอย่างหนึ่ง ภายในหลักทั่วไปแห่งการปฏิบัตินั้น ซึ่งช่วยให้เห็นลักษณะพิเศษของวิปัสสนา ที่แตกต่างจากสมถะชัดเจนยิ่งขึ้น ก็คือ โยนิโสมนสิการ

โยนิโสมนสิการ เป็นองค์ธรรมที่จะช่วยให้เกิดปัญญา จึงมีความสำคัญมากสำหรับวิปัสสนา
ส่วนในฝ่ายสมถะ โยนิโสมนสิการแม้จะช่วยเกื้อกูลได้ในหลายกรณี แต่มีความจำเป็นน้อยลง บางครั้งอาจไม่ต้องใช้เลย หรือเพียงมนสิการเฉยๆ ก็เพียงพอ

ขยายความว่า ในการเจริญสมถะ สาระสำคัญมีเพียงให้ใช้สติกำกับจิตไว้กับอารมณ์ หรือคอยนึกถึงอารมณ์นั้นไว้ และเพ่งความสนใจไปที่อารมณ์ ให้จิตอยู่กับอารมณ์นั้นจนแน่วแน่

ในกรณีเช่นนี้ ถ้าผลเกิดขึ้นตามขั้นตอน ก็ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการเลย แต่ในบางกรณีที่จิตไม่ยอมสนใจอารมณ์นั้น ดึงไม่อยู่ คอยจะฟุ้งไป หรือในกรรมฐานบางอย่างที่จะต้องใช้ความคิดพิจารณาบ้าง เช่น การเจริญเมตตา เป็นต้น อาจต้องใช้อุบายช่วยนำจิตเข้าสู้เป้าหมาย ในกรณีเช่นนั้น จึงอาจต้องใช้โยนิโสมนสิการช่วย คือ มนสิการโดยอุบาย หรือทำในใจโดยแยบคาย หรือรู้จักเดินความคิด นำจิตไปให้ถูกทางสู่เป้าหมาย เช่น รู้จักคิดด้วยอุบายวิธีที่จะทำให้โทสะระงับ และเกิดเมตตาขึ้นมาแทน เป็นต้น

แต่จะอย่างไรก็ตาม ในฝ่ายสมถะนี้ โยนิโสมนสิการที่อาจต้องใช้ ก็เฉพาะประเภทปลุกเร้ากุศลธรรมเท่านั้น ไม่ต้องใช้โยนิโสมนสิการประเภทปลุกเร้าความรู้แจ้งสภาวะ

ส่วนในฝ่ายวิปัสสนา โยนิโสมนสิการเป็นขั้นตอนสำคัญทีเดียว ที่จะให้เกิดปัญญา จึงเป็นองค์ธรรมที่จำเป็น โยนิโสมนสิการอยู่ต่อเนื่องกับปัญญา เป็นตัวการทำทางให้ปัญญาเดิน * หรือเปิดขยายช่องให้ปัญญาเจริญงอกงาม มีลักษณะและการทำงานใกล้เคียง กับ ปัญญา มาก จนมักพูดคลุมกันไป คือ พูดถึงอย่างหนึ่ง ก็หมายถึงอีกอย่างหนึ่งด้วย จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาแยกไม่ค่อยออกว่าอะไรเป็นอย่างไหน

อาจกล่าวได้ว่า โยนิโสมนสิการทำงานเชื่อมต่ออยู่ระหว่าง สติ กับ ปัญญา เป็นตัวนำทาง หรือเดินกระแสความคิด ในลักษณะที่จะทำให้ปัญญาได้ทำงาน และทำงานได้ผล พูดอีกอย่างหนึ่งว่า เป็นตัวให้วิธีการแก่ปัญญา หรือเป็นอุบายวิธีของการใช้ปัญญาให้ได้ผล



