วันเวลาปัจจุบัน 19 ก.ค. 2025, 00:36  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 19:02 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กระบวนการปฏิบัติ (แนววิธีปฏิบัติ)

รูปภาพ


ต่อจาก กท.

viewtopic.php?f=1&t=56661

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แก้ไขล่าสุดโดย กรัชกาย เมื่อ 25 ต.ค. 2018, 05:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 19:10 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b32: :b32: :b32:

คราวนี้ ไม่ใช่แค่เบิ้ลข้อความ แต่เบิ้ลกระทู้เลยล่ะ

:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 19:17 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ผู้มีแนวทางอยู่บ้าง เห็นแล้วมองออกทันที แต่คุณโรสมองไม่ออกอยู่แล้ว ถ้าไม่เชื่อเข้ามาเถียงที

สังเกตดู

กระบวนการปฏิบัติ

๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติ นี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยสังเกต ตามดูรู้ทัน) กับ ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกสังเกต ตามดูรู้ทัน)


ก. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ คือ สภาวะ ที่ถูกมอง หรือถูกตามดูรู้ทัน ได้แก่ สิ่งธรรมดาสามัญ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่กับตัวของทุก คนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิด ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน คือกำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ


ข. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ องค์ ธรรมที่ถึงที่ทันอยู่ต่อหน้ากับสิ่ง นั้นๆ ไม่คลาดคลา ไม่ทิ้งไป คอยตามดูรู้ทัน เป็นองค์ธรรมของสติ ปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ




สติ เป็นตัวดึงตัวเกาะจับสิ่งที่จะมองจะดูจะรู้เอาไว้ สัมปชัญญะ คือปัญญา ที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการ ที่ถูกมอง หรือตามดูนั้น โดยตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น ขณะเดิน ก็มีสติให้ใจอยู่พร้อมหน้ากับการเดิน และมีสัมปชัญญะที่รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดินไปไหน อย่างไร เพื่ออะไร รู้ตระหนักภาวะและสภาพของผู้เดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องในการเดินนั้น เป็นต้น เข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ เป็นต้น ของตนเข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 19:31 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


เข้าใจการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกชอบใจ หรือไม่ชอบใจ เป็นต้น ของตนเข้าไปปะปน หรือปรุงแต่ง

รูปภาพ


ทำงานคือการเดิน เป็นต้น ของตนในขณะให้ดี คุมจิตใจให้อยู่กับงานคือสิ่งที่ทำ ซ้าย เป็น ซ้าย ขวา เป็นขวา พูดให้เห็นภาพก็เหมือนคนลืมเรื่องอื่นๆหมด อยู่แต่กับสิ่งที่ทำเฉพาะหน้า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 19:38 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

มีข้อควรระวังที่ควรย้ำไว้ เกี่ยวกับความเข้าใจผิดที่อาจเป็นเหตุให้ปฏิบัติผิดพลาดเสียผลได้ กล่าวคือ บางคนเข้าใจความหมายของคำแปล “สติ” ที่ว่าระลึกได้ และ “สัมปชัญญะ” ที่ว่า รู้ตัว ผิดพลาดไป

โดยเอาสติมากำหนดนึกถึงตนเอง และรู้สึกตัวว่า ฉันกำลังทำนั่นทำนี่ กลายเป็นการสร้างภาพตัวตนขึ้นมา แล้วจิตก็ไปจดจ่ออยู่กับภาพตัวตนอันนั้น เกิดความเกร็งตัวขึ้นมา หรืออย่างน้อยจิตก็ไม่ได้อยู่ที่งาน ทำให้งานที่กำลังทำนั้น แทนที่จะได้ผลดี ก็กลับกลายเป็นเสียไป



สำหรับคนที่เข้าใจผิดเช่นนั้น พึงมองความหมายของสติในแง่ว่า การนึกไว้ การคุมจิตไว้กับอารมณ์ การคุมจิตไว้กับกิจที่กำลังกระทำ หรือคุมจิตไว้ในกระแสของการทำกิจ และ

มองความหมายของสัมปชัญญะในแง่ว่า การรู้ชัดสิ่งที่นึกไว้ หรือรู้ชัดสิ่งที่กำลังกระทำ กล่าวคือ มิใช่เอาสติมากำหนดตัวตน (ว่าเราทำนั่นทำนี่) ให้นึกถึงงาน (สิ่งที่ทำ) ไม่ใช่นึกถึงตัวตน (ผู้ทำ)
ให้สติดึงใจไว้ ให้ใจอยู่กับสิ่งที่กำลังทำ หรือกำลังเป็นไปจนไม่มีโอกาสนึกถึงตัวเอง หรือตัวผู้ทำเลย คือใจอยู่กับสิ่งที่ทำนั้น จนกระทั่งความรู้สึกว่าตัวฉัน หรือความรู้สึกต่อตัวผู้ทำ ไม่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เลย

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 19:50 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรก คคห.นี้โดยนำไปเทียบกับข้อความข้างบน

อ้างคำพูด:
ตอนดิฉันเดินจงกรม ช่วงนาทีที่เห็นเป็นกายมันเดินเอง ร้องให้เลย ตอนนั้นรู้สึกว่า แม้ร่างกายมันยังไม่ใช่ของเรา จะมีอะไรเป็นของเราบ้างหนอ


ว่าขณะก้าวเดินไป ผู้ซึ่งจะเห็นแบบนี้ได้ จิตใจจะง่วนอยู่กับงานจริงๆ

มีบางคนตั้งคำถามว่า อ้าวถ้าอย่างนั้น เขาร้องไห้ทำไม ? เขาเกิดความซาบซึ้ง เกิดปีติในสิ่งที่เขาเห็นเข้าถึง นึกถึงพระพุทธเจ้าก็น้ำตาไหลออกมาเองเหมือนเทน้ำออกจากกระบอก นี่ปีติในธรรม

อนึ่ง แม้ปีติในธรรมเช่นนั้น ก็ต้องกำหนด กำหนดเพื่อละมันไป สภาวะทุกอย่างละไปได้เดินต่อไป ด้วยการกำหนดรู้ตามที่มันเป็น

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 20:10 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อข้อ 2


๒. อาการที่ว่าตามดูรู้ทัน มีสาระสำคัญอยู่ที่ ให้รู้เห็นตามที่มันเป็นในขณะนั้น คือ ดู – เห็น – เข้าใจ ว่าอะไร กำลังเป็นไปอย่างไร ปรากฏผลอย่างไร เข้าไปอยู่ต่อหน้า หรือพร้อมหน้า รับรู้ เข้าใจ ตามดูรู้มันไป ให้ทันทุกย่างขณะเท่านั้น
ไม่สร้างกิริยาใดๆ ขึ้นในใจ ไม่มีการคิดกำหนดค่า ไม่มีการคิดวิจารณ์ ไม่มีการวินิจฉัยว่า ดี ชั่ว ถูก ผิด เป็นต้น ไม่ใส่ความรู้สึก ความโน้มเอียงในใจ ความยึดมั่นต่างๆลงไปว่า ถูกใจ ไม่ถูกใจ ชอบ ไม่ชอบ เป็นต้น
เพียงเห็นเข้าใจตามที่มันเป็นของสิ่งนั้น อาการนั้น แง่นั้นๆเองโดยเฉพาะ ไม่สร้างความคิดผนวกว่าของเรา ของเขา ตัวเรา ตัวเขา นาย ก. นาย ข.เป็นต้น


ตัวอย่าง เช่น ตามดูเวทนาในใจของตนเอง ขณะนั้น มีทุกข์เกิดขึ้น ก็รู้ว่าทุกข์เกิดขึ้น ทุกข์นั้นเกิดขึ้นอย่างไร กำลังจะหมดสิ้นไปอย่างไร หรือ
ตามดูธรรมารมณ์ เช่น มีความกังวลใจเกิดขึ้น เกิดความกลุ้มใจขึ้น ก็ตามดูความกลุ้มหรือกังวลใจนั้นว่า มันเกิดขึ้นอย่างไร เป็นมาอย่างไร หรือ
เวลาเกิดความโกรธ พอนึกได้ รู้ตัวว่า โกรธ ความโกรธก็หยุดหายไป จับเอาความโกรธนั้นขึ้นมาพิจารณาคุณ โทษ เหตุเกิด และอาการที่มันหายไป เป็นต้น
กลายเป็นสนุกไปกับการศึกษาพิจารณาวิเคราะห์ทุกข์ของตน และทุกข์นั้นจะไม่มีพิษสงอะไรแก่ตัวผู้พิจารณาเลย เพราะเป็นแต่ตัวทุกข์เอง ล้วนๆ ที่กำลังเกิดขึ้น กำลังดับไป ไม่มีทุกข์ของฉัน ฉันเป็นทุกข์ ฯลฯ


แม้แต่ความดี ความชั่วใดๆ ก็ตาม ที่มีอยู่หรือปรากฏขึ้นในจิตใจขณะนั้นๆ ก็เข้าเผชิญหน้า ไม่เลี่ยงหนี เข้ารับรู้ตามดูมันตามที่มันเป็นไป ตั้งแต่มันปรากฏตัวขึ้น จนมันหมดไปเอง แล้วก็ตามดูสิ่งอื่นต่อไป เหมือนดูคนเล่นละคร หรือ
ดุจเป็นคนข้างนอก มองเข้ามาดูเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เป็นท่าทีที่เปรียบได้ กับ แพทย์ที่กำลังชำแหละตรวจดูศพ หรือนักวิทยาศาสตร์ ที่กำลังสังเกตดูวัตถุที่ตนกำลังศึกษา

ไม่ใช่ท่าทีแบบผู้พิพากษา ที่กำลังพิจารณาคดี ระหว่างโจทก์ กับ จำเลย เป็นการดูแบบสภาววิสัย (objective) ไม่ใช่สกวิสัย (subjective)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 23 ต.ค. 2018, 20:28 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


แทรกตัวอย่าง ที่โยคีปฏิบัติไม่ก้าวไปข้างหน้า คือ ทำไปภาวนาไป พอจิตเริ่มสงบ ความฟุ้งซ่านลดลง ความคิดความรู้สึกเด่นชัด เช่น ความกลัว นี่ก็เป็นจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน แทนที่เราจะกำหนดมันตรงๆ ว่า กลัว กลัวหนอๆๆๆๆ กำหนดให้มันดับไปเลย กลัวหนอๆๆๆ
ถ้าผู้ฝึกจนเห็นความเกิดดับของสภาวะต่างๆบ้างแล้ว กำหนดรู้ ๓-๔ ครั้ง เขาก็ไปจับลมหายใจต่อไป หรือเกาะอาการพอง-ยุบ ว่าต่อไป กำหนดแล้วปล่อยเลย พอไปกำหนดพอง-ยุบ ไม่กี่ครั้ง จิตกลัวดับไปแล้ว มันแค่นี้เอง คุณโรสไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ดูตัวอย่าง

อ้างคำพูด:
เพราะอะไรคะ เวลานั่งสมาธิไปสักพักนึง จนเกิดความเงียบแล้ว ทำไมจู่ๆ ถึงเกิดความกลัวคะ คือชอบคิดว่า ในขณะที่หลับตา จะเห็นนู่นเห็นนี่ ทำให้นั่งนานไม่ค่อยได้อ่ะค่า ก็เลยถามว่า เป็นเพราะอะไร แล้วเราจะเห็นอะไรไหม มีวิธีแก้หรือเปล่า ขอบคุณค่า


นี่กลัวความคิด พูดตามภาษาชาวบ้าน ก็ว่า กลัวความคิดตัวเอง :b32: กำหนดกลัวหนอๆๆ แทรกเข้าไป นี่ๆ พูดตามภาษาอภิธรรมเขาว่า จิตเกิดทีละขณะทีละดวง ถูกไหมคุณโรส เมื่อมันเกิดทีละดวงทีละขณะ ก็กำหนดความจริงเข้าไปแทรกความคิดกลัวนั้น กลัวหนอๆๆๆๆ อาการที่จิตมันคิดกลัวก็ดับ เพราะมันคิดได้ทีละดวง ครั้งละขณะ นี่ๆๆ :b32: อย่าเลี่ยงหนีมัน หนีรอดไปได้ก็ไม่รู้ความจริง เหมือนคนปฏิบัติแล้วง่วง พอง่วงลุกไปเข้าห้องน้ำ ไปล้างหน้าล้างตา รอดไปได้ครั้งหนึ่ง แต่ไม่รู้ความจริง พอทำอีกปฏิบัติอีก ง่วงอีก ลุกไปเข้าห้องน้ำล้างหน้าล้างตาอีก รอดไปได้อีกครั้งหนึ่ง แต่ไม่รู้ความจริง ฯลฯ วนไปยังงี้แหละ เสียเวลาเปล่า

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2018, 08:40 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


:b32:
ตาปัญญาไม่ใช่ตาเนื้อ
เพราะตาเนื้อกำลังเห็นผิด
จะเกิดตาปัญญาคือฟังแล้ว
เข้าใจถูกตรงที่ตนเห็นว่าไม่เห็นตัวสี
แต่จำผิดในรูปร่างและบัญญัติคำในรูปร่างนั้นๆทันที
เดี๋ยวนี้เลยมองดูสิจำทุกอย่างหมดเลยตรงหน้าที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นไงคะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2018, 10:18 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
ตาปัญญาไม่ใช่ตาเนื้อ
เพราะตาเนื้อกำลังเห็นผิด
จะเกิดตาปัญญาคือฟังแล้ว
เข้าใจถูกตรงที่ตนเห็นว่าไม่เห็นตัวสี
แต่จำผิดในรูปร่างและบัญญัติคำในรูปร่างนั้นๆทันที
เดี๋ยวนี้เลยมองดูสิจำทุกอย่างหมดเลยตรงหน้าที่ปรากฏให้เห็นได้เท่านั้นไงคะ
:b32: :b32:


พูดคิดเหมือนคนนอนไม่อิ่ม ไม่รู้อะไร :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2018, 10:22 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ต่อ

อาการที่เป็นอยู่ โดยมีสติสัมปชัญญะตลอดเวลาเช่นนี้ มีลักษณะสำคัญอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่า เป็นอยู่ในปัจจุบัน หรือมีชีวิตอยู่ในขณะปัจจุบัน กล่าวคือ
สติตามทันสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ หรือกระทำอยู่ขณะนั้นๆ แต่ละขณะๆ ไม่ปล่อยให้คลาดกันไป ไม่ติดข้องค้างคา หรืออ้อยอิ่งอยู่กับอารมณ์ที่ผ่านล่วงไปแล้ว ไม่ลอยคว้างไปข้างหน้าเลยไปหาสิ่งที่ยังไม่มาและไม่มี ไม่เลื่อนไหลถอยลงสู่อดีต ไม่เลือนลอยไปในอนาคต

หากจะพิจารณาเรื่องราวในอดีต หรือสิ่งที่พึงทำในอนาคต ก็เอาสติกำหนดจับสิ่งนั้นมาให้ปัญญาพิจารณาอย่างมีความมุ่งหมาย ทำให้เรื่องนั้นๆกลายเป็นอารมณ์ปัจจุบันของจิต ไม่มีอาการเคว้งคว้างเลื่อนลอยละห้อยเพ้อ ของความเป็นอดีตหรืออนาคต

การเป็นอยู่ในขณะปัจจุบันเช่นนี้ ก็คือการไม่ตกเป็นทาสของตัณหา ไม่ถูกตัณหาล่อไว้ หรือชักจูงไปนั่นเอง แต่เป็นการเป็นอยู่ด้วยปัญญาทำให้พ้นจากอาการต่างๆของความทุกข์ เช่น ความเศร้า ซึม เสียดาย ความร้อนใจ กลุ้ม กังวล เป็นต้น และทำให้เกิดความรู้ พร้อมทั้งความปลอดโปร่งผ่องใสเบาสบายของจิตใจ

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 24 ต.ค. 2018, 10:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


จบตอน กระบวนการปฏิบัติ


ต่อ ผลของการปฏิบัติ ที่

viewtopic.php?f=1&t=56668

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 04:24 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
ผู้มีแนวทางอยู่บ้าง เห็นแล้วมองออกทันที แต่คุณโรสมองไม่ออกอยู่แล้ว ถ้าไม่เชื่อเข้ามาเถียงที

สังเกตดู

กระบวนการปฏิบัติ

๑. องค์ประกอบ หรือสิ่งที่ร่วมอยู่ในกระบวนการปฏิบัติ นี้ มี ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายที่ทำ (ตัวการที่คอยสังเกต ตามดูรู้ทัน) กับ ฝ่ายที่ถูกทำ (สิ่งที่ถูกสังเกต ตามดูรู้ทัน)


ก. องค์ประกอบฝ่ายที่ถูกทำ คือ สภาวะ ที่ถูกมอง หรือถูกตามดูรู้ทัน ได้แก่ สิ่งธรรมดาสามัญ คือทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่กับตัวของทุก คนนั่นเอง เช่น ร่างกาย การเคลื่อนไหวของร่างกาย ความรู้สึกนึกคิด ต่างๆ ที่เป็นปัจจุบัน คือกำลังเกิดขึ้น เป็นไปอยู่ในขณะนั้นๆ


ข. องค์ประกอบฝ่ายที่ทำ คือ องค์ ธรรมที่ถึงที่ทันอยู่ต่อหน้ากับสิ่ง นั้นๆ ไม่คลาดคลา ไม่ทิ้งไป คอยตามดูรู้ทัน เป็นองค์ธรรมของสติ ปัฏฐาน ได้แก่ สติ กับ สัมปชัญญะ




สติ เป็นตัวดึงตัวเกาะจับสิ่งที่จะมองจะดูจะรู้เอาไว้ สัมปชัญญะ คือปัญญา ที่รู้ชัดต่อสิ่งหรืออาการ ที่ถูกมอง หรือตามดูนั้น โดยตระหนักว่า คืออะไร เป็นอย่างไร มีความมุ่งหมายอย่างไร เช่น ขณะเดิน ก็มีสติให้ใจอยู่พร้อมหน้ากับการเดิน และมีสัมปชัญญะที่รู้พร้อมอยู่กับตัวว่า กำลังเดินไปไหน อย่างไร เพื่ออะไร รู้ตระหนักภาวะและสภาพของผู้เดิน และสิ่งที่เกี่ยวข้องในการเดินนั้น เป็นต้น เข้าใจสิ่งนั้นหรือการกระทำนั้นตามความเป็นจริง โดยไม่เอาความรู้สึกชอบใจหรือไม่ชอบใจ เป็นต้น ของตนเข้าไปปะปนหรือปรุงแต่ง



แต่ เม มองออกค่ะ ว่าสติระลึกดีก็ได้ ระลึกในสิ่งไม่ดีก็ได้
ในมหาสติปัฎฐาน ต้องเป็นสัมมาสติเท่านัน ค่ะ

นี่แสดงว่า ลุงกรัชกายและหนังสือตัดแปะนี้ ไม่รู้เรื่องสัมมาสติ ซะเรย

และแถมลุงกรัชกาย ก็มั่วเรื่ององค์ธรรมอีก แน่ะ
เพราะไม่ได้เรียนพระอภิธรรม ไม่ได้เรียนพระปริยัติ เรยมั่วแหลกแล้วหละค่ะ

องค์ธรรม ของมหาสติปัฎฐาน คือ สัมมาสติ ที่ประกอบในมหากุศลญาณวิปปยุตจิต
รวมถึงสติที่ประกอบในอัปปนาชวนจิต
และรวมถึงด้วยมหากิริยาจิต แล้วแต่กรณี

ส่วนวิปัสสนาญานเกิดขึ้น จนตลอดจนถึงมัคคญาณ
ก็ต้องอาศัยสัมมาสติที่ประกอบในมหากุศลญาณสัมปปยุตจิต
และสัมมาสติที่เป็นองค์มรรค ประกอบในมัคคจิต ค่ะ

แค่นี้ก็รู้แล้วว่า ลุงกรัชกายไม่รู้จักสัมมาสติและองค์ธรรมอะไรเรยค่ะ


แก้ไขล่าสุดโดย โลกสวย เมื่อ 26 ต.ค. 2018, 04:30, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 04:26 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จบตอน กระบวนการปฏิบัติ


ต่อ ผลของการปฏิบัติ ที่

viewtopic.php?f=1&t=56668



จบตอน

ผลของการไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนปริยัติให้ถ่องแท้
ลุงกรัชกาย เรยไม่รู้เรื่องสัมมาสติและองค์ธรรมของมหาสติปัฎฐาน


คริคริ ค่ะ


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 26 ต.ค. 2018, 05:47 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


โลกสวย เขียน:
กรัชกาย เขียน:
จบตอน กระบวนการปฏิบัติ


ต่อ ผลของการปฏิบัติ ที่

viewtopic.php?f=1&t=56668



จบตอน

ผลของการไม่เรียนพระอภิธรรม ไม่เรียนปริยัติให้ถ่องแท้
ลุงกรัชกาย เรยไม่รู้เรื่องสัมมาสติและองค์ธรรมของมหาสติปัฎฐาน


คริคริ ค่ะ


กะพี่เมเคยพูดท่อนซุงหนหนึ่งแล้ว แต่ไม่ชัดพอ ย้ำอีกที

การใช้คำพูดที่ว่า "พระอภิธรรม" ก็ดี "ปริยัติ" ก็ดี "สัมมาสติ" ก็ดี "มหาสติปัฏฐาน" ก็ดี พูดอย่างนี้แหละ น้องตั้งชื่อเรียกเองว่า ท่อนซุงทั้งดุ้น อิอิ เคยเห็นไหม ท่อนซุงที่เขาชักลากออกจากป่ามาวางเรียงๆกันไว้ตามริมถนน แถวๆภาคเหนือ นั่งรถผ่านจะเห็น คิกๆๆ (วางกองไว้เป็นปีๆๆๆ จนขอนไม้ผุเป็นอาหารของปลวกของมอดไป)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 26 โพสต์ ]  ไปที่หน้า 1, 2  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร