วันเวลาปัจจุบัน 18 ก.ค. 2025, 21:16  



เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง




กลับไปยังกระทู้  [ 278 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 19  ต่อไป  Bookmark and Share
เจ้าของ ข้อความ
โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 11:04 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
ไม่ชัดหรือคะเคยอ่านไหม
ปัจจุบันเท่านั้นที่รู้ถูกตรงตามได้
อดีตรู้ไม่ได้และอนาคตยังมาไม่ถึง
เขียนภาษาไทยไม่เข้าใจงั้นNOWเข้าใจไหม
Beingต้องกำลังมีตรงขณะกิเลสน่ะมีแล้วที่จิตใครจิตมัน
ดูคลิปน่ะคลิปไม่ใช่สภาพรู้นี่มีแต่จิตตัวเองปรุงแต่งครบ6ทางไม่ใช่เหรอขาดแค่ฟัง
ตาดูหูฟังถ้าทันจะเข้าหูซ้ายออกหูขวาก็เป็นเหตุปัจจัยที่ตนเองไม่มีสติระลึกตามทีละคำได้ไงคะ
เพราะมัวแต่ปรุงว่าคนนั้นพูดคนนี้ตอบลืมเงี่ยหูตั้งใจฟังเพื่อเข้าตรงตามที่กำลังได้ยินได้ฟังไงคะมัวคิดฟุ้งซ่าน
ตรงขณะคือสีกระทบตาดับทันทีไม่ตรงกับได้ยินไม่ตรงกับคิดไม่ตรงกับรสเพราะจิตเกิดดับทีละ1ขณะไงคะ
โลกทั้งใบและขันธ์ทั้งหลายเลยดับพร้อมกับจิตไปแล้วครบทั้ง6ทางด้วยเดี๋ยวนี้ทรงแสดงความจริงที่ไม่มีใครรู้
จึงต้องเพียรฟังเพื่อไตร่ตรองตามคำที่กำลังฟังว่าทำให้คิดถูกตรงตัวจริงของธัมมะไหนน๊าขาดการฟังไม่ได้ไง
อันว่านั่งหลับตาจนได้อรูปฌานโดยคิดนึกไปตามสภาพธรรมเอาเองอย่าง2อาจารย์ดาบสตายก่อนฟังคำสอน
พระอาฬารดาบสและพระอุทกดาบสนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเพราะไม่ได้ฟังคำสอนเลยไม่เกิดปัญญารู้ถูกตามได้ไงคะ
:b32: :b32: :b32:


พระพุทธเจ้ารับรองคำสอนข้างต้นมั๊ยคะ ...

ถ้าหามายืนยังไม่ได้ แสดงว่า ก็ไม่ต่างจากอาหารไม่มี อย. :b32: :b32: :b32:


ตอนนี้ ไม่สนอะไรทั้งสิ้นค่ะ จะดู อย.

ถ้าไม่มี อย. เดี๋ยวเอกอนจะไปเข้าเรื่อง ปริพาชก แล้วค่ะ

:b32:
ตถาคตรับรองโดยพระองค์เองก่อนดับขันธปรินิพพานว่า
จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมด้วยการฟังไม่ใช่หรือคะ
ตถาคตยังยกพระธรรมและพระวินัยขึ้นแทนศาสดา
ศาสนาแปลว่าคำสอน
ศาสดาคือพระพุทธเจ้า
พระธรรมคือคำสอนใช่ไหมคะ
ตถาคตยกพระธรรมขึ้นแทนศาสดา
ดังนั้นศาสดา=ศาสนา=พระธรรมและพระวินัย
ใครที่รักษาพระวินัยทราบไหมคะคนที่บวชใช่ไหม
บวชแล้วรักษาไม่ได้นี่ทำผิดปลงอาบัติน่ะเพราะทำแบบคฤหัสถ์แค่ครองจีวรเป็นภิกษุแกลบไงคะ
คนหิวข้าวพึ่งแกลบได้ไหมคะทำผิดไม่ยอมรับว่าตัวผิดเหมือนกะคนมีกิเลสไม่ยอมรับตัวเองไงคะ
:b32: :b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 11:23 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


ขอแจ้งปัญหาคียออกจากระบบแล้ว
ยังมีชื่อเป็นผู้ใช้งานค้างบนหน้าจอ
ไปตั้งกระทู้แจ้งปัญหาโพสต์ไม่ได้ค่ะ
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 11:25 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
eragon_joe เขียน:
eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
ไม่ชัดหรือคะเคยอ่านไหม
ปัจจุบันเท่านั้นที่รู้ถูกตรงตามได้
อดีตรู้ไม่ได้และอนาคตยังมาไม่ถึง
เขียนภาษาไทยไม่เข้าใจงั้นNOWเข้าใจไหม
Beingต้องกำลังมีตรงขณะกิเลสน่ะมีแล้วที่จิตใครจิตมัน
ดูคลิปน่ะคลิปไม่ใช่สภาพรู้นี่มีแต่จิตตัวเองปรุงแต่งครบ6ทางไม่ใช่เหรอขาดแค่ฟัง
ตาดูหูฟังถ้าทันจะเข้าหูซ้ายออกหูขวาก็เป็นเหตุปัจจัยที่ตนเองไม่มีสติระลึกตามทีละคำได้ไงคะ
เพราะมัวแต่ปรุงว่าคนนั้นพูดคนนี้ตอบลืมเงี่ยหูตั้งใจฟังเพื่อเข้าตรงตามที่กำลังได้ยินได้ฟังไงคะมัวคิดฟุ้งซ่าน
ตรงขณะคือสีกระทบตาดับทันทีไม่ตรงกับได้ยินไม่ตรงกับคิดไม่ตรงกับรสเพราะจิตเกิดดับทีละ1ขณะไงคะ
โลกทั้งใบและขันธ์ทั้งหลายเลยดับพร้อมกับจิตไปแล้วครบทั้ง6ทางด้วยเดี๋ยวนี้ทรงแสดงความจริงที่ไม่มีใครรู้
จึงต้องเพียรฟังเพื่อไตร่ตรองตามคำที่กำลังฟังว่าทำให้คิดถูกตรงตัวจริงของธัมมะไหนน๊าขาดการฟังไม่ได้ไง
อันว่านั่งหลับตาจนได้อรูปฌานโดยคิดนึกไปตามสภาพธรรมเอาเองอย่าง2อาจารย์ดาบสตายก่อนฟังคำสอน
พระอาฬารดาบสและพระอุทกดาบสนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเพราะไม่ได้ฟังคำสอนเลยไม่เกิดปัญญารู้ถูกตามได้ไงคะ
:b32: :b32: :b32:


พระพุทธเจ้ารับรองคำสอนข้างต้นมั๊ยคะ ...

ถ้าหามายืนยังไม่ได้ แสดงว่า ก็ไม่ต่างจากอาหารไม่มี อย. :b32: :b32: :b32:


ตอนนี้ ไม่สนอะไรทั้งสิ้นค่ะ จะดู อย.

ถ้าไม่มี อย. เดี๋ยวเอกอนจะไปเข้าเรื่อง ปริพาชก แล้วค่ะ

:b32:
ตถาคตรับรองโดยพระองค์เองก่อนดับขันธปรินิพพานว่า
จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมด้วยการฟังไม่ใช่หรือคะ
ตถาคตยังยกพระธรรมและพระวินัยขึ้นแทนศาสดา
ศาสนาแปลว่าคำสอน
ศาสดาคือพระพุทธเจ้า
พระธรรมคือคำสอนใช่ไหมคะ
ตถาคตยกพระธรรมขึ้นแทนศาสดา
ดังนั้นศาสดา=ศาสนา=พระธรรมและพระวินัย
ใครที่รักษาพระวินัยทราบไหมคะคนที่บวชใช่ไหม
บวชแล้วรักษาไม่ได้นี่ทำผิดปลงอาบัติน่ะเพราะทำแบบคฤหัสถ์แค่ครองจีวรเป็นภิกษุแกลบไงคะ
คนหิวข้าวพึ่งแกลบได้ไหมคะทำผิดไม่ยอมรับว่าตัวผิดเหมือนกะคนมีกิเลสไม่ยอมรับตัวเองไงคะ
:b32: :b32: :b32:


พระพุทธองค์รับรองคำสอน ก็รับรองอย่าง นี้ไงคะ

eragon_joe เขียน:
:b8: :b8: :b8:

....

Quote Tipitaka:
เมื่อวิสาขาอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า

ดูกรวิสาขะ ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา

แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว

เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.

จบ จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔


ดังนั้น คำสอนที่มีพระบรมศาสดารับรอง อย่างนี้
เป็นคำสอนที่ บริโภคได้ค่ะ ... ^^

นอกนั้น ... โนวววววววว์

เพราะมีการนำมาแปรรูป เสียกระบวนการไปเรียบร้อยแล้วค่ะ

ถ้าจะให้นำไปบริโภคได้ ต้องเอาไปผ่านการรับรองมา ค่ะ

ไม่เช่นนั้น ก็ โนวววววววววววสสสสส์

คำตถาคต เอามาดัดแปลงใหม่ จนลำดับผิดเพี้ยน ก็ไม่น่าไว้วางใจที่จะบริโภคแล้วค่ะ

เอกอน เซยยยยยย์ โนววววววสสสสสสส์

:b13:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ต.ค. 2018, 12:03, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 11:30 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
eragon_joe เขียน:
eragon_joe เขียน:
Rosarin เขียน:
:b12:
ไม่ชัดหรือคะเคยอ่านไหม
ปัจจุบันเท่านั้นที่รู้ถูกตรงตามได้
อดีตรู้ไม่ได้และอนาคตยังมาไม่ถึง
เขียนภาษาไทยไม่เข้าใจงั้นNOWเข้าใจไหม
Beingต้องกำลังมีตรงขณะกิเลสน่ะมีแล้วที่จิตใครจิตมัน
ดูคลิปน่ะคลิปไม่ใช่สภาพรู้นี่มีแต่จิตตัวเองปรุงแต่งครบ6ทางไม่ใช่เหรอขาดแค่ฟัง
ตาดูหูฟังถ้าทันจะเข้าหูซ้ายออกหูขวาก็เป็นเหตุปัจจัยที่ตนเองไม่มีสติระลึกตามทีละคำได้ไงคะ
เพราะมัวแต่ปรุงว่าคนนั้นพูดคนนี้ตอบลืมเงี่ยหูตั้งใจฟังเพื่อเข้าตรงตามที่กำลังได้ยินได้ฟังไงคะมัวคิดฟุ้งซ่าน
ตรงขณะคือสีกระทบตาดับทันทีไม่ตรงกับได้ยินไม่ตรงกับคิดไม่ตรงกับรสเพราะจิตเกิดดับทีละ1ขณะไงคะ
โลกทั้งใบและขันธ์ทั้งหลายเลยดับพร้อมกับจิตไปแล้วครบทั้ง6ทางด้วยเดี๋ยวนี้ทรงแสดงความจริงที่ไม่มีใครรู้
จึงต้องเพียรฟังเพื่อไตร่ตรองตามคำที่กำลังฟังว่าทำให้คิดถูกตรงตัวจริงของธัมมะไหนน๊าขาดการฟังไม่ได้ไง
อันว่านั่งหลับตาจนได้อรูปฌานโดยคิดนึกไปตามสภาพธรรมเอาเองอย่าง2อาจารย์ดาบสตายก่อนฟังคำสอน
พระอาฬารดาบสและพระอุทกดาบสนั้นเป็นมิจฉาสมาธิเพราะไม่ได้ฟังคำสอนเลยไม่เกิดปัญญารู้ถูกตามได้ไงคะ
:b32: :b32: :b32:


พระพุทธเจ้ารับรองคำสอนข้างต้นมั๊ยคะ ...

ถ้าหามายืนยังไม่ได้ แสดงว่า ก็ไม่ต่างจากอาหารไม่มี อย. :b32: :b32: :b32:


ตอนนี้ ไม่สนอะไรทั้งสิ้นค่ะ จะดู อย.

ถ้าไม่มี อย. เดี๋ยวเอกอนจะไปเข้าเรื่อง ปริพาชก แล้วค่ะ

:b32:
ตถาคตรับรองโดยพระองค์เองก่อนดับขันธปรินิพพานว่า
จงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมด้วยการฟังไม่ใช่หรือคะ
ตถาคตยังยกพระธรรมและพระวินัยขึ้นแทนศาสดา
ศาสนาแปลว่าคำสอน
ศาสดาคือพระพุทธเจ้า
พระธรรมคือคำสอนใช่ไหมคะ
ตถาคตยกพระธรรมขึ้นแทนศาสดา
ดังนั้นศาสดา=ศาสนา=พระธรรมและพระวินัย
ใครที่รักษาพระวินัยทราบไหมคะคนที่บวชใช่ไหม
บวชแล้วรักษาไม่ได้นี่ทำผิดปลงอาบัติน่ะเพราะทำแบบคฤหัสถ์แค่ครองจีวรเป็นภิกษุแกลบไงคะ
คนหิวข้าวพึ่งแกลบได้ไหมคะทำผิดไม่ยอมรับว่าตัวผิดเหมือนกะคนมีกิเลสไม่ยอมรับตัวเองไงคะ
:b32: :b32: :b32:


พระพุทธองค์รับรองคำสอน ก็รับรองอย่าง นี้ไงคะ

eragon_joe เขียน:
:b8: :b8: :b8:

....

เมื่อวิสาขาอุบาสกกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า

ดูกรวิสาขะ ธรรมทินนาภิกษุณีเป็นบัณฑิต มีปัญญามาก แม้หากท่านพึงสอบถามเนื้อความนั้นกะเรา

แม้เราก็พึงพยากรณ์เนื้อความนั้น เหมือนที่ธรรมทินนาภิกษุณี พยากรณ์แล้ว

เนื้อความแห่งพยากรณ์นั้น เป็นดังนั้นนั่นแล ท่านพึงจำทรงไว้อย่างนั้นเถิด.


พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพจน์นี้แล้ว วิสาขอุบาสก ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้ว ฉะนั้นแล.

จบ จูฬเวทัลลสูตร ที่ ๔[/quote-tipitaka]


ดังนั้น คำสอนที่มีพระบรมศาสดารับรอง อย่างนี้
เป็นคำสอนที่ รัปทาน ได้ค่ะ ... ^^

นอกนั้น ... โนวววววววว์

เพราะมีการนำมาแปรรูป เสียกระบวนการไปเรียบร้อยแล้วค่ะ

ถ้าจะให้นำไปบริโภคได้ ต้องเอาไปผ่านการรับรองมา ค่ะ

ไม่เช่นนั้น ก็ โนวววววววววววสสสสส์

:b13:

:b32:
ตรงปัจจุบันไม่มีใครคิดแทนใครได้
เอกอนว่าตรงปัจจุบันขณะคือเวลาไหน
เวลาเดินหน้าไปเรื่อยๆมีแต่จิเจรุนิปรากฏ
ตรงตามที่ตถาคตทรงตรัสรู้ทุกคำเดี๋ยวนี้ค่ะ
เอกอนไม่รู้ตรง1สัจจะตรงจริงที่กายกำลังมีนั้น
แสดงว่าเอกอนสะสมกิเลสไปแล้วเพราะไม่รู้ตรงปัจจุบันที่กำลังมีไงคะ
เป็นความจริงกำลังปรากฏกับอวิชชาของเอกอนเองกิเลสตนทำร้ายจิตตนน๊า
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 11:57 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


จั่วไพ่ใบแรกมา ก็ไม่รู้ อานาปานสติ

:b32:

คนที่รู้เขาก็รู้แล้วค่ะ ว่าที่สอนคืออะไร

เพราะแค่กองลมยังไม่เท่าทัน กองอะไรอะไรจะไปทันมันได้ยังไงคะ

จะไปฟังและคิดตามทำไม
กองจินตนาการล้วนๆ


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ต.ค. 2018, 12:02, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 12:00 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
ขอแจ้งปัญหาคียออกจากระบบแล้ว
ยังมีชื่อเป็นผู้ใช้งานค้างบนหน้าจอ
ไปตั้งกระทู้แจ้งปัญหาโพสต์ไม่ได้ค่ะ


ทำไมบอร์ดต้องมารวนช่วงนี้ด้วยนะ :b32:

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 13:25 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
Rosarin เขียน:
ขอแจ้งปัญหาคียออกจากระบบแล้ว
ยังมีชื่อเป็นผู้ใช้งานค้างบนหน้าจอ
ไปตั้งกระทู้แจ้งปัญหาโพสต์ไม่ได้ค่ะ


ทำไมบอร์ดต้องมารวนช่วงนี้ด้วยนะ :b32:

:b32: น่านสิมันขัดจังหวะในการตอบต้องก็อปตัดแปะเปิดหน้าใหม่ :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 13:29 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 29 ต.ค. 2009, 15:06
โพสต์: 7517

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


eragon_joe เขียน:
จั่วไพ่ใบแรกมา ก็ไม่รู้ อานาปานสติ

:b32:

คนที่รู้เขาก็รู้แล้วค่ะ ว่าที่สอนคืออะไร

เพราะแค่กองลมยังไม่เท่าทัน กองอะไรอะไรจะไปทันมันได้ยังไงคะ

จะไปฟังและคิดตามทำไม
กองจินตนาการล้วนๆ

:b12:
ถ้าตถาคตไม่ได้เห็นเพียงสีคงไม่แสดงว่าจิตเห็นสี
เอกอนคะเอางี้นะคะคำสอนตรงๆไม่มีอ้อมไปทำทีหลัง
เอกอนต้องคิดตามเดี๋ยวนี้ตรงๆตามคำสอนดังนี้คือจิตเห็นสี
และเดี๋ยวนี้เอกอนตรงต่อสัจจะที่ตนเองเห็นไหมจิตเอกอนเห็นอะไรเดี๋ยวนี้ตอบสิแค่สีไหม555
:b32: :b32:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 13:56 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 24 ต.ค. 2006, 12:36
โพสต์: 33766

อายุ: 0

 ข้อมูลส่วนตัว


กรัชกาย เขียน:
จิต, จิตต์ ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ

เจตสิก ธรรมที่ประกอบกับจิต, อาการหรือคุณสมบัติต่างๆของจิต เช่น ความโลภ ความโกรธ ความหลง ศรัทธา เมตตา สติ ปัญญา เป็นต้น


ท้ังจิตทั้งเจตสิก (จิ เจ) เป็นธรรมชาติทั้งคู่ทั้งนั้น เติม รูป เข้าไปอีก เป็น จิต เจตสิก รูป ก็เป็นคนๆหนึ่งๆ แล้วในเมื่อ จิต เจตสิ รูป เป็นธรรมชาติ เมื่อว่าโดยความหมายสูงสุด คนจะเป็นอะไร ถ้าไม่ใช่ธรรมชาติ

ดังนั้น การที่คนเราทั้งหมดทั้งสิ้นทั้งโลก คิด พูด ทำ กันอยู่นี่อยู่นั่น เราเขาก็ใช้ธรรมชาตินี่แหละ ทำ พูด คิด แต่ใช้ในนามส่วนตัวบุคคล (ชีวิตของใครก็ของคนๆนั้น ชีวิตใครชีวิตมัน ใครทำใครได้) นี่มองชีวิตเป็น 2 ชั้น



ให้ดูตัวอย่าง คน กับ ธรรมระดับปรมัตถ์ หรือระดับสภาวะ แย้งกัน ดู

อ้างคำพูด:
คือ ว่าเรานั่งสมาธิแล้วเริ่มเข้าสู่ความสงบ (ประมาณว่าโลกนี้ว่าง ๆค่ะ) แต่ไม่รู้ทำไมเกิดนึกกลัวขึ้นมา อยากออกจากสมาธิ มีคนแนะนำว่าต้องค่อย ๆ ถอยออกจากสมาธิ แต่เราทำไม่ได้ เพราะมันไม่ยอมออกค่ะ ไม่รู้ทำไง เลยลืมตาเสียเลย เท่านั้นเองใจก็เกิดสั่นขึ้นมาทันที รู้สึกวิงเวียนบอกไม่ถูก

วันนั้นทั้งวันใจไม่อยู่กับเนื้อกับตัว กว่าจะปกติก็ช่วงเย็นแล้ว

เราเลยอยากถามว่า ทำอย่างไรไม่ให้กลัวเวลาเจอสถานการณ์แบบนี้ และจะออกจากสมาธิด้วยวิธีไหนดีคะ ผู้รู้ช่วยตอบทีค่ะ



กล่าวคือ สภาวธรรมมันก็ไหลไปตามเหตุปัจจัยของมันตามเรื่องของมัน เหมือนฝนตก ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง ก็เรื่องของมัน แต่ด้านที่เป็นคนเป็นเราเนี่ย รับไม่ได้ ไม่ยอมรับความจริง ประสบกับสภาวธรรมเข้าเท่านั้น ก็เบือนหนี คิดกันไปต่างๆนานา ไม่เอาๆอย่างนี้ไม่อาว ฉันจะเอาอย่างนั้น ไม่เอาอย่างนี้ แบบนี้ฉันไม่ต้องการ ฉันต้องการอย่างนั้น ก็เลยไม่ไปไหน วนอยู่อย่างนั้นแหละ

เบื้องต้นบอกให้กำหนดรู้ตามที่มันเป็น เพื่อจะได้รู้จักธรรมชาติ รู้สึกยังไง เป็นยังไงก็กำหนดยังงั้น รู้สึกกลัว ให้กำหนดในใจ ว่า กลัวหนอๆๆๆ เป็นต้น มันกลัวก็ว่ากลัว ฯลฯ ครั้นแนะนำให้เริ่มปฏิบัติอย่างนี้ คนก็ไปติด หนอ สะอีก คิกๆๆๆ หนอไม่ใช้ก็ได้ แต่สภาวะ คือ ความกลัวต่างหากที่เป็นเป็นจุดโฟกัส เพราะจิตมันคิดกลัว คิดอย่างอื่นก็ทำนองเดียวกับกลัวนี่ โยคีต้องรู้เท่าทันมัน

จบข่าว :b13:


เนี่ยจะพูดโยงไปแง่ อัตตา อนัตตาก็ได้ อ้าวจริงๆ ถ้าพูดโดยความหมายสูงสุดมันเป็นอนัตตา แต่อีกด้านหนึ่งแง่หนึ่ง เราก็คิดว่าเป็นกู เป็นเรา เป็นอัตตา เป็นตัวตนของเรา นี่ขัดกันแล้วกับสภาวะอนัตตา

สมดังที่พระพุทธองค์ตรัสใน สํ.ข. 17/4/4; 32/21; 87/53 ว่า “การประสบไตรลักษณ์อย่างไม่รู้เท่าทัน กลับทำให้เกิดทุกข์” (สภาวะไม่ทุกข์หรอก คนนั้นแหละจะเป็นทุกข์ เป็นทุกข์เพราะรู้ไม่เท่าทันมัน)

.....................................................
https://dhammachati.blogspot.com/


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 15:46 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b12:
ถ้าตถาคตไม่ได้เห็นเพียงสีคงไม่แสดงว่าจิตเห็นสี
เอกอนคะเอางี้นะคะคำสอนตรงๆไม่มีอ้อมไปทำทีหลัง
เอกอนต้องคิดตามเดี๋ยวนี้ตรงๆตามคำสอนดังนี้คือจิตเห็นสี
และเดี๋ยวนี้เอกอนตรงต่อสัจจะที่ตนเองเห็นไหมจิตเอกอนเห็นอะไรเดี๋ยวนี้ตอบสิแค่สีไหม555
:b32: :b32:


เป็นคำถามที่ หาคมไม่เจอเลยจริง ๆ

ตถาคตไม่เคยหยิบอะไรมาสอนแบบ "พระจันทร์วัน 1 แรมค่ำ" ค่ะ

ไม่ว่าจะแบบย่อหรือแบบเต็ม ตถาคตก็แสดงธรรมแบบ "พระจันทร์เต็มดวง" ค่ะ
คำสอนตรง ๆ แบบย่อก็แค่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อริยสัจสี่

คุณรสอธิบาย สี ลงอริยสัจสี่ ได้มั๊ยคะ

:b32: :b32: :b32:

ใครจะมาเป็นครูเอกอน ก็ต้องคัดกันหน่อยค่ะ
ถ้าเอกอนถามแล้วตอบไม่ได้ ไม่รู้จะเอามาเป็นครูทำไม
เอามาเป็นครูเพื่อทำให้เอกอนงงเหร๋อคะ 555

อย่าให้เอกอนต้องไปเรียนลำดับภาษาไทยพิศดารใหม่เลยค่ะ เอกอนแก่แล้ว :b32:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ต.ค. 2018, 16:33, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 16:14 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


คือ ถ้าหากว่าไม่รู้จัก อานาปานสติ ก็คือ ไม่รู้จัก กองลม
เมื่อไม่รู้จัก กองลม ก็ไม่รู้จัก กองสังขาร
เมื่อไม่รู้จัก กองสังขาร อะไร ๆ ก็ไม่ต้องคิดไปว่าเขาจะรู้จักแล้วววววว

แต่ถ้ารู้จัก กองลม การไปสู่การรู้จัก กองสังขาร ที่เป็นไป
เมื่อรู้จัก กองสังขาร ที่เป็นไป ก็ย่อมรู้จัก การเกิด และการดับของกองสังขาร
และเมื่อรู้จักกองสังขารอยู่ และทำให้มาก
นำกองอื่น ๆ ขึ้นมาพิจารณา การปรากฎเกิด และ การปรากฏดับ ย่อมปรากฏให้ผู้ที่
เพียรเพ่งพิจารณาอยู่
และผู้ปฏิบัติจะพบ การเกิด การดับ ปรากฏในทุก ๆ การปรากฏ
ไม่มีสิ่งใดที่ปรากฏเกิดแล้วไม่มีปรากฏดับ ทุกสิ่งล้วนมีดับไปเป็นธรรมดา

สัจจะธรรม อยู่ตรงที่ รู้
รู้ อยู่ตรงที่ การเข้าถึง

:b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 17:41 
 
ภาพประจำตัวสมาชิก
ออฟไลน์
สมาชิกระดับ 19
สมาชิกระดับ 19
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 มี.ค. 2018, 02:56
โพสต์: 2166

โฮมเพจ: maybe
แนวปฏิบัติ: สติปัฎฐาน
งานอดิเรก: กีฬา
สิ่งที่ชื่นชอบ: แบรนด์เเนม
ชื่อเล่น: เม
อายุ: 22
ที่อยู่: Bangkok Thailand

 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b12:
ถ้าตถาคตไม่ได้เห็นเพียงสีคงไม่แสดงว่าจิตเห็นสี
เอกอนคะเอางี้นะคะคำสอนตรงๆไม่มีอ้อมไปทำทีหลัง
เอกอนต้องคิดตามเดี๋ยวนี้ตรงๆตามคำสอนดังนี้คือจิตเห็นสี
และเดี๋ยวนี้เอกอนตรงต่อสัจจะที่ตนเองเห็นไหมจิตเอกอนเห็นอะไรเดี๋ยวนี้ตอบสิแค่สีไหม555






นั่นแน้ๆๆ

วิปลาสธรรม แล้วหละค่ะ คุณยายโรส คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
ไม่ตรงตามคำพระตถาคตแสดงในพระไตรปิฎก ค่ะ

คำอ้างว่าคำพระพุทธเจ้า จากคนที่หวังยอดวิวในยูทูป จำมาผิดค่ะ ท่องมาผิด แถมมาอ้างมั่วอีกค่ะ


จิตนะคะ คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ ค่ะ

จิตไม่ใช่ทวารค่ะ ให้คุณยายโรส ไปจำพื้นฐานให้แม่นๆเรยนะคะ

การ เห็น เป็นโลกทางตาค่ะ ไม่ใช่จิต
การได้ยิน เป็นโลกทางหูค่ะ ไม่ใช่จิต

เมจะบอกพื้นฐาน ปริยัติ ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่ถูกต้องให้นะคะ
ว่า ที่ถูกต้อง

คือ
จักษุทวาร น่ะ คือลูกตาที่เห็น สี
โสตะทวารน่ะ คือ หู ได้ยิน เสียง
ฆานทาวรน่ะ คือ จมูก ได้กลิ่น
ชิวหาทวารน่ะ คือ ลิ้น ได้รส
กายทวารน่ะ คือ ร่างกายนี่แหละ ได้สัมผัส ร้อน เย็น อ่อน แข็ง ตึง ไหว

แต่จิต น่ะ รู้ อารมณ์ จากวิถีของ ทวารทั้งห้านี้ค่ะ

เมแนะนำนะคะ ให้คุณยายโรส ไปเรียนพระปริยัติเบื่้องต้น ทั้ง 84000 ให้แน่นๆก่อน
ให้ลงไปในใจ ให้เข้าใจพื้นฐานก่อนนะคะ

เพราะท่องจำมา พอนานๆไป จะเลอะเลือนได้ค่ะ






โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 17:50 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


:b1:

คุณรส รู้จัก ทวาร มั๊ยคะ

ว่ามันอยู่ตรงไหน :b1:


โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 19:43 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Rosarin เขียน:
:b32:
ตรงปัจจุบันไม่มีใครคิดแทนใครได้
เอกอนว่าตรงปัจจุบันขณะคือเวลาไหน
เวลาเดินหน้าไปเรื่อยๆมีแต่จิเจรุนิปรากฏ
ตรงตามที่ตถาคตทรงตรัสรู้ทุกคำเดี๋ยวนี้ค่ะ
เอกอนไม่รู้ตรง1สัจจะตรงจริงที่กายกำลังมีนั้น
แสดงว่าเอกอนสะสมกิเลสไปแล้วเพราะไม่รู้ตรงปัจจุบันที่กำลังมีไงคะ
เป็นความจริงกำลังปรากฏกับอวิชชาของเอกอนเองกิเลสตนทำร้ายจิตตนน๊า
:b32: :b32:

ในคลิป ไปถามทำไมกับคนไม่รู้คะ
ทำไมไม่ลองเดินไปถามกับพระที่ปฏิบัติที่ท่านรู้คะ
จะได้คำตอบแบบล้างตากันไปเลย

แสดงว่าถามคำถามแบบนั้น จริง ๆ ไม่ได้อยากรู้คำตอบ
แค่อยากตีหัวให้มึนแล้วลากเข้าสำนัก

ไม่ต้องมาหาเอกอนนะคะ เอกอนไม่เก่งหรอก :b32: :b32: :b32:
เพราะเอกอนไม่ได้หมกมุ่นอยู่กับการปฏิบัติและตำรา เอกอนยังเป็นมนุษย์เงินเดือน
เอกอนแค่ทำสมาธิเพื่อคลายความล้าในแต่ละวันเท่านั้นเองค่ะ
คนที่เก่งกว่าเอกอน มีอีกเยอะค่ะ ที่เขาเก่งทั้งบู๊และบุ๋น

คุยกับคนที่ไม่รู้ มันก็เสกสรรว่าตนเก่งได้ค่ะ
ต้องเปิดบ้านไปดวลกับ ผู้รู้ สิ่คะ

คุณรส อยู่ในหมู่ทู๊ปที่ ไม่รู้ อานาปานสติ อย่ามาบอกว่ารู้จักกิเลสค่ะ
อุปาทานขันธ์ ก็ไม่รู้จัก อาจจะรู้ด้วยฟังมามาก แต่รู้จักแบบฟังมาก
มันรู้แค่เปลือกค่ะ

รู้แบบที่ไม่เคยลงสนามไปเจอกับ อุปาทานขันธ์ จริง ๆ เลย

วัดความรู้แบบตรงปัจจุบัน คุณรสถาม เห็นสีมั๊ยคะ ... :b32: :b32: :b32:
เอกอนตอบไม่ได้ เพราะคุณรสเห็นไม่เหมือนเอกอนเห็นแน่นอน

เพราะเอกอนจะถามกลับไปว่า
คุณรสเห็น ทวาร ที่เชื่อมต่ออายตนภายในกับอายตนะภายนอก มั๊ยคะ

ไม่ใช่แค่บัญญัติที่พระพุทธองค์ตั้งขึ้นมาเล่น ๆ นะคะ
บัญญัติของพระพุทธองค์ล้วนมีสภาวะรองรับทั้งหมด
มีหนทางที่จะไปเห็นด้วย ไม่ใช่เอาลูกกะตาไปเห็น นะคะ

ผู้ปฏิบัติต้องเข้าสมาธิเป็น ทรงอารมณ์เพ่งอยู่ในองค์ธรรม
กองลมนั่นล่ะ ลมที่สัมผัสกาย ลมที่จิตรู้
เมื่อพลิกไปพลิกมา พิจารณาจากนอกเข้าในบ้าง จากในออกนอกบ้าง
:b32: :b32: :b32:
จิตมันจะพิจารณาเข้านอก-ออกในเรื่อย ๆ ค่ะ จนมันเก๊ตนั่นล่ะ :b32:

ปัจจุบันขณะของคุณรส เป็นคนละระนาบกันกับปัจจุบันขณะของผู้ปฏิบัติที่รู้ค่ะ
เพราะจิตของผู้ปฏิบัติที่ฝึกฝนจนรู้เขาทำงานอัตโนมัติปัจจุบันขณะ ในแบบที่คุณรสเชื่องช้าไปแล้วค่ะ
จะโทษจิตเขาก็ไม่ได้นะคะ เพราะจิตของผู้ที่ฝึกมาเขาเป็นเช่นนั้น
เขารู้ที่จะมี นายทวาร แล้ว

การปฏิบัติ โดยการปลีกตัวไปปฏิบัติ โดยนัยยะของเอกอน
คือเราไปฝึกฝนเขา ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เราจัดวาง
ฝึกให้เขาทำงานในแบบที่จะเป็นคุณ
ฝึกพิจารณาไตรตรองธรรมอันเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ครอบครอง
เพื่อเขาจะได้มีความแข็งแรงต่อการออกมาสู่โลกภายนอก

:b1:


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ต.ค. 2018, 21:09, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

โพสที่ยังไม่ได้อ่าน เมื่อ: 09 ต.ค. 2018, 20:08 
 
ออฟไลน์
สมาชิกระดับสูงสุด
สมาชิกระดับสูงสุด
ลงทะเบียนเมื่อ: 11 ต.ค. 2010, 12:11
โพสต์: 5019


 ข้อมูลส่วนตัว


Quote Tipitaka:
๕. ทันตภูมิสูตร (๑๒๕)
[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเวฬุวัน อันเคยเป็น
สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ สมัยนั้นแล สมณุท-
*เทสอจิรวตะอยู่ในกระท่อมในป่า ครั้งนั้น พระราชกุมารชยเสนะ ทรงพระดำเนิน
ทอดพระชงฆ์เที่ยวเล่นไปโดยลำดับ เข้าไปหาสมณุทเทสอจิรวตะถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้ตรัสทักทายปราศรัยกับสมณุทเทสอจิรวตะ ครั้นผ่านคำทักทายปราศรัย พอให้
ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ประทับนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ฯ
[๓๘๙] พระราชกุมารชยเสนะ พอประทับนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้รับสั่ง
กะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านอัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมา
ดังนี้ว่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ ฯ
สมณุทเทสอจิรวตะถวายพระพรว่า ดูกรพระราชกุมาร ข้อนั้นถูกต้อง
แล้วๆ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิตได้ ฯ
ช. ดีแล้ว ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้
ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด ฯ
[๓๙๐] อ. ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพไม่อาจจะแสดงธรรมตามที่ได้
สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ได้ เพราะถ้าอาตมภาพพึงแสดงธรรมตามที่ได้
สดับ ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระองค์ และพระองค์ไม่ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของ
อาตมภาพได้ ข้อนั้นจะเป็นความยาก จะเป็นความลำบากของอาตมภาพ ฯ
ช. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้
ศึกษามาแก่ข้าพเจ้าเถิด บางทีข้าพเจ้าจะพึงทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิ-
*เวสสนะได้ ฯ
อ. ดูกรพระราชกุมาร อาตมภาพจะพึงแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่
ได้ศึกษามาแก่พระองค์ ถ้าพระองค์ทรงทราบอรรถแห่งภาษิตของอาตมภาพได้
นั่นเป็นความดี ถ้าไม่ทรงทราบ ขอพระองค์พึงดำรงอยู่ในภาวะของพระองค์ตามที่
ควรเถิด อย่าได้ซักถามอาตมภาพในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไปเลย ฯ
ช. ขอท่านอัคคิเวสสนะโปรดแสดงธรรมตามที่ได้สดับ ตามที่ได้ศึกษามา
แก่ข้าพเจ้าเถิด ถ้าข้าพเจ้าทราบอรรถแห่งภาษิตของท่านอัคคิเวสสนะได้ นั่นเป็น
ความดี ถ้าไม่ทราบ ข้าพเจ้าจักดำรงอยู่ในภาวะของตนตามที่ควร ข้าพเจ้าจักไม่
ซักถามท่านอัคคิเวสสนะในธรรมนั้นให้ยิ่งขึ้นไป ฯ
[๓๙๑] ลำดับนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับ
ตามที่ได้ศึกษามาแก่พระราชกุมารชยเสนะ เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกล่าวแล้ว
อย่างนั้น พระราชกุมารชยเสนะได้ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ข้าแต่ท่าน
อัคคิเวสสนะผู้เจริญ ข้อที่ภิกษุไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปในธรรมอยู่
พึงสำเร็จเอกัคคตาแห่งจิต นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส ต่อนั้น พระราชกุมาร-
*ชยเสนะ ทรงประกาศความไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาส แก่สมณุทเทสอจิรวตะแล้ว
ทรงลุกขึ้นจากอาสนะเสด็จหลีกไป ฯ
ครั้งนั้นแล สมณุทเทสอจิรวตะ เมื่อพระราชกุมารชยเสนะเสด็จหลีกไป
แล้วไม่นาน จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาท
พระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูล
เรื่องราวเท่าที่ได้สนทนากับพระราชกุมารชยเสนะทั้งหมดนั้นแด่พระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๙๒] เมื่อสมณุทเทสอจิรวตะกราบทูลแล้วอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกะสมณุทเทสอจิรวตะดังนี้ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ พระราชกุมารจะพึงได้ความ
ข้อนั้นในภาษิตของเธอนี้แต่ที่ไหน ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ
เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะยังอยู่ท่ามกลางกาม
ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา ยังขวนขวายในการ
แสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้งความข้อนั้นได้
นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
[๓๙๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก
หรือโคที่ควรฝึก คู่หนึ่งที่เขาฝึกดี หัดดีแล้ว อีกคู่หนึ่งเขาไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัดเลย
ดูกรอัคคิเวสสนะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก
หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาฝึกดี หัดดีแล้วนั้น อันเขาฝึกแล้ว จึงเลียนเหตุการณ์
ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่ฝึกแล้วได้ ใช่ไหม ฯ
อ. ใช่ พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ส่วนช้างที่ควรฝึก หรือม้าที่ควรฝึก หรือโคที่ควรฝึก คู่ที่เขาไม่ได้ฝึก
ไม่ได้หัดแล้วนั้น อันเขาไม่ได้ฝึกเลย จะเลียนเหตุการณ์ที่ฝึกแล้ว สำเร็จภูมิที่
ฝึกแล้ว เหมือนอย่างคู่ที่ฝึกดี หัดดีแล้วนั้น ได้ไหม ฯ
อ. ข้อนี้หามิได้เลย พระพุทธเจ้าข้า ฯ
พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ข้อที่ความข้อนั้นเขารู้
เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ แต่พระราชกุมารชยเสนะ
ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา
ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือจักทรงเห็น หรือจักทรงทำให้แจ้ง
ความข้อนั้นได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่มีได้ ฯ
[๓๙๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนภูเขาใหญ่ไม่ห่างไกลบ้านหรือ
นิคม สหาย ๒ คนออกจากบ้านหรือนิคมนั้นไปยังภูเขาลูกนั้นแล้ว จูงมือกันเข้า
ไปยังที่ตั้งภูเขา ครั้นแล้วสหายคนหนึ่ง ยืนที่เชิงภูเขาเบื้องล่าง อีกคนหนึ่งขึ้นไป
ข้างบนภูเขา สหายที่ยืนตรงเชิงภูเขาข้างล่าง เอ่ยถามสหายผู้ยืนบนภูเขานั้น
อย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขานั้น เพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้น
ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และ
สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ สหายข้างล่างกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน ข้อที่เพื่อนยืน
บนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่
ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย สหายที่ยืนบนภูเขา จึงลงมายังเชิงเขาข้างล่างแล้ว
จูงแขนสหายคนนั้นให้ขึ้นไปบนภูเขาลูกนั้น ให้สบายใจครู่หนึ่งแล้ว เอ่ยถาม
สหายนั้นว่า แน่ะเพื่อน เท่าที่เพื่อนยืนบนภูเขาแล้วเพื่อนเห็นอะไร สหายคนนั้น
ตอบอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย เรายืนบนภูเขาแล้วแลเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และ
สระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ สหายคนขึ้นไปก่อนกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะเพื่อน เราเพิ่งรู้
คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เพื่อนเอ๋ย ข้อที่เพื่อนยืนบนภูเขา แล้วเห็นสวน ป่าไม้
ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่ารื่นรมย์ นั่นไม่ใช่ฐานะ ไม่ใช่โอกาสเลย เดี๋ยวนี้
เอง และสหายคนขึ้นไปทีหลังก็พูดว่า เราก็เพิ่งรู้คำที่ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะ
เพื่อน เรายืนบนภูเขาแล้วเห็นสวน ป่าไม้ ภูมิภาค และสระโบกขรณีที่น่า
รื่นรมย์ เดี๋ยวนี้เหมือนกัน สหายคนขึ้นไปก่อนจึงพูดอย่างนี้ว่า สหายเอ๋ย ความ
เป็นจริง เราถูกภูเขาใหญ่ลูกนี้กั้นไว้ จึงไม่แลเห็นสิ่งที่ควรเห็น นี้ ฉันใด ดูกร
อัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล พระราชกุมารชยเสนะ ถูกกองอวิชชาใหญ่
ยิ่งกว่าภูเขาลูกนั้นกั้นไว้ บังไว้ ปิดไว้ คลุมไว้แล้ว พระราชกุมารชยเสนะนั้นแล
ยังอยู่ท่ามกลางกาม ยังบริโภคกาม ถูกกามวิตกกิน ถูกความเร่าร้อนเพราะกามเผา
ยังขวนขวายในการแสวงหากาม จักทรงรู้ หรือทรงเห็น หรือทรงทำให้แจ้ง
ซึ่งความข้อที่เขารู้ เขาเห็น เขาบรรลุ เขาทำให้แจ้งกันได้ด้วยเนกขัมมะ นั่นไม่
ใช่ฐานะที่มีได้ ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าอุปมา ๒ ข้อนี้จะพึงทำเธอให้แจ่มแจ้งแก่
พระราชกุมารชยเสนะได้ พระราชกุมารชยเสนะจะพึงเลื่อมใสเธอ และเลื่อมใส
แล้วจะพึงทำอาการของบุคคลผู้เลื่อมใสต่อเธออย่างไม่น่าอัศจรรย์ ฯ
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อุปมา ๒ ข้อนี้จักทำข้าพระองค์ให้แจ่มแจ้ง
แก่พระราชกุมารชยเสนะได้แต่ที่ไหน เพราะอุปมาอันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ข้าพระองค์
ไม่เคยได้สดับมาในก่อน เหมือนที่ได้สดับต่อพระผู้มีพระภาค ฯ
[๓๙๕] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนพระราชามหากษัตริย์
ผู้ทรงได้มูรธาภิเษกแล้ว ตรัสเรียกพรานผู้ชำนาญป่าช้างมารับสั่งว่า มานี่แน่ะ
พ่อพรานเพื่อนยาก ท่านจงขี่ช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จงคล้อง
มันไว้ ให้มั่นคงที่คอช้างหลวงเถิด พรานผู้ชำนาญป่าช้างรับสนองพระราชโองการ
แล้ว จึงขึ้นช้างหลวงเข้าไปยังป่าช้าง เห็นช้างป่าแล้ว จึงคล้องไว้มั่นคงที่คอช้าง
หลวง ช้างหลวงจึงนำช้างป่านั้นออกมาสู่ที่กลางแจ้งได้ ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียง
เท่านี้แล ช้างป่าจึงมาอยู่กลางแจ้ง ธรรมดาช้างป่าทั้งหลายยังห่วงถิ่นคือป่าช้างอยู่
พรานจึงกราบทูลเรื่องนี้แด่พระราชามหากษัตริย์ว่า ขอเดชะ ช้างป่าของพระองค์มา
อยู่ที่กลางแจ้งแล้ว พระพุทธเจ้าข้า พระราชามหากษัตริย์จึงตรัสเรียกควาญผู้ฝึกช้าง
มารับสั่งว่า มานี่แน่ะ ควาญช้างเพื่อนยาก ท่านจงฝึกช้างป่า จงไปแก้ไขปรกติ
ของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความ
ลำบากใจ และความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดน
บ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์ต้องการเถิด ควาญช้างรับสนองพระราชโองการแล้ว
จึงฝังเสาตะลุงใหญ่ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า
แก้ไขความดำริพล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และ
ความเร่าร้อนใจของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิง
ในปรกติที่มนุษย์ต้องการ ควาญช้างย่อมร้องเรียกช้างป่าเชือกนั้นด้วยวาจาซึ่งไม่มี
โทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมาก
ปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้น ในเมื่อช้างป่าอันควาญช้างร้องเรียกอยู่ด้วยวาจา
ซึ่งไม่มีโทษ เสนาะหู ชวนให้รักใคร่ จับใจ เป็นภาษาชาวเมือง อันคนส่วนมาก
ปรารถนาและชอบใจเห็นปานนั้นแล้ว จึงสำเหนียกด้วยดี เงี่ยโสตสดับ ตั้งจิต
รับรู้ ควาญช้างจึงเพิ่มอาหาร คือ หญ้าและน้ำให้ช้างนั้นยิ่งขึ้น ในเมื่อช้างป่ารับ
อาหาร คือ หญ้าและน้ำของควาญช้าง ควาญช้างจึงมีความดำริอย่างนี้ว่า คราวนี้
ช้างป่าจักเป็นอยู่ได้ละ จึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รับพ่อ ทิ้งพ่อ
ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการ
รับและการทิ้ง ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ยิ่งขึ้นด้วยคำว่า รุกพ่อ ถอยพ่อ ใน
เมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการรุก
และการถอย ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการยิ่งขึ้นด้วยคำว่า ยืนพ่อ เทาพ่อ
ในเมื่อช้างของพระราชาเป็นสัตว์ทำตามคำ รับทำตามโอวาทของควาญช้างในการ
ยืนและการเทา ควาญช้างจึงให้ช้างนั้นทำการณ์ชื่ออาเนญชะยิ่งขึ้น คือ ผูกโล่ห์
ใหญ่เข้าที่งวงช้างนั้น จัดบุรุษถือหอกซัด นั่งบนคอ จัดบุรุษถือหอกซัดหลายคน
ยืนล้อมรอบ และควาญช้างถือของ้าวยาว ยืนข้างหน้า ช้างนั้นถูกควาญช้างให้
ทำการณ์ชื่ออาเนญชะอยู่ จึงไม่เคลื่อนไหวเท้าหน้า ไม่เคลื่อนไหวเท้าหลัง ไม่
เคลื่อนไหวกายเบื้องหน้า ไม่เคลื่อนไหวกายเบื้องหลัง ไม่เคลื่อนไหวศีรษะ ไม่
เคลื่อนไหวหู ไม่เคลื่อนไหวงา ไม่เคลื่อนไหวหาง ไม่เคลื่อนไหวงวง จึงเป็น
ช้างหลวงทนต่อการประหารด้วย หอก ดาบ ลูกศร และเครื่องประหารของศัตรู
อื่น ทนต่อเสียงกึกก้องแห่งกลองใหญ่ บัณเฑาะว์ สังข์ และกลองเล็ก กำจัด
โทษคดโกงทุกอย่างได้ หมดพยศ ย่อมถึงความนับว่า เป็นช้างสมควรแก่พระราชา
อันพระราชาควรใช้สอย เป็นองค์สมบัติของพระราชา ฉันใด ฯ
[๓๙๖] ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้
ได้เป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี
รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหาคนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจกธรรม ตถาคตนั้นทำให้แจ้งด้วยปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว สอนโลกนี้ทั้งเทวดา มาร พรหม ทุกหมู่สัตว์ ทั้งสมณะ และ
พราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ทั่ว แสดงธรรมไพเราะในเบื้องต้น ในท่ามกลาง
ในที่สุด พร้อมทั้งอรรถทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์อันบริสุทธิ์บริบูรณ์
สิ้นเชิง คฤหบดีก็ดี บุตรของคฤหบดีก็ดี คนที่เกิดภายหลังในสกุลใดสกุลหนึ่ง
ก็ดี ย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้ว ย่อมได้ความเชื่อในตถาคต เขาประกอบด้วย
การได้ความเชื่อโดยเฉพาะนั้น จึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า ฆราวาสคับแคบ เป็นทางมา
แห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง เรายังอยู่ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์
บริบูรณ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว นี้ไม่ใช่ทำได้ง่าย อย่ากระนั้นเลย
เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด
สมัยต่อมาเขาละโภคสมบัติน้อยบ้าง มากบ้าง และวงศ์ญาติเล็กบ้าง ใหญ่บ้าง
ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์แล้วออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต
ดูกรอัคคิเวสสนะ เพียงเท่านี้แล เขาชื่อว่าเป็นอริยสาวก อยู่ในโอกาสอันว่างแล้ว
ความจริง เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ยังห่วงถิ่น คือ กามคุณทั้ง ๕ อยู่ ตถาคต
จึงแนะนำเธอนั้นให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วย
ปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่ จงเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียง
เล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายเถิด ดูกรอัคคิเวสสนะ ในเมื่ออริย-
*สาวกเป็นผู้มีศีล สำรวมด้วยปาติโมกขสังวร ถึงพร้อมด้วยอาจาระและโคจรอยู่
ย่อมเป็นผู้เห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาในสิกขาบททั้งหลายได้
ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจงเป็นผู้คุ้มครองทวาร
ในอินทรีย์ทั้งหลาย เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว จงอย่าถือโดยนิมิต ฯลฯ ๑- เธอครั้น
ละนิวรณ์ ๕ ประการ อันเป็นเครื่องทำใจให้เศร้าหมอง ทำปัญญาให้ถอยกำลัง
นี้ได้แล้ว ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัด
อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ...
ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต ... ย่อมเป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรม มีความ
เพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ
[๓๙๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนควาญช้างฝังเสาตะลุงใหญ่ลง
ในแผ่นดิน ล่ามคอช้างป่าไว้มั่นคง เพื่อแก้ไขปรกติของสัตว์ป่า แก้ไขความดำริ
พล่านของสัตว์ป่า แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความเร่าร้อนใจ
ของสัตว์ป่า เพื่อให้ช้างป่าเชือกนั้นอภิรมย์ในแดนบ้าน ให้บันเทิงในปรกติที่มนุษย์
ต้องการ ฉันใด ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สติปัฏฐาน ๔ นี้
ชื่อว่าเป็นหลักผูกใจของอริยสาวก เพื่อแก้ไขปรกติ ชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความ
ดำริพล่านชนิดอาศัยบ้าน แก้ไขความกระวนกระวาย ความลำบากใจ และความ
เร่าร้อนใจชนิดอาศัยบ้าน เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทำนิพพานให้แจ้ง ฯ
[๓๙๘] ตถาคตจึงแนะนำเธอให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูกรภิกษุ มาเถิด เธอจง
@๑. เหมือนข้อ ๙๕ ถึงข้อ ๙๙
เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับกาย จงเป็นผู้
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับเวทนา จงเป็น
ผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับจิต จงเป็นผู้พิจารณา
เห็นธรรมในธรรมอยู่ แต่อย่าตรึกวิตกที่เข้าประกอบกับธรรม เธอย่อมเข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและวิจาร
ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ย่อมเป็นผู้วางเฉยเพราะหน่ายปีติ
มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน ... ย่อมเข้าจตุตถฌาน
อันไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้
มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขาอยู่ ฯ
[๓๙๙] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสติญาณ ระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยใน
ชาติก่อนได้เป็นอเนกประการ คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ๑- เธอ
ย่อมระลึกขันธ์ที่อยู่อาศัยในกาลก่อนได้เป็นอเนกประการ พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้ง
อุเทศเช่นนี้ ฯ
[๔๐๐] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส เครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่อญาณเครื่องรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย
มองเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณ
ทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ฯลฯ ๒- ย่อม
ทราบชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมเช่นนี้ ฯ
[๔๐๑] เธอ เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลสเครื่องยียวน
ปราศจากอุปกิเลส เป็นจิตอ่อนโยน ควรแก่การงานตั้งมั่น ถึงความไม่หวั่นไหว
อย่างนี้แล้ว ย่อมน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์
@๑. เหมือนข้อ ๒๔ ฯ ๒. เหมือนข้อ ๒๕
นี้เหตุให้เกิดทุกข์ นี้ที่ดับทุกข์ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับทุกข์ รู้ชัดตามเป็นจริงว่า
เหล่านี้อาสวะ นี้เหตุให้เกิดอาสวะ นี้ที่ดับอาสวะ นี้ปฏิปทาให้ถึงที่ดับอาสวะ
เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตก็หลุดพ้นแม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ
แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ชัดว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ
เป็นอย่างนี้มิได้มี ฯ
[๔๐๒] ภิกษุนั้นเป็นผู้อดทน คือ มีปรกติอดกลั้นต่อความหนาว ความ
ร้อน ความหิว และความกระหาย ต่อสัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และ
สัตว์เสือกคลาน ต่อ ทำนอง คำพูดที่กล่าวร้าย ใส่ร้าย ต่อเวทนาประจำสรีระ
ที่เกิดขึ้นแล้ว อันเป็นทุกข์กล้า เจ็บแสบ ไม่ใช่ความสำราญ ไม่เป็นที่ชอบใจ
พอจะสังหารชีวิตได้ เธอเป็นผู้กำจัดราคะ โทสะ โมหะทั้งปวงได้ หมดกิเลส
เพียงดังน้ำฝาดแล้ว เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ ควรแก่ของต้อนรับ ควรแก่ทักขิณาทาน
ควรแก่การกระทำอัญชลี เป็นเนื้อนาบุญของโลกอย่างหาแห่งอื่นเปรียบมิได้ ฯ
[๔๐๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด
ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูน
ปานกลาง ที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลาง
ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ไม่ได้ฝึก ไม่ได้หัด ล้มลง ก็ถึง
ความนับว่า ช้างหลวงหนุ่ม ล้มตายไปอย่างมิได้ฝึก ฉันใด ดูกรอัคคิเวสสนะ
ฉันนั้นเหมือนกันแล ถ้าภิกษุเถระยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า
ภิกษุเถระทำกาละ ตายไปอย่างมิได้ฝึก ถ้าภิกษุมัชฌิมะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำ
กาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายไปอย่างไม่ได้ฝึก ถ้าภิกษุ
นวกะยังไม่สิ้นอาสวะ ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะ ทำกาละ ตายไป
อย่างไม่ได้ฝึก ฯ
[๔๐๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าช้างหลวงแก่ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง
ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงแก่ล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนปานกลาง
ที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้างหลวงปูนปานกลางล้มตายไปอย่าง
ฝึกแล้ว ถ้าช้างหลวงปูนหนุ่มที่ฝึกดี หัดดีแล้ว ล้มลง ก็ถึงความนับว่า ช้าง
หลวงปูนหนุ่มล้มตายไปอย่างฝึกแล้ว ฉันใด ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกัน
แล ถ้าภิกษุเถระสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า ภิกษุเถระทำกาละ
ตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุมัชฌิมะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง ก็ถึงความนับว่า
ภิกษุมัชฌิมะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ถ้าภิกษุนวกะสิ้นอาสวะแล้ว ทำกาละลง
ก็ถึงความนับว่า ภิกษุนวกะทำกาละ ตายอย่างฝึกแล้ว ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว สมณุทเทสอจิรวตะจึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ
จบ ทันตภูมิสูตร ที่ ๕


แก้ไขล่าสุดโดย eragon_joe เมื่อ 09 ต.ค. 2018, 20:31, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง

แสดงโพสต์จาก:  เรียงตาม  
กลับไปยังกระทู้  [ 278 โพสต์ ]  ไปที่หน้า ย้อนกลับ  1 ... 5, 6, 7, 8, 9, 10, 11 ... 19  ต่อไป

เขตเวลา GMT + 7 ชั่วโมง


 ผู้ใช้งานขณะนี้

่กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิก และ บุคคลทั่วไป 1 ท่าน


ท่าน ไม่สามารถ โพสต์กระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ตอบกระทู้ในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แก้ไขโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ ลบโพสต์ของท่านในบอร์ดนี้ได้
ท่าน ไม่สามารถ แนบไฟล์ในบอร์ดนี้ได้

ค้นหาสำหรับ:
ไปที่:  
Google
ทั่วไป เว็บธรรมจักร