ที่อ้างอิง *

* ณ ที่นี้ พึงสังเกตผลในทางปัญญา ที่แตกต่างกัน ระหว่างศรัทธา กับ โยนิโสมนสิการ ศรัทธาเหมือนขุดร่องที่ตายตัวไว้แล้ว สำหรับให้ความคิดเดิน ส่วนโยนิโสมนสิการทำทางที่เหมาะให้ปัญญาเดินได้ผลในแต่ละครั้ง
ในทางพุทธศาสนา ท่านสนับสนุนให้มีศรัทธาชนิดที่เชื่อมต่อ กับ ปัญญาได้ คือ ศรัทธาที่เปิดโอกาสแก่โยนิโสมนสิการ
ตัวอย่างเปรียบเทียบ ศรัทธาแบบขุดร่องที่ตายตัวเชื่อว่า อะไรๆจะเป็นอย่างไร ก็สุดแต่พรหมลิขิตบันดาล ความคิดหยุดตันอยู่แค่นั้น ส่วนศรัทธาแบบนำไปสู่โยนิโสมนสิการ เช่น ชาวพุทธแม้จะยังไม่รู้ประจักษ์ แต่มีศรัทธาต่อคำสอนของพระพุทธเจ้าว่า สิ่งทั้งปวงเป็นไปตามเหตุปัจจัย ดังนั้น เมื่อประสบเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ศรัทธานั้นก็ทำให้ใช้โยนิโสมนสิการ สืบสาวต่อไปว่า เหตุปัจจัย นั้น คือ อะไร

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 20:05 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แต่ที่นักศึกษามักสับสนก็เพราะว่า ในการพูดทั่วไป เมื่อใช้คำว่า โยนิโสมนสิการ ก็หมายรวมทั้งการเสนออุบาย หรือวิธีแห่งการคิดที่เป็นตัวโยนิโสมนสิการเอง และการใช้ปัญญาตามแนวทาง หรือวิธีการนั้นด้วย หรือเมื่อพูดถึงปัญญาภาคปฏิบัติการสักอย่างหนึ่ง เช่น คำว่า ธรรมวิจัย ก็มักละไว้ให้เข้าใจเองว่า เป็นการใช้ปัญญาเฟ้นธรรมให้สำเร็จ ด้วยวิธีโยนิโสมนสิการอย่างใดอย่างหนึ่ง


ถ้าจะพูดให้เห็นเหมือนเป็นลำดับ ก็จะเป็นดังนี้ เมื่อสติระลึกถึงสิ่งที่เกี่ยวข้องต้องใช้ต้องทำ และเอาจิตกำกับไว้ที่สิ่งนั้นด้วย โยนิโสมนสิการก็จับสิ่งนั้นหมุนหันเอียงตะแคง เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ปัญญาพิจาณาจัดการ ซึ่งเป็นการกำหนดจุดแง่มุมท่าทางและทิศทางให้แก่การทำงานของปัญญา แล้วปัญญาก็ทำงานพิจารณาจัดการไปตามแง่มุมด้านข้างและทิศทางนั้นๆ ถ้า โยนิโสมนสิการจัดทำทางให้เหมาะดี ปัญญาก็ทำงานได้ผล


อุปมาเหมือนคนพายเรือเก็บดอกไม้ใบผัก ในแม่น้ำไหล มีคลื่น เขาเอาอะไรผูก หรือยึดเหนี่ยวตรึงเรือให้หยุดอยู่กับที่ จ่อตรงกับตำแหน่งของดอกไม้หรือใบผักนั้นดีแล้ว มือหนึ่งจับกิ่งก้านกอ หรือกระจุกพืชนั้น รวบขึ้นไป รั้งออกมา หรือพลิกตะแคง โก่งหรืองออย่างใดอย่างหนึ่ง สุดแต่เหมาะกับเครื่องมือทำงาน อีกมือหนึ่งเอาเครื่องมือที่เตรียมไว้เกี่ยว ตัด หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้สำเร็จกิจได้ดังประสงค์

สติเปรียบเหมือนเครื่องยึดตรึงเรือและคน ให้อยู่ตรงที่กับต้นไม้ เรือหรือคนที่หยุดอยู่ตรงที่ เปรียบเหมือนจิต มือที่จับกิ่งก้านต้นไม้ให้อยู่ในอาการที่จะทำงานได้เหมาะเปรียบเหมือนโยนิโสมนสิการ อีกมือหนึ่งที่เอามีดหรือเครื่องมืออื่นทำงานเกี่ยวตัด เปรียบได้ กับ ปัญญา (อุปมานี้ พึงเทียบกับความใน มิลินฺท. ๔๗)

อย่างไรก็ตาม ในที่ทั่วไป พึงจับเอาง่ายๆ เพียงว่า โยนิโสมนสิการหมายคลุมถึงปัญญา คือ มนสิการด้วยปัญญานั่นเอง

อนึ่ง เมื่อโยนิโสมนสิการกำลังทำงานอยู่ สติก็จะยังอยู่ด้วย ไม่หลงลอยหลุดไป ดังนั้น สติ กับ โยนิโสมนสิการ จึงเกื้อกูลแก่กันและกันในวิปัสสนา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 20:06 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


สติปัฏฐาน เป็นอาหารของโพชฌงค์ จบ


รูปภาพ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 20:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
ปัญญายังไม่ถึงระดับที่จะรู้ก็รู้ไม่ได้
เพราะปัญญาเกิดตามลำดับ
ข้ามฟังไม่ได้ทุกกรณี
ชาตินี้ไม่ฟัง
เกิดปัญญาหาได้ไม่ค่ะ
https://youtu.be/XHkG7EOodUY



ฟังมา 10 ปีแล้วยังไม่ไปไหน นั่งฟังอยู่นั่นแหละนะ :b13:

อ้าๆๆ ตอนนี้ แม่สุจินออกคลิปใหม่ๆเรื่องอะไรบ้างไหม เอามาให้ฟังบ้างสิ เก่าๆพอแล้ว คิกๆๆ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 20:19 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อกระทู้กันดีก่า ท้ายๆก็จะมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วย ดูดีๆ จะเห็นวิธีทำที่เรียกว่าสมถะด้วย จะเห็นวิธีทำวิปัสสนาด้วย ชัดเลย

ต่อ


ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)


เอาอีกแล้วเม สอนให้เท่าไรไม่จำ นะเนี่ย

เข้าใจผิดๆอีก เพราะลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนปริยัติ

เรยไม่รู้ว่า
สติ น่ะ ต้องเป็นสัมมาสติ เท่านั้น ค่ะ

สติชุ่ยๆ สติๆๆ แต่ไม่เป็นสัมมาสติ
เรยเป็นมิจฉาปฎิบัติ ค่ะ

และมั่วอีกแล้วว่าไม่จำกัดขอบเขต

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดง ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา จำกัดขอบเขตในการปฎิบัติ
ลงในปรมัตถ์ ในอริยะสัจ ในไตรลักษณ์เท่านั้น ค่ะ




ต่อไปจะเก็บรายละเอียด

สมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่, หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

(ดูท่อนนี้ก่อง สมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ ได้แก่วิธีฝึกกสิณ นี่แหละสมถะล้วน)

อ้างคำพูด:
สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่


รูปภาพ


ใช้อะไรทำวงกสิณก็ให้บริกรรมชื่อกสิณในใจไป สมมติ ใช้ดินทำ ก็บริกรรม ปฐวี กสิณังๆๆๆๆ ร้อยหนพันหน ว่าไป

พูดแล้วนึกได้ เมื่อครั้งโต้เถียงกับสมช.พลังจิต เรื่องกสิณนี่แหละ พอไอ้เรืองว่า ปฐวี กสิณังๆๆๆ เถียงกัน เขาพูดเหน็บแนมแกมประชดเราว่า กะบือ กสิณังๆๆๆ คิกๆๆ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 20:42 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อกระทู้กันดีก่า ท้ายๆก็จะมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วย ดูดีๆ จะเห็นวิธีทำที่เรียกว่าสมถะด้วย จะเห็นวิธีทำวิปัสสนาด้วย ชัดเลย

ต่อ


ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)


เอาอีกแล้วเม สอนให้เท่าไรไม่จำ นะเนี่ย

เข้าใจผิดๆอีก เพราะลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนปริยัติ

เรยไม่รู้ว่า
สติ น่ะ ต้องเป็นสัมมาสติ เท่านั้น ค่ะ

สติชุ่ยๆ สติๆๆ แต่ไม่เป็นสัมมาสติ
เรยเป็นมิจฉาปฎิบัติ ค่ะ

และมั่วอีกแล้วว่าไม่จำกัดขอบเขต

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดง ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา จำกัดขอบเขตในการปฎิบัติ
ลงในปรมัตถ์ ในอริยะสัจ ในไตรลักษณ์เท่านั้น ค่ะ




(ท่อนต่อมาที่ว่า)

อ้างคำพูด:
สมถะ (...) หรือ เคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไป ซ้ำมา ภายในขอบเขตจำกัด


ตัวอย่าง เช่น ใช้ลมหายใจเข้า-ออก ทางจมูก ลมหายใจเข้า ว่า "พุท" ลมออกว่า "โธ" พุท-โธๆๆๆ ว่าไปๆซ้ำไปซ้ำมา ฝนตกฟ้าร้องฟ้าผ่าก็ว่าซ้ำๆอยู่แค่นั้น นี่เป็นสมถะล้วนๆ

@ ใช้อาการท้องพอง กับ ท้องยุบ เป็นอารมณ์ ท้องพองว่า พองหนอ ท้องยุบว่า ยุบหนอ ว่าไปๆซ้ำไป ซ้ำมา พองหนอ ยุบหนอๆๆๆๆ ฝนตกฟ้าร้องฟ้าผ่าก็ว่าซ้ำๆอยู่แค่นั้น พองหนอ ยุบหนอ ๆๆ นี่ก็เป็นสมถะ

รูปภาพ


วิปัสสนา ดูคคห.ต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 21:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อกระทู้กันดีก่า ท้ายๆก็จะมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วย ดูดีๆ จะเห็นวิธีทำที่เรียกว่าสมถะด้วย จะเห็นวิธีทำวิปัสสนาด้วย ชัดเลย

ต่อ


ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)


เอาอีกแล้วเม สอนให้เท่าไรไม่จำ นะเนี่ย

เข้าใจผิดๆอีก เพราะลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนปริยัติ

เรยไม่รู้ว่า
สติ น่ะ ต้องเป็นสัมมาสติ เท่านั้น ค่ะ

สติชุ่ยๆ สติๆๆ แต่ไม่เป็นสัมมาสติ
เรยเป็นมิจฉาปฎิบัติ ค่ะ

และมั่วอีกแล้วว่าไม่จำกัดขอบเขต

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดง ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา จำกัดขอบเขตในการปฎิบัติ
ลงในปรมัตถ์ ในอริยะสัจ ในไตรลักษณ์เท่านั้น ค่ะ




ที่ว่า

อ้างคำพูด:
ส่วนใน วิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป



รูปภาพ


ส่วนการเจริญวิปัสสนา (ปัญญา) ก็ใช้อาการท้องพอง กับ ท้องยุบ หรือลมเข้าออกทางจมูกนั่นแหละ แต่ไม่จำกัดวงอยู่แค่ ลมเข้ากับลมออกเท่านั้น หรือ แค่อาการพอง กับ อาการยุบ เท่านั้น (นี้ = กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) คือว่า ขณะนั้น นั้น สิ่งใดอารมณ์เกิดกระทบความรู้สึก ไม่ว่าจะสุขจะทุกข์จะเฉยๆ (= เวทนานุปัสสนา) ก็ดี กำหนดรู้มันด้วย รู้เป็นสุข ก็ สุขหนอๆ เป็นต้น

ขณะนั้น จิตเกิดราคะ โทสะ เป็นต้น แทรกเข้ามา ก็กำหนดรู้ไปตามที่มันเกิดมันเป็น (= จิตตานุปัสสนา)

ขณะนั้น เกิดอาการฟุ้งซ่าน, ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น ก็ให้กำหนดรู้ตามที่รู้สึก ฟุ้งซ่านหนอ ง่วงหนอๆ เป็นต้น (= ธัมมานุปัสสนา)

กำลังปฏิบัติเห็นนั่นเห็นนี่ ก็กำหนดรู้ด้วย เห็นหนอๆๆๆ

ได้ยินเสียงอะไรก็แล้วแต่ เสียงหนอๆๆๆ

ได้กลิ่นอะไรก็แล้วแต่ กลิ่นหนอ เป็นต้น เช่นนี้แหละเขากำลังเจริญวิปัสสนาปัญญา ตามหลักที่ว่านี้

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป


อนึ่ง พึงโฟกัสที่อารมณ์ซึ่งกระทบความรู้สึก เช่น ขณะนั้น รู้สึกกลัว ให้ว่า กลัวหนอๆๆๆ โฟกัสที่ความรู้สึกกลัว ไม่ใช่โฟกัสที่ "หนอ" ไม่ใช่เลย กลัวหนอๆๆ ดังนี้เป็นต้น อย่าเลี่ยงหนีความคิดความรู้สึก ว่าไปตรงๆปักจิตลงไปใต้ราวนมด้านซ้ายตรงหัวใจ กลัวหนอๆๆๆๆๆ

ครบประเด็นแล้วนะ มีอะไรแย้งอีกว่ามา

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 21:14 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


นึกกลัว วางตัวอย่างไว้ด้วย

อ้างคำพูด:
นั่งสมาธิแล้วนึกกลัว

คือ ว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริ่มเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก

วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ


นี่เขาไม่รู้วิธีแก้อารมณ์ ถ้ารู้วิธีแล้วไปได้เลย กำหนดไปซี่ กลัวหนอๆๆๆๆๆๆ กำหนดแล้วๆกัน ดึงสติกลับไปที่กรรมฐาน คือ ลมเข้า-ออก ตามลมเข้าออกต่อไป ตามอาการพอง ยุบต่อไป

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 21:21 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


อีกสักตัวอย่าง

อ้างคำพูด:
ทำสมาธิแล้วรู้สึกมีใครอยู่ข้างๆ

เหตุการณ์คือ พอผมนั่งสมาธิไปสักพักผมเริ่มได้ยินเสียงวิ้งๆๆ ในหู และรู้สึกว่ามีคนมานั่งข้างๆ กับยืนข้างหลัง ผมคิดไปเองหรือว่ามันมีอะไรครับ


ได้ยินเสียง ก็เสียงหนอๆๆๆ

รู้สึกว่ามีนั่นนี่ เห็นนั่นนี่ ก็เห็นหนอๆๆ

ไม่รู้จะว่ายังไงดี ก็ว่า รู้หนอๆๆๆ (รู้ว่าเป็นยังงั้นยังงี้) กำหนดแล้วๆกัน จบ แล้วดึงสติกลับมาที่ลมเข้าออก ที่พอง ยุบ ว่าต่อไปอีก (มัวแต่สนใจกำหนดทางนี้ อารมณ์ทางโน้นดับไปหายไปเมื่อไรไม่รู้คิกๆๆสังเกตซี่)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสต์ เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 23:08 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา ต่อกระทู้กันดีก่า ท้ายๆก็จะมีตัวอย่างประกอบความเข้าใจด้วย ดูดีๆ จะเห็นวิธีทำที่เรียกว่าสมถะด้วย จะเห็นวิธีทำวิปัสสนาด้วย ชัดเลย

ต่อ


ข้อสังเกตปลีกย่อยอื่นๆ ยังมีอีก เช่น

ในสมถะ สติกำหนดอารมณ์ที่นิ่งอยู่กับที่ หรือเคลื่อนไหวเป็นรูปแบบเฉพาะซ้ำไปซ้ำมาภายในขอบเขตจำกัด

ส่วนในวิปัสสนา สติกำหนดอารมณ์ที่กำลังเคลื่อนไหว หรือเป็นไปในสภาพใดๆก็ได้ ไม่จำกัดขอบเขต

ในสมถะ นิยมให้เลือกกำหนดอารมณ์บางอย่าง ในบรรดาอารมณ์ที่สรรแล้ว ซึ่งจะเป็นอุบายช่วยให้จิตใจสงบแน่วแน่ได้ง่าย

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน ร่างกาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป)


เอาอีกแล้วเม สอนให้เท่าไรไม่จำ นะเนี่ย

เข้าใจผิดๆอีก เพราะลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนปริยัติ

เรยไม่รู้ว่า
สติ น่ะ ต้องเป็นสัมมาสติ เท่านั้น ค่ะ

สติชุ่ยๆ สติๆๆ แต่ไม่เป็นสัมมาสติ
เรยเป็นมิจฉาปฎิบัติ ค่ะ

และมั่วอีกแล้วว่าไม่จำกัดขอบเขต

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าแสดง ทั้งสมถะ ทั้งวิปัสสนา จำกัดขอบเขตในการปฎิบัติ
ลงในปรมัตถ์ ในอริยะสัจ ในไตรลักษณ์เท่านั้น ค่ะ




ที่ว่า

อ้างคำพูด:
ส่วนใน วิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป



รูปภาพ


ส่วนการเจริญวิปัสสนา (ปัญญา) ก็ใช้อาการท้องพอง กับ ท้องยุบ หรือลมเข้าออกทางจมูกนั่นแหละ แต่ไม่จำกัดวงอยู่แค่ ลมเข้ากับลมออกเท่านั้น หรือ แค่อาการพอง กับ อาการยุบ เท่านั้น (นี้ = กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน) คือว่า ขณะนั้น นั้น สิ่งใดอารมณ์เกิดกระทบความรู้สึก ไม่ว่าจะสุขจะทุกข์จะเฉยๆ (= เวทนานุปัสสนา) ก็ดี กำหนดรู้มันด้วย รู้เป็นสุข ก็ สุขหนอๆ เป็นต้น

ขณะนั้น จิตเกิดราคะ โทสะ เป็นต้น แทรกเข้ามา ก็กำหนดรู้ไปตามที่มันเกิดมันเป็น (= จิตตานุปัสสนา)

ขณะนั้น เกิดอาการฟุ้งซ่าน, ง่วงเหงาหาวนอน เป็นต้น ก็ให้กำหนดรู้ตามที่รู้สึก ฟุ้งซ่านหนอ ง่วงหนอๆ เป็นต้น (= ธัมมานุปัสสนา)

กำลังปฏิบัติเห็นนั่นเห็นนี่ ก็กำหนดรู้ด้วย เห็นหนอๆๆๆ

ได้ยินเสียงอะไรก็แล้วแต่ เสียงหนอๆๆๆ

ได้กลิ่นอะไรก็แล้วแต่ กลิ่นหนอ เป็นต้น เช่นนี้แหละเขากำลังเจริญวิปัสสนาปัญญา ตามหลักที่ว่านี้

ส่วนในวิปัสสนา ใช้อารมณ์ได้ทุกอย่างไม่จำกัด สุดแต่อะไรปรากฏขึ้นให้พิจารณาและอะไรก็ตามที่จะให้เห็นความจริง (สรุปลงได้ทั้งหมดใน กาย เวทนา จิต ธรรม หรือในนามและรูป


อนึ่ง พึงโฟกัสที่อารมณ์ซึ่งกระทบความรู้สึก เช่น ขณะนั้น รู้สึกกลัว ให้ว่า กลัวหนอๆๆๆ โฟกัสที่ความรู้สึกกลัว ไม่ใช่โฟกัสที่ "หนอ" ไม่ใช่เลย กลัวหนอๆๆ ดังนี้เป็นต้น อย่าเลี่ยงหนีความคิดความรู้สึก ว่าไปตรงๆปักจิตลงไปใต้ราวนมด้านซ้ายตรงหัวใจ กลัวหนอๆๆๆๆๆ

ครบประเด็นแล้วนะ มีอะไรแย้งอีกว่ามา



555

เมสอนลุงกรัชกาย มาหลายเดือนแล้วนะคะ ไม่รู้จักจำ

วิปัสสนาแบบนั้น ผิดๆๆๆๆ น่ะคะ
เข้าใจผิดๆๆ
เพราะวิปัสสนาที่แท้จริง ไม่ได้มีกายเวทนาจิต และธรรม เป็นอารณ์
แต่ มีปรมัตถ์ ของอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ และ อนัตตลักษณะ
ของกายเวทนา จิตธรรม เป็นอารมณ์ เท่านั้น
ไม่ใช่อารมณ์ตะพึดตะพือ ไม่จำกัด

อาการหลัวหนอๆๆ ที่ว่าเป็นบัญญัติ

นี่ยังไม่ได้เรียกว่า เป็นสติปัฎฐาน ไม่ได้เรียกว่า เป็นวิปัสสนาเรยค่ะ 5555


เพราะลุงกรัชกาย ไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนพระปริยัติ เรยตื้นเขินหนอๆๆ จริงๆ


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 51 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1, 2, 3, 4  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร